🙏🏼
ขอบคุณนะคะ
คนที่พูดว่า “ขอบคุณนะที่ชม”
หลังจากที่โดนล้อเรื่องหน้าตา ผิวพรรณ รูปร่าง
ในใจมันก็เจ็บทั้งนั้นแหละ
‘ระดับดาว’ ครูเปลี่ยนให้เป็น ‘ระดับดาก’
จุดเริ่มต้นของการล้อเลียนที่เจ็บปวด เริ่มต้นจากครู
จากความสนุกของครู สู่ความทุกข์ของเด็กในวัยเรียน
ประสบการณ์จริงเรื่อง social bullying จากมาตัง ระดับดาว
written by Thanabatra Beboyl Chaidarnn
page owner: ตุ๊ดส์review / Pussy can talk
ผมมีโอกาสไปอ่านเรื่องราวใน Twitter ของน้องมาตัง ระดับดาว ศรีระวงศ์ ผู้ชนะจากรายการ the star 11 และเป็นผู้ชนะหญิงคนที่ 2 จากรายการต่อจากแก้ม เดอะสตาร์ ปัจจุบัน เธอเป็นนักร้องในสังกัด GMM Grammy เธอมาเล่าเรื่องประสบการณ์จากการถูกล้อเลียนเรื่องสีผิวให้ได้อ่านกัน
เธอเล่าว่า…
“ตอนเด็ก เคยโดนล้อเรื่องผิวดำ มาตลอด เกือบจะทั้งชีวิต แม้กระทั่งอาจารย์ยังพูดล้อเรา แล้วเพื่อนทั้งห้องก็จะหัวเราะสนุกสนาน ตอนนั้นเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเป็นการบูลลี่หรืออะไร แต่ในใจ เจ็บมาก แม่เคยบอกว่า ไม่เห็นเป็นไรเลย ก็มันเป็นเรื่องจริงหนิ
จนโตขึ้นทุกวัน ก็ยังโดนล้อ เพื่อนบางคนร้องเป็นเพลงเลย เราได้แต่ยืนทำเป็นยิ้ม ขำ กับสิ่งที่เขาล้อ เพราะแม่บอกให้ยอมรับ แล้วก็อย่าไปสนใจ จนโตขึ้น ถึงรู้ว่า มันไม่ใช่สิ่งที่เราสมควรได้รับเลย
ตอนป.1 เราเข้ารร.ประถม เป็นเด็กใหม่มาก อาจารย์ให้แนะนำตัว เราก็บอก ชื่อ ระดับดาว ศรีระวงศ์ค่ะ แล้วอาจารย์ก็แกล้ง หรือไม่ได้ยินจริงๆ ก็ไม่แน่ใจ เขาทวนชื่อเราเป็น ระดับดาก (ภาษากลาง แปลว่า ก้น)เพื่อนใหม่ขำกันทั้งห้อง ใจตอนนั้นคือ งงมาก คนจะอะไรจะชื่อนั้น
หลังจากนั้น ช่วงประถม เราก็โดนอาจารย์เรียกชื่อนั้นมาโดยตลอด ส่วนเพื่อนก็ล้อแต่ชื่อนั้น แถมยังร้องเพลง ล้อผิวดำ ของเราด้วย เอาจริงตอนนั้นคิดในใจอยู่ตลอด เวลากูผิดอะไรวะ แต่ให้ทำไงได้อ่ะ นอกจากฟังแล้วก็ยิ้มให้ บางครั้งก็ต้องหัวเราะตามเขาด้วย โคตรฝืนใจ”
เรื่องนี้สะท้อนอะไรในสังคม?
📌 สังคมไทย สังคมแห่งการเหยียด
ผมว่า สังคมไทย ยังเป็นสังคมที่คนเหยียดกันได้ง่ายๆ ทั้งเรื่องเพศ สีผิว รูปร่าง ถิ่นกำเนิด การศึกษา ฐานะ (discrimination) มีทุกที่ เด็กๆจะแซวล้อเลียนกัน เวลาเห็นเพื่อนที่ดูแตกต่างจากเรา เพราะมนุษย์มีท่าทีตอบโต้สิ่งที่แตกต่างจากตนเองเป็นปรปักษ์ อยู่ในสัญชาติญาณ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ การบ่มเพาะ ขัดเกลา และปลูกฝังของครอบครัว (socialization)
📌 การสอนเรื่องของการด่าทอแบบผิดๆ (wrong understanding)
เราดันไปบ่มเพาะว่า การถูกเหยียดเป็นเรื่องปกติที่ควรรับได้ ที่เพื่อนพูด ที่ทุกคนตีตราเรื่องสีผิว รูปร่าง มันถูกต้องแล้ว เราดำ ควรถูกล้อว่าดำ เราอ้วน ควรถูกล้อว่าอ้วน เราเป็นตุ๊ด ควรถูกกล่าวว่าเป็นตุ๊ด ทั้งๆที่จริงๆ ผู้ใหญ่ควรสอนเด็กว่าสิ่งที่เขาทำ เรียกว่าการให้ร้ายทางสังคม (social bullying) ไม่ควรทำ ไม่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้น เป็นสิ่งไม่ดี ไม่เหมาะสม
📌 การตอบโต้ที่ดีที่สุดคือ Victim is not a victim.
คือการไม่แสดงออกว่าเราเป็นเหยื่อของคำพูดพวกนั้น ถึงแม้เราไม่ควรด่ากลับ หรือตอบโต้ แสดงทีท่าว่าเราเป็นเหยื่อของคำพูด เราไม่เจ็บปวดให้เขาเห็น เพื่อให้เขาสนุกสนุกในการกลั่นแกล้ง แต่ข้างใน จริงๆทุกคนเจ็บปวดเสมอ ทำเป็นยิ้มแห้งๆ แต่ไม่มีใครชอบที่ถูก bully แล้วมองว่าฉันสนุกจังเลย
📌 “ต้นต่อการล้อเลียนอันน่าสลด เริ่มต้นที่ครู”
น่าแปลกที่ครู กลับเป็นจุดเริ่มต้นของการล้อเลียนทุกอย่าง ครูไม่เตือนเด็ก ไม่สอนเด็กในห้อง ไม่สร้างความเข้าใจที่ถูกให้เด็ก ที่ไปล้อเพื่อน แต่เริ่มต้นตั้งฉายา ไปตีตราความดำของเขาผ่านชื่อ เปรียบเทียบกับสิ่งต่ำๆให้เด็กขำขัน แต่เจ้าตัวคนที่โดนไม่สนุกด้วย นี่คือความผิดของครูที่ไปสร้างปมในใจเด็ก ให้รู้สึกว่าตัวเองมีสีผิวที่แปลกแยก เป็นตัวประหลาด เป็นสิ่งสกปรก โดยไปเทียบชื่อของนักเรียน กับอวัยวะขับถ่ายคือ ‘ก้น’ ส่งต่อการล้อเลียนไปในวงกว้าง ให้เด็กๆด้วยกันนำไปล้อต่อ สร้างความเจ็บปวดกับเด็กไปตลอดกาล
📌 สร้างสังคมการด่าทอ โดยเอาการล้อเล่นขำๆมาอ้าง
“ไม่เป็นไรน่า ก็แค่แซวเล่นขำๆ”
วิธีคิดของคนที่ล้อคนอื่น แต่ไม่ได้โดนเอง คือคนที่ไม่เข้าใจความเจ็บปวดของคนอื่น
เรามักจะคิดว่าไม่เป็นไร เพราะนั่นไม่ใช่ตัวเรา แต่คนที่ถูกกระทำ เจ็บ และไม่ต้องการการล้อเลียนนั้น แต่เราไม่มีทางเข้าใจเขา เราแค่สนุกปาก แต่ผู้ถูกกระทำไม่ได้สนุกด้วย และไม่มีใครควรจะสนุก เพราะความทุกข์ของคนอื่นด้วยซ้ำ และการแซว หรือการล้อเล่นกัน มีหลายวิธีมากมาย ที่น่ารัก เป็นการหยอกที่ไม่ต้องเอาอัตลักษณ์ของผู้คนมาเหยียด แล้วอ้างว่าล้อเล่น มันทำให้เกิดการสร้างสังคมการด่าทอ โดยเอาการล้อเล่นขำๆมาอ้าง
การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (sympathy) เป็นวิธีที่ดี ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจความแตกต่างของคนอื่นเสมอ ช่วยให้เราคิดได้ว่า ถ้าเป็นเราโดนกระทำบ้าง เราจะโอเคจริงหรือ? มันเป็นเรื่องน่าล้อเล่น น่าสนุกจริงหรือ? ตรงนี้ ทำให้เราคิดได้ง่ายขึ้น ถ้าเราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมองเขาในแบบที่เป็นมุมกลับ เมื่อตนเองได้รับในสิ่งเดียวกัน
ผมอยากให้เรื่องราวของน้องมาตังเป็นอุทาหรณ์ ที่ให้มุมคิดสะท้อนไปยังครูบาอาจารย์ว่า อย่าล้อเด็ก หรือกระทำกับเด็กแบบที่มาตังโดนกระทำ เพราะถ้ามันเริ่มที่ครูแล้ว การไปโรงเรียนของเด็ก เหมือนตกอยู่ในนรก ที่ครูกลายเป็นผู้ส่งเสริมในทางลบและสร้างปมความทุกข์ให้เด็ก โดยที่ไม่ได้ใช้ความเข้าใจสั่งสอนคนที่ล้อและแกล้งเด็ก กลายเป็นการทับถมและสร้างการให้ร้าย ครูควรจะเป็นผู้เริ่มต้นสร้างทางออกที่ดี และเป็นที่พึ่งพิง สร้างความสุขให้กับเด็ก รู้สึกอบอุ่นใจ ไม่ใช่ผลักไสให้เขายิ่งโดนล้ออย่างสนุกสนาน
อย่าขำขัน กับเรื่องที่ไม่น่าขำ และไม่ควรขำ
และจงสมเพสตนเองที่ขำขัน กับความทุกข์ร้อนของคนอื่น
#stopsocialbullying
#handlewithsocialbullying
ที่มา: https://twitter.com/mmmatung
// ตอนเด็กๆ ผมก็โดน “ธนบัตร” ครูเรียกเป็นแปรงสีฟัน “ตุ๊ดบัตร” (พ้องกับภาษาอังกฤษ toothbrush) เรียกกันทั้งห้องสนุกสนาน จากความเป็นตุ๊ดของเรา เพื่อนและครูสนุก แต่เราไม่สนุกไง นั่นแหละ
“ทุกอย่างที่เลวร้าย หยุดได้ที่ครูสอนเป็น”
ครูต้องสอนเป็น และเป็นที่พึ่งให้เด็กได้ ไม่ใช่ร่วมล้อเลียนเด็ก สนุก ขำขัน
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過62萬的網紅Bryan Wee,也在其Youtube影片中提到,...
handlewithsocialbullying 在 スキマスイッチ - 「全力少年」Music Video : SUKIMASWITCH / ZENRYOKU SHOUNEN Music Video Youtube 的評價

handlewithsocialbullying 在 Areeya (@Areeya87536356) / Twitter 的相關結果
... มาทำร้ายเรา ชีวิตของเราไม่ใช่ของเขา...เรื่องของเรา มันจึงไม่ใช่เรื่องของเขา... คุณค่าของเรา เป็นของเราเสมอ #HandlewithSocialBullying #ตุ๊ดส์review. ... <看更多>
handlewithsocialbullying 在 “อย่าไปเสียเวลาตอบโต้กับคนที่เราไม่ควรให้ราคา” - Pantip 的相關結果
วิธีคิดในการรับมือ ต่อการด่าทอทางสังคม #HandlewithSocialBullying written by Thanabatra Beboyl Chaidarnn page owner: ตุ๊ดส์review / Pussy can ... ... <看更多>
handlewithsocialbullying 在 กันแดดBabygirl - ใบเตย อาร์สยาม วันที่ความสุขแน่นอก "คนอื่นจะไม่มี ... 的相關結果
... ใช้ชีวิตให้มีความสุข และประสบความสำเร็จ" #HandlewithSocialBullying จำได้ว่าตั้งแต่รู้จักกับชื่อ 'ใบเตย อาร์สยาม' มีแต่กระแสแรงๆมาปะทะตัวเธอ โดนแอนตี้ ... ... <看更多>