กรณีศึกษา Pantone ผู้สร้างระบบ ให้กับเฉดสี /โดย ลงทุนแมน
การอธิบายเฉดสีด้วยคำพูดนั้น ยากที่จะสื่อสารให้เข้าใจตรงกันได้
เพราะคนแต่ละคนก็รับรู้สีจากคำพูดได้ไม่เหมือนกัน
ทุกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสี
จึงมีภาษาสี ที่ใช้สื่อสารได้เข้าใจตรงกัน
โดยหนึ่งในระบบสีที่ได้รับความนิยมสูงก็คือ “Pantone”
แล้วเรื่องราวของ Pantone ที่กว่าจะมาเป็นภาษาสากลของสีนั้นเป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษ 1950s ซึ่งนับเป็นยุคทองของนิตยสาร
ที่เมืองนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา คู่พี่น้อง Mervin และ Jesse Levine
ได้ก่อตั้งบริษัทเกี่ยวกับงานพิมพ์ ที่ชื่อว่า “M&J Levine”
ในปี 1956 Lawrence Herbert ที่เพิ่งเรียนจบด้านชีววิทยาและเคมี
แต่ด้วยความที่เขามีความสนใจเรื่องสิ่งพิมพ์มานานแล้ว
Herbert จึงได้มาสมัครเป็นพนักงานพาร์ตไทม์ที่บริษัทแห่งนี้
งานประจำวันของเขาก็คือ การดูแลคลังสีและการผสมสี
ทั้งสีแบบผงและสีหมึกสำหรับงานพิมพ์
Herbert ค้นพบว่าการสื่อสารเรื่องสีเป็นอุปสรรคสำคัญในการทำงาน
กว่าเขาจะผสมสีให้ได้ตรงกับแบบที่ได้รับคำสั่งมา ก็ต้องลองผสมสีแล้วทิ้งอยู่หลายรอบ
กว่าจะพิมพ์งานออกมาให้ตรงกับแบบที่ต้องการ ก็ต้องพิมพ์แล้วทิ้งแล้วแก้ใหม่อยู่หลายครั้ง
Herbert จึงใช้ความรู้ทางเคมีที่เรียนมา นำมาใช้กับเรื่องสี
โดยเริ่มจากสร้างระบบและมาตรฐานสีให้กับคลังสีของบริษัท
เพื่อให้การสื่อสารเรื่องสีทำได้ง่ายขึ้น และยังช่วยลดต้นทุนของสี
ที่ต้องทิ้งจากการต้องลองผิดลองถูกหลายครั้งอีกด้วย
หลังจากทำงานไปได้ 6 ปี กลับกลายเป็นว่า
ฝ่ายงานพิมพ์และหมึกที่พนักงานพาร์ตไทม์คนนี้ดูแล
กลับเป็นแผนกที่ทำกำไรให้บริษัท ขณะที่ฝ่ายอื่นยังมีผลขาดทุน
ในปี 1962 Herbert ได้ขอซื้อกิจการต่อจากคู่พี่น้อง Levine
และเปลี่ยนชื่อเป็น “Pantone” แบบในปัจจุบัน
ซึ่งชื่อนี้ก็มาจากคำว่า Pan ที่แปลว่าทั้งหมด และ Tone ที่หมายถึงสี
หนึ่งปีให้หลัง Pantone ได้ให้กำเนิด “Pantone Matching System” หรือ “PMS” ซึ่งเป็นระบบสีเพื่อใช้สื่อสารกันได้แบบสากล
โดยการตั้งชื่อและระบุรหัส ที่เป็นตัวเลขเฉพาะของแต่ละเฉดสี เพื่อใช้ระบุถึงสีสีหนึ่งได้ทันที
โดยเริ่มแรกมีอยู่ 500 สี และเพิ่มขึ้นมาจนมีมากกว่า 3,000 สีในปัจจุบัน
ซึ่งก่อนหน้าที่จะมี Pantone ระบบสีมาตรฐานที่งานพิมพ์ใช้กันมาอย่างยาวนาน
คือระบบ Cyan, Magenta, Yellow, Key หรือ CMYK ซึ่งเป็นการผสมสีมาจากสีพื้นฐาน 4 สี
แม้ว่าระบบดังกล่าวจะใช้งานได้ดีและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
แต่ระบบสี CMYK มีจุดอ่อนอยู่ที่ เฉดสีไม่ค่อยเสถียร
เช่น สีของงานที่พิมพ์ออกมาจริงเพี้ยนไปจากสีที่ออกแบบไว้ในคอมพิวเตอร์
Pantone จึงเข้ามาช่วยเติมเต็มจุดอ่อนของสี CMYK
เพราะผู้สั่งพิมพ์งาน สามารถระบุรหัสสี Pantone ที่ต้องการกับทางโรงพิมพ์
โรงพิมพ์ก็สามารถผสมสีตามรหัส Pantone ที่ต้องการขึ้นมาได้เลย
อย่างไรก็ตาม วิธีการแบบนี้ก็จะมีต้นทุนที่สูงกว่าการพิมพ์ด้วยระบบสี CMYK
จึงเหมาะกับผู้ใช้งานที่ต้องการความแม่นยำของเฉดสีสูง และเป็นงานพิมพ์ที่ใช้จำนวนสีไม่มากจนเกินไป
ซึ่งระบบสีของ Pantone ก็ผสมออกมาได้หลากหลายกว่า จึงครอบคลุมสีที่ได้จากระบบ CMYK ด้วย
และยังสามารถแปลงไปเป็นรหัสของระบบสีอื่น อย่างเช่น RGB, HTML และ CMYK ได้อีกด้วย
ระบบสี PMS จะเหมาะกับงานจำพวกกราฟิก แพ็กเกจจิง สื่อดิจิทัล และงานสกรีน
ในปี 1988 Pantone จึงเพิ่มระบบสีที่เหมาะกับงานจำพวกสิ่งทอและเสื้อผ้า
การออกแบบตกแต่งภายใน หนัง สีทาบ้าน ไปจนถึงเครื่องสำอาง
โดยใช้ชื่อว่า “Pantone Fashion, Home + Interiors System” หรือ “FHI”
ความนิยมของ Pantone ได้เข้าไปอยู่ในทุกอุตสาหกรรมที่มีสีเข้ามาเกี่ยวข้อง
ด้วยความที่ Pantone เป็นระบบสีที่มีมาตรฐานและสามารถนำมาสื่อสารให้เข้าใจตรงกันได้ทันทีด้วยรหัสที่เป็นสากล
ตัวอย่างเช่น สตูดิโอในนิวยอร์กได้ออกแบบและจะสั่งพิมพ์งานที่โตเกียว
เพียงระบุว่าใช้สี Pantone 550 C ก็จะเข้าใจได้ตรงกันทันที
ซึ่งถ้าอธิบายด้วยคำพูดว่าต้องการสีฟ้า ๆ เขียว ๆ อมเทา คงไม่มีทางนึกถึงสีเฉดเดียวกันได้
นอกจากความสะดวกในการสื่อสารแล้ว
ระบบสีของ Pantone ยังทำให้สีของผลิตภัณฑ์จริง
ตรงกับสีที่ออกแบบโดยไม่ผิดเพี้ยน และในทุกครั้งที่ผลิต จะให้สีที่เหมือนเดิมเป๊ะ
มาถึงตรงนี้ ทุกคนคงสงสัยว่า
แล้วธุรกิจอย่าง Pantone มีรายได้มาจากอะไรบ้าง ?
อย่างแรกก็คือการขาย Pantone Guide หรือสมุดรวมแถบเทียบเฉดสี
ซึ่งจะมีหลายรูปแบบ อย่างเช่น Fan Deck สมุดทรงแคบและยาวที่คลี่ออกมาได้คล้ายกับพัด
Color Bridge Guide Set สมุดใช้เทียบรหัสสี Pantone กับระบบสีอื่น เช่น RGB, HTML และ CMYK
อย่างที่สองก็คือค่า License จากซอฟต์แวร์โปรแกรมหลากหลายรูปแบบ
ที่ให้บริการกับบริษัทที่เลือกใช้ระบบสีของ Pantone
ซึ่งรวมถึงบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Adobe, Microsoft, Xerox และ Canon
อย่างที่สามก็คือค่าบริการให้คำปรึกษาเรื่องการใช้สีแก่บริษัทต่าง ๆ
รวมถึงบริการคิดค้นสีใหม่ เพื่อสร้างสีที่เป็นอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์
อย่างเช่น สีส้มของ Hermès, สีฟ้าของ Tiffany & Co. และสีเหลืองของ Minions
ซึ่ง Pantone ได้ก่อตั้ง Pantone Color Institute มาเพื่อให้บริการด้านนี้โดยเฉพาะ
และองค์กรแห่งนี้ ยังรับหน้าที่ประกาศ “Pantone Color of the Year”
ที่เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2000 เพื่อนำเสนอสีที่จะเป็นเทรนด์หลักของปีนั้น และสีนั้นก็มักกลายมาเป็นสีที่มีอิทธิพลต่อวงการออกแบบไปทั่วโลก
ด้วยความที่ Pantone ไม่ได้เพียงช่วยสร้างอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์อื่น แต่ยังมีอัตลักษณ์เองด้วย
Pantone จึงสามารถขายผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์อย่างพวกแก้ว ขวดน้ำ สมุดโน้ต เคสสมาร์ตโฟน ที่เป็นลายตามรูปแบบของแถบสี Pantone ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ Pantone ยังมีโอกาสได้ร่วมออกสินค้าคอลเลกชันพิเศษกับแบรนด์ชื่อดังมากมาย
อย่างเช่น เครื่องสำอาง Sephora, รองเท้า Nike, สมาร์ตโฟน OPPO และรถยนต์ KIA
ปัจจุบัน บริษัท Pantone ได้เข้าไปเป็นบริษัทในเครือของ Danaher
บริษัทโฮลดิงขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเริ่มมาจากการที่บริษัท X-Rite เข้าซื้อกิจการ Pantone ในปี 2007
ด้วยมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท ก่อนที่ปี 2012 Danaher ได้เข้ามาซื้อกิจการ X-Rite อีกที
ถึงแม้ Pantone จะยังเป็นบริษัทเอกชนที่ไม่มีการเปิดเผยงบการเงินต่อสาธารณะ
แต่ก็มีการประเมินว่า Pantone มีรายได้ต่อปีโดยเฉลี่ยมากกว่าพันล้านบาท
เรื่องราวของ Pantone ก็ทำให้คิดได้ว่า “สี” ซึ่งเป็นสิ่งที่เราใช้กันได้ทั่วไป
ไม่ได้มีใครเป็นเจ้าของ แต่ผู้ที่ตั้งชื่อให้กับเฉดสีเหล่านั้น และพัฒนาให้กลายเป็นระบบสากล
ก็สามารถสร้างมันเป็นธุรกิจที่ทำรายได้มหาศาลระดับพันล้านต่อปี เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.thefashionlaw.com/the-business-of-being-pantone/
-https://www.fastcompany.com/3050240/how-pantone-became-the-definitive-language-of-color
-https://www.referenceforbusiness.com/history2/63/Pantone-Inc.html
-https://bettermarketing.pub/how-pantone-saved-the-world-65708585d573
-https://en.wikipedia.org/wiki/Pantone
-https://www.pantone.com/hk/en/
xerox wiki 在 Eric's English Lounge Facebook 八卦
[生活美語] Proprietary Eponym [通用商標]: English brand names that have become regular nouns. [成為普通名詞的英文商標]
Proprietary eponyms are general words that are, or were at one time, proprietary brand names or service marks. Kleenex, for example, is a brand of facial tissues, yet the word is used today to refer to facial tissues of any brand. Xerox is a brand of photocopy machine; that word, too, has been since adopted to refer to any brand of photocopy machine and, moreover, also employed as a verb to describe the act of photocopying.
通用商標,類似通用名稱,不同的是後者一般用於區別不同種類的商品(如「電腦」),而前者則多指由馳名商標轉化而成的通用名稱。通用商標不再具有顯著性和 代表性,不能代表某一個品牌的商品,不能繼續用作商標。如「Aspirin」(阿司匹林),一般不獲承認為商標,而視為一種藥物的統稱。又如「Yoyo」 (搖搖),現在作為「溜溜球」的統稱。因為Google的名聲,「Google」一個事物做動詞表示的是「在Google上尋找某事」。它還有廣義的「搜 索網路」的意思。Google官方並不鼓勵這種濫用他們公司名字的習慣,因為它可能會導致Google變成一個通用商標名。
Complete Lists:
1. http://www.searstower.org/rkrause/brands.html
2. http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_generic_and_genericized_trademarks
Sources:
http://www.rinkworks.com/words/eponyms.shtml
http://www.businessinsider.com/15-words-you-had-no-idea-used-to-be-brand-names-2010-9?op=1
http://zh.wikipedia.org/wiki/通用商標
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_generic_and_genericized_trademarks
http://en.wikipedia.org/wiki/Genericized_trademark
xerox wiki 在 People Persona Facebook 八卦
Charles “Chuck” Geschke ผู้ร่วมก่อตั้ง Adobe เสียชีวิตแล้วในวัย 81 ปี
นับเป็นการศูนย์เสียครั้งยิ่งใหญ่และสร้างความเสียใจให้กับใครหลาย ๆ คน เมื่อทาง Adobe ได้ออกมาประกาศว่า Charles “Chuck” Geschke หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Adobe เสียชีวิตแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ในบ้านพักชานเมืองย่าน San Francisco Bay Area ของ Los Alton ด้วยวัย 81 ปี
เมื่อครั้งที่ Charles “Chuck” Geschke ได้รับปริญญาเอกจาก Carnegie Mellon University เขาเริ่มทำงานที่ศูนย์วิจัย Xerox Palo Alto โดยโปรเจกต์แรกที่เขาเริ่มทำเมื่อเข้าทำงานที่นี่ก็คือ การสร้างคอมพิวเตอร์เมนเฟรม และสร้าง Xerox Star Workstation และในปี1978 เขาก็ได้พบกับ John Warnock ซึ่งถูกจ้างมาให้ร่วมเป็นนักวิจัยกราฟิกเลนส์และการประมวลผลภาพ ที่ห้องปฏิบัติการ Imaging Sciences ที่ PARC พัฒนา Interpress ซึ่งเป็นภาษา PDL แต่การวิจัยนี้ก็ต้องถูกพับลง เพราะเขาไม่สามารถโน้มน้าวใจผู้บริหาร Xerox ให้เห็นถึงประโยชน์ของ Interpress ได้
หลังจากนั้นไม่นาน เขาทั้ง 2 คนก็ออกจากบริษัทและร่วมกันก่อตั้งบริษัท Adobe ขึ้นเมื่อปี 1982 ในโรงรถของ Warnock และเปิดตัว Adobe PostScript ซอฟต์แวร์ตัวแรกของบริษัท ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการพิมพ์ข้อความหรือรูปภาพลงกระดาษเสมือน และนี่ก็เป็นไอเดียตั้งตัวของการพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ ของ Adobe ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น PDF, Acrobat, illustrator, Premium Pro และ Photoshop
ในปี 1992 ขณะที่ Charles กำลังเดินทางมาที่ Mountain View ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เขาถูกชาย 2 คน ลักพาตัวไปเรียกค่าไถ่จากลานจอดรถของ Adobe ถึง 4 วัน โดยตำรวจสืบหาจากโทรศัพท์ที่โทรเข้ามาหาภรรยาของ Charles ชายที่ลักพาตัวเรียกเงินค่าไถ่มากถึง 650,000 ดอลลาร์ ซึ่งชายที่ลักพาตัวทั้ง 2 คนถูกจับกุมหลังจากที่ได้รับเงินค่าไถ่และถูกตัดสินโทษจำคุกตลอดชีวิต
Charles ได้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ Adobe ตั้งแต่ธันวาคมปี 1986 ถึงกรกฏาคม 1994 และดำรงตำแหน่งประธานบริษัท Adobe ตั้งแต่เมษายนปี 1989 ถึงเมษายนปี 2000 และเขาก็ออกจากบริษัท หลังจากที่ Charles ออกมาได้ไม่นาน Warnock หุ้นส่วนของเขาก็ออกจากตำแหน่ง CEO และในเดือนกันยายนปี 1997 ถึงปี 2017 เขายังดำรงตำแหน่งประธานร่วมของคณะกรรมการ Adobe ด้วย
ทั้ง Charles และ Warnock เคยได้รับเหรียญระดับประเทศในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติจาก Barack Obama ในปี 2009 นับว่าเป็นอีกหนึ่งรางวัลเกียรติยศของเขาทั้งคู่เลยก็ว่าได้
Nancy “Nan” Geschke ภรรยาของ Charles ได้กล่าวถึงเขาใน Mercury News เมื่อวันเสาร์หลังการจากไปของเขาไว้ว่า “เขาเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาและชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วโลก แน่นอนว่านี่เป็นสิ่งที่เขาภูมิใจมากและเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตของเขา แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เขาสนใจ เพราะสิ่งที่เขาสนใจ ก็คือครอบครัว และเขามักบอกว่าตัวเองคือผู้ชายที่โชคดีที่สุดในโลก”
ในการประกาศการเสียชีวิตของ Charles จาก Shantanu Narayen CEO คนล่าสุดจาก Adobe ได้กล่าวว่า
“นี่เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่สำหรับชาว Adobe และแวดวงอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่มีเขาเป็นผู้นำทางและเป็นฮีโร่ของวงการนี้มานานหลายทศวรรษ ในฐานผู้ร่วมก่อตั้ง Adobe ทั้ง Charles และ Warnock ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ล่าสุดที่ปฏิวัติวิธีการสร้างงานและการสื่อสารให้กับผู้คน” แถมเขายังได้บอกอีกว่า Charles คือผู้จุดประกายการปฏิวัติแวดวงการพิมพ์บนอุปกรณ์เดกส์ท็อป
ผลงานของเขาได้สร้างชื่อเสียงและจะเป็นที่จดจำตลอดไป ทางเพจ People Persona ต้องขอแสดงความเสียใจและขอไว้อาลัยให้กับการจากไปของ Charles “Chuck” Geschke ด้วยครับ
#peoplepersona
#เขย่งก้าวกระโดด
ที่มา : https://www.bbc.com/news/world-us-canada-56791873
https://en.wikipedia.org/wiki/Charles_Geschke
xerox wiki 在 Printer, Installation, Tech - Pinterest 的八卦
Computers Tablets And Accessories · Printers And Ink · Printer. TECH WIKI Printer, Home Appliances, Tech, Create, House Appliances, Printers,. ... <看更多>