ขีดจำกัดของโลก 9 ประการ
เรื่องโลกร้อนเป็นแค่ 1 ใน 9 เท่านั้น ! มีอีก 8 ตัว! คุณพระ!!
-----------------------
เมื่อไม่นานมานี้ได้ดูสารคดีเรื่อง Breaking Boundaries: The Science of Our Planet ใน netflix [ https://www.imdb.com/title/tt14539726/?ref_=nv_sr_srsg_0 ] น่าสนใจมาก
หนังพูดเรื่อง The 9 planetary boundaries หรือขีดจำกัดของโลก 9 อย่างที่มนุษย์กำลังสร้างผลกระทบโดยตรง และถ้าข้ามขีดอันตรายไปเมื่อไหร่ จะเกิดผลกระทบลูกโซ่ที่ทำลายระบบนิเวศของโลกอย่างหวนกลับมาไม่ได้อีกต่อไป
ซึ่งในบรรดา 9 อย่างนี้ เรารู้จักเรื่องโลกร้อนดีที่สุด แต่ที่เหลือ มีหลายอันที่มีคนพูดถึงน้อยมากๆ
ขีดจำกัดทั้ง 9 นี้ มีที่มาจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ นำโดย Johan Rockstrom [นามสกุลโคตรเท่] แห่งมหาวิทยาลัย Stockholm และวิล สเตฟเฟน (Will Steffen) จากมหาวิทยาลัย Australian National University เอางานวิจัยยาวนานกว่า 5 ทศวรรษ มาสรุปเป็นกระบวนการรักษาสมดุลของโลกให้เราเห็นชัดเจน 9 ประการ โดย Rockstrom เองเป็น presenter ของสารคดีชิ้นนี้ด้วย
นอกจากจะทำความรู้จักขีดจำกัดทั้ง 9 อย่างนี้แล้ว งานวิจัยก็ยังบอกเราด้วยว่าตอนนี้มนุษย์อยู่ในขีดอันตรายระดับไหนแล้วในแต่ละหัวข้อ
-----------------------
สถานการณ์: [Code Red] วิกฤติแล้วจ้า ฉิบหายแล้ว มี 2 ข้อ
1. Biodiversity loss [การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ] : สถานการณ์ วิกฤติ
- ว่าด้วยการสูญพันธ์ของสัตว์และพืช ใช่ 50 ปีที่ผ่านมา อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ หลักๆมาจากการสูญเสียที่อยู่อาศัยจากการกระทำของมนุษย์ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เพื่อผลิตอาหาร น้ำ และทรัพยากร
- ต่อปี อัตราการสูญพันธุ์ในปัจจุบัน อยู่ที่ 1,000 ต่อ 1,000,000 ชนิด ต่อปี [0.1%] โดยอัตราการสูญพันธุ์ที่ปลอดภัย อยู่ที่ ไม่เกิด 10 ต่อ 1,000,000 ชนิดต่อปี [ 0.001%] เท่ากับเราเลย limit ที่ปลอดภัยมาแล้ว 100 เท่า!
2. Nitrogen Cycle and Phosphorus Cycle [ วงจรไนโตรเจนและฟอสฟอรัส] : สถานการณ์ วิกฤติ
- ใช้แล้วครับ ไนโตรเจนกับฟอสฟอรัส ในปุ๋ยเคมี NPK นี่แหล่ะ
- เรื่องนี้มีคนรู้น้อยมาก หลักๆคือการที่มนุษย์ผลิตอาหารมากขนาดนี้ เราต้องใช้ปุ๋ยจำนวนมหาศาล เราไปเก็บไนโตรเจนมาจากชั้นบรรยากาศ และขุดฟอสฟอรัสมาจากในดิน แล้วในกระบวนการเกษตร สารเหล่านี้โดนเก็บไว้ในพืชแค่นิดเดียว ที่เหลือไหลลงน้ำลงทะเล หรือกลายเป็นมลพิษในอากาศ
- ซึ่งผลพวงก็มีเช่น ปุ๋ยลงน้ำไปทำให้เกิด Algae Bloom [สาหร่ายเติบโต] ซึ่งพอตายทับถมกัน ก็ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงเรื่อยๆ จนบางที่กลายเป็น "Dead Zone" หรือจุดที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอยู่ได้อีกแล้ว เพราะขาดออกซิเจน ซึ่งทั่วโลกพบอยู่หลายร้อยแห่งแล้ว ปล่อยไปเรื่อยๆจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทำระบบนิเวศพังทั้งระบบ
- ตอนนี้เราใช้ไนโตรเจนกับฟอสฟอรัสเพื่อผลิตอาหาร เกิดขีดจำกัดที่นักวิทยาศาสตร์กำหนดไว้ ประมาณ 2 เท่าในทุกๆปี
-----------------------
สถานการณ์: [Code Yellow] ต้องเฝ้าระวัง หากไม่เปลี่ยนแปลง วิกฤติแน่
3. Deforestation Land use Changes การตัดไม้ทำลายป่า และการเปลี่ยนแปลงผืนโลก : สถานการณ์ เฝ้าระวัง
- คือการเปลี่ยนป่าเป็นพื้นที่การเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์[การผลิตเนื้อ ใช้ที่ดินเยอะมาก] ซึ่งนำไปสู่ทั้งความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ [ข้อ 1. ] และเป็นการปล่อยคาร์บอนที่ถูกกักเก็บไว้ในต้นไม้กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งก็ไปสร้างปัญหาภาวะโลกร้อนต่อ รวมถึงการเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นกรดอีกด้วย
- ป่าคือ Carbon Sink หรือตัวดูดซับคาร์บอนที่ดีที่สุดที่เรามีอยู่ในธรรมชาติ การสูญเสียป่า คือการสูญเสียระบบจัดการคาร์บอนของดาวโลก
- การสูญเสียพื้นที่ป่าในประเทศหนึ่ง อาจสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศในระดับโลก (เช่นป่า Amazon เป็นต้น)
4. Climate Change ภาวะโลกร้อน : สถานการณ์ เฝ้าระวัง
- ตัวโหดที่ทุกคนรู้จักดี ตอนนี้เราผ่านจุดที่คาร์บอนในชั้นบรรยากาศ อยู่ที่ 418 ppm [Parts per million] ซึ่งอาจจะนำไปสู่โลกที่อุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 2 องศา ซึ่งเป็นสิ่งที่ Paris Agreement ในปี 2015 ตั้งใจจะทำให้ได้ แต่อย่างไรระดับคาร์บอนได้ออกไซด์ก็ไม่มีทีท่าจะลดลงมาสักกะที ถ้าหากว่าเกิน 500 ppm ขึ้นไป และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราอาจจะจบที่ร้อนชึ้น 4-8 องศา ซึ่งนั่นคือ Game Over แน่นอน
- ตอนนี้น้ำแข็งทะเลในขั้วโลกเหนือลดลงจนไม่น่าจะหวนกลับมาได้แล้ว ทำให้เรายิ่งไม่มีพื้นที่สีขาวมาสะท้อนแสงอาทิตย์กลับไป
- น้ำแข็งในกรีนแลนด์ละลายเร็วขึ้นกว่าที่คาดการเอาไว้ 3-4 เท่า ถ้ากรีนแลนด์ละลายหมด น้ำทะเลจะสูงขึ้น 7 เมตร
- ตอนนี้ขั้วโลกได้ที่เชื่อว่าละลายได้ยากมาตลอด เริ่มมีอาการแปรปรวนให้เห็น ถ้าละลายหมด น้ำจะสูงขึ้นหลายสิบเมตร
- จุดที่เราจะย้อนกลับไม่ได้ ใกล้เข้ามาทุกที
-----------------------
สถานการณ์: [Code Green] ยังปลอดภัยอยู่ ต้องรักษาระดับเอาไว้
5. Freshwater Use การใช้น้ำจืด : สถานการณ์ ยังปลอดภัย
- เป็นตัวแปรที่ link กับเรื่อง climate change + ระบบการจัดการน้ำของมนุษย์ ซึ่งได้เปลี่ยนวงจรที่น้ำจืดแปรสภาพและไหลเวียนตามธรรมชาติไปโดยสิ้นเชิง การชลประทานนำไปสู่การเปลี่ยนในการไหลของแม่น้ำ การถางป่านำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของวงจรไอน้ำ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและส่วนใหญ่เปลี่ยนแล้วแก้คืนไม่ได้
- ถึงแม้ว่าตอนนี้จะยังไม่วิกฤติ แต่ก็ต้องระวังดีๆ หากเราเปลี่ยนวงจรน้ำจืดไปเรื่อยๆอย่างไม่คิดถึงผลกระทบที่ตามมา อาจจะส่งผลลูกโซ่ต่อเนื่อง สร้างความเสียหายในแบบที่เรายังคาดไม่ถึงได้
6. Ocean Acidification การเป็นกรดของมหาสมุทร : สถานการณ์ ยังปลอดภัย
- ประมาณ 25-30% ของคาร์บอนที่เราปล่อยออกมา ถูกดูดซับโดยน้ำในมหาสมุทร ซึ่งผลพวงของมันก็คือทำให้น้ำทะเลมีความเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งก็ไปทำให้ในน้ำมี แคลเซียมคาร์บอเนต ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สิ่งมีชีวิตในทะเล ทั้งปะการัง ทั้งกุ้ง หอย ปู แพลงตอนบางประเภท หรืออะไรก็ตามที่มีเปลือก ใช้ในการสร้างเปลือกป้องกันตนเอง
- พอสัตว์เหล่านี้โตไม่ได้ ก็กระทบบ่วงโซ่อาหาร ในทะเลก็มีปลาน้อยลงเรื่อยๆ
- ตอนนี้น้ำทะเลของเรา มีความเป็นกรดมากขึ้น 30% เมื่อเทียบกับตอนก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม
- อันนี้ link กับเรื่อง Climate change ในเชิงมีสาเหตุร่วมกัน แต่ถือเป็นคนละมาตรวัดกัน
- ถึงยังปลอดภัยอยู่ แต่ถ้าไม่เปลี่ยนเรื่องปล่อยคาร์บอนกัน มันก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆต่อไป
7. Stratospheric ozone depletion การสลายตัวของชั้นโอโซน : สถานการณ์ ยังปลอดภัย
- อย่างที่รู้กัน โอโซนช่วยกัน UV [ultraviolet] ไม่ให้เข้าสู่บรรยากาศโลก ถ้าไม่มีโอโซนเราก็จะเป็นมะเร็งผิวหนังกันหมด และระบบนิเวศโลกก็จะพัง
- อันนี้เป็นข้อเดียวที่สถานการณ์ดีขึ้นมาก นับตั้งแต่มีการค้นพบปัญหารูโอโซนบริเวณขั้วโลก และมีการระบุชัดเจนว่าสารเคมีชนิดไหนที่เป็นต้นเหตุ นานาชาติก็มีการตกลงแบนสารเหล่านั้นร่วมกันผ่าน Montreal Protocol จนได้ผลนำสถานการณ์อันตรายมาสู่ระดับที่ปลอดภัยได้
- เป็นความหวังของหมู่บ้าน ว่ามนุษย์สามารถรวมตัวกันแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ
-----------------------
สถานการณ์: [Unknown] รู้ว่าเป็นปัญหา แต่ยังไม่สามารถกำหนดขอบเขตที่เกินขีดอันตรายไปได้
- 2 ข้อนี้ คือตัวแปรที่นักวิทยาศาสตร์เห็นตรงกันว่าจะมีผลกระทบกับระบบนิเวศของโลกอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ว่ายังหาคำตอบไม่ได้ว่าขีดอันตรายอยู่ที่จุดไหน
8. Particle Pollution [Atmospheric aerosol loading] สารแขวนลอยในชั้นบรรยากาศ : สถานการณ์ (ไม่รู้)
- ง่ายๆก็คือพวก pm10/ pm2.5 นั่นแหล่ะครับ + สารเคมีต่างๆที่มนุษย์ปล่อยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะมีผลกับสุขภาพของมนุษย์แล้ว คือมีผลกับอุณหภูมิของโลกด้วย
- ในขณะที่ก๊าซเรือนกระจก ทำให้โลกร้อนขึ้น สารแขวนลอยและมลพิษในอากาศ มีผลกระทบในการสะท้อนแสงอาทิตย์ออกนอกชั้นบรรยากาศ พูดง่ายๆยิ่งอากาศขุ่นมัวมาก อุณหภูมิก็ยิ่งลดลง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป เพราะต้องแลกมากับคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่มากๆ เป็นผลกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
- นอกจากนั้น สารแขวนลอยเหล่านี้ยังสามารถจับตัวกับไอน้ำ มีผลกับการจับตัวของก้อนเมฆและการเปลี่ยนแปลงของอากาศอีกด้วย
- ซึ่งผลกระทบตรงนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพิ่มเติม ทำให้ยังไม่สามารถทราบผลกระทบทั้งหมดได้
9. Chemical Pollution การปนเปื้อนของสารสังเคราะห์ : สถานการณ์ (ไม่รู้)
- มนุษย์เราสร้างสารสังเคราะห์ชนิดใหม่ขึ้นมากว่า 100,000 ชนิด ซึ่งมีทั้งโลหะหนักต่างๆ สารกัมมันตภาพรังสี ไมโครพลาสติก ฯลฯ ซึ่งผ่านอุตสาหกรรมและกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ สารเหล่านี้ก็ถูกปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ โดยที่เรายังไม่เข้าใจผลกระทบที่พวกมันมีต่อสัตว์ พืช และระบบนิเวศเลย รวมไปถึงผลกระทบที่มันมีต่อคนด้วย [ยกตัวอย่าง จนถึงตอนนี้ ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ ว่าการกินไมโครพลาสติกเข้าไป มีผลอะไรกับร่างกายคนบ้าง]
- ทำให้การกำหนดขอบเขตในเรื่องนี้ เป็นไปได้ยากมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็เห็นพ้องกันว่า เป็นตัวแปรที่มีผลต่อระบบนิเวศของโลกแน่นอน
-----------------------
นอกจาก 9 ข้อนี้ ขอฝากคำศัพท์ไว้อีกคำ คือคำว่า [Antropocene]=แอนโทรโพซีน คือชื่ออย่างไม่เป็นทางการของโลกยุคปัจจุบัน โดยยุคก่อนหน้านี้คือยุค Holocene [โฮโลซีน] ที่เริ่มต้นประมาณ 11,700 ปีที่แล้ว หลังยุคน้ำแข็งรอบสุดท้ายจบลง เป็นยุคที่อุณหภูมิของโลกเริ่มคงที่ ทำให้สภาวะที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสังคมมนุษย์เกิดขึ้นได้ เป็นสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
แต่มาตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์บอกว่ายุค Antropocene ได้มาถึงแล้ว มาจากคำว่า Anthropo ที่แปลว่า "คน" ในภาษากรีก ซึ่งอธิบายง่ายๆก็คือ นี่คือยุคที่มนุษย์กลายเป็นตัวแปรหลักในการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศและระบบนิเวศของโลก จากที่ก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีสปีชีส์ไหนทำแบบนี้ได้มาก่อน สัตว์ทุกชนิดต้องยอมรับสภาวะที่โลกหยิบยื่นให้ มีเราเป็นสปีชีส์แรกที่สามารถเปลี่ยนระบบของโลกได้ด้วยการกระทำของเรา
ขึ้นอยู่กับว่าจะเปลี่ยนไปทางไหนเท่านั้นเอง
Ref
http://www.salforest.com/blog/planetary-boundary
https://en.wikipedia.org/wiki/Planetary_boundaries#/media/File:Planetary_Boundaries.png
https://www.stockholmresilience.org/research/planetary-boundaries/the-nine-planetary-boundaries.html
https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/anthropocene/
https://www.imdb.com/title/tt14539726/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過62萬的網紅Bryan Wee,也在其Youtube影片中提到,...
「paris agreement wiki」的推薦目錄:
- 關於paris agreement wiki 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook
- 關於paris agreement wiki 在 Eric's English Lounge Facebook
- 關於paris agreement wiki 在 BREAK POINT Facebook
- 關於paris agreement wiki 在 Bryan Wee Youtube
- 關於paris agreement wiki 在 Travel Thirsty Youtube
- 關於paris agreement wiki 在 スキマスイッチ - 「全力少年」Music Video : SUKIMASWITCH / ZENRYOKU SHOUNEN Music Video Youtube
paris agreement wiki 在 Eric's English Lounge Facebook 八卦
[時事英文] 同學,讓我們來關注巴黎氣候峰會的結論! 這高峰會關乎人類未來的氣候變化,而其中的重要的時事英文字詞,更是值得我們學習!
★★★★★★★★★★★★
時事英文詞彙和搭配詞:
think tank 智庫
call for action against…呼籲對....採取行動
non-binding commitments 非約束性的承諾
legally binding 具法律約束力的
lack of enforcement mechanisms 缺乏強制執行機制
ratify the agreement 批准該協定
pursue efforts to 為…繼續努力
summit 尖峰、最高級會議
agreement 協定,協議
accord (國家之間的)協議;條約[C][(+with/on)]
protocol 議定書;協議;草案;(尤指外交的)禮節
adopted version 通過的版本
emerging economies 新興經濟體
CO2 emissions 二氧化碳排放量
greenhouse gases 溫室氣體
climate change 氣候變化
a rise in sea levels 海平面上升
continue to rise at their current rate 以現在的速率持續上升
reduce emissions 減少排放
curb emissions 控制排放
decarbonize electricity production 脫碳電力生產
generate electricity 發電
★★★★★★★★★★★★
accord, treaty, protocol, agreement 的用法
accord 指涉的是同意、和諧、妥協、諒解的"狀態",通常是指國家間的共識性協議。accord雖然屬於國際文件,但因未創設國際法上的權利義務,大多不具備國際法拘束力。An accord is a formal agreement between countries or groups (e.g. the Helsinki accord on human rights).
treaty 採廣義的定義是指國家之間經外交談判後依照國際法簽訂的正式條約。A treaty is a formal written agreement between two or more countries or governments. (e.g. The peace treaty ends nearly four years of violence.)
protocol 指的是一個議定書、協議、草案,通常用來表示一個公約的輔助文件,一個公約的附屬文件,或一個獨立條約的名稱。A protocol can mean the following things: A) an international agreement between two or more countries (e.g. the Montreal protocol on the protection of the ozone layer); B) a written record of a formal or international agreement, or an early form of an agreement
agreement 是協議最常用廣泛的叫法。跟treaty的定義差不多,指國際法主體間針對特定事項的條約,具有國際法效力。An agreement is an official document that people sign to show that they have agreed to something. It can be a pact, convention, or treaty between nations, sub-national entities, organizations, corporations, or other entities or persons.
★★★★★★★★★★★★
時事英文全文:
The 2015 United Nations Climate Change Conference, Conference of Parties 21 (COP 21), was held in Paris, France, from 30 November to 12 December 2015.
One hundred and ninety-six parties attended the conference and negotiated the Paris Agreement, a global agreement on the reduction of climate change. The overall goal of the agreement is to limit global warming to less than 2 degrees Celsius (°C) compared to pre-industrial levels. The agreement calls for zero net man-made greenhouse gas emissions to be reached during the second half of the 21st century. In the adopted version of the Paris Agreement, the parties will also pursue efforts to limit the temperature increase to 1.5 °C. According to some scientists, the 1.5 °C goal will require zero emissions sometime between 2030 and 2050.
The agreement will become legally binding if signed by at least 55 countries which together represent at least 55 percent of global greenhouse emissions. The parties will need to sign the agreement in New York between in April 2017, and also adopt it within their own legal systems.
Sources:
http://namasnthu.blogspot.tw/2011/12/copkp-platform.html
http://www.ldoceonline.com/dictionary/
http://unfccc.int/meetings/paris_nov_2015/meeting/8926.php
https://en.wikipedia.org/wiki/United_Nations_Climate_Change_conference
★★★★★★★★★★★★
時事英文: http://goo.gl/3EnOO6
環保詞彙: http://goo.gl/z7w7UO
★★★★★★★★★★★★
paris agreement wiki 在 BREAK POINT Facebook 八卦
看看了解一下~
可以增長一些知識喔!
https://www.facebook.com/media/set/…
【 #史上最狂總統川普再次讓全世界75億人都驚呆!】
這次,在世界各國都重視的氣候議題上,川普宣佈要退出大家都談好的「巴黎協定」。究竟巴黎協定喬了什麼事情?美國為何加入又退出,搞到全球都生氣?
所有問題,後果前因,圖文不符懶人包一次說給你聽!
--
如果你喜歡這份作品,歡迎小額相挺
👉 bit.ly/gozeczec
#yeah
#yo
#這是一首關於川普的歌
#特別是關於巴黎協定
#現在就唱給你聽
#川普表示
#誰跟你巴黎協定
#歐巴馬又不是我
#減碳花好多個億
#宣佈退出
#我不管氣候協議
#升溫幾度C
#間接影響到經濟
#地球環境
#吵吵鬧鬧碳足跡
#影響到我做生意
#我就要森77
#我要退出
#yeah
#堅決退出
#yeah
--
【 參考資料】
- 周澄/為何沒有「實效」的巴黎氣候協議仍是一大進步?
- https://www.twreporter.org/a/opinion-cop21…
- 川普宣布退出巴黎協定,全球減碳行動蒙陰影
- https://technews.tw/…/02/accord-de-paris-reduce-carbon-sha…/
- 整理包/美退出巴黎氣候協定 大國們如何繼續走下去
- https://udn.com/news/story/11185/2498728
- 川普的百日成績單(內政篇):兩大挫折與四個難題
- https://www.thenewslens.com/article/67140
- 巴黎氣候協定 小檔案
- http://news.ltn.com.tw/news/world/paper/1107201
- 川普退出巴黎氣候協定,誰得利?
- http://www.cw.com.tw/article/article.action?id=5082834
- 美國退出巴黎協定 會怎樣?
- http://www.cw.com.tw/article/article.action?id=5082829
- 聯合國氣候變遷綱要公約
- https://zh.wikipedia.org/wiki/联合国气候变化框架公约
- 美退出巴黎協定 台灣面臨的挑戰與機會
- https://udn.com/news/story/7238/2498636
- 中文版協議書
- http://unfccc.int/…/applica…/pdf/chinese_paris_agreement.pdf
- The Paris Agreement
- http://unfccc.int/paris_agreement/items/9485.php
- 行政院環保署 溫室氣體排放統計
- https://www.epa.gov.tw/ct.asp…
- 台灣是排碳大國 人均排碳量還高於中國、日本
- http://www.appledaily.com.tw/realtimenews/…/20161019/971060/
- 各國碳足跡的視覺化圖
- https://m.facebook.com/rocktwycc/posts/436445969780102
- 全球碳排放,你要知道的數字
- https://read01.com/M2MOMR.html
- 6 graphs explain the world’s top 10 emitters
- https://www.greenbiz.com/…/6-graphs-explain-worlds-top-10-e…
- 各國二氧化碳排放量列表
- https://zh.wikipedia.org/wiki/各国二氧化碳排放量列表
- 全球第一個氣候公約 《巴黎協定》下月生效
- http://e-info.org.tw/node/200319
- 巴黎協定的比較圖
- http://chintian.pixnet.net/b…/post/113074148-巴黎協定與京都議定書會有何不同?
- 巴黎氣候會議:後《京都議定書》的時代轉捩點(轉角國際)
- https://global.udn.com/global_vision/story/8663/1332141
paris agreement wiki 在 Bryan Wee Youtube 的評價
paris agreement wiki 在 Travel Thirsty Youtube 的評價
paris agreement wiki 在 スキマスイッチ - 「全力少年」Music Video : SUKIMASWITCH / ZENRYOKU SHOUNEN Music Video Youtube 的評價
paris agreement wiki 在 The Paris Agreement | UNFCCC 的相關結果
The Paris Agreement is a legally binding international treaty on climate change. It was adopted by 196 Parties at COP 21 in Paris, on 12 December 2015 and ... ... <看更多>
paris agreement wiki 在 The Paris Agreement - the United Nations 的相關結果
provide financing to developing countries to mitigate climate change, strengthen resilience and enhance abilities to adapt to climate impacts. The Agreement is ... ... <看更多>
paris agreement wiki 在 Paris Agreement - Wikipedia 的相關結果
The Paris Agreement (French: Accord de Paris), often referred to as the Paris Accords or the Paris Climate Accords, is an international treaty on climate ... ... <看更多>