สรุปประเด็นจากห้อง Clubhouse
เปิดความท้าทายของจีนยุคใหม่ ลงทุนหุ้นจีนต้องดูอะไร ?
BBLAM x ลงทุนแมน
“การเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความท้าทายทุกด้านของจีน
จะทำให้เราเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่ในการลงทุนหุ้นจีนได้อย่างชัดเจนที่สุด”
นี่คงเป็นประโยค ที่สรุปใจความสำคัญได้สมบูรณ์ที่สุด
หลังจากที่ คุณทีน่า สุภัททกิต เจตทวีกิจ, CFA จากลงทุนแมน
ได้พูดคุยกับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจากกองทุนบัวหลวงในห้อง Clubhouse ในหัวข้อ “เปิดความท้าทายของจีนยุคใหม่ ลงทุนหุ้นจีนต้องดูอะไร ?” เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา
โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการลงทุนในจีนจากกองทุนบัวหลวงทั้ง 2 ท่าน ได้แก่
- คุณทนง ขันทอง Head of Strategic Communications กองทุนบัวหลวง
- คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, AVP, Portfolio Management กองทุนบัวหลวง
ความท้าทายและโอกาสของจีนในตอนนี้มีอะไรบ้าง แล้วลงทุนหุ้นจีนต้องดูอะไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
ความท้าทายที่ 1: สงครามการค้าและเทคโนโลยี ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา
เรื่องสงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา เป็นสิ่งที่นักลงทุนรับรู้เรื่องนี้ตลอดเวลาที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นเวลามีข่าวดี หุ้นจีนก็พร้อมวิ่งไปต่อ
นอกจากนั้น ความกังวลเรื่องสงครามการค้าและเทคโนโลยี
ยังทำให้มูลค่าของบริษัทเทคโนโลยีจีนมีราคาที่ถูกลง
ถ้าเราลองดูภาพรวมของหุ้นกลุ่มนี้ผ่าน MSCI China Technology กับ S&P Technology
จะเห็นว่า บริษัทเทคโนโลยีจีนที่แพงกว่าสหรัฐอเมริกามาตลอดหลายปี ถูกลด P/E ลงมา ทั้งที่ผลประกอบการไม่ได้แย่เลย ทำให้ P/E ของกลุ่มอยู่ที่ 25 เท่า สูงกว่า ค่าเฉลี่ย 15 ปีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ความท้าทายที่ 2: ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ
ล่าสุด ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน คุณ Yi Gang ก็ออกมาบอกว่าเงินเฟ้อของจีนในช่วงนี้ จะต่ำกว่า 2% และเงินเฟ้อฝั่งผู้บริโภคของจีนล่าสุดที่ออกมาอยู่ที่ระดับ 1.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ก็ช่วยให้นักลงทุนคลายกังวลเรื่องเงินเฟ้อสูงไปตาม ๆ กัน
คุณมทินา ยังแนะนำเทคนิคดูการปรับตัวของหุ้นจีนแบบแม่น ๆ คือนอกจากดู “นโยบายการเงิน” ของธนาคารกลางจีนแล้ว ให้ดู “ยอดการระดมทุนรวมสุทธิของทั้งระบบ (Total Social Financing)” หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า TSF
TSF คือยอดการปล่อยสินเชื่อรวมในระบบ ที่สะท้อนถึงสภาพคล่องในระบบขณะนั้น ซึ่งถ้าเอาข้อมูล TSF มาพลอตเทียบกับ ตลาดหุ้น A-shares (ตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่) ก็จะมีความสัมพันธ์สูง ไปในทิศทางเดียวกัน
อย่างเช่น ในช่วงที่ผ่านมา การเติบโตของ TSF ลดลง แสดงถึงสภาพคล่องในระบบที่ลดลง และสะท้อนไปยังราคาหุ้นของจีนที่ปรับตัวลดลงได้นั่นเอง
คำถามคือ สภาพคล่องของทั้งระบบเศรษฐกิจ จากการที่ TSF ที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา น่ากลัวไหม ?
กองทุนบัวหลวงมองว่า “ไม่ได้น่ากลัวเท่าที่คิด” เพราะการลดสภาพคล่องของจีน ค่อยๆ ทำอย่างระมัดระวังมาหลายเดือนแล้ว และตลาดก็ได้สะท้อนความกลัวนั้นไปมากแล้วก่อนหน้านี้
เพราะฉะนั้น ความเสี่ยงในด้านขาลงของหุ้นจีน (Downside Risk) ควรจะเริ่มจำกัดแล้วในตอนนี้
ความท้าทายที่ 3: ปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์
จีน มีปัญหาในเชิงการเมืองกับหลายฝ่าย ทั้งไต้หวัน ฮ่องกง และโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา
ตั้งแต่ยุคประธานาธิบดี บารัก โอบามา สหรัฐอเมริกา เน้นเข้ามามีบทบาทในเอเชียและตะวันออกกลางมากขึ้น เพื่อคานอำนาจของจีนที่เริ่มสานสัมพันธ์กับนานาประเทศในหลายภูมิภาค
ขณะที่สมัยประธานาธิบดี ทรัมป์ ก็เริ่มก่อสงครามการค้า สงครามเทคโนโลยีที่ชัดเจน และยกประเด็นต่าง ๆ ขึ้นมาโจมตีจีน เช่น เรื่องสิทธิมนุษยชนในเขตซินเจียง เรื่องการวางอำนาจของจีนในทะเลจีนใต้ ไปจนถึงเรื่องการเป็นต้นตอของวิกฤติโรคระบาดโควิด-19
คุณทนงเชื่อว่า ความเข้มข้นของเรื่องการเมืองโลกเหล่านี้ จะนำไปสู่การประนีประนอมในท้ายที่สุด อีกทั้งจะมีการปรับระเบียบโลกครั้งใหม่ สู่ระบบหลายขั้วผู้นำ (Multipolar) และจีนมีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งขั้วมหาอำนาจโลกได้
ความท้าทายที่ 4: การเติบโตระยะยาวของจีน ที่เริ่มแผ่ว
ล่าสุดทางการจีนออกมาประกาศ ตั้งเป้าการเติบโตของเศรษฐกิจลดลง จากเดิมที่โตเฉลี่ย 7-8% ต่อปี เหลือ 5-6% ต่อปี
เรื่องนี้ คุณทนงมองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ เพราะตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาจีนเติบโตเร็วมาตลอด พอฐานเศรษฐกิจเริ่มใหญ่ขึ้น 5-6% ก็ยังคงถือว่าไม่ได้แย่ ถึงแม้จะไม่ได้ร้อนแรงเหมือนเดิม
ส่วนคุณมทินา มองว่าสไตล์การดำเนินนโยบายการเงินของจีน จะทำให้จีนแข็งแกร่งได้ในระยะยาว
เพราะถ้าลองเทียบสไตล์การใช้นโยบายการเงินของธนาคารกลางจีนกับสหรัฐอเมริกา
ประการแรก - เราจะเห็นว่า สหรัฐอเมริกา จะใช้นโยบายทางการเงินที่จัดหนักจัดเต็ม มีการอัดฉีดเงินมูลค่ามหาศาลเข้ามาในระบบแบบไม่ยั้ง ขณะที่จีนค่อนข้างมีความรัดกุม เช่น เมื่ออัดฉีดเงินเข้าระบบแล้วเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ก็จะรีบพยายามหาทางลดความร้อนแรง โดยการดูดเงินออกจากระบบทันทีที่มีโอกาส
ประการที่สอง - จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของจีนนั้น ไม่ได้ต้องการโฟกัสไปที่ตลาดหุ้น แต่ต้องการที่จะสร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจโดยรวม แตกต่างกับทางสหรัฐอเมริกา ที่จะเน้นที่การกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวไปตามเป้าหมายในทันที
ซึ่งคุณมทินามองว่า สไตล์การใช้นโยบายทางการเงินของจีน จะทำให้ตลาดหุ้นจีนมีเสถียรภาพในอนาคต
ความท้าทายที่ 5: ความเข้มงวดของรัฐบาลจีน ต่อบริษัทเทคโนโลยีจีน
อย่างเช่น ที่หน่วยงานกำกับและดูแลตลาดจีน เคยสั่งปรับ Alibaba ในข้อหาผูกขาดตลาดและใช้นโยบายเอาเปรียบผู้บริโภค และเรียกผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในจีนหลายรายไปพูดคุย
เหตุการณ์เหล่านี้ กำลังทำให้หุ้นเทคโนโลยีจีนตอนนี้ถูก Discount หรือลดมูลค่าลงไปพอสมควร เพราะนักลงทุนกังวลว่า หลายบริษัทจะได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบของทางการจีน
แต่ความเข้มงวดตรงนี้ ทางกองทุนบัวหลวงมองว่าเป็นผลดีในระยะยาว เพราะแม้เรื่องนี้ อาจกระทบบางบริษัท หรือทั้งกลุ่มเทคโนโลยีในระยะสั้น แต่ในระยะยาวจะทำให้เส้นทางการเติบโตของบริษัทเหล่านี้เป็นไปอย่างถูกต้อง และมั่นคงในอนาคต
ความท้าทายที่ 6: ภาพลักษณ์ของจีน ที่ถูกมองว่าไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง
กองทุนบัวหลวงมองว่า เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะถ้าลองมาดูตัวเลขในเรื่องเหล่านี้จะเห็นว่า
- งบประมาณด้านเทคโนโลยีอยู่ในแผน 5 ปี และรัฐบาลจีนตั้งเป้า % งบวิจัยพัฒนาต่อ GDP ให้เทียบเท่ากับสัดส่วนของสหรัฐอเมริกา
- จำนวนการยื่นจดสิทธิบัตร อ้างอิงจาก World Intellectual Property จีนแซงหน้าสหรัฐอเมริกา, เยอรมนี ญี่ปุ่น ไปแล้ว
- จำนวนสตาร์ตอัป (สตาร์ตอัปมูลค่ามากกว่า 31,000 ล้านบาท) ในปักกิ่ง แซงหน้า San Francisco และ New York ไปแล้ว
ข้อมูลเหล่านี้ ทำให้เห็นว่ารัฐบาลจีนจริงจัง และให้ความสำคัญกับงบสนับสนุนด้านเทคโนโลยีมาก ๆ และจีนเองก็เป็นเจ้าของนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากมายไม่แพ้ใคร
ซึ่งจากโอกาสและความท้าทายที่ว่ามาทั้งหมดนี้ ถ้าถามว่ากองทุนรวมแบบไหน ที่พร้อมยืดหยุ่นในการลงทุน และเติบโตไปกับโอกาสเหล่านี้
“B-CHINE-EQ” หรือ “กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน” ที่บริหารจัดการโดยกองทุนบัวหลวง ก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่มองข้ามไม่ได้
เพราะ B-CHINE-EQ ลงทุนทุกตลาดของจีน มีนโยบายการลงทุนที่ยืดหยุ่น แบ่งการลงทุนเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกใช้วิธีใช้ Outsource Fund Manager มอบหมายให้ Allianz Global Investors Asia Pacific Limited (AGI) เป็นผู้รับดำเนินการลงทุนในต่างประเทศ
ซึ่ง AGI เป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่ง มีความชำนาญในการค้นหาโอกาสเชิงรุก และเก่งเรื่องการคัดเลือกหุ้นรายตัว มีความรู้ ความเข้าใจ ในตลาดหุ้นจีนเป็นอย่างดี
โดยปัจจุบัน AGI นำเงินไปลงทุนใน 2 กองทุนหลัก คือ Allianz All China Equity และ Allianz China A-Shares โดยในส่วนที่ AGI ดำเนินการ ตามนโยบายหลักกำหนดไว้ที่ 80% ของ NAV
ส่วนที่สอง อีก 20% ที่เหลือเปิดให้กองทุนบัวหลวงพิจารณาเลือกลงทุนหุ้นจีนได้ด้วยตัวเอง ทำให้กองทุนหุ้นจีนของกองทุนบัวหลวงมีสไตล์ความเป็นกองทุนบัวหลวงจริง ๆ อยู่ในนั้น
เพราะการลงทุนในจีนนั้นเต็มไปด้วยความท้าทาย
แต่ความท้าทายที่มากนั้นก็หมายความว่า มีโอกาสที่แฝงอยู่มากตามไปด้วย
และ B-CHINE-EQ ก็คือหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจที่สุด
สำหรับคนที่อยากเติบโตไปกับหุ้นจีนในตอนนี้ และอนาคต..
「gdp จีน ล่าสุด」的推薦目錄:
- 關於gdp จีน ล่าสุด 在 ลงทุนแมน Facebook
- 關於gdp จีน ล่าสุด 在 ลงทุนแมน Facebook
- 關於gdp จีน ล่าสุด 在 โกลด์แมน แซคส์ รายล่าสุดหั่น GDP จีน | ย่อโลกเศรษฐกิจ 19 มิ.ย.66 的評價
- 關於gdp จีน ล่าสุด 在 มอร์แกน สแตนเลย์ หั่น GDP จีนปี 2566 | ย่อโลกเศรษฐกิจ 17 ส.ค.66 的評價
- 關於gdp จีน ล่าสุด 在 หั่นคาดการณ์ GDP จีนเสี่ยงฮาร์ดแลนดิ้ง | เศรษฐกิจInsight 30ส.ค.66 的評價
- 關於gdp จีน ล่าสุด 在 S&P หั่นคาดการณ์ GDP จีนปี 2566 | ย่อโลกเศรษฐกิจ 26 มิ.ย.66 的評價
gdp จีน ล่าสุด 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
เอเชีย กำลังจะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก
KAsset x ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ หนึ่งเป้าหมายสำคัญของยักษ์ใหญ่เอเชีย
คือความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ที่กำลังจะเกิดขึ้นใน 2 ทศวรรษข้างหน้า
ภายในปี 2567 ไต้หวัน ตั้งเป้าขยาย GDP 2.6-3.4% ด้วยห่วงโซ่อุปทานด้านเทคโนโลยี
ภายในปี 2570 เกาหลีใต้ ตั้งเป้าผลิตยานยนต์ไร้คนขับที่มีเทคโนโลยีระดับ 4 ได้สำเร็จ
ภายในปี 2578 จีน ประกาศตัวจะขึ้นเป็น ผู้นำโลกในด้านเทคโนโลยี
“เทคโนโลยี” ไม่เพียงแต่จะเป็นเป้าหมายสร้างการเติบโตระดับประเทศ
แต่ในแง่ของบริษัทเทคโนโลยีเอเชีย ในขณะนี้
กำลังจะฉายแววเป็น “ตัวจริง” ด้านเทคโนโลยีระดับโลก เช่นกัน..
เรื่องนี้ มีความน่าสนใจ และเราจะมีส่วนร่วมกับโอกาสนี้ได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยิ่งวงการเทคโนโลยีเติบโตเท่าไร
ธุรกิจผู้ผลิตชิป หัวใจสำคัญของอุปกรณ์เทคโนโลยี ยิ่งได้รับประโยชน์มากเท่านั้น
หนึ่งธุรกิจผลิตชิปที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ก็คือ Taiwan Semiconductor หรือ TSMC ประเทศไต้หวัน
ปัจจุบัน TSMC ครองส่วนแบ่งการตลาดเซมิคอนดักเตอร์ 55.6%
หนึ่งลูกค้าคนสำคัญของ TSMC ก็คือ Apple
ที่เริ่มต้นผลิตมาตั้งแต่ชิป A8 บน iPhone 6
เรื่อยมาจนถึงชิป M1 บน MacBook รุ่นล่าสุด
ซึ่งนอกจาก Apple แล้ว ยังมีหลากหลายธุรกิจเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่เป็นลูกค้า TSMC
อาทิ Nvidia, AMD, Broadcom และ Qualcomm
ที่น่าสนใจคือ TSMC ยังเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก
สะท้อนได้จากเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ทันสมัยที่สุดในโลก
ที่เรียกว่า ชิปขนาด 5 นาโนเมตร ก็เป็นหนึ่งผลงานของ TSMC เช่นกัน
นอกจากธุรกิจเทคโนโลยีไต้หวัน จะเฉิดฉายในวงการเซมิคอนดักเตอร์โลกแล้ว
เอเชียยังมีธุรกิจเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่กำลังเติบโต รองรับวิถีชีวิตคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนไป
หนึ่งในนั้นคือ Tencent Holdings ธุรกิจเทคโนโลยีสัญชาติจีน
ซึ่งเป็น 1 ใน 10 อันดับบริษัทเทคโนโลยีที่มีมูลค่าบริษัท (Market Cap.) สูงสุดของโลก
ผลิตภัณฑ์และบริการของ Tencent Holdings
กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีตัวเลขผู้ใช้งาน WeChat สูงถึง 1,225 ล้านคน
WeChat ไม่เพียงเป็นแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์ด้านโซเชียลมีเดีย
แต่ยังเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งใน Ecosystem ที่ดีที่สุดในโลก
ที่มีบริการครอบคลุม อาทิ บริการเรียกรถ, บริการสั่งอาหาร, บริการนัดพบแพทย์, บริการจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรม
นอกจากนี้ Tencent Holdings ยังเป็นผู้ให้บริการเกมออนไลน์ยอดนิยม
อาทิ Honour of Kings, League of Legends, PUBG อีกด้วย
นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วน สะท้อนถึงความยิ่งใหญ่ของธุรกิจ Tencent Holdings
ปี 2020 สร้างรายได้ 2.3 ล้านล้านบาท โตขึ้น 28%
นอกจาก แอปพลิเคชันโซเชียลมีเดีย และเกมออนไลน์
จะกลายเป็น “ธุรกิจทองคำ” ที่กำลังเติบโต รองรับวิถีชีวิตคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนไป
อีกหนึ่งเทรนด์ร้อนแรงไม่แพ้กันก็คือ “ช็อปปิงออนไลน์”
รู้หรือไม่ว่า เจ้าของแพลตฟอร์มซื้อสินค้าออนไลน์ระดับโลกอย่าง Shopee
คือธุรกิจเทคโนโลยีสัญชาติสิงคโปร์ ที่มีชื่อว่า Sea Group
95% ของยอดการช็อปปิงออนไลน์เกิดขึ้นในสมาร์ตโฟน
Shopee วางกลยุทธ์สำคัญที่จะสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ
ไม่เพียงแต่จะพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน
แต่ยังต้องเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ในแต่ละประเทศ อีกด้วย
ตัวอย่างเช่น Shopee Barokah ในประเทศอินโดนีเซีย
ซึ่งจะขายสินค้าและบริการแก่ชาวมุสลิมโดยเฉพาะ ในช่วงเดือนถือศีลอด นั่นเอง
ปัจจุบัน Shopee กลายเป็นแอปพลิเคชันช็อปปิงออนไลน์ติดลมบน
ปี 2020 มียอดสั่งซื้อ (Gross Orders) 2.8 พันล้านคำสั่งซื้อ โตขึ้น 132.8%
และมีมูลค่าปริมาณการขายสินค้ารวม (GMV) 1.1 ล้านล้านบาท โตขึ้น 101.1%
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า ปัจจัยสำคัญที่จะสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ
นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยี ตามทันโลกอนาคตแล้ว
ยังต้องมี จำนวนผู้ใช้งาน ที่นับวันจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น อีกด้วย
ท่ามกลางพฤติกรรมผู้บริโภคที่พึ่งพิงบริการบนโลกออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ
ประกอบกับการผลักดันประเทศ สู่เป้าหมายที่จะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี
สะท้อนได้ว่า ธุรกิจเทคโนโลยีเอเชีย กำลังมาถูกทาง..
แล้วโอกาสการเติบโตเหล่านี้ เราจะมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง ?
นอกจาก การใช้สอยประโยชน์ในฐานะของผู้บริโภคแล้ว
ต้องยอมรับว่า ธุรกิจเทคโนโลยีเอเชีย คือโอกาสลงทุนที่จะสร้างการเติบโตที่น่าสนใจไม่น้อย
หนึ่งช่องทางการลงทุนที่จะสร้างการเติบโตไปกับธุรกิจเทคโนโลยีเอเชียที่ทำได้ง่าย ๆ
ก็คือการลงทุนผ่านกองทุนรวม ที่จะทำให้เราได้กลายเป็นหนึ่งในเจ้าของธุรกิจเหล่านี้
โดยกองทุนธุรกิจเทคโนโลยีเอเชียที่น่าสนใจ คือ กองทุน K-ATECH
กองทุน K-ATECH มีจุดเด่นที่น่าสนใจ
คือ กองทุนหลักจะเข้าไปลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำทั่วเอเชียแปซิฟิค
โดยเน้นลงทุนในธุรกิจที่มีการเติบโตสูงและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก
ภายใต้ 5 ธีมธุรกิจเทคโนโลยีสำคัญ ประกอบด้วย
- ธุรกิจอีคอมเมิร์ซและสื่อออนไลน์
- ธุรกิจเกมออนไลน์
- ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
- ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนสมาร์ตโฟน
- ธุรกิจหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
ตัวอย่างธุรกิจเทคโนโลยีชั้นนำ ที่ได้เข้าไปลงทุนนั้น
นอกจาก TSMC ประเทศไต้หวัน, Tencent Holdings ประเทศจีน, Sea Group ประเทศสิงคโปร์ แล้ว กองทุน K-ATECH ยังได้ลงทุนในหลากหลายธุรกิจเทคโนโลยีชั้นนำ อาทิ
- Meituan ประเทศจีน
เจ้าของแอปพลิเคชันสั่งและจัดส่งอาหารครบวงจร ครองส่วนแบ่งตลาด 60% ของประเทศจีน
และมียอดส่งอาหาร 27.7 ล้านครั้งในปี 2563
- Samsung Electronics ประเทศเกาหลีใต้
ผู้นำด้านการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศเกาหลีใต้ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง
ครองส่วนแบ่งตลาดมือถืออันดับ 1 ของโลก
- Nintendo ประเทศญี่ปุ่น
ผู้ผลิตเครื่องเล่นเกมชั้นนำของโลกมานานกว่า 132 ปี
ล่าสุด Nintendo Switch สามารถทำยอดขายทะลุ 79 ล้านเครื่องทั่วโลกในปี 2563
พูดง่าย ๆ ว่า ลงทุนในกองทุน K-ATECH เพียงกองเดียว
ก็เหมือนได้ลงทุนธุรกิจเทคโนโลยีชั้นนำ ครอบคลุมทั่วเอเชีย เลยทีเดียว
ที่น่าสนใจคือ กองทุน K-ATECH เป็นกองทุนประเภท Feeder Fund
โดยจะลงทุนผ่านกองทุนหลัก JPMorgan Pacific Technology - Class C (acc) - USD
ที่มีผลการดำเนินงานตั้งแต่จัดตั้งกองทุน (ในปี 2540) เฉลี่ย 11.77%* ต่อปี (ข้อมูล ณ 28 ก.พ. 64)
ใครที่สนใจลงทุน กองทุน K-ATECH ซื้อได้ง่าย ๆ ผ่าน K PLUS และ K-My Funds หรือที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุน ได้ที่ https://bit.ly/3odshUE
โลกของการลงทุน มักจะมองหาธุรกิจที่มีโอกาสการเติบโต
สำหรับ ธุรกิจเทคโนโลยีเอเชีย โอกาสลงทุนที่จะสร้างการเติบโตที่ว่านี้
ไม่ใช่แค่เรื่องการเติบโตของตัวเลขผู้ใช้งาน แต่ธุรกิจเหล่านี้ยังสามารถเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในระดับโลก ได้อีกด้วย..
References
-https://www.tsmc.com/english/dedicatedFoundry/technology
-https://www.tencent.com/en-us/investors.html#investors-con-1
-https://mp.weixin.qq.com/s/rxFWsdx0spfAD3c2FWEMng
-https://www.sea.com/investor/home
-https://www.businessinsider.com/shopees-digital-inclusion-strategy-e-commerce-growth-in-southeast-asia-2020-11
-https://am.jpmorgan.com/hk/en/asset-management/per/products/jpmorgan-pacific-technology-acc-usd-hk0000055761#/portfolio
หมายเหตุ:
*Share Class (acc) - USD ซึ่งเป็น Class ที่มีผลการดำเนินงานยาวที่สุด
-ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน
-ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
-กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศ มิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้นผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
gdp จีน ล่าสุด 在 มอร์แกน สแตนเลย์ หั่น GDP จีนปี 2566 | ย่อโลกเศรษฐกิจ 17 ส.ค.66 的八卦
... #ย่อโลกเศรษฐกิจ #ข่าวเศรษฐกิจ #ข่าวเศรษฐกิจ ล่าสุด #ข่าวเศรษฐกิจวันนี้ ช่องทางติดตามสถานีข่าว TNN ... มอร์แกน สแตนเลย์ หั่น GDP จีน ปี 2566 | ย่อโลกเศรษฐกิจ 17 ส. ... <看更多>
gdp จีน ล่าสุด 在 หั่นคาดการณ์ GDP จีนเสี่ยงฮาร์ดแลนดิ้ง | เศรษฐกิจInsight 30ส.ค.66 的八卦
... # China #เศรษฐกิจ จีน # GDPจีน #GDPchina #เงินหยวน #เศรษฐกิจInsight #TNN16 #ข่าวเศรษฐกิจ #ข่าวเศรษฐกิจ #เศรษฐกิจ #ข่าวเศรษฐกิจ ล่าสุด #เศรษฐกิจInsightTNN16 ... ... <看更多>
gdp จีน ล่าสุด 在 โกลด์แมน แซคส์ รายล่าสุดหั่น GDP จีน | ย่อโลกเศรษฐกิจ 19 มิ.ย.66 的八卦
โกลด์แมน แซคส์” เป็นสถาบันการเงินราย ล่าสุด ที่ปรับลดคาดการณ์ GDP จีน เหตุมีทางเลือกกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจำกัด #โกลด์แมนแซคส์ # GDPจีน 2566 #เศรษฐกิจ จีน # China ... ... <看更多>