ไต้หวัน ประเทศที่น่าจับตา และมีความสำคัญมากกับทั้งโลก /โดย ลงทุนแมน
นิตยสาร The Economist ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2021
พาดหัวข่าวว่า “The Most Dangerous Place on Earth”
หรือ “สถานที่อันตรายที่สุดในโลก” พร้อมรูปประกอบเป็นแผนที่ไต้หวันในจอเรดาร์
เนื้อหาส่วนหนึ่งในนิตยสาร ยังพูดถึงสถานการณ์ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้
ระหว่างไต้หวันและจีน ที่อาจก่อให้เกิดสงครามได้ทุกเมื่อ
รายละเอียดของเรื่องนี้เป็นอย่างไร
ทำไมที่ที่อันตรายที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอย่างไต้หวัน ถึงมีความสำคัญมากกับทั้งโลก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ไต้หวัน หรือชื่อทางการคือ “สาธารณรัฐจีน”
ขึ้นชื่อว่ามีความขัดแย้งกันทางอุดมการณ์ทางการเมือง
กับจีนแผ่นดินใหญ่มาเป็นเวลานาน
เดือนมีนาคมที่ผ่านมา พลเรือเอก Philip S. Davidson
อดีตผู้บัญชาการกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ที่เพิ่งปลดประจำการจากการปฏิบัติหน้าที่ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เมื่อเดือนเมษายน 2021 ที่ผ่านมา
กล่าวต่อรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา ว่าทางการจีนกำลังเพิ่มอิทธิพลในทะเลจีนใต้ และมีความเป็นไปได้ว่าภายในปี 2027 จีนจะบุกเข้ายึดเกาะไต้หวัน ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในพื้นที่แห่งนี้
ซึ่งถ้าหากว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง ก็มีการคาดการณ์กันว่า จะเกิดผลกระทบไปทั่วโลกโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ
เนื่องจากไต้หวัน เป็นที่ตั้งของบริษัท TSMC ที่มีเทคโนโลยีในการผลิตชิปที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน
และถือเป็นฐานการผลิตหัวใจของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อย่างชิปเซต รายสำคัญของโลก
ซึ่งแน่นอนว่าท่าทีของสหรัฐอเมริกา ที่เป็นคู่ฟัดคู่เหวี่ยงของจีน
จะต้องป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
และในขณะที่อุณหภูมิทางการเมืองโลกกำลังร้อนระอุขึ้น
บทบาทของไต้หวันในเวทีการค้าโลก ก็เพิ่มความสำคัญมากขึ้นทุกทีด้วยเช่นกัน
สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่ร้อนระอุ
ทำให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาออกนโยบาย
ให้บริษัทสัญชาติอเมริกัน ตัดความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีน
ทำให้บริษัทไต้หวันที่รับผลิตและประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์เทคโนโลยีให้แบรนด์สินค้าอเมริกัน อย่าง Foxconn, Pegatron และ Wistron ต้องเลือกตัดความสัมพันธ์กับบริษัทจีน และบางส่วนทยอยย้ายฐานการผลิตออกจากจีนไปประเทศอื่น หรือกลับมาลงทุนในไต้หวัน
ในช่วงเวลาเดียวกันบริษัทเทคโนโลยีอเมริกันหลายแห่ง
ก็เริ่มมาลงทุนในเกาะไต้หวัน ยกตัวอย่างเช่น
- AWS (Amazon Web Services)
ได้มาจัดตั้งสถานที่วิจัยทดลอง Internet of Things
หรือ AWS IoT Lab แห่งแรกในเอเชียที่ไต้หวัน
- Google
ลงทุนกว่า 260,000 ล้านบาท ในการตั้งศูนย์วิจัยพัฒนางานด้านต่าง ๆ รวมถึงก่อสร้าง Data Center แห่งที่ 5 ในเอเชีย และเป็นแห่งที่ 3 ในไต้หวัน
- Microsoft
ได้ลงทุนในไต้หวันมากที่สุดในรอบ 31 ปี ด้วยมูลค่าเงินลงทุนกว่า 369,000 ล้านบาท
จัดตั้ง Microsoft Azure Data Center ธุรกิจให้บริการเก็บข้อมูล ที่ทาง Microsoft คาดว่าจะเป็นธุรกิจที่เติบโตได้อีกมากในอนาคต
ปัจจัยอีกหนึ่งข้อ ที่ทำให้ไต้หวัน สำคัญกับเศรษฐกิจโลกมากในเวลานี้
ก็เพราะเกาะแห่งนี้ โดดเด่นเรื่องเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 65%
ซึ่งนอกจาก บริษัท TSMC ที่เราจะคุ้นหูกันแล้ว
ก็ยังมีบริษัทผลิตชิปอีกหลายบริษัทที่มีความสำคัญ และมีศักยภาพในการผลิตระดับแนวหน้าของโลก
เช่น United Microelectronics Corporation (UMC) และ Powerchip Technology Corporation (PSMC)
จุดเด่นอีกข้อของเกาะไต้หวัน คือมีขนาดพื้นที่เพียงแค่ประมาณ 36,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเพียงแค่ไม่ถึง 1 ใน 10 ของพื้นที่ประเทศไทย
ซึ่งด้วยพื้นที่ที่เล็ก ทำให้บริษัทในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอุตสาหกรรมอื่น ๆ มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันค่อนข้างมาก
ไต้หวันยังเป็นไม่กี่ประเทศ ที่เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้ในปีที่ผ่านมา ที่มีวิกฤติโรคระบาด
โดย GDP ของไต้หวันในปี 2020 เติบโต 2.98%
ซึ่งอัตราการเติบโตนี้ สูงกว่าประเทศจีนที่ GDP โต 2.27% เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี
โดยปัจจัยที่ทำให้ GDP ของไต้หวันยังคงเติบโตได้ในปีที่ผ่านมา สวนทางกับหลายประเทศทั่วโลก
ก็เกิดมาจากหลายปัจจัย ยกตัวอย่างเช่น
1. ความต้องการชิป ชิ้นส่วน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มากขึ้นตามกระแส Work From Home และการเริ่มใช้งานระบบ 5G
ซึ่งไต้หวันที่เป็นที่ตั้งของบริษัทผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ก็แน่นอนว่าได้ประโยชน์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้
2. การขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ที่ทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนประกอบจากบริษัทในไต้หวันมากขึ้น
อย่างเช่น Tesla หนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ที่ใช้บริการบริษัทผลิตชิ้นส่วนจากบริษัทของไต้หวันหลายสิบแห่ง เช่น
- Quanta Computer ผู้ผลิตอุปกรณ์ชาร์จไฟที่ใช้ในแท่นชาร์จไฟฟ้ารถ Tesla
- Innolux Corporation ผู้ผลิตจอแสดงผลที่ใช้ภายในตัวรถ
- Pegatron ผู้ผลิตอุปกรณ์ควบคุมการทำงานทุกอย่างของรถ
- Delta Electronics บริษัทแม่ของเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ที่รับผลิตระบบควบคุมไฟฟ้าให้รถยนต์หลายแบรนด์
3. ความต้องการในชิ้นส่วนข้อ 1 และข้อ 2 ส่งผลให้ธุรกิจขนส่งทางทะเลและทางอากาศ พลอยได้รับ
อานิสงส์ไปด้วย
แม้ว่าตั้งแต่กลางปี 2020 จะมีเครื่องบินจากกองทัพจีน
บินเข้าเขตน่านฟ้าไต้หวันอยู่เป็นประจำ
และทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดภาวะสงครามกันอยู่เป็นระยะ
แต่ในเวลานี้ ไต้หวันเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ให้กับชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ทำให้คาดการณ์ได้ว่าทั้ง 2 ประเทศคงไม่ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงกับเกาะไต้หวัน
สรุปแล้วถ้าดูจากปัจจัยด้านภูมิศาสตร์และการเมือง
ไต้หวัน ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ ที่อันตรายสุดในโลก
แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศนี้ก็ถือเป็นหนึ่งสถานที่ ที่มีความสำคัญกับทั่วโลกมากด้วยเช่นกัน
โดยเฉพาะความสำคัญกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
ที่ไต้หวันมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 65% ของตลาดโลก
ซึ่งหากจีนแลกหมัดทำสงครามกับไต้หวันและพันธมิตรจริง ๆ
ก็แทบไม่ต้องคิดเลยว่า ผลกระทบต่อทั่วโลก จะหนักหนาสาหัสขนาดไหน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://udn.com/news/story/122145/5427194
-https://www.techbang.com/posts/85731-us-japan-semiconductor-alliance-us-japan-semiconductor
-https://ec.ltn.com.tw/article/paper/1414454
-https://www.digitimes.com.tw/iot/article.asp?cat=130&cat1=40&id=0000555123_1ae2ekyv1tz1xu4lbxoy2
-https://technews.tw/2021/01/15/microsofts-largest-investment-in-taiwan-in-31-years/
-https://www.chinatimes.com/newspapers/20210416000185-260202
-https://money.udn.com/money/story/5599/5377117
-https://www.chinatimes.com/newspapers/20210130000104-260202?chdtv
-https://www.chinatimes.com/newspapers/20180119000241-260202?chdtv
-https://www.cw.com.tw/article/5101653?template=transformers
-https://finance.technews.tw/2021/03/13/the-secret-of-deltas-stock-price-surge/
-https://www.storm.mg/article/3412487?mode=whole
-https://www.bnext.com.tw/article/60272/taiwan-aviation-industry-finacial-lost-q3
-https://ctee.com.tw/news/stock/453874.html
-https://www.bbc.com/zhongwen/trad/chinese-news-56814382
-https://heho.com.tw/archives/172810
aws price 在 คุยการเงินกับที Facebook 八卦
หุ้น Amazon : “วันนี้ยังคงเป็นวันนับหนึ่ง” วลีเด็ดเเห่งยักษ์ใหญ่ ecommerce
AMZN-Amazon.com,Inc.
Price : 3306.37$ (07/05/2021)
PE(FWD) : 61.17
Market cap : 1.65 ล้านล้านเหรียญ
Amazon.com ยักษ์ใหญ่เเห่งอาณาจักรค้าปลีกออนไลน์ ที่สร้างความเปลี่ยนเเปลงให้กับยุคสมัย โดยผู้ก่อตั้งนามว่า “เจฟ เบซอส” เจฟ เป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ ในเเง่ของธุรกิจเเละ การลงทุนอย่างมาก ถ้าใครได้ติดตามเขา จะรู้ว่า เจฟ มีประโยคเด็ด ในการประชุมผู้ถือหุ้นเสมอ ถ้าได้อ่านรายงานการประชุมทุกปี คือ “Day1”
เจฟ นำหลักเเนวความคิดว่า “Day1” มาใช้ ทั้งในการสร้างธุรกิจ เเละ สร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้คนในบริษัทมองว่า เรายังเป็นเเค่เพียงวันเเรก ที่ต้องเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ เเละ ไม่หยุดพัฒนาตัวเองเสมอ
ซึ่งได้มีคนมาถามเขาเหมือนกันว่า “เเล้วเมื่อไหร่จะ Day2 หละเจฟ?” (ซึ่งก็เป็นคำถามที่น่าสนใจเหมือนกัน555555)
เจฟบอกว่า Day2 จะทำให้เป็นเหมือนบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัท ที่คิดว่าตนเองสำเร็จเเล้ว เเละยึดกับความสำเร็จเดิมๆ ทำให้เขามองว่าน่ากลัวมาก เพราะ จะทำให้เราไม่ก้าวไปไหน
นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งเเนวคิดที่ตอกย้ำความสำเร็จให้เขาเเตกต่างจากคู่เเข่งรายอื่นๆ ก็คือ “Customer Centric” หรือ การใช้ลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง ทำให้เขาสามารถคิดค้นนวัตกรรมฝหม่ๆ มาให้ลูกค้าก่อนที่ลูกค้าจะรู้ตัวเสียอีก อย่าง การทำ Amazon prime ,AWS(Amazon Web Service ) ,Kindle , Amazon fullfillment เเละอีกมากมาย
ซึ่งเจฟได้ให้ความเห็นอันนี้ต่อ การ disruption ว่า อีกสิบปีผ่านไป สิ่งหนึ่งที่ตะไม่เปลี่ยนก็คือ ลูกค้า คุณต้องหาว่าลูกค้าต้องการอะไร ที่ดีที่สุด เเล้วคุณจะไม่กลัวการ disrupt เลย เพราะเราจะหาสิ่งที่ดีที่สุดมาให้ลูกค้าอยู่เเล้ว ซึ้งนั้นมักจะเป็นนวัตกรรมไปในตัว
โดยเจฟ ทำให้ Amazon.com ที่เป็นบริษัทที่ขาดทุน(ทางบัญชี) มานานหลายสิบปี เเต่ มีกระเเสเงินสดค่อนข้างสูงเลยทีเดียว เพราะเขามักจะนำ เงินจากกำไรเพื่อไปลงทุนต่อ เพราะเขาเขื่อ ว่า สิ่งที่สำคัญในการลงทุนเเละทำธุรกิจคือการมอง ยาวๆ เเละ การลงทุนเพื่อไปสร้างกระเเสเงินสดในอนาคตซึ่งนับว่าสำคัญกว่า ตัวเลขกำไรทางบัญชีในปัจจุบัน
เพื่อนๆ จะเห็นว่า เเนวความคิดที่เขาได้เเสดงออกมาย้ำให้เห็นถึง ความใส่ใจในรายละเอียด เเละ พร้อมสู่ชัยชนะ อย่างมาก พร้อมทั้งความรู้ความเข้าใจต่อเเนวความคิดในการลงทุนระยะยาวอีกด้วย
.........
งั้นเรากลับเข้าเรื่องดีกว่า ว่า เเล้วหุ้น Amazon.com จะยังคงน่าลงทุนอยู่หรือไม่?
การจะลงทุนได้นั้น คงต้องมองจากปัจจัยว่า บริษัทนี้ยัง เติบโตได้หรือไม่ เเละ จะยังสามารถเเข่งขันในตลาดอันดุเดือดนี้ได้ในระยะยาวหรือไม่
ทีนี้มาดูกันว่าโครงสร้างได้ Amazon ประกอบด้วยอะไรบ้าง....
•retail product
•retail third party seller
•AWS
•subscription
•others (ads,cobranded,..etc)
...........
ซึ่งในQ1 2021 ทุกคนน่าจะได้เห็นเเล้วว่า รายได้ยังเติบโตถึง 44% เเละ มีกำไรเติบโตถึง 3หลัก จาก 2.5พันล้านเหรียญไป ถึง 8.1 พันล้านเหรียญ!!
เพราะมีการเติบโตจาก ทั้ง ผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น จากปัจจัยสนับสนุนของโควิด19 เเละ การเข้ามาของผู้ขายที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ ผู้ใช้งานได้รับความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ไปอีก
ในฝั่งของ ธุรกิจ startup ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ก็ยังทำให้ AWS ของ amazon เติบโตได้อย่างดี ซึ่งให้บริการด้าน cloud computing ซึ่งกิน market share ถึง 32% อันดับหนึ่งของโลก (Azure ของ microsoft เป็นอันดับ2 ที่20%) เพราะเเม้เเต่ Airbnb ,Netflix ก็ใช้ของ AWS
........
ในเเง่ของความยั่งยืนของตัวธุรกิจ ย่อมเกิดจาก เเนวความคิด ของ เจฟ ที่ได้สร้างไว้ว่า ผู้บริโภคเป็นตัวตั้ง เมื่อเป็นเช่นนั้นเเล้ว Amazon เเทบไม่ได้สนว่าคู่เเข่งจะทำอะไร กลับกัน มองว่าผู้บริโภค ต้องการอะไรมากขึ้นเรื่อย เเละ สร้างนวัตกรรมให้ผู้บริโภคใช้งานได้ง่ายขึ้นสะดวกขึ้น
จึงมีปราการที่ค่อนข้างชัดเจน ในเเง่การเปลี่ยนเเปลงของผู้บริโภคไปใช้คนอื่น(switching cost)
........................................
ติดตามข้อมูล เศรษฐกิจ การลงทุนในต่างประเทศ ในไทย ได้ที่คุยการเงินกับที
........................................
Ref :
หนังสือ invent & Wander
Amazon Q1 2021 earnings report
https://www.investopedia.com/amazon-q1-2021-earnings-report-recap-5181230
AWS market share
https://www.statista.com/chart/18819/worldwide-market-share-of-leading-cloud-infrastructure-service-providers/
Amazon: The Most Clearly Undervalued Company
https://seekingalpha.com/article/4424794-amazon-clearly-undervalued-company
Trin T
aws price 在 口袋財經 Pocket Money Facebook 八卦
【什麼是本益比(P/E Ratio)?】
👉獲利高,這支股票就可以買嗎? – 買的便宜才值得購買
在股票新聞常常看到公司「營收創新高!」或是「獲利創新高!」的新聞,但會賺錢的公司就值得購買嗎?其實不一定,因為高獲利的公司,通常價格也貴,如何買到合理價格的股票(或稱高CP值的股票),一般我們會看的就是本益比(Price-Earning Ratio, 簡稱P/E ratio 或PE)。
網頁好讀版➡️ http://bit.ly/2DNCH7A
Instagram ➡️ http://bit.ly/2DNq4JN
👉本益比如何計算呢?
本益比就是價格(Price)和每股盈餘(Earning Per Share, EPS)的組合,分別說明:
■ 價格(Price):就是股價,如果你現在要購買的話,就是你的「本」,也就是你花的錢。
■ 每股盈餘(Earning Per Share):要看的是公司賺不賺錢,賺錢通常是衡量公司的最重要指標之一,而每股盈餘則是公司每股賺了多少錢,公式為 公司淨利 / 在外流通股數,可以算作公司的「益」,也可說是你花錢買回來的利益。
本益比就是把價格和每股盈餘相除,換句話說,就是你花錢的「本」和買到公司的「益」相除的比率。
就跟CP值一樣,大家自然希望花越少的「本」錢,買到更高的公司利「益」,因此本益比越低,可以說是CP值越好。
👉 PE越低就越值得買嗎?
不一定,產業不同市場給的評價也不同,未來成長潛力越高的產業PE會較高,因為投資人對他們的高預期,以及們獲利尚未兌(EPS低)。
■ 近年來最火熱的產業之一:雲端服務產業
問到近年來最火熱的產業,就不得不提Google – GCP、Microsoft – Azure 和Amazon – AWS這三間公司的服務了。而身為最火熱的產業,自然投資人對他們的預期也是很高,我們可以來看看他們的股價、EPS和PE之間的變化。
可以看到Google在2016和2018年的EPS差不多(27.83和26.58),但股價都卻差很多(792.45和1,207.08),以EPS來看,Google這間公司為投資人所賺的錢並沒有提升,但買Google這支股票的價格卻變貴了很多!PE更是之前的1.6倍。
接著我們來看Microsoft:
Microsoft和Google 狀況差不多,2016年和2018年的獲利差不多,但股價卻是接近兩倍,再往前一些看2014年的EPS比2018年還高,但股價卻只有1/3,這個倍數的差別,就是市場對公司未來的期待所帶來的。當市場對雲端產業抱持高度樂觀時,購買該產業的股票,成本就會很高!
最後我們來看Amazon:
「你看!產業不一定準吧,Amazon的PE再往下耶!」許多朋友有這樣的疑問,但Amazon的PE其實是一個例外,由於Amazon的財務策略一直是把EPS壓得很低,前幾年甚至是負數,這幾年開始累積正的EPS後,EPS是以倍數成長,導致其PE呈現下降走勢,但以美股平均PE是在15-20之間,112的PE是非常高數字。
■ 近年來相對穩定的產業 – 金融業
看完火熱的產業,也許你會有疑問「是不是這幾年經濟比較好,每個產業都很樂觀啊?」其實不是,我們來看一個相對冷靜的產業 – 金融業。金融業我們選定三支股票,分別是美國銀行(Bank of America)、富國銀行(Wells Fargo)和摩根大通(JPMorgan Chase)。
首先來看美國銀行:
可以看到,EPS在2016年到2018年都是持續成長的趨勢,但在2017年股價就不動了(29.29 → 29.46),EPS成長了50%但股價卻是相對穩定,PE呈現下將的趨勢,代表市場對金融業是相對不樂觀,對於購買其股票是興致缺缺。
接著我們來看富國銀行:
富國銀行的EPS是美國銀行的兩倍,但PE反而比美國銀行更低,也可以看出來在2016-2018年呈現EPS向上提升,但PE是向下掉的反向趨勢。
最後我們來看摩根大通:
摩根大通的PE跟上面兩家銀行趨勢類似,若非發生個別公司的重大事件,一般來說PE都是跟著產業走的。
若是聽到產業輪轉或是新聞聽到未來趨勢,都會對PE帶來影響,也可以知道投資人和市場對於未來佈局的想法,所以即使是不投資的朋友,有建議可以去看看各產業的PE了解目前市場對哪些產業看好。
👉 回到話題,所以買PE低的嗎?
答案還是不一定,即使銀行業目前PE是低的,但也不確定他未來會變更高,2014年到2018年的變化比較雲端產業可以說是沒有,若想要賺資本利得,買市場看好的雲端產業還比較好。但根據過往經驗,高PE的產業在市場趨勢向下時,會跌的比較慘,而低PE的產業則會相對保值。但這些說法並沒有決定,了解一個產業向上或向下,需要大量的分析,並抓好買入的時點,這些都需要長時間的分析,若是你對這些產業沒有看法,建議還是使用相對簡單的被動型投資作為投資方式。而若你有興趣研究產業,看看那2年就漲了2倍的雲端產業,努力是會有回報的!
最後,不管你是使用哪種投資方式,PE都是相當值得學習的,希望今天大家有學到東西,也歡迎大家與我們分享你的看法。
aws price 在 Introduction to AWS Pricing - YouTube 的八卦
... <看更多>