ทำไม คนอาร์เจนตินา ส่วนใหญ่ มีเชื้อสายอิตาลี /โดย ลงทุนแมน
อาร์เจนตินา เป็นหนึ่งในอดีตอาณานิคมของสเปน
โครงสร้างและรากฐานที่สเปนวางไว้ให้ ไม่ว่าจะเป็นภาษา วัฒนธรรม ผังเมือง การเมือง และการศึกษา
กลายเป็นมรดกตกทอด มาอยู่ในสังคมอาร์เจนตินาได้อย่างเห็นได้ชัด
ซึ่งหากถามว่า ผู้คนส่วนใหญ่ในอาร์เจนตินาเป็นลูกหลานของผู้อพยพจากชาติใดมากที่สุด ?
หลายคนก็น่าจะตอบว่าเป็นลูกหลานชาวสเปน
ที่อดีตเคยเป็นเจ้าอาณานิคมของประเทศแห่งนี้
แต่คำตอบนั้น เป็นคำตอบที่ผิด..
เพราะชาวอาร์เจนตินาเกินกว่าครึ่ง มีเชื้อสาย “อิตาลี”
ปัจจุบัน มีชาวอาร์เจนตินาเชื้อสายอิตาลีอยู่มากถึง 30 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนถึง 67% ของประชากรอาร์เจนตินาทั้งหมดที่ 45 ล้านคน
แล้วทำไมคนเชื้อสายอิตาลี ถึงเป็นประชากรส่วนใหญ่ในอาร์เจนตินา ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ในอดีตที่ชาวสเปนเดินทางเข้ามายังดินแดนแห่งนี้ และผนวกดินแดนแห่งนี้เป็นหนึ่งในอาณานิคม
พวกเขาเชื่อว่าดินแดนแห่งนี้น่าจะมีแร่เงินอยู่มาก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ดินแดนแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า Argentina
ที่มาจากคำว่า “Argentum” ในภาษาละติน ที่แปลว่า แร่เงิน
แต่พวกเขากลับต้องพบเจอกับความผิดหวัง เมื่อดินแดนที่มีขนาดใหญ่แห่งนี้
กลับไม่มีแร่เงินหรือหินมีค่าต่าง ๆ ตามที่พวกเขาเชื่อเลย
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้เจ้าอาณานิคมอย่างสเปน
หันไปให้ความสำคัญกับดินแดนทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา อย่างเปรูและเม็กซิโก ที่มีทรัพยากรแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์มากกว่าในขณะนั้น
จึงทำให้อาร์เจนตินาเป็นดินแดนที่มีขนาดใหญ่ แต่มีประชากรที่ค่อนข้างน้อย
เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศใกล้กันอย่าง เปรู เม็กซิโก หรือโคลอมเบียในขณะนั้น
เวลาก็ผ่านพ้นไป อำนาจของสเปนเริ่มอ่อนแอลง
สุดท้ายอาร์เจนตินาก็สามารถทำสงครามชนะสเปน
และประกาศเอกราชได้ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
แม้ว่าประเทศแห่งนี้จะไม่มีทรัพยากรล้ำค่าอย่างแร่เงิน
หรือโลหะมีค่าอื่น ๆ ที่ชาวสเปนตามหาในช่วงแรก ๆ
แต่สิ่งที่ประเทศแห่งนี้มีดีก็คือ ขนาดของพื้นที่ที่กว้างใหญ่ และมีความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธรรมชาติ
พื้นที่ส่วนหนึ่งของอาร์เจนตินา ตั้งอยู่บนที่ราบปัมปัสอันอุดมสมบูรณ์
ซึ่งเป็นที่ราบที่มีทุ่งหญ้าที่เหมาะแก่การเลี้ยงปศุสัตว์ อย่างวัวและแกะ ในระบบเปิด
ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้เนื้อวัวและเนื้อแกะเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของอาร์เจนตินามาจนถึงปัจจุบัน
ตัดภาพมายังชาติทางฝั่งยุโรปกันบ้าง
ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มต้นขึ้นในยุโรปนำโดยอังกฤษ
มีการนำเครื่องมือ เครื่องจักร เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการผลิต
และเริ่มทำให้เศรษฐกิจในหลายประเทศในยุโรปเฟื่องฟู
เมืองสำคัญอย่างมิลานและตูริน ทางตอนเหนือของอิตาลี ก็ถือเป็นที่ตั้งสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรมมากมาย อย่างเช่น โรงงานเหล็กกล้า ต่อเรือ สิ่งทอ และผลิตอาหาร
ชาวอิตาลีทางตอนเหนือ เริ่มมั่งคั่งร่ำรวย และสภาพบ้านเมืองก็มีความเจริญ
สวนทางกับอีกฟากของประเทศ คือทางตอนใต้ ที่ยังคงเน้นทำการเกษตรเป็นหลัก และความเจริญยังไปไม่ถึง จึงทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำกันอย่างมากในประเทศ
เรื่องนี้ทำให้มีชาวอิตาลีตอนใต้ มีความคิดที่จะอพยพไปยังดินแดนที่ดีกว่า
ที่เอื้อต่อการทำการเกษตรซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาถนัด
ประจวบเหมาะกับในช่วงนั้น อาร์เจนตินากำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน และกำลังเร่งพัฒนาชาติหลังเป็นเอกราชจากสเปน จึงมีนโยบายต้อนรับผู้อพยพจากยุโรป มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1853 ที่สถาปนาชาติ
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้ในช่วงปี ค.ศ. 1890-1910
ชาวอิตาลีกว่า 5 ล้านคน ตัดสินใจอพยพออกนอกประเทศมายังทวีปอเมริกา โดยมีอาร์เจนตินา ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำการเกษตร เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของพวกเขา
อัตลักษณ์ของชาวอิตาลีนั้น ค่อนข้างคล้ายคลึงกับคนไทย
คือจะให้ความสำคัญกับคนในครอบครัวและญาติพี่น้องอย่างมาก
จึงทำให้เมื่อมีใครในครอบครัวหนึ่งเลือกจะอพยพไปแล้ว ก็มักจะไปกันทั้งครอบครัว
อีกทั้งเมื่อเข้าสู่ช่วงสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง
ชาวอิตาลีจำนวนไม่น้อย ก็เลือกอพยพไปยังอาร์เจนตินา
เพราะมองว่าเป็นพื้นที่ปลอดสงคราม ต่างจากในยุโรป ที่เป็นพื้นที่ไม่ปลอดภัย
โดยมีชาวอิตาลีที่อยู่ในอาร์เจนตินามาก่อน คอยให้ความช่วยเหลือ และคอยต้อนรับ
เหตุนี้เอง จึงทำให้ชาวอิตาลีในอาร์เจนตินา มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา
ชาวอาร์เจนตินาเชื้อสายอิตาลีหลายคน
สามารถสร้างตัวจากผู้อพยพที่เป็นแรงงานในการเกษตร จนประสบความสำเร็จ
บางคนกลายเป็นผู้นำประเทศ และบุคคลสำคัญของโลกเลยทีเดียว
ตัวอย่างชาวอาร์เจนตินาเชื้อสายอิตาลีที่ประสบความสำเร็จ อย่างเช่น
1. สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก
ซึ่งพระราชบิดาและพระราชมารดาของพระองค์นั้น ก็เป็นผู้อพยพมาจากอิตาลี และให้กำเนิดพระองค์ที่เมืองบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
2. Alejandro Bulgheroni บุคคลที่ร่ำรวยเป็นอันดับ 2 ของอาร์เจนตินา
เป็นเจ้าของบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ในอาร์เจนตินาอย่าง Bridas Corporation โดยเขามีทรัพย์สินที่ถูกประเมินไว้สูงถึง 1 แสนล้านบาท
3. Mauricio Macri อดีตประธานาธิบดีของอาร์เจนตินา
4. Lionel Messi นักฟุตบอลชื่อดังจากสโมสรบาร์เซโลนา ก็มีคุณพ่อและบรรพบุรุษเป็นคนเชื้อสายอิตาลี
ก็ไม่น่าเชื่อว่า จากปัญหาความยากจนและแร้นแค้นของชาวอิตาลีในทางตอนใต้ของประเทศในอดีต จะนำไปสู่การอพยพไปยังดินแดนที่เปรียบเสมือนเป็นโอกาสในการสร้างตัว ณ เวลานั้นอย่างอาร์เจนตินา
และทั้งหมดนี้ก็เป็นเหตุผลว่า ทำไมวันนี้คนอาร์เจนตินาส่วนใหญ่ มีเชื้อสายอิตาลี นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.migrationpolicy.org/article/emigration-asylum-destination-italy-navigates-shifting-migration-tides
-https://en.wikipedia.org/wiki/Italian_diaspora#Somalia
-https://www.puertolaboca.com/blog/connection-between-italy-and-argentina
-https://en.wikipedia.org/wiki/Italian_Argentines
-https://en.wikipedia.org/wiki/Great_European_immigration_wave_to_Argentina
-https://en.wikipedia.org/wiki/Argentine_Constitution_of_1853
-https://www.blockdit.com/posts/5e3e57191dd3ce0cb4568b4f
-https://schoolhistory.co.uk/modern/italian-unification/
-https://www.cbsnews.com/news/argentinas-italian-heritage/
-https://www.forbes.com/real-time-billionaires/#264b3c533d78
migration wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
บราซิล ประเทศที่เคยเติบโตสูง แต่ตอนนี้คนอยากย้ายออก /โดย ลงทุนแมน
หลายทศวรรษที่ผ่านมา บราซิล เคยได้รับการจับตามองว่า จะกลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงประเทศหนึ่งของโลก เพราะเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างโดดเด่น
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปีมานี้ ความหวังนั้นค่อย ๆ ริบหรี่ลงไปเรื่อย ๆ
เศรษฐกิจของบราซิลกลับเติบโตช้าลง จำนวนคนตกงานพุ่งสูงขึ้น
เรื่องนี้ทำให้ชาวบราซิลจำนวนมาก เริ่มสิ้นหวังและตัดสินใจอพยพออกนอกประเทศ จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “สมองไหล”
เรื่องนี้เป็นอย่างไร ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้ไหมว่า ในช่วงระหว่างปี 2000-2011 บราซิลมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เร็วที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยต่อปีในช่วงเวลาดังกล่าว มากกว่า 5% ต่อปี
ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า ในปี 2012 GDP ของบราซิลสูงถึง 86.2 ล้านล้านบาท ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า GDP ของสหราชอาณาจักร
และเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ณ เวลานั้น
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนบราซิล เพิ่มขึ้นจากราว 123,600 บาท ในปี 2000 มาอยู่ที่ราว 426,700 บาท ในปี 2011
จุดเริ่มต้นของทศวรรษแห่งการเติบโตของบราซิลนั้นเกิดมา ตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1990 บราซิลหันมาใช้นโยบายเปิดเศรษฐกิจ รับการค้า การลงทุนจากต่างประเทศ
ขณะที่ในปี 1995 บราซิลได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
ทั้ง 2 ปัจจัย ทำให้มีการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศของบราซิลนั้นเพิ่มสูงขึ้น มูลค่าการค้าของประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการจ้างงานและการลงทุนต่าง ๆ ภายในประเทศเกิดขึ้นตามไปด้วย
การเปิดประเทศยังช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตในประเทศ
นอกจากนั้นแล้ว รัฐบาลบราซิลในตอนนั้น
ยังได้แสดงเจตจำนงในการชำระหนี้ที่กู้จากต่างประเทศ
ทำให้ภาระหนี้สินที่บราซิลกู้ยืมจากต่างประเทศ จากเดิมที่ประมาณ 59% ต่อ GDP ในปี 2003 ลดลงจนเหลือ 12% ต่อ GDP ในปี 2009
ภาระหนี้สินที่กู้จากต่างประเทศที่ลดลงจนเหลือสัดส่วนต่ำ ช่วยสร้างความเชื่อถือให้กับนักลงทุนมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลให้โดดเด่นมากในเวลานั้น
จนบราซิลเคยถูกจับตามองว่า เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงทางด้านเศรษฐกิจ
บราซิล ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีชื่อว่า “BRIC” ซึ่งประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน ก่อนที่จะเพิ่มประเทศแอฟริกาใต้เข้ามาอีกในปี 2010 และใช้ชื่อว่า “BRICS” ในปัจจุบัน
แต่ใครจะรู้ว่า นับจากนั้นเศรษฐกิจของบราซิลก็เริ่มประสบปัญหา
GDP ของบราซิล ในปี 2020 ลดลงมาเหลือ 47.6 ล้านล้านบาท จากที่เคยสูงกว่า 86 ล้านล้านบาท ในช่วงพีกคือปี 2011
ถ้าถามว่าอะไรที่ทำให้อดีตประเทศดาวรุ่งอย่างบราซิล กลับต้องเข้าสู่ยุคแห่งความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ปัจจัยก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น
- ประสิทธิภาพในการผลิตที่ต่ำ สวนทางกับค่าจ้างแรงงานที่พุ่งสูงขึ้น
ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า ในช่วงปี 2003-2014 ค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 68% ในขณะที่อัตราการผลิตต่อคนงานเพิ่มขึ้นเพียง 21%
พูดง่าย ๆ คือ ต้นทุนค่าแรงของธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่ประสิทธิภาพและผลผลิตนั้นเพิ่มขึ้นน้อยกว่ามาก ซึ่งการขาดผลิตภาพในการผลิตส่วนสำคัญเกิดมาจากการลงทุนในนวัตกรรมของประเทศที่ต่ำ
- ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
โดยเฉพาะท่าเรือ ถนน หนทาง ทำให้เกิดปัญหาในการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ข้อมูลของ World Bank ระบุว่า ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของบราซิลนั้น ถูกจัดอันดับอยู่ที่ 56 จาก 160 ประเทศทั่วโลก
ขณะที่ข้อมูลจาก International Trade Administration ของสหรัฐอเมริการะบุว่า การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่ภายในบราซิลนั้นใช้รถบรรทุก ซึ่งเมื่อโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนนหนทางไม่ค่อยมีความพร้อม ก็ทำให้เกิดต้นทุนค่าขนส่งที่สูง
- ปัญหาคอร์รัปชันในบราซิล ถือว่ารุนแรงไม่แพ้หลายประเทศในแถบอเมริกาใต้
ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index) ของประเทศนั้นได้คะแนนน้อยลงเรื่อย ๆ (ยิ่งน้อยลงคือยิ่งภาพลักษณ์ไม่ดีในเรื่องคอร์รัปชัน)
ปี 2012 บราซิลได้ 43 คะแนน และลดลงเหลือเพียง 38 คะแนนในปี 2020
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาการคอร์รัปชันในบราซิลไม่เพียงแต่ยังคงอยู่ แต่กลับเลวร้ายลงเรื่อย ๆ
ปัญหาคอร์รัปชัน มีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายระดับ ไม่เว้นแม้แต่ผู้นำสูงสุดของประเทศอย่างประธานาธิบดี อย่างเช่น ในปี 2015 อดีตประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ที่ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
โดยเป็นการรับสินบนเพื่อแลกกับ การอนุมัติให้บริษัทรับเหมาก่อสร้าง เข้าไปรับงานก่อสร้างจากบริษัทน้ำมันแห่งชาติที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่อย่างปิโตรบาส รัฐวิสาหกิจน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ
ปัญหาคอร์รัปชันที่อื้อฉาวของนักการเมือง นักธุรกิจ สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวบราซิลจำนวนมาก
เรื่องนี้ถึงขนาดทำให้ครั้งหนึ่งชาวบราซิลใน 3 รัฐทางใต้ ที่ไม่พอใจการบริหารและเรื่องคอร์รัปชันของรัฐบาล ร่วมลงคะแนนประชามติเพื่อแสดงความต้องการแยกประเทศ ภายใต้แคมเปน “The South is My Country”
การประท้วง การก่อจลาจล และความไม่สงบเรียบร้อยทางการเมือง เกิดขึ้นบ่อยครั้งในบราซิล
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้บราซิลที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว กลับสะดุด จนเหมือนกลายเป็นคนป่วยแห่งทวีปอเมริกาใต้ไปแล้วในตอนนี้
ความเปราะบางทางเศรษฐกิจแบบนี้ ยิ่งมาเจอผลจากการระบาดของโควิด 19 ก็ยิ่งทำให้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย
ปี 2014 จำนวนผู้ว่างงานในบราซิลเท่ากับ 6.0 ล้านคน
ปี 2021 จำนวนผู้ว่างงานในบราซิลเท่ากับ 14.7 ล้านคน
จำนวนผู้ว่างงานสูง เศรษฐกิจที่ตกต่ำ
ทำให้คนรุ่นใหม่จำนวนมากรู้สึกว่า ตนเองต้องการแสวงหาชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ข้อมูลจาก Migration Policy Institute (MPI) ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีชาวบราซิลอพยพออกนอกประเทศเฉลี่ยปีละกว่า 100,000 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และปัญหาความขัดแย้งมากมายในประเทศที่ดูไร้ทางออก
ประเด็นคือ ผู้ที่อพยพออกไป ได้รวมแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Brain Drain” หรือสมองไหล
ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ประเทศหนึ่งกำลังสูญเสียคนเก่งไปจากประเทศ เนื่องจากคนเหล่านั้นต้องการออกไปทำงานและอาศัยในประเทศที่ทำให้พวกเขามีรายได้สูงกว่า สภาพการทำงานที่ดีกว่า
ดังนั้น อนาคตของบราซิลหลังจากนี้ จึงเกิดเครื่องหมายคำถามตัวใหญ่ของคนในประเทศตามมาว่า แล้วประเทศจะพัฒนาและก้าวหน้าจากวันนี้ไปได้อย่างไร ?
คนเก่ง ๆ ที่หมดหวังกับประเทศและอพยพออกไป
ทำให้บราซิลกำลังมีบุคลากรแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ ยิ่งทำให้มีการสร้างสรรค์ความรู้ นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการพัฒนาประเทศ ลดน้อยลงเรื่อย ๆ
รู้ไหมว่า วันนี้ สัดส่วนนักวิจัยต่อประชากร 1 ล้านคนของบราซิล มีอยู่เพียง 700 คนเท่านั้น
ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจอื่น
- จีน 1,071 คน
- รัสเซีย 3,191 คน
- สหราชอาณาจักร 4,269 คน
- สหรัฐอเมริกา 4,663 คน
ตอนนี้ ยังไม่มีใครรู้ว่า ปัญหาสมองไหลที่บราซิลกำลังเจออยู่นั้น จะรุนแรงมากกว่านี้ในอนาคตหรือไม่
และรัฐบาลจะหาทางหยุดปัญหานี้ พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่ฝังลึกอยู่ในประเทศได้อย่างไร
แต่เรื่องนี้ ก็ถือเป็นกรณีศึกษา ที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยควรต้องจับตามอง
ว่าประเทศที่เคยรุ่งเรือง เปี่ยมไปด้วยความหวัง
ทุกอย่างก็พังทลายลงได้ หากการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ และเต็มไปด้วยปัญหาคอร์รัปชัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://data.worldbank.org/country/BR
-https://en.wikipedia.org/wiki/BRIC
-https://ditp.go.th/contents_attach/81555/81555.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Brazil
-https://www.migrationpolicy.org/article/migration-brazil-making-multicultural-society
-https://en.wikipedia.org/wiki/Brazilian_diaspora
-https://www.worldbank.org/en/country/brazil/publication/brazil-how-resume-growth-keep-social-progress
-https://www.trade.gov/knowledge-product/brazil-infrastructure
-https://tradingeconomics.com/brazil/unemployed-persons
-https://www.if.org.uk/2020/07/06/politics-covid-brain-drain-in-brazil/
-https://www.transparency.org/en/cpi/2020/table/bra
-https://www.bbc.com/thai/international-41544397
-http://chartsbin.com/view/1124
migration wiki 在 何志偉 Facebook 八卦
剛收到一封求救信件:
上千位難民正在海域載浮載沉!東協國家的冷漠令難民就像"人肉兵乓球"上岸後又被趕回海上。絕大部分為婦女及幼童。部分難民在海上緊抓著廢棄的浮板,我們請求聯合國及東協國家即刻人道救援,提供醫療援助!《難民來自於:緬甸、孟加拉》《地點:安達曼海》
(來源:亞洲自由民主聯盟,志偉摘要簡譯)
《敬請一同呼籲外交部聲援該難民事務》一通電話一千人的生死! 本文不募款!僅要求國際社會正視問題!
羅興亞人(Rohingya people),或譯洛興亞人、羅辛亞人或羅興迦人 ,又稱阿拉干人,是緬甸若開邦阿拉干地區的一個穆斯林族群(集中在若開邦北部近孟加拉邊界一方的貌奪和布帝洞鎮區),是自7-8世紀以來阿拉伯商人和伊朗商人與突厥人、孟加拉人、摩爾人、普什圖人以及緬甸土著不斷融合形成的混血民族,但與其他來自南亞次大陸的移民有所區別。
截至2012年,約有80萬羅興亞人生活在緬甸。按照聯合國的説法,他們是世界上受到迫害最嚴重的少數民族之一。許多羅興亞人逃離緬甸到鄰國孟加拉國貧民窟和難民營生活,並沿地區泰國 -緬甸邊境生活。2009年,一位資深緬甸大使甚至說羅興亞人是醜陋的食人魔和在緬甸的異族。(來源:wiki)
CALD Resolution No. 2 S. 2015
CALD resolution calling on all concerned states to treat Rohingyas and other minorities with dignity and respect for their basic rights, and urging a regional solution that addresses the plight of vulnerable minorities in South and Southeast Asia
The Council of Asian Liberals and Democrats (CALD):
Aware that in recent weeks, thousands of political and economic refugees who have arrived by boat in some Southeast Asian countries were denied entry and pushed back to the sea in the latest round of the so-called “maritime ping-pong”;
Noting that thousands more are believed to be stranded in the Andaman Sea following a crackdown on human traffickers which prompted these transnational criminals to abandon boats carrying loads of economic migrants, refugees and asylum-seekers, a significant number of which are women and children;
Noting further that many of these refugees are in desperate need of food, water and healthcare; and while some of the concerned countries provided them humanitarian aid, their refusal to let these refugees enter, or to grant them temporary shelter, means that these people are left in very vulnerable conditions in open sea;
Mindful that most of these refugees are ethnic Rohingya Muslims and Bangladeshis fleeing political persecution or poverty in Myanmar and Bangladesh respectively;
Cognizant that the United Nations (UN) has particularly labeled the Rohingyas as one of the most persecuted minorities in the world as they are not only denied citizenship, but are also subjected to state-sanctioned discrimination;
Hereby:
Calls on the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), guided by its vision of “caring and sharing community”, to convene an emergency summit that aims to arrive at regional measures to improve the plight of the Rohingyas and other vulnerable minorities in the region;
Believes that the May 29, 2015 meeting spearheaded by Thailand to discuss the “root causes” of “irregular migration in the Indian Ocean” is a good preliminary step towards a regional solution to the issue;
Trusts that any solution to this crisis should be in accordance with international human rights conventions, particularly International Covenant on Civil and Political Rights and International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights;
Urges the Philippines, being the only Southeast Asian state-party in the UN Convention on the Status of Stateless Persons, to spearhead efforts in safeguarding the rights of stateless persons, including the minimum standards of treatment that all concerned countries should observe; and
Calls on concerned Southeast Asian countries to recognize that it is their moral obligation to ensure that the Rohingyas and other minorities are accorded the human dignity and basic rights they deserve.
For the Council of Asian Liberals and Democrats:
Oyun Sanjaasuren, MP
Chairperson
Council of Asian Liberals and Democrats
18 May 2015
The CALD Secretariat
Unit 410, 4/F La Fuerza Plaza 2
2241 Don Chino Roces Avenue
1231 Makati City, Philippines
+63 2 819 6071
http://www.cald.org
https://www.facebook.com/asianliberals
https://twitter.com/asianliberals
migration wiki 在 migration - Wiktionary 的相關結果
English Wikipedia has articles on: ... From Middle French migration and its source, Latin migrātiō, from the participle ... Morphologically migrate + -ion ... ... <看更多>
migration wiki 在 SharePoint Wiki Pages Migration - Microsoft Q&A 的相關結果
@MichelAlHayek-6561,. Copy wiki pages to the site asset library, SharePoint Migration Tool supports the migration of pages in the site asset ... ... <看更多>
migration wiki 在 Migration - Wikipedia 的相關結果
Biology[edit] · Migration (ecology), the large-scale movement of species from one environment to another · Plant migration, see Seed dispersal, the movement or ... ... <看更多>