ทำไม ประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมัน ทั้งที่สามารถส่งออกได้ /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า ในปี 2563 ประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมันดิบมูลค่าสูงกว่า 530,560 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 8% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด
แต่เรื่องที่หลายคนคงสงสัยกันมานาน
คือทำไมประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมัน
ทั้งที่สามารถส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้เป็นมูลค่าหลักแสนล้านบาท
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ขั้นแรกเราต้องเข้าใจกันก่อนว่า ราคาน้ำมันดิบจะมีตลาดกลางซื้อขายหลายแห่งในโลก
แต่ตลาดน้ำมันดิบที่สำคัญ และมีอิทธิพลต่อราคาน้ำมันดิบของโลกนั้นมีอยู่ 3 แห่งคือ
1. ตลาดน้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI) ที่ใช้เป็นราคาน้ำมันดิบอ้างอิงในทวีปอเมริกา
2. ตลาดน้ำมันดิบ Brent ที่ใช้เป็นราคาน้ำมันดิบอ้างอิงในทวีปยุโรป
3. ตลาดน้ำมันดิบ Dubai ที่ใช้เป็นราคาน้ำมันดิบอ้างอิงในทวีปเอเชีย
โดยราคาน้ำมันดิบแต่ละแห่งจะมีราคาที่แตกต่างกัน เนื่องจากคุณภาพของน้ำมันดิบที่แตกต่างกัน รวมทั้งต้นทุนในการผลิตและการจัดส่งของแต่ละที่ไม่เหมือนกัน
ในอดีตนั้นราคาน้ำมันดิบ WTI จะมีราคาแพงที่สุดในบรรดาน้ำมันดิบจากทั้ง 3 แหล่ง เนื่องจากน้ำมันดิบ WTI มีคุณภาพดีกว่า เพราะมีความหนาแน่นต่ำ (Light) และกำมะถันต่ำ (Sweet) กว่าน้ำมันจาก 2 แหล่งที่เหลือ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันราคาน้ำมันดิบ WTI กลับมีราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ Brent ซึ่งก็มีหลายฝ่ายได้วิเคราะห์สาเหตุหลักกันว่า มาจากเหตุผลทางด้านภูมิศาสตร์ ที่มีโอกาสเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบได้สูงกว่าสหรัฐอเมริกา ราคาน้ำมันดิบ Brent จึงมีส่วนเพิ่มหรือ Premium ที่สูงกว่า
สำหรับประเทศไทยของเรานั้น ในปี 2563 ประเทศไทยมีการจัดหาน้ำมันดิบเฉลี่ย 929,112 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นการจัดหาจาก
- แหล่งตะวันออกกลาง 48% (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ซาอุดีอาระเบีย, กาตาร์, คูเวต และบางประเทศในแถบตะวันออกกลาง)
- แหล่งตะวันออกไกล 12% (มาเลเซีย, เวียดนาม และอินโดนีเซีย)
- อื่น ๆ 30% (สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย และแองโกลา)
- ผลิตในประเทศ 10%
หมายความว่า การจัดหาน้ำมันดิบของประเทศไทยนั้น เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ 90% และผลิตเอง 10%
และอย่างที่เห็นคือ สัดส่วนเกือบครึ่งของปริมาณการจัดหาน้ำมันดิบทั้งหมดนั้น เป็นการนำเข้าจากแหล่งตะวันออกกลางที่ใช้น้ำมันดิบ Dubai เป็นราคาอ้างอิง
นี่จึงเป็นที่มาว่า ทำไมราคาน้ำมันดิบของ Dubai จึงมักถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการคาดการณ์เงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมไปถึงบทวิเคราะห์ของสำนักวิจัยหลายแห่ง
แล้วรู้ไหมว่า ในแต่ละปี ประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายในการนำเข้าน้ำมันดิบเพื่อมากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปปีละเท่าไร ?
- ปี 2561 มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบ 874,236 ล้านบาท
- ปี 2562 มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบ 667,022 ล้านบาท
- ปี 2563 มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบ 530,560 ล้านบาท
โดยน้ำมันดิบส่วนใหญ่จะถูกส่งเข้าสู่กระบวนการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันของไทย เพื่อกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปออกมา
ที่ใช้คำว่าส่วนใหญ่ก็เพราะว่า น้ำมันดิบ “บางส่วน” จะไม่ได้ถูกนำไปใช้ในโรงกลั่น โดยเฉพาะน้ำมันดิบที่ผลิตได้จากบางแหล่งในประเทศ เนื่องจากมีสารปนเปื้อนสูง
ส่งผลให้โรงกลั่นภายในประเทศไม่สามารถกลั่นน้ำมันดิบเหล่านั้นได้ จึงต้องถูกส่งออกไปขายยังต่างประเทศที่รับซื้อต่ออีกทอดหนึ่ง
นี่จึงเป็นคำตอบแรก ที่ว่าทำไมประเทศไทยที่นำเข้าน้ำมันดิบแล้ว จึงสามารถส่งออกน้ำมันดิบได้อีก
ต่อจากน้ำมันดิบก็มาเรื่องน้ำมันสำเร็จรูป..
ในปี 2563 น้ำมันสำเร็จรูปที่ประเทศไทยผลิตได้เท่ากับ 1,037,818 บาร์เรลต่อวัน
นอกจากนั้นยังมีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปบางส่วนจากต่างประเทศเข้ามาใช้ด้วย เนื่องจากบางช่วงนั้น การผลิตในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการใช้
โดยปัจจุบัน ยอดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อวัน อยู่ที่ประมาณ 800,000-900,000 บาร์เรลต่อวัน
เมื่อปริมาณที่ผลิตได้ในประเทศ บวกกับการนำเข้ามาแล้ว มากกว่าการบริโภคภายในประเทศ ที่เหลือก็ต้องขายต่อโดยการส่งออกไปต่างประเทศ
จึงเป็นที่มาว่า ประเทศไทย ทั้งนำเข้าและส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้ ในเวลาเดียวกันเช่นกัน
ลองมาดูปริมาณการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปของไทยในปีที่ผ่าน ๆ มา
- ปี 2561 มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป 298,921 ล้านบาท
- ปี 2562 มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป 226,962 ล้านบาท
- ปี 2563 มูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป 165,466 ล้านบาท
โดยการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปส่วนใหญ่นั้นเกือบทั้งหมดเป็นการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา, เวียดนาม, ลาว, สิงคโปร์, มาเลเซีย, เมียนมา, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
ถึงตรงนี้บางคนอาจสงสัยว่า ทำไมโรงกลั่น จึงไม่กลั่นน้ำมันให้พอดีกับความต้องการภายในประเทศ ?
ที่เป็นแบบนี้ก็เนื่องจาก โดยปกติแล้ว โรงกลั่นน้ำมันนั้นจะพยายามใช้กำลังการกลั่นให้เต็มที่เพื่อให้เกิดรายได้มาชดเชยกับต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ทำให้ต้องกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปออกมาให้ได้ปริมาณมาก ๆ และคุ้มทุน
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้มีน้ำมันสำเร็จรูปบางชนิดผลิตออกมาเกินความต้องการในประเทศ จนทำให้โรงกลั่นต้องส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปไปขายยังต่างประเทศนั่นเอง
สรุปในภาพรวมแล้ว ประเทศไทย จึงถูกจัดอยู่ในฐานะผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิ
เนื่องจากมูลค่าการนำเข้านั้นสูงกว่ามูลค่าการส่งออก
แต่ที่เราต้องนำเข้าและส่งออกในเวลาเดียวกัน เพราะมันมีเหตุผลในเรื่องของคุณภาพน้ำมันดิบ และต้นทุนในการกลั่นน้ำมันสำเร็จรูป ที่ทำให้ต้องกลั่นครั้งละจำนวนมาก แล้วที่เหลือจากการใช้งานในประเทศ ก็ต้องส่งออกไปขายต่อต่างประเทศ
เรื่องของการนำเข้าส่งออกน้ำมันจะมีการถกเถียงกันอยู่เสมอ อาจทำให้คนจำนวนไม่น้อยเกิดความสับสนไปด้วย
ดังนั้น การทำความเข้าใจ รวมทั้งรับรู้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยทำให้เราสามารถวิเคราะห์ และเข้าใจประเด็นในเรื่องเหล่านี้ได้ดีขึ้น..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://fbs.co.th/analytics/tips/brent-and-wti-where-differences-lie-9580
-https://dmf.go.th/public/list/data/index/menu/657/mainmenu/657/
-ภาพรวมพลังงาน มกราคม ปี 2564, สํานักงานนโยบายและแผนพลังงาน
-http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomRecode&ImExType=0&Lang=Th
-http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=ExportStructure&Lang=Th
-https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2021/Pages/n2264.aspx
-http://www.eppo.go.th/index.php/th/energy-information/static-energy/summery-energy
-https://en.wikipedia.org/wiki/West_Texas_Intermediate
同時也有52部Youtube影片,追蹤數超過54萬的網紅TheMingThing,也在其Youtube影片中提到,Every relationship will have some decisions to be made. Here's some advice from us to you. || Special thanks to http://www.theedgemarkets.com, Make Be...
facebook analytics 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
ปรากฏการณ์ กับดักสภาพคล่อง ที่ประเทศไทยกำลังเจอ /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่าวันนี้ สภาพคล่องในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนมาจากปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์นั้น สูงสุดเป็นประวัติการณ์
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน แต่ปัจจัยเหล่านี้ กลับไม่ได้เอื้อให้คนอยากนำเงินไปใช้จ่าย ไปลงทุน ไปขยายกิจการ หรือจ้างงานเพิ่ม ตามที่ฝ่ายนโยบายการเงินอยากจะให้เป็น
เรื่องนี้สามารถอธิบายได้ด้วย ปรากฏการณ์ทางเศรษฐศาสตร์ ที่เรียกกันว่า “กับดักสภาพคล่อง (Liquidity Trap)”
กับดักสภาพคล่อง คืออะไร และมันเกิดขึ้นเพราะอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
โดยทั่วไป เวลาจะบอกว่าสภาพคล่องในระบบการเงินสูงหรือไม่ เราก็จะดูได้จาก ปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ และอัตราดอกเบี้ยหน้าธนาคาร
ถ้าปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์มีมาก พร้อม ๆ กับ อัตราดอกเบี้ยหน้าธนาคารที่ต่ำ ก็หมายความว่า สภาพคล่องในระบบกำลังมีสูง
เพราะถ้าตามปกติแล้ว สถานการณ์ที่มีสภาพคล่องในระบบแบบนี้ มันจะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้คนเอาเงินไปใช้จ่ายกันมากขึ้น เพราะฝากไปก็ได้ดอกเบี้ยต่ำ
เมื่อคนใช้จ่ายมากขึ้น บริษัทต่าง ๆ สามารถค้าขายได้ดี ก็จะไปกู้เงินมาขยายกำลังการผลิตและจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งสุดท้ายก็ทำให้เศรษฐกิจนั้นเติบโตต่อไป
พูดง่าย ๆ ว่า ถ้าดอกเบี้ยนโยบายและดอกเบี้ยเงินฝากยิ่งลดลง ก็จะยิ่งกระตุ้นให้การใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศสูงขึ้นได้นั่นเอง
แต่.. เมื่อดอกเบี้ยลดต่ำลงจนถึงจุดจุดหนึ่ง จะเริ่มเกิดเรื่องตรงกันข้าม คือการใช้จ่ายของครัวเรือนและการลงทุนในระบบเศรษฐกิจนั้น จะลดต่ำลงแทน
ในทางเศรษฐศาสตร์ ปรากฏการณ์นี้ถูกเรียกว่า “กับดักสภาพคล่อง”
คำนี้ถูกอธิบายโดย จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังชาวอังกฤษ
เคนส์บอกไว้ว่า ในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั้น เขาสนับสนุนให้รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐ และลดภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านนโยบายทางการคลัง
ส่วนธนาคารกลางก็ควรลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อให้ประชาชนเอาเงินออกมาใช้ เพราะปกติแล้วความต้องการถือเงินจะแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ย
ในด้านนโยบายการเงิน ตามทฤษฎีแล้วถ้าอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น คนจะลดการใช้จ่ายและเอาเงินไปฝากธนาคารเพื่อรับผลตอบแทนจากดอกเบี้ย
ในทางกลับกัน ถ้าอัตราดอกเบี้ยลดลงคนจะไม่มีแรงจูงใจที่จะฝากเงิน และจะถอนเงินออกเพื่อไปใช้จ่ายมากขึ้น จนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นฟื้นตัวได้
อย่างไรก็ตาม เคนส์ก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่า นโยบายการเงินที่ลดดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่องนั้น เมื่อถึงจุดหนึ่งจะไม่สร้างแรงจูงใจให้คนทั่วไปถอนเงินออกมาใช้จ่ายมากไปกว่านี้
โดยสาเหตุหลัก ๆ ก็เพราะ คนจำนวนมากเริ่ม “ขาดความเชื่อมั่น” ต่อภาวะเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินอยู่ เพราะเหตุการณ์ที่ดอกเบี้ยลดต่ำลงมาก ๆ มักเกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังตกต่ำอย่างรุนแรง
เมื่อคนส่วนใหญ่เริ่มขาดความเชื่อมั่นในนโยบายลดอัตราดอกเบี้ย พวกเขาก็เลือกที่จะถือเงินสดไว้ก่อน แทนการที่จะนำเงินไปใช้จ่าย โดยเฉพาะคนที่กำลังขาดความมั่นคงในรายได้ปัจจุบันและรายได้ในอนาคต
การใช้จ่ายและการบริโภคที่ลดลงของคนส่วนใหญ่ จึงทำให้ไม่เกิดการลงทุนเพิ่ม และส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจยังคงไม่ฟื้นตัว แม้ผู้ควบคุมนโยบายการเงิน จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกแค่ไหนก็ตาม..
คำถามสำคัญต่อมาก็คือ แล้วตอนนี้ประเทศไทย กำลังตกอยู่ในภาวะกับดักสภาพคล่องหรือไม่ ?
เราลองมาดูข้อมูลเหล่านี้กัน
- อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 0.5% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
- ปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 14.4 ล้านล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2564)
- ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ลดลงเหลือเพียง 118.8 จุด จาก 134.3 จุด ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19
- ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนคาดการณ์ของเดือนพฤษภาคม 2564 อยู่ที่ 143.4 จุด ซึ่งอยู่ในระดับเท่าเดิมเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทั้ง ๆ ที่ดอกเบี้ยนโยบายนั้นปรับลดลงมาตั้งแต่ 1.25% เหลือเพียง 0.5% ณ ตอนนี้
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2564) ลดลงเหลือเพียง 43.1 จุด ต่ำสุดในรอบ 22 ปี สะท้อนมุมมองของผู้บริโภคว่า ขาดความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างมาก
จะเห็นว่า แม้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะอยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่สภาพคล่องในระบบก็อยู่ในระดับสูง แต่การลงทุนของภาคเอกชนในช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้กระเตื้องขึ้น แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม
ซึ่งนั่นก็ทำให้เรา พอจะสรุปได้ว่า ณ ตอนนี้ ประเทศไทยกำลังตกอยู่ในภาวะกับดักสภาพคล่องแล้ว
และลำพังนโยบายการเงิน อย่างการลดอัตราดอกเบี้ยนั้น ไม่มีประสิทธิภาพพอจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในตอนนี้
กรณีศึกษาของการเกิด กับดักสภาพคล่อง ที่น่าสนใจเหตุการณ์หนึ่ง
ก็อย่างเช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ที่ญี่ปุ่นประสบกับวิกฤติฟองสบู่ราคาสินทรัพย์แตก จนทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย
ธนาคารกลางของญี่ปุ่นจึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงหลายครั้งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จากเดิมที่ระดับ 6% เมื่อปี 1990 ลงมาอยู่ที่ 0.5% ในปี 1995
แต่การลดลงของอัตราดอกเบี้ย กลับไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้คนญี่ปุ่นนำเงินออกมาใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างที่รัฐบาลหวังไว้ จนต้องหาวิธีอื่น ๆ อย่างเช่น การอัดฉีดเงินเข้าระบบ และการใช้จ่ายภาครัฐ มาช่วยเสริมแรงกระตุ้นเศรษฐกิจ
สรุปแล้วก็คือ ปรากฏการณ์กับดักสภาพคล่อง หรือก็คือ การที่อัตราดอกเบี้ยลดลงจนถึงจุดที่ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้แล้ว ปัจจัยสำคัญนั้นเกิดมาจาก การขาดความเชื่อมั่นในสภาพเศรษฐกิจของคนในประเทศ
ดังนั้นวิธีแก้คือ ภาคนโยบายต้องหาวิธีทำให้คนในประเทศ มีความเชื่อมั่นและมั่นใจขึ้นให้ได้ ว่าเศรษฐกิจในอนาคตจะกลับมาดี เพราะเมื่อคนเริ่มมั่นใจก็จะเริ่มทยอยกลับมาใช้จ่ายมากขึ้นเหมือนเดิม
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่จะทำให้คนในประเทศเกิดความมั่นใจ ก็คือ “รัฐบาล”
ซึ่งไม่เพียงแค่การใช้นโยบายการคลัง ผ่านการใช้จ่ายของรัฐบาล เช่น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ การลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
แต่ยังต้องรวมไปถึงการสร้างบรรยากาศทางด้านสังคม การเมือง ที่เอื้อต่อการบริโภคและการลงทุนให้แก่นักลงทุนในประเทศและนักลงทุนต่างประเทศให้มากที่สุดเช่นกัน
ไม่อย่างนั้นต่อให้อัตราดอกเบี้ยจะต่ำแค่ไหน
สภาพคล่องจะมากเท่าไร ก็คงไม่มีใครกล้าออกมาจับจ่ายใช้สอยอยู่ดี..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.investopedia.com/terms/l/liquiditytrap.asp
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=31&language=TH
-https://en.wikipedia.org/wiki/Liquidity_trap
-https://www.scbam.com/th/knowledge/world-wide-wealth/world-wide-wealth-23052016
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=828&language=TH
-https://tradingeconomics.com/thailand/consumer-confidence
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lost_Decade_(Japan)
-https://thaipublica.org/2020/06/tmb-analytics-5-6-2563/
facebook analytics 在 莊逸希 Facebook 八卦
偽人
「個個喺ibank做都叫ibanker,唔通個個喺醫院做都係醫生咩?」拿起那gin tonic,跟眼前這個剛剛認識的女生碰杯去慶祝那共鳴:「係就唔洗急症輪咁耐喇。」
早排亂入一個Oxbridge alum drinks,本來計劃溝下麥明詩師妹。誰知沒有麥明詩之餘,林作氾濫。
見女多男少,正要感嘆現代女性的確比男性讀書優勝,Oxbridge這類高尚學府陰盛陽衰也是社會現象的時候;談吐之間才發現很多女孩子根本不是牛劍畢業的。更多就是讀過一年LLM或MPhil洗底,甚至只讀過一個exchange就扮牛劍-- 偏偏這類人最喜歡流連這些場合。誇張的甚至連港式英文也未講好就把Facebook profile改成只有Oxford/Cambridge的network,連from也改了Great Britain;只怪自卑心作祟。
也有不少是由其他學府過來獵所謂的荀盤。無他的,良禽擇木而棲。我的母校也跟大不列顛隔了一個太西洋,所以我沒資格話人。
一大班藍血男,個個以為自己是蕭叔叔用喉嚨丁講嘢就以為是性感。這個聚會「精英」濃度算高:個個都是富n代,"ibanker",律師(Solicitor vs Barrister大概九比一) -- 沒醫生,因為海外讀醫要transfer回港並不容易,比律師只考PCLL還要難。大部分出入大中環區,但就算返九龍灣retail bank back office的人兄,今晚明知睇牌面搵食點都要笠返件老西。
有的當然本身三五成群,也有的生硬地派卡片。每一羣人也不同,但大至分兩類:齋仔圍埋和有男有女。
齋仔群:熟的就表面鬥廢暗地用腕錶車匙較勁,生的就networking上身想盡快摸清眼前這條友的底勢,有利用價值的就留冇就走。我當然不會在一打腸之間浪費苦短的一晚。
有男有女的群:熟就是小圈子,外人插不進去;所以我整晚就是游走在半生熟之間,笑看這群自命alpha male的孔雀鬥開屏。
若不是industry event,在完全三唔識七而有女的networking場景,開場話題離不開背景和做哪行。但在這種理論上也是知識分子,不是banker就是律師的場合,怎也不可以一句「我做投行」諗住過到骨唔會俾人笑。但我遇到的回答也不遑多讓的廢,方式通常有三個層次:
1. 大行的話就公司名行頭
2. 細行而做好似hot的function/部門就只提部門
3. 以前做過乜乜
1. 大行的話就公司名行頭,甚至講個公司名就算
例如:「我係Goldman做。」
Goldman Sachs咁大,前中後你做晒?問多句搞緊乜就話:「呢排忙System enhancement,你知喇Mifid2啲野!」哦,原來是同行!FX定Credit呀?講多兩句先慢慢愈來愈細聲:「Goldman..back office..system support。」得,明,我杯野飲曬添。
2. 細行而做好似hot的function/部門就只提部門
例如:「我做Private Bank的。」
咦?有冇見過葉朗程?係咪真係咁靚仔?
「冇...我嗰間唔係ifc」哦,邊間?ICC?咁早過海飲嘢?
「大新!」吓?大新有PB㗎咩?一球港紙開戶呀?你睇邊類客?「我跟個RM睇HNW...」阿蠟筆小新,我怕你RM如果知你用佢個名呃蝦條會kill-u-later呀。
3. 以前做過乜乜
又例如:「我以前做邊度,我以前做乜乜乜既時候係點點點,我以前都識邊個邊個。」
大哥,too much information!我想問你係邊個,宜家做緊乜?
Don't get me wrong。我的不是白鴿眼,行行出狀元,只歧視bad faith盲衝的可憐蟲。尤其華人社會,白領專業階級至上,面和名太重要;個個充大頭鬼,撻朵。係唔係都衝左先!唔識就嚇死,識就笑死!
香港作為金融中心,個個都喜歡做ibanker。櫃台又叫自己ibanker,後台做settlement又叫自己ibanker,就快喺茶水做也是ibanker!
有人認為,莊生,出黎獵食吹大D人之常情!咁又冇呃你佢地喺ibank做咪ibanker囉!醫院咁大,又唔見那些護士、藥劑師、放射治療師落club自稱醫生?Group埋叫「hospitalists」好冇?
另一個十分討我厭的是香港藝人自稱artists- 可能我listening差,but I'm pretty damn sure they called themselves artists and not 讀者們指出的"artistes"。印象中這稱呼大概由英皇twins年代開始,出來玩下掌門人又係artistes;唔係啞就可以出碟的年頭,何art之有?以至荷利活巨星也分得很清楚:唱歌的singer,做戲的叫actor,連畫畫的也只叫painter。art乜ist?artistes都不如。只能算上呃est!以同一道理,導演也不會叫自己artistes,是director! 點解?因為proud,因為知道自己在做什麼,價值是什麼!
在一家銀行,前中後各有角色和重點;一個trader不單不會自稱banker,他甚至會告訴你他trade什麼,只怕你聽不明!做structuring的,syndicate的,issuance的,risk analytics什麼也好;只要知道自己在做什麼就不需要拘泥於一間公司名,一個industry title,更不需要把自己歸納於一個根本毫無意義的代名詞中!
以為在呃人,其實在呃自己!
facebook analytics 在 TheMingThing Youtube 的評價
Every relationship will have some decisions to be made. Here's some advice from us to you.
|| Special thanks to http://www.theedgemarkets.com, Make Better Decisions.
Go check them out guys!
The Edge Markets helps its readers to make better business and investment decision by empowering them with the latest news, data and financial analytics for FREE.'
-----
If you've liked this video, remember to Subscribe, Like and Share it around! It helps us alot! :)
CLICK TO TWEET THIS VIDEO: http://ctt.ec/U4dPe
-----
STARRING:
Eunice Annabel
Blog: http://euniceannabel.blogspot.sg
Instagram: @euniceannabel
YouTube: http://www.youtube.com/LebannaLin
Jane Chuck
Instagram: @janechuck
ILLUSTRATIONS BY:
Mili-Lily
https://www.facebook.com/milimeterlily
Instagram: http://instagram.com/mili.lily
SPECIAL THANKS TO
Coffee Stain! For letting us shoot in your beautiful cafe with your yumz coffee! :)
Facebook: https://www.facebook.com/CoffeeStainByjoseph
-----
CHECKOUT OUR WEBSITE!!
http://hellotmt.com
LIKE US ON FACEBOOK!
http://www.facebook.com/themingthingTV
-----
FOLLOW US ON TWITTER!
Bryan LYT: http://www.twitter.com/bryanlyt
Raffi: http://www.twitter.com/raffithng
Ming Y: http://www.twitter.com/mingyism
Ming H: http://www.twitter.com/dmingthing
-----
Audio file(s) provided by http://www.audiomicro.com
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/xCQtWcpNSlk/hqdefault.jpg)
facebook analytics 在 3cTim哥生活日常 Youtube 的評價
Cisco思科的Meraki雲端網路管理系統可以達到比監視器還厲害的監測!大家可以進去看一下我的實測!
https://www.cisco.com/c/m/zh_tw/products/meraki.html#~stickynav=3
現在Podcast也可以聽得到Tim哥的科技午報了
Apple https://apple.co/2IupRwH
Google https://bit.ly/3hMfwMn
Spotify https://spoti.fi/32ZflZS
訂閱Tim哥生活副頻道⬇︎
http://bit.ly/36gDKs7
加入頻道會員⬇︎
http://bit.ly/2LoUuox
我的Line@生活圈⬇︎
@237mhhsl
訂閱3cTim哥主頻道⬇︎
http://bit.ly/2MgPy4H
訂閱Tim嫂頻道⬇︎
http://bit.ly/2PEnHMZ
訂閱眾點旅人頻道⬇︎
http://bit.ly/2QaY1vS
訂閱Jade Lin林瑋婕頻道⬇︎
http://bit.ly/2D2YK8O
想知道更多3C第一手資訊?⬇
【3cTim哥趨勢預測 系列】http://bit.ly/31y57M6
【Apple 蘋果每月一爆 系列】http://bit.ly/2KPzdEd
跟Tim哥學3C小技巧⬇
【Apple蘋果小技巧 系列】http://bit.ly/2NXsIyP
【Android安卓小技巧 系列】http://bit.ly/2LE4kWy
觀看3cTim哥Apple系列影片⬇
【Apple蘋果開箱】http://bit.ly/2LE4M6R
【Apple iPhone 系列】http://bit.ly/2Z6NwsO
【Apple iPad 系列】http://bit.ly/303gknn
【Apple Mac 系列】http://bit.ly/2N5Fkqo
【Apple Watch 系列】http://bit.ly/304F5jc
【Apple其他產品 系列】http://bit.ly/2MioZiN
觀看3cTim哥Android系列影片⬇
【Android安卓高階旗艦機 系列】http://bit.ly/2LDGSZx
【Android安卓中階手機 系列】http://bit.ly/2Z1Y4JP
【Android安卓萬元以下手機 系列】http://bit.ly/2z5qF6l
觀看3cTim哥開箱影片⬇
【3cTim哥家電開箱】http://bit.ly/2v49Uai
【3cTim哥電腦開箱】http://bit.ly/2n0UM8Z
追蹤3cTim哥即時動態⬇︎
instagram☛http://bit.ly/2HCZ52j
facebook☛http://bit.ly/2JyOGGK
TIM X OLI 🛍️ 3C購物
官方網站▶️ https://goo.gl/jW7cny
App Store▶️ https://goo.gl/67foDK
Google PlayStore▶️ https://goo.gl/l6B5Zp
*圖片內容截取自Google搜尋網站
**音樂與音效取自Youtube及Youtube音樂庫
#思科 #meraki #Cisco
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/dnTbsarK1lU/hqdefault.jpg)
facebook analytics 在 PDRさん Youtube 的評價
面白いと思ったら高評価してね(^-^)b
セカンドチャンネル/Second Channel
https://www.youtube.com/user/pdrsannogomibako?sub_confirmation=1
バッカプル動画/Bacouple Channel
http://www.youtube.com/user/BaCouple
My English channel
http://www.youtube.com/justduncannohiro
エンディング音楽by/Outro by Oliver Green (of the Hurricane Kids)
http://www.facebook.com/HurricaneKids
PDRさんのリンク/Mah Links
tumblr
http://mygirlhiro.tumblr.com/
チッター
http://twitter.com/#!/PDRnotPDS
ブログ/Blog
http://lattethehisser.blogspot.jp/
フェイスブック/Facebook
http://www.facebook.com/pages/PDRsanJustduncannohirosan/127747674017304
アメブロ
http://profile.ameba.jp/mygirlhiro/
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/mYwWpDJvQIU/hqdefault.jpg)
facebook analytics 在 4 Tools to Use Instead of Facebook Analytics - Hootsuite Blog 的相關結果
Facebook Page analytics can show you what actions people take on your website, from interacting with posts to clicking on your contact ... ... <看更多>
facebook analytics 在 4 Tools to Use Now That Facebook Analytics is Gone 的相關結果
Facebook Page analytics tell you how well your Facebook Page is performing. These metrics are centered around your engagement. Your engagement ... ... <看更多>
facebook analytics 在 Facebook Analytics is No Longer Available 的相關結果
The standalone Facebook Analytics tool is no longer available as of July 1, 2021. This does not affect the Insights sections of Facebook Pages and Instagram ... ... <看更多>