ฟิลิปปินส์ ประเทศที่ “เคยรวยกว่า” ไทย / โดย ลงทุนแมน
เมื่อ 60 ปีที่แล้ว คนฟิลิปปินส์เคยมีรายได้ต่อหัวมากกว่าคนไทย 2.5 เท่า
ปี 1960 คนฟิลิปปินส์มีรายได้ต่อปี 5,450 บาท
ในขณะที่คนไทยมีรายได้ต่อปีเพียง 2,140 บาท
แต่พอถึงปี 2018 กลับกลายเป็นคนไทยที่มีรายได้ต่อหัวมากกว่าคนฟิลิปปินส์ 2 เท่า
โดยคนไทยมีรายได้ต่อปี 216,900 บาท
คนฟิลิปปินส์มีรายได้ต่อปี 93,680 บาท
ครั้งหนึ่งฟิลิปปินส์เคยเป็นประเทศที่รุ่งเรือง มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี
กรุงมะนิลาเป็นเมืองหลวงแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีระบบรถไฟฟ้า
ระบบการศึกษาของฟิลิปปินส์มีชื่อเสียงมากในภูมิภาค
คนไทยที่มีฐานะจำนวนไม่น้อย ส่งลูกหลานไปศึกษาต่อยังประเทศฟิลิปปินส์
เกิดอะไรขึ้นกับประเทศหมู่เกาะที่ครั้งหนึ่งเคยรุ่งเรืองที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แต่มาวันนี้กลับไม่ได้เป็นอย่างที่เคยเป็น
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ ซีรีส์บทความ ประเทศที่ “เคยรวยกว่า” ไทย ตอน ฟิลิปปินส์
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
คำตอบสำหรับคำถามนี้ อาจประกอบไปด้วยปัจจัยหลายประการด้วยกัน
ประการแรกอาจจะเป็นเหตุผลที่หลายคนคิดไม่ถึง
นั่นก็คือ สภาพทางภูมิศาสตร์..
หมู่เกาะฟิลิปปินส์ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวกลางมหาสมุทร
ประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่มากกว่า 7,600 เกาะ
การมีเกาะจำนวนมากทำให้การคมนาคม การสื่อสาร และการติดต่อค้าขาย
เป็นไปด้วยความยากลำบาก
อีกทั้งทำเลที่ตั้งยังอยู่ในเขตวงแหวนแห่งไฟ และใกล้เส้นศูนย์สูตร
ฟิลิปปินส์จึงประสบภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง ทั้งแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และพายุไต้ฝุ่น
ภัยพิบัติเหล่านี้ล้วนสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาลในทุกๆ ปี
และด้วยการที่ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นภูเขา ทำให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย
เมื่อรวมกับปัญหาภัยธรรมชาติ ทำให้บ่อยครั้ง ผลผลิตทางการเกษตรมีไม่เพียงพอต่อความต้องการอาหารในประเทศ
เนื่องจากฟิลิปปินส์มีปัญหาประการต่อมา ก็คือ
จำนวนประชากร..
ในปี 1960 ไทยมีประชากร 27.4 ล้านคน ซึ่งมากกว่าประชากรฟิลิปปินส์ที่มีอยู่ 26.3 ล้านคน
แต่เมื่อถึงปี 2018 ไทยมีประชากร 69 ล้านคน
ในขณะที่ประชากรฟิลิปปินส์พุ่งสูงถึง 106.7 ล้านคน
ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์ล้มเหลวในการคุมกำเนิดประชากร
สาเหตุหลักมาจากความเชื่อทางศาสนาที่ไม่สนับสนุนการคุมกำเนิด
ประชากรฟิลิปปินส์จึงเพิ่มขึ้นในอัตรา 1.72% ต่อปี ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
เมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่พื้นที่มีเพียง 300,000 ตารางกิโลเมตร
ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นก็คือ
ผลผลิตจากการเพาะปลูกภายในประเทศไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงดูประชากร
ฟิลิปปินส์จำเป็นต้องนำเข้าอาหารหลักโดยเฉพาะข้าว จากต่างประเทศ
คิดเป็นมูลค่าถึง 22,000 ล้านบาท ในปี 2017
ยังไม่รวมสินค้านำเข้าประเภทอื่นๆ ทั้งสินค้าอุตสาหกรรม ยานยนต์ และเชื้อเพลิง
ทำให้ฟิลิปปินส์ประสบปัญหาการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง
นับตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา
เมื่อประชากรมาก แต่แหล่งงานในประเทศมีจำกัด ทำให้เกิดการว่างงานสูง
คนฟิลิปปินส์กว่า 10 ล้านคน จึงต้องอพยพไปทำงานยังต่างประเทศ
และนั่นทำให้ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศที่ส่งออกแรงงานมากที่สุดในโลก
รองจากอินเดียและจีน
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีข้อเสียก็มีข้อดี
ผู้อพยพเหล่านี้ส่งเงินกลับบ้านเป็นจำนวนมาก
คิดเป็นมูลค่ากว่า 9.9 แสนล้านบาท ในปี 2017 ซึ่งสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก
การส่งเงินกลับบ้านนี้สามารถช่วยบรรเทาการขาดดุล และภาวะเงินไหลออกได้ระดับหนึ่ง
ซึ่งหากเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์แล้ว
เงินจากผู้อพยพจะคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 10% ของ GDP ประเทศ
ค่านิยมการอพยพไปทำงานในต่างประเทศ กลายเป็นความใฝ่ฝันของชาวฟิลิปปินส์
แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง นี่คือปรากฏการณ์สมองไหลครั้งใหญ่
ผู้อพยพจำนวนไม่น้อยเป็นผู้มีทักษะความรู้ความสามารถ
ทั้งในด้านวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล หรือนักกฎหมาย
เมื่อทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ทยอยออกจากประเทศมากขึ้นทุกปี
ฟิลิปปินส์จึงขาดบุคลากรที่ดีมาช่วยกันพัฒนาประเทศ
แต่จากปัญหา 2 ประการข้างต้น
ทั้งปัจจัยภูมิศาสตร์ และประชากร
ก็คงเทียบไม่ได้เลยกับปัญหาที่หนักหนาที่สุด
ปัญหาที่ฝังรากลึกลงมานาน
ปัญหานั้นก็คือ
คอร์รัปชัน..
ฟิลิปปินส์เต็มไปด้วยระบบการเมืองแบบเส้นสาย
อำนาจรัฐในฟิลิปปินส์จำเป็นต้องพึ่งพิงการสนับสนุนจากกลุ่มอำนาจอิทธิพลท้องถิ่น
จุดเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญจนนำฟิลิปปินส์มาสู่การเมืองที่ไร้ประสิทธิภาพ
เริ่มต้นจากการเมืองยุคของประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส (Ferdinand Marcos)
ในช่วงปี 1965 - 1986 ซึ่งกินระยะเวลายาวนานกว่า 21 ปี
มาร์กอสได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีครั้งแรกในปี 1965
ในสมัยแรกของมาร์กอส เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ยังคงเจริญรุ่งเรือง
ส่วนหนึ่งมาจากการช่วยเหลือทางการเงินของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็น
แต่ในการเลือกตั้งสมัยต่อมา
มาร์กอสได้ใช้เงินซื้อเสียงจำนวนมากจนได้เป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง
คราวนี้มาร์กอสบริหารประเทศโดยดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่ตนเอง และพวกพ้องอย่างมหาศาล ทั้งตำแหน่งทางการเมือง และโครงการก่อสร้างต่างๆ
อีกทั้งยังกุมอำนาจผูกขาดทั้งภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม
แต่งตั้งคนที่ไว้ใจเข้าไปคุมในกระทรวง และรัฐวิสาหกิจทั้งหมด
พร้อมแก้ไขรัฐธรรมนูญ
จากเดิมที่ประธานาธิบดีสามารถดำรงตำแหน่งครั้งละ 4 ปี ติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ให้เป็น 20 ปี
ท้ายที่สุด เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ก็พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ..
ระบบเศรษฐกิจเกิดวิกฤติเนื่องมาจากการขาดประสิทธิภาพในการจัดการ
จนรัฐบาลต้องขอกู้เงินจาก IMF
หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 360 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 1962
เป็น 26,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 1985
หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 73 เท่า
นอกจากนั้น มาร์กอสยังใช้อำนาจในการจัดการกับฝ่ายตรงข้ามอย่างรุนแรง
โดยใช้ทหารและตำรวจเข้าจัดการ
แต่ที่พีกที่สุดก็คือ การลอบสังหารผู้นำฝ่ายค้าน เบนิกโน อากีโน จูเนียร์ เสียชีวิตคาสนามบิน
เรื่องนี้เป็นตัวจุดชนวนให้ประชาชนทนไม่ไหว
ต่างรวมตัวกันออกมาขับไล่มาร์กอสให้พ้นจากตำแหน่งในปี 1986
ภรรยาของผู้นำฝ่ายค้านที่เสียชีวิตคือ คอราซอน อากีโน ได้ก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกหลังจากนั้น
แม้รัฐบาลของอากีโน จะเริ่มต้นด้วยความปรารถนาดีพร้อมเสียงสนับสนุนจากประชาชน
แต่โครงสร้างสังคมที่บิดเบี้ยวไปแล้ว และผู้นำก็หนีไม่พ้นจากการกอบโกยผลประโยชน์สู่ตนเองและครอบครัว ก็นำมาสู่การต่อต้านจากประชาชนอีกครั้ง
ความสิ้นหวังในนักการเมือง ทำให้ประชาชนหันไปเลือกดาราภาพยนตร์ ที่ชื่อว่า โจเซฟ เอสตราดา
มาเป็นประธานาธิบดีในปี 1998
แล้วดาราผู้ไม่มีความสามารถในการบริหาร ก็ซ้ำเติมประเทศด้วยการทุจริตไม่ต่างกัน
เอสตราดาถูกยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่ง ในปี 2001
และถูกศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิตด้วยข้อหาคอร์รัปชัน
แต่เอสตราดากลับไม่ติดคุก
เพราะได้รับอภัยโทษจากประธานาธิบดีสมัยต่อมาก็คือ กลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ซึ่งเคยเป็นรองประธานาธิบดีในสมัยเอสตราดา
ที่น่าสนใจคือ อาร์โรโย เองก็ถูกจับด้วยข้อหาทุจริตเลือกตั้งในเวลาต่อมา..
จะเห็นได้ว่า การเมืองฟิลิปปินส์ที่ผ่านมาวนเวียนอยู่กับปัญหาคอร์รัปชันของผู้นำประเทศมานานหลายสิบปี
ไม่ว่าจะเปลี่ยนผู้นำไปแล้วกี่คน
คนใหม่มา ก็ยังเกิดปัญหาเดิม จนประชาชนในประเทศเริ่มหมดหวัง
สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศที่ร่ำรวยกว่าไทยอยู่ 2.5 เท่า
มาวันนี้ประเทศฟิลิปปินส์กลับตามหลังไทยอยู่ 2 เท่า
เรื่องนี้น่าจะเป็นบทเรียนให้กับประเทศเราได้เป็นอย่างดี
ถ้าผู้นำยังคงวนเวียนอยู่กับการคอร์รัปชัน
ไม่ว่าเราจะมีทำเลทางภูมิศาสตร์ดีอย่างไร
หรือเราจะมีประชากรที่มีความสามารถแค่ไหน
สุดท้ายผู้นำที่แย่ สามารถนำประเทศไปสู่จุดหายนะได้เสมอ
และปัญหาเดียวกัน กำลังเกิดขึ้นกับอีกประเทศในอีกซีกโลกหนึ่ง
แต่ความรุนแรงของประเทศนี้กลับมากกว่าฟิลิปปินส์
ทั้งๆ ที่ประเทศนี้มีทรัพยากรมหาศาล
ผู้คนในประเทศเคยรวยกว่าไทยถึง 11 เท่า
มาในวันนี้กลับแย่ลง จนแทบจะเป็นศูนย์
ประเทศนี้มีชื่อว่า “เวเนซุเอลา”..
ติดตาม ซีรีส์ ประเทศที่ “เคยรวยกว่า” ไทย ตอนต่อไปได้ในสัปดาห์หน้า
โหลดแอป Blockdit เพื่ออ่านซีรีส์ตอนก่อนหน้านี้ ได้ที่ Blockdit.com/download
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/577608
-https://en.wikipedia.org/wiki/Economy_of_the_Philippines
-https://www.ceicdata.com/…/indica…/philippines/trade-balance
-https://www.populationpyramid.net/philippines/1960/
-https://www.populationpyramid.net/migra…/…/philippines/2013/
-https://www.pewresearch.org/…/…/remittance-flows-by-country/
-http://www.worldstopexports.com/philippines-top-10-imports/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Ferdinand_Marcos
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過18萬的網紅狼爸爸的工作室,也在其Youtube影片中提到,喜欢我的视频, 可以给我点个❤️吗? 谢谢支持。 我们今天生活在一个社交网络极其发达的时代, 许多公众人物说的话, 做的事都有可能会被媒体报道, 展示给我们民众雪亮的眼睛下, 这样的时代背景下个人色彩鲜明的人物总是更容易走进人们的视线。 大家分享一个人, 有人叫他, 惩罚者(punisher),...
「philippines wiki」的推薦目錄:
- 關於philippines wiki 在 ลงทุนแมน Facebook
- 關於philippines wiki 在 ลงทุนแมน Facebook
- 關於philippines wiki 在 Ổ Elephant của Apry618 Facebook
- 關於philippines wiki 在 狼爸爸的工作室 Youtube
- 關於philippines wiki 在 馮韋元Francois Devatine Youtube
- 關於philippines wiki 在 What happened to the Philippines under Duterte? - YouTube 的評價
philippines wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
หลายประเทศ อาจเข้าสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร /โดย ลงทุนแมน
การระบาดของโควิด-19 ทำให้การขนส่งอาหารทั่วโลกเป็นไปอย่างยากลำบาก
และปัญหานี้อาจทำให้หลายประเทศอาจเข้าสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร
โควิด-19 ไม่ได้สร้างปัญหาเฉพาะเรื่องสุขภาพของคนเท่านั้น
แต่สร้างปัญหาให้กับเรื่องอื่นๆ อย่างระบบขนส่งด้วย
เรื่องนี้เป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เรามาทำความเข้าใจขั้นตอนการขนส่งอาหารในเบื้องต้นกันก่อน
โดยทั่วไป ผู้ผลิตจะส่งอาหารไปยังท่าเรือด้วยรถบรรทุก
แล้วอาหารก็จะถูกนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์
จากนั้นก็ส่งออกไปต่างประเทศด้วยเรือส่งสินค้า
แต่โควิด-19 ทำให้ขั้นตอนที่กล่าวมานั้น “ลำบาก” ขึ้น!
ผลจากมาตรการ Lockdown ทำให้การเดินทางและขนส่งด้วยรถบรรทุกต้องล่าช้า
เพราะต้องผ่านการตรวจสอบระหว่างทางบ่อยๆ
รู้ไหมว่า ตอนนี้การขับรถบรรทุกจากเยอรมนีข้ามแดนไปโปแลนด์ที่อยู่ติดกัน
จะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นกว่า 10 ชั่วโมงในการผ่านด่าน
ปัญหาต่อมาอยู่ที่ท่าเรือ
ท่าเรือเป็นช่องทางหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
แต่เจ้าหน้าที่การท่าเรือในหลายประเทศเกิดติดเชื้อโควิด-19 ขึ้นมา
ทำให้การจัดการสินค้าต้องล่าช้าออกไป และเกิดปัญหาคอขวดตามมา
จากความล่าช้าของรถบรรทุกและการจัดการที่ท่าเรือก็ทำให้เกิดปัญหาสำคัญอีกอย่าง
นั่นคือภาวะขาดแคลน “ตู้คอนเทนเนอร์”
ปกติแล้วตู้คอนเทนเนอร์ก็จะถูกหมุนเวียนใช้งานส่งสินค้าไปทั่วโลก
แต่ปัญหาจากเรื่องรถบรรทุกและการจัดการสินค้าที่ท่าเรือ
อย่างในจีน อินเดีย ไนจีเรีย และอีกหลายประเทศ
มีสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์จำนวนมากที่ยังรอนำสินค้าออกจากตู้
สถานการณ์ตอนนี้คือ ตู้คอนเทนเนอร์กำลังขาดแคลนทั่วโลก
บราซิล หนึ่งในผู้ส่งออกอาหารมากที่สุดในโลก
ก็ไม่สามารถส่งอาหารได้ในตอนนี้ เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์ไม่เพียงพอ
ผู้ส่งออกหลายรายต้องรอตู้คอนเทนเนอร์ในการส่งอาหาร
แต่ผลิตภัณฑ์อาหารนั้นมีข้อจำกัดเรื่องความสดใหม่และระยะเวลาที่ควรบริโภค
ถ้าหมดอายุก่อนจะได้ส่ง ก็ต้องทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย
ความหวั่นวิตกเรื่องภาวะขาดแคลนอาหารทำให้บางประเทศระงับการส่งออกอาหารไว้
เพื่อสำรองไว้บริโภคในประเทศ
เช่น เวียดนามระงับการทำสัญญาส่งออกข้าวฉบับใหม่ไปก่อน
เพื่อให้เห็นภาพของปัญหามากขึ้น
เราลองมาดูเพื่อนบ้านในอาเซียนอย่างฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์มีประชากรกว่า 100 ล้านคน สูงเป็นอันดับสองของอาเซียน
สวนทางกับความสามารถในการผลิตอาหารภายในประเทศที่ไม่เพียงพอต่อประชากร
อาหารส่วนใหญ่ที่บริโภคในประเทศจึงต้องมาจากการนำเข้า
เพราะไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับความต้องการของประชากร
สำหรับฟิลิปปินส์ถือว่าน่าเป็นห่วง
ท่าเรืออาจจะต้องปิดรับสินค้าชั่วคราว เพราะมีตู้คอนเทนเนอร์กว่า 1,000 ตู้ค้างส่งอยู่
ซ้ำร้าย ยังมีเจ้าหน้าที่ในท่าเรือจำนวนหนึ่งติดเชื้อโควิด-19
นอกจากนี้ การส่งของในประเทศด้วยรถบรรทุกก็ลำบากเพราะมาตรการ Lockdown
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การขนส่งในสหรัฐฯ
เกษตรกรต้องทิ้งนมและผลไม้กว่า 15% จากผลผลิตทั้งหมด
เพราะความต้องการลดลงจากการปิดร้านอาหารและโรงเรียน
แม้พวกเขาจะอยากนำไปบริจาคแต่ก็ไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้
จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วอาหารนั้นยังเพียงพอ
แต่ปัญหาหลักคือ ไม่สามารถส่งอาหารไปถึงปลายทางได้
โดยมีปัญหาตั้งแต่รถบรรทุก ตู้คอนเทนเนอร์ ไปจนถึงท่าเรือ อย่างครบวงจร
ในความโชคร้ายก็ยังพอมีเรื่องดีอยู่บ้างสำหรับผู้ส่งออกอาหาร
นั่นคือประเทศที่ผลิตอาหารส่งออกจะขาดรายได้
แต่โอกาสที่จะเกิดภาวะขาดแคลนอาหารในประเทศก็จะมีน้อย
เมื่ออ่านบทความนี้จบ
ก็นับว่าประเทศไทยโชคดีในเรื่องนี้
เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่สามารถผลิตอาหารได้มาก และนำส่วนเกินมาส่งออก
ดังนั้น ประเทศไทย ก็น่าจะเป็นหนึ่งในประเทศ
ที่จะไม่เจอภาวะขาดแคลนอาหาร เหมือนประเทศอื่น..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.bloomberg.com/…/it-s-getting-a-lot-harder-to-sh…
-https://www.bloomberg.com/…/countries-are-starting-to-hoard…
-https://www.businessinsider.com/driscolls-ceo-says-crops-wi…
-http://www.thairiceexporters.or.th/…/2020/news_1APR2020XnWr…
-https://www.cnbc.com/…/rice-prices-surge-to-7-year-high-as-…
-https://www.theguardian.com/…/us-coronavirus-outbreak-agric…
-https://www.gmanetwork.com/…/micp-employee-tested-po…/story/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Philippines
-https://www.dailynews.co.th/foreign/649199
-https://www.ryt9.com/s/exim/2374990
philippines wiki 在 Ổ Elephant của Apry618 Facebook 八卦
[Vietsub] Dụ một đứa bé tự cởi đồ có dễ không?
Bạn ngại giáo dục giới tính cho con quá sớm, nhưng tội phạm xâm hại tình dục trẻ em sẽ chẳng bận tâm con bạn nhỏ chừng nào. Nạn nhân nhỏ tuổi nhất mà tôi biết là bé gái 14 tháng tuổi.
Hiện nay ở nước ta, nghiêm cấm đối với hành vi giao cấu với trẻ em dưới 16 tuổi (nhiều nước khác cũng quy định độ tuổi này). Nhìn sang nước láng giềng Philippines, tuổi quan hệ tình dục hợp pháp là 12, thấp nhất trong khu vực châu Á (trừ những nước quy định có thể quan hệ tình dục sau khi kết hôn, đồng thời cho phép trẻ em kết hôn như Yemen, có nơi thậm chí từ 9 tuổi) [1].
Bạn có thể vào link này đọc, tôi không dám chắc chuyện về Pedosexuality sẽ đi về đâu.
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10211207428122274&set=a.1165735824315.2027214.1255488363&type=3&theater&ifg=1
Có thể đọc thêm bài viết Cộng đồng “ái nhi” giúp nhau chống lại ham muốn ấu dâm:
http://songmoi.vn/cong-dong-ai-nhi-giup-nhau-chong-lai-ham-muon-au-dam-75067.html
******
[1] https://en.wikipedia.org/wiki/Ages_of_consent_in_Asia#Consent_by_country
Tham khảo tuổi đồng thuận quan hệ tình dục trên thế giới:
https://en.wikipedia.org/wiki/Age_of_consent
******
Video của #人类实验室
Vietsub được thực hiện bởi #Apry618
philippines wiki 在 狼爸爸的工作室 Youtube 的評價
喜欢我的视频, 可以给我点个❤️吗? 谢谢支持。
我们今天生活在一个社交网络极其发达的时代, 许多公众人物说的话, 做的事都有可能会被媒体报道, 展示给我们民众雪亮的眼睛下, 这样的时代背景下个人色彩鲜明的人物总是更容易走进人们的视线。
大家分享一个人, 有人叫他, 惩罚者(punisher), 有人叫他守卫者(protector), 有人称他是民粹主义者(populist),这个人是谁呢? 菲律宾总统 杜特尔特, Rodrigo Duterte。
参考资料:
Rodrigo Duterte
https://en.wikipedia.org/wiki/Rodrigo_Duterte#China_and_Russia
罗德里戈·杜特尔特
https://zh.wikipedia.org/wiki/罗德里戈·杜特尔特
罗德里戈·杜特尔特
https://baike.baidu.com/item/罗德里戈·杜特尔特?fromtitle=杜特尔特&fromid=19778926
菲律宾
https://zh.wikipedia.org/wiki/菲律宾
菲律宾的达沃市(Davao City)是一个怎样的城市?
https://www.zhihu.com/question/51964252
杜特尔特北京演讲全文
https://zhuanlan.zhihu.com/p/23112375
如何看待菲律宾总统杜特尔特公开鼓励民众枪杀毒贩?
https://www.zhihu.com/question/48561170/answer/128723548
Davao was Asia’s “MURDER CITY” in the past
http://edgedavao.net/special-feature/2015/02/21/davao-was-asias-murder-city-in-the-past/
Extrajudicial killing
https://en.wikipedia.org/wiki/Extrajudicial_killing
Before Duterte was the Philippines’ president, he was ‘the Death Squad mayor’
https://www.washingtonpost.com/world/asia_pacific/before-duterte-was-the-philippines-president-he-was-the-death-squad-mayor/2016/09/28/f1d1ccc4-800b-11e6-ad0e-ab0d12c779b1_story.html?noredirect=on&utm_term=.3da576a8bd7e
#杜特尔特 #菲律宾总统
philippines wiki 在 馮韋元Francois Devatine Youtube 的評價
邦勞島: https://goo.gl/maps/2UJR1mmUcY72
在水裡遇到的蛇: https://zh.wikipedia.org/wiki/%E7%81%B0%E8%97%8D%E6%89%81%E5%B0%BE%E6%B5%B7%E8%9B%87
philippines wiki 在 What happened to the Philippines under Duterte? - YouTube 的八卦
DW is a German public broadcast service. Wikipedia. ... <看更多>