Warren Buffett เตรียมพร้อมที่จะลาจาก /โดย ลงทุนแมน
บริษัทของคุณได้รับการเตรียมพร้อม 100% สำหรับการลาจากของเรา
“Your company is 100% prepared for our departure”
นี่คือหนึ่งในข้อความที่อยู่ในจดหมายของ Berkshire Hathaway ที่เขียนให้แก่ผู้ถือหุ้นในงานประชุมผู้ถือหุ้นครั้งล่าสุด
โดยผู้เขียนข้อความดังกล่าว ก็คือ Warren Buffett นักลงทุนระดับตำนานของโลก
ปัจจุบัน Warren Buffett คือ บุคคลที่รวยที่สุดอันดับที่ 3 ของโลก โดยมีสินทรัพย์รวมกว่า 2.6 ล้านล้านบาท
วันนี้เขาคือ CEO ของ Berkshire Hathaway เป็นบริษัทเดียวที่ติดอันดับท็อปเท็นของสหรัฐฯ โดยที่ไม่ได้ทำธุรกิจเทคโนโลยี บริษัทนี้ทำเพียงแค่ลงทุนบริษัทอื่น ลงทุนบริษัทอื่น และลงทุนบริษัทอื่นไปเรื่อยๆ
แต่ด้วยอายุที่มากขึ้นทุกวันของ Warren Buffett ทำให้ที่ผ่านมา เขาต้องมองหาผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่แทนตัวเขาเมื่อวันที่เขาจากไปในอนาคต
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Warren Buffett เกิดเมื่อปี 1930 ที่รัฐเนแบรสกา สหรัฐอเมริกา เขามีความสนใจในธุรกิจและการลงทุนตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้เขาเริ่มหาเงินตั้งแต่เด็กโดยเริ่มตั้งแต่การขายหมากฝรั่ง น้ำอัดลม นิตยสาร แม้แต่หนังสือพิมพ์ที่เขาเดินไปขายตามบ้านคน
เมื่อตอนที่เขาอายุ 15 ปี เขาและเพื่อนรวมเงินกันได้ 25 ดอลลาร์สหรัฐ แล้วไปซื้อเครื่องเล่นพินบอลเพื่อเอาไปตั้งไว้ในร้านตัดผม
ไม่กี่เดือนต่อมา เขาก็มีเครื่องเล่นพินบอลตั้งในร้านตัดผม 3 แห่ง ซึ่งภายในปีเดียวกันนี้ มีทหารคนหนึ่งมาขอซื้อกิจการนี้ต่อจากเขาและเพื่อน ทำให้เขาขายมันออกไปได้เงินจำนวนถึง 1,200 ดอลลาร์สหรัฐ..
Warren Buffett เริ่มเข้ามาซื้อ Berkshire Hathaway ในปี 1962 ซึ่งตอนนั้นเป็นเพียงแค่บริษัทสิ่งทอและกำลังอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเสื่อมคลายลง
โดยในเวลาต่อมาเขาค่อยๆ เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจของ Berkshire Hathaway โดยเข้าสู่ธุรกิจประกัน และนั่นคือจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ Berkshire Hathaway ซึ่งอดีตนั้นเป็นเพียงบริษัทสิ่งทอธรรมดา กลายมาเป็นหนึ่งในบริษัทโฮลดิ้งด้านการลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก
รู้ไหมว่า ในปี 2019 ถ้านับเฉพาะแค่หุ้นขนาดใหญ่ 10 ตัวที่ Berkshire Hathaway ลงทุนนั้น เช่น American Express, Apple, Bank of America, Coca-Cola หุ้นเหล่านั้นจ่ายเงินปันผลให้ Berkshire Hathaway ประมาณ 120,000 ล้านบาท หรือวันละ 329 ล้านบาท
ปัจจุบัน หุ้นของบริษัท Berkshire Hathaway หรือ BRK มีมูลค่าหุ้นละ 9,800,000 บาท เพราะบริษัทนี้ไม่เคยจ่ายปันผล ไม่เคยแตกหุ้น นำเงินที่ได้มาไปลงทุนต่อในบริษัทอื่นๆ เรื่อยๆ ทำให้หุ้น BRK กลายเป็นหุ้นที่ราคาต่อหุ้นแพงสุดในโลก และมี Market cap. เท่ากับ 15.8 ล้านล้านบาท ซึ่งพอๆ กับ GDP ของประเทศไทยทั้งประเทศ
รู้ไหมว่า ตั้งแต่ปี 1965 มาจนถึงปี 2019 ผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นต่อปีของหุ้น BRK นั้นชนะผลตอบแทนของดัชนี S&P 500 อย่างขาดลอย
ผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นต่อปีของหุ้น BRK เท่ากับ 20.3% เงินลงทุน 100,000 บาท จะเพิ่มเป็น 2,600 ล้านบาท
ผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นต่อปีของดัชนี S&P 500 เท่ากับ 10.0% เงินลงทุน 100,000 บาท จะเพิ่มเป็น 19 ล้านบาท
ซึ่งจำนวนเงินที่เพิ่มต่างกัน 137 เท่า ทำให้นักลงทุนที่ถือหุ้น BRK มานาน หลายคนเปลี่ยนสถานะจากนักลงทุนธรรมดากลายเป็นมหาเศรษฐีในวันนี้
ที่สำคัญคือ ในช่วงเวลาดังกล่าว ผลตอบแทนของหุ้น BRK นั้นชนะดัชนี S&P 500 ถึง 37 ครั้ง ซึ่งนั่นทำให้ Warren Buffett ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกตลอดกาล
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นความท้าทายของ Berkshire Hathaway หลังจากนี้คือ อายุที่มากขึ้นเรื่อยๆ ของ Warren Buffett ซึ่งที่ผ่านมา หนึ่งในคำถามที่ตัวเขามักถูกผู้ถือหุ้นถามเป็นประจำในช่วงการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี ก็คือ อนาคตของ Berkshire Hathaway ในวันที่ไม่มีตัวเขาบริหารงาน
ก่อนหน้านั้น ในปี 2012 Warren Buffett ซึ่งตอนนั้นอายุ 82 ปี เคยตรวจพบว่าป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรก ก่อนที่ต่อมาเขาจะเข้ารับการรักษาโรคดังกล่าวจนหายดีแล้ว
อย่างไรก็ตาม ด้วยอายุที่เข้าสู่วัย 90 ปี ตัวเขาและคู่หูที่ชื่อว่า Charlie Munger อายุ 96 ปี ผู้ที่เปรียบเสมือนคู่หูที่รู้ใจของ Warren Buffett จำเป็นต้องมองหาคนที่จะเข้ามาสืบทอดตำแหน่งและดูแลบริษัท Berkshire Hathaway ต่อไป
โดยเขาทั้งคู่หวังว่า คนที่เข้ามาแทนพวกเขาต้องทำงานที่ Berkshire Hathaway ไปอีกอย่างน้อย 10 ปี หลังจากที่ไม่มีพวกเขาดูแลแล้ว
เรื่องนี้ อาจบอกกับเราได้ว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเสมือนสัจธรรมของชีวิตที่ไม่ว่าจะเป็นคนจน คนรวย คนเก่ง คนไม่เก่ง ทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องเจอสิ่งเหล่านี้
ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดก็คือ
การเตรียมตัวให้พร้อม รับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคนที่อยู่ข้างหลัง
เหมือนกับที่ Warren Buffett ทำอยู่ก็คือ การวางแผนส่งต่อให้กับผู้บริหารรุ่นถัดไป..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://thecollegeinvestor.com/972/the-top-10-investors-of-all-time/
-https://www.fool.com/investing/2019/12/22/5-reasons-warren-buffett-didnt-beat-the-market-ove.aspx
-https://www.berkshirehathaway.com/2019ar/2019ar.pdf?mod=article_inline
-https://www.investopedia.com/financial-edge/1211/introducing-warren-buffetts-successor.aspx
-https://markets.businessinsider.com/news/stocks/warren-buffett-annual-letter-berkshire-hathaway-prepared-for-deaths-2020-2-1028928838
s&p 500 market cap 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
รู้จัก Vanguard Group ผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของ Apple /โดย ลงทุนแมน
นับจากต้นปีนี้ มูลค่าบริษัท Apple นั้นปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 ล้านล้านบาท ซึ่งมูลค่าที่เพิ่มมานี้มากกว่ามูลค่าของตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยทั้งตลาดเสียอีก
ปัจจุบัน Apple คือ บริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ด้วยมูลค่า Market Cap. ประมาณ 61 ล้านล้านบาท
แน่นอนว่า เรื่องนี้ทำให้ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนหลายรายร่ำรวยจากการถือหุ้น Apple
แล้วเราเคยสงสัยไหมว่า ปัจจุบันนี้ ผู้ถือหุ้นใหญ่ Apple คือใคร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
สัมผัสเทคโนโลยีรูปแบบใหม่จากสตาร์ตอัปไทย Blockdit
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาดูก่อนว่า ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Apple 3 อันดับแรก ในตอนนี้คือใคร
1. The Vanguard Group จำนวนหุ้นที่ถือ 336.7 ล้านหุ้น มูลค่าเท่ากับ 4.9 ล้านล้านบาท
2. BlackRock จำนวนหุ้นที่ถือ 274.7 ล้านหุ้น มูลค่าเท่ากับ 4.0 ล้านล้านบาท
3. Berkshire Hathaway จำนวนหุ้นที่ถือ 245.2 ล้านหุ้น มูลค่าเท่ากับ 3.6 ล้านล้านบาท
แล้ว The Vanguard Group คือใคร?
The Vanguard Group คือ บริษัทจัดการลงทุนจากสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1975 หรือ 45 ปีที่แล้ว โดย John C. Bogle
สำหรับ John C. Bogle คนทั่วไปอาจไม่ค่อยรู้จักเขา แต่คนคนนี้คือ ผู้คิดค้นการลงทุนกองทุนอิงดัชนี ซึ่งเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นดัชนี โดยพยายามเลียนแบบให้ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีที่ใช้อ้างอิงมากที่สุด
ซึ่งกองทุนดัชนีที่เราคุ้นเคย เช่น S&P 500 ของสหรัฐอเมริกา
หรือแม้แต่กองทุน SET50 ของประเทศไทยก็เป็นกองทุนที่พยายามลงให้คล้ายดัชนี SET50
และหนึ่งในกองทุนยอดนิยมของ The Vanguard Group ก็คือ กองทุนดัชนี Vanguard 500 ที่ John C. Bogle จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 1976 หรือ 44 ปีที่แล้ว
โดยกองทุนนี้ จะใช้กลยุทธ์การลงทุนเลียนแบบหลักทรัพย์ที่ประกอบในดัชนี S&P 500 ของสหรัฐอเมริกา
ที่น่าสนใจคือ นับตั้งแต่ที่กองทุน Vanguard 500 ถูกจัดตั้งขึ้นมาจนถึงวันนี้ กองทุนทำผลตอบแทนรวมทั้งหมด 9,902% ซึ่งนั่นหมายความว่า ถ้าเราลงทุนในกองทุนนี้ด้วยเงินจำนวน 1 ล้านบาท มาวันนี้เราจะมีเงินมากกว่า 99 ล้านบาท เมื่อเวลาผ่านไป 44 ปี
และด้วยการที่ตัวเขา เป็นต้นตำรับของการลงทุนในกองทุนดัชนี ทำให้ John C. Bogle ถึงขนาดได้รับการยกย่องจากวอร์เรน บัฟเฟตต์ ว่า “เขาคือฮีโร่ของชาวอเมริกันอย่างแท้จริง”
ปัจจุบัน The Vanguard Group เป็นบริษัทจัดการลงทุนที่มีทรัพย์สินภายใต้การบริหารจัดการสูงถึง 198 ล้านล้านบาท ซึ่งมูลค่านี้มากกว่า GDP ของประเทศญี่ปุ่นที่เท่ากับ 165 ล้านล้านบาท
ขณะที่ The Vanguard Group มีกองทุนที่บริหารจัดการทั้งหมดถึง 420 กองทุน โดย 45% เป็นกองทุนที่ลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกา และ 55% เป็นกองทุนที่ลงทุนนอกตลาดสหรัฐอเมริกา
ขณะที่มีนักลงทุนซึ่งเป็นลูกค้าของ The Vanguard Group จำนวนกว่า 30 ล้านคน อยู่ในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก
โดยสรุปแล้ว พูดง่ายๆ ก็คือ ผู้ถือหุ้นใหญ่สุดใน Apple ก็คือ Vanguard Group ซึ่งเป็นบริษัทจัดการเงินลงทุนให้กับกว่า 30 ล้านคนทั่วโลกอีกที นั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
รู้ไหมว่า หุ้น Apple เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้น Nasdaq ในปี 1980 หรือ 40 ปีที่แล้ว
ในตอนนั้นมูลค่า Market Cap. ของ Apple มีมูลค่าเท่ากับ 57,600 ล้านบาท ที่น่าสนใจคือนับจากวันนั้นจนถึงวันนี้ มูลค่าบริษัท Apple ได้เพิ่มขึ้นมากว่า 1,000 เท่า
หมายถึงว่า ถ้าเราลงทุนในหุ้น Apple ด้วยเงิน 1 ล้านบาท ในวันนั้น มาวันนี้เงินลงทุนของเราจะเพิ่มขึ้นกว่า 1,000 ล้านบาท เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
สัมผัสเทคโนโลยีรูปแบบใหม่จากสตาร์ตอัปไทย Blockdit
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://finance.yahoo.com/quote/AAPL?p=AAPL
-https://en.wikipedia.org/wiki/The_Vanguard_Group
-https://www.investopedia.com/articles/markets/120115/top-5-apple-shareholders.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/John_C._Bogle
-https://www.macrotrends.net/stocks/charts/AAPL/apple/market-cap
-https://finance.yahoo.com/news/heres-long-took-apple-reach-140024062.html
-https://about.vanguard.com/who-we-are/fast-facts/
-https://investor.vanguard.com/mutual-funds/profile/performance/vfinx/cumulative-returns
s&p 500 market cap 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง “กางกลยุทธ์ พิชิตหุ้นสหรัฐฯ”
BBLAM x ลงทุนแมน
ช่วงเวลาที่ผ่านมา คงไม่มีตลาดหุ้นไหนสามารถทำผลงานได้โดดเด่น อย่างตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
ที่ทำให้นักลงทุนสัมผัสได้ถึงความร้อนแรง จนเกิดคำถามว่า หลังจากนี้ โอกาสของหุ้นสหรัฐอเมริกาจะเป็นอย่างไร ?
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา ลงทุนแมน ร่วมพูดคุยกับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจากกองทุนบัวหลวง
คือ คุณพูนสิน เพ่งสมบูรณ์ AVP, Portfolio Solutions
และ คุณนวรัตน์ เจียมกิจรุ่ง SVP, Product Development
ถึงประเด็นสำคัญในการลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลานี้
เรื่องราวสำคัญที่นักลงทุนควรรู้ จะมีอะไรบ้างนั้น ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟังเป็นข้อ ๆ แบบเข้าใจง่าย
1. ภาพรวมของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ?
ความร้อนแรงของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ
- นโยบายการเงินการคลัง ที่สามารถส่งต่อไปยังภาคธุรกิจ และภาคการบริโภคได้จริง
- การกลับมาของภาคธุรกิจ ทั้งจากกลุ่มธุรกิจที่เติบโต และกลุ่มธุรกิจที่ฟื้นตัวจากปีก่อน
ประเด็นที่ต้องจับตาต่อจากนี้คือ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกากำลังเข้าสู่ช่วง Mid Cycle ซึ่งแปลว่า เราอาจจะไม่ได้เห็นการปรับตัวขึ้นแรง ๆ ของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาเหมือนในช่วงที่ผ่านมา
ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนจากนี้ไป จึงต้องมีการคัดเลือกหุ้นรายตัว รายกลุ่มอุตสาหกรรมให้มากขึ้น
2. ความน่าสนใจของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา อยู่ที่ตรงไหน ?
ย้อนกลับไปช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาพบปัญหาระหว่างทางมาโดยตลอด
ไม่ว่าจะเป็น สงครามการค้ากับจีน หรือผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 ประกอบกับการเติบโตของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาที่เริ่มตั้งแต่ปี 2009 ก็ดูเหมือนจะจบรอบไปแล้วในปีที่ผ่านมา
ถ้าดูตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ปี 2020 ออกมา -30% แต่ที่น่าสนใจก็คือ สหรัฐอเมริกาฟื้นตัวกลับมาได้ค่อนข้างเร็ว โดยเห็นได้จาก GDP ไตรมาส 3 ปี 2020 ปรับตัวขึ้นกลายเป็น +33%
และถ้าหากสังเกตดัชนี S&P 500 ก็ยิ่งฟื้นตัวแรงไม่แพ้กัน
โดยใช้เวลาฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด 19 แค่ 1 เดือนเท่านั้น และก็ยังทำ New High ต่อเนื่อง อย่างในปี 2021 นี้ก็ +20% จากต้นปีอีกด้วย
ซึ่งต่างไปจากวิกฤติซับไพรม์ปี 2007 ที่ต้องใช้ระยะเวลาฟื้นตัวกว่า 18 เดือน แต่เมื่อฟื้นตัวกลับมาได้ ก็ไปต่อได้ดีเช่นกัน
ดังนั้น จุดที่น่าสนใจของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา เมื่อสังเกตจาก 2 วิกฤติที่ผ่านมาก็คือ เมื่อสหรัฐอเมริกาประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจแล้ว มักจะกลับมาฟื้นตัวได้เร็ว และก็ดีกว่าเดิมเสมอ
3. แล้วจุดขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาฟื้นตัวได้เร็ว คืออะไร ?
ปัจจัยที่ 1 คือ อำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ผ่าน 2 เครื่องมือสำคัญ นั่นคือ
- นโยบายทางการเงิน ที่จะช่วยให้ตลาดการเงินของสหรัฐอเมริกายังคงดำเนินต่อไปได้ โดยการซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ในตลาด เพื่อพยุงราคาไม่ให้ถูกเทขาย
เช่น พันธบัตรรัฐบาล, Mortgage-Backed Securities (ตราสารทางการเงินที่มัดรวมสินเชื่อบ้านเข้าด้วยกัน โดยมีสถาบันการเงินเป็นคนกลางจับคู่ระหว่างผู้กู้ยืมและนักลงทุน), หุ้นกู้ในกลุ่ม Fallen Angels ที่ถูกปรับลดระดับเครดิตต่ำกว่า BBB (Non-Investment Grade)
- นโยบายการคลัง ที่จะช่วยเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
เช่น การอัดฉีดเงินกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐไปให้ชาวอเมริกันที่ได้รับผลกระทบจากการว่างงาน
เนื่องจากโครงสร้าง GDP สหรัฐอเมริกามาจากภาคการบริโภค 70%
ดังนั้น หากชาวอเมริกันกลับมาบริโภคได้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็จะกลับคืนมาด้วย
แต่ก็ต้องยอมรับว่า ทั้ง 2 นโยบายที่ว่านี้ คงจะมีแต่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น ที่สามารถทำได้
หากเป็นประเทศอื่น ๆ เราคงเห็นปัญหาตามมาอีกมากมาย เช่น ประเทศไทยที่มีสัดส่วนการบริโภคแค่ 1 ใน 4 ถ้าหากเราอัดฉีดเม็ดเงินเช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาค่าเงินบาทอ่อนหรือปัญหาเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นแรง เป็นผลมาจากการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่มากเกินไป
โดยเหตุผลที่สหรัฐอเมริกาสามารถทำเช่นนี้ได้ เพราะความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจโลกครองสัดส่วน 1 ใน 4 ของมูลค่า GDP โลก และเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังเป็นเงินสกุลหลักของการค้าระหว่างประเทศ
ปัจจัยที่ 2 คือ โครงสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งและหลากหลาย ส่งผลให้ภาพรวมฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
หากสังเกตดัชนี S&P 500 จะพบว่า Market Cap. ของกลุ่มเทคโนโลยี 27% สูงเป็นอันดับที่ 1 ถัดมาจะเป็นกลุ่ม Health Care 13% และกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย 12% ล้วนเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโต
ที่น่าสนใจคือ เทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราขึ้นเรื่อย ๆ เสมือนเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิตคนเรา และหลากหลายกลุ่มเทคโนโลยีอนาคตอย่าง Innovation, FinTech, Digital Advertising ยังมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการแข่งขันในอนาคตอีกด้วย
นอกจากนี้ วิกฤติโควิด 19 ยังเป็นปัจจัยผลักดันการเติบโตของสินค้าเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เช่น การช็อปปิงออนไลน์, การดูวิดีโอสตรีมมิงแทนการเข้าโรงภาพยนตร์
ขณะที่ภาคธุรกิจเอง ก็หันมาให้ความสนใจ Digital Advertising มากกว่าป้ายบิลบอร์ดเดิม ๆ ส่งผลให้ลดต้นทุน, ลดขั้นตอน Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งหมดนี้ จึงทำให้เชื่อว่า หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐอเมริกาจะยังเติบโตตามผลประกอบการต่อไปได้
4. หลังจากการฟื้นตัว ก้าวต่อไปคือการเข้าสู่ Mid Cycle ?
เมื่ออัตราการว่างงานลดลง ซึ่งคาดว่า 8-10 เดือนข้างหน้า ก็จะสามารถกลับเข้าสู่ระดับปกติก่อนเกิดวิกฤติโควิด 19 ได้ ขณะเดียวกัน Fed ก็เริ่มส่งสัญญาณถอนคันเร่งมาตรการกระตุ้น ด้านสวัสดิการว่างงานก็เริ่มลดลง สะท้อนได้ว่า สหรัฐอเมริกากำลังเข้าสู่ช่วง Mid Cycle
ดังนั้น เราน่าจะไม่ได้เห็นสภาพคล่องท่วมตลาดเหมือนอย่างเคยอีกต่อไป
กลยุทธ์การลงทุนในช่วง Mid Cycle จึงต้องเลือกลงทุนหุ้น Growth เช่น หุ้นเทคโนโลยี
หรือลงทุนหุ้นที่จะได้รับผลประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ ในโครงการที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กำลังผลักดันอยู่ในขณะนี้ เช่น
- American Rescue Plan วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นสวัสดิการชดเชยการว่างงาน
- Infrastructure Bill วงเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศ
- American Families Plan วงเงิน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมนุษย์
- American Jobs Plan วงเงิน 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน, Health Care, อุตสาหกรรม EV, พลังงานสะอาด
- U.S. Innovation and Competition Act วงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแข่งขันกับจีน
หากโครงการเหล่านี้ได้รับการอนุมัติทั้งหมด จะกลายเป็นเม็ดเงินพัฒนาเศรษฐกิจที่เยอะที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ที่จะช่วยพัฒนาประเทศระยะยาว 5-10 ปี เลยทีเดียว
5. ตอนนี้ Master Fund ระดับโลก มองการลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาอย่างไร ?
หลังจากที่กองทุนบัวหลวงได้พูดคุยกับผู้จัดการกองทุน J.P. Morgan หนึ่งใน Master Fund ระดับโลก
พบว่า หากเป็นการลงทุนระยะกลาง J.P. Morgan กำลังพุ่งเป้าไปที่กลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจหลังจากผ่านวิกฤติโควิด 19 เช่น
- กลุ่มธุรกิจ Reopening ที่เชื่อว่าจะกลับมาฟื้นตัว และได้รับประโยชน์จากความต้องการซื้อที่อัดอั้นมาจากวิกฤติโควิด 19 เช่น การจองโรงแรม, การเช่ารถ, ร้านอาหาร
- กลุ่ม Health Care ทั้งในแง่ของการรับมือกับโควิด 19, การพัฒนาวัคซีน, การวิจัยเชื้อกลายพันธุ์ และพฤติกรรมพร้อมจ่ายของคนเราเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง จึงมองว่ากลุ่มยา และกลุ่ม Biotech ยังเติบโตได้ดี
- กลุ่มพลังงานสะอาด จากการผลักดันนโยบาย EU Green Deal ขณะที่ต้นทุนของพลังงานลม และพลังงานโซลาร์เซลล์ ที่ถูกลงมากเมื่อเทียบกับพลังงานดั้งเดิม รวมทั้งกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์กักเก็บพลังงานก็น่าสนใจ
ขณะเดียวกัน หากเป็นการลงทุนระยะยาว J.P. Morgan กำลังจับตากลุ่มธุรกิจที่สอดรับกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า
ซึ่งนอกจาก 3 กลุ่มข้างต้นแล้ว ก็ยังมีกลุ่มเครื่องจักรอัตโนมัติ หรือกลุ่ม Smart ต่าง ๆ เช่น Smart Home, Smart TV ที่กำลังเติบโตตามโลกอนาคต อีกด้วย
6. กลยุทธ์การลงทุนหุ้น Growth ในช่วงเวลานี้ ?
กลยุทธ์การวิเคราะห์ลงทุนหุ้น Growth ของ J.P. Morgan จะออกเป็น 2 รูปแบบ นั่นคือ
- รูปแบบ Bottom Up คือการวิเคราะห์หุ้นรายตัวเป็นหลัก
- รูปแบบ Micro Focus คือการวิเคราะห์ลงรายละเอียดเล็ก ๆ เพราะเชื่อว่าจุดเล็ก ๆ จะนำไปสู่ความแตกต่างจากบริษัทอื่นอย่างมีนัยสำคัญได้ เช่น Facebook ที่กำลังได้รับประโยชน์จากโฆษณาออนไลน์อย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายคือ การค้นหาหุ้นสหรัฐอเมริกาที่กำลังเติบโตมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ภายใต้ 3 ลักษณะสำคัญคือ
- ธุรกิจที่มีผลต่อการบริโภค หรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
- ธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว มีกำไรที่แข็งแกร่ง
- ธุรกิจที่มีการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น (Momentum) ทิศทางเชิงบวก ดังนั้นต้องรู้จักทำใจให้นิ่งเพื่อรอจังหวะ Momentum ที่ดีได้
อีกหนึ่งกลยุทธ์การลงทุนที่สำคัญก็คือ การปรับพอร์ตลงทุนอยู่เสมอ โดยจะลดน้ำหนักหุ้นที่มีราคาปรับตัวขึ้นมานานหลายปี และตลาดรับรู้ข่าวทั้งหมดแล้ว
เช่น กลุ่มเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Microsoft, Apple ถูกลดสัดส่วนตั้งแต่ปีที่แล้ว เพื่อนำเงินไปลงทุนหุ้นที่จะเป็น “Big Winner” ตัวต่อไป แต่ก็ไม่ได้ขายหมดทั้งพอร์ต เพราะยังมองว่าเป็นธุรกิจที่ดีระยะยาว
นอกจากนี้ ด้วยความเป็นกองทุนแบบ Active ของ J.P. Morgan ยังมองเห็น 2 กลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจคือ
- กลุ่มการเงิน โดยจะลงทุนทั้งสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น และกลุ่ม Online Payment
- กลุ่มเทคโนโลยี 5G และ EV โดยที่มองลงลึกไปถึง “ทองแดง” ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของกลุ่มเทคโนโลยี จึงเข้าไปลงทุนบริษัท Freeport-McMoRan หนึ่งในธุรกิจเหมืองแร่ทองแดงที่ใหญ่ที่สุดในโลก
7. ตัวอย่างธุรกิจที่เข้าข่ายหุ้น Growth ที่น่าสนใจ ?
ธุรกิจในกลุ่ม Digital Advertising เช่น Snap Inc. เจ้าของแอปพลิเคชัน Snapchat ที่มียอดผู้ใช้งานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังมีการขยายฐานผู้ใช้งานไปยังประเทศอินเดีย ทำให้มีโอกาสเติบโตในเรื่องของเม็ดเงินโฆษณาได้อีกมาก ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา รายได้ของ Snapchat ก็เติบโตเฉลี่ยปีละ 46%
ธุรกิจในกลุ่มต่อมาก็คือ Online Payment เช่น PayPal ที่ได้ประโยชน์จากการใช้ชีวิตในยุค New Normal และตอบโจทย์ในการชำระเงินยุคใหม่
ซึ่งจากผลการดำเนินงานในไตรมาสล่าสุด PayPal มีจำนวนบัญชี Active User เติบโต 16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่จำนวนธุรกรรมเติบโต 40% จากปีก่อนหน้า
ธุรกิจในกลุ่มสุดท้ายก็คือ ธุรกิจนอกกลุ่มเทคโนโลยี เช่น John Deere ผู้ผลิตและจำหน่ายรถแทรกเตอร์ อุปกรณ์การเกษตรที่นำเทคโนโลยีมาใช้กับการเกษตร ตอบโจทย์การเกษตรสมัยใหม่และเทรนด์ความยั่งยืน
หากสหรัฐอเมริกามีการเก็บภาษีจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็จะเป็นประโยชน์โดยตรงกับ John Deere
ซึ่งหุ้น 3 ตัวนี้ ก็เป็นหุ้นที่ J.P. Morgan ลงทุนเป็น Top Holding อีกด้วย
8. ตอนนี้หุ้น Growth แพงไปหรือยัง ?
ในมุมมองของกองทุนบัวหลวง คิดว่าหุ้น Growth ยังไม่แพงเกินไป ถึงแม้ว่าจะผ่านช่วงสูงสุดไปแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสเติบโตได้อยู่
โดยหากมาดูในส่วนของค่ากลางของ P/E Ratio S&P 500 พบว่า อยู่ที่ 20 เท่า สะท้อนให้เห็นว่า ยังมีโอกาสที่เรายังสามารถหาหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตในราคาที่สมเหตุสมผลได้อยู่
และที่ผ่านมาดัชนี S&P 500 ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ P/E ทยอยปรับลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากกำไรของบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว
โดยในปี 2021 มีการคาดการณ์ว่ากำไรของบริษัทใน S&P 500 จะโต 60% ในขณะที่ในปี 2022 S&P มีการคาดการณ์ว่ากำไรจะโตต่ออีก 15% จากปี 2021
จากตรงนี้ก็จะเห็นได้ว่า ยังมีอีกหลายธุรกิจที่ผลการดำเนินงานยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อยู่
9. ผลตอบแทนการลงทุน ด้วยกลยุทธ์แบบ J.P. Morgan เป็นอย่างไร ?
จากกลยุทธ์ Active Management ที่เน้น Micro Focus ทำให้กองทุน JPM US Growth ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกา มีผลการดำเนินงานที่ค่อนข้างดีมาอย่างต่อเนื่อง
หากเรามาดูผลการดำเนินงานของกองทุน JPM US Growth จะพบว่า ถ้าดูย้อนหลังไป 3 ปี เฉลี่ยต่อปีแล้ว ผลตอบแทนจะเท่ากับ 27% สูงกว่าเมื่อเทียบกับ Benchmark ที่เป็น Russell 1000 ที่เน้นเฉพาะหุ้นเติบโต ซึ่งถ้าย้อนหลัง 5 ปี ผลการดำเนินงานก็ดีกว่าเช่นกัน
เมื่อมาดูการจัดอันดับของ Morningstar พบว่ากองทุน JPM US Growth อยู่ใน First Quartile คือเป็นหนึ่งในกองทุนที่ทำผลการดำเนินงานได้ดีอยู่ในเกณฑ์ดีที่สุดในกลุ่มอีกด้วย
หากมาดูด้าน Valuation ของกองทุน JPM US Growth จะเห็นว่า กองทุนนี้มี P/E Ratio ที่ต่ำกว่า Benchmark แต่มีอัตราการเติบโตของกำไร (%EPS Growth) สูงกว่า Benchmark และ S&P 500
10. เราจะลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาในรูปแบบกองทุน ได้อย่างไร ?
กองทุน B-USALPHA เป็นกองทุน Feeder Fund ที่ลงทุนในกองทุนหลัก คือ JP Morgan US Growth Fund ไม่ต่ำกว่า 80%
ซึ่ง JP Morgan US Growth Fund เป็นกองทุนแนว Active Management เน้นลงทุนในหุ้นที่เติบโตสูงกว่าที่ตลาดมองไว้
และในส่วนที่เหลือผู้จัดการกองทุนของบัวหลวง ก็อาจลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกาที่น่าสนใจเป็นรายตัว
ซึ่งน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีระยะยาวได้ เหมือนที่ทำกับ B-FUTURE และ B-CHINE-EQ
กองทุนนี้ ยังมีนโยบายการจ่ายเงินปันผล เพราะปัจจุบันอยู่ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ผู้ลงทุนส่วนใหญ่จึงหันมาหาสินทรัพย์เสี่ยง หรือหุ้น กันมากขึ้น การจ่ายเงินปันผลจะช่วยให้ผู้ลงทุนมีเงินระหว่างทาง ไม่ต้องคอยดูจังหวะการขายทำกำไร และสามารถลงทุนได้นานขึ้น
11. สุดท้ายแล้ว แนวทางของกองทุน B-USALPHA จะช่วยบริหารพอร์ตการลงทุนภาพรวมของคุณได้อย่างไร ?
ในมุมมองการจัดพอร์ตลงทุน การกระจายสินทรัพย์เสี่ยงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ในมุมมองของกองทุนบัวหลวงคือ การจัดพอร์ตให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง ทั้งในส่วนสินทรัพย์เสี่ยงต่ำและเสี่ยงสูง
ในส่วนสินทรัพย์เสี่ยงสูงที่เป็นหุ้นทั่วโลก ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การเอามาเป็นแกนหลักของพอร์ต (Core Port) กับเอาเป็นตัวเร่งในแต่ละธีม (Thematic) โดยส่วนที่เป็นแกนหลัก ควรที่จะให้มีการกระจายหลายประเทศ และหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
แล้วควรลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกาเท่าไร ? หากอ้างอิงจาก MSCI Index มีสัดส่วนบริษัทในสหรัฐอเมริกา กว่า 58% อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับความชอบ ความเสี่ยงที่รับได้ และความเข้าใจของแต่ละคนด้วย
เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ที่พัฒนาแล้ว มีผลการดำเนินงานดีที่สุดใน 10 ปีที่ผ่านมา คือปีละ 14% และมีความผันผวนต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ
สรุปได้ว่า การลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นของต้องมีในพอร์ต และกลยุทธ์การลงทุนแบบ Active ในหุ้นเติบโต ย่อมมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย นั่นเอง..