ความย้อนแย้งของตรรกะ
"อรรถประโยชน์นิยม และเหตุผลทางด้านศีลธรรม"
.
ผมไปเจอคำถามนึงได้อ่านจากการหนังสือเล่มหนึ่ง
จนสุดท้ายได้หาดูใน Youtube (เฉลยตอนท้ายนะครับ)
คำถามนี้น่าสนใจมากครับ
.
คำถามมีอยู่ว่า
รถไฟคันหนึ่งระบบไฟฟ้าและระบบสื่อสารขัดข้อง
นายสถานีพยายามติดต่อกับพนักงานขับรถไฟ
บนรางข้างหน้ามีคน 5 คน กำลังซ่อมทางรถไฟอยู่ และไม่สามารถติดต่อได้
ถ้านายสถานีไม่ทำอะไรเลย รถไฟจะมุ่งหน้าไปสังหารคน 5 คน
เค้ามีเวลาให้ตัดสินใจเหลืออีกแค่ 5 นาที
.
ขณะนั้นเองนายสถานีพบว่า เขามีทางเลือกที่จะสับเปลี่ยนรางเปลี่ยนเส้นทาง
แต่หากสับเปลี่ยนเส้นทาง เข้าจะสังหารคน 1 คน (นอกเหนือจาก 5 คนแรก) ที่กำลังยืนอยู่บนรางรถไฟ
.
หากคุณเห็นเหตุการณ์นี้ คุณคิดว่าคนขับควรทำเช่นไรครับ
1. ไม่ทำอะไรเลยปล่อยให้รถไฟสังหาร 5 คน ที่กำลังซ่อมทางรถไฟ
2. เปลี่ยนเส้นทางและสังหาร 1 คน บนรางนั้น
ไม่มีปาฏิหารย์ UFO, Avenger, ลุงพล หรือ โดราเอม่อนมาแก้ปัญหานะครับให้เลือกแค่ 1 กับ 2
.
เลือกยากใช่ไหมครับ
ผมลองถามเพื่อนและคนรู้จักมา 10 คนเห็นจะได้
9 คน ตอบว่าควรจะเลือกข้อ 1 เพราะคนตายแค่คนเดียว
มี 1 คน ที่ตอบว่าเลือกข้อที่ 2 (แฟนผมเองครับ)
และผมเป็นคนนึงที่เลือกข้อ 1
.
คราวนี้เพิ่มโจทย์อีกหน่อย
หากคน 1 คน ที่กำลังยืนปลายรางย้ายมาอยู่ตรงหน้าคุณ และคุณเป็นนายสถานี
คุณเลือกที่จะผลักเขาตกรางรถไฟ เพื่อให้ร่างกายของเขาหยุดรถไฟ
และช่วยชีวิตคน 5 คน คุณจะทำไหมครับ
คราวนี้ 10 คนที่ผมถามคำถามแรกตอบผมว่า "ไม่ทำอะไรเลยดีกว่า"
และปล่อยให้ชาย 5 คน นั้นถูกรถไฟสังหาร
.
หากคุณคิดถึงอรรถประโยชน์ของส่วนรวม และคุณไม่ได้ลงมือด้วยตัวเอง
คุณอาจจะเลือกเพื่อช่วยชีวิตคน 5 คน
แต่เมื่อใดที่คุณเป็นผู้ลงมือกระทำและสิ่งนั้นทำลายศีลธรรมและคุณธรรมแล้ว
คุณอาจจะต้องยอมที่จะให้คน 5 คน เสียชีวิต
การตัดสินใจต่างๆในแต่ละเรื่อง
เหตุผลของอรรถประโยชน์ คุณธรรมและศีลธรรม ตีความได้หลายมุมมอง
อาจจะยุติธรรมสำหรับบางคนและไม่ยุติธรรมสำหรับคนอีกกลุ่ม
จนสุดท้ายเป็นชนวนที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง
.
คำถามนี้คิดโดย ฟิลิปปา ฟุต (Philippa Foot) ในปี 1967
และถูกดัดแปลงและใช้อย่างกว้างขวางในวิชาศีลธรรม Moral reasonning
.
เมื่อเจอกับคำถามนี้ คนที่ถูกท้าทายมากที่สุดในอนาคตคือคนที่สร้าง algoritm ของ self -driving car มันคงจะลำบากใจน่าดูกับการที่ต้องทำให้ AI เลือก ในกรณีที่อ่อนไหวแบบนี้
.
หากใครอยากจะติดตามเรื่องราวนี้เพิ่มเติมสามารถตามลิงค์นี้ดูได้เลยครับ
ในคลิปเป็น Class ของ อาจารย์ Michael J. Sandel ที่มหาลัย Harvard
และหากใครสนใจหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ลองไปหาอ่านดูได้ครับ
Justice: What's the Right Thing to Do?
แปลไทยโดย สนพ. Salt
ref:
https://www.youtube.com/watch?v=4M9l4Dgs1vU
#pskirin
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過62萬的網紅Bryan Wee,也在其Youtube影片中提到,...
pskirin 在 People Persona Facebook 八卦
From “Just Do It” to “Don’t Do It!”
“การยืนหยัดเพื่อคุณค่าของสิ่งที่เรียกว่าความถูกต้อง แม้บางครั้งอาจต้องใช้เวลา แต่คุณค่าที่แท้จริงจะปรากฏ ในที่สุด”
....
.....
........
ยอมรับตรงๆว่าตอนแรกคิดว่าจะเขียน บทความ
"Just do it" ของ Nike
ที่เกี่ยวกับ "Core value"
ความเชื่อของ Brand Nike ต่อการให้คุณค่าของบุคคล
ความเท่าเที่ยม
และความเชื่อมั่นต่อมนุษย์ชาติ
ผ่านทาง Brand Ambassador หลายๆคน
ไม่ว่าจะเป็น Micheal Jordan, Tiger Wood, Serena Williams
Kobe Brian, Eliud Kipchoge ไปจนถึง Colin Kaepernick
ลองสังเกตดูว่าแต่ละคนเป็น นักกีฬาผิวสีทั้งหมด
ยกเว้น Colin ที่เป็นลูกครึ่ง เฉยๆ(เพราะคิดว่าจะเขียนมานานละ)
.
แต่หลังคลิปวีดีโอที่บันทึกเหตุการณ์ในวันที่ 25/05/2020 ออกมา
เผยแพร่เหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติต่อชายผิวสี "จอร์จ ฟลอยด์"
ด้วยการเข้าจับกุมและใช้หัวเข่ากดที่ท้ายทอย จนหายใจไม่ออกเสียชีวิต
(ต่อหน้าคนมากมาย)แล้วมันก็บานปลายกลายเป็นจลาจล
ในมากกว่า 20 รัฐ มากกว่า 100 เมือง
ทั่วสหรัฐ จนนายตำรวจหลายกรม หลายโรงพักต้องมานั่งคุกเข่ากัน
.
ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะมันเป็นเรื่องที่หดหู่และสะเทือนใจ ใครหลายคนอย่างมาก
หรืออาจจะมากเกินกว่าจะรับไหวในโลกยุคนี้(หรือยุคไหนก็ตาม)
และมันก็ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก แต่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก
.
เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าเรื่องนี้ควรค่าที่จะนำมาเขียนถึงก่อน และมันก็เกี่ยวข้องกับ Nike (แบรนด์รองเท้าที่ผมกับเพื่อนมีมากที่สุด) อย่างที่เกริ่นมาในตอนต้นอีกด้วย
.
หลังจากเหตุการณ์ของ จอร์จ ฟลอยด์ ครั้งนี้ Brand Nike ซึ่งเคย
ออก Campaign โฆษณา ฉลองสโลแกน "Just Do it" ในปี 2018
ซึ่งในตอนนั้นเลือก Colin Kaepernick พร้อมกับ
Quote
“Believe in something. Even if it means sacrificing everything”
.
“จงเชื่อมั่นในบางสิ่ง แม้มันจะหมายถึงการต้องเสียสละทุกสิ่งก็ตาม”
.
ซึ่ง Colin นี่เองที่เป็นคนจุดกระแสประท้วงการเลือกปฏิบัติต่อคนเชื้อสายแอฟริกัน
ด้วยการคุกเข่าขาเดียว
เมื่อเพลงชาติสหรัฐดังขึ้นก่อนการแข่งขัน NFL ในปี 2016
และนั่นทำให้ Colin ถูกหาว่าไม่ให้เกียรติเพลงชาติ
(เอ๊ะ! คุ้นๆ นี่ USA หรือ Republic of China วะ)
.
Colin กลายเป็นนักกีฬา NFL ไร้สังกัดตกงานหลังจากหมดสัญญาในปี 2017 ในทันที ความจริงอาจจะเกี่ยวข้องกับผลงานในสนาม ที่ตกลงไปมากของเค้า
ถ้าเทียบกับตอนที่ก้าวขึ้นมาจากตัวสำรองของ Alex Smith
แล้วพา 49ers เข้าชิง Super Bowl
ในช่วง3ปีก่อนหน้านั้น บวกกับเจ้าของทีมใน NFL ส่วนใหญ่เป็นคนขาวซะด้วย แม้ว่านักกีฬา 80% จะเป็นคนผิวสีก็ตาม
.
กลับมาที่ Nike หลังจากที่ให้ Colin เป็น Presenter
Nike เจอมรสุมต่อต้านลูกใหญ่
ใน Social Media มีการติด
Hashtag #BoycottNike และ #JustBurnIt
สินค้า Nike ถูกบอยคอต
มีการเผาสินค้า Nike ผ่าน VDO Youtube
และหุ้นตกทันทีจากประมาณ 82 $ ไปที่ 80 $ (03/09/2020)
.
.
เท่านั้นไม่พอ Donald Trump
ยังออกมาบอกอีกว่า เป็นข้อความที่ห่วยแตกสิ้นดี "Terrible message"
.
...
.
แต่.. Campaign นี้กลับไปดังกึกก้องอยู่ใน #หัวใจของคนรุ่นใหม่อย่าง
Millenial และ Gen Z (รวมถึงพวกผม)
Nike ได้รับผู้สนับสนุนจากคนกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้น
การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ติดตาม (170,000 Followers)
ใน Instagram บอกได้เป็นอย่างดี
ว่าคนกลุ่มนี้คิดอย่างไรกับความเท่าเทียมของมนุษย์
.
ฮะแฮ่ม....ในวันที่ 10/09/2018 หุ้น Nike กลับมาที่ 83.49 All time high (ช่วงนั้นเฉยเลย
อันนี้หลอกแมงเม่าไปตบหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ)
.
.
ร่ายมาซะยาวกลับมาที่ปัจจุบัน
วันที่ 30/05/2020 ที่ผ่านมา
Nike ประกาศ Campaign ปลุกกระแสสังคมที่กำลังลุกโชนอยู่แล้ว
ให้ลุกโชนเข้าไปอีก ประมาณว่า "ขับรถแก๊ส วิ่งชนเข้ากับตึกที่กำลังไฟไหม้"
"For once, Don't do it"
อย่าเพิกเฉยต่อการเหยียดสีผิว
.
.
เหตุการณ์นี้ผมไม่ขอตัดสินว่าเป็น Campaign การตลาดหรือไม่นะครับ
Nike อาจจะฉลาด และเป็นนักฉกฉวยมือฉมังทางการตลาดก็ได้
.....แต่ต่อให้เป็นเหตุผลทางการตลาดจริงๆ ผมก็ยังยกย่องในการกระทำของ Nike อยู่ดี
.
มนุษย์มีความแตกต่างกันในหลายๆทาง ไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติ ศาสนา สีผิว พื้นเพ ความคิด ความเชื่อ
แต่ 1 ใน เหตุผลที่มนุษย์ไม่ฆ่ากันเอง เหมือนสัตว์บางชนิด(อีกแล้ว) ก็คือ “การยอมรับในความแตกต่าง”
.
ดังนั้น ผมคิดว่าสิ่งที่เราทำได้คือ "เราต้องไม่เพิกเฉยกับความอยุติธรรม และความไม่ถูกต้องครับ"
.
ผมขออนุญาตเชื่อมโยงกับเรื่องราวของคนคนหนึ่งที่เคยพูดไว้ว่า
.
“ตรงข้ามกับความรักมิใช่ความเกลียดชัง แต่มันคือความเพิกเฉยต่อความอยุติธรรม
The opposite of love is not hate, it is indifference."
-Elie Wiesel- นักเขียนรางวัลโนเบล
เขาเป็นชาวยิว และเคยเป็นเหยื่อของความเกลียดชัง
ผู้รอดตายจากการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ของนาซี
เค้าถูกทรมานในค่ายกักกัน พ่อของเข้าถูกทรมานจนตาย
เค้าเล่าว่าบางคนสิ้นหวัง และบางคนหวัง
ไม่ได้หวังให้คนเลิกทรมานเค้านะครับ
แต่หวังว่า คนบางกลุ่มจะไม่เพิกเฉยกับการกระทำนี้
และลุกขึ้นมาทำอะไรซักอย่าง
และท้ายที่สุดเค้าก็รอด จากทหารของอเมริกันที่ไม่เพิกเฉย
.
.
มีใครเคยบอกผมไว้ว่า “คนชอบพูดกันว่าความจริงมีหลายด้าน
ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองมันมุมไหน”
......แต่สำหรับผม ในหลายๆเรื่อง "ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว
และความถูกต้องจะต้องไม่ถูกบิดเบือนไป”
ราตรีสวัสดิ์ครับ
#PSKirin
pskirin 在 People Persona Facebook 八卦
เหตุเกิดเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
ชายนิรนามคนนึงบ่นพึมพำ ถึงเรื่องการซื้อทีวีเครื่องแรกของเค้า
.
ในตอนแรก เค้าไปซื้อทีวีมา ระหว่างกลับบ้านนึกขึ้นได้ว่าทีวีไม่มีรีโมท
.
หลังจากนั้นเขาจึงกลับไปที่ร้านพร้อมทีวี
เค้าไม่มีเงินเหลือแล้ว จึงได้ขายทีวีให้กับร้านขายของเก่า
.
และ "เค้านำเงินที่ได้มา ไปซื้อรีโมททีวี"
.
หลังจากนั้น เค้าก็ไม่มีทีวีให้เปิด
.
-จบข่าว-
.
.
.
มุกของใครมาเคลมเครดิตได้นะ ผมหาต้นขั้วไม่เจอจริงๆ
PS_Kirin
#ตบมุกแรกแป๊กก็ลบทิ้ง 😅
#peoplepersona
#pskirin
pskirin 在 Bryan Wee Youtube 的評價
pskirin 在 Travel Thirsty Youtube 的評價
pskirin 在 スキマスイッチ - 「全力少年」Music Video : SUKIMASWITCH / ZENRYOKU SHOUNEN Music Video Youtube 的評價
pskirin 在 Emin Zaki | PDF - Scribd 的相關結果
... Li fesahet bel mehray e qiyamet bi Ermen nab ?, Bi kurt ve ew rya guhpnedan pskirin, ya ku Wjevann Kurdan beramber bi zimann xwe ve tan destpka sedsal ... ... <看更多>
pskirin 在 https://anno.onb.ac.at/cgi-content/annoshow?text=n... 的相關結果
LiMMl«!idö,Meti!irl!k^^ sie. sie. rii llen billigrtön pskirin. '. E r2... . »7.-.4 [ 2022-02-24 14:36:29 - 19061021 - Seite 44 ] ^VivQ, SovlltLK 21« O^odsr ... ... <看更多>
pskirin 在 upskirsin.com - real voyeur galleries 的相關結果
uppskirsin.com upsirsin.om upskirsin.m uskirsincom upskirsicom upskisin.com upskrsin.om upsk9rsin.com pskirin.com upsksin.com uskirsin.co upskrsincom ... ... <看更多>