Ep.60 - " มรรค 8 ภาษาคน"
.
ถ้าคนพูดเรื่องมรรคนะ
แค่พูดก็หลับแล้ว
ได้ยินมรรคปุ๊บ
“มาแล้ว”
“มาอีก 8 ตัว”
.
จริง ๆ
ไม่ได้ยากเย็น
อะไรขนาดนั้นเลย
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
.
ทุกข์คือมันทนไม่ได้
ต้องเปลี่ยนแปลงสภาพไป
มันต้องเปลี่ยนแปลง
อะไรบางอย่างแล้ว
.
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า
มี ’ทุกข์’ ปุ๊บ
ไปหาเหตุของมัน
“คุณไปทำอะไรมาล่ะ?”
“คุณถึงทุกข์แบบนี้”
นี่คือ ‘สมุทัย’
พอรู้สาเหตุแล้ว
โอเค..
“แล้วคุณต้องการยังไงล่ะ”
.
นี่คือ ‘นิโรธ’
นิโรธไม่ได้หมายความว่านิพพาน
ต้องแบบบรรลุเท่านั้น
พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า
ทุกข์ สมุทัย นิพพาน มรรค
ท่านบอก
“ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค”
.
นิโรธก็คือ
คุณมีทุกข์อะไร
คุณอยากดับในสิ่งนั้น
นั่นคือนิโรธ
นั่นคือการตั้งเป้าหมาย
นั่นคือ goal
.
มรรค คือ วิธี
ซึ่งวิธีในการดับทุกข์
พระพุทธเจ้าให้ไว้
8 step
8 step แบบหยาบ ๆ นะ
ไม่ใช่ละเอียดนะ
ละเอียดนี่ต้องลงลึกกันอีก
.
อย่างแรกเลย
‘สัมมาทิฏฐิ’
สัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ
ความเห็นชอบก็คือ
เรารู้แล้ว
เราจะเอาสิ่งนี้
เราจะหมดทุกข์กับเรื่องนี้
.
เราจะเลิกทุกข์
กับเรื่องความจน
ความเจ็บป่วย
ถ้าสมมุติว่าเป็นความเจ็บป่วย
.
เรารู้เลยว่า
ทำไงไม่ให้เจ็บป่วย?
ออกกำลังกาย
กินของดีมีประโยชน์
.
เราต้องเห็นก่อน
ทิฎฐิ คือ ความเห็น
vision ต้องชัดเจนก่อนว่า
.
“เฮ้ย…”
“ฉันจะเอาสิ่งนี้แน่ ๆ”
แล้วหลังจากนั้น
ก็ไปหา step ที่สอง
‘สัมมาสังกัปปะ’
อันนี้สำคัญมาก
สัมมาสังกัปปะ
คือไปหาความคิดดี ๆ
มันคือไปหา mindset ที่ถูกต้องมา
.
เหมือนคนจะ live อย่างงี้
บอก “โห…
ฉันต้อง live
ฉันต้องทำคลิปวิดิโอ
แต่เรามี mindset ที่ไม่ถูกต้อง
เกี่ยวกับการทำ live
การทำวิดิโอ
.
คุณกลัวว่าคนจะด่าคนจะว่า
คุณต้องไปหา mindset
ที่ถูกต้องว่า
การออกมาทำออนไลน์
การออกมาทำอย่างนี้อย่างนั้น
มันไม่น่าอาย
จริง ๆ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
.
ต่อไป step ต่อมา
มันก็คือ
‘สัมมาวาจา’
มันก็คือต้องสื่อสารกับตัวเอง
สื่อสารว่าเราเอาแน่
สิ่งนี้เราเอาแน่
สื่อสารกับตัวเองว่า
ยังไงเราก็จะไปทางนี้แน่นอน
เราจะ live แน่นอน
เราจะออกกำลังกายแน่นอน
เราจะกินของดีมีประโยชน์แน่นอน
.
แล้วสื่อสารกับคนอื่นด้วย
นี่คือสัมมาวาจา
นี่คือ communication
สื่อสารกับคนอื่นคือยังไง
คนที่หยิบยื่นบางอย่าง
ที่คุ้นเคยมาให้เรา
เช่น
เราบอกว่าตอนนี้
เราอยากที่จะมี
สุขภาพที่ดี
แต่เพื่อนคนนึง
มันชอบชวนกินไอติม
ตลอดเวลา
.
เราก็ต้องกล้าบอกว่า
“เฮ้ย...ไม่กินละ”
“เราอยากมีสุขภาพร่างกายที่ดี”
นี่คือสัมมาวาจา
ต้องสื่อสาร
.
แล้วมันจะไป step ที่ 4
คือ ‘สัมมากัมมันตะ’
คุณจะต้องลงมือทำ
ในสิ่งที่คุณตั้งใจปรารถนาด้วย
กัมมันตะอย่างเดียวไม่พอ
.
ตั้งใจจริง ๆ นะ
คุณจะต้องมี
‘สัมมาอาชีวะ’
ทำอะไร
คุณจะต้องแลกเปลี่ยนชอบ
ไม่กระทบ
ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน
ไม่โกงเขา
ไม่หลอกลวงเขา
สัมมาอาชีวะคือ
เลี้ยงชีพชอบ
เลี้ยงชีพคือการแลกเปลี่ยนไง
คุณต้องไม่โกงอะ
ชั่งตวงวัด
มันต้องชัดเจน
ถูกปะ?
.
มันมิจฉาตัวนึงปุ๊บ
มันพังหมด
พอสัมมาอาชีวะเสร็จปุ๊บ
อยู่ใน way นั้น
.
นั่นคือ
‘สัมมาวายามะ’
คือเพียรพยายาม
ทำ ไม่เลิก
ไม่สำเร็จไม่เลิก
แล้วก็สัมมาสติ
วัดผลด้วยว่าสิ่งที่เรา
ตั้งแต่เราตั้ง vision
ตั้งแต่เรามี mindset ที่ถูกต้อง
ตั้งแต่เราสื่อสาร
ตั้งแต่เราลงมือทำ
.
ตั้งแต่เราแลกเปลี่ยนมาเนี่ย
ทำมาขนาดนี้แล้วเนี่ย
กี่วันกี่เดือนแล้วเนี่ย
มันเกิดผลยังไงบ้าง
นั่นคือสัมมาสติ
.
สุดท้าย
ไอ้ 7 อย่างที่ว่ามา
‘สัมมาสมาธิ’
ตั้งมั่นนะ
ไม่สำเร็จไม่เลิกนะ
โฟกัสนะ
อย่าวอกแวกนะ
เนี่ย…
คือมรรค 8
กับทุกเรื่อง ใช้ได้หมด
.
มันคือเรื่องธรรมดา
ที่กูรูที่ไหนเขาก็พูดกัน
พระพุทธเจ้าท่านพูดไว้หมดแล้ว
เราตั้งเป้าหมาย
เราก็ไปให้สุด ก็แค่นั้น
.
มรรค 8 เนี่ย
ข้อสำคัญเนี่ย
อยู่ 2 ข้อ
ข้อแรก กับข้อสุดท้าย
ถ้าคุณเป้าหมายชัดเจน
แล้วคุณตั้งมั่นไม่เลิก
ที่เหลือมันเกิดเองนะ
.
ธรรมะเนี่ย
เป็นสิ่งที่เรียบง่ายสุด ๆ
แต่ถูกภาษาบาลี ถูกอะไรก็ไม่รู้
ทำให้มันดูยาก ดูไกล
พูดเรื่องมรรคเป็นไง?
โอ้โห…
หาวใส่หน้าผมเลยอะ
.
แต่ความจริงแล้ว
มันอยู่ในทุกสภาวะของจิตนะ
จะเดินทางไปไหน
นู่นนี่นั่น
.
มรรค 8 เกิดตลอดนะจ๊ะ
เนี่ยอย่างจะกินกาแฟ
เข้ามาเดินในร้านเนี่ย
ผมคิดมาตั้งแต่บ้านละ
ผมจะกินกาแฟ
ใช่ปะ?
.
mindset ที่ถูกต้องคือ
ผมจะกินกาแฟ
ให้อร่อย
กาแฟมีประโยชน์
นี่ mindset
หลอก ๆ ตัวเองนะ
กาแฟมีประโยชน์
.
มาสื่อสาร
มาบอกบาริสต้าไง
มาบอกว่า
“เฮ้ย...ฉันจะกินกาแฟ”
.
การที่เดินมา
นี่คือสัมมากัมมันตะ
ต้องอุตส่าห์เดินทางมาร้านกาแฟ
นี่คือได้ลงมือทำแล้ว
ใช่ปะ?
.
‘แลกเปลี่ยนชอบ’
เขายื่นกาแฟให้เรา
เท่าไหร่
เราก็ยื่นตังค์ให้เขาไป
ถูกปะ?
.
นี่คือแลกเปลี่ยนชอบ
สัมมาอาชีวะ
ความเพียรพยายาม
ก็เดินทางมา
พยายามมั้ยล่ะ?
.
‘สัมมาสติ’
เราก็ต้องวัดผลดู
เป้าหมายที่เราตั้ง
การกินกาแฟเนี่ย
มันคุ้มมั้ย
กับการที่เราออกจากบ้านมา
แล้วมาได้กินกาแฟมีความสุข
พอมั้ย?
.
ถ้าพอ ก็ถูกต้อง
ตัวสุดท้าย
‘สัมมาสมาธิ’
ตั้งมั่นกับกาแฟแก้วนี้ไว้
กินไปอย่าให้หก
………………………………………
คือทุกอย่าง
มันอยู่ในชีวิตประจำวันหมด
ธรรมะคืออะไร?
.
บางคนบอก
ธรรมะ คือ ธรรมชาติ
โอเค..
ถูกต้องส่วนนึง
แต่ธรรมะมี 2 ส่วนนะ
ธรรมชาติ
กับธรรมคุณ
.
ธรรมชาติ
ติคือสิ่งที่เกิดเอง
ต้นไม้ใบหญ้า
ภูเขา คน
นี่เกิดเอง
.
แต่ธรรมคุณคือสิ่งที่ต้องปฏิบัติ
มันคือธรรมะในส่วน value
.
ธรรมะมัน 2 ความหมายนะ
ถ้าเกิดว่าคุณมีธรรมชาติ
แต่คุณไม่มีธรรมคุณ
นี่คุณไม่เต็มคนนะ
#ผู้กองเบนซ์
ปล. ถ้าเกิดว่ามีธรรมชาติ แต่ไม่มีธรรมคุณ นี่คุณไม่เต็มคน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
*ติดต่องานวิทยากร,อบรมสัมมนา,สนับสนุนช่อง โทร 094-449-9464 (คุณจี้)
ช่องยูทูป : ผู้กองเบนซ์ - Capt.Benz
blockdit : ผู้กองเบนซ์ - Capt.Benz
IG : capt.benz
Line OA : @ captbenz
twitter : @ captbenz
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過2萬的網紅MROST,也在其Youtube影片中提到,Next video: https://youtu.be/FrELGI55ogM ★ Subscribe: https://www.youtube.com/mrost/?sub_confirmation=1 ★ Instagram: https://instagram.com/mymrost/ ★ ...
มรรค คือ 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 八卦
ในความเป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ สุขในสัจจะวิถี
ตราบยังมีชาติภพ ตราบท่ีเรายังเวียนเกิดใช้กรรม สร้างบุญ และปฏิบัติธรรม เพื่อให้ชีวิตล่วงเข้าดินแดนแห่ง มรรค ผล นิพพาน มีเรื่องราวมากมายในชีวิตเหลือเกินท่ีเราต้อง เรียนรู้ อย่างมีสติ เท่าทัน รู้ทั่ว ถึงพร้อม "คำตอบ ผลสรุป ใช่เพียงความเพ้อฝัน จินตนาการ" พระพุทธองค์มีแนวทางในวิถีธรรมแห่งฆราวาส ท่ีพึงปฏิบัติ ในระดับต่างๆท่ีพึงปฏิบัติให้ เกิดความ งดงาม ถึงพร้อม และสุดท้ายคือ "ถึงกาลเวลาท่ีควรจะเกิดขึ้น เป็นไป เมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น เป็นปัจจัตตัง ผู้รู้พึงรู้ได้ด้วยตน"อันเป็นสัจจะวิถี ท่ีเกิดขึ้นแก่รูป นาม ดวงจิต ของเรานั้นเอง ปราชญ์พึงรู้และเข้าใจในวิถี แห่งปราชญ์ ยากท่ีใครจะทำให้ใคร เข้าใจ ในทุกสิ่งทุกอย่างในโลกแห่งโลกียวิสัย ท่ีดำเนินไป ล่วงไป
ไม่มีใครมาทำอะไรให้เราเป็นไป ให้ใครเป็นไปด้วยสิ่งใดๆเรื่องใดๆทั้งสิ้น เรามีกฏหนึ่งท่ีพระพุทธองค์ ทรงให้ไว้เป็นหลักของชาวพุทธ คือ"กฏแห่งกรรม" ท่ีเราต้องมีสติพึงรู้ เท่าทันว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ในทุกเรื่องราวนั้น ถึงพร้อมด้วย กรรมอันใด กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม หรืออัพยากรรม(กลางๆ) เว้นแต่เราจะขาดสติ เพราะ สุดท้ายแห่ง ผลของกรรมคือการกระทำต้องเกิดกับเรา ในวันใดวันหนึ่ง เดือนใดเดือนหนึ่ง ปีใดปีหนึ่ง ชาติใดชาติหนึ่ง เป็นแน่แท้ ดังนั้น เราจึงต้องมีสติ สติในกันรู้ทั่ว เท่าทัน ไม่ใช่เราเป็นไปเพราะปากใคร ความคิดใคร การกระทำของใคร "เรานั้นเอง อย่าไปโทษใคร"
ความผิดศีล ผิดธรรม ผิดประเพณี ผิดในหน้าท่ี ผิดในการกระทำ ไม่สามารถกลบเกลื้อน เกี่ยเซี๊ย ปกปิด เคลียร์ ให้จบได้เพียงแค่ จบๆไป เพราะ "กรรม ทั้งดี/ทั้งชั่ว มันได้เกิดขึ้นแล้ว จากการกระทำของเรานั่นเอง และเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว มันย่อมเกิดผล "ผลแห่งการกระทำ" ช้า/เร็ว มันต้องเกิดผลแห่งการกระทำ นี่คือ สัจจะวิถี ท่ีจะเป็นไปตลอดกาล ตราบท่ีเรา ยังมีชีวิตท่ีต้องดำเนินไป และ ผลท่ีเกิดขึ้น จะยุติธรรมท่ีสุด ยุติธรรมตาม สัจจะวิถี ไม่ใช่ยุติธรรมตามใจตามอารมณ์ ของเราหรือของใครในโลกนี้ครับ
มรรค คือ 在 Kanok Ratwongsakul Fan Page Facebook 八卦
วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา "
แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ "
ปีนี้มีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน จึงตรงกับ
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗
.
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด
ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ
เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ
๑. “ประสูติ” เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖
ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ
ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี หรือราวประมาณ ๒,๖๔๔ ปีก่อน
.
เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน
เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้า
สุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ
พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี
ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ
ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง
เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น
.
ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน
พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น
.
ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ"
ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
(ญาณอันประเสริฐสูงสุด)
สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงถือว่า วันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
.
๒. “ตรัสรู้” เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา
ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี
ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา
เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
.
การตรัสรู้อริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ
ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม
ไม่มีผู้เสมอเหมือน วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลก
.
ชาวพุทธทั่วไปจึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า
พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้น
พระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...
ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ"
คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ"
คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ"
คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่
( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )
ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖
ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา
.
ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่
๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป
.
๓. “ปรินิพพาน” หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศ
พระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ เป็นระยะเวลา
๔๕ พรรษา
.
พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
.
การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีปของโลก
เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา
.
อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก
ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ
ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
.
ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า
และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย
เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า
.
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
.
หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี
บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖
.
ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์
และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ
เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ
พระปัญญาธิคุณ
และพระบริสุทธิคุณ
ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก
--------------
ตามรอย ธรรม
FB : ใต้ร่ม ธรรม
มรรค คือ 在 MROST Youtube 的評價
Next video: https://youtu.be/FrELGI55ogM
★ Subscribe: https://www.youtube.com/mrost/?sub_confirmation=1
★ Instagram: https://instagram.com/mymrost/
★ Facebook: https://www.facebook.com/MYMROST
★ Twitter: https://twitter.com/OkaySalt
★ Youtube: https://www.youtube.com/c/mrost
ชีวิต, คิดสั้น, #ความหมายของชีวิต #กำลังใจ, ทำไมชีวิตคนบางคนถึงมี #ความสุข อยู่ตลอดเวลา ขณะที่บางคนทุกข์อยู่, ทำไมชีวิตมีแต่ความทุกข์ยาก? ชีวิต มี แต่ ทุกข์ ชีวิตไม่มีความสุขเลย ไม่ชอบชีวิตตอนนี้เลย, ชีวิตมันยาก
มรรค คือ 在 มรรค คือศีล สมาธิ ปัญญา :: หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 1 กรกฎาคม ... 的八卦
มรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา :: หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 1 กรกฎาคม 2566 ที่สุดของทุกข์ก็อยู่ตรงที่สุดของขันธ์ ค่อยๆ ฝึก ก่อนจะถึงจุดนี้ ... ... <看更多>