ขีดจำกัดของโลก 9 ประการ
เรื่องโลกร้อนเป็นแค่ 1 ใน 9 เท่านั้น ! มีอีก 8 ตัว! คุณพระ!!
-----------------------
เมื่อไม่นานมานี้ได้ดูสารคดีเรื่อง Breaking Boundaries: The Science of Our Planet ใน netflix [ https://www.imdb.com/title/tt14539726/?ref_=nv_sr_srsg_0 ] น่าสนใจมาก
หนังพูดเรื่อง The 9 planetary boundaries หรือขีดจำกัดของโลก 9 อย่างที่มนุษย์กำลังสร้างผลกระทบโดยตรง และถ้าข้ามขีดอันตรายไปเมื่อไหร่ จะเกิดผลกระทบลูกโซ่ที่ทำลายระบบนิเวศของโลกอย่างหวนกลับมาไม่ได้อีกต่อไป
ซึ่งในบรรดา 9 อย่างนี้ เรารู้จักเรื่องโลกร้อนดีที่สุด แต่ที่เหลือ มีหลายอันที่มีคนพูดถึงน้อยมากๆ
ขีดจำกัดทั้ง 9 นี้ มีที่มาจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ นำโดย Johan Rockstrom [นามสกุลโคตรเท่] แห่งมหาวิทยาลัย Stockholm และวิล สเตฟเฟน (Will Steffen) จากมหาวิทยาลัย Australian National University เอางานวิจัยยาวนานกว่า 5 ทศวรรษ มาสรุปเป็นกระบวนการรักษาสมดุลของโลกให้เราเห็นชัดเจน 9 ประการ โดย Rockstrom เองเป็น presenter ของสารคดีชิ้นนี้ด้วย
นอกจากจะทำความรู้จักขีดจำกัดทั้ง 9 อย่างนี้แล้ว งานวิจัยก็ยังบอกเราด้วยว่าตอนนี้มนุษย์อยู่ในขีดอันตรายระดับไหนแล้วในแต่ละหัวข้อ
-----------------------
สถานการณ์: [Code Red] วิกฤติแล้วจ้า ฉิบหายแล้ว มี 2 ข้อ
1. Biodiversity loss [การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ] : สถานการณ์ วิกฤติ
- ว่าด้วยการสูญพันธ์ของสัตว์และพืช ใช่ 50 ปีที่ผ่านมา อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ หลักๆมาจากการสูญเสียที่อยู่อาศัยจากการกระทำของมนุษย์ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เพื่อผลิตอาหาร น้ำ และทรัพยากร
- ต่อปี อัตราการสูญพันธุ์ในปัจจุบัน อยู่ที่ 1,000 ต่อ 1,000,000 ชนิด ต่อปี [0.1%] โดยอัตราการสูญพันธุ์ที่ปลอดภัย อยู่ที่ ไม่เกิด 10 ต่อ 1,000,000 ชนิดต่อปี [ 0.001%] เท่ากับเราเลย limit ที่ปลอดภัยมาแล้ว 100 เท่า!
2. Nitrogen Cycle and Phosphorus Cycle [ วงจรไนโตรเจนและฟอสฟอรัส] : สถานการณ์ วิกฤติ
- ใช้แล้วครับ ไนโตรเจนกับฟอสฟอรัส ในปุ๋ยเคมี NPK นี่แหล่ะ
- เรื่องนี้มีคนรู้น้อยมาก หลักๆคือการที่มนุษย์ผลิตอาหารมากขนาดนี้ เราต้องใช้ปุ๋ยจำนวนมหาศาล เราไปเก็บไนโตรเจนมาจากชั้นบรรยากาศ และขุดฟอสฟอรัสมาจากในดิน แล้วในกระบวนการเกษตร สารเหล่านี้โดนเก็บไว้ในพืชแค่นิดเดียว ที่เหลือไหลลงน้ำลงทะเล หรือกลายเป็นมลพิษในอากาศ
- ซึ่งผลพวงก็มีเช่น ปุ๋ยลงน้ำไปทำให้เกิด Algae Bloom [สาหร่ายเติบโต] ซึ่งพอตายทับถมกัน ก็ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงเรื่อยๆ จนบางที่กลายเป็น "Dead Zone" หรือจุดที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอยู่ได้อีกแล้ว เพราะขาดออกซิเจน ซึ่งทั่วโลกพบอยู่หลายร้อยแห่งแล้ว ปล่อยไปเรื่อยๆจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทำระบบนิเวศพังทั้งระบบ
- ตอนนี้เราใช้ไนโตรเจนกับฟอสฟอรัสเพื่อผลิตอาหาร เกิดขีดจำกัดที่นักวิทยาศาสตร์กำหนดไว้ ประมาณ 2 เท่าในทุกๆปี
-----------------------
สถานการณ์: [Code Yellow] ต้องเฝ้าระวัง หากไม่เปลี่ยนแปลง วิกฤติแน่
3. Deforestation Land use Changes การตัดไม้ทำลายป่า และการเปลี่ยนแปลงผืนโลก : สถานการณ์ เฝ้าระวัง
- คือการเปลี่ยนป่าเป็นพื้นที่การเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์[การผลิตเนื้อ ใช้ที่ดินเยอะมาก] ซึ่งนำไปสู่ทั้งความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ [ข้อ 1. ] และเป็นการปล่อยคาร์บอนที่ถูกกักเก็บไว้ในต้นไม้กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งก็ไปสร้างปัญหาภาวะโลกร้อนต่อ รวมถึงการเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นกรดอีกด้วย
- ป่าคือ Carbon Sink หรือตัวดูดซับคาร์บอนที่ดีที่สุดที่เรามีอยู่ในธรรมชาติ การสูญเสียป่า คือการสูญเสียระบบจัดการคาร์บอนของดาวโลก
- การสูญเสียพื้นที่ป่าในประเทศหนึ่ง อาจสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศในระดับโลก (เช่นป่า Amazon เป็นต้น)
4. Climate Change ภาวะโลกร้อน : สถานการณ์ เฝ้าระวัง
- ตัวโหดที่ทุกคนรู้จักดี ตอนนี้เราผ่านจุดที่คาร์บอนในชั้นบรรยากาศ อยู่ที่ 418 ppm [Parts per million] ซึ่งอาจจะนำไปสู่โลกที่อุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 2 องศา ซึ่งเป็นสิ่งที่ Paris Agreement ในปี 2015 ตั้งใจจะทำให้ได้ แต่อย่างไรระดับคาร์บอนได้ออกไซด์ก็ไม่มีทีท่าจะลดลงมาสักกะที ถ้าหากว่าเกิน 500 ppm ขึ้นไป และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราอาจจะจบที่ร้อนชึ้น 4-8 องศา ซึ่งนั่นคือ Game Over แน่นอน
- ตอนนี้น้ำแข็งทะเลในขั้วโลกเหนือลดลงจนไม่น่าจะหวนกลับมาได้แล้ว ทำให้เรายิ่งไม่มีพื้นที่สีขาวมาสะท้อนแสงอาทิตย์กลับไป
- น้ำแข็งในกรีนแลนด์ละลายเร็วขึ้นกว่าที่คาดการเอาไว้ 3-4 เท่า ถ้ากรีนแลนด์ละลายหมด น้ำทะเลจะสูงขึ้น 7 เมตร
- ตอนนี้ขั้วโลกได้ที่เชื่อว่าละลายได้ยากมาตลอด เริ่มมีอาการแปรปรวนให้เห็น ถ้าละลายหมด น้ำจะสูงขึ้นหลายสิบเมตร
- จุดที่เราจะย้อนกลับไม่ได้ ใกล้เข้ามาทุกที
-----------------------
สถานการณ์: [Code Green] ยังปลอดภัยอยู่ ต้องรักษาระดับเอาไว้
5. Freshwater Use การใช้น้ำจืด : สถานการณ์ ยังปลอดภัย
- เป็นตัวแปรที่ link กับเรื่อง climate change + ระบบการจัดการน้ำของมนุษย์ ซึ่งได้เปลี่ยนวงจรที่น้ำจืดแปรสภาพและไหลเวียนตามธรรมชาติไปโดยสิ้นเชิง การชลประทานนำไปสู่การเปลี่ยนในการไหลของแม่น้ำ การถางป่านำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของวงจรไอน้ำ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและส่วนใหญ่เปลี่ยนแล้วแก้คืนไม่ได้
- ถึงแม้ว่าตอนนี้จะยังไม่วิกฤติ แต่ก็ต้องระวังดีๆ หากเราเปลี่ยนวงจรน้ำจืดไปเรื่อยๆอย่างไม่คิดถึงผลกระทบที่ตามมา อาจจะส่งผลลูกโซ่ต่อเนื่อง สร้างความเสียหายในแบบที่เรายังคาดไม่ถึงได้
6. Ocean Acidification การเป็นกรดของมหาสมุทร : สถานการณ์ ยังปลอดภัย
- ประมาณ 25-30% ของคาร์บอนที่เราปล่อยออกมา ถูกดูดซับโดยน้ำในมหาสมุทร ซึ่งผลพวงของมันก็คือทำให้น้ำทะเลมีความเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งก็ไปทำให้ในน้ำมี แคลเซียมคาร์บอเนต ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สิ่งมีชีวิตในทะเล ทั้งปะการัง ทั้งกุ้ง หอย ปู แพลงตอนบางประเภท หรืออะไรก็ตามที่มีเปลือก ใช้ในการสร้างเปลือกป้องกันตนเอง
- พอสัตว์เหล่านี้โตไม่ได้ ก็กระทบบ่วงโซ่อาหาร ในทะเลก็มีปลาน้อยลงเรื่อยๆ
- ตอนนี้น้ำทะเลของเรา มีความเป็นกรดมากขึ้น 30% เมื่อเทียบกับตอนก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม
- อันนี้ link กับเรื่อง Climate change ในเชิงมีสาเหตุร่วมกัน แต่ถือเป็นคนละมาตรวัดกัน
- ถึงยังปลอดภัยอยู่ แต่ถ้าไม่เปลี่ยนเรื่องปล่อยคาร์บอนกัน มันก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆต่อไป
7. Stratospheric ozone depletion การสลายตัวของชั้นโอโซน : สถานการณ์ ยังปลอดภัย
- อย่างที่รู้กัน โอโซนช่วยกัน UV [ultraviolet] ไม่ให้เข้าสู่บรรยากาศโลก ถ้าไม่มีโอโซนเราก็จะเป็นมะเร็งผิวหนังกันหมด และระบบนิเวศโลกก็จะพัง
- อันนี้เป็นข้อเดียวที่สถานการณ์ดีขึ้นมาก นับตั้งแต่มีการค้นพบปัญหารูโอโซนบริเวณขั้วโลก และมีการระบุชัดเจนว่าสารเคมีชนิดไหนที่เป็นต้นเหตุ นานาชาติก็มีการตกลงแบนสารเหล่านั้นร่วมกันผ่าน Montreal Protocol จนได้ผลนำสถานการณ์อันตรายมาสู่ระดับที่ปลอดภัยได้
- เป็นความหวังของหมู่บ้าน ว่ามนุษย์สามารถรวมตัวกันแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ
-----------------------
สถานการณ์: [Unknown] รู้ว่าเป็นปัญหา แต่ยังไม่สามารถกำหนดขอบเขตที่เกินขีดอันตรายไปได้
- 2 ข้อนี้ คือตัวแปรที่นักวิทยาศาสตร์เห็นตรงกันว่าจะมีผลกระทบกับระบบนิเวศของโลกอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ว่ายังหาคำตอบไม่ได้ว่าขีดอันตรายอยู่ที่จุดไหน
8. Particle Pollution [Atmospheric aerosol loading] สารแขวนลอยในชั้นบรรยากาศ : สถานการณ์ (ไม่รู้)
- ง่ายๆก็คือพวก pm10/ pm2.5 นั่นแหล่ะครับ + สารเคมีต่างๆที่มนุษย์ปล่อยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะมีผลกับสุขภาพของมนุษย์แล้ว คือมีผลกับอุณหภูมิของโลกด้วย
- ในขณะที่ก๊าซเรือนกระจก ทำให้โลกร้อนขึ้น สารแขวนลอยและมลพิษในอากาศ มีผลกระทบในการสะท้อนแสงอาทิตย์ออกนอกชั้นบรรยากาศ พูดง่ายๆยิ่งอากาศขุ่นมัวมาก อุณหภูมิก็ยิ่งลดลง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป เพราะต้องแลกมากับคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่มากๆ เป็นผลกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
- นอกจากนั้น สารแขวนลอยเหล่านี้ยังสามารถจับตัวกับไอน้ำ มีผลกับการจับตัวของก้อนเมฆและการเปลี่ยนแปลงของอากาศอีกด้วย
- ซึ่งผลกระทบตรงนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพิ่มเติม ทำให้ยังไม่สามารถทราบผลกระทบทั้งหมดได้
9. Chemical Pollution การปนเปื้อนของสารสังเคราะห์ : สถานการณ์ (ไม่รู้)
- มนุษย์เราสร้างสารสังเคราะห์ชนิดใหม่ขึ้นมากว่า 100,000 ชนิด ซึ่งมีทั้งโลหะหนักต่างๆ สารกัมมันตภาพรังสี ไมโครพลาสติก ฯลฯ ซึ่งผ่านอุตสาหกรรมและกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ สารเหล่านี้ก็ถูกปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ โดยที่เรายังไม่เข้าใจผลกระทบที่พวกมันมีต่อสัตว์ พืช และระบบนิเวศเลย รวมไปถึงผลกระทบที่มันมีต่อคนด้วย [ยกตัวอย่าง จนถึงตอนนี้ ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ ว่าการกินไมโครพลาสติกเข้าไป มีผลอะไรกับร่างกายคนบ้าง]
- ทำให้การกำหนดขอบเขตในเรื่องนี้ เป็นไปได้ยากมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็เห็นพ้องกันว่า เป็นตัวแปรที่มีผลต่อระบบนิเวศของโลกแน่นอน
-----------------------
นอกจาก 9 ข้อนี้ ขอฝากคำศัพท์ไว้อีกคำ คือคำว่า [Antropocene]=แอนโทรโพซีน คือชื่ออย่างไม่เป็นทางการของโลกยุคปัจจุบัน โดยยุคก่อนหน้านี้คือยุค Holocene [โฮโลซีน] ที่เริ่มต้นประมาณ 11,700 ปีที่แล้ว หลังยุคน้ำแข็งรอบสุดท้ายจบลง เป็นยุคที่อุณหภูมิของโลกเริ่มคงที่ ทำให้สภาวะที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสังคมมนุษย์เกิดขึ้นได้ เป็นสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
แต่มาตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์บอกว่ายุค Antropocene ได้มาถึงแล้ว มาจากคำว่า Anthropo ที่แปลว่า "คน" ในภาษากรีก ซึ่งอธิบายง่ายๆก็คือ นี่คือยุคที่มนุษย์กลายเป็นตัวแปรหลักในการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศและระบบนิเวศของโลก จากที่ก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีสปีชีส์ไหนทำแบบนี้ได้มาก่อน สัตว์ทุกชนิดต้องยอมรับสภาวะที่โลกหยิบยื่นให้ มีเราเป็นสปีชีส์แรกที่สามารถเปลี่ยนระบบของโลกได้ด้วยการกระทำของเรา
ขึ้นอยู่กับว่าจะเปลี่ยนไปทางไหนเท่านั้นเอง
Ref
http://www.salforest.com/blog/planetary-boundary
https://en.wikipedia.org/wiki/Planetary_boundaries#/media/File:Planetary_Boundaries.png
https://www.stockholmresilience.org/research/planetary-boundaries/the-nine-planetary-boundaries.html
https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/anthropocene/
https://www.imdb.com/title/tt14539726/
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過1萬的網紅Japanese Dai-san in BKK / Thai Study,也在其Youtube影片中提到,動画内で話している植物のWikipediaへのリンクです。 ツチグリ (菌類) Wikipedia JP https://ja.wikipedia.org/wiki/%E3%83%84%E3%83%81%E3%82%B0%E3%83%AA_(%E8%8F%8C%E9%A1%9E) เห็ดเผาะ...
pm2.5 wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
ผู้สนับสนุน..
จากหุ่นยนต์ Star Wars ที่ถูกหมางเมิน สู่หุ่นยนต์สำรวจของ NASA และเป็นหุ่นยนต์ทำความสะอาดบ้านในปัจจุบัน
ใครจะไปคิดว่าหุ่นยนต์ตัวเล็ก ๆ ที่ชื่อ mse-6droid ซึ่งแทบไม่มีบทในเรื่อง Star Wars
จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับ คุณ Colin Angle ที่เป็นทั้ง CEO และ Co-founder
ปิ๊งไอเดียนำมาสร้างเป็น หุ่นยนต์ต้นแบบสำรวจอวกาศของ NASA, หุ่นยนต์ทางทหารของกองทัพสหรัฐอเมริกา และหุ่นยนต์ดูดฝุ่นของบริษัทไอโรบอท ที่ปัจจุบันมียอดขายถึง 30 ล้านเครื่อง ในระยะเวลา 30 ปี
ที่น่าสนใจ คือ หากไม่มีวิสัยทัศน์รวมถึงมุมมองของชายที่ชื่อว่า Colin Angle
บริษัทไอโรบอท อาจไม่สามารถขึ้นแท่น ครองอันดับหนึ่งของหุ่นยนต์ทำความสะอาดบ้านในอเมริกาอย่างทุกวันนี้ได้
เรื่องราวแรงบันดาลใจ รวมทั้งวิสัยทัศน์นี้เป็นอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ก่อนที่จะก่อตั้งบริษัทไอโรบอทในปี 1990 นั้น คุณ Colin Angle ในวัย 46 ปี
ได้จบการศึกษาระดับปริญญาโท ที่ MIT ในคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
รวมทั้งได้ทำงานในห้องปฎิบัตการ Artificial Intelligence
ก่อนที่จะได้มาพบจุดเปลี่ยนและแรงบันดาลใจที่สำคัญ
จากภาพยนตร์ที่ล้ำสมัยที่สุดในยุคนั้น อย่างเรื่อง Star Wars
ขณะที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับหุ่นยนต์ที่มีบทเด่น เช่น C-3PO
ที่รูปร่างคล้ายมนุษย์ที่เราคุ้นเคย หรือ R2-D2 หุ่นยนต์ช่างซ่อมยอดนิยม
แต่สิ่งที่คุณ Colin Angle มองเห็นและตื่นเต้นเป็นอย่างมากนั้น กลับไม่ใช่หุ่นยนต์สุดล้ำ
แต่เป็นเพียงหุ่นยนต์นำทางธรรมดา mse-6droid ที่มีรูปร่างไม่โดดเด่น
เพราะสำหรับเค้านั้น หุ่นยนต์ที่ดีอาจจะไม่ต้องมีรูปร่างสุดล้ำ
คล้ายกับมนุษย์เหมือนในจินตนาการของเรา หรือในหนังภาพยนต์ที่เราคุ้นเคย
แต่หุ่นยนต์ที่ดีในมุมมองของเค้านั้น ต้องสามารถทำงานได้จริง
และสิ่งที่สำคัญที่สุดเลย คือ เค้ามั่นใจว่าสามารถสร้างหุ่นยนต์อย่าง mse-6droid ขึ้นมาได้จริง ๆ
นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของไอโรบอท
หลังจากนั้น ในปี 1991 ไอโรบอทได้สร้าง Genghis หุ่นยนต์ตัวแรก ที่มีความสามารถในการสำรวจอวกาศ และหุ่นยนต์ตัวนี้ ยังเป็นแรงบันดาลใจรวมทั้งเป็นต้นแบบในการสร้างหุ่นยนต์สำรวจอวกาศของ NASA อีกด้วย
หลังจากนั้น 10 ปี ในปี 2001 Packbot หุ่นยนต์สำรวจของไอโรบอทก็ได้ถูกใช้งานใน กองทัพสหรัฐอเมริกา U.S. Forces เพื่อใช้ในการช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์การก่อการร้ายที่ตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และอีกครั้งที่วิสัยทัศน์ของคุณ Colin ทำให้ไอโรบอทเติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยการพลิกธุรกิจจากผู้ผลิตหุ่นยนต์สำรวจอวกาศ และหุ่นยนต์ทางการทหาร ไปสู่ผู้ผลิตหุ่นยนต์ที่สามารถใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งในปี 2002 ไอโรบอทก็ได้เปิดตัวและวางจำหน่ายหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเป็นครั้งแรก ในชื่อ Roomba
iRobot ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนในปัจจุบันหุ่นยนต์ของไอโรบอทนั้น มีทั้งหุ่นยนต์ดูดฝุ่น Roomba, หุ่นยนต์ถูพื้น Braava, หุ่นยนต์ทำความสะอาดสระว่ายน้ำ Mirra และหุ่นยนต์ตัดหญ้า Terra
เมื่อสินค้ามีมากขึ้น ลูกค้าชื่นชอบ ก็ทำให้ผลประกอบการเติบโตขึ้นทุกปี
เป็นสิ่งที่ยืนยันได้อย่างดีว่า วิสัยทัศน์ของคุณ Colin ที่มีต่อไอโรบอทนั้น ไม่ใช่แค่ความฝันธรรมดา
เพราะสามารถพาแรงบันดาลใจของเขาจากภาพยนตร์เรื่อง Star Wars
มาประยุกต์ใช้ในโลกแห่งความจริงได้อย่างเหลือเชื่อ สะท้อนได้จากยอดขายรวมทั่วโลก
รายได้รวมของไอโรบอท ณ ปัจจุบันอยู่ที่
ปี 2017 รายได้ 2.89 หมื่นล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 3.57 หมื่นล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 3.97 หมื่นล้านบาท
เวลานี้ไอโรบอทขยายฐานลูกค้าไปทั่วโลก และเริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2011 โดยมีบริษัท TH Robotics Co., Ltd. เป็นผู้นำเข้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกคำว่าหุ่นยนต์ดูดฝุ่นอัจฉริยะในประเทศไทย แต่ที่น่าสนใจก็ คือ เวลานี้เทรนด์เติบโตของตลาด Smart Home ในไทยกำลังค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
จนทำให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่นอัจฉริยะเริ่มเป็นที่สนใจในตลาดไทย
และตอบโจทย์คนหลาย ๆ กลุ่ม ที่ไม่มีเวลาทำความสะอาดบ้านด้วยตัวเอง
ตลอดจนสถานการณ์บ้านเมืองต่าง ๆ ที่ทำให้ไอโรบอทพยายามปรับตัวอยู่เสมอ
ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลภาวะ PM2.5 ที่คนไทยได้รับผลกระทบเต็ม ๆ
แต่ฝุ่นภายในบ้าน ไอโรบอทก็ยังคอยจัดการทำความสะอาดให้ เพราะฝุ่นที่ลอยในอากาศจะตกลงสู่พื้นเมื่อเราไม่อยู่บ้าน
หรือแม้กระทั้งสถานการณ์ปัจจุบันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ COVID-19
ที่ทำให้ใครหลายคนต้อง Work from home อยู่บ้านมากขึ้น
บ้านสกปรกเร็วขึ้น แต่ไม่ต้องห่วง เพราะสามารถปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ iRobot ที่จะช่วยดูแลเรื่องความสะอาดได้
นอกเหนือจากนั้น iRobot Thailand ยังมีบริการ รับ-ส่ง หุ่นยนต์และอะไหล่ เพื่ออำนวยความสะดวก
และสนับสนุนให้ทุกคนไม่ออกจากบ้านโดยไม่จำเป็น
แล้วตอนนี้หุ่นยนต์ไอโรบอทของคุณ Colin Angle พัฒนาไปถึงขั้นไหนแล้ว ?
สำหรับหุ่นยนต์ดูดฝุ่นรุ่นล่าสุดที่พึ่งเปิดตัวว่าเป็นหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่ฉลาดที่สุดในโลกตอนนี้ ไม่ใช่เพียงเดินดูดฝุ่นได้เท่านั้นแต่ต้องเดินได้ฉลาดทั่วถึงทุกพื้นที่ เข้าใจพื้นที่ที่ทำงาน นั่นคือ Roomba s9+ ด้วยเทคโนโลยีล้ำหน้าขั้นสุดและระบบประมวลผลที่รวดเร็ว ซับซ้อน คุณ Colin จึงเคลมว่านี่คือหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่ดีที่สุดและฉลาดที่สุดเท่าที่เค้าเคยคิดค้นมา ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานโดยนำข้อดีของหลาย ๆ รุ่นมาพัฒนารวมอยู่ในเครื่องเดียว
ให้จินตนาการไปถึงการทำความสะอาดโดยหุ่นยนต์ ที่มีแท่นกำจัดขยะอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ต้องเทฝุ่นทิ้งเองเป็นเดือน ๆ รวมถึงการให้ความสำคัญกับรายละเอียดเล็ก ๆ อย่างองศาของแปรงปัดข้างที่ออกแบบมาให้เอียง 26 องศา พร้อมเทคโนโลยี Perfect Edge เพื่อเข้าซอกมุมได้ดีที่สุด อีกทั้งยังมากับระบบเพิ่มแรงดูดอัตโนมัติเมื่อขึ้นพรม ด้วยแรงดูดที่มากขึ้นถึง 40 เท่า
นอกจากนี้ยังสามารถยกระดับการทำความสะอาดบ้านแบบแทคทีม โดยเมื่อหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทำงานเสร็จ หุ่นยนต์ถูพื้นรุ่นล่าสุดอย่าง Braava jet m6 ก็จะออกมาถูต่อเองโดยอัตโนมัติ และเหมาะมากสำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้เพราะด้วยระบบ Allergens lock ที่จะล๊อคฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ไม่ให้หลุดรอดออกจากตัวเครื่อง พร้อมตอบโจทย์ลูกค้า Smart Home ด้วยการสั่งงานผ่านแอปพลิเคชั่น iRobot Home และสั่งการด้วยเสียงผ่าน Google Assistant และ Amazon Alexa
ด้วยเทคโนโลยีทั้งหมดนี้ คงจะไม่เกินจริงหากเราจะกล่าวว่าไอโรบอท roomba ของคุณ Colin Angle นั้น คือหุ่นยนต์ดูดฝุ่นที่ดีที่สุดในโลกอย่างแท้จริง
จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่าวิสัยทัศน์ที่ดีอาจจะไม่ใช่วิสัยทัศน์ที่ฟังแล้วดูตื่นเต้น หรือล้ำหน้าที่สุด
แต่อาจจะเป็นวิสัยทัศน์ที่สามารถทำได้จริง และลงมือทำให้ถึงที่สุด
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.irobotthailand.com/ หรือสอบถามข้อมูลที่ Line@: @irobotthailand
References
-https://finance.yahoo.com/quote/IRBT
-https://www.irobotweb.com/…/Fi…/Company/Colin-Angle-Bio.pdf…
-https://www.businessinsider.com/colin-angle-irobot-ceo-2014…
-https://www.irobot.com/about-ir…/company-information/history
-https://en.wikipedia.org/wiki/IRobot
-https://www.irobot.com/about-ir…/company-information/history
-https://en.wikipedia.org/wiki/PackBot
pm2.5 wiki 在 Campfire 營火部落 Facebook 八卦
為何我沒用二次燃燒的焚火台
失眠一大早起床剛好看到有人詢問為何不用二次燃燒的焚火台,而且也比較環保,來仔細回答一下:
環保問題:
台灣PM2.5來源中,露天燃燒 (包含:鞭炮、紙錢等) 佔2.7%(資料來源Wiki),所以休閒戶外用焚火台燃燒營火並不會對台灣造成環境問題,當然燒的不好會對你隔壁露友產生問題。
焚火台燃燒的火焰有幾種用途:
1:溫暖身體
2:溫暖心靈
3:柴碳火烤肉
4:使用鍋具烹煮
依照我的火箭爐使用經驗來說,這樣的火爐無法滿足1,2,3的需求,為何呢?
1:無法溫暖身體:碳火的輻射熱被遮蔽,無法往水平方向擴散
2:無法溫暖心靈:火焰變成很急促的熊熊烈火,讓人緊張
3:無法柴碳火烤肉:很難控制到文火,只會是大火,也很難調整柴火位置控制大小,不適合燒烤。
再來就是在同樣的可燃燒木頭大小,很難有效的減少體積跟重量,有做很小的,但是也只能燃燒小樹枝。
所以如果我買,只會買一個小火箭盧,拿來當副焚火台,用來燒水,鍋具煮食。
pm2.5 wiki 在 Japanese Dai-san in BKK / Thai Study Youtube 的評價
動画内で話している植物のWikipediaへのリンクです。
ツチグリ (菌類) Wikipedia JP
https://ja.wikipedia.org/wiki/%E3%83%84%E3%83%81%E3%82%B0%E3%83%AA_(%E8%8F%8C%E9%A1%9E)
เห็ดเผาะ ポきのこWikipedai TH
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%B0
ผักหวานป่า 甘い葉っぱ Wikipedia TH
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2
最も参考にしたサイト
เผาป่า ทำไม (wildfire)
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/2809/
pm2.5 wiki 在 健康促進網頁--新站- PM2 5動畫- YouTube 的八卦
PM2 5 動畫- YouTube. 線上影片 · 健康中心; 張嘉玲於2021-04-14 發布,已有201 人次 ... 為何 PM2. 5 (霧霾)會影響人體健康呢? ... 維基 百科查詢. 請輸入關鍵字. 查百科 ... ... <看更多>