"Food Traceability" กินอะไรก็ได้...ไม่ได้!
อาหารเรามาจากไหน สำคัญมากนะ
จะรู้ได้ยังไงว่า ปลา≠แรงงานทาส / ไก่≠ไฟป่า / ผัก≠ปะการังตาย ?
-------------------------------------
ยุคนี้เรามี Option ด้านของกินเยอะมาก เปิดAPPอะไรก็มีมาให้เลือกเต็มไปหมด แต่นอกจากอร่อยและถูกแล้ว เราก็ไม่ค่อยจะตัดสินใจด้วยตัวแปรอื่นๆมากนัก แต่จริงๆที่มาของอาหาร [Food Traceability] ควรเป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่ผู้บริโภคควรจะเข้าถึงได้อย่างเสรี รวมถึงผู้ผลิตก็ควรจะมีหน้าที่รับผิดชอบให้ข้อมูลเหล่านี้
ทุกคนควรมีโอกาสตัดสินใจโดยคำนึงถึงทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เรากิน ทั้งเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ไปจนถึงเรื่องสิทธิและสวัสดิการของแรงงานที่อยู่ในกระบวนการผลิต ซึ่งในยุคที่ข้อมูลทุกอย่างเข้าถึงได้ง่ายขนาดนี้ เรื่องนี้ไม่น่าเป็นเรื่องเกินเอื้อม
และแน่นอนว่าถ้าเราในฐานะผู้บริโภคแคร์เรื่องนี้ พลังของพวกเราก็สามารถถูกส่งต่อผ่าน Supply Chain จากร้านอาหาร ไปสู่ผู้ขายส่ง ไปสู่ผู้ผลิตได้
-------------------------------------
ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ?
แน่นอนว่าเรื่องFood Traceability นี้ ชัดเจนสุดเลยก็คือเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค แต่ถ้ามองในแง่สิ่งแวดล้อม ก็สำคัญไม่แพ้กันนะ
จริงๆแล้ว การผลิตอาหาร อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนกับโลกเราเยอะที่สุดก็ว่าได้ [ https://ourworldindata.org/emissions-by-sector ] คือเป็นอันดับสองเรื่องการปล่อยคาร์บอน (อันดับหนึ่งคือการผลิตพลังงาน และยานพาหนะ) อันดับหนึ่งเรื่อง Land Use หรือการเปลี่ยนพื้นที่ป่าให้เป็นพื้นที่เพาะปลูก อันดับหนึ่งเรื่องการปล่อยสารเคมีลงท้องทะเล โดยเฉพาะพวกปุ๋ย
การที่ทั้งป่าหายและทะเลตาย ก็ส่งผลต่อไปอีกทำให้เกิดความสูญเสียทางชีวภาพ (Biodiversity Loss) นำไปสู่การเสื่อมถอยของระบบนิเวศโลก แล้วสุดท้ายก็วนกลับมากระทบความสามารถในการผลิตอาหารของมนุษย์ในที่สุด
เราจะรู้ได้ยังไงว่าปลาที่เรากิน ไม่ได้มาจากเรือประมงผิดกฏหมายที่จับปลาเกินกำหนดหรือว่ามีการใช้แรงงานทาส? เราจะรู้ได้ยังไงว่าไก่ที่เรากิน ไม่ได้กินข้าวโพดจากไร่ที่เผาซากพืชอย่างไม่มีการจัดการจนทำให้เกิดวิกฤติไฟป่า? เราจะรู้ได้ยังไง ว่าผักที่เรากิน ไม่ได้มาจากไร่ที่ปล่อยสารเคมีลงน้ำลงดินอย่างไม่มีการจัดการใดๆ จนสร้างความเสียหายให้แนวปะการังในทะเล?
การผลิตอาหาร เป็นโจทย์สำคัญมากๆในการนำประเทศ (หรือทั้งโลก) สู่การมุ่งสู่พัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเราต้องการทั้งนวัตกรรมใหม่ๆในการผลิต ต้องการกฎหมายที่เข้มงวด และเครือข่ายข้อมูลที่เปิดเผยทุกอย่างและเข้าถึงได้ง่ายมากกว่านี้
-------------------------------------
การเข้าถึงข้อมูลได้ จะนำไปสู่การสร้างทางเลือกที่ดีขึ้น
ลองคิดภาพจินตนาการอนาคต ที่เราสามารถอยู่ในตึกกำแพงทุกด้านมีผักขึ้นสามารถซื้อกินได้ตรงนั้นเลย และสารเคมีทุกอย่างผ่านระบบบำบัดของตึกก่อนถูกปล่อยลงน้ำ หรือเนื้อที่มาจากการเพาะยีนของสัตว์ เนื้อที่ได้มาโดยไม่ต้องทำลายป่า ปลูกพืชไร่ หรือทรมานสัตว์เลย
ในแง่หนึ่ง เทคโนโลยีเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ผู้บริโภคอย่างเราก็ต้องมีส่วนร่วมด้วย เราสามารถโหวตผ่านกระเป๋าตังค์เราได้ เลือกซื้ออาหารโดยพิจารณาทุกที่มาของวัตถุดิบก่อนซื้อ นี่จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับตัวตามไปด้วย
การที่เราแค่แสกน QR code ของอาหารทุกชนิด แล้วสามารถรู้ได้หมดเลยว่าผลิตจากทรัพยากรจากที่ไหนบ้าง ใช้วิธีการอะไรผลิตบ้าง สร้างผลกระทบอะไรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมบ้าง จะนำไปสู่ความต้องการอาหารที่ผลิตอย่างยั่งยืนกว่าที่ทำอยู่นี้ และในที่สุด ตลาดก็จะตอบสนองกับความต้องการใหม่ๆของผู้บริโภค
-------------------------------------
ตัวอย่าง Food Traceability ในต่างประเทศ
ตั้งแต่ปี 2005 ใน EU เป็นกฏหมายเลยว่าผู้บริโภคต้องได้รู้ว่าอาหารมาจากไหน ทุกขั้นตอนของ supply chain ถูกบันทึกไว้หมด
Food traceability = ability to trace and follow food, feed, and ingredients through all stages of production, processing and distribution.
= ความสามารถในการตามอาหาร อาหารสัตว์ และส่วนประกอบของอาหาร ในทุกกระบวนการผลิต การะบวนการทำ และกระบวนการกระจายขนส่งอาหาร
[ https://ec.europa.eu/food/horizontal-topics/general-food-law/food-law-general-requirements_en ]
ซึ่งกฏนี้รวมไปถึงอาหารนำเข้า และกำหนดให้ธุรกิจต้องรู้ one step back-one step forward ว่าอาหารก่อนมาถึงเรามาจากไหน และจากของเราไปไหนต่อเสมอ และกรณีพบว่าอาหารไม่ปลอดภัย ผู้ผลิตต้องเรียกกลับโรงงานได้
-------------------------------------
แล้วเรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้ยังไง
1. ผู้บริโภคเรียกร้องต้องการข้อมูลเหล่านี้ + เครือข่ายตัวแทนผู้บริโภคที่แข็งแรง
2. มีผู้นำธุรกิจเบอร์ใหญ่ๆ อาสาเป็นคนนำก่อน เปิดเผยทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง+ทำให้วิธีเข้าถึงข้อมูลเป็นเรื่องง่าย เป็นแรงจูงใจให้คนอื่นๆทำตาม
3. มีกฎหมายบังคับให้เปิดเผย มีองค์กรตรวจสอบที่ได้มาตรฐานในทุกขั้นตอนของการผลิต และมี platform ข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่าย เข้าใจง่าย เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริโภค ซึ่งประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของกระบวนการนี้ คือประเทศแถบยุโรป เช่น ออสเตรีย เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน ฯลฯ ที่มีกฎหมายบังคับใช้เรื่องนี้อย่างชัดเจน
-------------------------------------
#กินอะไรก็ได้ไม่ได้
#ตรวจสอบย้อนกลับ
#รู้ความจริงในสิ่งที่กิน
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過878的網紅時事英文 Podcast by ssyingwen,也在其Youtube影片中提到,英國爆發恐慌搶油潮,一些加油站燃料耗盡不得不關閉,還在營業的加油站外大排長龍。業者強調不是缺油,而是缺乏大型貨車司機導致運油供應鏈出問題,呼籲民眾拜託不要再囤積汽油了。英國政府週六宣佈將發放數千份緊急簽證給國外的卡車司機,但英國零售商協會表示已「太少、太晚」。 📝 講義 (只要 $88 /月)...
food supply chain 在 Leonardo DiCaprio Facebook 八卦
Yesterday, we announced the launch of America’s Food Fund, a commitment to ensure that all Americans have reliable access to food, and support those most affected by this crisis. Thank you to everyone who has already supported.
America’s Food Fund supports two incredible organizations, Feeding America and World Central Kitchen, who are on the front lines of this rapid-response effort.
They face new challenges every day, including responding to the vast number of people impacted who are in need of food, supply-chain disruptions, and access to product, along with the challenge of distributing meals in ways that maintain the health and safety of all involved.
If you are able to, please join me in supporting their efforts: GoFundMe.com/AmericasFoodFund
food supply chain 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
ผู้สนับสนุน..
HREIT โอกาสการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ บนจุดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย
หลายคนอาจจะคิดว่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
ถือเป็นการลงทุนที่ต้องใช้เงินก้อนใหญ่
แต่หากว่าเราเปลี่ยนจากมุมของการเป็นเจ้าของทั้งหมด กลายมาเป็นการลงทุนผ่านการถือหน่วยลงทุน ก็อาจจะทำให้เราเข้าถึงการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม หนึ่งในสิ่งสำคัญที่เราต้องคำนึงถึงสำหรับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก็คือทำเลว่ามีศักยภาพในการเติบโตมากแค่ไหน
วันนี้ เรามารู้จักกับทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เหมราช หรือ HREIT ที่โฟกัสการลงทุนในโรงงานและคลังสินค้าสำเร็จรูปให้เช่าในนิคมอุตสาหกรรมบนพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC
โดยเร็วๆ นี้ HREIT กำลังจะเพิ่มทุนเป็นครั้งที่ 2 เพื่อลงทุนเพิ่มเติมในทรัพย์สิน
แล้วรายละเอียดการลงทุนของ HREIT มีอะไรบ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
HREIT เป็นทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทโรงงาน และคลังสินค้าสำเร็จรูปให้เช่า
HREIT ให้บริการพื้นที่เช่าโรงงานและคลังสินค้าสำเร็จรูปสำหรับทั้งผู้ประกอบการไทย และต่างชาติ โดยมีพื้นที่เช่าส่วนใหญ่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมชั้นนำที่พัฒนาโดย WHA Group บริเวณ EEC ซึ่งพื้นที่แห่งนี้ถือเป็นทำเลยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมสำหรับประเทศไทยที่จะได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนการลงทุนตามนโยบายของภาครัฐและยังมีพื้นที่เช่าบางส่วนในจังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์การขนส่งไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยทำเลที่มีศักยภาพนี้ส่งผลดีกับอัตราการเช่า และอัตราค่าเช่าของกองทรัสต์ที่จะมีโอกาสปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต
แล้วตอนนี้ ฐานลูกค้าของ HREIT คือใคร?
ผู้เช่าของ HREIT หากเราแยกตามสัญชาติ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2563 จะแบ่งออกเป็น
จีน 25.7%
ญี่ปุ่น 22.0%
เยอรมัน 13.1%
ออสเตรเลีย 11.5%
อเมริกา 6.6%
อื่นๆ 21.2% (ไทย อังกฤษ เกาหลี เป็นต้น)
หรือหากเราแยกตามประเภทของกลุ่มอุตสาหกรรม จะได้เป็น
อุปโภคบริโภค 27.2%
ยานยนต์ 27.1%
โลจิสติกส์ 18.9%
อิเล็กทรอนิกส์ 12.1%
บรรจุภัณฑ์ 4.8%
อื่นๆ 10.1%
จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้เช่าของ HREIT มาจากหลายประเทศ และจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่หลากหลาย
ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาผู้เช่าจากประเทศใดประเทศหนึ่งหรือกลุ่มอุตสาหกรรมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อีกทั้งยังมี
บริษัทชั้นนำที่เช่าพื้นที่ของ HREIT อาทิเช่น Nikon และ DHL Supply Chain
ทีนี้เรามาดูภาพรวมพื้นที่เช่าของ HREIT ก่อนและหลังการลงทุนเพิ่มเติม
ก่อนการเพิ่มทุน
กองทรัสต์ HREIT มีพื้นที่เช่าอาคาร 332,505 ตารางเมตร
หลังจากการเพิ่มทุนในรอบที่ 2 นี้
กองทรัสต์ HREIT จะมีพื้นที่เช่าอาคาร 380,632 ตารางเมตร
คิดเป็นพื้นที่เช่าที่เพิ่มขึ้นราว 14%
โดยพื้นที่เช่าที่เพิ่มขึ้นมานี้จะมาจากทรัพย์สินที่ HREIT
เข้าไปลงทุนเพิ่มเติม แบ่งตามพื้นที่เศรษฐกิจได้เป็น
พื้นที่ EEC ที่จังหวัดชลบุรี และระยอง
โครงการ WHA Chonburi Industrial Estate 1
โรงงาน 5 ยูนิต มีผู้เช่าคือ In-season Food ,Kyowa, Boncafe, Jungheinrich, Thai WP
โครงการ WHA Eastern Seaboard Industrial Estate 1
โรงงาน 6 ยูนิต มีผู้เช่าคือ Ground Effect, Daya Kitchen Appliance, EUP Elec-tric vehicle, BNL (Thailand), Hi-tech Mould and plastics
โครงการ WHA Logistics Park 4
คลังสินค้า 1 ยูนิต มีผู้เช่าคือ Misumi (Thailand)
โครงการ WHA Logistics Park 2 คลังสินค้า 1 ยูนิต
ในขณะที่จังหวัดสระบุรี จะเป็นโครงการ WHA Saraburi Industrial Land
โรงงาน 2 ยูนิต ซึ่งมีผู้เช่าก็คือ Nittsu Shoji (Thailand)
โดย ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2563 HREIT มีอัตราการเช่าพื้นที่สูงถึง 93.9%
ซึ่งตัวเลขดังกล่าวก็ถือเป็นอัตราการเช่าพื้นที่ที่สูง เมื่อเทียบกับกองทรัสต์ที่ลงทุนในทรัพย์สินประเภทเดียวกัน
ทั้งนี้ กองทรัสต์มีนโยบายการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วของรอบปีบัญชี
โดยหลังจากการเพิ่มทุนครั้งที่ 2 นี้ HREIT คาดว่าจะสามารถจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนและเงินลดทุนได้เป็นจำนวน 0.69 บาทต่อหน่วยการลงทุน อ้างอิงจากงบกำไรขาดทุนและการจ่ายประโยชน์ตอบแทนตามสถานการณ์การสมมติตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564 ซึ่งสอบทานโดยผู้สอบบัญชี
ถึงตรงนี้ เราก็น่าจะเห็นได้ว่า HREIT เป็นโอกาสการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจ ที่มีความโดดเด่นทั้งในเรื่องทำเลศักยภาพที่มีอัตราการเช่าสูง รวมถึงฐานลูกค้าที่มีความหลากหลายอุตสาหกรรมจากหลากหลายประเทศ ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงได้อย่างดีอีกด้วย
หมายเหตุ: การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน ผลการดำเนินงานของบริษัทในอดีตอาจไม่ได้บ่งชี้ถึงผลการดำเนินงานของบริษัทในอนาคต
food supply chain 在 時事英文 Podcast by ssyingwen Youtube 的評價
英國爆發恐慌搶油潮,一些加油站燃料耗盡不得不關閉,還在營業的加油站外大排長龍。業者強調不是缺油,而是缺乏大型貨車司機導致運油供應鏈出問題,呼籲民眾拜託不要再囤積汽油了。英國政府週六宣佈將發放數千份緊急簽證給國外的卡車司機,但英國零售商協會表示已「太少、太晚」。
📝 講義 (只要 $88 /月):https://bit.ly/ssyingwen_notes
👉 網站 (相關文章 / 影片):https://ssyingwen.com/ssep57
🖼️ IG 單字卡: https://bit.ly/ssyingwenIG
———
本集 timestamps
0:00 Intro
0:59 第一遍英文朗讀
3:11 新聞 & 相關單字解說
13:35 額外單字片語
21:36 第二遍英文朗讀
———
臉書社團 (朗讀文字):https://www.facebook.com/groups/ssyingwen/posts/312049044014675/
朗讀內容參考了
Al Jazeera、BBC、AP
———
本集提到的單字片語:
England 🏴
Great Britain
United Kingdom (UK) 🇬🇧
Northern Ireland 北愛爾蘭
Wales 威爾斯
Scotland 蘇格蘭
British
English
Run out 耗盡
Unleaded petrol 無鉛汽油
Diesel 柴油
Petroleum / petrol (UK) 汽油
Gasoline / gas (US) 汽油
Petrol / gas station 加油站
Petrol / gas pumps 加油機
Fuel 燃料
Feel 感覺
Fill 填滿
Panic buying 恐慌購買
Fuel tankers 油罐車
Queue / line up 排隊
Jerrycan(s) 儲油桶
Shortage(s) 短缺
Terminals 輸油站
Refineries 煉油廠
Truck (US) / Lorry (UK) 卡車、貨車
Heavy goods vehicle (HGV) 重型貨車
Brexit 英國脫歐
Aging workforce 老齡化的勞動力
Supply chain 供應鏈
Labor shortage 勞工短缺
Suspend 暫停
Competition laws 競爭法
Ease 緩解
Emergency visas 緊急簽證
Boris Johnson 英國首相強生
Short-term fix 短期解決方案
British Retail Consortium 英國零售商協會
Jump the queue / line
Skip the queue / line
Cut the queue / line
Cringe
Cringey / cringy
Food for thought 值得認真考慮的事
♥️ 喜歡時事英文 podcast 嗎?♥️
你可以支持我繼續錄製 podcast 👉 https://bit.ly/zeczec_ssyingwen
————
#podcast #國際新聞 #英文聽力 #學英文 #英文筆記 #英文學習 #英文 #每日英文 #托福 #雅思 #雅思英語 #雅思托福 #多益 #多益單字 #播客 #英文新聞 #taiwanpodcast
food supply chain 在 LESSON 4: WHAT IS THE FOOD SUPPLY CHAIN? 的相關結果
The processes include production, processing, distribution, consumption and disposal. • The food we eat reaches us via food supply chains through which food ... ... <看更多>
food supply chain 在 The Food Supply Chain | Too Good To Go 的相關結果
The food supply chain comprises all the stages that food products go through, from production to consumption. Nowadays, food is transported over longer ... ... <看更多>
food supply chain 在 Food Supply Chain | USDA 的相關結果
Food production and manufacturing are widely dispersed throughout the U.S. and there are currently no wide-spread disruptions reported in the supply chain. ... <看更多>