เหตุผลที่ เศรษฐกิจไทย กำลังหดตัวอย่างรุนแรง /โดย ลงทุนแมน
ถ้าให้มองย้อนกลับไปเป็นสิบปี ตั้งแต่ วิกฤตซับไพรม์ ปิดสนามบิน น้ำท่วมใหญ่ ชุมนุมทางการเมือง ระเบิดราชประสงค์
ไม่มีครั้งไหนที่น่าจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อผู้ประกอบการไทยเท่าครั้งนี้
เพราะเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นส่วนใหญ่ จะกระทบเพียงกับบริษัทใหญ่ หรือ สถาบันการเงิน
พ่อค้าแม่ค้า คนทั่วไป คงไม่ได้เดือดร้อนอะไร บางเรื่องอยู่นอกประเทศที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรา
ถ้าจะกระทบผู้ประกอบการรายเล็ก ก็จะกระทบเฉพาะในเขตพื้นที่นั้น เช่น ผู้ประกอบการในพื้นที่ใกล้การชุมนุม
และหลายเหตุการณ์ ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ที่เป็นผลกระทบแบบชั่วคราว
แต่กับเหตุการณ์ในครั้งนี้ ที่ตอนแรกคาดว่าจะชั่วคราว แต่เมื่อเวลาผ่านไป ดูเหมือนว่ามันจะลากยาวกว่าที่เราคิด
และการลากยาวนี้คือประเด็น..
เพราะคนที่ทนการลากยาวไม่ไหว จะเริ่มหายไป
ลองจินตนาการว่า ตอนนี้นักท่องเที่ยวจีนที่มาเมืองไทยหายไปกี่ % คำตอบคือ จะหายไปอย่างน้อย 80% ใน 2 เดือนนี้
ถ้าไปถามพ่อค้าแม่ค้าที่ขายตามแหล่งท่องเที่ยว ตอนนี้เขาจะบอกว่ายอดหายไป 80%
จากเดิมที่ขายได้วัน 10,000 บาท ตอนนี้จะเหลือ 2,000 บาท
คำถามคือ ถ้าเขายังมีภาระค่าใช้จ่ายเท่าเดิม เขาจะอยู่ได้อย่างไร?
สเกลใหญ่ขึ้นมา เมื่อไปดูห้างสรรพสินค้า หรือ โรงแรม
รู้ไหมว่าตอนนี้ Occupancy Rate ของโรงแรมทั่วไป ลดลงต่ำกว่า 40% เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นอกจากนักท่องเที่ยวจีนจะยกเลิกการมาเกือบทั้งหมด นักท่องเที่ยวต่างชาติก็เลื่อนการเดินทางออกไปด้วย
เรื่องทำนองเดียวกันกับ สายการบินต่างๆ ถ้าหลีกเลี่ยงได้ ก็ไม่มีใครอยากนั่งเครื่องบินไปเที่ยวในตอนนี้
โดยเฉพาะในแถบเอเชียที่มีการระบาดของไวรัสโคโรนา
โดยปกติแล้วโมเดลธุรกิจของ โรงแรม สายการบินจะไม่ค่อยทำกำไรในช่วง Low Season และมาได้กำไรหนักๆในช่วง High Season เพื่อทำให้ยอดกำไรทั้งปีเป็นบวก
แต่เรื่องมาแจ็กพอตตรงที่ ตอนนี้กำลังเป็น High Season พอดี นั่นก็เตรียมตัวไว้เลยว่า โรงแรม และสายการบินส่วนใหญ่ในปีนี้จะขาดทุน
เมื่อผู้ประกอบการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวขาดทุนจะเกิดอะไรขึ้น?
อย่างแรกคือการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ในเมื่อรายได้น้อยลง รายจ่ายเท่าเดิม เงินสดก็มีไม่พอรายจ่าย
ถ้าบริษัทนั้นไม่ได้เก็บสำรองเงินสดไว้มากพอ ก็จะเกิดเหตุการณ์ เชิญพนักงานออก หรือมีโปรแกรมพิเศษเหมือนที่เกิดขึ้นแล้วกับสายการบิน Cathay Pacific ที่เชิญให้พนักงาน 27,000 คนลาหยุดโดยไม่รับเงินเดือน 3 สัปดาห์
และบอกได้เลยว่านี่จะไม่ใช่สายการบินแรกที่มีปัญหา
สายการบิน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ในแถบนี้ จะเริ่มทยอยมีปัญหาตามมาทั้งหมด
คนที่ทำงานในสายการบินเตรียมพร้อมรับมือให้ดี
และเมื่อผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้ ก็จะเริ่มกู้เงิน สำหรับผู้ที่มีเครดิตดีก็สามารถกู้ธนาคารได้
แต่ถ้ารายไหนใช้วงเงินเต็มแล้ว สิ่งที่จะได้รับผลกระทบตามมา ก็คือตัวสถาบันการเงินเองที่จะเกิด หนี้เสีย
ส่วนผู้ประกอบการรายย่อย ที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อของธนาคาร ก็จะเริ่มเข้าสู่วงจรอุบาทว์ทางธุรกิจ ก็คือ การกู้นอกระบบ
เราจะได้เห็นคนหลายพัน หลายหมื่นคน ที่เกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว มีชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเหตุการณ์ในครั้งนี้
เรื่องต่อมาก็คือภาคการส่งออก..
ในเมื่อจีนปิดทุกอย่าง ก็ต้องชะลอการนำเข้าด้วยเช่นกัน สิ่งที่ได้รับผลกระทบเร็วที่สุดทันที ก็คือการส่งออกผลไม้ไทยไปประเทศจีน
ทุเรียนที่ครองส่วนแบ่งตลาดผลไม้ไทยที่ส่งออกไปจีนมากที่สุด จะได้รับผลกระทบ และช่างบังเอิญว่าเรากำลังเข้าสู่หน้าทุเรียนพอดี..
ชาวสวนปลูกทุเรียนมา ขายไม่ได้ ทำอย่างไร?
เงินลงทุนที่จ่ายไปแล้ว จะทำอย่างไร?
แล้วนอกจากทุเรียน มีผลไม้ หรือสินค้าการเกษตรอะไรอีกบ้างที่ส่งไปจีน?
ก็คงต้องบอกว่าเรื่องนี้จะกระทบกับคนเป็นวงกว้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ใช่แค่ภาคการท่องเที่ยว แต่รวมถึงเกษตรกร หรือผู้ส่งออกสินค้าไปจีน
นอกจากนั้นก็ยังมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก เช่น โรงภาพยนตร์ คอนเสิร์ต ก็อาจได้รับผลกระทบ เพราะหลายคนจะหลีกเลี่ยงไปสถานที่เหล่านี้โดยไม่จำเป็น เช่น จองตั๋วไปแล้ว
และมหกรรมรวมคนจากนานาประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ "โอลิมปิก" ที่ประเทศญี่ปุ่น
ถามคำถามเดียวคือ ถ้าเราเป็นนักกีฬายูโด ถ้าให้เราแข่งกับนักกีฬา จีน ตอนนี้ เราจะรู้สึกอย่างไร..
และนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ โอลิมปิก อาจต้องถูกเลื่อน ถ้าเหตุการณ์แบบนี้ลากยาวไปอีก 2-3 เดือน
ตอนนี้ไม่ใช่แค่ประเทศจีนได้รับผลกระทบ
แต่ทุกประเทศในเอเชียที่มีเศรษฐกิจเชื่อมต่อกับจีนกำลังได้ผลกระทบ
และผลกระทบนี้จะส่งผลเป็นวงกว้างต่อเอเชียแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในรอบหลายสิบปี
หนึ่งในเหตุผลก็คือ ตอนนี้จีนก้าวมาเป็นประเทศที่ใหญ่มาก
ใหญ่พอที่จะลากคนอื่นมีปัญหาไปด้วย ถ้าตัวเขาเองมีปัญหา
ตอนนี้เราคนไทยกำลังประเมินความเสียหายกันน้อยกว่าที่คิดหรือไม่
แล้วเราจะทำอย่างไร?
สิ่งที่พอจะทำได้ก็คือ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นแบบล่วงหน้า
โดยไม่ต้องรอ ให้ผลเสียหายมันเกิดขึ้นก่อน
(คล้ายกับที่แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย 0.25% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา)

ภาพที่ลงทุนแมนเห็นตอนนี้ก็คือ
เรากำลังเหยียบคันเร่ง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่ระยะทางอีก 10 กิโลเมตร กำลังเจอเหว
เรากำลังมึนๆ และเหมือนจะรอให้ตกเหวก่อน แล้วค่อยคิดว่าจะทำอย่างไร
10 กิโลเมตรที่ดูเหมือนไกล
แต่รู้หรือไม่ว่า
ด้วยความเร็วแบบนี้ อีก 3 นาที ก็จะถึงปากเหวแล้ว..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
นักท่องเที่ยวจีนมี 11 ล้านคน ถ้าให้หายไปทั้งปี มูลค่าความเสียหายโดยตรงคือ 520,000 ล้านบาท หรือ 3.5% ของ GDP ไทย มันอาจไม่หายไปทั้งปี แต่มันยังมีความเสียหายทางอ้อมที่ไม่ได้เกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว เช่น ภาคเกษตรกรรม ภาคส่งออก ที่กล่าวถึงในบทความด้านบน
อัตราการเติบโตของ GDP ไทย ล่าสุดอยู่ที่ 2.4%
ในกรณีเลวร้ายสุด
หลายคนยังพูดถึงว่า GDP จะโตช้าลง
แต่ลงทุนแมนกำลังพูดถึงว่า GDP ไทยปีนี้จะติดลบ..
╔═══════════╗
Blockdit ที่สุดของแอปมีสาระ
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過87萬的網紅Paul Pattarapon พอล ภัทรพล,也在其Youtube影片中提到,อีกหนึ่งตัวกำหนดการเติบโตเศรษฐกิจของไทยนั่นก็คือ GDP ที่จะบ่งบอกชี้วัด โดยปี พ.ศ. 2563 ต้องบอกเลยครับว่า เราอยู่ในช่วงที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะอะไ...
gdp ไทย 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
เหตุผลที่ เศรษฐกิจไทย กำลังหดตัวอย่างรุนแรง /โดย ลงทุนแมน
ถ้าให้มองย้อนกลับไปเป็นสิบปี ตั้งแต่ วิกฤตซับไพรม์ ปิดสนามบิน น้ำท่วมใหญ่ ชุมนุมทางการเมือง ระเบิดราชประสงค์
ไม่มีครั้งไหนที่น่าจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อผู้ประกอบการไทยเท่าครั้งนี้
เพราะเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นส่วนใหญ่ จะกระทบเพียงกับบริษัทใหญ่ หรือ สถาบันการเงิน
พ่อค้าแม่ค้า คนทั่วไป คงไม่ได้เดือดร้อนอะไร บางเรื่องอยู่นอกประเทศที่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรา
ถ้าจะกระทบผู้ประกอบการรายเล็ก ก็จะกระทบเฉพาะในเขตพื้นที่นั้น เช่น ผู้ประกอบการในพื้นที่ใกล้การชุมนุม
และหลายเหตุการณ์ ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ที่เป็นผลกระทบแบบชั่วคราว
แต่กับเหตุการณ์ในครั้งนี้ ที่ตอนแรกคาดว่าจะชั่วคราว แต่เมื่อเวลาผ่านไป ดูเหมือนว่ามันจะลากยาวกว่าที่เราคิด
และการลากยาวนี้คือประเด็น..
เพราะคนที่ทนการลากยาวไม่ไหว จะเริ่มหายไป
ลองจินตนาการว่า ตอนนี้นักท่องเที่ยวจีนที่มาเมืองไทยหายไปกี่ % คำตอบคือ จะหายไปอย่างน้อย 80% ใน 2 เดือนนี้
ถ้าไปถามพ่อค้าแม่ค้าที่ขายตามแหล่งท่องเที่ยว ตอนนี้เขาจะบอกว่ายอดหายไป 80%
จากเดิมที่ขายได้วัน 10,000 บาท ตอนนี้จะเหลือ 2,000 บาท
คำถามคือ ถ้าเขายังมีภาระค่าใช้จ่ายเท่าเดิม เขาจะอยู่ได้อย่างไร?
สเกลใหญ่ขึ้นมา เมื่อไปดูห้างสรรพสินค้า หรือ โรงแรม
รู้ไหมว่าตอนนี้ Occupancy Rate ของโรงแรมทั่วไป ลดลงต่ำกว่า 40% เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นอกจากนักท่องเที่ยวจีนจะยกเลิกการมาเกือบทั้งหมด นักท่องเที่ยวต่างชาติก็เลื่อนการเดินทางออกไปด้วย
เรื่องทำนองเดียวกันกับ สายการบินต่างๆ ถ้าหลีกเลี่ยงได้ ก็ไม่มีใครอยากนั่งเครื่องบินไปเที่ยวในตอนนี้
โดยเฉพาะในแถบเอเชียที่มีการระบาดของไวรัสโคโรนา
โดยปกติแล้วโมเดลธุรกิจของ โรงแรม สายการบินจะไม่ค่อยทำกำไรในช่วง Low Season และมาได้กำไรหนักๆในช่วง High Season เพื่อทำให้ยอดกำไรทั้งปีเป็นบวก
แต่เรื่องมาแจ็กพอตตรงที่ ตอนนี้กำลังเป็น High Season พอดี นั่นก็เตรียมตัวไว้เลยว่า โรงแรม และสายการบินส่วนใหญ่ในปีนี้จะขาดทุน
เมื่อผู้ประกอบการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวขาดทุนจะเกิดอะไรขึ้น?
อย่างแรกคือการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ในเมื่อรายได้น้อยลง รายจ่ายเท่าเดิม เงินสดก็มีไม่พอรายจ่าย
ถ้าบริษัทนั้นไม่ได้เก็บสำรองเงินสดไว้มากพอ ก็จะเกิดเหตุการณ์ เชิญพนักงานออก หรือมีโปรแกรมพิเศษเหมือนที่เกิดขึ้นแล้วกับสายการบิน Cathay Pacific ที่เชิญให้พนักงาน 27,000 คนลาหยุดโดยไม่รับเงินเดือน 3 สัปดาห์
และบอกได้เลยว่านี่จะไม่ใช่สายการบินแรกที่มีปัญหา
สายการบิน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ในแถบนี้ จะเริ่มทยอยมีปัญหาตามมาทั้งหมด
คนที่ทำงานในสายการบินเตรียมพร้อมรับมือให้ดี
และเมื่อผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้ ก็จะเริ่มกู้เงิน สำหรับผู้ที่มีเครดิตดีก็สามารถกู้ธนาคารได้
แต่ถ้ารายไหนใช้วงเงินเต็มแล้ว สิ่งที่จะได้รับผลกระทบตามมา ก็คือตัวสถาบันการเงินเองที่จะเกิด หนี้เสีย
ส่วนผู้ประกอบการรายย่อย ที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อของธนาคาร ก็จะเริ่มเข้าสู่วงจรอุบาทว์ทางธุรกิจ ก็คือ การกู้นอกระบบ
เราจะได้เห็นคนหลายพัน หลายหมื่นคน ที่เกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว มีชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเหตุการณ์ในครั้งนี้
เรื่องต่อมาก็คือภาคการส่งออก..
ในเมื่อจีนปิดทุกอย่าง ก็ต้องชะลอการนำเข้าด้วยเช่นกัน สิ่งที่ได้รับผลกระทบเร็วที่สุดทันที ก็คือการส่งออกผลไม้ไทยไปประเทศจีน
ทุเรียนที่ครองส่วนแบ่งตลาดผลไม้ไทยที่ส่งออกไปจีนมากที่สุด จะได้รับผลกระทบ และช่างบังเอิญว่าเรากำลังเข้าสู่หน้าทุเรียนพอดี..
ชาวสวนปลูกทุเรียนมา ขายไม่ได้ ทำอย่างไร?
เงินลงทุนที่จ่ายไปแล้ว จะทำอย่างไร?
แล้วนอกจากทุเรียน มีผลไม้ หรือสินค้าการเกษตรอะไรอีกบ้างที่ส่งไปจีน?
ก็คงต้องบอกว่าเรื่องนี้จะกระทบกับคนเป็นวงกว้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ใช่แค่ภาคการท่องเที่ยว แต่รวมถึงเกษตรกร หรือผู้ส่งออกสินค้าไปจีน
นอกจากนั้นก็ยังมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก เช่น โรงภาพยนตร์ คอนเสิร์ต ก็อาจได้รับผลกระทบ เพราะหลายคนจะหลีกเลี่ยงไปสถานที่เหล่านี้โดยไม่จำเป็น เช่น จองตั๋วไปแล้ว
และมหกรรมรวมคนจากนานาประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ "โอลิมปิก" ที่ประเทศญี่ปุ่น
ถามคำถามเดียวคือ ถ้าเราเป็นนักกีฬายูโด ถ้าให้เราแข่งกับนักกีฬา จีน ตอนนี้ เราจะรู้สึกอย่างไร..
และนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ โอลิมปิก อาจต้องถูกเลื่อน ถ้าเหตุการณ์แบบนี้ลากยาวไปอีก 2-3 เดือน
ตอนนี้ไม่ใช่แค่ประเทศจีนได้รับผลกระทบ
แต่ทุกประเทศในเอเชียที่มีเศรษฐกิจเชื่อมต่อกับจีนกำลังได้ผลกระทบ
และผลกระทบนี้จะส่งผลเป็นวงกว้างต่อเอเชียแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในรอบหลายสิบปี
หนึ่งในเหตุผลก็คือ ตอนนี้จีนก้าวมาเป็นประเทศที่ใหญ่มาก
ใหญ่พอที่จะลากคนอื่นมีปัญหาไปด้วย ถ้าตัวเขาเองมีปัญหา
ตอนนี้เราคนไทยกำลังประเมินความเสียหายกันน้อยกว่าที่คิดหรือไม่
แล้วเราจะทำอย่างไร?
สิ่งที่พอจะทำได้ก็คือ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นแบบล่วงหน้า
โดยไม่ต้องรอ ให้ผลเสียหายมันเกิดขึ้นก่อน
(คล้ายกับที่แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย 0.25% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา)

ภาพที่ลงทุนแมนเห็นตอนนี้ก็คือ
เรากำลังเหยียบคันเร่ง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่ระยะทางอีก 10 กิโลเมตร กำลังเจอเหว
เรากำลังมึนๆ และเหมือนจะรอให้ตกเหวก่อน แล้วค่อยคิดว่าจะทำอย่างไร
10 กิโลเมตรที่ดูเหมือนไกล
แต่รู้หรือไม่ว่า
ด้วยความเร็วแบบนี้ อีก 3 นาที ก็จะถึงปากเหวแล้ว..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
นักท่องเที่ยวจีนมี 11 ล้านคน ถ้าให้หายไปทั้งปี มูลค่าความเสียหายโดยตรงคือ 520,000 ล้านบาท หรือ 3.5% ของ GDP ไทย มันอาจไม่หายไปทั้งปี แต่มันยังมีความเสียหายทางอ้อมที่ไม่ได้เกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว เช่น ภาคเกษตรกรรม ภาคส่งออก ที่กล่าวถึงในบทความด้านบน
อัตราการเติบโตของ GDP ไทย ล่าสุดอยู่ที่ 2.4%
ในกรณีเลวร้ายสุด
หลายคนยังพูดถึงว่า GDP จะโตช้าลง
แต่ลงทุนแมนกำลังพูดถึงว่า GDP ไทยปีนี้จะติดลบ..
╔═══════════╗
Blockdit ที่สุดของแอปมีสาระ
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
gdp ไทย 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 八卦
เวียดนาม “รายได้ต่อหัวประชากร” รวยแซงหน้า ฟิลิปปินส์ ผลจากการส่งออกโตต่อเนื่องท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ขึ้นแท่นอันดับ 6 ของอาเซียน
.
เวียดนาม จากประเทศรั้งท้ายสู่การเป็นดาวรุ่งดวงใหม่ทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่น่าจับตามองในตอนนี้ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ที่หลายประเทศได้รับผลกระทบ GDP ติดลบอย่างหนัก แต่กลับกัน เวียดนาม สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดี และเป็นประเทศเดียวที่มี GDP เป็นบวก เติบโตขึ้น 1.6% ต่อปี ซึ่งส่งผลให้ GDP per capita หรือรายได้ต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 3,498 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 109,813 บาทต่อปี
.
ซึ่งตัวเลขรายได้ของเวียดนาม ได้เติบโตแซงหน้าเพื่อนบ้านผู้เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่รุ่งเรืองที่สุดในเอเชีย อย่าง ฟิลิปปินส์ ที่ตอนนี้มี GDP หดตัวถึง -8.3% ต่อปี และมีรายได้ต่อหัวประชากรอยู่ที่ 3,373 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 105,889 บาทต่อปี โดยล่าสุด เวียดนามขึ้นแท่นอันดับ 6 ของอาเซียนไปเป็นที่เรียบร้อย
.
อีกทั้งตัวเลขข้างต้นนั้น เป็นการรายงานแก้ไขเพิ่มเติมจากที่เคยรายงานไปก่อนหน้า โดยขอปรับฐาน GDP เมื่อปี 2018 อ้างว่าคำนวณตัวเลขตกหล่น และต่ำกว่าความเป็นจริง โดย IMF ก็ได้รับเรื่องและประเมินไปแล้ว ซึ่งการปรับฐานรายได้ อาจส่งผลกระทบต่อเวียดนาม ในการถูกตัดสิทธิพิเศษทางการค้าต่าง ๆ แต่เวียดนามก็ได้แก้ปัญหาตรงนี้แล้ว นั่นคือการทำ FTA หรือการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป และประเทศคู่ค้าต่างๆ ขณะเดียวกัน ฟิลิปปินส์เองก็ทำเรื่องขอปรับฐานตัวเลข GDP ใหม่เมื่อปลายปี 2019 เช่นเดียวกัน
.
จากประมาณการของ IMF พบว่า ในอีกไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2568 รายได้ต่อหัวประชากรของเวียดนาม จะเพิ่มสูงขึ้นและทิ้งห่างจากฟิลิปปินส์ออกไปอย่างถาวร โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของผู้คนในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนามจะอยู่ที่ 5,211.90 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 163,682.84 บาท แต่สำหรับผู้คนในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ จะอยู่เพียง 4,805.84 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 150,930.28 บาท ซึ่งนี่อาจเป็นการตอกย้ำถึงผลกระทบที่ร้ายแรงต่อระดับความยากจนที่มีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
.
การแซงหน้าของเวียดนามในครั้งนี้ ได้สร้างความสั่นสะเทือนต่อทีมบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลฟิลิปปินส์ ที่เคยมีการตั้งเป้ายกระดับเศรษฐกิจของประเทศ แต่หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ฟิลิปปินส์กลายเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตสูงที่สุดของอาเซียน
.
โควิด-19 จึงถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เวียดนามกลายเป็นประเทศที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนจากต่างประเทศ ในการเข้าไปลงทุน หรือแม้กระทั่งย้ายฐานการผลิตจากประเทศต่าง ๆ เช่น จีน ไทย ไปที่เวียดนามแทน เนื่องจากเวียดนาม มีทีมบริหารเศรษฐกิจที่มีความสามารถ มีความก้าวหน้าในหลายด้าน โดยเฉพาะการเปิดเสรีด้านการค้า ซึ่งมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสำหรับการลงทุน ที่มุ่งเน้นปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตร การเติบโตของการผลิต และการส่งออก
.
โดยเฉพาะในด้านของการส่งออก เนื่องจาก เวียดนาม มีการพึ่งพาการส่งออกคิดเป็น 100% ของ GDP ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ GDP เวียดนามมีอัตราการเติบโตได้ในยุควิกฤตแบบนี้ เพราะถึงแม้ธุรกิจอื่น ๆ จะได้รับผลกระทบไม่สามารถดำเนินการได้ แต่ธุรกิจการส่งออกยังสามารถดำเนินต่อไปได้ ที่สำคัญมีการเติบโตต่อเนื่องอีกด้วย
.
นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายด้านอุปโภคบริโภคของเวียดนาม มีราคาถูก ทำให้นายจ้างสามารถให้ค่าจ้างได้อย่างเหมาะสม รวมถึงประชากรมีกำลังซื้อที่สูง ก็ยิ่งเป็นการช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนสนใจเข้ามาลงทุนในเวียดนาม ส่งผลให้การเติบโตของภาคการผลิตในประเทศมีเกณฑ์เพิ่มสูงขึ้น ต่างจากฟิลิปปินส์ ที่ประสบปัญหาขาดแคลนอาหารอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรที่มีมากถึง 113 ล้านคน ทำให้ต้องนำเข้าอาหารหรือของใช้ต่าง ๆ ที่ขาดแคลนมาจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก แล้วยิ่งต้องเผชิญกับวิกฤต จึงยิ่งทำให้ประเทศต้องพึ่งการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อ GDP ที่ติดลบมากถึง -8.3%
.
อย่างไรก็ตาม นับเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของเวียดนาม ที่สามารถแซงหน้าฟิลิปปินส์ขึ้นมาอยู่อันดับ 6 ของอาเซียนได้ แล้วยังเป็นประเทศเดียวที่มีเศรษฐกิจเติบโตท่ามกลางวิกฤต ซึ่งความสำเร็จของเวียดนาม คงไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านี้แน่นอน เพราะเวียดนามยังคงมุ่งพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ของประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราต้องคอยจับตาดูกันว่า สุดท้ายแล้ว เวียดนามจะสามารถรักษาตำแหน่งนี้ไว้ได้นานหรือไม่ รวมถึงจะสามารถแซงหน้าประเทศอื่น ๆ ขึ้นมาได้อีกหรือเปล่า โดยเฉพาะประเทศไทย ที่ในตอนนี้อยู่อันดับที่ 4 ของอาเซียน
.
ที่มา : https://www.philstar.com/business/2020/10/14/2049564/vietnamese-set-get-richer-filipinos-year-imf?fbclid=IwAR31fhxb8kuBvC5KZdr6JwXEvObt7jFOISRePZvgY0CEKoc5TBeYlRbxqk8
https://www.imf.org/external/datamapper/profile/PHL
https://www.imf.org/external/datamapper/profile/VNM
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#Vietnam #Philippines #GDP #economy
gdp ไทย 在 Paul Pattarapon พอล ภัทรพล Youtube 的評價
อีกหนึ่งตัวกำหนดการเติบโตเศรษฐกิจของไทยนั่นก็คือ GDP ที่จะบ่งบอกชี้วัด โดยปี พ.ศ. 2563
ต้องบอกเลยครับว่า เราอยู่ในช่วงที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะอะไรนั้น ไปติดตามรับชมกันครับ
ขอบคุณทุกคนที่ติดตามกันมาตลอดครับ สำหรับใครที่ยังไม่ได้กดติดตาม สามารถเข้าไป
กดติดตามได้ที่ YouTube : https://www.youtube.com/paulpattarapon
ช่องทางการติดตาม
Facebook : https://www.facebook.com/paulpattaraponofficial
Instagram : https://www.instagram.com/paulpattarapon
Website : https://www.paulpattarapon.com
สนใจติดต่อโฆษณา และทำวิดีโอ YouTube
โทร : 092-664-8245
Email : paulpattarapon@anymindgroup.com
Powered by AnyMind Group
#MoneyMatters #PaulPattarapon #พอลภัทรพล