กรณีศึกษา ความท้าทาย ของ “แมนยู” /โดย ลงทุนแมน
ถ้าถามถึงชื่อสโมสรฟุตบอลในประเทศอังกฤษ
ชื่อแรกๆ ที่หลายคนนึกถึง คงหนีไม่พ้น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “แมนยู”
รู้ไหมว่า 2 ปีที่ผ่านมา มูลค่าสโมสรของ แมนยู ลดลงไปแล้วมากกว่า 60,000 ล้านบาท
เกิดความท้าทายอะไรบ้าง กับ แมนยู ในช่วงที่ผ่านมา
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
พบกับ หนังสือ ลงทุนแมน 13.0 ที่อัดแน่นไปด้วยกรณีศึกษาและมุมมองธุรกิจที่น่าสนใจ
พร้อมให้คุณเป็นเจ้าของแล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า
การระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบกับ แมนยู มากน้อยแค่ไหน..
อังกฤษ เป็นหนึ่งในประเทศที่การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ยังคงรุนแรง
นอกจากภาคธุรกิจต่างๆ ในอังกฤษจะได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างแล้ว
อุตสาหกรรมฟุตบอล ที่เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์สำคัญของอังกฤษ ก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ แม้ว่ารัฐบาลอังกฤษจะอนุญาตให้ฟุตบอลลีก กลับมาทำการแข่งขันได้ แต่บรรดาแฟนบอล ยังคงไม่สามารถเข้าไปชมเกมการแข่งขันได้
โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลอังกฤษจะอนุญาตให้แฟนบอลเข้าชมการแข่งขัน ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2020
แต่เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ในอังกฤษยังคงไม่เบาลง แฟนบอล จึงยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าสนามต่อไป
พอแฟนบอลไม่สามารถเข้าชมเกมได้ ผลที่ตามมาก็คือ รายได้จากการขายตั๋วเข้าชมของสโมสรต่างๆ ก็ขาดหายไป
โดยเฉพาะ สนามโอลด์แทรฟฟอร์ด ของแมนยู
ซึ่งเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาสนามของทีมฟุตบอลในพรีเมียร์ลีก
และใหญ่เป็นอันดับสองในสหราชอาณาจักร รองจากสนามกีฬาแห่งชาติเวมบลีย์
สนามโอลด์แทรฟฟอร์ด มีความจุ 74,140 ที่นั่ง
โดยปัจจุบัน ราคาค่าตั๋วเข้าชมฟุตบอลเฉลี่ยต่อใบของแมนยูอยู่ที่ประมาณ 2,200 บาท
หมายความว่า ถ้าจากเดิมมีแฟนบอลเข้ามาชมเต็มสนาม
แล้วกลับกลายเป็นไม่มีแฟนบอลเข้ามาชมเลยแม้แต่คนเดียว
แมนยูจะขาดรายได้จากการเข้าชม นัดละประมาณ 163 ล้านบาท
ถ้านับเฉพาะฟุตบอลลีก
ใน 1 ฤดูกาล แมนยู จะลงเตะในบ้านทั้งหมด 19 นัด
หมายความว่า ถ้าไม่มีแฟนบอลเข้าสนามทั้งฤดูกาล แมนยูจะขาดรายได้ส่วนนี้กว่า 3,000 ล้านบาท
ซึ่งนอกจากรายได้จากค่าตั๋วเข้าชมแล้ว
รายได้จากส่วนอื่นๆ เช่น จากการขายของที่ระลึกภายในสนามของสโมสร และรายได้จากการจัดทัวร์สนาม ก็จะได้รับผลกระทบจากการที่แฟนบอลและนักท่องเที่ยวไม่สามารถเข้ามาได้ เช่นกัน
ประเด็นต่อมา คือเรื่อง ความสำเร็จของสโมสร
รู้ไหมว่า ครั้งสุดท้ายที่แมนยูได้แชมป์พรีเมียร์ลีก หรือลีกสูงสุดของอังกฤษ เกิดขึ้นในฤดูกาล 2012-2013 หรือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว
และการคว้าถ้วยแชมป์ครั้งล่าสุดของแมนยู
คือการได้ แชมป์ยูฟ่ายูโรป้าลีก และ แชมป์อีเอฟแอล คัพ
ซึ่งการคว้าแชมป์ทั้งสองรายการ เกิดขึ้นในฤดูกาล 2016-2017 หรือกว่า 3 ปีมาแล้ว
ซึ่งการไม่ได้แชมป์รายการใหญ่ๆ มาหลายฤดูกาล นอกจากจะทำให้แฟนบอลผิดหวังแล้ว
ในเชิงธุรกิจ ยังเป็นการพลาดโอกาสในการได้เงินรางวัล เพื่อมาเป็นรายได้ให้สโมสรอีกด้วย
อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รายจ่ายจากการซื้อนักฟุตบอลเข้ามาในสโมสร สูงกว่ารายได้จากการขายนักฟุตบอลออกไปอย่างมาก
ฤดูกาล 2018-2019 รายได้จากการขายนักฟุตบอล 2,150 ล้านบาท รายจ่ายจากการซื้อนักฟุตบอล 3,400 ล้านบาท
ฤดูกาล 2019-2020 รายได้จากการขายนักฟุตบอล 3,300 ล้านบาท รายจ่ายจากการซื้อนักฟุตบอล 8,800 ล้านบาท
เท่ากับว่า ใน 2 ฤดูกาลที่ผ่านมา แมนยูขาดทุนจากการซื้อขายนักเตะไปแล้วเกือบ 7,000 ล้านบาท
แล้วผลประกอบการของ แมนยู เป็นอย่างไร?
รายได้และกำไรของสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ปี 2017 รายได้ 23,800 ล้านบาท กำไร 1,600 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 24,000 ล้านบาท ขาดทุน 1,500 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 25,700 ล้านบาท กำไร 770 ล้านบาท
จะเห็นว่า รายได้ของแมนยู เติบโตขึ้นเล็กน้อย
แต่กำไร กลับมีแนวโน้มลดลงชัดเจน
ความท้าทายที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องที่แฟนๆ
ไม่สามารถเข้าชมเกมการแข่งขันได้
ฟอร์มการเล่นที่ไม่คงเส้นคงวาเท่าที่ควร
และการขาดทุนจากการซื้อขายนักเตะ
ทั้งหมดนี้ ไปกระทบกับความเชื่อมั่นของนักลงทุน ที่ลงทุนในสโมสรแมนยู
รู้ไหมว่า หุ้นของแมนยู จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE)
โดยในปี 2018 หรือเมื่อ 2 ปีที่แล้ว มูลค่าของแมนยู เคยขึ้นไปสูงถึง 136,000 ล้านบาท
แต่หลังจากที่แมนยู เจอกับความท้าทายหลายเรื่องที่ว่ามา
มูลค่าบริษัทในตอนนี้ จึงลดลงจนเหลือ 75,000 ล้านบาท
หรือคิดเป็นการหายไปของมูลค่า มากกว่า 60,000 ล้านบาท เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
พบกับ หนังสือ ลงทุนแมน 13.0 ที่อัดแน่นไปด้วยกรณีศึกษาและมุมมองธุรกิจที่น่าสนใจ
พร้อมให้คุณเป็นเจ้าของแล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://finance.yahoo.com/quote/manu?ltr=1
-https://ycharts.com/companies/MANU/market_cap
-https://www.cityam.com/worlds-richest-football-clubs-2020/
-https://www.gov.uk/government/news/coronavirus-covid-19-what-has-changed-22-september
-https://en.wikipedia.org/wiki/Old_Trafford
-https://www.statista.com/statistics/328644/premier-league-teams-ranked-by-most-expensive-ticket-price/
-https://sportstar.thehindu.com/football/epl/premier-league-finances-clubs-record-revenue-deloitte-report-coronavirus-outbreak-uk-covid-19/article31801107.ece
-https://www.transfermarkt.com/manchesterunited/transfers/verein/985/plus/0?saison_id=2019&pos=&detailpos=&w_s=
-https://resources.premierleague.com/premierleague/document/2020/09/11/dc7e76c1-f78d-45a2-be4a-4c6bc33368fa/2020-21-PL-Handbook-110920.pdf
nyse wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
William Li ใช้เวลา 6 ปี สร้างรถไฟฟ้า NIO ให้มูลค่าบริษัทมากกว่า BMW /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงแบรนด์รถหรู เชื่อว่าคำตอบในใจของหลาย ๆ คน
คงหนีไม่พ้น Mercedes-Benz กับ BMW
ซึ่งหากเราเอาอายุของทั้ง 2 แบรนด์มารวมกันจะอยู่ที่ 200 ปีพอดี
แต่รู้หรือไม่ว่า ? มีบริษัทรถยนต์ที่มีอายุได้เพียง 6 ปี
แต่กลับมีมูลค่าที่สูสีกับแบรนด์รถในตำนานทั้งสอง
บริษัทนั้นคือ “NIO Inc.” บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน โดยปัจจุบัน
- Daimler AG บริษัทแม่ของ Mercedes-Benz มีมูลค่าอยู่ที่ 3.1 ล้านล้านบาท
- NIO Inc. มีมูลค่าอยู่ที่ 2.4 ล้านล้านบาท
- BMW มีมูลค่าอยู่ที่ 2.1 ล้านล้านบาท
โดยผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ NIO Inc. คือ “William Li” ซึ่งในวัยเด็กเขาไม่ได้เกิดมามีชีวิตที่สุขสบายนัก เขาเกิดมาท่ามกลางหุบเขาที่ไม่มีไฟฟ้าใช้เลย
แต่วันนี้เขาสามารถพาบริษัท NIO Inc. ขึ้นมาจนมีมูลค่าเทียบเคียงกับ Mercedes-Benz และ BMW ได้
เรื่องราวนี้เป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
William Li หรือ Li Bin เกิดเมื่อปี 1974 ที่ Anhui จังหวัดทางฝั่งตะวันออกของจีน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถูกห้อมล้อมไว้ด้วยภูเขา ซึ่งในเวลานั้นเป็นเมืองที่ยากจน จึงทำให้ในช่วงที่เขาเกิด ที่บ้านเขายังไม่มีไฟฟ้าใช้
กว่าที่บ้านเขาจะได้มีไฟฟ้าใช้ เขาก็อายุได้ 10 ขวบแล้ว
พ่อกับแม่ของเขาทำงานอยู่ในเหมืองถ่านหิน ซึ่งมีระยะทางไกลจากบ้านถึง 300 กิโลเมตร เขาจึงเติบโตมาจากการเลี้ยงดูของตากับยายเป็นหลัก
ด้วยความที่เกิดมาในครอบครัวที่ฐานะค่อนข้างยากจน คุณตากับคุณยายจึงสอนให้ William Li รู้คุณค่าของการทำงานหนัก
ทำให้เขาเป็นคนที่มีความขยันและชอบทำงานตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นช่วยทำฟาร์ม หรือช่วยงานที่ร้านสะดวกซื้อของคุณตา
ด้วยความขยันและตั้งใจของ William Li ทำให้เขาสามารถเข้าเรียนที่ Peking University ได้ ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในจีน
ระหว่างเรียนที่มหาวิทยาลัย เขาทำงานพาร์ตไทม์หลายงาน เช่น ติวเตอร์ เซลส์ขายของ และรับจ้างเขียนโปรแกรม เพื่อนำเงินมาช่วยจ่ายเป็นค่าเรียน
แม้จะทำงานและเรียนไปพร้อม ๆ กัน แต่เขาก็สามารถเรียนจบระดับปริญญาตรีได้ถึงสองสาขา
คือ สาขาสังคมวิทยา และ Computer Science ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่เขาถนัด ทำให้เขาอยากทำงานที่ได้ใช้ความสามารถในด้านนี้
ในช่วงปี 1989 เป็นช่วงเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ตในประเทศจีน และเริ่มมีการใช้กันแพร่หลายมากขึ้นในปี 1994 ซึ่งเป็นช่วงปีสุดท้ายในมหาวิทยาลัยของเขาพอดี
เมื่อเขาเห็นโอกาสตรงจุดนี้ เขาจึงชวนเพื่อนร่วมชั้นเรียนอีกคน มาก่อตั้งบริษัทชื่อ Beijing Antarctic Technology Development ซึ่งถือเป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตแรก ๆ ในจีน
และต่อมา เขาก็ได้ก่อตั้งบริษัท Bitauto Holdings Limited ขึ้นมาในปี 2000
Bitauto Holdings Limited เป็นบริษัทที่ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก จนสามารถนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ในปี 2010
อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจคือ William Li ถูกเรียกว่าเป็น “Serial Entrepreneur” ซึ่งเป็นคำที่มักใช้เรียกนักธุรกิจที่มีความคิดและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา โดยเขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและร่วมลงทุน มาแล้วมากถึง 40 บริษัท
และแม้ว่าเขาคือคนที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว แต่ William Li ไม่ได้หยุดแค่นี้และเดินหน้าหาความท้าทายกว่าเดิม ครั้งนี้คือการเข้าสู่อุตสาหกรรมรถยนต์แบบเต็มตัว
ในปี 2014 เขาก่อตั้งบริษัท NIO Inc. ขึ้นมา
บริษัททำธุรกิจพัฒนาและผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยรถรุ่นแรกที่ NIO พัฒนาขึ้นมาเป็นรถสปอร์ตไฟฟ้าสองที่นั่ง
ชื่อรุ่น EP9 โดยชื่อย่อมาจาก Electric Performance 9
ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จนมีบริษัทยักษ์ใหญ่และกองทุนขนาดใหญ่ทั้งหลายมาร่วมลงทุนด้วย เช่น Baillie Gifford, BlackRock, Temasek และ Tencent
จนในเดือนกันยายน ปี 2018 William Li ก็สามารถนำ NIO Inc. เข้าตลาดหลักทรัพย์ NYSE ได้สำเร็จ
แล้วปัจจุบัน NIO มีผลประกอบการเป็นอย่างไร ?
ปี 2018 รายได้ 23,500 ล้านบาท ขาดทุน 46,891 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 35,294 ล้านบาท ขาดทุน 54,288 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 77,595 ล้านบาท ขาดทุน 27,177 ล้านบาท
แม้ว่าผลประกอบการของ NIO จะกำลังเติบโตได้ดี แต่บริษัทก็ยังขาดทุนอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อธุรกิจของ NIO อยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเป็นเมกะเทรนต์อย่าง รถยนต์ไฟฟ้า ก็เลยดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนได้ไม่น้อย
ทำให้ปัจจุบัน NIO Inc. มีมูลค่าอยู่ที่ 2.4 ล้านล้านบาท
และทุกวันนี้ แบรนด์รถเกือบทุกแบรนด์ กำลังมุ่งเข้าสู่เทรนด์รถยนต์ไฟฟ้า อย่างในจีนและฮ่องกงก็มีแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้ามากมาย เช่น XPeng, BYD และ NIO
ทำให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในจีน ปัจจุบันมีการแข่งขันที่เรียกได้ว่าดุเดือดมาก ซึ่งเราคงต้องติดตามกันต่อไปว่าใครจะเป็นผู้ชนะในตลาดนี้
แต่สำหรับ William Li ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ NIO
ตอนนี้ เขากลายเป็นหนึ่งในบุคคลร่ำรวยของจีนและของโลกไปแล้ว
โดยมีมูลค่าทรัพย์สินที่ถูกประเมินอยู่ที่ 230,000 ล้านบาท
หลายคนคงคิดว่า หากเราเป็นเจ้าของบริษัทรถยนต์ และบริษัทหนึ่งที่กำลังอยู่ในสมรภูมิรบแห่งนี้ เราอาจมองว่าเป็นเรื่องที่เป็นปัญหา
แต่สำหรับ William Li แล้ว เขากลับมองว่าเรื่องยาก ยิ่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า
“ถ้าผมสามารถทำสำเร็จได้ในจีน คงไม่มีเหตุผลที่ผมจะไม่สามารถทำมันสำเร็จในที่อื่นบนโลกนี้”
ซึ่งช่วงก่อนหน้านี้ เขาได้วางแผนนำรถยนต์ไฟฟ้า NIO ไปเจาะตลาดนอร์เวย์ เป็นตลาดต่างประเทศแรก ๆ อีกด้วย
หากดูจากวิสัยทัศน์ และผลงานที่ผ่านมาของ William Li ก็คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกเลยที่วันนี้ เขาจะเป็นคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ
และก้าวจากเด็กที่เกิดในหุบเขา ที่ไฟฟ้าเคยเข้าไม่ถึง มาเป็นเจ้าของบริษัทรถยนต์ไฟฟ้ารายสำคัญของโลก เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.forbes.com/sites/ywang/2021/06/03/ev-billionaire-william-li-is-chasing-growth-overseas/?sh=5feaa5171a80
-https://www.youtube.com/watch?v=JmjvVTxcWAk&t=499s
-http://www.niocapital.com/index.php?m=content&c=index&a=show&catid=223&id=1
-https://en.wikipedia.org/wiki/NIO_(car_company)
-https://artsandculture.google.com/entity/william-li/g11fjwxjps5?hl=en
-https://companiesmarketcap.com
-https://en.wikipedia.org/wiki/Internet_in_China
-NIO Inc. Annual Report 2020
-https://www.nio.com/news/nio-announces-norway-strategy
nyse wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
KFC ในประเทศไทย ใครเป็นเจ้าของ? /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงแบรนด์ไก่ทอด หลายคนคงนึกถึง KFC
KFC เป็นแบรนด์ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
และเป็นหนึ่งในร้านอาหารจานด่วนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก
แล้วเราเคยสงสัยไหมว่า KFC ในประเทศไทย มีใครเป็นเจ้าของบ้าง
และแต่ละรายมีผลประกอบการเป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้หรือไม่ว่า KFC ย่อมาจาก “Kentucky Fried Chicken”
ซึ่งเป็นแบรนด์ที่ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2473 หรือเมื่อ 90 ปีที่แล้ว
โดยพันเอกฮาร์แลนด์ เดวิด แซนเดอส์
ชายผู้ผ่านความล้มเหลวมาเกือบทุกเรื่องในชีวิต
แต่เรื่องเดียวที่เขาทำสำเร็จคือ “ทอดไก่ขาย”
จนสุดท้ายแบรนด์ไก่ทอดของเขาก็โด่งดังไปทั่วโลก
ปี พ.ศ. 2562 KFC มีสาขาทั่วโลกกว่า 22,621 สาขา
กระจายอยู่ใน 150 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
ปัจจุบัน KFC เป็นแบรนด์ในเครือ บริษัท “Yum! Brands” หนึ่งในบริษัทเจ้าของแบรนด์อาหารที่เป็นที่นิยมและเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
สำหรับในประเทศไทย ธุรกิจร้านอาหารจานด่วน (Quick Service Restaurant) มูลค่าตลาดกว่า 31,200 ล้านบาท ซึ่งมูลค่านี้มากที่สุดในบรรดาธุรกิจร้านอาหารรูปแบบต่างๆ
และแน่นอนว่า KFC ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูง ในธุรกิจร้านอาหารจานด่วนของไทย
โดย KFC ในประเทศไทย มี บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชันแนล (ประเทศไทย) หรือ ยัม! ประเทศไทย ทำหน้าที่บริหารแบรนด์ ทำการตลาด และโปรโมชัน
ต้องบอกก่อนว่า ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา
บริษัท Yum! Brands มีนโยบายจะให้ร้านอาหารในเครือเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ทั้งหมด
จึงทำให้ร้าน KFC ในประเทศไทย จะมี ยัม! ประเทศไทย บริหารแบรนด์และทำการตลาดให้
ส่วนหน้าที่การบริหารจัดการร้าน จะเป็นหน้าที่ของผู้ที่ได้รับสิทธิ์การจัดจำหน่าย หรือที่เรียกว่า “แฟรนไชซี” เป็นผู้ดำเนินการ
โดยแฟรนไชซี จะต้องทำตามข้อตกลงที่ทำไว้กับ ยัม! ประเทศไทย ทั้งรูปแบบสาขา การปรับปรุงร้าน เมนูอาหาร และเครื่องดื่มที่จำหน่ายในร้าน ทุกอย่างต้องผ่านการยินยอมและอนุมัติจาก ยัม! ประเทศไทย ทั้งสิ้น
ซึ่งแฟรนไชซีของแบรนด์ KFC ในประเทศไทยตอนนี้ มีอยู่ทั้งหมด 3 ราย คือ
1. บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG)
2. บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD)
3. บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA)
KFC เข้ามาเปิดสาขาแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 หรือ 35 ปีที่แล้ว ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว
ซึ่งเป็นการนำเข้ามาของ เครือเซ็นทรัล ที่เป็นเจ้าแรกที่ได้สิทธิ์เป็นแฟรนไชซีแบรนด์ KFC
ซึ่งปัจจุบัน KFC ก็อยู่ภายใต้การบริหารงานของเซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (CRG) บริษัทในเครือเซ็นทรัล
ผลประกอบการของบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG)
ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 11,007 ล้านบาท กำไร 681 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 11,288 ล้านบาท กำไร 570 ล้านบาท
ซึ่งต้องหมายเหตุว่า เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป ไม่ได้ขายแค่ไก่ทอด KFC เท่านั้น
แต่ยังมีแบรนด์อาหารอื่นๆ ในพอร์ตอีก เช่น Mister Donut, Auntie Anne’s รวมทั้งร้านอาหารไทยและร้านอาหารญี่ปุ่น รวมกว่า 15 แบรนด์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 ยัม! ประเทศไทย ได้มอบสิทธิ์แฟรนไชส์ KFC ให้กับแฟรนไชซีรายที่ 2
คือ บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD)
โดย RD เป็นบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนของผู้ลงทุนทั้งไทยและอาเซียน และได้รับการสนับสนุนโดย บริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งญี่ปุ่น
ผลประกอบการของบริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD)
ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 4,067 ล้านบาท ขาดทุน 93 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 4,370 ล้านบาท ขาดทุน 127 ล้านบาท
และในปลายปี พ.ศ. 2560 ยัม! ประเทศไทย ก็มีแฟรนไชซีเพิ่มมาอีกหนึ่งราย
บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือไทยเบฟเวอเรจ
ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี
ผลประกอบการของบริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA)
ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 6,117 ล้านบาท กำไร 169 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 7,745 ล้านบาท กำไร 108 ล้านบาท
โดยข้อมูล ณ สิ้นปี พ.ศ. 2562 KFC ในประเทศไทยมีทั้งหมด 826 สาขา แบ่งเป็น
เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) 283 สาขา
เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) 207 สาขา
คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA) 336 สาขา
จากข้อมูลผลประกอบการสองปีที่ผ่านมา
จะเห็นว่า KFC ภายใต้การดำเนินงานของ เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) ยังขาดทุนอยู่เมื่อเทียบกับแฟรนไชซีอีก 2 ราย
ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะจำนวนสาขาที่น้อยกว่า ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ที่น้อยกว่าแฟรนไชซีอีกสองเจ้า
สรุปแล้ว ถ้าถามว่า KFC ในประเทศไทย ใครเป็นเจ้าของ?
ก็ต้องตอบว่า ถ้าในมุมของการเป็นเจ้าของแบรนด์ ผู้ที่เป็นเจ้าของแบรนด์ KFC ในไทย ก็คือ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) หรือ Yum! ประเทศไทย
ส่วนถ้าเป็นในแง่ของการเป็นเจ้าของสิทธิ์ในการบริหารร้าน KFC หรือที่เรียกว่า แฟรนไชซี ก็จะมีอยู่ทั้งหมด 3 ราย คือ เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (CRG), เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) และ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย (QSA) นั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ Yum! Brands คือ บริษัทร้านอาหารที่เป็นที่นิยมและเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE)
โดยในปี พ.ศ. 2562 Yum! Brands มีรายได้ 175,000 ล้านบาท และกำไร 40,500 ล้านบาท
ปัจจุบัน Yum! Brands มีมูลค่าบริษัทประมาณ 950,000 ล้านบาท ซึ่งถ้า Yum! Brands จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทย ก็จะมีมูลค่าเป็นอันดับต้นๆ ของตลาดเลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/Yum!_Brands
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2562, บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
-http://www.rdthailand.com/about/th
-https://foa.co.th/brand/kfc/pages/about_en.html
-https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892602
-https://finance.yahoo.com/quote/YUM/
nyse wiki 在 New York Stock Exchange - Wiki - Golden 的相關結果
The New York Stock Exchange (NYSE, nicknamed "The Big Board") is an American stock exchange located at 11 Wall Street, Lower Manhattan, New York City, ... ... <看更多>
nyse wiki 在 New York Stock Exchange - Wikidata 的相關結果
NYSE ; Big Board; The New York Stock Exchange; NY Stock Exchange ... https://it.wikipedia.org/w/index.php?title=Borsa_di_New_York&oldid=111184233. ... <看更多>
nyse wiki 在 New York Stock Exchange - Wikipedia 的相關結果
The New York Stock Exchange (sometimes referred to as "The Big Board") provides a means for buyers and sellers to trade shares of stock in companies registered ... ... <看更多>