ทำไม ? แบรนด์อิเล็กทรอนิกส์ญี่ปุ่น ได้รับความนิยม ลดลง
ใครคือคู่แข่งคนสำคัญของญี่ปุ่น ในตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกตอนนี้
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
References
-https://www.wsj.com/articles/SB10000872396390444840104577551972061864692
-https://www.bbc.com/news/world-asia-21992700
-https://money.cnn.com/2017/05/04/technology/japanese-companies-fall-toshiba-olympus-sanyo-sharp/index.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Electronics_industry
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Japanese_inventions_and_discoveries#Audio_technology
-https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/appliances-market
-https://www.icinsights.com/news/bulletins/Lone-Japanese-Semiconductor-Supplier-Ranked-Among-Top-10-In-1H13/
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過30萬的網紅GamingDose,也在其Youtube影片中提到,โดย: XTER-VENDETTA (ต้องขอโทษที่ทำออกมาช้ามากๆๆๆ สำหรับวิดีโอตัวนี้ด้วยนะครับ T T) ติดตามข่าวสารวงการเกม Review Preview พร้อมบทความระดับคุณภาพที่ ww...
industry analysis 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
ทำไม แบรนด์อิเล็กทรอนิกส์ญี่ปุ่น ได้รับความนิยม ลดลง /โดย ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปในช่วง 10 ถึง 20 ปีก่อน
ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นเจ้าแห่งการสร้างสรรค์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ที่ได้สร้างความฮือฮาให้กับทั่วโลกไว้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น
เครื่องเล่นเทปคาสเซตต์แบบพกพา หรือ Walkman
เครื่องเล่นแผ่นซีดีและดีวีดี
เครื่องเล่นเกมอย่าง Game Boy และ PlayStation
เครื่องคิดเลขทางวิทยาศาสตร์อย่าง Casio
แต่ปัจจุบัน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะที่เป็นนวัตกรรมระดับโลก
อย่างเช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เติมคำว่าสมาร์ตเข้าไป
กลับถูกคิดค้นและพัฒนาโดยสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และจีน เป็นส่วนใหญ่
แล้วทำไมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นผู้นำเท่าเมื่อก่อน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ช่วงทศวรรษ 1970s ประเทศญี่ปุ่นเริ่มมาเป็นผู้นำด้านสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่โดดเด่นของโลก
โดยเริ่มมาจากการรับเทคโนโลยีจากชาติตะวันตกในช่วงสงคราม และพัฒนาต่อยอด
จนกลายมาเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีได้เอง อย่างเช่นตัวอย่างเหล่านี้
Sony ขายเครื่องเล่นเทปคาสเซตต์แบบพกพา หรือ Walkman เป็นเจ้าแรกของโลก
Toshiba และ Epson ขายแล็ปท็อปในตลาด Mass เป็นเจ้าแรกของโลก
Kyocera ขายโทรศัพท์มือถือที่มีกล้อง เป็นเจ้าแรกของโลก
หรือถ้าลองสังเกตจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รอบตัวเรา ก็มีเป็นแบรนด์จากญี่ปุ่นอยู่มากมาย
ยิ่งถ้าเป็นเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน ไอเทมนำสมัยที่ได้รับความนิยมสูงส่วนใหญ่ ก็เป็นแบรนด์จากญี่ปุ่นทั้งนั้น
แล้วอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร ?
ถ้าแบ่งผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสองกลุ่มใหญ่
จะแบ่งได้เป็น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
และวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตอย่างเซมิคอนดักเตอร์
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันในตลาดโลก ตัวอย่างเช่น
สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต เจ้าตลาดคือ Samsung และ Apple
แล็ปท็อป เจ้าตลาดคือ Lenovo และ HP
เครื่องซักผ้า เจ้าตลาดคือ Haier และ Whirlpool
ตู้เย็น เจ้าตลาดคือ Haier และ LG
โทรทัศน์ เจ้าตลาดคือ Samsung และ LG
ซึ่งแบรนด์ทั้งหมดที่ว่ามานี้ เป็นของประเทศสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และจีน
หรือแม้แต่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของโลก ก็มีส่วนแบ่งตลาดหลัก ๆ มาจาก
TSMC ของไต้หวัน และ Samsung ของเกาหลีใต้
จะสังเกตได้ว่า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
เริ่มไม่เห็นชื่อแบรนด์จากประเทศญี่ปุ่นแล้ว
แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
จากมุมมองของอดีตผู้บริหารและพนักงานระดับสูงของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในญี่ปุ่น
รวมไปถึงมุมมองจากนักวิเคราะห์ สามารถรวบรวมเป็นปัจจัย
ที่ทำให้ญี่ปุ่นเริ่มหายไปจากตำแหน่งผู้นำในตลาดอิเล็กทรอนิกส์ได้ 4 ปัจจัยหลัก
ปัจจัยแรก สินค้าคุณภาพสูง จนเกินความต้องการของผู้ซื้อ
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศญี่ปุ่น ขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพ
สะท้อนได้จากปรัชญาในการผลิตที่เรียกว่า “Monozukuri” หรือ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์
ที่มีคุณภาพสูงโดยใช้ทักษะและเทคโนโลยี
แต่คุณภาพของสินค้า ก็ต้องตามมาด้วยราคาขายที่สูงขึ้นตาม
ซึ่งคุณภาพบางอย่าง ก็สูงเกินความต้องการของผู้ใช้งานจริง
โดยที่หลายคนไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้องจ่ายแพง เพื่อให้ได้ฟังก์ชันการใช้งานเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น
Sony เป็นบริษัทแรก ๆ ของโลกที่ขายโทรทัศน์จอ LCD
ก่อนที่หนึ่งปีให้หลัง Samsung จะวางขายและใช้ชื่อว่าจอ LED แทน
ขณะที่ Sony ใช้กลยุทธ์สินค้าคุณภาพสูงมาก เทคโนโลยีหน้าจอสุดล้ำ
หน้าจอบางที่สุด ส่งผลให้ราคาขายก็สูงขึ้นตามไปด้วย
Samsung กลับเน้นการตั้งราคาแบบเข้าถึงคนส่วนใหญ่ มากกว่ากลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง
จึงคุมต้นทุนการผลิต โดยเลือกเฉพาะฟังก์ชันการใช้งานที่จำเป็นแทน และเน้นที่ดีไซน์
ซึ่งกลยุทธ์แบบ Samsung ก็สามารถครองส่วนแบ่งตลาดไปได้มากที่สุด
หรือในการแข่งขันของสมาร์ตโฟน ที่มี iPhone ของ Apple เป็นผู้บุกเบิก
Sony และ Samsung ต่างเข้ามาแข่งขันด้วย ซึ่งทั้งคู่ยังคงใช้กลยุทธ์แบบเดิม
Sony Xperia มีฟังก์ชันการใช้งานครบครัน ในขณะที่ Samsung Galaxy มีหลายรุ่นให้เลือก โดยยอมลดทอนฟังก์ชันการใช้งานลงมา เพื่อให้ตั้งราคาขายแบบเข้าถึงง่าย จึงยืนระยะได้นานและยังคงเป็นแบรนด์สมาร์ตโฟนอันดับต้น ๆ ของโลก
ปัจจัยที่สอง ให้ความสำคัญเรื่องการตลาดน้อยเกินไป
บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในญี่ปุ่น เน้นการแข่งขันด้วยเทคโนโลยี เช่น การคิดค้นสินค้ารุ่นใหม่ที่บางสุด มีขนาดเล็กที่สุด แต่ยังขาดปัจจัยที่มีผลโดยตรงกับลูกค้า นั่นคือดีไซน์ ความง่ายในการใช้งาน และวิธีการสื่อสารกับลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น
ปี 2004 Sony ขายอุปกรณ์อ่านอีบุ๊กที่ชื่อว่า Librie เป็นเจ้าแรกของโลก
ก่อนหน้าที่ Amazon จะขาย Kindle นานถึง 3 ปี
แต่เหตุผลที่ Kindle กลายมาเป็นเจ้าตลาดอุปกรณ์อ่านอีบุ๊ก
นอกเหนือจากการที่ใช้งานง่ายกว่าแล้ว
Amazon โฟกัสที่การขายอีบุ๊กมากกว่าตัวอุปกรณ์อ่าน
ในขณะที่ Sony โฟกัสที่การขายตัวอุปกรณ์อย่างเดียว
Kindle จึงเชื่อมโยงถึงผู้ซื้อได้มากกว่า
ในด้านของเหตุผลที่ว่าซื้ออุปกรณ์นี้ไปเพื่ออะไร
และกลายมาเป็นเจ้าตลาดในที่สุด
ปัจจัยที่สาม โดดเด่นในการพัฒนาฮาร์ดแวร์ แต่ไม่ถนัดพัฒนาซอฟต์แวร์
สินค้าที่แบรนด์จากญี่ปุ่นคิดค้นแล้วประสบความสำเร็จ มักเป็นการพัฒนาที่ตัวอุปกรณ์และเครื่องกล
อย่างเช่นเครื่องเล่น Walkman, เครื่องเล่นซีดี และเครื่องเล่นเกม ซึ่งได้รับความนิยมสูงมากในช่วงที่เริ่มวางขาย แต่สินค้าเหล่านี้ไม่ได้มีระบบปฏิบัติการ หรือระบบนิเวศที่ดึงให้ผู้ใช้งานยังคงใช้ฮาร์ดแวร์เหล่านั้นไปเรื่อย ๆ
ในขณะที่การคิดค้นระบบปฏิบัติการของ Apple เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำฮาร์ดแวร์ให้เป็นมากกว่าฮาร์ดแวร์
iOS และ macOS ได้เข้ามามีบทบาททำให้ธุรกิจซอฟต์แวร์เติบโตแบบก้าวกระโดด
โดยประเทศญี่ปุ่นซึ่งยังไม่ถนัดในเรื่องนี้ จึงไล่ตามประเทศที่เป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์อย่างสหรัฐอเมริกาไม่ทัน
ปัจจัยสุดท้าย มุ่งพัฒนาเทคโนโลยี ด้วยตัวเอง
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ก็คือผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำในญี่ปุ่น
ในทศวรรษ 1990s รู้หรือไม่ว่าบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง NEC ครองส่วนแบ่งตลาดเซมิคอนดักเตอร์
มากที่สุดในโลก และยังมี Toshiba กับ Hitachi ที่มีส่วนแบ่งตลาดรองลงมา
แต่ในทศวรรษ 2000s ผู้นำในตลาดเซมิคอนดักเตอร์กลายเป็น Intel จากสหรัฐอเมริกา
ขณะที่ Samsung จากเกาหลีใต้เริ่มไล่ตามมาติด ๆ
ปี 2002 Hitachi จึงจับมือกับ Mitsubishi ร่วมกันตั้งบริษัทผลิตชิปที่ชื่อว่า Renesas
เพื่อช่วยพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ไปด้วยกัน และปกป้องตำแหน่งผู้นำในตลาด
ก่อนที่ NEC จะเข้ามาควบรวมในอีก 7 ปีถัดมา
แต่การร่วมมือกันคิดค้นเทคโนโลยีผลิตชิปด้วยตัวเอง มีจุดอ่อนที่สำคัญคือ ช้า
ขณะที่ช่วงนั้น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน ใช้กลยุทธ์แบบที่ญี่ปุ่นเคยทำในอดีต
นั่นคือเรียนรู้เทคโนโลยีจากประเทศอื่น
แล้วนำมาต่อยอด ซึ่งกลยุทธ์แบบนี้มีจุดแข็งที่สำคัญคือ ความเร็ว
นั่นจึงทำให้ปัจจุบัน TSMC จากไต้หวัน และ Samsung จากเกาหลีใต้
กลายเป็นผู้นำในการผลิตชิปได้ในที่สุด
และทั้งหมดนี้ คือปัจจัยหลัก ที่ทำให้แบรนด์จากประเทศญี่ปุ่น
เริ่มหายไปจากตำแหน่งผู้นำในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ยิ่งในช่วงหลังปี 2010 ที่สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตกลายมาเป็นสินค้าจำเป็น
และแบรนด์ที่เป็นเจ้าตลาดในสินค้าเหล่านั้น ก็พัฒนาสินค้าประเภทอื่น
จนเป็นผู้นำในตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปได้เกือบทุกประเภท
ขณะที่บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น กลับต้องผ่านช่วงล้มลุกคลุกคลาน
บางบริษัทต้องเผชิญการขาดทุนอย่างหนัก จนต้องหาทางอยู่รอดกันต่อไป ยกตัวอย่างเช่น
Sharp ขายกิจการให้ Foxconn ของไต้หวันไปแล้ว
Panasonic ควบรวมกับ Sanyo
ขณะที่บริษัทที่ได้ไปต่อ ก็ยังคงมีผลประกอบการที่ตามหลังคู่แข่ง ซึ่งเรื่องนี้ก็ส่งผลให้งบลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา มีน้อยลงไปด้วย การเร่งความเร็วในการไล่ตามคู่แข่ง จึงทำได้ไม่ง่ายนัก
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าแบรนด์อิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น
จะแก้เกมจนกลับสู่การเป็นผู้นำในตลาดโลกได้อีกครั้งหรือไม่
หรือจะเสียตำแหน่งไป แบบไม่มีวันทวงคืน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.wsj.com/articles/SB10000872396390444840104577551972061864692
-https://www.bbc.com/news/world-asia-21992700
-https://money.cnn.com/2017/05/04/technology/japanese-companies-fall-toshiba-olympus-sanyo-sharp/index.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Electronics_industry
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Japanese_inventions_and_discoveries#Audio_technology
-https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/appliances-market
-https://www.icinsights.com/news/bulletins/Lone-Japanese-Semiconductor-Supplier-Ranked-Among-Top-10-In-1H13/
-https://technology.inquirer.net/89835/from-sony-to-samsung-how-tech-leadership-migrated-from-japan-to-korea
industry analysis 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
เส้นทาง เถ้าแก่น้อย จากเกาลัด สู่ชานม /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงเถ้าแก่น้อย หลายคนคงนึกถึง ขนมสาหร่ายแปรรูป
แต่รู้ไหมว่า เถ้าแก่น้อยในตอนนี้ กำลังเอาชานมชื่อดังจากต่างประเทศมาขายในไทย
ที่ผ่านมา ตลาดชานม เติบโตมากแค่ไหน
แล้วทำไม เถ้าแก่น้อย ถึงเริ่มขายชานม?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เถ้าแก่น้อย หรือ บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จํากัด (มหาชน)
ถูกก่อตั้งขึ้นโดย คุณต๊อบ อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ ในปี 2546
ในช่วงแรกของการทำธุรกิจ คุณต๊อบเริ่มต้นด้วยการขายเกาลัด
แต่ก็ขายได้ไม่ค่อยดีเท่าไรนัก และเริ่มประสบปัญหาขาดทุน
เนื่องจากยังมีประสบการณ์ไม่มากในการทำธุรกิจ
ต่อมา คุณต๊อบ ได้ย้ายร้านเกาลัดไปขายในห้างสรรพสินค้า
ซึ่งปรากฏว่า รายได้จากการขายเกาลัดกลับจากก่อนหน้านั้นอย่างมาก
ทำให้เขาคิดว่า สินค้าจะขายได้ดีมีปัจจัยสำคัญคือ ทำเลต้องดีด้วย
เมื่อเกาลัดเริ่มขายดี คุณต๊อบก็เริ่มขยายสาขา
รวมถึงเริ่มเอา ลูกท้อ ลำไยอบแห้ง และสาหร่ายทอดกรอบ มาวางขายด้วย
หลังจากนั้นไม่นาน สินค้าที่ขายดีที่สุดกลับไม่ใช่เกาลัดแล้ว แต่กลายเป็นสาหร่ายทอดกรอบ..
จุดนี้เอง ที่เป็นจุดเริ่มต้นให้เขากลับมาศึกษาและค้นคว้า
เพื่อต่อยอดการทำสาหร่ายทอดกรอบ "เถ้าแก่น้อย" อย่างจริงจังนับแต่นั้นมา
กิจการขายสาหร่ายของเขาเติบโตต่อเนื่อง
และประสบความสำเร็จถึงขนาดสามารถจดทะเบียนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ในปี 2558
หรือเพียงแค่ 12 ปี หลังจากเถ้าแก่น้อยก่อตั้งขึ้นมา
ปัจจุบัน รายได้ของเถ้าแก่น้อยมาจาก ตลาดต่างประเทศ 60% และจากตลาดในประเทศไทย 40%
ซึ่งรายได้จากต่างประเทศทั้งหมดนั้น มาจากประเทศจีนถึง 36%
พอเป็นแบบนี้ จึงต้องบอกว่า ตลาดที่ประเทศจีน มีความสำคัญไม่ต่างจากตลาดในประเทศไทยเลยทีเดียว
ขณะที่ในตลาดขนมขบเคี้ยวประเภทสาหร่ายในประเทศไทย เถ้าแก่น้อยถือว่าเป็นผู้นำในตลาด เนื่องจากมีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดถึง 68%
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากย้อนกลับไป 2 ปีก่อนหน้านี้
ต้องบอกว่า เถ้าแก่น้อย เจอความท้าทายในหลายๆ เรื่อง
ทั้งเรื่องที่นักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาประเทศไทยชะลอตัวลง
และเนื่องจากสาหร่ายของเถ้าแก่น้อย เป็นของฝากที่คนจีนนิยมซื้อเมื่อมาเที่ยวไทย
ยอดขายสาหร่ายของเถ้าแก่น้อยจึงได้รับผลกระทบไปด้วย
อีกทั้งในปี 2562 ผู้จัดจำหน่ายสินค้าเดิมของเถ้าแก่น้อยในตลาดจีน มีปัญหาในการจัดจำหน่าย ทำให้ทางบริษัทเถ้าแก่น้อยต้องเปลี่ยนพันธมิตรทางธุรกิจรายใหม่ และยังส่งผลให้รายได้บางส่วนขาดหายไป
ขณะที่ในปีนี้ การแพร่ระบาดของโควิด 19 ก็ส่งผลกระทบกับรายได้ของบริษัทพอสมควร
ผลประกอบการของ บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)
ปี 2561 รายได้ 5,697 ล้านบาท กำไร 459 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 5,297 ล้านบาท กำไร 366 ล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2563 รายได้ 3,115 ล้านบาท กำไร 263 ล้านบาท
จากการที่ต้องเจอกับความท้าทายหลายเรื่องที่ว่ามา
ทำให้ เถ้าแก่น้อย ต้องมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ มาเพื่อกระจายความเสี่ยง
นอกเหนือจากการขายเพียงผลิตภัณฑ์จากสาหร่าย
ทำให้ตอนนี้ เถ้าแก่น้อย พยายามรุกธุรกิจใหม่
โดยการดึงแบรนด์ชานมที่ชื่อว่า “ฉุน ชุ่ย เฮ้อ” (Just Drink) ชานมจากไต้หวัน ซึ่งถือเป็นต้นตำหรับของชานมไข่มุก เพื่อนำเข้ามาขายในประเทศไทย
โดยแบรนด์นี้มีจำหน่ายในฮ่องกง และสิงคโปร์มาแล้วก่อนที่จะเข้ามาในประเทศไทย
แล้ววันนี้ตลาดชานม ใหญ่แค่ไหน?
สถิติอ้างอิงจาก Allied Market Research
ปี 2559 ตลาดชาไข่มุก มีมูลค่าประมาณ 62,000 ล้านบาท
ปี 2562 ตลาดชาไข่มุก มีมูลค่าประมาณ 72,000 ล้านบาท
จะเห็นว่า มูลค่าตลาดนั้นเติบโต 16% ในระยะเวลา 3 ปี แต่ที่น่าสนใจคือ Allied Market Research ยังได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2570 มูลค่าตลาดชาไข่มุกจะเติบโตไปถึง 130,000 ล้านบาท หรือเติบโตเกือบเท่าตัวจากปัจจุบัน
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ
รู้ไหมว่า ปัจจุบันคนไทยเป็นชาติที่ดื่มชานมไข่มุกมากสุดในเอเชีย
ด้วยจำนวนเฉลี่ย 6 แก้วต่อเดือน
ด้วยการเติบโตอย่างมากของตลาดชานมไข่มุกในช่วงที่ผ่านมา
และด้วยแนวโน้มที่ยังสามารถเติบโตต่อไปได้อีกในอนาคต
จึงทำให้เถ้าแก่น้อยตัดสินใจกระโดดเข้ามาร่วมเล่นในตลาดนี้ด้วยนั่นเอง
ซึ่งเรื่องนี้ ก็น่าติดตามกันต่อไป
ว่า เถ้าแก่น้อย จะขายชานม ได้ดีหรือไม่
แต่ที่แน่ๆ เรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจว่า
เจ้าของธุรกิจที่มีประสบการณ์ จะไม่ได้ยึดติดกับแค่ผลิตภัณฑ์ตัวใดตัวหนึ่ง
ในทางกลับกัน เขาจะพยายามหาช่องทางนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
ตั้งแต่ เกาลัด สาหร่าย มาจนถึงชานม
ซึ่งก็เชื่อว่า หากชานมตีตลาดในคราวนี้ไม่สำเร็จ
ในครั้งหน้า เถ้าแก่น้อย ก็น่าจะหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจ มานำเสนอให้กับผู้บริโภค อยู่เรื่อยๆ
พูดง่ายๆ ว่า คุณต๊อบน่าจะมีสัญชาตญาณ “ความเป็นเถ้าแก่” สมชื่อกับแบรนด์ของเขา นั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่า คุณต๊อบเคยเห็นตู้คั่วเกาลัดของบริษัทญี่ปุ่น
ที่มาออกบูทแสดงสินค้าในประเทศไทย ซึ่งเขารู้สึกสนใจอยากซื้อ
แต่เนื่องจากตู้คั่วเกาลัดมีราคาสูงถึง 500,000 บาท
ซึ่งเขาไม่มีเงินมากขนาดนั้น จึงต้องปฏิเสธไป
อย่างไรก็ตาม เขายังคงแวะไปที่บูทนี้เรื่อยๆ ในช่วงที่บริษัทญี่ปุ่นรายนี้มาออกงานแสดงสินค้า เขาสนใจตู้นี้มาก ถึงขนาดไปช่วยขายเกาลัดให้กับบูทบริษัทญี่ปุ่นแห่งนี้เลยทีเดียว
ซึ่งทำให้คุณต๊อบพบว่า เกาลัดเป็นสินค้าที่ขายดีมาก
ถ้าเขามีตู้นี้ เขาจะต้องขายเกาลัดได้ดีแน่นอน
สุดท้ายบริษัทญี่ปุ่นรายนั้น ก็ให้คุณต๊อบเช่าตู้คั่วเกาลัดนั้น ในราคาเดือนละ 50,000 บาท
และได้นำมาเริ่มธุรกิจคั่วเกาลัดขาย และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นของเถ้าแก่น้อยนั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2562, บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 2563,บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)
-https://www.alliedmarketresearch.com/bubble-tea-market#:~:text=The%20bubble%20tea%20market%20was,7.80%25%20from%202020%20to%202027.&text=Most%20bubble%20tea%20recipes%20contain,fruit%20jelly%20are%20often%20added.
-https://www.alliedmarketresearch.com/bubble-tea-market#:~:text=The%20bubble%20tea%20market%20was,7.80%25%20from%202020%20to%202027.&text=Most%20bubble%20tea%20recipes%20contain,fruit%20jelly%20are%20often%20added.
-https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/bubble-tea-market#:~:text=Thailand%20is%20one%20of%20the,cups%20per%20person%20per%20month.
-https://www.youtube.com/watch?v=0rMdVC3nBl0
industry analysis 在 GamingDose Youtube 的評價
โดย: XTER-VENDETTA
(ต้องขอโทษที่ทำออกมาช้ามากๆๆๆ สำหรับวิดีโอตัวนี้ด้วยนะครับ T T)
ติดตามข่าวสารวงการเกม Review Preview พร้อมบทความระดับคุณภาพที่ www.gamingdose.com
industry analysis 在 NHG:中の人げぇみんぐ【実銃解説】 Youtube 的評價
参考文献&参照サイト
図説ドイツ軍用銃パーフェクトバイブル (歴史群像シリーズ Modern Warfare MW)
学研プラス
https://amzn.to/3qEdZ0B
第2次大戦歩兵小火器 (第2次大戦兵器ブックス)
並木書房
https://amzn.to/3gSUU7n
MG42 Machine Gun: Hitler&039;s Buzzsaw Still Awes | RECOIL
https://www.recoilweb.com/mg42-machine-gun-109276.html
Machine gun MG3 - Military Analizer
https://militaryanalizer.com/machine-gun-mg3/
MG42 / MG3 - Modern Firearms
https://modernfirearms.net/en/machineguns/germany-machineguns/mg-42-i-mg-3-eng/
MG42 汎用機関銃【無可動実銃の魅力】 | ニュース | アームズマガジンウェブ
https://hobbyjapan.co.jp/armsweb/report/2011.html
MG42
https://www.german-smallarms.com/mg42top.html
MG5 7.62 machine gun is the successor of MG3 in the German army | weapons defence industry military technology UK | analysis focus army defence military industry army
https://www.armyrecognition.com/weapons_defence_industry_military_technology_uk/mg5_7.62_machine_gun_is_the_successor_of_mg3_in_the_german_army.html
高評価とチャンネル登録お願いします~
https://www.youtube.com/c/NakanohitoGaming?sub_confirmation=1
最新投稿情報や配信の予告はツイッターから《@NakanohitoGamin》
https://twitter.com/NakanohitoGamin
たわいもない話の再生リスト
https://www.youtube.com/watch?v=uecoATVCB4Y&list=PLANXuC7K8woqQJPgPk4cwCxFiIBgER1LU
実銃解説の再生リスト
https://www.youtube.com/watch?v=l7vPiQ4uFHE&list=PLANXuC7K8woqgyyxLbFdclAqX1PFonVDh
#NHG
#実銃解説
※こちらのチャンネルでは当動画において正確な情報を記載するよう努めておりますが、その完全性・最新性・正確性について保証するものではありません。
industry analysis 在 Industry analysis and competition: Porter's five forces 的相關結果
Industry analysis —also known as Porter's Five Forces Analysis—is a very useful tool for business strategists. It is based on the observation that profit ... ... <看更多>
industry analysis 在 What Is an Industry Analysis? - UpCounsel 的相關結果
Industry analysis is a vital responsibility of any business analyst. It is a study of a specific industry to understand its future outlook based on past trends ... ... <看更多>
industry analysis 在 Industry Analysis - Top 3 Methods to Assess and Analyze an ... 的相關結果
Industry analysis is a market assessment tool used by businesses and analysts to understand the competitive dynamics of an industry. ... <看更多>