Google Maps ธุรกิจที่สะสมข้อมูล โลกทั้งใบ ไว้ในมือ /โดย ลงทุนแมน
สมาร์ตโฟน คือสิ่งประดิษฐ์ที่เข้ามาทำให้พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงและหนึ่งในนั้นก็คือวิธีการดูแผนที่
แอปพลิเคชันแผนที่ดิจิทัล ที่ได้รับความนิยมสูงสุดก็คือ “Google Maps” ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้บอกเส้นทาง หรือแม้แต่ดูสภาพการจราจรเรียลไทม์
จนหลายคนอาจจินตนาการไม่ออกแล้วว่าในยุคที่แผนที่ยังเป็นกระดาษ
เราเดินทางไปสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยกันอย่างไร
แล้วเส้นทางการรวบรวมข้อมูลโลกทั้งใบไว้ในมือของ Google Maps มีความเป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปเมื่อ 18 ปีก่อน หรือในปี 2003 ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
คู่พี่น้องชาวเดนมาร์กที่ชื่อ Lars และ Jens Eilstrup Rasmussen กับเพื่อนชาวออสเตรเลียอีก 2 คน
ได้ร่วมกันก่อตั้งสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับแผนที่ดิจิทัล ที่มีชื่อว่า “Where 2 Technologies”
ในปีถัดมา Where 2 Technologies ได้เข้าไปนำเสนอไอเดียธุรกิจของพวกเขา
ให้กับบริษัท Search Engine ยักษ์ใหญ่ของโลก นั่นคือ Google
และนี่คือจุดเริ่มต้นของ Google Maps
Google ตัดสินใจซื้อกิจการ Where 2 Technologies ในปี 2004
และในปีเดียวกัน Google ยังซื้อกิจการเพิ่มเติมอีก 2 บริษัท
บริษัทแรกคือ Keyhole ที่พัฒนาเทคโนโลยีด้านการสร้างแผนที่ 3 มิติ
โดยใช้ดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งต่อมาก็คือ Google Earth
และอีกบริษัทคือ ZipDash บริษัทที่พัฒนาระบบให้บริการข้อมูลการจราจรแบบเรียลไทม์
หลังจากใช้เวลาพัฒนาต่อไประยะหนึ่ง ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2005 Google ก็ได้เปิดตัว Google Maps
ซึ่งเป็นความตั้งใจของ Google ที่จะให้บริการแผนที่ดิจิทัลบนเว็บไซต์ เพื่อทำให้การหาเส้นทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งทำได้ง่าย สามารถค้นหาสถานที่ได้ ซูมเข้าออก และเลื่อนแผนที่ได้เอง
ที่มากกว่านั้นก็คือ Google ต้องการสะสมข้อมูลของโลกทั้งใบไว้ด้วย
แม้ในตอนนั้นจะมี MapQuest และ Yahoo! Maps ที่ให้บริการแบบนี้มาก่อนแล้ว
แต่ความนิยมของ Google Maps ก็เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จนกลายมาเป็นผู้ชนะได้
จาก 3 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในปี 2007
จุดเปลี่ยนแรกก็คือ การเริ่มให้บริการ Google Street View
แม้จะเป็นฟีเชอร์ที่ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์สูง ในเรื่องความเป็นส่วนตัวของภาพถ่าย ซึ่งในตอนหลัง Google ได้แก้ไขแล้ว แต่ Street View ก็เป็นฟีเชอร์ที่ถูกใจผู้ใช้งาน และทำให้ Google Maps ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก
Street View มีขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งาน Google Maps ได้เห็นภาพสถานที่จริงประกอบด้วย ช่วยให้ผู้ใช้งานค้นหาสถานที่ทำได้สะดวกขึ้น
โดยภาพ Street View เหล่านี้ Google Maps จะใช้รถยนต์ที่ติดกล้องซึ่งพัฒนาขึ้นมาเอง และให้คนขับรถออกไปบันทึกภาพ
แต่ถ้าเป็นในพื้นที่ที่รถเข้าไม่ถึง อย่างเช่น ตามสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นภูเขา ก็จะเป็นคนแบกกล้องเดินไปบันทึกภาพแทน
Google Maps เริ่มต้นรวบรวมภาพ Street View ใน 5 เมืองของสหรัฐอเมริกา
จนในปัจจุบันมีข้อมูลกว่า 187 ประเทศ และสามารถดูภาพ Street View แบบ 360 องศาได้
จุดเปลี่ยนที่สองก็คือ เริ่มให้บริการบนโทรศัพท์มือถือ
Google Maps ได้พัฒนาให้ใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถืออย่าง BlackBerry และ Palm ได้
นั่นจึงเป็นครั้งแรกที่ทำให้ Google Maps สามารถพกติดตัวไปใช้งานที่ไหนก็ได้
จุดเปลี่ยนที่สามและเป็นครั้งสำคัญที่สุดก็คือ เริ่มให้บริการในรูปแบบ “แอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน”
ในปี 2007 ยังเป็นปีที่ iPhone รุ่นแรกของโลกเปิดตัว และแอปพลิเคชันแผนที่บน iPhone
ทาง Apple ได้ร่วมกันพัฒนากับ Google และใช้ฐานข้อมูลทั้งหมดจาก Google Maps
ต่อมาในปี 2012 Apple ได้หยุดการใช้ฐานข้อมูลจาก Google Maps และหันมาพัฒนาแอปพลิเคชัน Maps ด้วยตัวเอง
แต่กลับกลายเป็นว่า Apple Maps ได้กลายเป็นหนึ่งในสิ่งที่ Apple ทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จ
โดยได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงความไม่ถูกต้องของข้อมูล และปัญหาข้อผิดพลาดทางเทคนิค
จนถึงขั้นที่ CEO ของ Apple อย่าง Tim Cook ต้องออกมาขอโทษอย่างเป็นทางการ
จุดอ่อนของ Apple Maps ก็คือการไม่ได้เป็นเจ้าของข้อมูลเองแบบ Google
แต่ใช้วิธีนำข้อมูลจากพาร์ตเนอร์ทั่วโลกมาใช้ต่ออีกที
หลังจากประเด็นร้อนของ Apple Maps เพียง 1 วัน
Google Maps ก็เริ่มพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับระบบปฏิบัติการ iOS ทันที
ต่อยอดจากเวอร์ชันของ Android ที่ให้บริการมาตั้งแต่ปี 2008 แล้ว
และ 3 เดือนหลังจากนั้น แอปพลิเคชัน Google Maps
ก็เปิดตัวบน App Store อย่างเป็นทางการ
ซึ่งภายในเวลาเพียง 2 วันก็ถูกดาวน์โหลดไปกว่า 10 ล้านครั้ง
แต่นอกเหนือจาก MapQuest และ Yahoo! Maps แล้ว
Google Maps ก็ต้องเผชิญกับคู่แข่งใหม่อย่าง Waze
ที่มีจุดเด่นคือเป็นแอปพลิเคชันแผนที่ ที่เป็น Social Network ด้วย
นั่นจึงทำให้ผู้ใช้งาน สามารถแชร์และอัปเดตข้อมูลได้เองแบบเรียลไทม์ เช่น จุดนี้เพิ่งเกิดอุบัติเหตุทำให้รถติด
Google จึงเข้าซื้อกิจการ Waze ปี 2013 และนั่นทำให้ Google Maps สามารถแสดงข้อมูลเรียลไทม์อย่างจุดที่มีการปิดถนนหรือซ่อมถนนได้
Google Maps ยังได้ต่อยอดการบริการที่ใช้ประโยชน์จากแผนที่ไปอีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
- การแสดงจุดที่กำลังเกิดภัยธรรมชาติ
- การรีวิวร้านค้าหรือโรงแรมของผู้ที่ไปใช้บริการ
- ข้อมูลจำนวนผู้ใช้บริการในสถานที่ต่าง ๆ ในแต่ละช่วงเวลา สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการหลีกเลี่ยงช่วงที่มีผู้คนแออัด
หรืออย่างช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ก็เพิ่มตัวเลือก COVID-19 Info
ที่ใช้แสดงสถิติเกี่ยวกับสถานการณ์ผู้ติดเชื้อในพื้นที่ต่าง ๆ อีกด้วย
ด้วยการใช้งานที่สะดวก ข้อมูลมีความแม่นยำ และยังมีฟีเชอร์การใช้งานที่เป็นมากกว่าแผนที่
จึงทำให้ปัจจุบัน Google Maps กลายเป็นแอปพลิเคชันแผนที่ อันดับหนึ่งของโลก
ที่มีผู้ใช้งานหลักพันล้านคนต่อเดือน ในกว่า 220 ประเทศทั่วโลก
แล้ว Google Maps มีรายได้จากอะไรบ้าง ?
ได้ชื่อว่า Google ก็แน่นอนว่ารายได้ทางแรกคือจากค่าโฆษณา
ซึ่งในความจริงแล้ว Google Maps ให้บริการฟรีแบบยังไม่เริ่มเก็บค่าโฆษณามาตลอด
โดยทางบริษัทอธิบายว่า ได้ใช้เวลาทดลองอยู่นานว่าจะเริ่มสร้างรายได้จากโฆษณาอย่างไร
ไม่ให้กระทบประสบการณ์ของผู้ใช้งาน
จนกระทั่งปี 2019 Google Maps เริ่มให้บริการโฆษณาบนแพลตฟอร์มอย่างจริงจัง
ซึ่งก็มีอยู่หลายรูปแบบ อย่างเช่น Promoted Pins และ Nearby
โดยปกติ ตำแหน่งที่ตั้งใน Google Maps จะมีไอคอนมาตรฐานแสดงถึงกิจการแต่ละประเภท
เช่น รูปแก้วกาแฟสำหรับร้านกาแฟ หรือรูปเตียงสำหรับโรงแรม ซึ่ง Google Maps ได้ให้ธุรกิจหรือร้านค้าใช้ Promoted Pins หรือคือการใช้โลโกของแบรนด์ตัวเอง แทนไอคอนเหล่านั้นได้
ยกตัวอย่างเช่น ตำแหน่งของ Starbucks แสดงด้วยโลโกนางเงือกสีเขียว หรือโรงแรม Hilton แสดงด้วยโลโกตัวอักษร H สีแดง
ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มการจดจำให้กับแบรนด์เองแล้ว ผู้ใช้งาน Google Maps ยังสะดวกมากขึ้นจากการใช้กิจการชื่อดังที่ทุกคนรู้จักเป็นจุดอ้างอิงในการหาเส้นทางได้
หรืออย่างฟีเชอร์ Nearby ที่ให้ผู้ใช้งานใช้ค้นหาสถานที่ใกล้ตัว อย่างร้านอาหาร ร้านกาแฟ ปั๊มน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อ หรือโรงแรม ซึ่งกิจการที่จ่ายค่าโฆษณา ก็จะปรากฏขึ้นมาเป็นอันดับแรก ๆ
นอกจากค่าโฆษณาแล้ว รายได้อีกทางของ Google Maps ก็คือการให้บริการแพลตฟอร์มแผนที่
เพื่อเป็นข้อมูลเชื่อมต่อไปยังแอปพลิเคชันที่ต้องการใช้แผนที่ดิจิทัล เช่น แอปพลิเคชันเรียกรถ หรือดิลิเวอรี ซึ่งในปัจจุบัน มีกว่า 5 ล้านเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่ใช้ Google Maps เป็นฐานข้อมูล
ถ้ามองไปถึงโอกาสในการสร้างมูลค่าจาก Google Maps ในอนาคต ก็ต้องบอกว่ายังมีอยู่อีกมาก
อย่างพวกข้อมูลเส้นทาง ถนน การจราจรจำนวนมหาศาลที่ Google Maps สะสมมา จะเป็นคลังข้อมูลที่สำคัญในการพัฒนา Waymo หรือยานพาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติของ Alphabet ได้
หรือจะเป็นการเติบโตไปกับเทรนด์ Augmented Reality หรือ AR อย่างเช่น เกม Pokémon GO ที่ร่วมพัฒนาโดย Nintendo, Pokémon และ Niantic
ซึ่ง Niantic ก็คือบริษัทเกม AR บนสมาร์ตโฟน ที่แยกออกมาจาก Google และอยู่ในเครือ Alphabet
ถึงตรงนี้คงจะพอเดาได้ว่า แผนที่ในเกม Pokémon GO ก็มาจากฐานข้อมูลของ Google Maps นั่นเอง
Google Maps ที่เพิ่งสร้างรายได้อย่างเป็นทางการให้ Google ได้เพียง 2 ปี จึงยังคิดเป็นสัดส่วนเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ของ Google และ Alphabet เท่านั้น
แต่นั่นจึงทำให้น่าจับตามองต่อไปว่า
Google Maps ที่ครอบครองข้อมูลของโลกทั้งใบ
จนเปรียบได้กับทรัพย์สินล้ำค่าที่ Google สะสมมานาน
จะสร้างรายได้ให้กับ Google มากขนาดไหนในอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.cnbc.com/2020/12/05/how-google-maps-came-to-dominate-navigation-.html
-https://www.cnbc.com/2021/05/18/how-does-google-make-money-advertising-business-breakdown-.htm
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2019-04-10/google-flips-the-switch-on-its-next-big-money-maker-maps?sref=i3mD6rA5l
-https://www.theguardian.com/technology/2015/feb/08/google-maps-10-anniversary-iphone-android-street-view
-https://medium.com/@lewgus/the-untold-story-about-the-founding-of-google-maps-e4a5430aec92
-https://www.investopedia.com/articles/investing/061115/how-does-google-maps-makes-money.asp
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過62萬的網紅Bryan Wee,也在其Youtube影片中提到,...
「podcasts on android」的推薦目錄:
- 關於podcasts on android 在 ลงทุนแมน Facebook
- 關於podcasts on android 在 Sandy 采聿老師 Facebook
- 關於podcasts on android 在 Sandy 采聿老師 Facebook
- 關於podcasts on android 在 Bryan Wee Youtube
- 關於podcasts on android 在 Travel Thirsty Youtube
- 關於podcasts on android 在 スキマスイッチ - 「全力少年」Music Video : SUKIMASWITCH / ZENRYOKU SHOUNEN Music Video Youtube
- 關於podcasts on android 在 免安裝Spotify 及YouTube 也能聽Podcast?是真的!Android ... 的評價
podcasts on android 在 Sandy 采聿老師 Facebook 八卦
❤️Podcast新節目上架❤️ #聽故事學英文
元宵節猜動物燈謎 The First Full Moon
Apple Podcast 兒童與家庭類 #排行第一
元宵節這一天小朋友最喜歡的事情就是提燈籠、猜燈謎,所以這一集節目我為小朋友寫了一個森林小動物猜燈謎的故事。故事中有三個謎題,一起猜一猜:
1. I have fur and a bushy tail. What am I?
2. I like to hop around. I am green and I croak. I catch flies with my long tongue. What am I?
3. I am a key that cannot open a door. What am I?
對於小朋友的英文學習,我覺得環境營造很重要,也就是給小孩一個空間和時間讓他們可以接觸並使用英文。最好的情況是有人可以做真實生活中的「雙向」互動,無論是家長自己或是老師。不過這點不是每個家庭都做得到,所以我也很鼓勵讓小朋友多聽,訓練英文耳朵!
雖然podcast只能很單向的向小朋友講述,無法有即時雙向互動,但我很喜歡在節目中設計一些隔空互動的橋段,例如這個元宵節故事的猜燈謎片段。希望小朋友在聽的時候,不是真的當背景音樂,左耳進右耳出,而是可以動動腦,好好地來猜一猜。
我做podcast講故事,不可能滿足所有年齡層&所有程度語言學習者的喜好&需要,也無法宣稱任何聽完就會有的「功效」。我只希望儘量為大部分的小聽眾做到兩件事:
1. 提供免費接觸英文的機會
2. 提升學習的興趣
看過好多孩子英文越學,臉上那個飛揚的神采越消失,學習變成是一件苦差事。我也很少聽到有孩子說 I love learning 或是 Learning is fun...。因為這樣,我喜歡說故事,讓小朋友覺得切身有感,貼近生活。最重要希望原本害怕或抗拒英文的小朋友,可以不要一聽到英文就覺得討厭,能學到什麼程度不重要,我關心的是小朋友是不是有漸漸喜歡學英文。
期待「聽故事學英文」這個podcast節目,能在小朋友的心中種下一顆小小的種籽,在未來成長茁壯。希望每個小朋友都長成熱愛學習、能大方地用各種語言侃侃而談,充滿自信的大人!
—-
✅最好聽的兒童英文Podcast
#聽故事學英文 #Sandy采聿老師
Apple Podcast ▶️ https://apple.co/2RDiXtw
Sound On ▶️ https://sndn.link/tsaiyu
❤️IG帳號 sandy.bongo❤️
👍完全免費
👍iPhone用戶直接用內建Apple Podcasts
👍Android用戶下載SoundOn、Spotify、Castbox、KKBOX、Mixerbox、Google Podcasts 等各大平台皆可收聽
podcasts on android 在 Sandy 采聿老師 Facebook 八卦
❤️Podcast新節目上架❤️
今天2/21是國際母語日。我以前根本不知道有這個節日,是前陣子看到許多其他的podcaster在聊這個才知道原來還有這種節日。
我馬上想到一首媽媽小時候常常唱的台語童謠「紅龜粿」,這是她小時候在教會學的。我覺得很好聽,歌詞非常可愛,很想跟大家介紹這首對我別具意義的歌。我在這一集節目中不是要教大家講台語,因為我講得也不好,只是我常常唱English Silly Songs,那何不在這特別的一天來分享這首台語的Silly Song!
我從小在家跟爸媽在學校都是講中文,台語不是我生活中熟悉使用的語言,我的英文應該講得比台語溜很多。逐漸長大之後,我才漸漸開始對台語產生一種情感上的連結,一種對自己身份和文化認同的追求,也對台灣這塊土地的故事有更多興趣。
這集節目算是給大人聽的,沒有逐字稿或是過多剪接,沒有配樂,沒有特別要教什麼。我會切換三種語言:中文、英文、台語,單純跟大家聊聊天,分享這首我童年回憶中特別有情感連結的台語童謠。
其實節目是今天凌晨一兩點發佈的,一整天下來我收到好多聽眾的私訊,告訴我說這首台語歌謠勾起童年的美好記憶,還有旅居國外的朋友聽到台語特輯特別留言跟我打招呼的。一首短短的歌謠可以引起很多的共鳴,我覺得好棒!
各位大人學起來可以唱給孩子聽,當睡前搖籃曲,會成為日後親子間美好的回憶喔!
希望大家聽得開心。
—-
✅最好聽的兒童英文Podcast
#聽故事學英文 #Sandy采聿老師
Apple Podcast ▶️ https://apple.co/2RDiXtw
Sound On ▶️ https://sndn.link/tsaiyu
❤️IG帳號 sandy.bongo❤️
👍完全免費
👍iPhone用戶直接用內建Apple Podcasts
👍Android用戶下載SoundOn、Spotify、Castbox、KKBOX、Mixerbox、Google Podcasts 等各大平台皆可收聽
podcasts on android 在 スキマスイッチ - 「全力少年」Music Video : SUKIMASWITCH / ZENRYOKU SHOUNEN Music Video Youtube 的評價
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/IvDTkTKi5pA/hqdefault.jpg)
podcasts on android 在 免安裝Spotify 及YouTube 也能聽Podcast?是真的!Android ... 的八卦
Android 手機就有內建Google Podcast | 俞果3C | LINE TODAY ... ... <看更多>