🔆 12 ซอฟต์แวร์ฟรี !!! สำหรับเรียนรู้การเขียนโค้ด (โค้ดดิ้ง) เริ่มต้นจากการต่อบล็อกเชิงกราฟิก ไปสู่การเขียนโค้ดในภาษาคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย และเชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ได้
.
หลังจากได้ศึกษาหาข้อมูลและทดลองใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ (เน้นฟรี และถ้าเป็น Open Source ก็ยิ่งดี) มาสัก 1 ปี เพื่อนำมาเป็นตัวเลือกในการเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน ก็พอจะมองเห็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
.
ถ้าเริ่มต้นจาก คนที่ไม่เคยเขียนโค้ดมาก่อน ก็คงจะเริ่มด้วยการต่อบล็อกหรือเขียนโปรแกรมเชิงกราฟิก เน้นการใช้คำสั่งพื้นฐาน วางแผนขั้นตอนในการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ หลาย ๆ โรงเรียนก็เริ่มแบบนี้กันแล้ว เช่น ใช้ Scratch หรืออื่น ๆ
.
เมื่อมีความเข้าใจหลักการ 'โค้ดดิ้ง' ได้ระดับหนึ่งแล้ว ถัดไปคือ การเปลี่ยนผ่านไปสู่การเขียนโค้ดด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการนำไปใช้ได้จริง เช่น ภาษา Python, JavaScript หรือ C/C++ เป็นต้น ซึ่งจะยากขึ้น เพราะต้องเข้าใจคำสั่ง รูปแบบประโยค เป็นต้น
.
ในโลกของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น IoT หรือหุ่นยนต์ (Robotics) หรือระบบงานอัตโนมัติต่างๆ (Automation Systems) จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์ (บางทีก็เรียกว่า Devices หรือ Things) การเขียนโค้ดเพื่อสื่อสารหรือปฏิสัมพันธ์กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ก็ถือว่า เป็นความรู้และทักษะในการพัฒนาบุคลากรทางด้านนี้
.
ซอฟต์แวร์ที่ได้สำรวจและนำเสนอมาดังกล่าว จะเป็นตัวช่วยในการกำหนดแนวทางการเรียนรู้ ออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น หรือเด็ก ๆ ไปสู่ระดับที่สูงขึ้นไป ... เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตัวเลือกสำหรับการเรียนรู้ก็คงเช่นกัน
.
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ ...
.
References
- Google Blockly Games
🔗 https://blockly-games.appspot.com/
- Scratch 3.0:
🔗 https://scratch.mit.edu/
- Scratch Link Extensions
🔗 https://scratch.mit.edu/microbit
🔗 https://scratch.mit.edu/ev3
- Microsoft Makecode for Microbit
🔗 https://makecode.microbit.org/
- Micropython for Microbit
🔗 https://microbit.org/code/
- Wyliodrin
🔗 https://www.wyliodrin.org/
🔗 https://wyliodrin.com/
- STEMpedia PictoBlox
🔗 https://thestempedia.com/product/pictoblox/
🔗 https://thestempedia.com/prod…/pictoblox/download-pictoblox/
- MicroBlocks
🔗 http://microblocks.fun/
🔗 http://microblocks.fun/download
- Arduino IDE
🔗 https://www.arduino.cc/en/main/software
- Arduino Create
🔗 https://create.arduino.cc/
- Mu Editor for Python / MicroPython / CircuitPython
🔗 https://codewith.mu/en/download
🔗 https://microbit.org/code/
- AUTODESK Tinkercad
🔗 https://www.tinkercad.com/circuits
🔗 https://www.tinkercad.com/learn/circuits
.
👉 IoT Engineering Education @ KMUTNB, Bangkok / Thailand
.
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過62萬的網紅Bryan Wee,也在其Youtube影片中提到,...
「scratch 3.0 arduino」的推薦目錄:
- 關於scratch 3.0 arduino 在 โปรแกรมเมอร์ไทย Thai programmer Facebook
- 關於scratch 3.0 arduino 在 โปรแกรมเมอร์ไทย Thai programmer Facebook
- 關於scratch 3.0 arduino 在 BorntoDev Facebook
- 關於scratch 3.0 arduino 在 Bryan Wee Youtube
- 關於scratch 3.0 arduino 在 Travel Thirsty Youtube
- 關於scratch 3.0 arduino 在 スキマスイッチ - 「全力少年」Music Video : SUKIMASWITCH / ZENRYOKU SHOUNEN Music Video Youtube
scratch 3.0 arduino 在 โปรแกรมเมอร์ไทย Thai programmer Facebook 八卦
การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพด้วยบล็อกคำสั่ง: จาก MIT Scratch สู่ Google Blockly
เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ HTML5/CSS/JavaScript และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดรูปแบบการใช้งานซอฟต์แวร์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์และอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น "Software as a Service" (SaaS), "Coding in the Cloud" เป็นต้น มีการพัฒนาเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับเขียนหรือสอนการเขียนโปรแกรมตามมาอีกมากมาย โดยทั่วไป ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
💡 MIT Scratch, Berkeley Snap! และ MIT App Inventor 2 for Android
จากโพสต์คราวที่แล้ว "การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพด้วยบล็อกคำสั่ง: MIT Scratch และ Berkeley Snap! สู่การเชื่อมต่อกับ Arduino" ได้กล่าวถึง MIT Scratch (https://scratch.mit.edu) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ Open Source มีการใช้งานแบบ Desktop App สามารถนำไปสอนเยาวชนในช่วงอายุ 8 - 16 ปี เรียนรู้ Coding เป็นทักษะพื้นฐาน เน้นการสร้างเรื่องราวแบบปฏิสัมพันธ์ สร้างเกมส์ หรือ ภาพเคลื่อนไหว กราฟิก 2 มิติ
นอกจาก Scratch ก็ได้กล่าวถึง Berkeley BYOB/Snap! (https://snap.berkeley.edu) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวเลือก (Open Source) สำหรับฝึกเขียนโปรแกรมแบบกราฟิก ซึ่งอันที่จริงแล้ว ในตอนเริ่มต้น Snap! ก็เกิดจากการดัดแปลงโค้ด Scratch แต่ต่อมาได้พัฒนาใหม่ และใช้ภาษา JavaScript
โลกของเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปตลอดเวลา ล่าสุด Scratch เวอร์ชัน 3.0 ก็ใช้งานเป็นแบบ Web App ได้แล้ว โดยใช้ภาษา JavaScript (ใช้ไลบรารี Scratch Blocks) ในการพัฒนา
MIT Scratch และ Berkeley Snap! เป็นสองตัวเลือกที่ได้เลือกมานำเสนอ และใช้สำหรับฝึกเขียนโค้ดได้ด้วยวิธีลากบล็อกมาวาง (Drag & Drop Visual Programming) แต่ไม่ได้ใช้สำหรับเขียนโค้ดภาษาคอมพิวเตอร์โดยตรง (Text-Based Programming) และก็ไม่ได้ใช้สำหรับการสร้างโค้ดแล้วคอมไพล์หรือแปลงให้เป็นแอปพลิเคชันโดยอัตโนมัติ
แต่ถ้าอยากจะสอนเด็ก ๆ ให้ลองสร้าง Android App สำหรับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ด้วยวิธีการเดียวกับ Scratch และ Snap! และไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ด ก็มีตัวเลือกอย่างเช่น MIT App Inventor 2 for Android (http://appinventor.mit.edu/explore/) โครงการนี้ เริ่มราวปีค.ศ. 2010 โดย Google และพัฒนาต่อโดยทีมงานจาก MIT ในปีค.ศ. 2012 และเผยแพร่เวอร์ชัน "App Inventor 2" ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2013 ... ปัจจุบัน สามารถเข้าใช้งานแบบออนไลน์ได้ที่ http://ai2.appinventor.mit.edu/ ถ้าลองสืบค้นในอินเทอร์เน็ต จะเห็นมีตัวอย่างในหลายเว็บที่สร้าง Android App โดยใช้ MIT App Inventor 2 เพื่อเชื่อมต่อกับบอร์ด Arduino ผ่าน Bluetooth เช่น รับค่าจากเซ็นเซอร์ที่ต่อกับบอร์ด Arduino มาแสดงผลใน App หรือควบคุมหุ่นยนต์ หรือส่งข้อมูลต่อไปยัง Google Firebase เป็นต้น
💡 เมื่อ Scratch ต้องเปลี่ยนมาใช้ Google Blockly
Scratch 3.0 เปลี่ยนมาใช้ JavaScript (แทน ActionScript และ Adobe Flash Player) และได้ใช้ไลบรารีที่ชื่อว่า Scratch Blocks (https://github.com/LLK/scratch-blocks) ซึ่งมาจากโปรเจกต์ Blockly (https://developers.google.com/blockly/) พัฒนาโดย Google เริ่มต้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 และเป็น Open Source (Apache License 2.0)
Blockly เป็นไลบรารี หรือ API ที่ใช้ JavaScript / HTML5 / CSS สำหรับนำไปใช้พัฒนา Web App สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างโปรแกรมด้วยการต่อบล็อก (Scratch-like, Visual Block Programming) และแตกต่างจาก Scratch ซึ่งเป็นแอปพลิเคชัน (Web App)
ถ้าอยากทราบว่า จะใช้ Blockly สร้าง Web App อย่างไรได้บ้าง ลองดูตัวอย่าง ให้ดูเว็บ "Blockly Games" (https://blockly-games.appspot.com/) ที่มีตัวอย่างเกมส์ ผู้ใช้หรือผู้เล่นต้องนำบล็อกที่มีให้เลือก มาวางต่อกันเพื่อแก้ปัญหา
Blockly สามารถแปลงโปรแกรมที่ได้จากการต่อบล็อกต่าง ๆ ให้กลายเป็นโค้ดในภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหลายภาษาให้เลือกเป็นเอาต์พุต เช่น JavaScript, Python เป็นต้น ดังนั้น ผู้เรียนสามารถเปรียบเทียบและเชื่อมโยงระหว่างโปรแกรมที่เกิดจากการต่อบล็อก และโค้ดที่ได้จากโปรแกรมในภาษาคอมพิวเตอร์ตามที่เลือกให้เป็นเอาต์พุต (ตรงนี้ก็ถือว่า สำคัญในการเรียนรู้ Coding)
💡 BBC Micro:bit, Microsoft MakeCode
โครงการ BBC Micro:bit (https://microbit.org/) จากประเทศอังกฤษ ได้พัฒนาบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Micro:bit เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์ให้แก่เยาวชน ผู้เรียนสามารถใช้เขียนโค้ดโดยการนำบล็อกมาต่อกัน ใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยเข้าไปที่เว็บ Micro:bit's Code Kingdoms (https://www.microbit.co.uk/app/) หรือ Microsoft MakeCode for Micro:bit (https://makecode.microbit.org/)
MakeCode ของ Microsoft ก็ใช้ Google Blockly เป็นพื้นฐาน (a fork of Blockly) ในการสร้าง Web-based Block editor และใช้วิธีแปลงบล็อกเหล่านั้น ให้เป็นโค้ดในภาษา "Static TypeScript (STS) / TypeScript" จากนั้นจึงแปลงให้เป็นไฟล์โปรแกรม (.hex) ที่นำไปใช้ได้กับบอร์ด Micro:bit
ผู้ที่อยากจะใช้ Scratch ร่วมกับบอร์ด Micro:bit ก็มีตัวเลือกอย่างเช่น "Scratch 3.0 micro:bit experimental extension" ซึ่งสามารถเชื่อมต่อโปรแกรม Scratch ผ่าน Bluetooth ไปยังบอร์ด Micro:bit ได้ โดยต้องโปรแกรมไฟล์ scratch-firmware-combined.hex ลงในบอร์ดก่อน
💡 Arduino กับการเขียนโค้ดเชิงกราฟิกแบบออนไลน์ในสไตล์ Blockly
ลองมาดูว่า มีตัวอย่างเว็บที่ใช้ Blockly มาสร้าง Web App สำหรับสร้างโปรแกรมเพื่อนำไปใช้กับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ อย่างเช่น Arduino อะไรบ้าง
◻️ BlocklyDuino (https://github.com/gasolin/BlocklyDuino)
- เป็น Web-based visual programming editor for Arduino
- ได้แรงบันดาลใจมาจาก ( inspired by) "ArduBlock" ซึ่งเป็น Arduino Plug-in สำหรับเขียนโค้ดด้วยบล็อก
- พัฒนาโดย Fred Lin ตั้งแต่ปีค.ศ. 2012
- เป็น Open Source (Apache License 2.0)
- ใช้ Google Blockly สำหรับพัฒนาในส่วนที่เป็น Web App
- สามารถรันเป็น Web server (เขียนด้วย Python) ในเครื่องของผู้ใช้ได้ และเข้าใช้งานผ่านหน้าเว็บได้ แต่จะต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ Arduino IDE & tools ในเครื่องของผู้ใช้ เพื่อใช้ในการคอมไพล์โค้ดและอัปโหลดไปยังบอร์ด Arduino
- ใช้สำหรับบอร์ด Arduino Uno, Mega, Nano เป็นต้น
- มีการเพิ่มบล็อกให้เลือกใช้สำหรับฮาร์ดแวร์ของ Groove เช่น RC Servo, Motor, Relay, Button, Tilt Switch เป็นต้น และสามารถใช้งานออนไลน์ได้ที่ BlocklyDuino "Grove Edition" https://bit.ly/2mPqDwq
◻️ BlocklyProp (http://blockly.parallax.com/blockly/)
- เผยแพร่ครั้งแรกในเดือนกันยายน ค.ศ. 2016
- พัฒนาโดยบริษัท Parallax Inc. (USA)
- เป็น Open source (Apache License 2.0)
- ได้แรงบันดาลใจมาจาก (inspired by) BlocklyDuino
- ใช้ Google Blockly สำหรับพัฒนาในส่วนที่เป็น Web App
- สามารถรันเป็น Web server (เขียนด้วย Java) ในเครื่องของผู้ใช้ได้ และเข้าใช้งานผ่านหน้าเว็บได้
- ใช้ได้เฉพาะบอร์ด Parallax เท่านั้น เช่น บอร์ด Propeller Multicore(http://www.parallax.com/microcontrollers/propeller)
- เข้าใช้งานแบบออนไลน์ผ่านเว็บได้ที่ http://blockly.parallax.com/blockly/ และผู้ใช้ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ชื่อ "BlocklyProp Client" เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อบอร์ดผ่านทาง USB สำหรับการอัปโหลดโปรแกรม
◻️ ArduBlockly (https://ardublockly.embeddedlog.com/)
- ได้แรงบันดาลใจมาจาก ( inspired by) และพัฒนาต่อยอดจาก BlocklyDuino
- ใช้ Google Blockly สำหรับพัฒนาในส่วนที่เป็น Web App
- เป็น Open source (Apache License 2.0)
◻️ Blockly@rduino (http://www.techmania.fr/BlocklyDuino/)
- พัฒนาต่อยอดจาก BlocklyDuino เริ่มต้นราวปีค.ศ. 2016
- เป็น Open Source (Apache License 2.0)
- ใช้ Google Blockly สำหรับพัฒนาในส่วนที่เป็น Web App
- ใช้สำหรับบอร์ด Arduino Uno, Mega, Nano เป็นต้น
◻️ Webduino Blockly (https://blockly.webduino.io/)
- ใช้สำหรับบอร์ด BPI:bit (ESP32-based) จากบริษัทในประเทศจีน
- เป็น Open Source
🤔 เพิ่มเติม:
- การสร้างระบบซอฟต์แวร์ในทางวิศวกรรมแบบใช้บล็อก ก็มีให้เห็น อย่างเช่น MATLAB / Simulink และ LabView เป็นต้น สามารถจำลองการทำงาน แล้วแปลงเป็นโค้ดคอมไพล์ไปใช้งานสำหรับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ แต่ก็เป็นซอฟต์แวร์ที่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ ไม่ฟรี และไม่ใช่ Open Source
- การเขียนโปรแกรมโดยใช้บล็อกสำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์ เช่น Arduino ความสะดวกอยู่ที่การเลือกใช้บล็อกที่มีการเตรียมไว้แล้ว ก็เหมือนกับการสร้างไลบรารีสำหรับ Arduino ไว้ให้เรียกใช้งาน คนอื่นทำไว้ให้ เราก็แค่นำมาใช้งานให้เป็น
- ถ้าชุดของบล็อกเหล่านั้น (หรือเรียกว่า Block Set) มีอย่างจำกัด ก็จะจำกัดความยืดหยุ่นหรือความสามารถในการสร้างโปรแกรมของเราได้ แต่ถ้าบล็อกเซตมีจำนวนมาก เช่น มีจำนวนของบล็อกหลักร้อยหรือหลักพัน ก็ต้องใช้เวลาเรียนรู้ว่า แต่ละบล็อกใช้งานอย่างไร
- บางกรณีมีการสร้าง Custom Block (Blockly-based) ให้ผู้ใช้ เขียนโค้ดเองลงในบล็อกนั้นก็ได้ หรือถ้าสามารถสร้างบล็อกเพิ่มเติมไว้ใช้งานได้เอง ก็น่าสนใจ
- การสร้างบล็อกสำหรับใช้งานกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะเป็นอุปกรณ์ประเภทเดียวกัน ก็มีความแตกต่างกันได้ เหมือนในกรณีของไลบรารีสำหรับ Arduino จากผู้พัฒนาหลายแหล่งและมีชื่อฟังก์ชันหรือคำสั่งซึ่งแตกต่างกัน
🤔 ข้อคิดเห็น:
- ตัวเลือกซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สำหรับการเรียนรู้ ที่ได้นำเสนอมานั้น เป็นแค่บางส่วน (Open Source ทั้งหมด) ยังมีตัวเลือกอื่น ๆ อีกสำหรับการเรียนรู้
- ควรส่งเสริมความหลากหลาย เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบ พิจารณาความเหมือนความต่าง และความเชื่อมโยง
- มีตัวเลือกให้มากมายและใช้ได้ฟรี แต่ถ้าไม่เริ่มและลงมือจริงจัง ก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
References / Credit
- MIT Scratch
🔗 https://scratch.mit.edu
- Berkeley Snap!
🔗 https://snap.berkeley.edu
- MIT App Inventor 2 for Android
🔗 http://appinventor.mit.edu/explore/
- MIT App Inventor 2 online editor
🔗 http://ai2.appinventor.mit.edu/
- Google Blockly
🔗 https://developers.google.com/blockly/
- Google Blockly: Sourcecode
🔗 https://github.com/google/blockly
- Scratch Blocks: Sourcecode
🔗 https://github.com/LLK/scratch-blocks
- BBC Micro:bit
🔗 https://microbit.org/
- Micro:bit's Code Kingdoms
🔗 https://www.microbit.co.uk/app/
- MakeCode: Microsoft's JavaScript Blocks editor for Micro:bit
🔗 https://makecode.microbit.org/
- Scratch 3.0 micro:bit experimental extension
🔗 https://llk.github.io/microbit-extension/iste18/
- ArduBlock: Sourcecode
🔗 https://github.com/taweili/ardublock
- BlocklyDuino: Sourcecode
🔗 https://github.com/gasolin/BlocklyDuino
- BlocklyProp
🔗 http://blockly.parallax.com/blockly/
- BlocklyProp Starter Kit, Parallax Inc.
🔗 https://www.parallax.com/educ…/teach-blocklyprop-starter-kit
- BlocklyProp: Sourcecode
🔗 https://github.com/parallaxinc/BlocklyProp
- ArduBlockly
🔗 https://ardublockly.embeddedlog.com/
- ArduBlockly: Sourcecode
🔗 https://github.com/carlosperate/ardublockly/
- BlocklyDuino "Grove Edition"
🔗 https://blocklyduino.github.io/Blockly…/…/apps/blocklyduino/
- Blockly@rduino
🔗 http://www.techmania.fr/BlocklyDuino/
- Blockly@rduino: Sourcecode
🔗 https://github.com/technologiescollege/Blockly-at-rduino
- Webduino: Sourcecode
🔗 https://github.com/webduinoio
#IoT #STEM #VisualProgramming #KruBright
scratch 3.0 arduino 在 BorntoDev Facebook 八卦
อยากใช้งาน Raspberry Pi สร้างสรรค์โปรเจกต์ให้สุดปัง แต่ยังไม่รู้จักส่วนประกอบของมันเลยอะ ❗❗
.
มาดูนี่...วันนี้แอดจะพาทุกคนมาทัวร์บอร์ด Raspberry Pi ว่ามีส่วนประกอบอะไรกันบ้าง แต่ละอย่างคืออะไร และใช้ทำอะไร
.
👉 แต่ ๆๆๆ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้า Raspberry Pi กันก่อน
.
Raspberry Pi เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว สามารถเสียบเข้ากับจอคอม จอทีวี แป้นพิมพ์ และเมาส์ได้ ราคาถูกกว่าคอมพิวเตอร์ สามารถลง OS และใช้งานได้เหมือนคอมพิวเตอร์เครื่องนึงเลย
.
รองรับระบบปฏิบัติการ Linux ได้หลายระบบ เช่น Raspbian (Debian) Pidora (Fedora) และ Arch Linux เป็นต้น
.
✨ ใช้ทำอะไรได้บ้าง ?
.
สามารถใช้เรียนรู้วิธีการเขียนโปรแกรม เช่น Scratch และ Python ทำงานได้เหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ปกติ ตั้งแต่ท่องอินเตอร์เน็ต ดูวิดีโอ และเล่นเกม
.
อีกทั้งยังสามารถประยุกต์ใช้กับงานด้าน IoT อีกด้วย เช่น สร้างระบบ Home Automation, เครื่องตรวจจับใบหน้าที่ใช้ Library OpenCV จาก Python, ทำหุ่นยนต์, เครื่องวัดสภาพอากาศ เป็นต้น
.
🤔 ต่างจาก Arduino ยังไงนะ ?
.
เจ้า Raspberry Pi มันเหมือนคอมพิวเตอร์เครื่องนึงแหละ แต่ขนาดมันเล็ก น้ำหนักเบา และราคาถูกกว่ามาก แถมยังสามารถเชื่อมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ หน้าจอ ได้อีกด้วย
.
ส่วนเจ้าบอร์ด Arduino มันเป็นเพียงบอร์ดไมโครคอนโทลเลอร์ไม่สามารถใช้งานได้อย่างอิสระเหมือนคอมพิวเตอร์ แต่สามารถใช้ต่อกับเซ็นเซอร์ต่าง ๆ เพื่อสร้างผลงานด้าน IoT ได้เช่นกัน เช่น เครื่องวัดสภาพอากาศ, ระบบเปิด-ปิดไฟ, เครื่องวัดอุณหภูมิ เป็นต้น แถมยังมีราคาถูกกว่า Raspberry Pi นั่นเอง
.
.
และจะบอกว่าเจ้า Raspberry Pi เนี่ยมันมีหลายรุ่นมากกก ซึ่งรุ่นที่แอดจะนำมาแนะนำวันนี้คือ Raspberry Pi 4 Model B หากพร้อมแล้วไปดูส่วนประกอบของเจ้านี่ไปพร้อม ๆ กันเลย ~~
.
🔹 RAM
เป็นหน่วยความจำของตัวบอร์ด ซึ่งมี 3 ขนาดให้เลือกคือ 2GB, 4GB และ 8GB
.
🔹 GIPO
หรือ General Purpose Input/Output เป็นพอร์ตที่ใช้รับค่าและส่งค่าเพื่อควบคุมให้เป็นค่าต่าง ๆ ซึ่งใน Raspberry Pi จะมีทั้งหมด 40 Pin สามารถนำไปต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ได้
.
🔹 Gigabit Ethernet
พอร์ตเชื่อมต่อเพื่อรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต
.
🔹 WIFI/Bluetooth
รองรับ WIFI คลื่น 2.4 GHz และ 5.0 GHz มาตรฐาน IEEE 802.11ac และ Bluetooth 5.0/BLE เครือข่าย True Gigabit Ethernet และใช้เทคโนโลยี PoE (ผ่านส่วนเสริม PoE HAT แบบแยก)
.
🔹 USB Port
พอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซึ่งรองรับได้ทั้ง USB 3.0 และ USB 2.0
.
🔹 Micro HDMI Ports
เป็นพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับหน้าจอ ซึ่งรองรับการแสดงผล 2 จอ และให้ภาพแบบ 4K ที่อัตรา 60 fps
🔹 USB-C Power Supply
เป็นพอร์ต DC Power รองรับแรงดันไฟฟ้าที่ 5V
.
🔹 Processsor
หน่วยประมวลผลหลัก ซึ่งใช้ Processsor แบบ 4 Core 64 Bit ทำงานที่ความเร็ว 1.5 GHz
.
🔹 A/V Port
คือพอร์ตเพื่อเชื่อมต่อกับสาย AV เพื่อรับสัญญาณเสียงและวิดีโอ
.
🔹 DSI Port
เป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อกับหน้าจอแสดงผล เช่น จอแสดงผลแบบ TFT Touch Screen
.
และทั้งหมดนี้คือส่วนประกอบของ Raspberry Pi 4 ที่แอดพามาทัวร์ในวันนี้...หวังว่าเพื่อน ๆ จะเข้าใจและเห็นภาพมากขึ้นนะ
.
หากชอบอย่าลืม กดไลก์ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับพวกเราด้วยนะ ❤️
📑 หากใครสนใจอยากอ่านข้อมูลเต็ม เข้าลิงค์ด้านล่างเลย 👇👇
https://www.raspberrypi.org/products/raspberry-pi-4-model-b/specifications/ , https://www.freecodecamp.org/news/what-is-raspberry-pi-specs-and-models-2021-guide/
.
borntoDev - 🦖 สร้างการเรียนรู้ที่ดีสำหรับสายไอทีในทุกวัน
#RaspberryPi #ioT #Arduino #BorntoDev