ผ่านไปแต่ละปี เรารวยขึ้นมั้ย? หรือจนลง! ...
ทำงานกันมา 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี เคยตั้งคำถามแบบนี้กับตัวเองหรือเปล่าครับ ถ้ายังไม่เคย วันนี้ผมชวนคิดชวนคุยเรื่องนี้กัน
จะว่าไปแล้วมันเป็นหนึ่งในกิจกรรมประจำปีของผมเลยก็ว่าได้ ที่เมื่อผ่านพ้นไปในแต่ละปี ผมจะกลับมานั่งทบทวนถึงจำนวนทรัพย์สินและหนี้สินที่ตัวเองมี เช็คเป็นสถานะปัจจุบัน แล้วก็เทียบกันกับปีก่อน
วิธีทำก็ง่ายๆ ครับ หยิบกระดาษ A4 มาหนึ่งแผ่น ขีดเส้นแบ่งครึ่งตรงกลาง ด้านซ้ายเขียนรายการทรัพย์สินทั้งหมดที่เรามี ไม่ว่าจะเป็น เงินฝาก สลากออมทรัพย์ กองทุนรวมต่างๆ (อะไรขึ้นชื่อว่ากองทุนนับให้หมด) หุ้นสหกรณ์ หุ้นสามัญ บ้าน รถยนต์ ทองคำ ทั้งหมดที่เราเป็นเจ้าของและมีมูลค่า ระบุใส่ช่องทางซ้ายมือนี้ให้หมด
ส่วนด้านขวามือ ให้เขียนรายการหนี้สินทั้งหมดที่มี ไม่ว่าจะหนี้บริโภค อาทิ หนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อบุคคล ผ่อนของ นอกระบบ จัดกันมาให้ครบ รวมถึงหนี้กู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถ กู้เรียน รวมทั้งหมดไว้ทางฝั่งขวา
สุดท้ายให้เอา มูลค่าทรัพย์สินรวม (ทางฝั่งซ้าย) ตั้งแล้วลบด้วยมูลค่าหนี้รวมทั้งหมด (ทางฝั่งขวา) ได้ผลลัพธ์เป็นเท่าไหร่ เราเรียกเจ้าค่าที่ได้นี้ว่า “ความมั่งคั่งสุทธิ” หรือ NET WORTH (บางตำราเรียก “ทรัพย์สินสุทธิ”)
ตัวอย่างเช่น ถ้า ณ วันที่ 1 มกราคม 2564 เรามีมูลค่าทรัพย์สินรวมทั้งสิ้น 2,000,000 บาท และมีหนี้สินรวมคงค้างอยู่ 1,500,000 บาท แบบนี้ก็จะเท่ากับว่า เรามี “ความมั่งคั่งสุทธิ” เท่ากับ 2,000,000 - 1,500,000 หรือ +500,000 บาท นั่นเอง
โดยหลักการแล้ว ถ้าเรามีความมั่งคั่งสุทธิเป็น “บวก” ก็จะถือว่า “ดี” และยิ่งถ้าทุกปีเราทำตัวเลขนี้เปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า แล้วพบว่า เป็นบวกมากขึ้นทุกปี แบบนี้ก็แสดงว่า “เรารวยขึ้น”
ในทางตรงกันข้าม หากความมั่งคั่งสุทธิปีนี้ลดลงจากปีที่แล้ว อันนี้ก็แสดงว่า “เราจนลง” ซึ่งก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการมีหนี้บริโภคเพิ่มมากขึ้น (ก่อหนี้ที่ไม่ได้ใช้ซื้อทรัพย์สิน) หรือไม่ทรัพย์สินบางกลุ่มของเราก็อาจมีมูลค่าลดลง อย่างเช่น กรณีหุ้นตก มูลค่ากองทุนรวมลดลง ก็จะเข้าข่ายในลักษณะนี้
จากที่สอนเรื่องการเงินมาหลายปี ผมพบว่าถ้าเราหมั่นตรวจสอบความมั่งคั่งของเราอยู่เสมอ และทุกปีเรามีความมั่งคั่งสุทธิเพิ่มขึ้น หรือทรัพย์สินเพิ่ม (สะสมเพิ่ม) หนี้สินลดลงทุกปี (ทยอยใช้หนี้ตามกำหนด) แบบนี้รับประกันได้เลยว่าเกษียณสบายครับ เพราะถ้าทรัพย์สินสะสมเพิ่มเรื่อยๆ แถมหนี้สินยังลดลงเรื่อยๆ และเคลียร์หมดได้ก่อนเกษียณ แบบนี้รับประกันเลยว่า “Happy Retirement” แน่นอน
ครั้งหนึ่งเมื่อ 10 ปีก่อน ผมเล่าเรื่องนี้ในการบรรยายให้กับองค์กรแห่งหนึ่ง พี่ท่านหนึ่งที่เข้าฟังบรรยายบอกผมว่า เขาทำอย่างที่ผมบอกทุกปี และไม่เพียงแต่นั่งคำนวณตัวเลขทรัพย์สินหนี้สินเท่านั้น พี่เขายังจดรายละเอียดทุกรายการของทรัพย์สิน เช่น กองทุนซื้อกับที่ไหน หุ้นเปิดพอร์ตกับบริษัทหลักทรัพย์อะไร ประกันชีวิตซื้อกับที่ไหน และระบุข้อมูลเบอร์ติดต่อของผู้เกี่ยวข้องไว้ทั้งหมด ทำแบบนี้เป็นประจำทุกปี
พี่แกเล่าให้ฟังว่า การสรุปข้อมูลรายการทรัพย์สินหนี้สินในแต่ละปี สำหรับแกแล้วเหมือนการ “เตรียมตัวตาย” เพราะคนเราเอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ เกิดเราลงทุน ซื้อประกัน สะสมทรัพย์สินอะไรไม่รู้จิปาถะ แต่ไม่ได้บอกคนข้างตัวไว้ เกิดตายวันตายพรุ่งไป คนข้างตัวก็ไม่รู้ว่าเรามีอะไรสะสมอยู่บ้าง หนี้สินแกก็คิดอย่างเดียวกัน ว่าต้องให้รู้ไว้บ้าง จะได้ไม่ตกใจ
“ถ้าเตรียมตัวตายดีๆ รับรองเลยว่าอาจารย์จะไม่ตาย อาจารย์จะอายุยืน ฮา ๆๆ” พี่แกบอกผมอย่างนั้นในวันที่เจอกันครั้งแรก
หลายปีต่อมา ผมยังไปบรรยายที่องค์กรของพี่เขาอยู่บ่อยๆ แม้จะไม่ได้เป็นคนเข้าฟังบรรยายในคลาส แต่แกก็จะแวะมาทักทายตอนพักอาหารว่าง หรือมาแวะส่งตอนกลับ เหมือนเจอน้องเจอที่รู้จักคุ้นเคย แล้วก็ต้องแวะมาเจอกันสักหน่อย แม้จะได้พูดคุยไม่กี่นาทีก็ตาม
เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก เมื่อสิ้นปี 2563 ผมมีโอกาสไปบรรยายที่องค์กรของพี่ท่านนี้อีกครั้ง แล้วก็เจอแก คราวนี้ผมไปบรรยายเรื่องการจัดการเงินหลังเกษียณ พี่แกเข้ามาเป็นนักเรียนในคลาส เพราะสิ้นปีแกจะเกษียณแล้ว ตลอดการพูดคุยกันในคลาส สิ่งที่ผมรู้สึกได้เลยก็คือ แกไม่ได้เดือดร้อนที่จะต้องเกษียณ เพราะเตรียมตัวมาดีมาก (ดีมากจริงๆ)
หลังจบการบรรยาย แกเดินเข้ามาทัก แล้วก็บอกผมว่า “ยังทำรายการทรัพย์สินหนี้สินอยู่ทุกปีนะอาจารย์ เสียอย่างเดียว คนที่เราเป็นห่วง กลัวว่าเขาจะลำบากถ้าเราไม่อยู่ เขาไปก่อนเราเสียแล้ว ฮาๆๆๆ” คนพูดแม้จะมีเสียงหัวเราะ แต่แววตาดูเศร้าชนิดสังเกตได้
“แต่อย่างน้อยที่ทำมาตลอด ก็ดีกับพี่เองต่อจากนี้นะครับ” ผมอยากจะปลอบใจแก แต่ไม่รู้จะพูดว่าอะไรดี
เราสนทนากันเป็นครั้งสุดท้าย เพราะรู้ดีว่าครั้งหน้าที่ผมมาสอนที่นี่ ก็คงไม่เจอพี่เขาอีกแล้ว ได้ยินว่าพี่เขาปลูกบ้านไว้ที่ภูมิลำเนาเดิมในจังหวัดใกล้กรุงเทพ เตรียมทุกอย่างไว้พร้อม พร้อมที่จะเป็นคนเกษียณที่มีความสุขมากที่สุดคนหนึ่ง
ทั้งหมดเริ่มต้นง่ายๆ จากการวัดผลเล็กๆ ที่ว่า ในแต่ละปีเรารวยขึ้นหรือจนลง และใส่ใจกับผลของการวัดอย่างจริงจัง
ลองคิดดูง่ายๆ ว่า ถ้าเราทำงานมาเป็น 10 ปี แต่ความมั่งคั่งสุทธิยังติดลบ มันบอกอะไรกับชีวิตเรา แน่นอนว่ามันไม่ได้เลวร้ายถึงขั้นจะกลับตัวหรือแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่า ยังมีอีกหลายคนที่ไม่เคยเห็นตัวเลขสำคัญทางการเงินของตัวเองตัวนี้เลย
หรือถ้าเห็นว่าตัวเลขไม่สวย แต่ละปีความมั่งคั่งสุทธิไม่เพิ่มขึ้น แถมยังลดลง แล้วยังอยู่เฉยได้ คนแบบนี้ก็ยากที่เราจะไปช่วยอะไรเขาได้ ทั้งนี้เพราะหัวใจของการสร้างสำเร็จทางการเงิน สิ่งแรก คือ ความรับผิดชอบทางการเงิน ที่คนแต่ละคนต้องเชื่อก่อนว่า “อนาคตทางการเงินของเรา เปลี่ยนแปลงได้ ทำให้ดีขึ้นได้ และทั้งหมดขึ้นอยู่หนึ่งสมองและสองมือของเราเท่านั้น ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงอนาคตการเงินเราได้”
ก่อนหมดเดือนแรกของปีใหม่ ผมเชิญชวนทุกท่านลองหยิบกระดาษ A4 ขึ้นมา แบ่งครึ่งซ้ายขวา ลิสต์รายการทรัพย์สิน หนี้สิน และมูลค่าทั้งหมด จากนั้นลองคำนวณ “ความมั่งคั่งสุทธิ” ณ ปี 2564 ของตัวเองออกมาดูครับ
ใครทำเป็นปีแรก ลองดูสิว่า ความมั่งคั่งสุทธิเป็นบวกมั้ย ถ้าบวก ก็ถือว่า “โอเค”
ส่วนใครทำมาแล้วมากกว่า 1 ปี ลองดูสิว่า เทียบกับปีก่อน ความมั่งคั่งสุทธิของเรา เพิ่มขึ้นหรือเปล่า ถ้าเพิ่มขึ้นแปลว่า เรารวยขึ้น และถ้าแต่ละปีเรารวยขึ้นเรื่อยๆ ด้วยทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หนี้สินที่ทยอยลดลงเรื่อยๆ จากการผ่อนจ่ายของเรา เมื่อถึงวันหนึ่งที่เกษียณ เราจะเป็นคนไทยอีกคนหนึ่งที่มีชีวิตเกษียณที่มีความสุขอย่างแน่นอนครับ ฟันธง!
ขอให้ทุกท่านรวยขึ้นทุกปีนะครับ
โค้ชหนุ่ม
03-01-2021
หุ้นสามัญ คือ 在 Money Coach Facebook 八卦
ผ่านไปแต่ละปี เรารวยขึ้น หรือจนลง
.
ทำงานกันมา 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี เคยตั้งคำถามแบบนี้กับตัวเองหรือเปล่าครับ ถ้ายังไม่เคย วันนี้ผมชวนคิดชวนคุยเรื่องนี้กัน
.
จะว่าไปแล้วมันเป็นหนึ่งในกิจกรรมประจำปีของผมเลยก็ว่าได้ ที่เมื่อผ่านพ้นไปในแต่ละปี ผมจะกลับมานั่งทบทวนถึงจำนวนทรัพย์สินและหนี้สินที่ตัวเองมี เช็คเป็นสถานะปัจจุบัน แล้วก็เทียบกันกับปีก่อน
.
วิธีทำก็ง่ายๆ ครับ หยิบกระดาษ A4 มาหนึ่งแผ่น ขีดเส้นแบ่งครึ่งตรงกลาง ด้านซ้ายเขียนรายการทรัพย์สินทั้งหมดที่เรามี ไม่ว่าจะเป็น เงินฝาก สลากออมทรัพย์ กองทุนรวมต่างๆ (อะไรขึ้นชื่อว่ากองทุนนับให้หมด) หุ้นสหกรณ์ หุ้นสามัญ บ้าน รถยนต์ ทองคำ ทั้งหมดที่เราเป็นเจ้าของและมีมูลค่า ระบุใส่ช่องทางซ้ายมือนี้ให้หมด
.
ส่วนด้านขวามือ ให้เขียนรายการหนี้สินทั้งหมดที่มี ไม่ว่าจะหนี้บริโภค อาทิ หนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อบุคคล ผ่อนของ นอกระบบ จัดกันมาให้ครบ รวมถึงหนี้กู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถ กู้เรียน รวมทั้งหมดไว้ทางฝั่งขวา
.
สุดท้ายให้เอา มูลค่าทรัพย์สินรวม (ทางฝั่งซ้าย) ตั้งแล้วลบด้วยมูลค่าหนี้รวมทั้งหมด (ทางฝั่งขวา) ได้ผลลัพธ์เป็นเท่าไหร่ เราเรียกเจ้าค่าที่ได้นี้ว่า “ความมั่งคั่งสุทธิ” หรือ NET WORTH (บางตำราเรียก “ทรัพย์สินสุทธิ”)
.
ตัวอย่างเช่น ถ้า ณ วันที่ 1 มกราคม 2564 เรามีมูลค่าทรัพย์สินรวมทั้งสิ้น 2,000,000 บาท และมีหนี้สินรวมคงค้างอยู่ 1,500,000 บาท แบบนี้ก็จะเท่ากับว่า เรามี “ความมั่งคั่งสุทธิ” เท่ากับ 2,000,000 - 1,500,000 หรือ +500,000 บาท นั่นเอง
.
โดยหลักการแล้ว ถ้าเรามีความมั่งคั่งสุทธิเป็น “บวก” ก็จะถือว่า “ดี” และยิ่งถ้าทุกปีเราทำตัวเลขนี้เปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า แล้วพบว่า เป็นบวกมากขึ้นทุกปี แบบนี้ก็แสดงว่า “เรารวยขึ้น”
.
ในทางตรงกันข้าม หากความมั่งคั่งสุทธิปีนี้ลดลงจากปีที่แล้ว อันนี้ก็แสดงว่า “เราจนลง” ซึ่งก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการมีหนี้บริโภคเพิ่มมากขึ้น (ก่อหนี้ที่ไม่ได้ใช้ซื้อทรัพย์สิน) หรือไม่ทรัพย์สินบางกลุ่มของเราก็อาจมีมูลค่าลดลง อย่างเช่น กรณีหุ้นตก มูลค่ากองทุนรวมลดลง ก็จะเข้าข่ายในลักษณะนี้
.
จากที่สอนเรื่องการเงินมาหลายปี ผมพบว่าถ้าเราหมั่นตรวจสอบความมั่งคั่งของเราอยู่เสมอ และทุกปีเรามีความมั่งคั่งสุทธิเพิ่มขึ้น หรือทรัพย์สินเพิ่ม (สะสมเพิ่ม) หนี้สินลดลงทุกปี (ทยอยใช้หนี้ตามกำหนด) แบบนี้รับประกันได้เลยว่าเกษียณสบายครับ เพราะถ้าทรัพย์สินสะสมเพิ่มเรื่อยๆ แถมหนี้สินยังลดลงเรื่อยๆ และเคลียร์หมดได้ก่อนเกษียณ แบบนี้รับประกันเลยว่า “Happy Retirement” แน่นอน
.
ครั้งหนึ่งเมื่อ 10 ปีก่อน ผมเล่าเรื่องนี้ในการบรรยายให้กับองค์กรแห่งหนึ่ง พี่ท่านหนึ่งที่เข้าฟังบรรยายบอกผมว่า เขาทำอย่างที่ผมบอกทุกปี และไม่เพียงแต่นั่งคำนวณตัวเลขทรัพย์สินหนี้สินเท่านั้น พี่เขายังจดรายละเอียดทุกรายการของทรัพย์สิน เช่น กองทุนซื้อกับที่ไหน หุ้นเปิดพอร์ตกับบริษัทหลักทรัพย์อะไร ประกันชีวิตซื้อกับที่ไหน และระบุข้อมูลเบอร์ติดต่อของผู้เกี่ยวข้องไว้ทั้งหมด ทำแบบนี้เป็นประจำทุกปี
.
พี่แกเล่าให้ฟังว่า การสรุปข้อมูลรายการทรัพย์สินหนี้สินในแต่ละปี สำหรับแกแล้วเหมือนการ “เตรียมตัวตาย” เพราะคนเราเอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ เกิดเราลงทุน ซื้อประกัน สะสมทรัพย์สินอะไรไม่รู้จิปาถะ แต่ไม่ได้บอกคนข้างตัวไว้ เกิดตายวันตายพรุ่งไป คนข้างตัวก็ไม่รู้ว่าเรามีอะไรสะสมอยู่บ้าง หนี้สินแกก็คิดอย่างเดียวกัน ว่าต้องให้รู้ไว้บ้าง จะได้ไม่ตกใจ
.
“ถ้าเตรียมตัวตายดีๆ รับรองเลยว่าอาจารย์จะไม่ตาย อาจารย์จะอายุยืน ฮา ๆๆ” พี่แกบอกผมอย่างนั้นในวันที่เจอกันครั้งแรก
.
หลายปีต่อมา ผมยังไปบรรยายที่องค์กรของพี่เขาอยู่บ่อยๆ แม้จะไม่ได้เป็นคนเข้าฟังบรรยายในคลาส แต่แกก็จะแวะมาทักทายตอนพักอาหารว่าง หรือมาแวะส่งตอนกลับ เหมือนเจอน้องเจอที่รู้จักคุ้นเคย แล้วก็ต้องแวะมาเจอกันสักหน่อย แม้จะได้พูดคุยไม่กี่นาทีก็ตาม
.
เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก เมื่อสิ้นปี 2563 ผมมีโอกาสไปบรรยายที่องค์กรของพี่ท่านนี้อีกครั้ง แล้วก็เจอแก คราวนี้ผมไปบรรยายเรื่องการจัดการเงินหลังเกษียณ พี่แกเข้ามาเป็นนักเรียนในคลาส เพราะสิ้นปีแกจะเกษียณแล้ว ตลอดการพูดคุยกันในคลาส สิ่งที่ผมรู้สึกได้เลยก็คือ แกไม่ได้เดือดร้อนที่จะต้องเกษียณ เพราะเตรียมตัวมาดีมาก (ดีมากจริงๆ)
.
หลังจบการบรรยาย แกเดินเข้ามาทัก แล้วก็บอกผมว่า “ยังทำรายการทรัพย์สินหนี้สินอยู่ทุกปีนะอาจารย์ เสียอย่างเดียว คนที่เราเป็นห่วง กลัวว่าเขาจะลำบากถ้าเราไม่อยู่ เขาไปก่อนเราเสียแล้ว ฮาๆๆๆ” คนพูดแม้จะมีเสียงหัวเราะ แต่แววตาดูเศร้าชนิดสังเกตได้
.
“แต่อย่างน้อยที่ทำมาตลอด ก็ดีกับพี่เองต่อจากนี้นะครับ” ผมอยากจะปลอบใจแก แต่ไม่รู้จะพูดว่าอะไรดี
.
เราสนทนากันเป็นครั้งสุดท้าย เพราะรู้ดีว่าครั้งหน้าที่ผมมาสอนที่นี่ ก็คงไม่เจอพี่เขาอีกแล้ว ได้ยินว่าพี่เขาปลูกบ้านไว้ที่ภูมิลำเนาเดิมในจังหวัดใกล้กรุงเทพ เตรียมทุกอย่างไว้พร้อม พร้อมที่จะเป็นคนเกษียณที่มีความสุขมากที่สุดคนหนึ่ง
.
ทั้งหมดเริ่มต้นง่ายๆ จากการวัดผลเล็กๆ ที่ว่า ในแต่ละปีเรารวยขึ้นหรือจนลง และใส่ใจกับผลของการวัดอย่างจริงจัง
.
ลองคิดดูง่ายๆ ว่า ถ้าเราทำงานมาเป็น 10 ปี แต่ความมั่งคั่งสุทธิยังติดลบ มันบอกอะไรกับชีวิตเรา แน่นอนว่ามันไม่ได้เลวร้ายถึงขั้นจะกลับตัวหรือแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่า ยังมีอีกหลายคนที่ไม่เคยเห็นตัวเลขสำคัญทางการเงินของตัวเองตัวนี้เลย
.
หรือถ้าเห็นว่าตัวเลขไม่สวย แต่ละปีความมั่งคั่งสุทธิไม่เพิ่มขึ้น แถมยังลดลง แล้วยังอยู่เฉยได้ คนแบบนี้ก็ยากที่เราจะไปช่วยอะไรเขาได้ ทั้งนี้เพราะหัวใจของการสร้างสำเร็จทางการเงิน สิ่งแรก คือ ความรับผิดชอบทางการเงิน ที่คนแต่ละคนต้องเชื่อก่อนว่า “อนาคตทางการเงินของเรา เปลี่ยนแปลงได้ ทำให้ดีขึ้นได้ และทั้งหมดขึ้นอยู่หนึ่งสมองและสองมือของเราเท่านั้น ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงอนาคตการเงินเราได้”
.
ใครยังไม่เคยลองทำ ผมเชิญชวนทุกท่านลองหยิบกระดาษ A4 ขึ้นมา แบ่งครึ่งซ้ายขวา ลิสต์รายการทรัพย์สิน หนี้สิน และมูลค่าทั้งหมด จากนั้นลองคำนวณ “ความมั่งคั่งสุทธิ” ณ วันปัจจุบัน ของตัวเองออกมาดูครับ
.
ใครทำเป็นปีแรก ลองดูสิว่า ความมั่งคั่งสุทธิเป็นบวกมั้ย ถ้าบวก ก็ถือว่า “โอเค”
.
ส่วนใครทำมาแล้วมากกว่า 1 ปี ลองดูสิว่า เทียบกับปีก่อน ความมั่งคั่งสุทธิของเรา เพิ่มขึ้นหรือเปล่า ถ้าเพิ่มขึ้นแปลว่า เรารวยขึ้น และถ้าแต่ละปีเรารวยขึ้นเรื่อยๆ ด้วยทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หนี้สินที่ทยอยลดลงเรื่อยๆ จากการผ่อนจ่ายของเรา เมื่อถึงวันหนึ่งที่เกษียณ เราจะเป็นคนไทยอีกคนหนึ่งที่มีชีวิตเกษียณที่มีความสุขอย่างแน่นอนครับ ฟันธง!
.
ขอให้ทุกท่านรวยขึ้นทุกปีนะครับ
#โค้ชหนุ่ม #TheMoneyCoachTH
หุ้นสามัญ คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
กรณีศึกษา กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของ Norway มูลค่าลดลง 6 แสนล้าน /โดย ลงทุนแมน
เศรษฐกิจที่ตกต่ำจากผลกระทบของโรคระบาด Covid-19 ส่งผลกระทบกับนักลงทุนไปทั่วโลก
รวมถึงกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของประเทศนอร์เวย์ ซึ่งเป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ถ้านับจากต้นปีที่ผ่านมา มูลค่าของกองทุนได้ลดลงไปแล้วกว่า 651,000 ล้านบาท
เรื่องนี้เป็นอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
สัมผัสเทคโนโลยีรูปแบบใหม่จากสตาร์ตอัปไทย Blockdit
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ” กันก่อน
กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ เป็นกองทุนที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารจัดการทุนสำรองระหว่างประเทศ หรือสินทรัพย์ที่เกิดจากรายได้จากทรัพยากร ที่ถูกสะสมไว้เป็นจำนวนมากจนเกินความต้องการ
ซึ่งกองทุนนี้ จะถูกนำไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ แล้วนำผลตอบแทนที่ได้ กลับมาสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติอีกทีหนึ่ง
โดยทั่วไป กองทุนลักษณะนี้สามารถนำเงินไปลงทุนในตราสารได้ทั้ง 2 รูปแบบคือ
1. ตราสารทางด้านการเงิน (Financial Assets) เช่น หุ้นสามัญ ตราสารหนี้ สินทรัพย์ทางเลือกอื่นอย่างทองคำ
2. ตราสารที่ไม่ใช่ตราสารทางด้านการเงิน (Non-Financial Assets) เช่น อสังหาริมทรัพย์
ถ้าถามว่า ปัจจุบันกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก 3 รายแรก มาจากประเทศไหนบ้าง
1. กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของนอร์เวย์ มีมูลค่าของกองทุน 37.2 ล้านล้านบาท
2. กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของจีน มีมูลค่าของกองทุน 29.6 ล้านล้านบาท
3. กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีมูลค่าของกองทุน 21.9 ล้านล้านบาท
หมายความว่า กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของนอร์เวย์
ซึ่งกองทุนนี้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยการนำเงินที่เป็นรายได้ส่วนเกินจากการส่งออกน้ำมันของประเทศ ไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน
ถ้าถามว่ารายได้จากการส่งออกน้ำมันของประเทศนอร์เวย์มีมูลค่ามากแค่ไหน?
ในปี 2019 นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกน้ำมันดิบมากที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยมีมูลค่าเกือบ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 8% ของ GDP ของประเทศนอร์เวย์
ในปี 1998 กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของนอร์เวย์ มีมูลค่า 725,000 ล้านบาท ขณะที่ปัจจุบัน มูลค่าของกองทุนเพิ่มขึ้น เป็น 37.2 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นประมาณ 51 เท่า ในระยะเวลา 22 ปี
ซึ่งมูลค่านี้มากกว่า GDP ของประเทศนอร์เวย์เกือบ 3 เท่า
ปัจจุบัน สัดส่วนการลงทุนของกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของนอร์เวย์ แบ่งเป็น
การลงทุนในหุ้น 69.6%
การลงทุนในตราสารหนี้ 27.6%
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 2.8%
โดยกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของนอร์เวย์ มีการลงทุนในหุ้นของบริษัทต่างๆ กว่า 9,200 แห่ง ที่กระจายอยู่ใน 74 ประเทศทั่วโลก และกระจายอยู่ในหลายอุตสาหกรรม
ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ แม้ว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจะสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุนได้ถึง 14%
แต่หุ้นกลุ่มธุรกิจน้ำมันและก๊าซ กลับให้ผลตอบแทนติดลบไปถึง 33% เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดมีการปรับตัวลดลงจากสงครามราคาน้ำมันระหว่างซาอุดีอาระเบียและรัสเซีย
และการระบาดของ Covid-19 ที่ทำให้การเดินทางและการผลิตในภาคอุตสาหกรรมลดลง ก็ยิ่งเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันให้ต่ำลงไปอีก ซึ่งทำให้บริษัทน้ำมันหลายแห่งต้องขาดทุน
ผลที่ออกมาก็คือ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของนอร์เวย์ มีมูลค่าลดลงไปแล้วทั้งสิ้น 651,000 ล้านบาท ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่า ถึงแม้ว่ามูลค่ากองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของนอร์เวย์จะลดลงไปหลายแสนล้านบาทในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ แต่ถ้าเรามองย้อนกลับไป จะพบว่า
ในปี 1998 ประชากรนอร์เวย์มี 4.4 ล้านคน กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของนอร์เวย์ มีมูลค่า 725,000 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วคนนอร์เวย์มีสัดส่วนในทรัพย์สินกองทุนนี้คนละ 165,000 บาท
ในปี 2020 ประชากรนอร์เวย์มี 5.4 ล้านคน กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของนอร์เวย์ มีมูลค่า 37.2 ล้านล้านบาท เฉลี่ยแล้วคนนอร์เวย์มีสัดส่วนในทรัพย์สินกองทุนนี้คนละ 6.9 ล้านบาท
เท่ากับว่า การเติบโตของกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของนอร์เวย์ ทำให้โดยเฉลี่ยแล้วประชากรแต่ละคนในนอร์เวย์มีความมั่งคั่งขึ้นจากกองทุนนี้ถึง 42 เท่า ในช่วง 22 ปีที่ผ่านมา เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
สัมผัสเทคโนโลยีรูปแบบใหม่จากสตาร์ตอัปไทย Blockdit
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-http://www2.fpo.go.th/S-I/Source/Article/Article144.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Government_Pension_Fund_of_Norway
-https://www.businessinsider.com.au/norway-wealth-fund-loses-21bn-h1-20-after-volatility-2020-8
-https://www.macrotrends.net/countries/NOR/norway/population
-http://www.worldstopexports.com/worlds-top-oil-exports-country/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Sovereign_wealth_fund
หุ้นสามัญ คือ 在 โครงสร้างผู้ถือหุ้น | PTT Public Company Limited (PTT) 的八卦
หน้าหลัก; นักลงทุนสัมพันธ์; ข้อมูลสำหรับผู้ถือหุ้นสามัญ; โครงสร้างผู้ถือหุ้น. นักลงทุนสัมพันธ์. กระทรวงการคลัง. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ. ... <看更多>
หุ้นสามัญ คือ 在 หุ้นสามัญ... คืออะไร - Common Stock? - YouTube 的八卦
หุ้นสามัญ Common Stock คือ หุ้นที่นักลงทุนในตลาดซื้อขายกันอยู่ วัตถุประสงค์ คือ เพื่อระดมเงินทุนจากประชาชน เรามักจะเรียกกันว่าหุ้นทุน คือ ... ... <看更多>
相關內容