เศรษฐกิจเวียดนาม ยังคงเติบโต สวนกระแสวิกฤต COVID-19!!
.
การแพร่ะบาดของไวรัส COVID-19 นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ได้สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมหาศาล โดยมีการคาดการณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน ที่มีการพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก จะต่ำลงจนถึงขั้นติดลบอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
.
แต่สำหรับ “เวียดนาม” ประเทศเพื่อนบ้านของไทย กลับเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่สามารถปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี ที่แม้จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจ แต่สำหรับ GDP ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ยังคงเป็นบวก แม้จะเติบโตต่ำสุดในรอบทศวรรษก็ตาม โดยเพิ่มขึ้นกว่า 3.82% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
.
ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ในท่ามกลางวิกฤต นักลงทุนไทยกลับแห่ไปลงทุนที่เวียดนามในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2563 กันมากขึ้น โดยเป็นวงเงินลงทุนกว่า 46,000 ล้านบาท รวมถึงแบรนด์ดังต่างย้ายฐานการผลิตมาเวียดนามกันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น Apple ได้ย้ายฐานการผลิต AirPods 30% หรือประมาณ 3-4 ล้านชิ้น จากจีนไปเวียดนาม และ Panasonic ย้ายฐานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ากลุ่มเครื่องซักผ้าและตู้เย็นจากไทยไปที่เวียดนามเช่นกัน
.
หากถามว่าอะไรที่ทำให้เวียดนาม กลายเป็นประเทศเนื้อหอม ที่มีนักลงทุนจากต่างชาติมากมาย อยากเข้ามาลงทุนในประเทศ อันดับแรกคือ ภาพรวมของการเมืองและรัฐบาลมีความเสถียรภาพมั่นคง ผู้นำมีวิสัยทัศน์ ตัดสินใจรวดเร็ว ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในระบบการจัดการ และการบริหารของเวียดนาม อีกทั้งยังรวมถึง ปัจจัยด้านภาษี ค่าแรงถูก โครงสร้างประชากรวัยทำงานมีจำนวนมาก ขยัน ทักษะดี และเป็นแรงงานวิศวะ ไอทีที่มีคุณภาพ
.
ทั้งนี้ เวียดนามยังได้อนุมัติข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป โดยมีความคาดหวังว่าต่อไปในอนาคตจะทำให้ประเทศกลายเป็นแหล่งลงทุนใหม่จากเหล่าประเทศที่ต้องการออกจากจีนอย่างเป็นทางการมากกว่าในปัจจุบันที่แม้จะมีนักลงทุนย้ายมาลงทุน แต่ไม่ทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเวียดนามได้เป็นอย่างดี รวมถึงเวียดนามก็จะสามารถส่งออกสินค้าปลอดภาษีไปยัง EU ได้มากถึง 71% เป็นเวลา 10 ปี ขณะที่ EU ก็สามารถส่งออกสินค้าปลอดภาษีมายังเวียดนามได้ในอัตรา 65% เป็นเวลากว่า 7 ปีด้วยเช่นกัน
.
โดยธนาคารโลก คาดการณ์ว่า จากข้อตกลงการค้าดังกล่าว จะส่งผลให้ GDP ของเวียดนามมีอัตราการขยายตัว 2.4% และการส่งออกจะขยายตัวอีก 12% ในปี 2573 ซึ่งหากเป็นไปตามที่คาดการณ์ ประชาชนในประเทศเวียดนามจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงประชาชนอีกกว่าหลายแสนคนจะได้หลุดพ้นจากความยากจน
.
นอกจากนี้ เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มคลี่คลายดีขึ้น ทางด้านรัฐบาลของเวียดนาม ได้เตรียมพร้อมในการวางแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเรื่องของต้นทุนและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในทุกสายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจสายการบิน กีฬา การท่องเที่ยว การเกษตร และร้านอาหาร
.
ซึ่งจะเห็นได้ว่า รัฐบาลของเวียดนามมีบทบาทในการช่วยเหลือ คลายความเดือดร้อนให้กับประชาชนโดยตรง ภาคเอกชนเองก็ไม่ปล่อยให้ประชาชนผู้เดือดร้อนต้องต่อสู้อย่างเดียวดาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาและช่วยเหลือระหว่างคนในประเทศ แม้จะอยู่ภายใต้ความกดดันในสถานการณ์วิกฤตที่เลวร้าย
.
ดังนั้น ต่อให้วิกฤตจะทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ ทรุดตัวหนัก โดยเฉพาะประเทศไทย ที่แม้มีขนาดเศรษฐกิจ และรายได้เฉลี่ยของประชากรมากกว่าเวียดนามถึง 2 เท่า แต่กลับได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ขณะที่เวียดนาม กลายเป็นอีกหนึ่งประเทศในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนที่น่าจับตามอง เนื่องจากมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด แม้ต้องเผชิญกับวิกฤต แต่ก็มีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่สูงที่สุดในอาเซียน และเชื่อว่าการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของเวียดนามจะไม่ได้หยุดเพียงแค่เท่านี้แน่นอน
ที่มา : https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/vietnam-covid.html?form=2
https://brandinside.asia/vietnam-eu-free-trade-agreement-ratified/
https://globthailand.com/vietnam-09042020/?fbclid=IwAR3p4wRj8P3Ln67UNmoYlbWDN7WxQ1veeFymC1JuMas4Rhwi3anhgwfGipo
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#เวียดนาม #เศรษฐกิจเวียดนาม #COVID19
「ธุรกิจสายการบิน」的推薦目錄:
- 關於ธุรกิจสายการบิน 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook
- 關於ธุรกิจสายการบิน 在 ลงทุนแมน Facebook
- 關於ธุรกิจสายการบิน 在 ลงทุนแมน Facebook
- 關於ธุรกิจสายการบิน 在 รายได้สายการบินฟื้น แต่ยังขาดทุน | จับสัญญาณเศรษฐกิจ | 27 ก.พ. 66 的評價
- 關於ธุรกิจสายการบิน 在 จับตาปีหน้าเปิดตัวสายการบินใหม่ในไทย | BUSINESS WATCH 的評價
- 關於ธุรกิจสายการบิน 在 ทำไม "พาที" คัมแบ็กตั้งสายการบินใหม่ l การตลาดเงินล้าน l 25-03-66 的評價
ธุรกิจสายการบิน 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
ธนาคาร กำลังเจอคลื่นซัด /โดย ลงทุนแมน
ข่าวใหญ่ของเมื่อวาน เรื่องแบงก์ชาติประกาศให้ทุกธนาคาร
งดการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล งดซื้อหุ้นคืน
ในระหว่างจัดทำ “แผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุน”
เรื่องนี้เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า แบงก์ชาติกำลังกังวล กับผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้น
แล้วเรื่องนี้เราควรรู้อะไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
โมเดลธุรกิจของธนาคาร ปกติแล้วจะมีการ LEVERAGE คือมีทุนของเจ้าของเพียงส่วนหนึ่ง และมีการใช้เงินคนอื่นมาทำธุรกิจอีกส่วนหนึ่ง
เงินคนอื่นในที่นี้ ก็คือ เงินฝากของคนทั่วไป
ส่วนการทำธุรกิจหลักของธนาคาร ก็คือ การปล่อยกู้ต่อให้ภาคธุรกิจหรือบุคคลทั่วไป ในดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
ยกตัวอย่าง งบไตรมาส 1 ปี 2020
KBANK ส่วนของเจ้าของ 407,000 ล้านบาท มีเงินรับฝาก 2,202,000 ล้านบาท มีเงินให้สินเชื่อ 1,929,000 ล้านบาท
SCB ส่วนของเจ้าของ 407,000 ล้านบาท มีเงินรับฝาก 2,276,000 ล้านบาท มีเงินให้สินเชื่อ 1,989,000 ล้านบาท
ถ้าโลกนี้ดำเนินไปอย่างปกติ
ธนาคารก็จะได้ดอกเบี้ยที่มากเกินค่าใช้จ่าย ไหลลงมาเป็นกำไรให้ธนาคาร
ได้เงินต้นคืนจากผู้กู้ เมื่อครบกำหนดชำระ แล้วก็นำเงินนั้นไปปล่อยกู้ต่อ วนไปเรื่อยๆ
ถึงแม้ว่าระหว่างนี้จะมีผู้กู้เบี้ยวหนี้บ้าง ไม่จ่ายดอกเบี้ยบ้าง
ก็เป็นเรื่องปกติที่ธนาคารได้ตั้งสำรอง และคาดการณ์ไว้แล้ว
แต่ประเด็นมันอยู่ที่ในวันที่เกิดเรื่องแย่ๆ แบบโควิด-19
ทุกอย่างมันแย่พร้อมกันหมด
ต่อให้สำรองเงินไว้มากเท่าไร
มันก็ไม่แน่ใจเลยว่าจะเพียงพอหรือไม่
ยกตัวอย่างถ้าให้กรณีที่รุนแรงที่สุด ถ้าเงินให้สินเชื่อของธนาคารเป็นหนี้เสีย 30% ด้วยหนี้เสียระดับนี้ถ้ามูลค่าหลักประกันมีน้อย ก็อาจเพียงพอแล้วที่จะทำให้ส่วนเงินกองทุนของธนาคารหายไปจนหมด
และเมื่อเงินทุนธนาคารหายไปหมด มันก็จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกระทบกับเงินรับฝากจากประชาชน
ซึ่งตอนนี้มันไม่มีใครรู้ว่าตัวเลขหนี้เสียจะเป็นเท่าไร
มันจะรุนแรงขนาดไหน
“สถาบันการเงินเป็นธุรกิจที่ดี จนกว่าจะถึงวันเจ๊ง”
คำพูดของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร อธิบายได้ดีถึงเรื่องนี้
นั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้แบงก์ชาติออกมาให้ ทุกธนาคารทบทวนแผนเงินกองทุนใหม่
ให้ธนาคารตรวจสอบว่าลูกค้าที่ได้ขอกู้เงินไป เขาเป็นยังไง มีความเสี่ยงที่จะเป็นหนี้เสียหรือไม่
ลูกค้าที่เป็นร้านอาหาร เงินที่กู้ไปตกแต่งร้านอาหาร ยังมีคนเข้ามากินอยู่ไหม
ลูกค้าที่เป็นโรงแรม เงินที่กู้ไปสร้างโรงแรม มีคนเข้ามาพักบ้างไหม
ลูกค้าที่เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เงินที่กู้ไปสร้างคอนโดขาย มีลูกค้ามาซื้อคอนโดหรือไม่
แต่ถ้าให้มองความจริง
สิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อธนาคารไปตรวจสอบผู้กู้
มันก็รู้ๆกันอยู่ว่า ตอนนี้มันพังกันทั้งระบบ
ผู้กู้เองก็จะตอบว่า “เขาก็ไม่รู้เหมือนกัน” ต้องรอเรื่องนี้ให้จบก่อนถึงจะรู้ว่า เขาจะจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นไหวหรือไม่
เมื่อธนาคารได้ทราบเรื่องแบบนี้ก็สองจิตสองใจ
ธุรกิจรายไหนจะตีว่า มีโอกาสกลับมาได้เป็นปกติ ผ่อนผันให้ไปก่อน
หรือ ธุรกิจรายไหนน่าจะแย่แน่ ไม่มีวันกลับมาได้แล้ว
ประเด็นต่อไปก็คือ แล้วเมื่อไรมันจะจบ
คำว่าจบมันก็ตีความได้ยากมาก ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ
เช่น ถามคำถามเดียวว่า ธุรกิจสายการบิน เมื่อไรจะจบ?
ต่อให้ผู้เชี่ยวชาญปราดเปรื่องในเรื่องสายการบิน ก็ยังไม่รู้ว่ามันจะเป็นอย่างไร
แล้วจะให้ธนาคารมาประเมิน ธนาคารก็ไม่รู้
ดังนั้น
ธนาคารไหนมีหลักการที่ Conservative มาก กำไรของธนาคารก็จะลดลงมาก อาจถึงขั้นขาดทุนหนัก
ส่วนธนาคารไหนมีหลักการ Conservative น้อย ก็อาจมีตัวเลขสวย แต่ข้างในเสี่ยงกว่า
บอกได้เลยว่า
กำไรที่แสดงในงบการเงินของแต่ละธนาคารที่จะเกิดขึ้นในไตรมาส 2 และ ไตรมาส 3 ปีนี้ จะเอามาเทียบกันตรงๆไม่ได้
สิ่งที่เกิดขึ้นกับธนาคารตอนนี้จึงกลายเป็นดินแดนพิศวง ที่กำลังถูกคลื่นซัด
และก็เป็นที่มาว่า ทำไมตลาดยอมให้มูลค่าของธนาคาร เหลือเพียง 0.5 เท่าของมูลค่าตามบัญชี
เพราะนักลงทุนไม่รู้เลยว่ามีอะไรซ่อนอยู่ในนั้น
อย่าว่าแต่นักลงทุนเลย
ธนาคาร ก็ไม่รู้ว่าเงินให้สินเชื่อเหล่านั้นจะเป็นอย่างไร
อย่าว่าแต่ธนาคาร
ผู้ขอสินเชื่อเอง ก็ไม่รู้ว่ากิจการเขาจะเป็นอย่างไร
เพราะเหตุการณ์นี้
พวกเรา ไม่เคยเจอมาก่อนในชีวิต เหมือนกันทั้งหมด
และพวกเรา ก็น่าจะได้พบคำตอบ ไปพร้อมๆกัน เร็วๆนี้..
╔═══════════╗
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
ธุรกิจสายการบิน 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
ใครเป็นเจ้าของเรือ ที่จอดขวางคลองสุเอซ ? /โดย ลงทุนแมน
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ชื่อว่า Ever Given
ประสบกับลมกระโชกอย่างหนัก ทำให้ตัวเรือสูญเสียการควบคุม และเกยตื้นขวางเส้นทางการเดินเรือในคลองสุเอซ ประเทศอียิปต์
ซึ่งเรือ Ever Given ที่ว่านี้ได้เดินทางออกจากท่าเรือในจีน เพื่อที่จะเดินทางไปยังท่าเรือเมืองรอตเทอร์ดามประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยใช้เส้นทางเดินเรือคลองสุเอซเป็นทางผ่านเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
เรือ Ever Given นั้นถือเป็นหนึ่งในเรือบรรทุกสินค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ซึ่งตัวเรือมีความยาวมากถึง 400 เมตร และกว้าง 59 เมตร และสามารถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ได้มากถึง 200,000 ตัน
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็คือ ขณะที่ตัวเรือกำลังแล่นอยู่ในคลอง ก็ได้เจอกับลมกระโชกแรง จนทำให้ตัวเรือเสียการควบคุมและหันขวางช่องทางการเดินเรือ
และด้วยความที่ความกว้างของคลองในบริเวณนั้น น้อยกว่า ความยาวของตัวเรือ
เส้นทางสัญจรของเรือในตรงนั้นของคลองสุเอซ จึงต้องหยุดชะงักทันที เนื่องจากเรือขนส่งสินค้าลำอื่น ๆ ไม่สามารถสัญจรผ่านไปได้
โดย คลองสุเอซ นั้นถือเป็นหนึ่งในช่องทางเดินเรือที่มีการสัญจรมากที่สุดในโลก
เป็นคลองที่เชื่อมระหว่างทะเลแดงไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเป็นช่องทางการเดินเรือที่สำคัญระหว่างเอเชียและยุโรป ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีระยะทางที่สั้นกว่า จากเดิมที่ต้องไปอ้อมที่แหลมกู๊ดโฮป ประเทศแอฟริกาใต้
เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้การขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางไปยังยุโรปได้รับผลกระทบ และทำให้ราคาน้ำมันดิบ Brent พุ่งสูงขึ้นกว่า 2.9%
เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ บางคนอาจสงสัยว่า
แล้วใคร ที่เป็นเจ้าของเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่อย่าง Ever Given ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
คำตอบคือ เรือ Ever Given อยู่ภายใต้การดูแลของ Evergreen Marine Corporation บริษัทสัญชาติไต้หวัน ที่ทำธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเล และให้บริการตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน
บริษัทแห่งนี้ ถูกก่อตั้งขึ้นโดยคุณ Chang Yung-fa ซึ่งตรงกับช่วงที่ไต้หวันนั้นถูกปกครองโดยจักรวรรดิญี่ปุ่น
คุณ Chang เคยเป็นพนักงานของบริษัทเดินเรือสัญชาติญี่ปุ่น และเคยทำงานในบริษัทเดินเรือสัญชาติไต้หวันมากมาย จนไต่เต้าได้เป็นกัปตัน ทำให้เขามีประสบการณ์ในด้านการเดินเรืออยู่พอสมควร จนสุดท้าย เขาจึงตัดสินใจก่อตั้งบริษัท Evergreen Marine Corporation ขึ้นในปี 1968
โดยเขาได้ทำการกู้เงินจาก Japan's Marubeni Trading House
เพื่อที่จะซื้อเรือขนส่งสินค้ามือ 2 ที่ชื่อว่า “Central Trust”
โดยให้บริการส่งสินค้าไปทุกที่ที่ลูกค้าต้องการ และส่งสินค้าตรงตามเวลาที่กำหนด
หลังจากดำเนินธุรกิจไปได้ประมาณ 1 ปี เขาได้รับงานให้ขนส่งสินค้าไปยังอ่าวเปอร์เซีย
ซึ่งเป็นงานที่เขาได้รับค่าบริการสูงมาก ทำให้เขาเริ่มสนใจเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าไปยังภูมิภาคนี้
ประจวบกับเป็นช่วงที่ประเทศในตะวันออกกลางเริ่มมีฐานะร่ำรวยขึ้นจากการค้าขายน้ำมัน
แต่กลับกลายเป็นว่า คู่แข่งรายอื่น ๆ ของเขากลับให้ความสนใจไปยังตลาดทวีปอเมริกาและยุโรปเสียมากกว่า
โดยเหตุนี้เองจึงทำให้เขาจัดหาเรือขนส่งสินค้าเพิ่มเติม
และขยายเส้นทางเดินเรือหลัก โดยเน้นให้บริการเส้นทางในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นหลัก
หลังจากที่ประสบความสำเร็จในตลาดตะวันออกกลางแล้ว เขาก็ได้ขยายเส้นทางเดินเรือข้ามทวีปมากขึ้น
โดยให้บริการในหลายประเทศ ทั้งยังมีการเริ่มตั้งสำนักงานนอกไต้หวัน และมีการไปเป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัทเดินเรือสัญชาติอื่น อย่างเช่น บริษัท Italia Marittima ในอิตาลี
ต่อมาในปี 1987 เขาก็ได้นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน
ภายใต้ชื่อบริษัท Evergreen Marine Corporation
โดยปัจจุบัน Evergreen Marine Corporation มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ประมาณ 236,000 ล้านบาท
มีเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่กว่า 170 ลำ
ให้บริการครอบคลุม 240 ท่าเรือใน 80 ประเทศทั่วโลก
และกลายเป็นหนึ่งในบริษัทขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
แล้ว Evergreen Marine Corporation มีรายได้เท่าไร ?
ปี 2019 รายได้ 207,000 ล้านบาท กำไร 122 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 225,000 ล้านบาท กำไร 26,000 ล้านบาท
ที่น่าสนใจคือนอกจากธุรกิจเดินเรือแล้ว
คุณ Chang Yung-fa ได้มีความตั้งใจที่จะทำให้อุตสาหกรรมการบินในไต้หวันมีการพัฒนาขึ้น
โดยเขาได้ก่อตั้งบริษัท Evergreen Airways ขึ้นมาในปี 1989
แต่ด้วยความที่ชื่อ “Evergreen” นั้นไปตรงกับชื่อของสายการบินขนส่งสินค้าสัญชาติอเมริกันอย่าง “Evergreen International Airlines” จึงทำให้เขาได้เปลี่ยนชื่อสายการบินเป็น “EVA Air” ในเวลาต่อมา
EVA Air ได้พยายามขยายเส้นทางการบินไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งยังให้บริการขนส่งสินค้าโดยเน้นการให้บริการอย่างครบครัน
จากการจัดอันดับโดย Skytrax ซึ่งจัดอันดับสายการบินที่ดีที่สุดในโลก โดยวัดจากประสบการณ์ของลูกค้าเมื่ออยู่บนเครื่องบิน และประสิทธิภาพบนเครื่องบิน
EVA Air ถูกจัดให้เป็น สายการบินที่ดีที่สุดอันดับที่ 6 ของโลก ในปี 2020 ซึ่งสามารถเอาชนะสายการบิน China Airlines ซึ่งเป็นสายการบินประจำชาติไต้หวันที่ตั้งมาก่อนอีกด้วย
ปัจจุบัน EVA Air มีมูลค่า 82,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นสายการบินที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับที่ 2 ในไต้หวัน
รองจาก China Airlines ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติไต้หวัน ที่มีมูลค่า 87,000 ล้านบาท
ยิ่งไปกว่านั้น ในปี 1995 EVA Air ได้ทำการเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของสายการบิน Makung Airlines ซึ่งเป็นสายการบินที่ให้บริการภายในไต้หวันเป็นหลัก และได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น UNI Air
นอกเหนือจากการให้บริการสายการบินแล้ว EVA Air ยังได้เปิดตัว Evergreen Aviation Technologies Corporation หรือเรียกว่า EGAT ซึ่งได้จับมือกับบริษัทเทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริกาอย่าง General Electric ที่ให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงเครื่องบิน
ยิ่งไปกว่านั้น Evergreen ยังได้เข้าสู่ธุรกิจ Evergreen International Corporation ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรมและรีสอร์ต ที่ให้บริการในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ไต้หวัน, จีน, มาเลเซีย, ฝรั่งเศส และไทย
ซึ่งถ้าเคยสัญจรไปมาบนถนนสาทร เราจะเห็นป้ายโลโก Evergreen ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นป้ายของโรงแรมนั่นเอง
โดยทั้ง ธุรกิจการขนส่งทางเรือ, ขนส่งทางอากาศ, ธุรกิจสายการบิน และธุรกิจโรงแรม
ทั้งหมดนี้ อยู่ภายใต้การดูแลของ Evergreen Group
ถึงแม้ว่าคุณ Chang Yung-fa จะเสียชีวิตไปแล้วในปี 2016
แต่สิ่งที่เขาสร้างมาทำให้เราได้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของ Evergreen Group
ถึงแม้ว่าหลายคน อาจไม่เคยได้เห็นเรือขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่อย่าง Ever Given
สิ่งที่เราน่าจะคุ้นเคยอีกอย่างก็คือ
โลโก Evergreen แปะหน้าตู้คอนเทนเนอร์ บนรถบรรทุกที่วิ่งไปมาในประเทศไทย นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bbc.com/news/world-middle-east-56505413
-https://www.usatoday.com/story/news/world/2021/03/24/suez-canal-blocked-mv-ever-given-disrupting-shipping-route-trade/6979117002/
-https://www.evergreen-marine.com/tbi1/jsp/TBI1_CorporateProfile.jsp
-https://www.manifestdb.com/carrier-Evergreen.html
-https://www.worldairlineawards.com/
-https://www.uniair.com.tw/rwd/CMS/about/history
-https://finance.yahoo.com/quote/2603.TW/financials?p=2603.TW
-https://www.referenceforbusiness.com/history2/5/Evergreen-Marine-Corporation-Taiwan-Ltd.html
ธุรกิจสายการบิน 在 จับตาปีหน้าเปิดตัวสายการบินใหม่ในไทย | BUSINESS WATCH 的八卦

การ ที่ภาคท่องเที่ยวฟื้นตัวเร็วทำให้ ธุรกิจการบิน ในประเทศปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน ... ... <看更多>
ธุรกิจสายการบิน 在 ทำไม "พาที" คัมแบ็กตั้งสายการบินใหม่ l การตลาดเงินล้าน l 25-03-66 的八卦

ทำไม "พาที" คัมแบ็กตั้ง สายการบิน ใหม่ l การตลาดเงินล้าน l 25-03-66หลังออกจากวงการ สายการบิน เมื่อ 5 ปีที่แล้ว สำหรับคุณพาที สารสิน ... ... <看更多>
ธุรกิจสายการบิน 在 รายได้สายการบินฟื้น แต่ยังขาดทุน | จับสัญญาณเศรษฐกิจ | 27 ก.พ. 66 的八卦
ในปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ ธุรกิจสายการบิน เริ่มยิ้มออก หลังนักท่องเที่ยวเดินทางมาไทยมากกว่า 11 ล้านคน ส่งผลให้รายได้ของสายการบินต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ... ... <看更多>