วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา "
แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ "
ปีนี้มีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน จึงตรงกับ
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗
.
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด
ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ
เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ
๑. “ประสูติ” เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖
ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ
ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี หรือราวประมาณ ๒,๖๔๔ ปีก่อน
.
เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน
เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้า
สุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ
พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี
ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ
ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง
เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น
.
ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน
พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น
.
ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ"
ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
(ญาณอันประเสริฐสูงสุด)
สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงถือว่า วันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
.
๒. “ตรัสรู้” เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา
ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี
ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา
เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
.
การตรัสรู้อริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ
ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก
.
ชาวพุทธทั่วไปจึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า
พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้น
พระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...
ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ"
คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ"
คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ"
คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่
( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )
ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖
ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา
.
ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป
.
๓. “ปรินิพพาน” หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศ
พระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ เป็นระยะเวลา
๔๕ พรรษา
.
พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
.
การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีปของโลก
เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา
.
อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก
ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ
ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
.
ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า
และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า
.
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
.
หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี
บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖
.
ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์
และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ
เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ
พระปัญญาธิคุณ
และพระบริสุทธิคุณ
ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก
--------------
ตามรอย ธรรม
FB : ใต้ร่ม ธรรม
「อริยสัจ คือ」的推薦目錄:
- 關於อริยสัจ คือ 在 Kanok Ratwongsakul Fan Page Facebook
- 關於อริยสัจ คือ 在 Phongsathon Srijun Facebook
- 關於อริยสัจ คือ 在 Kanok Ratwongsakul Fan Page Facebook
- 關於อริยสัจ คือ 在 อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คืออะไร , พระพุทธเจ้า ... - YouTube 的評價
- 關於อริยสัจ คือ 在 รู้อริยสัจ 4 คือรู้หนทางแห่งความดับไม่เหลือของทุกข์ - YouTube 的評價
อริยสัจ คือ 在 Phongsathon Srijun Facebook 八卦
สถานที่ ที่พระพุทธเจ้าทรงปฐมเทศนา คือ การแสดงธรรมครั้งแรก เป็นคำเรียกเทศน์กัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ อัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อวันเพ็ญกลางเดือน 8 (วันอาสาฬหบูชา)
ปฐมเทศนา มีชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เรียกสั้นๆ ว่า ธรรมจักร ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงเรื่อง อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั่นเอง
อริยสัจ คือ 在 Kanok Ratwongsakul Fan Page Facebook 八卦
ก่อนนอนคืนนี้..ทำสมาธิ ปล่อยจิตให้ว่าง..ลอยไปอยู่ โบสถ์ที่สงบที่สุด ณ สวนโมกข์ฯ ท้องฟ้า คือ..หลังคา ต้นไม้ คือ..เสาโบสถ์ ป่าไม้ คือ..กำแพง ยอดใบไม้ คือ..ช่อฟ้าใบระกา
กุฏิ 70 กว่าหลัง เหมือนกันหมด คือ เป็นเรือนไม้เก่าแก่ และอยู่ในดงต้นไม้ใหญ่
พระสุเทพ กล่าวว่า "ท่านพุทธทาส จะเดินตามรอยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เข้าถึงหัวใจของการตรัสรู้นั้น ต้องอยู่แบบพระพุทธองค์ ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าอยู่กับต้นไม้ เราก็ต้องอยู่กับต้นไม้ให้ได้ จึงจะเข้าใจถึง อริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ"
ราตรีสวัสดิ์ทุกท่าน..ที่เจริญในธรรม และอรุณสวัสดิ์ทุกท่าน ที่เปิดมาอ่านยามเช้า ด้วยดวงจิตผ่องแผ้ว
รายการLineกนก
อริยสัจ คือ 在 รู้อริยสัจ 4 คือรู้หนทางแห่งความดับไม่เหลือของทุกข์ - YouTube 的八卦
รู้ อริยสัจ 4 คือ รู้หนทางแห่งความดับไม่เหลือของทุกข์. BigJintri Propagate Buddhism. BigJintri Propagate Buddhism. 61.8K subscribers. ... <看更多>
อริยสัจ คือ 在 อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คืออะไร , พระพุทธเจ้า ... - YouTube 的八卦
อริยสัจ 4 #ทุกข์ #ขันธ์ 5 อริยสัจ 4 คือ ความจริงของโลก 1.ทุกข์ ใน อริยสัจ 4 คือ ขันธ์ทั้ง 5 (ธรรมชาติใดเปลี่ยนแปลง มีการเกิด และมีการดับ ... ... <看更多>