สรุปประเด็นจากห้อง Clubhouse
ทำไมเงินถึงไหลเข้ากองทุน ESG ถึง 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ?
Clubhouse BBLAM x ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึง Theme การลงทุนพลังงานสะอาด หลายคนก็มักจะติดภาพความน่าเบื่อ และไม่ตื่นเต้น
แต่หลังจากที่ ลงทุนแมน ได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์คือ คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, Head of Investment Strategy กองทุนบัวหลวง ในวันพุธที่ 22 กันยายน ที่ผ่านมา
ก็พบว่า Theme พลังงานสะอาด ไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่หลายคนคิด นอกจากนั้นยังเป็น Theme ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงรอบใหญ่ของโลก และยังเกี่ยวโยงกับหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตในอนาคต อีกด้วย
ความน่าสนใจของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟังง่าย ๆ 9 ข้อ..
1. ทำไมกระแส ESG จึงกลายเป็นที่พูดถึงในตอนนี้ ?
พลังงานสะอาดคือ เทรนด์การลงทุนที่สำคัญมากในอนาคต และไม่ใช่แค่เทรนด์ระยะสั้น
สังเกตได้จากเม็ดเงินที่ไหลเข้ากองทุน ESG ทั่วโลกแตะ 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ อ่านว่า “1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ” เป็นครั้งแรก
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในยุโรป และการลงทุนใน ESG ยังให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย จึงเป็นหลักของการลงทุนที่เรียกว่า Green and Great Return
ถ้าเราลองมาดูผลตอบแทนของ กองทุน Pictet Global Environmental กองทุนรวมที่ลงทุนในธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกองทุนหนึ่งที่ B-SIP เข้าไปลงทุน ก็ให้ผลตอบแทนดีในหลายไตรมาส
และหากลงทุนตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนในปี 2014 ก็จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 14.92% ถือว่าทำได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนในดัชนีโลกที่มีทั้ง ESG และไม่มี ESG ที่ให้ผลตอบแทนเพียง 10%
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การลงทุนกองทุนที่ลงทุนในธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ก็เป็นเพราะว่าบริษัทที่ยึดหลัก ESG จะมีคุณภาพทั้งด้านรายได้ กำไร และผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น ดีกว่า บริษัททั่ว ๆ ไป
ทำให้สามารถกำหนดราคาสูงขึ้นได้ ดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงานได้ง่าย รวมทั้งยังมีโอกาสด้านต้นทุนการกู้ยืมที่ถูกกว่า เสียดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า และธนาคารปล่อยสินเชื่อง่ายกว่าอีกด้วย
2. ทำไม พลังงานสะอาด จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรอบใหญ่ของโลก ?
สิ่งที่ทำให้ กองทุนบัวหลวงมองว่า พลังงานสะอาดจะไม่ใช่เทรนด์ระยะสั้น
ก็คือการสังเกตคลื่นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมาแล้ว 5 คลื่นด้วยกัน นั่นคือ
- คลื่นที่ 1 คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม
- คลื่นที่ 2 คือ การเริ่มใช้พลังงานไอน้ำ
- คลื่นที่ 3 คือ การใช้รถยนต์แทนม้า
- คลื่นที่ 4 คือ การเดินทางโดยเครื่องบิน
- คลื่นที่ 5 คือ โลกออนไลน์ เช่น Microsoft, Facebook, Amazon, Netflix
สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่กินระยะเวลายาวนานหลายสิบปี และนำมาซึ่งกิจการขนาดใหญ่ที่มีความมั่งคั่งมากขึ้น
แต่ในโลกอีก 25 ปีข้างหน้า สิ่งที่จะกลายเป็นประเด็นสำคัญ และทั่วทั้งโลกกำลังเผชิญเหมือนกันอยู่ก็คือ “ภาวะโลกร้อน”
เพราะฉะนั้น คลื่นที่ 6 ก็คือ “เทคโนโลยีพลังงานสะอาด” ซึ่งจะเป็นหนึ่งเทรนด์ต่อจากนี้ไปอีก 25 ปี พร้อม ๆ กับ Robotics, Drones, AI, IoT สิ่งนี้เองที่จะเป็นแนวทางให้เราได้ว่า โลกในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางไหน แล้วเราควรจะลงทุนอะไรต่อไป
3. สัญญาณสำคัญที่ชี้ว่า โลกกำลังอยู่ในช่วงต้น คลื่นที่ 6 พลังงานสะอาด คืออะไร ?
กองทุนบัวหลวงมองว่า Megatrends จะต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ
1. ความร่วมมือระดับโลก
2. การเห็นด้วยจากรัฐบาล
3. ความร่วมมือภาคเอกชน
เมื่อครบทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ เงินลงทุนก็จะหลั่งไหลมายังเทรนด์นั้น ๆ อย่างแน่นอน ซึ่งเทรนด์ ESG ตอนนี้มีครบทั้ง 3 องค์ประกอบเรียบร้อยแล้ว
เริ่มต้นด้วยความร่วมมือระดับโลกคือ ข้อตกลง Paris Agreement จาก UN
ที่ต้องการให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน
ต่อมาคือ การขานรับนโยบาย จากรัฐบาลของประเทศมหาอำนาจ
เราได้เห็นประเทศต่าง ๆ ในยุโรปมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น
- European Green Deal เพื่อที่จะลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์ ภายในปี 2050
- European Climate Law กฎหมายที่พูดถึงการลดการปล่อยมลพิษลงอย่างน้อย 55% ภายในปี 2030
นอกจากนี้มหาอำนาจอย่าง “สหรัฐอเมริกา” ก็ได้จัดตั้งแผนงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อม เช่น
- แผนที่ 1 วงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการผลิตรถยนต์ EV และแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
- แผนที่ 2 วงเงิน 5.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานพลังงานสีเขียว ซึ่งภายในปี 2035 สหรัฐอเมริกาตั้งเป้าจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 40% ของพลังงานทั้งหมด
ขณะเดียวกัน มหาอำนาจซีกโลกตะวันออกอย่าง “จีน” ที่แม้จะยังคงใช้พลังงานถ่านหินเป็นหลัก แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2035 เป็นต้นไป
โดยล่าสุดประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม ไว้ในแผนการพัฒนาประเทศฉบับที่ 14 ซึ่งจะลดการปล่อยคาร์บอนต่อสัดส่วนของ GDP ลง 65% และจะเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน 25% ภายในปี 2030 อีกด้วย
หรือประเด็นรถยนต์ไฟฟ้า แม้ในปี 2020 ยุโรปขายรถยนต์ EV ไปแล้ว 1.3 ล้านคน ขณะที่จีนขายรถยนต์ EV ไปแล้ว 1.2 ล้านคัน แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าจีนจะสามารถแซงหน้าและกินส่วนแบ่ง 20% จากตลาดรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2025 ได้ไม่ยากเลย
4. แล้วภาครัฐและภาคเอกชน เชื่อมั่นใน Megatrends เรื่องพลังงานสะอาด แค่ไหน ?
ผลสำรวจของ UBS หรือธนาคารเพื่อการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์
ที่ได้สอบถามองค์กรต่าง ๆ ว่าอยากลงทุนใน Theme อะไรเป็นอันดับหนึ่ง
ปรากฏว่า 2 ใน 3 ตอบว่า จะลงทุนในพลังงานสะอาด เพราะเป็นปัญหาที่โลกเราต้องแก้ไข และยังให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย
ซึ่งหากลงทุนในด้านพลังงานทดแทนเป็นระยะเวลา 5 ปี เมื่อเทียบกับการลงทุนในพลังงานแบบเก่า
จะเห็นว่า ผลตอบแทนแตกต่างกันค่อนข้างมาก จุดนี้เองที่บอกว่ามันคือ Green and Great Return
นอกจากนี้กองทุนใหญ่ ๆ ก็ประกาศเข้ามาลงทุนในเรื่องพลังงานสะอาดเช่นกัน
เช่น Cathie Wood ผู้จัดการกองทุน ETF ARK
ประกาศว่าจะทำกองทุน ETF ใหม่ ที่ใช้ ESG Score ทั้งสามด้าน
คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
โดยจะไม่ลงทุนในบริษัทที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หรือไม่ส่งผลดีต่อสังคม
ขณะเดียวกัน กองทุนมหาวิทยาลัย Harvard ที่มีขนาด 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ประกาศหยุดการลงทุนในบริษัทที่ผลิตพลังงานฟอสซิลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
รวมทั้งบริษัทผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Saudi Aramco ก็ประกาศลงทุนในพลังงานสะอาด
โดยลงทุนในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในซาอุดีอาระเบีย
นอกจากนี้ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ยังวางเป้าหมายประเทศว่าจะใช้พลังงานสะอาดให้ได้ 50% ภายในปี 2030 และจะไม่ได้ลงทุนแค่พลังงานลมและแสงอาทิตย์ แต่ยังลงทุนในพลังงานไฮโดรเจน อีกด้วย
5. แล้วอะไรคือ ความเสี่ยงของเทรนด์ ESG และพลังงานสะอาด ?
ความเสี่ยงของ ESG พลังงานสะอาดอย่างแรกคือ กองทุนที่เสนอขายเป็น ESG จริงหรือไม่ แล้วมีมาตรฐานขอบเขตการลงทุนด้านพลังงานสะอาดที่ชัดเจนจริง ๆ หรือไม่
ความเสี่ยงที่สองคือ ต้องระวังว่าบริษัทที่เกี่ยวกับพลังงานสีเขียวนี้ มีราคาแพงไปแล้วหรือยัง มีฟองสบู่ที่เรียกว่า Green Bubble จากเม็ดเงินที่เข้าไปลงทุน 1.65 แสนล้านในปี 2019 และอีกกว่า 3.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 อยู่หรือไม่
ดังนั้น วิธีการลงทุนที่สำคัญ คือ การเลือกกองทุนที่ใส่ใจเรื่อง Valuation และใช้เรื่องมูลค่ามาเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญในการลงทุน
6. แล้วเราควรเลือกลงทุนใน ธุรกิจพลังงานสะอาด อย่างไร ?
เราลองมาดูตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า การขนส่ง การทำการเกษตร ว่าจะสามารถ Green and Great Return ไปพร้อมกับการให้ผลตอบแทนที่ดีได้จริงหรือไม่
เริ่มต้นที่ Orsted บริษัทพลังงานลมนอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกของเดนมาร์ก เดิมทีเคยเป็นบริษัทพลังงานถ่านหินเก่าแก่มาตั้งแต่ปี 1972 โดย 85% ของการผลิตไฟฟ้ามาจากฟอสซิล
จากนั้นในปี 2008 ก็พลิกธุรกิจครั้งใหญ่มาสู่เส้นทางพลังงานสะอาด โดย 85% ของการผลิตไฟฟ้ามาจากพลังงานสีเขียว และเดินทางสู่การเป็นบริษัทพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดของโลกได้สำเร็จ
ซึ่งรู้หรือไม่ว่า กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF บริษัทพลังงานของไทย ก็ได้ร่วมลงทุนใน Orsted เช่นกัน เพราะมองเห็นนวัตกรรมของพลังงานลมที่ดีที่สุดในโลกของ Orsted โดย 1/3 ของพลังงานลมของโลก มาจากบริษัทนี้
ที่น่าสนใจก็คือ ราคาของพลังงานลม ถูกกว่า ราคาพลังงานของถ่านหินไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2018 และยังคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 พลังงานลมและแสงอาทิตย์จะเป็นแหล่งพลังงานที่ถูกที่สุดในโลก
ในแง่ของ Green and Great Return อย่าง Orsted เริ่มเข้าตลาดปี 2016 ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ราคาปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 96% ต่อปี
ขณะเดียวกันยังมีรายได้เติบโตเฉลี่ย 30% ต่อปี และจะเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปอย่างน้อยถึงปี 2050 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีโอกาสขยายตลาดไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อีกมาก เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น
7. ธุรกิจพลังงานสะอาดที่ไม่พูดไม่ได้ในตอนนี้ ก็คือ EV ?
เราทราบดีอยู่แล้วว่า หนทางลดปัญหามลภาวะจากการใช้รถยนต์ก็คือ การหันมาใช้รถยนต์ EV หรือรถไฟฟ้า แต่สงสัยไหมว่า ทำไมเทรนด์นี้จึงกลายเป็นโอกาสลงทุนมหาศาลในอนาคต
จากข้อมูลคาดการณ์ว่า ยอดขายรถยนต์ EV จะเพิ่มขึ้น 18 เท่าในอีกสิบปีข้างหน้า แสดงว่าอาจเพิ่มขึ้นสองเท่าทุก ๆ ปี ซึ่งในอนาคตรถยนต์ทั่วโลกจะกลายเป็นรถยนต์ EV อย่างน้อย 80%
เหตุผลก็เพราะว่า ราคารถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลงเรื่อย ๆ สังเกตได้จาก ลิเทียมไอออนแบตเตอรี่ ที่มีราคาถูกลง 88% เมื่อเทียบกับสิบปีก่อน หากราคายังคงลดลงเรื่อย ๆ ก็เชื่อว่า ราคารถยนต์ EV และรถยนต์สันดาป จะมีระดับราคาใกล้เคียงกัน
นอกจากนี้ นโยบายของประเทศแถบยุโรปยังให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยจะยกเลิกการขายรถยนต์สันดาปแล้วจริง ๆ เช่น สวีเดน ประกาศยกเลิกในปี 2025 หรืออังกฤษ ก็ประกาศยกเลิกในปี 2035
พอเป็นแบบนี้ แบรนด์รถยนต์ต่าง ๆ จึงต้องปรับตัวกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เก่าแก่อย่าง Honda, Toyota หรือแบรนด์ใหม่อย่าง Tesla, BYD, XPeng แม้กระทั่งค่ายเก๋าอย่าง Harley-Davidson, Porsche ก็ต้องปรับตัวตามเช่นกัน
ที่น่าสนใจก็คือ การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมรถยนต์รอบนี้ ทิศทางเงินลงทุนไม่ใช่แค่ส่วนของรถยนต์ EV เพียงอย่างเดียว แต่จะไปถึง Supply Chain ต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น
- บริษัทผลิตแบตเตอรี่
- บริษัทชิป Semiconductor
- บริษัท Software ที่ทำ ADAS (รถยนต์ไร้คนขับ Autonomous Driving) และบริษัท Simulation ทำการจำลองการขับรถ
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างธุรกิจรถยนต์ EV ที่กองทุน B-SIP เข้าไปลงทุนกันบ้าง
XPeng อ่านว่า เสี่ยวเผิง เป็นบริษัทรถยนต์ EV เน้นตลาดระดับกลางเเละระดับสูงในจีน ที่เรียกได้ว่าท้าชนกับ Tesla ได้เลย เช่น รถยนต์ EV รุ่น XPeng P7 ที่มีราคาเปิดตัวล้านกว่าบาท ชาร์จหนึ่งครั้งจะวิ่งได้ 700 กิโลเมตร โครงสร้างต่าง ๆ มาจากการออกแบบของวิศวกรที่มาจาก Apple, Tesla
XPeng ยังใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่าง 5G, AI ซึ่งตอนนี้ก็มีเทคโนโลยี Autonomous Driving เรียบร้อยแล้ว และยังใช้แบตเตอรี่ของ CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่จีนที่ใหญ่ที่สุด ที่เพียงใช้เวลา 30 นาที ก็สามารถชาร์จได้ 80% อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ กองทุน B-SIP จึงไม่พลาดที่จะเข้าไปลงทุน IPO ปีที่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจพลังงานสะอาดที่มี Green and Great Return เลยทีเดียว
8. นอกจาก พลังงานลม และรถยนต์ EV ยังมีธุรกิจไหนจะเป็นเทรนด์อนาคตได้อีกบ้าง ?
เริ่มต้นด้วยเรื่องใกล้ตัว อย่างอาหารที่เรียกว่า “Beyond Meat” ซึ่งเป็นธุรกิจผู้ผลิตอาหารคล้ายเนื้อที่ไม่ได้มาจากเนื้อจริง ๆ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องปัญหาดิน ปัญหาน้ำ และปัญหามลพิษ
โดยในปี 2050 คาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก 2.8 พันล้านคน และจะตามมาด้วยปริมาณอาหารที่ต้องการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
หากเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จำเป็นต้องใช้พื้นที่เลี้ยงสัตว์และปัจจัยต่าง ๆ มากกว่าการปลูกพืชอย่างมาก เช่น การเลี้ยงวัว จะใช้ที่ดินมากกว่า 18 เท่า รวมทั้งใช้น้ำและพลังงานมากกว่า 10 เท่า และยังจะปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน ออกมาจากร่างกายอีกด้วย
จึงไม่แปลกใจเลยว่า สัดส่วน 79% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการเกษตรมาจาก “การเลี้ยงสัตว์”
ปัจจุบัน Beyond Meat กำลังขยายฐานลูกค้าได้ดี สังเกตได้จากแบรนด์อาหารต่าง ๆ ที่หันมานำเสนอผลิตภัณฑ์จาก Beyond Meat มากขึ้นทั่วสหรัฐอเมริกา
เช่น แมคโดนัลด์, เอแอนด์ดับบลิว, Dunkin'
และยังกระจายไปตามร้านสะดวกซื้อ ที่เราสามารถซื้อกลับไปปรุงอาหารที่บ้านได้เองอีกด้วย
Beyond Meat กลายเป็นบริษัทที่น่าจับตามอง และเข้า IPO ในปี 2019 ที่มีมูลค่าบริษัท 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาในปีนี้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นมาเป็น 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นสองเท่ากว่า ๆ ภายในสองปี นอกจากนี้ยังมีรายได้ปี 2020 เติบโต 36% อีกด้วย
นอกจากธุรกิจอาหารแล้ว ก็ยังธุรกิจอื่น ๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น
- Schneider Electric เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ลิฟต์ ที่มีการคำนวณการใช้งานแบบประหยัดพลังงาน ซึ่งในอนาคตหากอาคารไหนเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ก็จะสามารถเรียกค่าเช่าสูงขึ้นได้
- Equinix เป็นบริษัทโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของโลก เป็นศูนย์จัดเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถหยุดทำงานได้ ต้องใช้ไฟตลอดทั้งวันทั้งคืน ปัจจุบันบริษัทสามารถใช้พลังงานหมุนเวียน 92% ของพลังงานทั้งหมด
- Ansys เป็นบริษัทจำลองผล จำลองสถานการณ์สำหรับรถยนต์, เครื่องบิน และอื่น ๆ เพื่อช่วยลดปริมาณการสูญเสียทรัพยากรในช่วงของการทดสอบ
เช่น Dyson แบรนด์เครื่องเป่าผมของผู้หญิง ทำให้แห้งเร็วขึ้นและดีขึ้น
Ansys เข้ามาช่วยคำนวณทิศทางลม, ลมแรง และค้นหาประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยใช้ซอฟต์แวร์จำลองผลการทดสอบ ช่วยประหยัดทรัพยากร และประหยัดต้นทุนไปได้อย่างมาก
สรุปแล้ว แค่ Theme พลังงานสะอาดอย่างเดียว ก็ทำให้เราเห็นโอกาสของธุรกิจหลากหลายสาขา
ไม่ว่าจะเป็น การผลิตไฟฟ้าที่จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนด้วยพลังงานลม
หรือจะเป็นการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ที่จะเปลี่ยนทั้ง EV Supply Chain
รวมทั้ง การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยอุตสาหกรรมอาหาร และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือมากขึ้น นั่นเอง
9. แล้วเราจะเข้าถึงโอกาสการลงทุนในบริษัทเหล่านี้ได้อย่างไร ?
กองทุน B-SIP เป็นหนึ่งกองทุนเพื่อตอบโจทย์การลงทุนในพลังงานสะอาดโดยตรง และมีจุดเด่นด้วยสไตล์การลงทุนของกองทุนบัวหลวง ที่จะเฟ้นหาธุรกิจดีมีคุณภาพและเติบโต ซึ่งจะสร้างความแตกต่างจากกองทุนอื่นทั่วไป นั่นคือ
1. เน้นลงทุนธุรกิจรักษาสิ่งแวดล้อม ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในอนาคตที่เรียกว่า Green and Great Return นั่นเอง
2. มองว่าเทรนด์รักษาสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด จะเป็น Megatrends ของโลกที่เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น จึงเชื่อว่า Theme นี้มีความน่าสนใจและสามารถลงทุนระยะยาวได้
3. เปลี่ยนภาพจำว่า การลงทุนในพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อมไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นน่าเบื่อหรือหุ้นโครงสร้างพื้นฐานเสมอไป
เพราะการลงทุนของ B-SIP ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นเติบโต มีนวัตกรรม มีเทคโนโลยี และยังคำนึงถึงการประเมิน Valuation ด้วย
ถ้าฉายภาพใหญ่ ๆ ก็คือ กองทุน B-SIP จะลงทุนทั้งในฝั่ง Global Environmental Opportunities และ Clean Energy นั่นเอง
โดยฝั่ง Global Environment จะมีสัดส่วนธุรกิจเทคโนโลยี 40% นอกจากนั้นจะเป็นบริษัทอุตสาหกรรม, กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มเคมีภัณฑ์
ซึ่งจะมีรูปแบบลงทุน Active Management เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างหุ้นเติบโตและหุ้นคุณค่า
ส่วนในฝั่งของพลังงานสะอาด จะมีสัดส่วนธุรกิจเทคโนโลยี 48% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้เข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรม EV ทั้ง Supply Chain ราว 33% ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทฝั่งสหรัฐอเมริกา และยุโรป เพราะเป็นผู้นำเรื่องเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
เช่น Orsted ธุรกิจพลังงานลมนอกชายฝั่งมากว่า 10 ปี มีเทคโนโลยีน่าสนใจ และยังมีโอกาสขยายตลาดได้อีกมาก
ทั้งหมดนี้ จึงสะท้อนได้ว่า กองทุน B-SIP เป็นอีกหนึ่งช่องทางลงทุนใน Theme พลังงานสะอาดที่จะสร้างการเติบโตในระยะยาวได้แบบ Green and Great Return นั่นเอง..
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過62萬的網紅Bryan Wee,也在其Youtube影片中提到,...
「paris agreement 2050」的推薦目錄:
- 關於paris agreement 2050 在 ลงทุนแมน Facebook
- 關於paris agreement 2050 在 Eric's English Lounge Facebook
- 關於paris agreement 2050 在 Notep Facebook
- 關於paris agreement 2050 在 Bryan Wee Youtube
- 關於paris agreement 2050 在 Travel Thirsty Youtube
- 關於paris agreement 2050 在 スキマスイッチ - 「全力少年」Music Video : SUKIMASWITCH / ZENRYOKU SHOUNEN Music Video Youtube
paris agreement 2050 在 Eric's English Lounge Facebook 八卦
[時事英文] 同學,讓我們來關注巴黎氣候峰會的結論! 這高峰會關乎人類未來的氣候變化,而其中的重要的時事英文字詞,更是值得我們學習!
★★★★★★★★★★★★
時事英文詞彙和搭配詞:
think tank 智庫
call for action against…呼籲對....採取行動
non-binding commitments 非約束性的承諾
legally binding 具法律約束力的
lack of enforcement mechanisms 缺乏強制執行機制
ratify the agreement 批准該協定
pursue efforts to 為…繼續努力
summit 尖峰、最高級會議
agreement 協定,協議
accord (國家之間的)協議;條約[C][(+with/on)]
protocol 議定書;協議;草案;(尤指外交的)禮節
adopted version 通過的版本
emerging economies 新興經濟體
CO2 emissions 二氧化碳排放量
greenhouse gases 溫室氣體
climate change 氣候變化
a rise in sea levels 海平面上升
continue to rise at their current rate 以現在的速率持續上升
reduce emissions 減少排放
curb emissions 控制排放
decarbonize electricity production 脫碳電力生產
generate electricity 發電
★★★★★★★★★★★★
accord, treaty, protocol, agreement 的用法
accord 指涉的是同意、和諧、妥協、諒解的"狀態",通常是指國家間的共識性協議。accord雖然屬於國際文件,但因未創設國際法上的權利義務,大多不具備國際法拘束力。An accord is a formal agreement between countries or groups (e.g. the Helsinki accord on human rights).
treaty 採廣義的定義是指國家之間經外交談判後依照國際法簽訂的正式條約。A treaty is a formal written agreement between two or more countries or governments. (e.g. The peace treaty ends nearly four years of violence.)
protocol 指的是一個議定書、協議、草案,通常用來表示一個公約的輔助文件,一個公約的附屬文件,或一個獨立條約的名稱。A protocol can mean the following things: A) an international agreement between two or more countries (e.g. the Montreal protocol on the protection of the ozone layer); B) a written record of a formal or international agreement, or an early form of an agreement
agreement 是協議最常用廣泛的叫法。跟treaty的定義差不多,指國際法主體間針對特定事項的條約,具有國際法效力。An agreement is an official document that people sign to show that they have agreed to something. It can be a pact, convention, or treaty between nations, sub-national entities, organizations, corporations, or other entities or persons.
★★★★★★★★★★★★
時事英文全文:
The 2015 United Nations Climate Change Conference, Conference of Parties 21 (COP 21), was held in Paris, France, from 30 November to 12 December 2015.
One hundred and ninety-six parties attended the conference and negotiated the Paris Agreement, a global agreement on the reduction of climate change. The overall goal of the agreement is to limit global warming to less than 2 degrees Celsius (°C) compared to pre-industrial levels. The agreement calls for zero net man-made greenhouse gas emissions to be reached during the second half of the 21st century. In the adopted version of the Paris Agreement, the parties will also pursue efforts to limit the temperature increase to 1.5 °C. According to some scientists, the 1.5 °C goal will require zero emissions sometime between 2030 and 2050.
The agreement will become legally binding if signed by at least 55 countries which together represent at least 55 percent of global greenhouse emissions. The parties will need to sign the agreement in New York between in April 2017, and also adopt it within their own legal systems.
Sources:
http://namasnthu.blogspot.tw/2011/12/copkp-platform.html
http://www.ldoceonline.com/dictionary/
http://unfccc.int/meetings/paris_nov_2015/meeting/8926.php
https://en.wikipedia.org/wiki/United_Nations_Climate_Change_conference
★★★★★★★★★★★★
時事英文: http://goo.gl/3EnOO6
環保詞彙: http://goo.gl/z7w7UO
★★★★★★★★★★★★
paris agreement 2050 在 Notep Facebook 八卦
เพราะโลกก็มีเดดไลน์และขีดจำกัด! ผุด Climate Clock นาฬิกานับถอยหลังสู่หายนะโลกร้อน เราเหลือเวลาแค่ 7 ปี! ในการช่วยโลกมุ่งสู่คาร์บอนศูนย์ ไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงเกิน 1.5 องศา ก่อนที่เราจะเผชิญหายนะโลกร้อน แบบไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิม (หรือเวลาอาจจะน้อยกว่านั้น ขึ้นอยู่กับเราทุกคน)
•
ขณะนี้โลกกำลังเผชิญอุณหภูมิที่สูงขึ้นเฉลี่ย 1.1 องศา (หากเปรียบเทียบกับระดับอุณหภูมิเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม ปี 1850-1900) ที่ทำให้เราเผชิญสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ร้อนหนัก แล้งหนัก ไฟป่า น้ำแข็งละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น การสูญพันธุ์ และอื่นๆที่คาดการณ์ไม่ได้
•
ทั่วโลกจึงมีข้อตกลงร่วมกันในความตกลงปารีสที่จะให้อุณหภูมิโลกไม่สูงกว่า 2 องศา และพยายามลิมิตไม่ให้เกิน 1.5 องศา
•
เพราะหากโลกร้อนเกิน 1.5 หรือ 2 องศาเซลเซียส หรือมากกว่านั้น เราอาจจะเผชิญวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ไม่สามารถย้อนกลับได้ ผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศนั้นจะรุนแรงกว่านี้หลายเท่าตัว
•
ซึ่งสิ่งที่ทำให้อุณภูมิโลกสูงขึ้นก็คือก๊าซเรือนกระจก ก๊าซคาร์บอน ที่ถูกปล่อยออกมาอย่างมหาศาลจากกิจกรรมต่างๆของเรา ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกฝาชีครอบความร้อน
•
ทั่วโลกจึงมีความมุ่งมั่นในการลิมิตจำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อที่จะไม่ให้อุณหภูมิสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เราจึงมีปริมาณจำกัดของก๊าซเรือนกระจกที่สามารถปล่อยได้ เรียกว่า "Carbon Budget"
•
และหากเรายังปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่แบบนี้ เรามีเวลาเหลือเท่าไหร่กัน ก่อนที่เราจะใช้ Carbon Budget นี้หมด? (ปล่อยคาร์บอนเกิน) และทำให้อุณหภูมิสูงเกิน 1.5 องศา หรือ 2 องศา
•
จากรายงานในปี 2018 IPCC Special Report on Global Warming of 1.5°C เผยว่าเรามีลิมิตปริมาณคาร์บอนที่สามารถปล่อยได้ (Carbon budget) ไม่เกิน 420 gigatonnes (Gt CO2) ในการที่จะทำให้อุณหภูมิไม่สูงเกิน 1.5 องศา
และเรามีลิมิตปริมาณคาร์บอนที่สามารถปล่อยได้ (Carbon budget) ไม่เกิน 1170 Gt CO2ในการที่จะทำให้อุณหภูมิไม่สูงเกิน 2 องศา
•
โดยในปัจจุบันนี้โลกเราปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซ์ประมาณ 42 Gt CO2 ในแต่ละปี และหากเรายังปล่อยอยู่แบบเดิม เราจะเหลือเวลาอีกนานเท่าไหร่ที่จะใช้ Carbon Budget หมดกันนะ?
•
และทั้งหมดนี้ก็คือที่มาของ Carbon Clock และ Climate Clock ซึ่งเป็นนาฬิกาที่นับถอยหลังนี้สู่วันที่เราจะใช้ Carbon budget หมดนั่นเอง โดยทำเพื่อที่จะตอกย้ำให้เรามุ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยที่สุด หรือจนกระทั่งเป็น 0
•
Carbon Clock และ Climate clock (แถบสีแดง) นาฬิกาที่นับถอยหลังนี้เผยให้เห็น Deadline ว่าตอนนี้ (วันที่ 26 กันยายน 63)
1. เราเหลือ Carbon Budget 305 Gt CO2 ที่สามารถปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศได้ โดยที่จะทำให้อุณหภูมิโลกไม่สูงเกิน 1.5 องศา ซึ่งหากเราปล่อยก๊าซคาร์บอนแบบในปัจจุบันนี้ ในอีก 7 ปี คาร์บอน Budget นี้จะหมด (เราเหลือเวลา 7 ปีในการมุ่งสู่คาร์บอนศูนย์)
2. และเราเหลือ Carbon Budget 1055 Gt CO2 ที่สามารถปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศได้ โดยที่จะทำให้อุณหภูมิโลกไม่สูงเกิน 2 องศา ซึ่งหากเราปล่อยก๊าซคาร์บอนแบบในปัจจุบันนี้ ในอีก 25 ปี คาร์บอน Budget นี้จะหมด (เราเหลือเวลา 25 ปีในการมุ่งสู่คาร์บอนศูนย์)
•
นอกจากนี้บน Climate Clock ยังมีตัวหนังสือสีเขียวที่แสดงถึงเปอร์เซ็นต์การเติบโตของการผลิตพลังงานจากแหล่งที่หมุนเวียน เรียกว่า Lifeline ที่ ณ วันนี้ คิดเป็น 27% โดยเราต้องทำให้ Lifeline หรือการผลิตพลังงานจากแหล่งหมุนเวียนให้เป็น 100% ก่อนที่ Deadline ของเราจะถึง 0 หรือ ก่อนวันที่ Carbon Budget หมดนั่นเอง
•
นาฬิกานับถอยหลังนี้คงเป็นสิ่งย้ำเตือนให้เราเร่งลงมือปฏิบัติในวันนี้ ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากกิจกรรมต่างๆในชีวิตของเรา เพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงเกิน 1.5 หรือ 2 องศาที่จะทำให้เราเผชิญหายนะในอีก 7 ปี หรือ 25 ปีข้างหน้า
•
โดยนาฬิกานี้เปรียบเสมือนการนับถอยหลังสู่หายนะ ที่เราทุกคนจะต้องเผชิญเหมือนกัน หากไม่ลงมือทำอะไรเลย เพราะฉะนั้นเราทุกคน ทุกภาคส่วน จะต้องร่วมมือกันในการมุ่งสู่เป้าหมายปล่อยคาร์บอนศูนย์ เพื่อเราทุกคนเอง
•
ขณะนี้หลายๆเมืองที่ได้นำ Climate Clock นี้ไปติดตามตึกต่างๆ อย่างใน Berlin, New York, และ Paris เพื่อย้ำเตือนผู้คนถึงให้ตื่นละตระหนักถึงความเร่งด่วนในการลงมือ Take Action กับเรื่องสภาพภูมิอากาศ โดยทุกท่านเองก็สามารถมีนาฬิกาถอยหลังนี้ไว้ที่บ้าน มือถือ หรือเมืองของตัวเองได้ เพื่อย้ำเตือนตัวเองตลอดเวลาว่านี่คือเวลาที่เหลือที่เราจะช่วยโลกได้
•
และอย่าลืมว่าโลกก็มีเดดไลน์ และขีดจำกัดของมัน
•
Climate Clock https://climateclock.world/…
https://climateclock.world/mobile/index.html
Carbon clock https://www.mcc-berlin.net/en/research/co2-budget.html
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจำกัดไม่ให้อุณหภูมิสูงเกิน 1.5 องศา ของ IPCC
https://www.ipcc.ch/sr15/
https://www.ipcc.ch/…/…/sites/2/2018/12/SR15_FAQ_Low_Res.pdf
หวั่นช่วยโลกไม่ทัน! รายงาน UN ชี้ โลกอาจร้อนเกิน 1.5°C เลยเกณฑ์ข้อตกลงปารีสตั้งไว้ ภายในไม่เกิน 10 ปี! ขณะนี้สูงขึ้น 1.1°C 5 ปีที่ผ่านมาร้อนสุด จ่อเผชิญภัยภิบัติรุนแรงหนักขึ้น วอนตัดมลพิษ-มุ่งคาร์บอน 0 ภายใน 2050
https://www.facebook.com/…/a.17572495377…/3027944964000597/…
ร่มธรรม ขำนุรักษ์
ณิชากร บัวทรัพย์
environman
•
ขอชวนทุกคนเข้าร่วมงาน The EnDay วันรวมพลคนรักษ์โลก ตอน โรคไป ใครเจ็บ? วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคมนี้ ณ Siam Discovery โซน Ecotopia ชั้น 3-4 เวลา 11:00 - 20:00 น. มาหาทางออกโลกร้อนร่วมกัน
กดเข้าร่วม และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://m.facebook.com/events/688603932010819/
Because the world has a deadline and a limit! Climate Climate Clock. Countdown to global warming disaster. We have only 7 years left! In saving the planet, aiming to zero carbon, not over 1.5 degrees, before we face a never-ending global warming disaster. (or less time, it's up to us all)
•
The world is currently facing a temperature of an average of 1.1 degrees (compared to pre-industrial average temperature of 1850-1900) that has us facing climate change, hot warming, heavy drought, wildfires, melting ice, sea level rise, extinction, etc. Unpredictable
•
Globally, there is a mutual agreement in Paris agreement to provide global temperatures not higher than 2 degrees and try Limit not to get above 1.5 degrees.
•
Because if the global warming is above 1.5 or 2 degrees Celsius or more, we might face an irreversible climate crisis. The climate impact is slightly more severe.
•
What makes the world higher is the greenhouse gases, carbon gases released greatly from our activities, causing the greenhouse, heated capsules.
•
Globally, it's determined to limit atmospheric carbon emissions limit, so that it won't be higher than 1.5 degrees Celsius. We have limited quantities of greenhouse gases that can be released as ′′ Carbon Budget
•
And if we still have greenhouse gases like this, how much time do we have before we use this carbon Budget? (Over Carbon Release) and make the temperature higher than 1.5 degrees or 2 degrees.
•
According to a report in 2018, IPCC Special Report on Global Warming of 1.5°C reveals that we have limited quantity of carbon that can be released (Carbon Budget) under 420 gigatonnes (Gt Gt) in the temperature. Not higher than 1.5 degrees
And we have a loose carbon limit (Carbon Budget) under 1170 Gt Gt to make the temperature higher than 2 degrees.
•
At this time, the world we emit approximately 42 GT Gt carbon dioxide each year, and if we keep releasing the same old way, how long will we have to spend our Carbon Budget?
•
And all of this is Carbon Clock and Climate Clock which is a clock that counts down to the day we use carbon budget. It's done to ensure we focus on minimal greenhouse gases or until 0
•
Carbon Clock and Climate Clock (red strip). The clock that countdown reveals Deadline now (September 26, 63)
1. We have a carbon Budget 305 Gt CO2 that can be released into the atmosphere, causing the Earth's temperature to not exceed 1.5 degrees, which is if we release the current carbon gas in the next 7 years. This Budget is almost gone (we have 7 years left to go to zero carbon)
2. and we have a carbon Budget 1055 Gt CO2 that can be released into the atmosphere, which will make the world temperature not higher than 2 degrees, if we release this current carbon gas in the next 25 years, Carbon. This Bon Budget is going to be sold out (we have 25 years left to reach zero carbon)
•
In the Climate Clock, there is a green book that represents the percentage of growth of energy production from renewable sources called Lifeline today. It's 27 % responsible for us having to make Lifeline or energy production from renewable sources to 100 % before our Deadline. Until 0 or before the day that Carbon Budget is sold out.
•
This countdown clock is a reminder to us to speed up today's action to reduce carbon emissions from activities in our lives, so that the world temperature is higher than 1.5 or 2 degrees will make us face disaster in our lives. 7 years or 25 years later
•
This clock is like a countdown to disaster that we all have to face if we don't do anything. Therefore, we all, all sectors, must cooperate to target carbon zero for all of us.
•
Now, many cities that are leading the Climate Clock follow buildings like Berlin, New York, and Paris to remind people to wake up and realize the urgency to take Action Action on climate matter. Everyone can have a clock backwards. It's your mobile home or city to remind yourself all the time that this is the rest of our time to save the world.
•
And don't forget that the world has a deadline and its limits.
•
Climate Clock https://climateclock.world/?fbclid=IwAR3TG3UfrwaFxXYW6uJ7n6OgDvZ05ktkEPxl00HXS13DbMhM54xJjaeHsW8
https://climateclock.world/mobile/index.html
Carbon clock https://www.mcc-berlin.net/en/research/co2-budget.html
Learn more about limited temperatures above 1.5 degrees of IPCC
https://www.ipcc.ch/sr15/
https://www.ipcc.ch/site/assets/uploads/sites/2/2018/12/SR15_FAQ_Low_Res.pdf
Fearless to save the world! UN reports indicate that the world could be hotter than 1.5°C. The Paris Agreement criteria set in under 10 years! Now it's up to 1.1°C 5 years ago. The hottest, severe disaster, heavier. Won cutting pollution - aiming carbon 0 within 2050
https://www.facebook.com/environman.th/photos/a.1757249537736819/3027944964000597/?type=3
Dharma Umbrella. Laughing Narak.
Nicha Khon Bua Sao
About Man
•
Inviting everyone to attend The EnDay, World Lovers Day, when the disease is gone. Who is hurt? Saturday October 10th at Siam Discovery son Ecotopia, 3-4th floor, 11:00 pm-20:00 pm. Let's find solutions to global warming together.
Press join and follow for more information at https://m.facebook.com/events/688603932010819/Translated
paris agreement 2050 在 スキマスイッチ - 「全力少年」Music Video : SUKIMASWITCH / ZENRYOKU SHOUNEN Music Video Youtube 的評價
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/IvDTkTKi5pA/hqdefault.jpg)
paris agreement 2050 在 The Paris Agreement | UNFCCC 的相關結果
The Paris Agreement reaffirms that developed countries should take the lead in providing financial assistance to countries that are less endowed and more ... ... <看更多>
paris agreement 2050 在 The Paris Agreement, a Strategy for the Longer Term - World ... 的相關結果
According to the latest available science, achieving the long-term temperature goal would require global greenhouse gas emissions to peak by 2020 and ... ... <看更多>
paris agreement 2050 在 Paris Agreement | Climate Action - European Commission 的相關結果
The Paris Agreement sets out a global framework to avoid dangerous climate change by limiting global warming to well below 2°C and pursuing efforts to limit ... ... <看更多>