"Food Traceability" กินอะไรก็ได้...ไม่ได้!
อาหารเรามาจากไหน สำคัญมากนะ
จะรู้ได้ยังไงว่า ปลา≠แรงงานทาส / ไก่≠ไฟป่า / ผัก≠ปะการังตาย ?
-------------------------------------
ยุคนี้เรามี Option ด้านของกินเยอะมาก เปิดAPPอะไรก็มีมาให้เลือกเต็มไปหมด แต่นอกจากอร่อยและถูกแล้ว เราก็ไม่ค่อยจะตัดสินใจด้วยตัวแปรอื่นๆมากนัก แต่จริงๆที่มาของอาหาร [Food Traceability] ควรเป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่ผู้บริโภคควรจะเข้าถึงได้อย่างเสรี รวมถึงผู้ผลิตก็ควรจะมีหน้าที่รับผิดชอบให้ข้อมูลเหล่านี้
ทุกคนควรมีโอกาสตัดสินใจโดยคำนึงถึงทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เรากิน ทั้งเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ไปจนถึงเรื่องสิทธิและสวัสดิการของแรงงานที่อยู่ในกระบวนการผลิต ซึ่งในยุคที่ข้อมูลทุกอย่างเข้าถึงได้ง่ายขนาดนี้ เรื่องนี้ไม่น่าเป็นเรื่องเกินเอื้อม
และแน่นอนว่าถ้าเราในฐานะผู้บริโภคแคร์เรื่องนี้ พลังของพวกเราก็สามารถถูกส่งต่อผ่าน Supply Chain จากร้านอาหาร ไปสู่ผู้ขายส่ง ไปสู่ผู้ผลิตได้
-------------------------------------
ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ?
แน่นอนว่าเรื่องFood Traceability นี้ ชัดเจนสุดเลยก็คือเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค แต่ถ้ามองในแง่สิ่งแวดล้อม ก็สำคัญไม่แพ้กันนะ
จริงๆแล้ว การผลิตอาหาร อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนกับโลกเราเยอะที่สุดก็ว่าได้ [ https://ourworldindata.org/emissions-by-sector ] คือเป็นอันดับสองเรื่องการปล่อยคาร์บอน (อันดับหนึ่งคือการผลิตพลังงาน และยานพาหนะ) อันดับหนึ่งเรื่อง Land Use หรือการเปลี่ยนพื้นที่ป่าให้เป็นพื้นที่เพาะปลูก อันดับหนึ่งเรื่องการปล่อยสารเคมีลงท้องทะเล โดยเฉพาะพวกปุ๋ย
การที่ทั้งป่าหายและทะเลตาย ก็ส่งผลต่อไปอีกทำให้เกิดความสูญเสียทางชีวภาพ (Biodiversity Loss) นำไปสู่การเสื่อมถอยของระบบนิเวศโลก แล้วสุดท้ายก็วนกลับมากระทบความสามารถในการผลิตอาหารของมนุษย์ในที่สุด
เราจะรู้ได้ยังไงว่าปลาที่เรากิน ไม่ได้มาจากเรือประมงผิดกฏหมายที่จับปลาเกินกำหนดหรือว่ามีการใช้แรงงานทาส? เราจะรู้ได้ยังไงว่าไก่ที่เรากิน ไม่ได้กินข้าวโพดจากไร่ที่เผาซากพืชอย่างไม่มีการจัดการจนทำให้เกิดวิกฤติไฟป่า? เราจะรู้ได้ยังไง ว่าผักที่เรากิน ไม่ได้มาจากไร่ที่ปล่อยสารเคมีลงน้ำลงดินอย่างไม่มีการจัดการใดๆ จนสร้างความเสียหายให้แนวปะการังในทะเล?
การผลิตอาหาร เป็นโจทย์สำคัญมากๆในการนำประเทศ (หรือทั้งโลก) สู่การมุ่งสู่พัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเราต้องการทั้งนวัตกรรมใหม่ๆในการผลิต ต้องการกฎหมายที่เข้มงวด และเครือข่ายข้อมูลที่เปิดเผยทุกอย่างและเข้าถึงได้ง่ายมากกว่านี้
-------------------------------------
การเข้าถึงข้อมูลได้ จะนำไปสู่การสร้างทางเลือกที่ดีขึ้น
ลองคิดภาพจินตนาการอนาคต ที่เราสามารถอยู่ในตึกกำแพงทุกด้านมีผักขึ้นสามารถซื้อกินได้ตรงนั้นเลย และสารเคมีทุกอย่างผ่านระบบบำบัดของตึกก่อนถูกปล่อยลงน้ำ หรือเนื้อที่มาจากการเพาะยีนของสัตว์ เนื้อที่ได้มาโดยไม่ต้องทำลายป่า ปลูกพืชไร่ หรือทรมานสัตว์เลย
ในแง่หนึ่ง เทคโนโลยีเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ผู้บริโภคอย่างเราก็ต้องมีส่วนร่วมด้วย เราสามารถโหวตผ่านกระเป๋าตังค์เราได้ เลือกซื้ออาหารโดยพิจารณาทุกที่มาของวัตถุดิบก่อนซื้อ นี่จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับตัวตามไปด้วย
การที่เราแค่แสกน QR code ของอาหารทุกชนิด แล้วสามารถรู้ได้หมดเลยว่าผลิตจากทรัพยากรจากที่ไหนบ้าง ใช้วิธีการอะไรผลิตบ้าง สร้างผลกระทบอะไรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมบ้าง จะนำไปสู่ความต้องการอาหารที่ผลิตอย่างยั่งยืนกว่าที่ทำอยู่นี้ และในที่สุด ตลาดก็จะตอบสนองกับความต้องการใหม่ๆของผู้บริโภค
-------------------------------------
ตัวอย่าง Food Traceability ในต่างประเทศ
ตั้งแต่ปี 2005 ใน EU เป็นกฏหมายเลยว่าผู้บริโภคต้องได้รู้ว่าอาหารมาจากไหน ทุกขั้นตอนของ supply chain ถูกบันทึกไว้หมด
Food traceability = ability to trace and follow food, feed, and ingredients through all stages of production, processing and distribution.
= ความสามารถในการตามอาหาร อาหารสัตว์ และส่วนประกอบของอาหาร ในทุกกระบวนการผลิต การะบวนการทำ และกระบวนการกระจายขนส่งอาหาร
[ https://ec.europa.eu/food/horizontal-topics/general-food-law/food-law-general-requirements_en ]
ซึ่งกฏนี้รวมไปถึงอาหารนำเข้า และกำหนดให้ธุรกิจต้องรู้ one step back-one step forward ว่าอาหารก่อนมาถึงเรามาจากไหน และจากของเราไปไหนต่อเสมอ และกรณีพบว่าอาหารไม่ปลอดภัย ผู้ผลิตต้องเรียกกลับโรงงานได้
-------------------------------------
แล้วเรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้ยังไง
1. ผู้บริโภคเรียกร้องต้องการข้อมูลเหล่านี้ + เครือข่ายตัวแทนผู้บริโภคที่แข็งแรง
2. มีผู้นำธุรกิจเบอร์ใหญ่ๆ อาสาเป็นคนนำก่อน เปิดเผยทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง+ทำให้วิธีเข้าถึงข้อมูลเป็นเรื่องง่าย เป็นแรงจูงใจให้คนอื่นๆทำตาม
3. มีกฎหมายบังคับให้เปิดเผย มีองค์กรตรวจสอบที่ได้มาตรฐานในทุกขั้นตอนของการผลิต และมี platform ข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่าย เข้าใจง่าย เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริโภค ซึ่งประเทศที่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของกระบวนการนี้ คือประเทศแถบยุโรป เช่น ออสเตรีย เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน ฯลฯ ที่มีกฎหมายบังคับใช้เรื่องนี้อย่างชัดเจน
-------------------------------------
#กินอะไรก็ได้ไม่ได้
#ตรวจสอบย้อนกลับ
#รู้ความจริงในสิ่งที่กิน
กินอะไรก็ได้ไม่ได้ 在 Facebook 八卦
หลาย ๆ คนที่ชอบกินทาโรแบบเป็นแฟนพันธุ์แท้ก็ต้องรู้กันอยู่แล้วใช่มั้ยล่ะครับว่า ความอร่อยของทาโรนั้นทำมาจากเนื้อปลาแท้
แต่เคยสงสัยกันมั้ยครับว่า ปลาที่นำมาทำทาโรนั้นคือปลาอะไร มาจากที่ไหน
ตอนนี้ทาโรเขามี QR code ให้เราสแกนและใส่วันที่ผลิตของซองเพื่อดูข้อมูลได้แล้วนะครับว่า ทาโรซองนี้เขาทำยังไงและเอาปลาอะไรจากที่ไหนมาผลิต
ต่อไปนี้เมื่อเรากินทาโรแล้วอยากรู้ว่าซองนี้ปลามาจากแหล่งน้ำไหน ก็แค่สแกนดูได้เลยให้หายสงสัย น่าสนใจมากเลยนะครับ
ยิ่งตอนนี้การรู้ที่มาที่ไปของอาหารกำลังเป็นเทรนด์โลก ถ้าเรารู้รายละเอียดของกระบวนการผลิตแล้ว เราจะรู้สึกสบายใจและมั่นใจในการบริโภคยิ่งขึ้นครับ
#กินอะไรก็ได้ไม่ได้
#ตรวจสอบย้อนกลับ
#รู้ความจริงในสิ่งที่กิน
กินอะไรก็ได้ไม่ได้ 在 Starvingtime เรื่องกินเรื่องใหญ่ Facebook 八卦
กินอะไรก็ได้....ไม่ได้! เพราะทุกอาหารที่ดี ต้องพิสูจน์ได้
.
'กินอะไรก็ได้' คำง่าย ๆ ที่ใครหลายคนมักใช้กันบ่อย
เวลาเพื่อนถาม แม่ถาม แฟนถาม
เพราะไอ้เราก็เป็นคนง่าย ๆ สบาย ๆ
กินอะไร ที่ไหนก็ได้เหมือนกันหมดแหละ…. 🤔🤔
.
แต่รู้ไหมทุกคน คำว่า'กินอะไรก็ได้' เป็นความคิดที่ผิด!!
ในเมื่อทุกอย่างที่เรากินเข้าไปจะส่งผลกับตัวเราโดยตรง
ทั้งระยะสั้นและระยะยาว แล้วทำไมล่ะ
เราถึงไม่เลือกสิ่งที่ดีให้กับตัวเราเอง :)
.
เรามาลองเปลี่ยนแนวคิดกันกับคำว่า
📢 กินอะไรก็ได้....ไม่ได้ ‼️ เพื่อให้ทุกมื้ออาหารทั้งอร่อยและดีต่อตัวเรา
เริ่มจากการ👇👇
✨รู้ความจริงในสิ่งที่กิน✨
เราควรรู้ต้นกำเนิด แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่เรากิน
✨ตรวจสอบย้อนกลับได้✨
พอเรารู้แล้วว่าวัตถุดิบมาจากไหน
อีกสิ่งหนึ่งที่รับประกันว่าสิ่งที่เรากินปลอดภัยและดีจริง ๆ นั้นก็คือ
'ใบรับรองมาตรฐาน' ทุกวัตถุดิบที่ดีต้องผ่านการตรวจสอบจากสถาบันต่าง ๆ เพื่อรับประกันความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
.
นอกจากตัวเราต้องใส่ใจเลือกด้วยตัวเองแล้ว
ก็มีแบรนด์ขนมขบเคี้ยวในไทยอย่าง ‘ทาโร’
ที่ใส่ใจความปลอดภัยของผู้บริโภคเหมือนกันนะ
ด้วยการทำ QR Code หน้าซองขนมให้ทุกคนได้สแกน
ตรวจสอบแหล่งที่มาได้ง่าย ๆ แค่สแกน และกรอกข้อมูล MFG Date
ก็จะรู้เลยว่าปลาในแต่ละซองมาจากน่านน้ำไหน ปลาพันธุ์อะไร
มีสารอาหารอะไรบ้าง และความสนุก คือ
แต่ละซองจะไม่เหมือนกันด้วยนะ
เพราะปลาจะมาจากน่านน้ำที่แตกต่าง (มีถึงมหาสมุทรแปซิฟิกเลยนะ ^0^)
พร้อมข้อมูลต่าง ๆ ทั้งการจับปลาที่ถูกกฎหมาย และใบรับรอง
เราลองสแกนแล้วบอกเลยข้างในเว็บทาง ’ทาโร’ ทำดีมาก ๆ
ข้อมูลครบ ภาพสวย อ่านง่าย
ใครยังไม่เคยลอง ต้องซื้อมาสแกนดูแล้ว
สุดท้ายเราอยากบอกลูกเพจว่า
ในปัจจุบันนี้โรคเยอะมาก ทั้งในอากาศและในอาหาร
เพราะฉะนั้นเวลาเราจะเลือกทานอะไร จะบอกว่า
"กินอะไรก็ได้....ไม่ได้แล้วนะ เพราะทุกมื้ออาหารสำคัญกับสุขภาพของเรา"
พิกัดร้านที่ตั้งใจคัดสรรวัตถุดิบไปตามกัน
📍 : Nose To Tail - Farm Cafe&Bistro
Facebook : Nose to Tail - Farm Cafe&Bistro
📍 : กุ้งตะกร้า เศรษฐี ลำลูกกาคลอง2 สาขาใหญ่
Facebook : กุ้งตะกร้า เศรษฐี ลำลูกกาคลอง2 สาขาใหญ่
#กินอะไรก็ได้ไม่ได้ #ตรวจสอบย้อนกลับ
#รู้ความจริงในสิ่งที่กิน
#Starvingtime #เรื่องกินเรื่องใหญ่
กินอะไรก็ได้ไม่ได้ 在 MEN in BLANK | " กินอะไรก็ได้ " ของผู้หญิง แปลว่า...?? | EP.7 的八卦
กลายเป็นปัญหาโลกแตกอันดับต้นๆ กับคำว่า " กินอะไรก็ได้ ... ได้ ชวนสาวๆ มาคุยเลยว่า ที่จริงแล้ว " กินอะไรก็ได้ " ของพวกเธอ มันแปลว่า อะไร กันแน่? ... <看更多>