เมื่อญี่ปุ่น กำลังเต็มไปด้วย คนไม่ทำงาน /โดย ลงทุนแมน
คนที่ไม่ทำงานทำการอะไรเลย จะถูกเรียกว่า “ชาวนีต” หรือ NEET หรือที่คนญี่ปุ่นจะนิยมเรียกว่า “นีตโตะ”
NEET มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Not in Education, Employment or Training ซึ่งก็คือ บุคคลที่ไม่ได้อยู่ในสถานะเรียน ทำงาน หรือฝึกงานใด ๆ
แล้วญี่ปุ่น กำลังมี ชาวนีต มากขนาดไหน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ชาวนีตส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นจะมีอายุอยู่ที่ราว 18-34 ปี ซึ่งจัดอยู่ในวัยนักศึกษา และวัยเริ่มทำงาน แต่คนเหล่านี้กลับเลือกที่จะเก็บตัวอยู่แต่บ้าน เล่นเกม หรือไม่ก็นั่ง ๆ นอน ๆ ไปวัน ๆ
บางคนก็ถึงขนาดหลอกลวงคนที่บ้าน หรือหลอกเพื่อนฝูงว่ามีหน้าที่การงานที่ดี ออกจากบ้านแต่เช้าแล้วกลับค่ำ ๆ ทุกวัน
แต่ความจริงไม่ได้ไปทำงาน กลับไปนั่งอยู่ร้านเกม หรือร้านปาจิงโกะ ใช้ชีวิตให้หมดไปหนึ่งวัน
ชาวนีตเหล่านี้อาศัยอยู่บ้านกับพ่อแม่ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดก็มาจากเงินจากพ่อแม่ ครอบครัวไหนที่มีฐานะดี ลูกที่เป็นนีตก็มีเงินพอจะออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน
แต่บางครอบครัวพ่อแม่เกษียณแล้วได้รับบำนาญไม่มาก หรือพ่อแม่ทำงานแต่มีเงินใช้ไม่พอ พ่อแม่ก็อาจจะต้องหางานเพิ่มเพื่อเลี้ยงดูลูกนีต
สาเหตุของการเป็นชาวนีตมีได้หลากหลาย
ทั้งจาก การเบื่อชีวิตการทำงานที่หนักหนาและเคร่งเครียดของสังคมญี่ปุ่น, ความรู้สึกสิ้นหวังในชีวิตวัยเรียน จากการถูกบุลลีในชั้นเรียน
ทำให้หลายคนเลือกที่จะปลีกตัวออกจากสังคมมาตั้งแต่นั้น
รวมถึงการเลี้ยงดูของบางครอบครัวที่ตามใจลูกมากจนเกินไป จนทำให้ลูกไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพชีวิตในสังคมได้
ชาวนีตที่เก็บตัวอยู่ที่บ้านและไม่ออกไปไหนนาน ๆ เข้า มีแนวโน้มสูงที่จะกลายเป็น “ฮิคิโคโมริ” หรือบุคคลที่ไม่ออกจากบ้าน ไม่ออกไปพบปะกับใครเลยนอกจากคนในครอบครัว เป็นเวลานานกว่า 6 เดือน
จำนวนชาวนีตในญี่ปุ่นไม่สามารถระบุได้แน่ชัด เพราะส่วนใหญ่มักไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นนีต
แต่ก็ถูกคาดการณ์ว่าอาจมีไม่ต่ำกว่า 650,000 คน
ส่วนองค์กร OECD มีการคาดการณ์ว่า อาจมีชาวนีตอยู่มากกว่า 1,000,000 คนทั่วประเทศญี่ปุ่น
นอกจากชาวนีตแล้ว ในสังคมญี่ปุ่นยังมีคนอยู่อีกกลุ่มหนึ่ง ที่ถูกเรียกว่า “ฟรีเตอร์ (Freeter)” หรือที่คนญี่ปุ่นนิยมเรียกว่า ฟรีตะ..
Freeter มาจากภาษาอังกฤษว่า Free รวมกับภาษาเยอรมัน Arbeiter ซึ่งแปลว่า คนทำงาน
เมื่อรวมกันจึงแปลว่า คนที่รับงานเป็นจ๊อบ ๆ
แต่งานสำหรับชาวฟรีเตอร์ ส่วนมากมักเป็นงานที่ต่ำกว่าวุฒิ และได้รับค่าแรงต่ำ เช่น งานในร้านสะดวกซื้อ งานแจกสินค้าทดลอง หรืองานในร้านอาหาร
สาเหตุที่ทำให้ต้องมาเป็นชาวฟรีเตอร์ ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากการหลีกหนีชีวิตการทำงานประจำที่เคร่งเครียดและทำงานหนัก จึงลาออกมาทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ แทน และมักเปลี่ยนงานไปเรื่อย ๆ บางคนก็เฝ้ารองานในฝันที่ตัวเองอยากทำ จนไม่ยอมทำงานประจำอื่น ๆ เลย
ชาวฟรีเตอร์บางส่วนก็ยังคงอาศัยอยู่บ้านกับพ่อแม่ แต่ก็มีไม่น้อยที่แยกไปหาห้องเช่าถูก ๆ เพราะยังพอมีรายได้อยู่บ้าง บางคนก็นิยมการย้ายที่พักไปเรื่อย ๆ ตามงานที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
จำนวนของชาวฟรีเตอร์ในญี่ปุ่นก็ประมาณได้ยากเช่นกัน เพราะไม่ค่อยมีใครยอมรับว่าเป็นฟรีเตอร์ แต่ประมาณกันว่าในญี่ปุ่นปัจจุบันมีฟรีเตอร์อยู่ราว 10 ล้านคน
หากลองรวมจำนวนของทั้งชาวนีตและชาวฟรีเตอร์ก็จะพบว่า
จำนวนนี้มีอยู่สูงถึงเกือบ 11 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 8% ของประชากรญี่ปุ่น
และคิดเป็นสัดส่วนถึง 15% ของวัยแรงงานในประเทศญี่ปุ่น
สภาพสังคมที่เต็มไปด้วยชาวนีตและฟรีเตอร์ ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจหลายอย่าง
ทั้งการทำให้ผู้ประกอบการหาแรงงานได้ยากยิ่งขึ้น ในภาวะขาดแคลนแรงงานที่รุนแรงขึ้น
กิจการหลายแห่งก็อาจต้องปิดตัวลง หรือย้ายไปลงทุนยังต่างประเทศ
มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางเศรษฐกิจของประเทศก็ลดต่ำลงเรื่อย ๆ
ในปี 1995 GDP ของประเทศญี่ปุ่น อยู่ที่ 5.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 178 ล้านล้านบาท
ซึ่งเคยมากกว่า GDP ของทุกประเทศในทวีปเอเชียที่เหลือรวมกัน
เวลาผ่านไปเกือบ 30 ปี GDP ของญี่ปุ่นในปี 2020 อยู่ที่ 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
แทบไม่แตกต่างจาก GDP ปี 1995
เรียกได้ว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลยตลอดเวลาเกือบ 30 ปี จนคนทั้งโลกรู้จักกันในชื่อ “3 ทศวรรษที่หายไป” ของญี่ปุ่น
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดทศวรรษที่หายไป มาจากจำนวนประชากรที่ลดลง และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ญี่ปุ่นมีคนสูงอายุมากกว่า 65 ปี คิดเป็นสัดส่วนถึง 28.4% ของประชากรทั้งหมด ในปี 2020
แต่สังคมญี่ปุ่นยังมีปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่มากกว่านั้น ก็เพราะมีคนในวัยทำงานจำนวนไม่น้อย ที่เป็นชาวนีต
เมื่อไม่มีแรงงานประจำ รัฐบาลก็มีแนวโน้มเก็บภาษีมาใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ ได้ลดลง โดยเฉพาะการเลี้ยงดูผู้สูงอายุของญี่ปุ่นที่นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
การเป็นภาระของครอบครัวในการเลี้ยงดู ชาวนีตหลายคนมีอายุถึงวัยเลข 4 แล้ว แต่ยังคงพึ่งพาเงินจากพ่อแม่ บางคนพ่อแม่ก็เข้าสู่วัยเกษียณแล้ว เมื่อรายได้ไม่พอก็อาจเลือกก่อปัญหาอาชญากรรม จนกลายเป็นภาระให้สังคมต่อ
ชาวนีตและฟรีเตอร์ส่วนมากมักอยู่ตัวคนเดียว ไม่มีครอบครัว และไม่คิดที่จะมีด้วย อัตราเกิดของญี่ปุ่นที่ตกต่ำอยู่แล้ว ก็ยิ่งมีแนวโน้มจะลดต่ำลงไปอีก
รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้คนรุ่นใหม่กลายเป็นชาวนีตและฟรีเตอร์ มาตั้งแต่ปี 2004
ทั้งการจัดโปรแกรม “Job Education” ลงไปในหลักสูตรของโรงเรียน เพื่อให้เด็ก ๆ เข้าใจโลกของการทำงานหลังเรียนจบ และมีความคิดที่ดีต่อการทำงานในอนาคต
การเพิ่มความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคธุรกิจให้มากขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสฝึกงาน และเรียนรู้ชีวิตการทำงานให้มากที่สุด รวมถึงการจัดค่ายเยาวชน ให้เยาวชนได้พบปะกับบุคคลอื่น เพื่อสร้างทักษะทางสังคมที่ดี
แต่อย่างไรก็ตาม แนวโน้มปัญหานี้ก็ยังคงไม่คลี่คลายมากนัก เพราะค่านิยมการทำงานแบบญี่ปุ่น ที่ทุ่มเทให้กับองค์กร และการทำงานหนักยังคงมีอยู่มากในสังคมการทำงาน ซึ่งก็ยิ่งผลักดันให้คนรุ่นใหม่เลือกที่จะเป็นชาวนีตและชาวฟรีเตอร์กันมากขึ้น
รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งการขยายอายุเกษียณไปจนถึง 65 ปี เพื่อให้มีวัยแรงงานมากเพียงพอที่จะเสียภาษี
การเปิดรับแรงงานต่างชาติมากขึ้น เพื่อมาทดแทนแรงงานที่ขาดหายไป ทั้งแรงงานที่สูงวัย และแรงงานที่ไม่ยอมทำงาน
ก็เป็นที่น่าคิดว่า สังคมญี่ปุ่นในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไรต่อไป
โดยเฉพาะในปี 2050 หรืออีก 30 ปีข้างหน้า
ที่ประเทศญี่ปุ่นจะมีผู้สูงอายุ ที่อายุมากกว่า 65 ปี คิดเป็นสัดส่วนถึง 37.6% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
ซึ่งดูเหมือนว่า “ทศวรรษที่หายไปของญี่ปุ่น” จะยังคงไม่กลับคืนมาง่าย ๆ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.statista.com/statistics/263578/gross-domestic-product-gdp-of-japan/
-https://jpninfo.com/11831
-http://yabai.com/p/2715
-https://www.oecd.org/newsroom/japan-should-do-more-to-help-young-people-take-part-in-the-labour-market.htm
-https://www.populationpyramid.net/japan/2020/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過62萬的網紅Bryan Wee,也在其Youtube影片中提到,...
「freeter」的推薦目錄:
- 關於freeter 在 ลงทุนแมน Facebook
- 關於freeter 在 酪梨壽司 Facebook
- 關於freeter 在 小花媽 Facebook
- 關於freeter 在 Bryan Wee Youtube
- 關於freeter 在 Travel Thirsty Youtube
- 關於freeter 在 スキマスイッチ - 「全力少年」Music Video : SUKIMASWITCH / ZENRYOKU SHOUNEN Music Video Youtube
- 關於freeter 在 Freeter - YouTube 的評價
- 關於freeter 在 作者freeter 的總覽(PTT發文,留言,暱稱) - PTT網頁版 的評價
- 關於freeter 在 Freeter (@a123457) 的公開頁面 | Dcard 的評價
freeter 在 酪梨壽司 Facebook 八卦
看日劇《Freeter買房記》,我隨口問大白:「如果我們家破產,你失業,我生病需要大筆醫藥費,你會去建築工地當粗工嗎?日薪一萬日圓,但很累。」大白:「我會去埃及探勘油田,變成石油大王!」
freeter 在 小花媽 Facebook 八卦
【82年生的金智英】
小花媽在研究所時期,除了因為看了中年時代,不小心迷上少女時代的長腿外,在碩二,因為亂轉遙控器轉到緯來日本台,當時電視上播放的《嵐的大運動會》,覺得嵐這個傑尼斯團體也太ㄎㄧㄤ,而重新著迷於日本團體。
當時,因為迷上偶像團體,當然要搜集成員主演的電影、電視劇、綜藝節目等,來完整記憶。因此,無意間看了二宮和也主演的《飛特族買個家》。
小花媽在看日劇之前,先把小說看完了。
也很慶幸,自己有先看完小說。
在日劇中,主要聚焦於二宮和也所飾演的飛特族,如何在面對母親罹患精神疾病,整個家庭以至於周遭的問題,開始如雨後春筍般,啵啵啵的蹦出來後,所做出的反應以及改變。
飛特族,Freeter,是只靠打工維生的,沒有正職的人。乍看字面,會以為是一群不務正業的,相對於年輕的世代。實際上,這是當代青年所面臨最大的問題。多半是約聘雇,相對於以往沒有保障,沒有夢想,沒有想像未來的本錢以及空間。在這樣的情形下,日本出現了飛特族、繭居族等,相關社會衍生詞,來形容這些族群。
意外的是,在這裡面,吸引我的不是二宮和也所飾演的飛特族。而是引發一連串事件的導火線,他的媽媽。
他的媽媽是一個很普通、很常見的日本家庭主婦,每天在家裡為先生、為孩子操持家務,成天穿著圍裙。然而,這樣的媽媽,這樣的家庭主婦,這樣被認為成天閒閒沒事做的角色,罹患了憂鬱症。頓時,家中陷入了混亂。所有日常生活都亂了,彷彿失去了主心骨一樣。
在日劇中,沒有特別深入描寫母親,但小說有。在小說中可以看到,媽媽之所以會罹患憂鬱症,是長期性的累積造成的。
家庭主婦間的霸凌、對家庭的責任等等因素,在無處抒發又壓力漸增的情形下,爆炸了。這些原因,都是來自於日本社會對於女性的壓迫以及想像,經年累月累積下來的陋習。
也因此,之前日本通過了法,在離婚後,妻子可以獲得丈夫一半的退休金。這個法律一通過,便掀起一股「中年離婚潮」,原因無他,受夠了而已。不只受夠了丈夫,受夠了家庭,更受夠了社會給的一切。
小花媽的韓文老師,是嫁給一位日本先生。當她得知先生要被調職回日本時,臉上那泫然欲泣的表情,真的令人感受到滿滿的壓力。
但是,韓國呢?
韓國真的沒有好到哪裡去,甚至對於女性的壓迫,可以說是東亞之最。
之前,小花媽把朋友大推的《82年生的金智英》看完,真的深有共鳴。即使金智英比小花媽大了不少,但描寫的壓迫以及無形的壓力,卻是到當代,無論是韓國、日本,甚至台灣,都幾乎變本加厲。
雖然,金智英是公務人員家庭,而我是工人階級家庭,但是,很多時候,身為女性,性別會讓生命某個程度上,不分階級。
在生命中,總是先是一個女人,才是一個什麼。
裡面每一個片段,都寫得非常的好,簡單的故事,帶出的是一個時代的畫面。
小花媽挑一些片段來做分享。
在金智英求學時代,一直被男同學欺負、霸凌。後來,還被補習班的男同學跟蹤,幾近猥褻。
在她被欺負時,老師說:「難道妳都還沒看出來嗎?他是因為喜歡妳啊。」
在她被男同學帶有性騷的緊貼時,父親斥責了她一頓。斥責她沒有避免這些事情發生。
為加害者找藉口,為被害者找受害的一百個應該被斥責的理由。
而這樣的斥責,會成為受害者,甚至是預備受害者深層的傷口,在發生相關的事情時,血就會汨汨流出,幻化成傷人的字句,來傷害著自己。
小花媽在國中時,全班都在玩線上遊戲。假日寫完功課,就會去附近包時數便宜的網咖,犒賞自己。
一次,一個大叔說:「妹妹,妳玩的這個遊戲不好玩,我來推薦你一個新的遊戲。」
我也就乖乖的跟他到他的包廂,坐在沙發上,而大叔坐在扶手,堵住唯一的通道。
他點開了成人網站,我沒有任何反應。網路剛出來的時候,很多歌曲、影集要下載,都要從「洪爺」網站上載下,當然對於這樣的畫面,早就習以為常。
等到發現不對,已經是螢幕放著成人片,大叔在旁邊固定頻率的上下抽動著,並且發出喘息聲時,用眼角餘光看到他在打手槍。
但是,當時可以如何呢?
不能如何。
等他打完後,我站起來,恭敬地向他鞠個躬,跟他說我不想玩了,先走一步。
臨走時,大叔還說:「妹妹,要多點危機意識啊」。
小花媽還覺得他說得真是沒錯,一切都是我的錯。
後來,學了社會學,接觸了女性主義,知道這個社會對於女性的壓迫以及刻板印象,也開始練習善待自己,公平的對待每一個性別族群。
前些日子,走在路上,迎面一位阿伯走來。
二話不說就往小花媽的胸部摸來。
小花媽沒有尖叫,只是倉皇逃走。
確認自己安全後,第一個映入腦海的想法是:「我今天穿的是不是太露?」
小花媽對於自己一閃而過的想法,感到無比的難過。這些20幾年來累積起來的,只要稍微疏忽練習,就會在跳出來的想法,如影隨形。
小花媽有錯嗎?
當然沒有。
有錯的是一直以來不平等的教育,有錯的是這個社會對於女性的譴責,有錯的是,阻擋受害族群學習釋放自己語言,那些保守派、那些酸民、那些扭曲性別教育等等的既得利益者。
「你要多幫幫他,他一個人很辛苦」
「你一定是惹火他,才讓他對你說出這樣的話/做出這樣的事」
「他就是沒那麼細膩,你要多協助他」
「這些事沒那麼嚴重,緊咬著不放,對自己不會更好」
「關係弄僵,倒楣的也是你,放寬心吧」
他們常常把這樣的東西掛在嘴邊,然後跟你說,這就是社會,人生就是那麼不公平。
不公平應該被翻轉,社會應該被改變。而不是丟下一句話,就讓這樣的情形持續下去。
我們又不是地藏王菩薩,幫大家受苦受難喔?
freeter 在 Bryan Wee Youtube 的評價
freeter 在 Travel Thirsty Youtube 的評價
freeter 在 スキマスイッチ - 「全力少年」Music Video : SUKIMASWITCH / ZENRYOKU SHOUNEN Music Video Youtube 的評價
freeter 在 作者freeter 的總覽(PTT發文,留言,暱稱) - PTT網頁版 的八卦
作者freeter 的總覽(PTT發文,留言,暱稱). 發文數量: 5 ... 使用過的暱稱: 1. freeter 在PTT 最新的發文, 共5 篇 ... 作者: freeter - 發表於2005/12/27 09:33(15年前). ... <看更多>
freeter 在 Freeter (@a123457) 的公開頁面 | Dcard 的八卦
Freeter. @a123457. 0 篇文章・0 人追蹤. 追蹤. 尚未發表任何文章. 作者還沒有撰寫文章,以後再回來看看~. Freeter. 不想錯過有趣的文章?追蹤我吧! 追蹤. ... <看更多>
freeter 在 Freeter - YouTube 的八卦
... <看更多>