รวันดา จากสงครามล้างเผ่าพันธุ์ สู่ประเทศเติบโตสูง /โดย ลงทุนแมน
ปี 1994 ในประเทศเล็ก ๆ ใจกลางทวีปแอฟริกา
ได้เผชิญโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
เมื่อผู้คนในชาติเดียวกัน แต่ต่างเผ่าพันธุ์ ได้จับอาวุธมาสังหารกัน
จนบานปลายกลายเป็นสงครามกลางเมืองที่มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้นเกือบ 1 ล้านคน
คนทั่วโลกรู้จักโศกนาฏกรรมครั้งนั้นภายในชื่อ “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา”
ภาพเหตุการณ์ในครั้งนั้น ยังคงอยู่ในความทรงจำของชาวรวันดาผู้รอดชีวิตทุก ๆ คน
เป็นฝันร้ายที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศพังยับเยิน
GDP หดตัวลง 50% และรวันดากลายเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก
แต่ 26 ปีหลังพายุใหญ่ครั้งนั้นผ่านพ้นไป ผู้คนในประเทศนี้กลับมุ่งมั่นพัฒนาตัวเอง
จนมีเศรษฐกิจที่เติบโตโดดเด่นกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
รวันดาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกา
และติดอันดับ Top 10 ของโลกเป็นเวลาหลายปี
GDP ต่อหัวเพิ่มขึ้นมา 6 เท่า จากจุดต่ำสุดในปี 1994
ประเทศเล็ก ๆ ที่เพิ่งตื่นขึ้นมาจากฝันร้าย ประชากรส่วนใหญ่ยังคงยากจน
แต่กลับมีความฝันที่ยิ่งใหญ่ โดยความใฝ่ฝันสูงสุดของประเทศนี้
คือการเป็น “ศูนย์กลางทางเทคโนโลยีของทวีปแอฟริกา”
เรื่องราวของรวันดาเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รวันดา เป็นประเทศเล็ก ๆ ที่มีพื้นที่เพียง 26,338 ตารางกิโลเมตร
ขนาดพอ ๆ กับจังหวัดนครราชสีมา ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ใจกลางทวีปแอฟริกา
และมีฉายาว่า ดินแดนแห่งหุบเขานับพัน เพราะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา
สูงกว่า 1,500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
ด้วยความที่ตั้งอยู่บนที่สูงและอยู่แถบเส้นศูนย์สูตรพอดี ทำให้กรุงคิกาลี เมืองหลวงของรวันดา เป็นเมืองที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ราว 20 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งปี
ภูมิอากาศที่เหมาะสมทำให้รวันดาเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชผลมากมาย ทั้งกาแฟ ชา ข้าวสาลี ผักและผลไม้ ความอุดมสมบูรณ์ทำให้ปัจจุบันรวันดามีประชากร 12 ล้านคน ซึ่งนับเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงมาก ถึง 470 คนต่อตารางกิโลเมตร
ด้วยความอุดมสมบูรณ์นี้เอง เมื่อย้อนกลับไปในยุคล่าอาณานิคมช่วงปลายศตวรรษที่ 19
ดินแดนรวันดาก็ได้ดึงดูดให้ประเทศมหาอำนาจในยุโรปเข้ามาครอบครอง
แรกเริ่ม รวันดาตกเป็นอาณานิคมของเยอรมนี จนเมื่อเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1
รวันดาก็ตกเป็นอาณานิคมของเบลเยียม ซึ่งมีส่วนทำให้รวันดามีภาษาราชการในปัจจุบัน
คือ ภาษาฝรั่งเศส คู่กับภาษากิญญาร์วันดา และภาษาอังกฤษ
การเป็นอาณานิคมของเบลเยียมนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของฝันร้ายสำหรับประเทศเล็ก ๆ แห่งนี้..
แต่เดิมผู้คนพื้นเมืองในรวันดาประกอบไปด้วยชนเผ่า 2 เผ่าหลัก ได้แก่
เผ่าฮูตู ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 85% ของประชากร ชาวฮูตูจะมีผิวคล้ำ ตัวค่อนข้างเตี้ย
และอีกเผ่าชื่อว่า ทุตซี คิดเป็นสัดส่วน 14% ชาวทุตซีจะมีผิวคล้ำน้อยกว่า และมีความสูงมากกว่า
ซึ่งผู้คนทั้ง 2 เผ่าอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมาหลายร้อยปี
แต่เมื่อเบลเยียมเข้ามา ก็ได้นำนโยบายหลักของเจ้าอาณานิคมยุโรปในยุคนั้น
คือ “การแบ่งแยกแล้วปกครอง” มาใช้กับรวันดา
ด้วยการให้ประชาชนทุกคนต้องมีบัตรประชาชน ที่ระบุว่าตัวเองเป็นเผ่าพันธุ์อะไร
โดยรัฐบาลอาณานิคมเลือกสนับสนุนชนเผ่าทุตซีที่มีจำนวนน้อยกว่า
และเป็นชนชั้นปกครองมาแต่ดั้งเดิม มอบสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้ ทั้งการศึกษา การจ้างงาน
ขณะที่ชนเผ่าฮูตูซึ่งเป็นคนหมู่มาก กลับถูกกีดกัน และต้องกลายเป็นพลเมืองชั้นสอง
ความบาดหมางนี้ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นระหว่างผู้คน 2 เผ่าพันธุ์
จนมาถึงปี 1959 ชาวฮูตูจึงเริ่มลุกฮือ และล้มล้างระบอบการปกครองเดิม
จนทำให้ชาวทุตซีนับหมื่นต้องอพยพลี้ภัยไปประเทศเพื่อนบ้าน
กระทั่งปี 1962 รวันดาจึงได้รับเอกราช และมีประธานาธิบดีคนแรกของประเทศเป็นชาวฮูตู
เมื่อชาวฮูตูขึ้นเป็นใหญ่ ก็เริ่มออกนโยบายที่กดขี่ชาวทุตซี ทำให้ชาวทุตซีถูกขับไล่ไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้น บางส่วนก็ได้เริ่มรวมตัวกันจัดตั้งกองกำลัง Rwandan Patriotic Front หรือ RPF เพื่อจะกลับไปยึดบ้านเกิดของตัวเอง
ความวุ่นวายนี้เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาราว 30 ปี จนมาถึงฟางเส้นสุดท้าย ในเดือนเมษายน ปี 1992
เมื่อประธานาธิบดีรวันดาในขณะนั้นซึ่งเป็นชาวฮูตูได้ถูกลอบสังหาร สื่อมวลชนฝั่งรัฐบาลปล่อยข่าวว่าสาเหตุเกิดมาจากชาวทุตซี มีการเรียกร้องให้ชาวฮูตูออกมาทำการสังหารชาวทุตซีทุกคนที่พบ หากเพิกเฉย ก็จะถือว่าชาวฮูตูคนนั้นเป็นผู้ทรยศและจะต้องถูกสังหารเช่นเดียวกัน
กลุ่มชาวฮูตูสุดโต่ง ก็ได้ออกมาสังหารชาวทุตซีทุกคน รวมไปถึงชาวฮูตูที่ให้ความช่วยเหลือชาวทุตซี ก็ไม่ละเว้น
โดยอาศัยการแบ่งแยกด้วย “บัตรประชาชน” ซึ่งระบุเชื้อชาติไว้อย่างชัดเจน หรือหากใครไม่มีบัตรประชาชน ก็อาศัยดูจากสีผิวที่คล้ำน้อยกว่า ไม่ว่าจะเป็นเด็กทารก ผู้หญิง หรือคนชรา
ภาพยนตร์ชื่อดังเรื่อง Hotel Rwanda ก็ถูกสร้างขึ้นมาจากเหตุการณ์จริงที่ผู้จัดการโรงแรม
ชาวฮูตูสายกลาง ได้พยายามช่วยเหลือชาวทุตซีทุกคนที่หลบหนีเข้ามาในโรงแรม
เป็นระยะเวลา 100 วันแห่งโศกนาฏกรรมอันโหดร้าย
ที่ชาวรวันดา สังหารเพื่อนร่วมชาติเดียวกันไปถึง 800,000 คน..
จนเมื่อกองกำลังปลดปล่อย RPF ของชาวทุตซี ซึ่งมีผู้นำคือ Paul Kagame
ได้เริ่มปฏิบัติการตีโอบล้อมกรุงคิกาลี และยึดอำนาจเป็นผลสำเร็จ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์แห่งรวันดาจึงปิดฉากลงในเดือนกรกฎาคม
หลังจากนั้นได้มีการสถาปนารัฐบาลใหม่ ที่มีทั้งชาวฮูตูและทุตซีขึ้นปกครองร่วมกัน
โดยมีประธานาธิบดี Pasteur Bizimungu ซึ่งเป็นชาวฮูตู
ส่วน Paul Kagame ชาวทุตซี ได้เป็นรองประธานาธิบดีและรัฐมนตรีกลาโหม
ถึงแม้ความวุ่นวายในประเทศจะสงบลง แต่รวันดาก็ยังเผชิญกับความวุ่นวายจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะคองโกเป็นเวลาเกือบ 6 ปี เศรษฐกิจที่อ่อนแอ จึงยังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ
แต่เมื่อความวุ่นวายภายนอกเริ่มสงบ รัฐบาลรวันดาของ Pasteur Bizimungu กลับเต็มไปด้วยการคอร์รัปชัน ทำให้รองประธานาธิบดี Paul Kagame ได้ตัดสินใจฟ้องศาล เพื่อบีบให้ประธานาธิบดีลาออก
และ Paul Kagame ก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีของรวันดา ในปี 2000
และนี่คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง เพราะสิ่งแรกที่ประธานาธิบดีผู้นี้ทำ
ก็คือ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้รวันดา ที่พยายามยุติการระบุอัตลักษณ์เชื้อชาติ
โดยให้ประชาชนระบุตัวตนว่าเป็นชาวรวันดาเท่านั้น ไม่มีชาวฮูตูหรือชาวทุตซีอีกต่อไป..
หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญในปี 2003 Paul Kagame ก็ได้ลงสมัครเลือกตั้ง
และได้เป็นประธานาธิบดีด้วยคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นถึง 95%
เขาจึงเริ่มต้นวางแผนพัฒนาประเทศด้วยการปราบคอร์รัปชันอย่างหนัก และวางนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจครั้งใหญ่
รวันดาเป็นประเทศที่ยากจนมาก ๆ ถึงแม้จะมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ แต่ก็มีประชากรหนาแน่น
มีทรัพยากรแร่ธาตุแต่ก็ไม่ได้มากมาย หนทางเดียวที่รวันดาจะหลุดพ้นจากความยากจนได้
คือการพัฒนา “เทคโนโลยี”
นำมาสู่แผน Rwanda 2020 ยุทธศาสตร์ชาติที่จะทำให้รวันดาหลุดพ้นจากประเทศยากจน
กลายเป็นประเทศรายได้ปานกลางภายในปี 2020 โดยมุ่งเน้นด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและด้านเทคโนโลยีอย่างหนัก
รวันดาเปิดเสรีทางด้านโทรคมนาคม และลงทุนสร้างโครงข่ายใยแก้วนำแสงที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคแอฟริกากลาง ด้วยความยาวถึง 3,000 กิโลเมตรทั่วประเทศ
ทำให้รวันดามีความเร็วอินเทอร์เน็ตสูงที่สุดติด Top 3 ของทวีปแอฟริกา และถูกต่อยอดมาเป็นการให้บริการของภาครัฐผ่าน e-Governance และธุรกรรมการเงินผ่าน e-Banking
เป็นประเทศแรก ๆ ของภูมิภาค
บริษัทโทรคมนาคม Terracom ซึ่งให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งในรวันดาและครอบคลุมไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่ง “บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ” นี้ สร้างรายได้กว่า 10,000 ล้านบาทให้ประเทศ และคิดเป็นสัดส่วน 23% ของการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมด
The Rwanda Development Board (RDB) ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2009 เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รัฐบาลพยายามปฏิรูปขั้นตอนกระบวนการทำธุรกิจให้ง่ายขึ้น ลดระเบียบยุ่งยากจากภาครัฐ และอำนวยความสะดวกด้านภาษีและสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างเต็มที่
รวันดาติดอันดับประเทศที่มีความสะดวกในการทำธุรกิจ อันดับ 38 ของโลกในปี 2020 จาก 190 ประเทศ ซึ่งเป็นอันดับ 2 ของทวีปแอฟริกา และดีกว่าประเทศร่ำรวยหลายประเทศ
นอกจากภาคบริการเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว รวันดายังพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
โดยมีกิจกรรมท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ การเข้าไปชมลิงกอริลลาในป่าดงดิบอย่างใกล้ชิด
คิดค่าใบอนุญาตชมกอริลลาแพงถึงคนละ 45,000 บาทต่อวัน เพื่อจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว
ไม่ให้กระทบกับสภาพแวดล้อมมากจนเกินไป และสร้างรายได้ให้กับพรานในชุมชนแทนที่การล่าสัตว์
แม้แต่สินค้าเกษตรที่ส่งออกหลักอย่างกาแฟ รวันดาเน้นส่งออกแต่กาแฟอะราบิกาคุณภาพสูง
ผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสหกรณ์ที่มีสถานีล้างเมล็ดกาแฟเป็นของตัวเอง มีการควบคุมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้กาแฟรวันดามีราคาสูง และเป็นผู้ผลิตกาแฟรายแรกของทวีปแอฟริกา ที่มีการจัดประกวด “Cup of Excellence” เพื่อเฟ้นหากาแฟคุณภาพ และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับกาแฟรวันดา
การปราบปรามคอร์รัปชันอย่างหนัก และการพัฒนาการบริหารของภาครัฐด้วยเทคโนโลยี
มีส่วนทำให้รวันดากลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใสสูงเป็นอันดับ 3 ของทวีปแอฟริกา
และเป็นอันดับที่ 49 ของโลก จากทั้งหมด 179 ประเทศ
เป็นอันดับที่ดีกว่าประเทศร่ำรวยกว่ามากอย่าง อิตาลี มอลตา และซาอุดีอาระเบีย
เมื่อคอร์รัปชันต่ำ เงินภาษีทุกฟรังก์รวันดาก็ส่งผลไปถึงประชาชนได้มาก
ทำให้การพัฒนาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว รวันดายังมีโครงการเมกะโปรเจกต์ในกรุงคิกาลี
คือ “Kigali Innovation Center” ด้วยงบลงทุนกว่า 60,000 ล้านบาท ร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา โดยเขตนี้จะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีครบครัน เพื่อดึงดูดสถาบันการศึกษา บริษัทไอที และบริษัทไบโอเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
เป้าหมายสูงสุดของรวันดา คือการเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีของทวีปแอฟริกา เป็นศูนย์รวมการให้บริการสารสนเทศ เป็นแหล่งผลิตสินค้าไอที และสินค้าที่ใช้นวัตกรรมขั้นสูง
ที่จะพาให้ประเทศนี้ก้าวสู่การเป็นประเทศรายได้สูงภายในปี 2050
แน่นอนว่าปัญหาความยากจนยังคงเป็นปัญหาเรื้อรัง ถึงแม้ GDP ต่อหัว ในปี 2020
จะเติบโตจากปี 1994 ถึง 6 เท่า แต่ GDP ต่อหัวของรวันดา ก็อยู่ที่เพียง 25,420 บาทต่อปี
ประชากรส่วนใหญ่กว่า 39% ของประเทศ ยังคงใช้ชีวิตต่ำกว่าเส้นแบ่งระดับความยากจน (Poverty Line) และการเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 2.6 ต่อปี ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่รวันดาต้องเผชิญหน้า
แต่การที่ประเทศหนึ่งซึ่งแทบสิ้นเนื้อประดาตัวจากสงครามกลางเมือง
สามารถพลิกกลับมามีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
และวางแผนพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยใช้ “เทคโนโลยี” เป็นตัวขับเคลื่อน
ก็นับว่า รวันดาได้ทิ้งความขมขื่นเอาไว้ข้างหลัง และพร้อมจะก้าวต่อไปเพื่ออนาคตที่ดีกว่า..
ลงทุนแมนเคยเล่าเรื่องราวของหลายประเทศ ที่เริ่มต้นจากความยากจน ความขัดแย้ง
หรือแม้กระทั่งกองเถ้าถ่านจากสงคราม แต่ก็สามารถฝ่าฟันปัญหาต่าง ๆ และพัฒนาประเทศได้สำเร็จ
จนกลายเป็นเรื่องราวความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจที่คนทั้งโลกยกย่อง
ทั้งเกาหลีใต้ สิงคโปร์ และจีน
บางทีในอีก 30 ปีข้างหน้า อาจมีชื่อ “รวันดา” อยู่ในนั้นด้วย ก็เป็นได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=RW-CN-VN
-https://www.un.org/africarenewal/magazine/april-2011/information-technology-super-charging-rwandas-economy
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=187&product=undefined&year=2018&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://www.doingbusiness.org/en/rankings
-https://www.trtworld.com/magazine/what-makes-rwanda-one-of-africa-s-fastest-growing-economies-23410
-https://www.visitrwanda.com/interests/gorilla-tracking/
-https://www.newtimes.co.rw/news/africa-kigali-innovation-city
-https://www.newtimes.co.rw/section/read/22031
-https://www.fdiintelligence.com/article/77769
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=RW
-https://www.indexmundi.com/g/r.aspx?v=69
同時也有3部Youtube影片,追蹤數超過13萬的網紅The World TODAY,也在其Youtube影片中提到,2004年上映、改編自真人真事的好萊塢電影《#盧安達飯店》,主角保羅魯塞薩巴吉納(#PaulRusesabagina)在1994年的 #盧安達大屠殺 中,拯救了一千多人,還曾被小布希總統授予 #自由勳章。 然而今年8月31號,魯塞薩巴吉納在杜拜消失,並出現在盧安達調查局的逮捕名單中,遭控為恐怖份子...
rwanda hotel 在 หนังโปรดของข้าพเจ้า Facebook 八卦
จากกระแส #OscarSoWhite คุณรู้หรือไม่ว่าในรอบ 15 ปีมีนักแสดงชายผิวดำเข้าชิงออสการ์สาขานักแสดงนำชายเพียง 10 คนจากโควต้า 75 คน แต่นั่นอาจไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหาจริง ๆ ก็ได้ ไม่เชื่อคุณลองหาความแตกต่างของนักแสดงผิวดำที่ได้เข้าชิงออสการ์ในรอบ 15 ปีทั้งหมดต่อไปนี้
ก่อนจะดูเฉลย คุณอาจจะบอกว่าไม่ใช่เรื่องแปลกที่พวกเขาจะได้ชิงออสการ์น้อยเพราะนึกไม่ออกเหมือนกันว่านักแสดงชายผิวดำคนไหนเล่นดีพอจะเข้าชิงในแต่ละปี ถ้าเป็นเช่นนั้นคุณเริ่มสังเกตไหมว่าบทบาทการแสดงนำในหนังฮอลลีวูดปิดโอกาสนักแสดงชายผิวดำเสียเหลือเกิน ไม่เชื่อคุณลองสังเกตสิว่าใน 10 คนที่มีโอกาสได้เข้าชิงออสการ์ มีบทไหนบ้างที่สามารถที่ 'ไม่ใช่บทบังคับสำหรับนักแสดงผิวดำ' แล้วคุณจะพบคำตอบว่ามีเพียงแค่ 2 หรืออาจจะ 3 บทเท่านั้นที่สตูดิโอสามารถให้นักแสดงผิวขาวมาเล่นได้ ส่วนที่เหลือคือบทที่บังคับว่าต้องเป็นนักแสดงผิวดำเท่านั้นเพราะมันคือหนังสร้างจากเรื่องจริงของคนผิวดำ
- Ali ชีวประวัติของโมฮัมเหม็ด อาลี นักมวยผิวดำ
- Hotel Rwanda สร้างจากเรื่องจริงของการสังหารหมู่ในรวันดา
- Ray ชีวประวัติของเรย์ ชาร์ลส์ นักเปียโนผิวดำ
- The Last King of Scotland สร้างจากเรื่องจริงของผู้นำเผด็จการชาวอูกันดา
- The Pursuit of Happyness สร้างจากเรื่องจริงของคริส การ์ดเนอร์ เป็นชายผิวดำ
- Invictus สร้างจากเรื่องจริงของเนลสัน แมนเดล่า เป็นปธน.ผิวดำ
- 12 Years a Slave สร้างจากเรื่องจริงของทาสผิวดำ
จะเห็นว่า 7 เรื่องข้างต้นคือหนังที่เป็น 'บทบังคับ' ว่าต้องเป็นนักแสดงผิวดำเล่นเท่านั้น ในขณะที่ 3 บทที่เหลือสามารถเลือกนักแสดงผิวขาวหรือผิวดำมาเล่นก็ได้ แต่ส่วนตัวผมยังมองว่าแมงดาที่ผันตัวมาเป็นแร็ปเปอร์ใน Hustle & Flow มันก็กึ่ง ๆ บังคับว่าต้องเป็นคนผิวดำ (ไม่นับ Eminem แล้วแร็ปเปอร์ส่วนใหญ่คือผิวดำ)
ดังนั้นจะเห็นว่าเหลือเพียง 2 บทเท่านั้นที่ไม่ได้จำกัดสีผิวของนักแสดงก็คือ นักบินติดเหล้าที่ลงจอดฉุกเฉินราวปาฏิหาริย์ใน Flight และตำรวจกังฉินใน Training Day ซึ่งทั้งสองบทแสดงโดยเดนเซล วอชิงตัน
และต่อให้คุณไปดูเวที Golden Globe ก็จะเห็นว่า American Gangster, Mandela: Long Walk to Freedom, Selma และ Concussion หนังทั้ง 4 เรื่องนี้ที่นักแสดงผิวดำได้เข้าชิงรางวัลล้วนสร้างจากเรื่องจริงของคนผิวดำทั้งหมด
พอเรามองอย่างนี้แล้วกระแส #OscarSoWhite มันจึงดูไม่ค่อยยุติธรรมสำหรับคณะกรรมออสการ์สักเท่าไร ในเมื่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์อเมริกาเองก็ไม่ได้สนับสนุนโอกาสของนักแสดงผิวดำเท่าที่ควร พวกเขาจะได้จับงานแสดงที่มีโอกาสได้โชว์ศักยภาพก็เฉพาะบรรดาหนังที่สร้างจากเรื่องจริงของคนผิวดำเป็นส่วนใหญ่ หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องสั่งสมชื่อเสียงและบารมีมากกว่านักแสดงผิวขาวเพื่อจะได้บทตัวละครนำเด่น ๆ มาเป็นของตัวเอง
rwanda hotel 在 轉角國際 udn Global Facebook 八卦
【#轉角國際podcast:🇷🇼 當電影英雄與現實有所出入...】
「是拯救難民的人道英雄,還是誇大事實的投機者?」好萊塢經典電影、改編自盧安達大屠殺真人真事的《盧安達飯店》 ,劇中無私奉獻的主角原型——魯塞薩巴奇納(Paul Rusesabagina)——8月31日在杜拜遭到盧安達政府以涉及「恐怖主義」的指控予以逮捕。原先已成為比利時公民的魯塞薩巴奇納為何會被逮捕?「人權鬥士」與恐怖主義連結除了引起國際社會的討論,也讓1994年在盧安達國內那段殘忍的族群內戰被重新回顧:在當時究竟發生了什麼事情?《盧安達飯店》所呈現的劇情又有哪些虛構與真實?
自2004年《盧安達飯店》上映以來,電影中呈現魯塞薩巴奇納收容千名被迫害難民、努力爭取援助的英雄形象,感動無數觀眾,也使得當年的族群衝突,在事發十年後獲得更多的注目與了解,同時也讓魯塞薩巴奇納揚名國際,並獲得許多人權勳章、獎項的肯定。
移居比利時的魯塞薩巴奇納,也時常關注甚至抨擊當今的盧安達總統、也是當年結束內戰的「盧安達愛國陣線」領袖卡加梅(Paul Kagame),實行獨裁統治、政府內部官員種族不平等...種種批評。
但是,在電影問世的16年期間,對於魯塞薩巴奇納,也出現了許多質疑批評的說法。其中又以當年曾住在飯店內的倖存者所撰述《盧安達飯店內幕》(Inside the Hotel Rwanda)引發激烈討論。
書中描述在大屠殺期間,魯塞薩巴奇納做為飯店經理,雖然確實有收容難民,但卻並非無償提供協助。不僅直指其自私、貪婪,也有倖存者控訴,魯塞薩巴奇納事實上還曾舉報入住的難民......。
雖然魯塞薩巴奇納否認所有指控,但這也成為卡加梅政府回擊的重要根據。盧安達的種族衝突從何開始?為何會在1994年爆發?卡加梅與魯塞薩巴奇納之間又有哪些衝突?《盧安達飯店》中的魯塞薩巴奇納,與現實存在哪些差異?
(完整內容請點閱收聽 #轉角國際 #podcast)
#電影 #好萊塢 #盧安達 #比利時 #盧安達飯店 #屠殺 #種族 #族群 #戰爭 #卡加梅 #魯塞薩巴奇納 #人權 #人道主義 #英雄 #歷史 #Rusesabagina #HotelRwanda
rwanda hotel 在 The World TODAY Youtube 的評價
2004年上映、改編自真人真事的好萊塢電影《#盧安達飯店》,主角保羅魯塞薩巴吉納(#PaulRusesabagina)在1994年的 #盧安達大屠殺 中,拯救了一千多人,還曾被小布希總統授予 #自由勳章。
然而今年8月31號,魯塞薩巴吉納在杜拜消失,並出現在盧安達調查局的逮捕名單中,遭控為恐怖份子。究竟一個受人景仰的人權鬥士,為何會和恐怖主義沾上邊呢?
《TODAY 看世界》每日精選國際話題,帶你秒懂世界大事!
↳ 看所有報導 https://lin.ee/7MAbPS0
馬上訂閱 LINE TODAY 官方帳號,全球脈動隨時掌握!
↳ 訂閱起來 https://lin.ee/19eXmdD

rwanda hotel 在 HowtinFlix Youtube 的評價
人人睇戲的口味都唔同, 不過你鍾意《逆權司機》的話, 我會瞓身推薦《Hotel Rwanda》.
最新消息請訂閱
http://facebook.com/howtindogs

rwanda hotel 在 XXY_Animal of Vision Youtube 的評價
▶收聽讓耳朵懷孕的PODCAST版本【影史7日談】:
https://open.firstory.me/story/ckn6xgpp1bgay08238wu7r2ca/platforms
**************
歡迎加入【有梗電影俱樂部】,不錯過任何電影資訊或線上線下活動喔!
臉書社團(需回答問題審核):https://www.facebook.com/groups/viewp...
Telegram群組:https://t.me/viewpointmovieclub2
別忘了追蹤XXY的電影相關文字、影像、聲音創作唷!
📣 https://linktr.ee/XXY_filmcrtics
本頻道為提供觀眾們更好的觀看環境,並無開啟廣告營利
想要贊助我們持續創作,可透過以下管道直接贊助:
📣 XXY @方格子:https://vocus.cc/user/@XXY2018
📣 XXY @Firstory:https://open.firstory.me/user/xxymovie

rwanda hotel 在 Hotel Rwanda (2004) - IMDb 的相關結果
Don Cheadle reveals why playing Paul Rusesabagina in 'Hotel Rwanda' changed his life forever ... Paul Rusesabagina, a hotel manager, houses over a thousand Tutsi ... ... <看更多>
rwanda hotel 在 博客來-Inside the Hotel Rwanda: The Surprising True Story ... 的相關結果
In 2004, the Academy Award-nominated movie Hotel Rwanda lionized hotel manager Paul Rusesabagina for single-handedly saving the lives of all who sought ... ... <看更多>
rwanda hotel 在 Hotel Rwanda - Wikipedia 的相關結果
Hotel Rwanda is a 2004 drama film directed by Terry George. It was adapted from a screenplay co-written by George and Keir Pearson, and stars Don Cheadle ... ... <看更多>