รัฐบาลจีน เอาจริง ลดการผูกขาดของ Alibaba และ บริษัทเทคโนโลยีจีน /โดย ลงทุนแมน
วันนี้ รัฐบาลจีนได้บอกว่า จะออกกฎหมายเพื่อป้องกันการ ผูกขาด ของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในจีน ซึ่งเรื่องนี้จะส่งผลกระทบต่อบริษัทชื่อดังอย่าง Alibaba, Tencent, JD.com, Meituan Dianping และ Pinduoduo
หลายคนคงทราบข่าวเรื่องที่แจ็กหม่าออกมาพูดในงานอีเวนต์หนึ่งเกี่ยวกับการกำกับดูแลของภาครัฐ และต่อมารัฐบาลจีนก็ได้เลื่อน การเข้าตลาดหลักทรัพย์ของ Alipay ไปอย่างไม่มีกำหนด
มาวันนี้ รัฐบาลจีนกำลังจะออกกฎหมายใหม่ เพื่อป้องกันการผูกขาดของบริษัทเหล่านี้
เรื่องนี้ Alibaba จะโดนมากขนาดไหน
และจะมีบริษัทจีนรายไหนที่ได้รับผลกระทบตามกันมา
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ปัจจุบันจีนคือตลาด E-Commerce ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใหญ่กว่าตลาดเบอร์ 2 อย่างตลาดสหรัฐ กว่า 3 เท่าตัว และ COVID-19 ที่เกิดขึ้น ยิ่งทำให้ E-Commerce ในจีน โตอย่างแข็งแกร่งได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
และภายใต้การเติบโตนั้น สิ่งที่ตามมาคือการแข่งขันที่ดุเดือดระหว่างบริษัทเทคโนโลยีที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มต่างๆที่ต้องเร่งช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาด และฐานผู้ใช้ทุกวิถีทาง
อย่าง Alibaba ที่ก่อนหน้านี้ ได้มีการบังคับให้ผู้ประกอบการต้องเลือกข้าง หากอยากขายของบนแพลตฟอร์ม Alibaba ต้องห้ามไปขายบนแพลตฟอร์มอื่นๆที่เป็นคู่แข่ง
ซึ่งประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่ทางการของจีนมองว่าเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ทางหน่วยงานกำกับดูแลตลาดของรัฐ (SAMR) ของจีนจึงมีการออกแถลงการณ์เพื่อขอสอบสวน และจะมีการเชิญให้ทาง Alibaba เข้ามาชี้แจงกับทางการต่อไป
หลังจากที่มีการออกแถลงการณ์นี้ ก็มีแรงเทขายในหุ้น Alibaba ที่จดทะเบียนในตลาดฮ่องกง จนทำให้ราคาปรับลงกว่า 8%(ราคาปิดช่วงเช้า 24/12/20) สะท้อนให้เห็นความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อประเด็นการถูกทางการของจีนเข้ามาควบคุมการดำเนินงานของ Alibaba
เพราะสำหรับรัฐบาลจีน การผูกขาดของบริษัทใหญ่ โดยเฉพาะจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน นับวันยิ่งมีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจจีนมากขึ้น ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข เพื่อไม่ให้บริษัทเหล่านี้มีอำนาจในการต่อรองทั้งกับผู้บริโภค และระบบเศรษฐกิจจีนมากเกินไป
และอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่ทางการจีนได้มีคำเตือน และจะมีการออกกฎเกณฑ์มาควบคุมเพิ่มเติม คือ ธุรกิจ Group Buying ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
Group Buying คือ การรวมกันซื้อของผ่านแพลตฟอร์ม Social Media ต่างๆ โดยการชักชวนของผู้นำหรือเพื่อนๆในชุมชน แล้วก็สามารถส่งคำสั่งตรงไปยังร้านค้า หรือ ผู้ผลิตสินค้าต่างๆ ทำให้ได้สินค้าราคาถูกกว่า
บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนที่มีแพลตฟอร์มการขายของและบริการออนไลน์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Alibaba, Tencent, JD.com, Pinduoduo, Meituan Dianping และ Didi Chuxing ต่างก็เล็งเห็นช่องทางการเติบโตของรูปแบบการแบบ Group Buying นี้ จึงได้ลงมาแย่งชิงพื้นที่กันยกใหญ่
ทั้งปรับรูปแบบการขายในแพลตฟอร์มหลักของตัวเองให้มี Feature แบบให้ซื้อเป็นกลุ่มได้ง่ายขึ้น รวมทั้งลงทุนในธุรกิจ Start Up ใหม่ๆที่เริ่มต้นรุกธุรกิจ Group Buying โดยเฉพาะ และนำธุรกิจใหม่เหล่านี้มาเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มหลัก
อย่าง Tencent ก็ไปลงทุนใน Xingsheng
Alibaba ก็ไปลงทุนใน Nice Tuan
เมื่อยักษ์ใหญ่ลงมาเล่นตลาดนี้ การแข่งขันในการแย่งชิงความเป็นเจ้าตลาดก็เกิดขึ้น เหมือนกับที่เกิดมาแล้ว ในธุรกิจ Ride Hailing และ Sharing Bike เพราะการเป็นเจ้าตลาดจะทำให้บริษัทเหล่านั้นเก็บกินกำไรในระยะยาวได้ในอนาคต
แต่ระหว่างที่ยังไม่มีเจ้าตลาดที่แท้จริง ช่วงเวลานี้สไตล์ของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ทั้งหลายก็พร้อมเผาเงิน แข่งขันกันอย่างดุเดือดทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้ ผู้ใช้งานมาทำการซื้อขายกับแพลตฟอร์มของตัวเองให้ได้มากที่สุด ทั้งลด แลก แจก แถม
ซึ่งการแข่งขันเหล่านี้ นอกจากจะใช้เงินของแพลตฟอร์มบางส่วนเพื่ออุดหนุน แต่อีกหลายส่วน แพลตฟอร์มเหล่านี้ก็ใช้ความใหญ่ของตัวเอง ไปกดดันบรรดาผู้ประกอบการต้นทางที่อยากมาขายผ่านช่องทางเหล่านี้ให้แข่งกันลดราคา
ซึ่งการแข่งขันรูปแบบนี้เองที่ทำให้ทางการจีนมีความกังวลว่าจะเป็นการบีบคั้นผู้ประกอบการรายเล็กมากจนเกินไป รวมไปทั้งหากแข่งขันกันจนสุดท้าย เหลือผู้ชนะเพียงรายเดียว จะทำให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการส่วนใหญ่เสียประโยชน์มากขึ้น เพราะอำนาจการต่อรองกลับไปอยู่ที่แพลตฟอร์ม
เหมือนกับกรณีของ Didi Chuxing ที่เมื่อ Uber ออกจากตลาดไป ก็สามารถปรับเพิ่มค่าโดยสารรถจนทำให้ต้นทุนค่าครองชีพของคนใช้บริการเพิ่มขึ้น
หน่วยงานกำกับดูแลตลาดของรัฐ (SAMR) ของจีน จึงออกมากล่าวเตือนพร้อมกำหนดกฎระเบียบเพื่อควบคุมดูแลการแข่งขันในธุรกิจ Group-buying มากถึง 9 ข้อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกฎเกณฑ์ที่มุ่งเน้น
-การห้ามทำการ Dump ราคา เพื่อกำจัดคู่แข่ง และแย่งชิงผู้บริโภค
-ห้ามขายสินค้าในราคาที่ถูกเกินไปจนส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิต
-ห้ามนำข้อมูลของผู้บริโภคมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางที่จะทำให้ผู้บริโภคเสียสิทธิประโยชน์ในระยะยาว
-รวมไปถึงการออกกฎเกณฑ์ให้มีการยื่นขออนุมัติก่อนจะทำการควบรวมกิจการใดๆ เพื่อป้องกันการผูกขาดตลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เป็นอีกครั้งที่ทางการจีน ใช้บทบาทความของภาครัฐออกมากำกับดูแลภาคธุรกิจ เพื่อลดความร้อนแรงและทำให้บทบาทของบริษัทเทคยักษ์ใหญ่เหล่านี้ เติบโตตามครรลองที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจจีนมากจนเกินไป
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญของจีนส่วนใหญ่กลับมองว่า ถึงแม้จะมีการเข้ามาดูแลจากภาครัฐแต่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เหล่านี้ สุดท้ายก็จะสามารถหาวิธีแย่งชิงลูกค้ากันได้อยู่ดี อย่างเช่น การแจก Hongbao หรือ ซองแดงที่มีเงินอยู่ข้างในเพื่อเอาไปใช้บริการบนแพลตฟอร์มของตัวเอง
นั่นหมายความว่าการเข้ามามีบทบาทของภาครัฐรอบนี้อาจเป็นเพียงการแตะเบรกธุรกิจ Group Buying เท่านั้น แต่การแข่งขันที่รุนแรงแบบนี้น่าจะยังคงมีอยู่ต่อไป
ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดนี้ ก็น่าจะทำให้ตลาด E-Commerce ของจีน มีกฎระเบียบที่รัดกุมมากขึ้น เป็นธรรมกับผู้บริโภคมากขึ้น
ในขณะเดียวกันประเทศอื่นก็อาจต้องมาศึกษาว่า รัฐบาลจีน จัดการกับเรื่อง ผูกขาด ของบริษัทใหญ่อย่างไร เพื่อนำไปปรับใช้กับประเทศตัวเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.scmp.com/tech/policy/article/3115107/beijing-lectures-alibaba-tencent-meituan-and-pinduoduo-new-antitrust
-https://www.reuters.com/article/us-china-antgroup/china-launches-probe-into-alibaba-for-suspected-monopolistic-behaviour-idUSKBN28Y05T
-https://tenbagroup.com/12-china-e-commerce-market-trends-2021/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過62萬的網紅Bryan Wee,也在其Youtube影片中提到,...
「antgroup」的推薦目錄:
antgroup 在 經濟一週 EDigest Facebook 八卦
螞蟻上市前夕突然煞停🐜外界猜測跟馬雲近日一番言論有關 🤢 究竟馬雲日前在外灘金融峰會說錯了甚麼?
影片來源:外灘金融峰會
#馬雲 #螞蟻上市 #螞蟻 #螞蟻急煞 #阿里巴巴 #王岐山 #alibaba #ANTGROUP #外灘金融峰會 #ED_E #港交所 #A股 #金融科技
antgroup 在 Yahoo!奇摩新聞 Facebook 八卦
【中國大陸新聞】截至2020年底,拼多多年活躍買家數達7.884億,同期阿里巴巴是7.79億、京東是4.72億!好驚人的數字啊~
#拼多多 #電商平台 #成長快速 #活躍用戶 #監管 #YFB
antgroup 在 #antgroup - YouTube 的八卦
US State Dept looks to add Jack Ma's Ant Group to Entity List as company prepares for IPO · Yahoo Finance. Yahoo Finance. •. 2.9K views 1 year ago. ... <看更多>