การสละธุรกิจที่ล้ำค่า เพื่อพยุงธุรกิจที่ไร้ค่า ของ SoftBank /โดย ลงทุนแมน
10 ปีที่ผ่านมานี้ หากถามว่าการลงทุนไหนประสบความสำเร็จสุดในโลก
หนึ่งในนั้นต้องมีการลงทุนของ SoftBank ในบริษัท Alibaba
SoftBank ลงทุนในบริษัท Alibaba กว่า 12,000 ล้านบาท
จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของบริษัท คิดเป็นการครอบครองหุ้น 29.4%
หลังจาก Alibaba ก้าวมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกทำให้มูลค่าการลงทุนของ SoftBank
พุ่งทะยานเป็น 4,850,000 ล้านบาท คิดผลตอบแทนเป็น 404 เท่าจากเงินที่ได้ลงทุนไป
ดูเหมือน SoftBank จะประสบความสำเร็จมหาศาล
แต่เหตุการณ์ในอดีตที่สวยหรู ไม่ได้บ่งบอกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
ปีนี้ บริษัท SoftBank กำลังเจอความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่
ซึ่งเป็นความยิ่งใหญ่ระดับที่ Masayoshi Son เจ้าของบริษัท SoftBank
ตัดสินใจขายสินทรัพย์ส่วนหนึ่งของบริษัทมูลค่ารวมกัน
กว่า 1,300,000 ล้านบาทเพื่อพยุงธุรกิจเอาไว้
แล้ว SoftBank ได้รับผลกระทบหนักขนาดไหน?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
SoftBank เป็นหนึ่งในบริษัทนักระดมทุนสัญชาติญี่ปุ่นระดับโลกที่ลงทุนในบริษัทสตาร์ตอัปที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นผู้นำเทคโนโลยีที่เป็นเมกะเทรนด์ในอนาคต
ซึ่งหนึ่งในเทรนด์ที่ SoftBank โฟกัสเป็นพิเศษนั่นก็คือ
“Sharing Economy” หรือเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน ยกตัวอย่างเช่น
SoftBank ลงทุนในแพลตฟอร์ม Ride Sharing หรือแพลตฟอร์มเรียกรถและแชร์รถกับคนอื่น ได้แก่
Didi ผู้ให้บริการในประเทศจีน
OLA ผู้ให้บริการในประเทศอินเดีย
Grab ผู้ให้บริการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และ Uber ผู้ให้บริการทั้งในสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศ
จากตรงนี้ เราก็อาจจะสรุปได้ว่า อุตสาหกรรม Ride Sharing บนโลกนี้เกือบทั้งหมดเป็นของ SoftBank
นอกเหนือจากแพลตฟอร์ม Ride Sharing แล้ว..
SoftBank ยังลงทุนใน WeWork เจ้าของแพลตฟอร์มเช่าอาคารสำนักงาน
และ OYO เจ้าของแพลตฟอร์มจองโรงแรม ที่อยู่อาศัย
ทั้งหมดนี้ก็น่าจะสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าให้กับ SoftBank
หาก Sharing Economy เติบโตแบบไม่มีสะดุด
แต่ฝันร้ายที่ไม่คาดฝันก็ดันมาเกิดขึ้น
จาก COVID-19..
ความเสี่ยงเดียวของการลงทุนมหาศาลใน Sharing Economy ก็คือ
เราจะไม่แชร์สิ่งของร่วมกัน
เราจะไม่เดินทาง ไม่ไปเที่ยว ไม่หาที่พัก
เราจะไม่ออกไปทำงานที่แชร์ออฟฟิศกับคนอื่น แต่ทำงานที่บ้าน
เรื่องที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้เมื่อ 3 เดือนก่อน
แต่สิ่งเหล่านี้กลับเกิดขึ้น “พร้อมกัน”
และพร้อมกัน “ทั่วทั้งโลก”
แม้ว่าบางธุรกิจย่อยของแพลตฟอร์มเรียกรถ เช่น บริการส่งอาหารจะเติบโตระเบิดในช่วงนี้ แต่ธุรกิจหลักก็ยังเป็นการแชร์การเดินทาง ที่หายไปแทบจะในทันทีและคาดการณ์ไม่ได้เลยว่าจุดสิ้นสุดอยู่ที่ตรงไหน
ทำให้ตอนนี้ SoftBank ไม่ต่างอะไรจากเรือสำราญที่ผู้โดยสารครึ่งลำเต็มไปด้วยผู้ติดเชื้อที่เรียกว่าสตาร์ตอัป
ซึ่งเมื่ออยู่ในเรือลำเดียวกัน ทุนใช้ร่วมกัน บริหารร่วมกัน
แน่นอนว่าผู้โดยสารอีกครึ่งลำ คือธุรกิจอื่นๆ ของ SoftBank
ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็จะพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย
ทั้งหมดนี้ส่งผลโดยตรงไปยังมูลค่าบริษัท SoftBank ที่หายไปกว่าครึ่งในระยะเวลาเพียงเดือนเดียว
ยังไม่หมดเพียงแค่นี้..
ด้วยสภาพของ SoftBank คือผู้ให้ทุน
ในขณะที่คนรับทุนจาก SoftBank ส่วนใหญ่
ยังเป็นบริษัทสตาร์ตอัปที่ขาดทุนต่อเนื่อง มีหนี้สินมหาศาล
และยังต้องการการระดมทุนเพื่อขยายธุรกิจ
เมื่อรายได้หายไป และมีแนวโน้มที่จะทำไม่ได้ตามที่ผู้ให้ทุนคาดหวัง
ทำให้บริษัทเหล่านี้ขาด “สภาพคล่อง” ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ SoftBank จำเป็นต้องเลือกก็คือ
1. ปล่อยให้ล้มละลาย
2. เยียวยาด้วยการให้ทุนเพิ่มเติม
สำหรับทางเลือกแรก มันจะทำให้เงินลงทุนของ SoftBank เป็นศูนย์ทันที และต้องบันทึกผลขาดทุน ซึ่งก็เพิ่งเกิดขึ้นกับ OneWeb บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากดาวเทียมที่ SoftBank ลงทุน เพิ่งประกาศล้มละลาย
สำหรับทางที่สอง มันจะทำให้ SoftBank ต้องอัดเงินเข้าไปเพิ่มเรื่อยๆ โดยที่ไม่มีทางรู้เลยว่าโรคระบาดจะหายก่อน หรือเงินที่ทยอยเพิ่มเข้าไปจะหมดก่อน..
ที่ผ่านมา SoftBank มีการ Leverage หรือการเพิ่มอำนาจการลงทุนด้วยการกู้ยืมที่สูงมาก
ซึ่งในสภาวะปกติ ก็ถือว่าเสี่ยงอยู่แล้ว
ยิ่งในสถานการณ์แบบนี้ ก็ยิ่งเสี่ยงเป็นทวีคูณ
แล้วเสี่ยงที่ว่ามันคือเสี่ยงขนาดไหน?
เรามาดูสถานะทางการเงินของบริษัท SoftBank
หนี้สิน (ไม่รวมเจ้าหนี้การค้า) 7,600,000 ล้านบาท
ส่วนผู้ถือหุ้น 2,300,000 ล้านบาท
คิดเป็น อัตราส่วน 3.3 เท่า ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงมาก
มากในระดับที่สถาบันการเงินคงไม่กล้าที่จะปล่อยกู้ต่อ
บทสรุปของเรื่องนี้จึงทำให้ Masayoshi Son เจ้าของบริษัท SoftBank
ตัดสินใจประกาศขายสินทรัพย์คิดเป็นมูลค่ารวมกันกว่า 1,300,000 ล้านบาท
ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่าหนึ่งในนั้นจะเป็นหุ้นบางส่วนของบริษัท Alibaba
บริษัทที่สร้างผลตอบแทนมหาศาลให้กับ SoftBank
เพื่อชำระหนี้ ไถ่ถอนหุ้นกู้ และเสริมสภาพคล่องให้กับบริษัท นั่นเอง..
แล้วบทเรียนของเรื่องนี้คืออะไร?
ในวันที่ดีที่สุดของเราก็อาจจะมีเรื่องแย่
ที่ทุกคนไม่คาดฝันเกิดขึ้น
ไม่ว่าเรากำลังจะทำอะไรอยู่
สำหรับในมุมธุรกิจ
การกระจายความเสี่ยงของประเภทธุรกิจที่ลงทุน
และการรักษาระดับหนี้สินในการทำธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญ
หากเราควบคุมได้ไม่ดี
มองด้านบวกอยู่ด้านเดียว
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้าม
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็อาจทำให้
เราต้องสละธุรกิจที่ล้ำค่า เพื่อพยุงธุรกิจที่ไร้ค่า ในที่สุด..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.reuters.com/article/us-softbank-group-buyback/softbank-plans-41-billion-of-asset-sales-to-expand-buyback-and-cut-debt-idUSKBN21A0F2
-https://www.cnbc.com/2020/03/27/softbank-to-let-internet-satellite-company-oneweb-file-for-bankruptcy.html
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-03-30/softbank-drops-10-after-oneweb-files-for-bankruptcy-protection
uber files 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
DoorDash แอปส่งอาหาร ที่นิยมสุดในอเมริกา / โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงธุรกิจ Food Delivery
เชื่อว่าคนไทย คงคุ้นเคยกับการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็น Grab, LINE MAN, foodpanda หรือ Gojek
แต่รู้ไหมว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ก็มีผู้ให้บริการ Food Delivery เจ้าใหญ่อยู่หลายราย
แต่แอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้ คือ “DoorDash”
ทำไม DoorDash ถึงครองตลาดสั่งอาหารออนไลน์ของสหรัฐอเมริกาได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
DoorDash เป็นแพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์
เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2013 หรือ 8 ปีที่แล้ว
ผู้ที่ร่วมก่อตั้งบริษัทและดำรงตำแหน่ง CEO ในปัจจุบัน คือ คุณ Tony Xu
เขาเป็นชาวจีนที่อพยพมาอยู่ในสหรัฐอเมริกา แต่ครอบครัวไม่ได้มีฐานะร่ำรวย
ทำให้ต้องคอยช่วยคุณแม่ ทำงานพิเศษที่ร้านอาหารจีน มาตั้งแต่เด็ก
อย่างไรก็ตาม ครอบครัวก็เก็บออมเงิน จนสามารถส่งเขาเรียน MBA ที่มหาวิทยาลัย Stanford ได้สำเร็จ
ซึ่งต่อมา คุณ Tony Xu ได้มีโอกาสทำโปรเจกต์ธุรกิจร่วมกับ คุณ Stanley Tang, คุณ Andy Fang และ คุณ Evan Moore
และเนื่องจากเขามีประสบการณ์เกี่ยวกับร้านอาหาร จึงเสนอไอเดียสร้างผลิตภัณฑ์ ที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารรายย่อย
โดยพวกเขาสำรวจข้อมูลพบว่า
ความจริงแล้ว ผู้บริโภคมีความต้องการสั่งอาหารจากร้านเล็ก ๆ ในท้องถิ่นสูงมาก
แต่ทางฝั่งร้านอาหารนั้น ไม่มีเงินทุนและกำลังคนมากพอ สำหรับจัดส่งอาหารให้ครบตามออร์เดอร์ได้
ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงเลือกพัฒนาธุรกิจแพลตฟอร์ม Food Delivery เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดยเริ่มแรก ได้เปิดเว็บไซต์ ชื่อว่า PaloAltoDelivery.com
ทดลองรวบรวมเมนูจากร้านบริเวณมหาวิทยาลัย และผลัดกันเป็นคนจัดส่งอาหาร
จนกระทั่งปี 2013 โปรเจกต์นี้ได้รับเงินทุนจาก Y Combinator สถาบันบ่มเพาะสตาร์ตอัปชื่อดัง
พวกเขาจึงตัดสินใจก่อตั้งบริษัท และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “DoorDash”
ซึ่งต่อมาก็มีนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ เช่น Sequoia Capital และ SoftBank เข้ามาถือหุ้นของบริษัทด้วย
โดย DoorDash ใช้กลยุทธ์การขยายธุรกิจ ที่มุ่งเน้นรวบรวมร้านอาหาร ทั้งแบรนด์ดังและร้านประจำท้องถิ่นต่าง ๆ มาไว้บนแพลตฟอร์มให้มากที่สุด
ปัจจุบัน มีร้านอาหารเข้าร่วมกว่า 450,000 แห่ง ครอบคลุม 4,000 เมือง ใน 50 รัฐ
และมีพาร์ตเนอร์คนขับรถส่งอาหาร ที่บริษัทเรียกว่า Dashers อยู่ราว 1 ล้านราย
ซึ่งทำให้ DoorDash มีเมนูที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ได้ทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่
ต่างจากผู้เล่นรายอื่น ที่ส่วนใหญ่นำเสนอแต่ร้านดัง ๆ ในตัวเมืองใหญ่
ส่งผลให้แอปพลิเคชันได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีผู้ใช้งานสูงถึง 20 ล้านราย
เรามาลองดูส่วนแบ่งตลาด Food Delivery ของสหรัฐอเมริกา ประจำเดือนมีนาคม 2021 จากการสำรวจของ Bloomberg Second Measure
- DoorDash ส่วนแบ่งตลาด 55%
- Uber Eats ส่วนแบ่งตลาด 22%
- Grubhub ส่วนแบ่งตลาด 17%
- Postmates ส่วนแบ่งตลาด 5%
จะเห็นได้ว่า DoorDash ครองตลาด แอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ของสหรัฐอเมริกา แบบนำหน้าคู่แข่งอยู่พอสมควร
แล้วอย่างนี้ ผลประกอบการของ DoorDash เป็นอย่างไร ?
การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปีที่ผ่านมา ได้ทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มาสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์กันมากขึ้น
ซึ่งแน่นอนว่า ส่งผลให้เจ้าตลาดอย่าง DoorDash เติบโตแบบก้าวกระโดด
ปี 2018 รายได้ 9,050 ล้านบาท ขาดทุน 6,400 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 27,500 ล้านบาท ขาดทุน 20,700 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 89,800 ล้านบาท ขาดทุน 14,300 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงขาดทุนหนัก เพราะต้องใช้งบประมาณและโปรโมชันจำนวนมาก แข่งขันกับผู้เล่นรายอื่นอย่างดุเดือด เพื่อดึงดูดทั้งร้านอาหารและแย่งชิงผู้บริโภค ให้มาใช้งานแพลตฟอร์มตนเอง
ซึ่งเราคงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า DoorDash จะสามารถครองตลาด Food Delivery ของสหรัฐอเมริกาไปได้นานเท่าไร และจะเป็นผู้ชนะในท้ายที่สุดได้หรือไม่ ในสมรภูมิที่ไม่มีใครยอมใครอย่างตลาด Food Delivery
ทั้งนี้ DoorDash จดทะเบียน IPO เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ไปเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2020
โดยปัจจุบัน มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ราว 1.3 ล้านล้านบาท
ซึ่งใกล้เคียงกับ มูลค่าประเมินของ Grab ที่กำลังจะเข้าตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ในเร็ว ๆ นี้
ปิดท้ายด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจ
ในช่วงที่ทดลองเปิดให้บริการ เมื่อปี 2013
คุณ Tony Xu และเพื่อน ๆ ต้องนั่งรอคำสั่งซื้ออาหารอยู่หลายชั่วโมง
จนสุดท้าย ก็มีออร์เดอร์แรกเข้ามา
เมนูนั้นคือ “ผัดไทยกุ้ง”..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/DoorDash
-https://s22.q4cdn.com/280253921/files/doc_financials/2020/ar/628c3275-56ed-4bc8-a246-20e7c40742ce.pdf#page6
-https://secondmeasure.com/datapoints/food-delivery-services-grubhub-uber-eats-doordash-postmates/
-https://www.cnbc.com/2020/12/09/doordash-ipo-will-make-ceo-tony-xu-the-latest-tech-billionaire.html
-https://help.doordash.com/dashers/s/article/Where-is-DoorDash-available?language=en_US
-https://www.cbsnews.com/news/doordash-ipo-shares-up-80-percent/
-https://finance.yahoo.com/quote/DASH/
uber files 在 渾水財經Channel Facebook 八卦
【渾水X-Files】內地天使投資人如何操作(渾水)(第148期)
唔同時期其實金融圈都有不同投資趨向,例如千禧年的科網股、06-08年就是一些國企或是賭股,以至這兩年來的科技股。當然除了股票以外,資產都是大家投資所好,例如金、石油、樓、bitcoin等。但是近幾年來金融圈就是開始流行一個非資產亦非上市股票的投資,就是做天使投資人。
其實這亦是一個十分合理的趨向,在這麼多國家大量印銀紙的時候,本身錢已經唔值錢,因此大家都會把錢投放在資產或是股票中,所以這些年來大家上唔到樓、睇到美股就來追上恆指或是炒bitcoin發達都是有跡可尋的。不過當這些資產都升到不合理的水平,而錢卻繼續泛濫時,資金都需要找出口,這時一些初創企業便成為他們的目標。
不過學阿嬌所講,個個都話自己係天使投資人唔通個個就真係天使投資人咩,有幾多其實係做了魚。所以今次渾水就想同大家介紹一個真正的天使投資人,張磊。大家可能沒有聽過張磊這一個名字,不個在渾水眼中,他的級數可比市場上的一些殼王殼后,甚至更高。先講一講張磊現時的背景,河南省高考狀元,中國人民大學經濟學學士學位,耶魯大學工商管理和國際關係雙碩士學位,耶魯大學校董會董事,中國人民大學校董事會副董事長,耶魯大學亞洲發展委員會主席,中美交流基金會董事,香港金融發展局委員以及香港金融科技督導小組成員,高瓴資本的創辦人。當中最重要就是內地高瓴資本的創辦人這一個title,可以話沒有這一個title,他可能不要有其他的title。
高瓴資本是內地一線的創投基金之一,是張磊於2005年創立的一家投資基金,目前已成為了亞洲地區資產管理規模最大的投資基金之一,其受託管理的資金主要來自全球性機構投資人,包括全球頂尖大學的捐贈基金、主權財富基金、養老基金及家族基金等。這檔基金資金規模從初創時的2000萬美元增長至今年300億美元,12年內增長了1500倍,投資效率和投資水準可見一斑。可能大家還不是太明白高瓴資本有幾厲害,如果我跟大家講百度、騰訊(00700.HK)、京東、攜程、去哪兒、Airbnb、Uber、美的、格力、中通快遞、滴滴出行、美團、 摩拜單車等背後都有高瓴資本的支持的話,大家就會不會又有另一看法呢?
http://www.winmoney.hk/…/%e3%80%90%e6%b8%be%e6%b0%b4x-file…/