ประเทศแถบหนาว เจริญกว่า ประเทศแถบร้อน จริงหรือ? /โดย ลงทุนแมน
ถ้าถามว่า ประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่ไหน ?
คำตอบคือ ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ที่ตั้งอยู่ในเขตที่มีอากาศหนาวเย็น
ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ จะอยู่ในทวีปเอเชียและแอฟริกา ที่มีอากาศร้อนกว่า
จึงมีคนเคยตั้งข้อสังเกตว่า จริง ๆ แล้วสภาพอากาศ
อาจมีอิทธิพลต่อการพัฒนาประเทศ
ประเทศแถบหนาว ต้องเจริญกว่า ประเทศแถบร้อน จริงหรือ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาดูข้อมูลเหล่านี้กันก่อนว่า แนวคิดดังกล่าวสะท้อนความจริงของเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน
รู้ไหมว่า ประเทศที่มีมูลค่าเศรษฐกิจขนาดใหญ่เมื่อวัดตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จะเป็นประเทศที่อยู่ในเขตหนาว และส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
โดย 10 ประเทศ ที่มี GDP มากที่สุดในโลก เมื่อเอา GDP มาบวกรวมกันแล้ว จะมีมูลค่าประมาณ 1,980 ล้านล้านบาท หรือเกือบ 70% ของ GDP ทั้งโลก
ซึ่ง 10 ประเทศนั้นมาจาก
- ทวีปอเมริกาเหนือ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา
- ทวีปยุโรป 4 ประเทศ คือ เยอรมนี สหราชอาณาจักร อิตาลี และฝรั่งเศส
- ทวีปเอเชีย 4 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และอินเดีย
ถ้าไม่นับจีนและอินเดีย ที่มี GDP สูงจากจำนวนประชากรที่มาก
ประเทศที่เหลือทั้งหมดจะเป็นประเทศที่อยู่ในเขตที่มีอากาศหนาว
อีกประเด็นคือ ประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงสุด 10 อันดับแรกของโลก มาจาก
- ทวีปยุโรป 6 ประเทศ คือ ลักเซมเบิร์ก สวิตเซอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และเดนมาร์ก
- ทวีปอเมริกาเหนือ 1 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา
- ทวีปเอเชีย 2 ประเทศ คือ สิงคโปร์และกาตาร์
- ทวีปออสเตรเลีย 1 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีอากาศหนาว
ยกเว้น สิงคโปร์และกาตาร์ ที่ตั้งอยู่เขตอากาศร้อน
และออสเตรเลียนั้น เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่
ที่มีพื้นที่ทั้งที่มีอากาศหนาวเย็น และบางพื้นที่มีอากาศอบอุ่นถึงร้อน
ซึ่งที่น่าสนใจคือ เมืองดาร์วินที่เป็นเมืองหลวงของรัฐนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี รัฐทางตอนเหนือของออสเตรเลีย เป็นเมืองหลวงที่ร้อนที่สุดในประเทศ และเป็นเมืองหลวงที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวน้อยที่สุดในบรรดา 6 รัฐของออสเตรเลีย
จากข้อสังเกตเหล่านี้ จึงทำให้เกิดความเชื่อกันว่า ประเทศหรือพื้นที่ที่มีอากาศหนาวมักจะเจริญกว่าประเทศหรือพื้นที่ที่มีอากาศร้อน
David Landes อาจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Harvard เคยกล่าวไว้ว่า สำหรับประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศในแถบร้อน การจะมีชีวิตอยู่รอดได้ ผู้คนเหล่านั้นควรต้องทำงานช้าลง เพราะเหงื่อจะออกมาก ซึ่งนั่นอาจหมายถึง ผลิตภาพในการผลิต (Productivity) จะลดลงไปด้วย
สำหรับประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาว นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเชื่อว่า สภาพอากาศที่เย็น ทำให้ผู้คนจำเป็นต้องมีการวางแผนและร่วมมือมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในฤดูหนาว
เช่น ในสมัยโบราณ การล่าสัตว์และการหาอาหารนั้น ถือว่าทำได้ยากในฤดูหนาว ทำให้มนุษย์ในสมัยก่อนต้องวางแผนล่วงหน้า ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านั้น
การอาศัยในพื้นที่ที่หนาวเย็น ยังบังคับให้ผู้คนบริเวณนั้น ต้องหาทางสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความหนาวเย็น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือระหว่างคนหลายฝ่ายเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ
ในขณะที่ถ้าลองเทียบกับประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบร้อน จะพบว่า มนุษย์ที่อาศัยในภูมิอากาศแบบเขตร้อนที่มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมมากเท่าไรนัก
ขณะที่การล่าสัตว์และหาอาหาร ก็สามารถทำได้สะดวกกว่าตลอดทั้งปี
แม้หลักฐานหลายอย่างจะบอกว่า สภาพอากาศเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งผลต่อการพัฒนาประเทศหรือระดับของคุณภาพชีวิตของประชากรในพื้นที่หรือประเทศนั้น ๆ
แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง เราก็จะเห็นว่า มีหลายประเทศที่ไม่ได้มีอากาศหนาว แต่กลับสามารถพัฒนาประเทศให้ก้าวขึ้นไปเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
เช่น สิงคโปร์ และหลายประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง
ทั้งนี้ก็เพราะว่า การพัฒนาประเทศมันไม่ได้มีแค่ ปัจจัยเรื่องอุณหภูมิในประเทศเพียงเท่านั้น
แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญไม่แพ้กัน เช่น ความมั่นคงทางการเมือง เสถียรภาพของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ ความมั่งคั่งของทรัพยากรทางธรรมชาติของแต่ละประเทศ และคุณภาพประชากร
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ กรณีของสิงคโปร์
ที่แม้ว่าจะเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน ทั้งยังเป็นประเทศที่เพิ่งเกิดขึ้นในปี 1959 หรือเมื่อ 62 ปีที่แล้วเท่านั้น แต่ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในปัจจุบัน
ด้วยความที่สิงคโปร์นั้นเป็นเกาะขนาดเล็กและไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายเหมือนหลายประเทศในเอเชีย ทำให้ในอดีตสิงคโปร์เคยถูกมองว่า จะเป็นประเทศที่ไม่สามารถพัฒนาจนร่ำรวยได้
อย่างไรก็ตาม การที่ผู้นำของสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นพัฒนาทรัพยากรบุคลากร ให้มีความรู้ทั้งด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยี
มีการลงทุนพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ อย่างกรณีของท่าเรือที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีการขนถ่ายสินค้าผ่านตู้คอนเทนเนอร์มากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
หลังจากนั้นก็ต่อยอดมาเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก จนตอนนี้ได้ตั้งเป้าเพื่อเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีและสตาร์ตอัปของภูมิภาค ด้วยการดึงผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้เข้ามาทำงานในประเทศมากขึ้น
ยังไม่รวมการที่รัฐบาลสิงคโปร์มุ่งมั่นในการปราบคอร์รัปชันอย่างต่อเนื่อง จนทำให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index) สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
สิ่งเหล่านี้ก็ช่วยทำให้เกาะเล็กอย่างสิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศพัฒนาแล้วและมีรายได้ต่อหัวของประชากรมากเป็นอันดับ 8 ของโลกในวันนี้
กรณีของประเทศในตะวันออกกลาง ที่อยู่ในเขตร้อนอย่าง กาตาร์ ก็เช่นเดียวกัน
แม้กาตาร์จะมีความโชคดี ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่จำนวนมหาศาล
มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบ 25,244 ล้านบาร์เรล หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 55 ล้านล้านบาท สูงเป็นอันดับที่ 14 ของโลก
แต่กาตาร์ก็รู้ว่า ในอนาคตรายได้จากน้ำมันมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้น รายได้ดังกล่าวจึงต้องถูกนำมาใช้และบริหารเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
อย่างในปี 2008 รัฐบาลกาตาร์ได้ออกแผน Qatar National Vision 2030 ซึ่งเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกาตาร์ เพื่อพัฒนาด้านบุคลากร เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม สำหรับรองรับความท้าทายและกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
หนึ่งในนั้นคือ การลงทุนด้านการศึกษาซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาบุคลากรของประเทศ
อย่างเช่น การจัดตั้ง Education City ด้วยการดึงมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกทั้งจากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส เข้ามาตั้งเป็นวิทยาเขตในประเทศ
วันนี้ ประชาชนชาวกาตาร์ มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก และถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นกัน
สรุปคือ แม้เราจะเห็นหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นกันมาก และแม้ว่าความหนาวเย็นของอากาศในประเทศ จะมีผลต่อ Productivity ของคนในประเทศนั้นไม่มากก็น้อย
แต่อย่าลืมว่า การจะเป็นประเทศที่คนมีรายได้สูง และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น มันไม่สามารถตัดสินได้ด้วยปัจจัยเรื่องความสูงต่ำของอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว
ซึ่งเราคงบอกได้ว่า ถ้าประเทศนั้นมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจน
ใช้จุดเด่นของประเทศให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ไม่ว่าประเทศนั้นจะตั้งอยู่ตรงไหนของแผนที่โลก
อากาศในประเทศจะร้อนหรือจะหนาว
ประเทศนั้น ก็คงสามารถกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้เช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.sgsep.com.au/assets/main/SGS-Economics-and-Planning-Economic-performance-fo-asutralias-cities-and-regions-report.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://www.dailymail.co.uk/news/article-8477297/Why-colder-countries-richer-hot-nations.html
-https://data.worldbank.org/
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_proven_oil_reserves
-https://www.transparency.org/en/cpi/2020/index/nzl
-https://en.wikipedia.org/wiki/Education_City
- http://www.futurecasts.com/Landes,%20Wealth%20&%20Poverty%20of%20Nations.html
-https://blogs.worldbank.org/opendata/new-world-bank-country-classifications-income-level-2020-2021
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過157萬的網紅Carabao Official,也在其Youtube影片中提到,เนื้อเพลง ถึงแม้ลูกโลกเรา กลมป้อมๆ แต่ผู้คนผ่ายผอม เต็มตามโลก เต็มบ้านเต็มเมือง ตามป่าเขา ทั้งเด็กน้อยหนุ่มสาว เฒ่าชรา ทั้งอาฟริกา ทวีปเอเชีย เอ ธิโอเ...
ทวีปเอเชีย 在 Mao-Investor Facebook 八卦
#VCsหรือแชร์ลูกโซ่
วันก่อนได้รับการชักชวนให้ไปทำอาชีพ Venture Capitalist ไอ่เราก็อยากรวยอยู่แล้วก็ตาลุกวาว รีบถามรายละเอียดมา
คอนเซปคือการร่วมระดมทุนจากคนในเนตเพื่อลงทุนในบริษัทพวก Startup (แหม่ อินเทรนด์) หรือบริษัทขนาดเล็กที่มีศักยภาพที่จะเติบโต เป็น Network Crowdfunding (ใช้ศัพท์ดูไฮโซมาก) เพื่อระดมทุนเข้าจดทะเบียนในตลาด NASDAQ (โอ้ว ตลาดหุ้นเมกา)
หน้าที่ของ Venture Capitalist หรือ VCs ก็คือ ไปหานักลงทุนมาให้บริษัท แล้วบริษัทก็จะให้คอมมิชชันเรา
บริษัทจะเอาเงินเราไปขยายและซื้อกิจการเพิ่ม ซึ่งกิจการส่วนมากอยู่ในต่างประเทศทั้งนั้น อินเตอร์ขั้นสุด เรามาดูกันว่าปัจจุบันบริษัทมีกิจการอะไรบ้าง
-สนามกอล์ฟและรีสอร์ทสุดหรู ณ มาเลเซีย
-บริษัทขายเครื่องประดับและอัญมณี ณ อิตาลี
-บริษัทแข่งรถ ณ มาเลเซีย
-บริษัทขายเครื่องสำอางค์ อาหารเสริม
-ธุรกิจค้าทองคำ ณ มาเลเซีย
-ธุรกิจซอฟแวร์ ณ ทวีปเอเชีย
-ธุรกิจขายอุปกรณ์ไอที
-อสังหาริมทรัพย์ ณ เชียงใหม่
-สปาและนวดแผนโบราณ ณ มาเลเซีย
-โบรกเกอร์ Forex
ฯลฯ
ซึ่งทุกกิจการแลดูดำเนินงานอยู่จริงๆ เจริญรุ่งเรือง และน่าเชื่อถือมาก
แต่ก่อนจะเป็น VCs ไปหานักลงทุนมาได้นั้นเราต้องร่วมลงทุนกับบริษัทก่อน มีเป็นแพคเกจ ประมาณหมื่นกว่าบาทถึงสามล้านกว่าบาท ถ้าลงทุนหมื่นกว่าบาท จะได้ผลตอบแทน 16-24% ต่อปี ถ้าลงทุนสามล้านกว่าบาทจะได้ผลตอบแทนปีละ 22%-36% ต่อปี เยอะชิมิล่า
พอร่วมลงทุนแล้วเราก็ไปหาเหยื่อ เอ้ย หานักลงทุนมาเพิ่มได้ หาได้ 1 คนก็ได้ 10% ไปเลย แถมถ้าสร้างทีมได้จะได้คอมมิชชัน 10% ต่อวัน ย้ำว่าต่อวัน
นี่มันเข้าคอนเซปแชร์ลูกโซ่ชัดๆ
#คอนเซปแชร์ลูกโซ่
1. การันตีผลตอบแทนล่อตาล่อใจ
2. ต้องหาสมาชิก
พี่เม่าเลยถามไปว่า ทำไมได้ดอกเบี้ยเยอะจุง ผู้ชวนตอบว่า ไม่เยอะนะ 20% สำหรับการทำธุรกิจอะ เหมือนขายก๋วยเตี๋ยวลงทุน 500 บาท ขายได้ 600 บาท มันทำได้อยู่แล้ว
พี่เม่าจึงถามต่อว่า ธุรกิจแยะขนาดนี้ ไปกู้แบงก์น่าจะเสียดอกเบี้ยน้อยกว่ามาปันให้นักลงทุน 20-30% นะ อาเฮียขายตี่จู่เอี้ยแถวบ้าน ธุรกิจ SME ธรรมด๊าธรรมดา กู้แบงก์เสียดอกเบี้ยปีละไม่ถึง 10% เลย แล้วนี่กิจการคุณมีเป็นสิบเลย แถมดูมั่นคงทุกอัน บางอันอยู่ในตลาดหุ้นด้วย แบงก์ปล่อยกู้สบายๆ อยู่แล้ว ผู้ชวนตอบว่า เพราะแบงก์มีความเสี่ยง อย่างแบงก์เยอรมันยังจะล้มเลย พี่เม่าโคดงง ปล่อยกู้นี่แบงก์ตะหากที่มีความเสี่ยง แถมแบงก์ล้มก็ดีเด่ะ เหมือนกู้เงินมาแล้วเจ้าหนี้ตายอ่ะ มีโอกาสหนีหนี้ได้อีก แล้วมาชวนเม่าลงทุนนี่ไม่เสี่ยงหรา
ซึ่งคิดง่ายๆ ว่าถ้ากิจการมันให้ผลตอบแทนดีขนาดนี้ ทำไมนักธุรกิจใหญ่ๆ อย่างเจ้าสัว CP หมอประเสริฐ หรือ คุณตัน อิชิตัน ไม่ไปลงทุนล่ะ ไม่ต้องบริหารธุรกิจเองให้ลำบากแล้ว ไปเป็น VCs ได้ผลตอบแทนปีละ 36% สบายๆๆ แถมสร้างทีมรับ 10% ต่อวันรัวๆ อีก
#ถ้ามีคนมาชักชวนลงทุนอะไรแบบนี้ให้คิดไว้ก่อนเลย
1. ถ้ามันให้ผลตอบแทนสูงจริง เจ้าสัวต้องไปทำแล้ว
2. ถ้ามันยิ่งใหญ่จริง ทำไมไม่กู้แบงก์ เสียดอกเบี้ยน้อยกว่าจ่ายเรา
3. ทำไมต้องชักชวนคนอื่น ถ้าผลตอบแทนดีจริงแบบไร้ความเสี่ยง เจียดเงินมาโฆษณาลงหนังสือพิมพ์เลย แปปเดียวระดมทุนได้อื้อซ่า ขนาดหุ้นกู้ junk bond เครดิตเรตติ้งต่ำๆ ดอกเบี้ยไม่ถึง 10% ยังมีคนแย่งกันซื้อเลย
4. ถ้ามีเวลาให้เข้าไปดูงบการเงินของแต่ละกิจการ ว่าอัตรากำไรสุทธิเท่าไหร่ ถ้าไม่เท่าอัตราผลตอบแทนที่การันตี ก็ควรฉุกคิดสักนิดว่าเขาจะเอาเงินจากไหนมาจ่ายให้เรา
ธรรมชาติของแชร์ลูกโซ่ จะจ่ายเงินจริงตราบใดที่ยังหาเหยื่อเข้ามาได้ เอาเงินของลูกทีมใหม่ๆ ไปจ่ายลูกทีมรายแรกๆ ซึ่งลูกทีมที่ได้เงินจริงก็จะเอาไปพูดปากต่อปากว่าได้ดอกเบี้ยจริง ถอนเงินต้นได้จริง ไม่หลอกลวง แต่ไม่มีใครรู้ว่ามันจะจบลงเมื่อไหร่(นอกจากท้าวแชร์) อาจจะพรุ่งนี้ มะรืนนี้ หรืออีก 10 ปีก็ได้ อารมณ์ว่าลุกช้าจ่ายรอบวง ซึ่งบริษัทพวกนี้ก็ยังเปิดเรื่อยๆ นะ เปลี่ยน product ไปเรื่อยๆ ช่วง Bitcoin ดังก็อ้างอิง Bitcoin ช่วง Startup ดัง ก็อ้างอิง Startup
แชร์ลูกโซ่อันโด่งดังรายล่าสุดที่เพิ่งปิดตัวไปเมื่อ 1-2 ปีก่อนก็อารมณ์นี้ คือเป็นบริษัทต่างประเทศเข้ามาระดมทุนในไทย มีความน่าเชื่อถือ มีความจ่ายจริง แต่สุดท้ายก็ปิดตัวไปในที่สุด ซึ่งคนไทยโดนหลอกไปเยอะมากจนบัดนี้ยังตามเงินคืนไม่ได้ นั่นคือ UFUN ข่าวก็ลง
http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9580000044261
เขียนเล่าอย่างยาว ยังไม่ได้สรุปว่าธุรกิจ VCs อะไรนี่จะโกงหรือเปล่า แค่ตั้งข้อสังเกตนะจ๊ะ ใครกำลังลงทุนอยู่ก็ไปตรวจสอบกันเอาเอง เงินของท่านท่านต้องดูแลเอง ถ้าไปได้ดีก็ยินดีด้วยจากใจจริง แต่พี่เม่าคงไม่ค่อยสะดวกละ 5555+
การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดใช้วิจารณญาณในการลงทุน และถ้ายังไม่ชัวร์ ฝากแบงก์ไว้เฉยๆ ดีกว่า ถึงได้ดอกเบี้ยน้อยแต่เงินต้นไม่หายนะจ๊ะ
ทวีปเอเชีย 在 sittikorn saksang Facebook 八卦
การพิจารณารูปแบบของรัฐโดยพิจารณาจากประมุขของรัฐ
เมื่อเราพิจารณารูปแบบของรัฐโดยอาศัยประมุขของรัฐเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจะแยกรูปแบบการครองของรัฐ ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ราชอาณาจักร (Kingdom) กับ สาธารณรัฐ (Republic) ดังนี้
1.1 ราชอาณาจักร
ราชอาณาจักร (Kingdom) คือ รัฐที่มีพระมหากษัตริย์ (King) เป็นประมุขซึ่งการเข้าสู่ตำแหน่งพระมหากษัตริย์เป็นไปตามวิธีการสืบราชสันตติวงศ์และสถานะของประมุขของรัฐที่เป็นพระมหากษัตริย์จะอยู่ในฐานะที่ละเมิดไม่ได้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทางการเมือง จะถูกฟ้องร้องในคดีแพ่งคดีอาญาไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงเกิดหลักสำคัญในประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คือ หลักที่ว่า “The King do no Wrong” ซึ่งหมายความว่า การกระทำของพระมหากษัตริย์ไม่เป็นความผิด ไม่มีผู้ใดสามารถฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางแพ่งหรือทางอาญาได้ ไม่มีผู้ใดจะวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ในทางการเมืองได้ รูปแบบของรัฐระบอบการเมืองซึ่งพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมี 2 ระบอบ คือ
1.1.1 ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) คือ ระบอบที่มีการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นประมุขของรัฐและพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจเป็นล้นพ้น กล่าวคือ ไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใดๆ ในทางกฎหมาย พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือกฎหมายทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์จึงเป็นล้นพ้นมีพระราชอำนาจในทุกทางไม่มีข้อจำกัด หากแต่จะมีข้อจำกัดก็เป็นเพราะพระมหากษัตริย์ทรงจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์เองที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม" ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดในทางศีลธรรมพระมหากษัตริย์ที่ดีจะทรงไว้ซึ่ง “ทศพิธราชธรรม” แต่ถ้าพระมหากษัตริย์จะทำการขัดต่อทศพิธราชธรรมก็ไม่ได้หมายความว่าการกระทำของพระมหากษัตริย์เป็นโมฆะ
แต่อย่างไรก็ตามในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่สมบูรณ์แบบในอดีตนั้นไม่มีอีกแล้ว แต่ยังคงมีระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในลักษณะที่เรียกว่า “ระบอบปรมิตาญาสิทธิราชย์ (Limited Monarchy)” หรือ เรียกว่า “ระบอบราชาธิปไตย” ในระบอบการปกครองแบบนี้กษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจทุกประการ เว้นแต่ที่ต้องถูกจำกัดโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เช่น การบัญญัติกฎหมายเป็นอำนาจของรัฐสภา การกำหนดงบประมาณแผ่นดินต้องให้รัฐสภาเห็นชอบก่อน การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นอำนาจของผู้พิพากษาคดีตามบทกฎหมาย แต่อำนาจบริหารนั้นเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยแท้ คือ ทรงแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ เป็นต้น การปกครองในระบอบนี้มีใช้อยู่ 5 ประเทศกับ 1 รัฐ คือ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ประเทศสวาซิแลนด์ ประเทศบรูไน ประเทศโอมาน ประเทศกาตาร์ และ นครรัฐวาติกัน
1.1.2 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) หมายความว่า เป็นระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์จะทรงมีพระราชอำนาจเพียงเท่าที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายถวายแด่พระองค์เท่านั้น ในกรณีที่ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายถวายพระราชอำนาจด้านใดให้พระมหากษัตริย์ ก็หมายความว่า พระมหากษัตริย์ไม่มีพระราชอำนาจในประการนั้น เช่น ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับเรียกว่า “การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ปัจจุบัน มีอยู่ 22 ประเทศด้วยกัน เช่น ประเทศไทย ประเทศอังกฤษ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอันดอรา ประเทศสเปน เป็นต้น
รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั้งในการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในลักษณะระบอบราชาธิปไตยกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีหลายประเทศด้วยกันในแต่ละทวีป ดังนี้
1.1.2.1 รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั้งในการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในลักษณะระบอบปรมิตาญาสิทธิราชย์หรือเรียกว่าระบอบราชาธิปไตย โดยมีชื่อเรียกเป็นทางการ ดังนี้
1. ทวีปอัฟริกา คือ ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ (Kingdom of Swaziland) เป็นรัฐเล็กๆอยู่ใกล้กับอัฟริกาใต้
2. ทวีปยุโรป คือ นครรัฐวาติกัน (Stato della Citta del Vaticano)
3.ทวีปเอเชีย เช่น ราชอาณาจักรฮัชไมจอร์แดน (Hashermite Kingdom of Jordan) ราชอาณาจักรซาอุดิอารเบีย (Kingdom of Saudi Arabia) รัฐสุลต่านโอมาน (Sultanate of Oman) รัฐการ์ตา (State of Qatar) รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam)
1.1.2.2 รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ มีชื่อเรียกเป็นทางการดังนี้
1.ในทวีปอเมริกาเหนือ เช่น บีไลซ์ (Belize) ซึ่งเป็นรัฐเล็กๆอยู่ติดกับเม็กซิโกและกัวเตมาลา
2.ทวีปอัฟริกา เช่น ราชอาณาจักรมอร็อคโค (Kingdom of Morocco) ราชอาณาจักรเลโซโท (Kingdom of Lesotho) เป็นรัฐเล็กๆที่อยู่ใกล้กับอัฟริกาใต้
3.ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย เช่น ราชอาณาจักรตองกา (Kingdom of Tonga)
4.ทวีปยุโรป เช่น สหราชอาณาจักรแห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนเหนือ (United Kingdom of Great Britian and Northern Irland) ราชอาณาจักรเดนมาร์ก (Kingdom of denmark) ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Kingdom of Norway) ราชอาณาจักรสวีเดน (Kingdom of Sweden) ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม (Kingdom of Spian) ราชอาณาจักรลักแซมเบอร์ก (Grand Duchy of Luxembourg) ราชรัฐโมนาโค (Principality of Monaco) ราชรัฐลิกเตนสไตน์ (Principality of Ligtenstine) ราชรัฐอันดอรา (Principality of Undora) ราชอาณาจักรสเปน (Kingdom of Spain)
4.ทวีปเอเชีย เช่น ราชอาณาจักรฮัชไมจอร์แดน (Hashermite Kingdom of Jordan) รัฐคูเวต (State of Kuwait) รัฐบาเรนห์ (State of Barain) ญี่ปุ่น (Japan) ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan) ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) มาเลย์เซีย (Malaysia) และ ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
ข้อสังเกต ชื่อประมุขของรัฐและชื่อเรียกของรัฐนั้นจะมีการเรียกอย่างเป็นทางการที่แตกต่างกัน คือ
1.ถ้าประมุขของรัฐเป็นพระมหากษัตริย์หรือราชินี เราเรียกรัฐนั้นว่า “ราชอาณาจักร” (Kingdom) ถ้าประมุขของรัฐเป็นเจ้าชาย (Prince) หรือ ดยุ๊ค (Duchy) เราเรียกรัฐนั้นว่า “Grand Duchy” หรือ ราชรัฐ เราเรียกรัฐนั้นว่า “Principality”
2.มีรัฐที่มีชื่อเรียกประมุของรัฐแตกต่างกัน คือ
1) รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เช่น คูเวต บาร์เรนห์ การ์ตา หรือบรูไน ไม่ใช้คำว่า “ราชอาณาจักร” (Kingdom) ประกอบชื่อ กลับใช้คำว่า “รัฐ” (State) ซึ่งเป็นคำกลางๆประกอบชื่อ ซึ่งรัฐเหล่านี้จะเป็นรัฐเล็กๆทั้งสิ้น
2) รัฐที่ใช้คำว่า “รัฐสุลต่าน” (Sultannate) ประกอบชื่อไม่ใช่คำว่า “ราชอาณาจักร” (Kingdom) หรือ “รัฐ” (State) นั้นเป็นการบอกให้ทราบถึงผู้ปกครองของรัฐเป็นสุลต่าน
3) ญี่ปุ่นกับมาเลย์เซียไม่ใช้คำว่า “Kingdom”หรือคำใดๆเลยประกอบชื่อประเทศใดๆทั้งสิ้น
1.2 สาธารณรัฐ
สาธารณรัฐ (Republic) หรือมหาชนรัฐ หมายถึง รัฐซึ่งมีสามัญชนเป็นประมุขกล่าว คือ ผู้เป็นประมุขของรัฐมิได้อยู่ในฐานะที่อันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้เหมือนพระมหากษัตริย์ เป็นเพียงสามัญคนธรรมดาและถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ สามารถจะถูกฟ้องร้องในคดีแพ่งหรือคดีอาญาได้เหมือนกับราษฎรอื่นทุกประการ ซึ่งประมุขของรัฐที่เป็นสาธารณรัฐหรือมหาชนรัฐจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ประธานาธิบดี ท่านผู้นำ เป็นต้น รูปแบบของการปกครองสาธารณรัฐหรือมหาชนรัฐ ซึ่งมีสามัญชนเป็นประมุขมีการปกครองอยู่ 2 ระบอบ คือ
1.2.1 ระบอบเผด็จการ
ระบอบเผด็จการ (Dictatorship) คือ ระบอบที่ผู้เป็นประมุขทรงไว้ซึ่งอำนาจเด็ดขาดไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใด ๆ ในทางกฎหมายและอาจเข้าสู่ตำแหน่งประมุขด้วยวิธีการแย่งอำนาจจากผู้อื่นด้วยวิธีด้วยการปฏิวัติ (Revolution) หรือการรัฐประหาร (Coup d’ Etate) หรือเข้าสู่อำนาจด้วยการสืบทอดจากผู้มีอำนาจคนก่อน เช่น อาจจะเป็นลูกหรือน้องชาย เป็นต้น
ดังนั้นระบอบเผด็จการ จึงเป็นระบอบที่ระดมพลังมวลชนซึ่งเป็นกลไกรัฐที่ยื่นแขนขาออกไปเพื่อสร้างความยินยอมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุน ระบอบเผด็จการมุ่งสร้างสังคมใหม่โดยให้ประชาชนอยู่ใต้การบงการของอุดมการณ์ สถาบันทุกอย่างจะถูกใช้ไปเพื่อปฏิบัติภารกิจของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงมีอำนาจอย่างล้นเหลือ ระบอบเผด็จการบางประเทศอาจห้ามก่อตั้งสหภาพแรง เพราะเห็นว่าอาจต่อต้านอำนาจรัฐได้
ระบอบเผด็จการมี 3 รูปแบบ คือ เผด็จการทหาร (Military dictatorship) เผด็จการฟาสซิสต์ (Fascist dictatorship) และเผด็จการคอมมิวนิสต์ (Fascism) ซึ่งแต่ละระบอบต่างมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. มีผู้นำคนเดียวหรือคณะผู้นำกองทัพหรือพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง สามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องฟังเสียงคนส่วนใหญ่ของประเทศ
2. การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำมีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำได้เลย
3. ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิตตราบเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงานหรือกองทัพยังให้ความสนับสนุนอยู่ ประชาชนไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
4. รัฐธรรมนูญหรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นเพียงแต่รากฐานรองรับอำนาจผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้นไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง
ซึ่งรัฐที่มีการปกครองในระบอบเผด็จการโดยมีชื่อเรียกเป็นทางการ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of Chaina) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Dimocratic People’s of Korea) (ที่เรารู้จักในชื่อสามัญว่า “เกาหลีเหนือ”) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People’s Dimocratic Republic) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Federal Republic of Vietnam) สหภาพพม่า (Union of Myanmar) เป็นต้น
1.2.2 การปกครองระบอบประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตย (Democracy) หมายถึง การปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ดังนั้นอำนาจในการปกครองของรัฐบาลที่ผู้ปกครองเป็นประมุขที่มาจากบุคคลธรรมดาโดยมาจากการเลือกตั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากประชาชนและมีอำนาจจำกัดเพียงเท่าที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
รูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอาจแบ่งได้ 3 รูปแบบ คือ ประชาธิปไตยทางตรง ประชาธิปไตยทางผู้แทน และประชาธิปไตยทางตรงกับทางผู้แทนผสมผสานกัน ซึ่งเรียกว่า "ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนหรือประชาธิปไตยแบบกึ่งทางตรง” ดังนี้
1.2.2.1 การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางตรง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจในปัญหาต่างๆของตนทุกเรื่อง ขอบเขตของการมีส่วนร่วมของประชาชนในกรณีนี้จึงมีครบ 100 เปอร์เซ็นต์ เป็นระบอบการปกครองที่เหมาะสมสำหรับชุมชนเล็กๆที่มีประชาชนไม่มากและปัญหาหรือเรื่องที่จะตัดสินใจไม่ยุ่งยาก จะเห็นได้ว่าการใช้อำนาจอธิปไตยรูปแบบนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยกรีกโบราณ เมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งในสมัยดังกล่าวประชาชนมีจำนวนน้อย สามารถที่จะเรียกประชุมหรือนัดหมายกันได้ง่าย เพื่อออกความเห็นหรือตัดสินปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการปกครองประเทศหรือรัฐ ปัญหาเกี่ยวกับการออกกฎหมายสำคัญๆ หรือแม้แต่การเลือกตั้งบุคคลสำคัญของรัฐ ดังนั้นการเรียกประชุมนัดหมายประชาชนจึงกระทำได้ง่าย แต่ในปัจจุบันประชาชนพลเมืองมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และการปกครองการบริหารราชการแผ่นดินมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นยากแก่การให้ประชาชนทั้งหลายมาประชุมรวมกันได้เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
ในปัจจุบันการใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงนี้ยังใช้อยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ สำหรับบางมลรัฐ ที่เรียกว่า “Canton”มีอยู่ 3 มลรัฐ กล่าวคือ 1 ปี ประชาชนก็มาประชุมกันพิจารณาออกกฎหมายหรือจัดระเบียบภาษีอากร เสร็จแล้วก็เป็นหน้าที่กรรมการของมลรัฐที่จะทำงานต่อไปตามนั้นหรือในประเทศลิกเตนสไตล์เป็นรัฐเล็กๆ ในยุโรปที่มีประชากรประมาณ 36,000 คน เป็นต้น
ข้อสังเกต การใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงนี้จะใช้ได้ผลดีเฉพาะในท้องที่ที่มีพลเมืองน้อยและมีความเจริญในทางจิตใจใกล้เคียงกัน แต่ถ้าท้องที่ใดมีพลเมืองมากก็ย่อมเป็นการยากที่จะใช้วิธีนี้มาประชุมออกเสียงจัดทำกฎหมายไjด้ ด้วยเหตุนี้ประเทศต่างๆจึงไม่นิยมใช้การอำนาจอธิปไตยทางตรงและหันมาใช้อำนาจอธิปไตยทางผู้แทนมาใช้ในการปกครองประเทศ
1.2.2.2 การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทน
การปกครองระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทน (Representative Democracy) เป็นระบอบการปกครองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกผู้แทนหรือตัวแทนเป็นผู้ตัดสินใจและแก้ปัญหาแทนตน การปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยอ้อมเหมาะสมสำหรับชุมชนขนาดใหญ่มีประชากรมาก ปัญหาที่จะแก้ไขหรือเรื่องที่จะตัดสินใจก็มีความยุ่งยากสลับซับซ้อนมาก จึงจำเป็นต้องเลือกตัวแทนเพื่อทำหน้าที่แทนตน โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของตน ประชาชนมีสิทธิเลือกตัวแทนเท่านั้น ฉะนั้นจุดอ่อนสำคัญของประชาธิปไตยโดยอ้อม ก็คือ ไม่มีหลักประกันว่าการตัดสินใจของตัวแทนจะสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของประชาชน เนื่องจากเห็นว่ามีผู้แทนซึ่งจะทำหน้าที่แทนตนอยู่แล้ว เมื่อขาดการติดตามและตรวจสอบจากประชาชน ผลที่ตามมาก็คือ ผู้ปกครองและผู้บริหารซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนมีแนวโน้มที่จะปกครองและบริหาร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สาระสำคัญของการใช้อำนาจอธิปไตยโดยอ้อมหรือโดยทางผู้แทน คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (Popular Sovereignty) แต่ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยตรง จึงมีการมอบอำนาจให้กับตัวแทนประชาชน ซึ่งลักษณะสำคัญของการปกครองโดยทางผู้แทน คือ
1. ประชาชนมอบอำนาจอธิปไตยของตนให้ตัวแทนไปใช้แทนตน
2. การมอบอำนาจอธิปไตยต้องผ่านกระบวนการเลือกตั้ง (Election) ภายใต้
ระบบการแข่งขัน (Competition)
3. ตัวแทนของประชาชนมีอำนาจจำกัดตามที่กฎหมาย (รัฐธรรมนูญ) กำหนดไว้เท่านั้น
4. เป็นการมอบอำนาจให้กับผู้แทนอย่างมีเงื่อนไข หากผู้แทนใช้อำนาจนอก
ขอบเขตของกฎหมาย ใช้อำนาจโดยพลการหรือโดยบิดเบือนเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยย่อมเรียกคืนได้
แต่อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจอธิปไตยโดยอ้อมหรือผ่านทางผู้แทนกลับพบข้อบกพร่องและจุดอ่อนอยู่หลายประการ ทำให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลขาดความเชื่อมั่นศรัทธาจากประชาชน ทำให้ประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายกับการเมือง จึงได้มีแนวคิดการใช้อำนาจอธิปไตยกึ่งทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมขึ้นมา กล่าวคือ ผสมผสานระหว่างประชาธิปไตยทางตรงกับประชาธิปไตยทางผู้แทนขึ้นมาเพื่อแก้ไขความบกพร่องระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทน
1.2.2.3 การปกครองระบอบประชาธิปไตยกึ่งโดยตรง
การปกครองระบอบประชาธิปไตยกึ่งโดยตรงของประชาชน (semi-Direct Democracy) หรือเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประชาชนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) ซึ่งเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยในรูปแบบผสม รูปแบบนี้มีหลักการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยอ้อมหรือทางผู้แทนและอำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยตรง เข้ามาใช้รวมกัน โดยประชาชนยังสงวนสิทธิที่จะใช้ อำนาจอธิปไตยทางตรงในบางเรื่อง แต่ส่วนใหญ่แล้วประชาชนได้มอบหมายให้ตัวแทนเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนตน กล่าวคือ การใช้อำนาจอธิปไตยรูปแบบนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งนั้นจะเป็นผู้ใช้สิทธิอำนาจอธิปไตยแทนประชาชนในการบริหารปกครองประเทศโดยการจัดตั้งรัฐบาล หรือแม้แต่การตรากฎหมาย แต่ในขณะเดียวกัน นอกจากจะให้ประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยทางอ้อม โดยเลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตนแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมือง และเรื่องสำคัญอื่นๆโดยการใช้อำนาจอธิปไตยได้โดยตรง เช่น การให้ประชาชนใช้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมายเข้าสู่สภา สิทธิในการออกเสียงประชามติหรือแม้แต่การให้สิทธิประชาชนเข้าชื่อถอดถอนตำแหน่งสำคัญของผู้บริหารหรือผู้ปกครองประเทศ เป็นต้น
ดังนั้นเห็นได้ว่าการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนแบบมีส่วนร่วมหรือแบบผสมระหว่างประชาธิปไตยทางตรงกับประชาธิปไตยทางอ้อมเข้าด้วยกันหรืออาจเรียกว่า “การใช้อำนาจอธิปไตยกึ่งทางตรง” เพื่อรักษาส่วนแบ่งพื้นที่ทางการเมืองให้ประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมในกรอบที่สามารถรักษาดุลยภาพระหว่างประชาธิปไตยทางตรงกับประชาธิปไตยทางอ้อม และยึดโยงเข้ากันได้กับความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของประชาชนด้วย ซึ่งต้องคำนึงถึงความสามารถในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองและความสามารถในการสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเมืองของประชาชน (Political efficacy) ได้แก่ องค์ประกอบของหลักการในการกระจายอำนาจและการร่วมตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนหรือการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมสำคัญในทางการเมือง เป็นต้น
ดังนั้นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนจึงเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการปกครองประเทศในปัจจุบัน ส่วนประชาธิปไตยทางตรงนั้นเป็นตัวเสริมหรือสนับสนุนการมีประชาธิปไตยทางอ้อมหรือทางผู้แทน ซึ่งเรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบกึ่งทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม” อันเป็นการผสมผสานแนวความคิดของทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนกับอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
1. แนวคิดทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนซึ่งยอมรับว่า ประชาชนแต่ละคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยคนละหนึ่งส่วนนั้น กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิแสดงประชามติ (Referendum) การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (Initiative Process) และการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่ง (Recall) แต่แนวคิดตามทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติเป็นที่รวมของประชาชนทุกคน ดังนั้นผู้แทนจึงมีอิสระในตัวเองที่จะทำแทนชาติได้
2. แนวความคิดของทั้งสองทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นนั้น เมื่อมองในแง่ปรัชญาทางกฎหมายมหาชนแล้วเห็นได้ว่า ทั้งสองทฤษฎีมีมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องของอำนาจอธิปไตยที่ไปด้วยกันได้ เพราะแนวคิดที่กล่าวว่า ชาตินั้นมีความเป็นหนึ่งเดียวแบ่งแยกไม่ได้ แตกต่างกับแนวคิดที่ว่าประชาชนแต่ละคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยคนละหนึ่งส่วนโดยสิ้นเชิง รัฐสมัยใหม่ในปัจจุบันจึงให้การยอมรับแนวความคิดผสมผสานทั้งสองทฤษฎีดังกล่าว
ปัจจุบันได้มีการนำแนวความคิดของทั้งสองทฤษฎีมาใช้ร่วมกัน และพยายามที่จะทำให้แนวคิดทั้งสองไปด้วยกันได้อย่างราบรื่น ในหลายๆประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประชาชน คือ หัวใจในการพยายามที่จะดึงจุดเด่นจุดด้อยของทั้งสองทฤษฎีออกมาเพื่อนำมาปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกันของการปกครองในระบอบดังกล่าว ประชาชนซึ่งมีสิทธิและมีเสียงในการปกครองประเทศ เสียงของประชาชนเป็นเสียงสวรรค์ที่ฝ่ายตัวแทนของประชาชน ผู้ปกครองบ้านเมืองต้องฟังเสียงของประชาชน นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการเสริมต่างๆที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมืองโดยตรงด้วย
ทวีปเอเชีย 在 Carabao Official Youtube 的評價
เนื้อเพลง
ถึงแม้ลูกโลกเรา กลมป้อมๆ
แต่ผู้คนผ่ายผอม เต็มตามโลก
เต็มบ้านเต็มเมือง ตามป่าเขา
ทั้งเด็กน้อยหนุ่มสาว เฒ่าชรา
ทั้งอาฟริกา ทวีปเอเชีย
เอ ธิโอเปีย ยันศรี สะเกษ
ทั้งนอกประเทศ
ทั้งเมดอิน ไทยแลนด์
พี่น้องแร้นแค้น
เป็นตาง ขโมย
ล้วนเป็นตาง ขโมย
เห็นหัวโตโต พุงป่องๆ
แต่ร่างกายกะหร่องกร่อง
บ่ มีแฮง
มีแต่ลมหายใจ เลี้ยงชีวิต
มันไม่ใช่ความผิด ติดความจน
ยัง เป็นผู้เป็นคน เหมือนๆเฮา
ฟันฟางขาวๆ เส้นผมดำๆ
แต่ดวงใจบอบช้ำ
กล้ำกลืน น้ำตา
เขาไม่ได้เลือก เกิดมา
เป็นตาง ขโมย
ล้วนเป็นตาง ขโมย
คนตางขโมยพุงโรโร
เป็นตาง ขโมย
คนหัว ขโมย พุง โตโต
เป็นหัว ขโมย
เสียงเพลงเปล่งมา เป็นท่อนๆ
จะกล่อมนอน กล่อมใจ
ไทย ทุกภาค
ทุกคน ทุกข์เข็ญ เห็นใจด้วย
ช่วยกัน ช่วยกัน เราช่วยกัน
แบ่งเบา แบ่งปัน ฉันท์พี่น้อง
อย่าเมียงมองผ่านไป
คนไทยไม่ทำ..ไม่ทำ ไม่ทำ
พี่น้องตาดำๆ คอยความหวัง..
จงนึก ถึง เขาบ้าง
เขาเป็นตาง ขโมย.
ขโมย ความเป็นคน เหนือชนชั้น
ก็อย่างคนดังมะริกัน
ว่า We are the world.
We are the children.
เขาช่วยกันดับทุกข์เข็ญ
ของคนร่วมเผ่าพันธุ์
แล้วบ้านเรา เมืองเรา
อย่าเอาแต่แคะ ขี้ฟัน
เพราะมันเป็นความรัก
ซึ่งกันและกัน
เพราะมันเป็นความฝัน
ถึงแผ่นดิน เดียวกัน
เน๊อะๆๆๆๆ
【 ช่องทางติดตามข่าวสาร วงคาราบาว 】
#Line ► @CarabaoOfficial หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40carabaoofficial
#Facebook ► http://www.facebook.com/carabaoofficial/
Apple Music & iTunes :
Carabao Essentials Playlist ► https://music.apple.com/th/playlist/carabao-essentials/pl.f9b46f601f53442385224df14d9ca9ef
Carabao Artist Profile ► https://music.apple.com/th/artist/carabao/250982691
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/UaepzxA9Eug/hqdefault.jpg)
ทวีปเอเชีย 在 Channel RL Youtube 的評價
กด subscribe ติดตามทาง youtube ช่วยแชร์ด้วยบอกต่อเล่าต่อ เขียนคอมเม้นใต้คลิปด้วยนะครับ
หมูป่า ( ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sus scrofa ) เป็น สัตว์ จัดอยู่ใน ไฟลัม สัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับ สัตว์กีบคู่ เป็น ต้นสายพันธุ์ ของ หมูบ้าน ในปัจจุบัน
1 ลักษณะ 2 การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา 3 เขี้ยวหมูป่า 4 ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในสหรัฐอเมริกา 5 รูปภาพ 6 อ้างอิง 7 แหล่งข้อมูลอื่น
ลักษณะ
มีรูปร่างหน้าตาคล้ายหมูบ้าน แต่มีขนตามลำตัวยาวกว่า ลำตัวมี สีเทา ดำ บางตัวอาจมี สีน้ำตาล เข้ม ขนบริเวณหัวชี้ยาวออกไปทางด้านหลัง ตัวเมียมีเต้านม 5 คู่ ลูกที่เกิดใหม่มีสีน้ำตาลเข้มค่อนไปทางดำและมีแถบสีดำพาดผ่านตามยาวลำตัว ดูคล้ายลายของ แตงไทย
มีขนาดความยาวลำตัวและหัว 135-150 เซนติเมตร ความยาวหาง 20-30 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 75-200 กิโลกรัม โดยตัวผู้จะมีน้ำหนักหนักกว่าตัวเมีย สามารถวิ่งได้เร็ว 30 ไมล์/ชั่วโมง ตัวเมียสามารถมีลูกได้ครอกละ 10-11 ตัว ปีละ 2 ครอก
การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา
หมูป่าจัดเป็นสัตว์ที่การกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางมาก ทั้งใน ทวีปอเมริกาเหนือ , ทวีปยุโรป , ทวีปเอเชีย และ แอฟริกา และในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็สามารถพบเห็นได้ทั่วไป จึงทำให้มีทั้งหมด 10 ชนิดย่อย ด้วยกัน
มีนิเวศวิทยาและพฤติกรรมสามารถอาศัยอยู่ได้ในหลากหลายสภาพแวดล้อม แต่มักเลือกที่จะอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพราะชอบนอนแช่ปลักโคลนในวันที่มีอากาศร้อน สามารถกินอาหารได้หลากหลายทั้ง พืช และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น สัตว์เลื้อยคลาน หรือแม้แต่ซากสัตว์ด้วย หมูป่าที่อาศัยในป่าที่อยู่ใกล้แหล่งเกษตรกรรมของมนุษย์ อาจจะขโมยกินหัวหรือรากพืชที่ปลูก รวมทั้งถึง นา ข้าว ด้วย การหาอาหารจะใช้จมูกดุนดินเพื่อขุดหาอาหารใต้ดิน ขณะออกหาอาหารจะส่งเสียงร้องดังอยู่ตลอดเวลา มักหากินในช่วงเวลาเช้าตรู่และยามบ่าย บางครั้งอาจหากินได้ในเวลากลางคืนด้วย มักรวมกันเป็นฝูงใหญ่ ราว 20-100 ตัว โดยจะมีอายุของสมาชิกในฝูงคละเคล้ากันไป เมื่อถึงสภาวะคับขันจะหลบหนีไปตามพุ่มไม้เตี้ย ๆ ตามปกติแล้วหมูป่าเป็นสัตว์ที่ขี้หงุดหงิดและมีอารมณ์ร้าย ศัตรูของหมูป่าได้แก่ เสือโคร่ง และ เสือดาว เมื่อพบศัตรูตัวผู้จะออกมาทำหน้าที่ต่อสู้เพื่อปกป้องสมาชิกในฝูง ด้วยการพุ่งชนด้วยเขี้ยวที่ยาวโง้งออกมา ซึ่งในตัวเมียไม่มี
ปัจจุบัน เป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีการเพาะเลี้ยงเพื่อรับประทานเนื้อเป็นอาหาร หรืออาจจะเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงตามบ้านของบางคนก็ได้ โดยมีการทำฟาร์มหมูป่า
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/4hbFzlJA-fc/hqdefault.jpg)
ทวีปเอเชีย 在 ทวีปเอเชีย - สังคมฯ ม.1 - YouTube 的八卦
ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพ และลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน. ... <看更多>