ทำไม นอร์เวย์ จึงเป็นประเทศแห่ง อาหารทะเล? /โดย ลงทุนแมน
ปลาแซลมอนกว่า 50% ที่อยู่บนโต๊ะอาหารทั่วโลก ล้วนส่งออกมาจากประเทศนอร์เวย์
นอกจากปลาแซลมอนแล้ว นอร์เวย์ยังเป็นอันดับ 1 ในการส่งออกปลาค็อด ปลาเทราต์
ปลาแมกเคอเรล และอยู่ในอันดับต้นๆ ของการส่งออกอาหารทะเลอีกหลายต่อหลายชนิด
ทั้งหมดล้วนส่งผลให้นอร์เวย์ เป็นประเทศที่ส่งออกอาหารทะเลมากที่สุดอันดับ 2 ของโลก
รองจากประเทศจีน
แต่สิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่เรื่องของปริมาณ..
เพราะคุณภาพอาหารทะเลของนอร์เวย์
ก็เป็นสิ่งที่ประทับใจคนทั้งโลก ทั้งความสะอาด อุดมไปด้วยสารอาหาร และความสดใหม่
โดยเฉพาะเนื้อปลาเกรดพรีเมียม ที่จะละลายทันทีเมื่อถูกนำเข้าปาก
อะไรที่ทำให้ประเทศเล็กๆ อย่างนอร์เวย์ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านอาหารทะเลของโลก?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม นอร์เวย์ จึงเป็นประเทศแห่ง อาหารทะเล?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ.2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
╚═══════════╝
คนทั่วโลกรู้จักนอร์เวย์ในฐานะ “ดินแดนแห่งพระอาทิตย์เที่ยงคืน”
เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากขั้วโลกเหนือ ช่วงฤดูร้อนของนอร์เวย์ จึงมีเวลากลางวันยาวนานกว่ากลางคืนมาก ยิ่งใกล้ขั้วโลกเท่าไร เวลาที่พระอาทิตย์ส่องแสงก็ยิ่งยาวนานขึ้นเท่านั้น
แต่ถึงแม้จะอยู่ใกล้กับขั้วโลกเหนือ ชายฝั่งทะเลของนอร์เวย์กลับไม่เป็นน้ำแข็งในช่วงฤดูหนาว
ด้วยอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่น Gulf Stream ที่นำพาความอบอุ่นมาให้กับชายฝั่งอันยาวเหยียดของนอร์เวย์
แต่ความโชคดียิ่งกว่า คือกระแสน้ำอุ่นที่มากระทบกับความเย็นของกระแสน้ำเย็นจากขั้วโลก
เกิดเป็นระบบนิเวศทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ เรียกว่า “Dogger Bank” ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเล เป็นแหล่งอาศัยของปลาน้อยใหญ่ และทำให้ท้องทะเลของนอร์เวย์อุดมสมบูรณ์ที่สุดในยุโรป
ด้วยแนวชายฝั่งที่ยาวกว่า 29,750 กิโลเมตร ทำให้นอร์เวย์มีพื้นที่สำหรับทำการประมงอย่างมหาศาล การทำประมงจึงแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวนอร์เวย์มาเป็นเวลาหลายศตวรรษจนกลายเป็นความเชี่ยวชาญ โดยมีศูนย์กลางการค้าปลาอยู่ที่เมืองเบอร์เกน (Bergen) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญทางเศรษฐกิจของนอร์เวย์ คือการค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในทะเลเหนือช่วงทศวรรษ 1960s ที่ทำให้น้ำมันกลายเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1
ของประเทศแทนอาหารจากท้องทะเล
หลังจากนั้นมา
นอร์เวย์ได้กลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันที่สำคัญของยุโรป และด้วยความที่มีประชากรน้อยมาก
ชาวนอร์เวย์ 5 ล้านคน จึงมี GDP ต่อหัวสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลนอร์เวย์ก็ได้เล็งเห็นว่า น้ำมันเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป
ความมั่งคั่งจากน้ำมันจึงเป็นความมั่งคั่งที่ไม่ยั่งยืน จึงได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ความมั่งคั่งนี้ยังคงหล่อเลี้ยงชาวนอร์เวย์ต่อไป แม้ในวันที่ไม่มีน้ำมันอีกแล้ว
ประการแรก รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งรัฐ หรือ “Government Pension Fund” ขึ้น
โดยกองทุนนี้จะนำเงินที่เก็บจากภาษีของบริษัทน้ำมัน มาลงทุนเก็บเกี่ยวดอกผล โดยลงทุนในบริษัทต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีเงินงบประมาณเพียงพอสำหรับลูกหลานชาวนอร์เวย์ในอนาคต
ประการที่สอง การหาภาคส่วนเศรษฐกิจมาทดแทนการส่งออกน้ำมัน ซึ่งก็ย้อนกลับไปที่
ภาคเศรษฐกิจที่มีบทบาทมาเป็นเวลาหลายร้อยปี อย่าง “การทำประมง”
นับตั้งแต่อดีต การทำประมงของนอร์เวย์เป็น ประมงนอกชายฝั่ง หรือ “Offshore” ที่เป็นการตักตวงทรัพยากรจากท้องทะเลซึ่งก็อาจหมดไปได้ในวันหนึ่งข้างหน้า
ในช่วงทศวรรษ 1970s รัฐบาลจึงริเริ่มสนับสนุนให้มีการทำประมงบนฝั่ง “Inshore” โดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยงปลามากขึ้น
ชายฝั่งทะเลของนอร์เวย์มีความพิเศษ คือ มีลักษณะเว้าแหว่งเข้ามาในแผ่นดิน
เป็นอ่าวแคบๆ อยู่ระหว่างหน้าผาสูงชัน เรียกว่า ฟยอร์ด (Fjord) ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของธารน้ำแข็งตั้งแต่ยุคน้ำแข็งหลายหมื่นปีก่อน
การมีฟยอร์ดที่เว้าแหว่งกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติที่ดีสำหรับการทำฟาร์มเลี้ยงปลา เพราะมีพื้นที่เพียงพอให้ปลาว่ายน้ำ และอยู่ห่างไกลจากเส้นทางเดินเรือนอกชายฝั่งที่ปล่อยมลภาวะ
พอเรื่องเป็นแบบนี้ก็ทำให้ประเทศนอร์เวย์มีการทำฟาร์มเลี้ยงปลามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะฟาร์มปลาแซลมอน และปลาเทราต์
ซึ่งการทำฟาร์มเลี้ยงปลามีผู้ควบคุมก็คือ กระทรวงการประมงและกิจการชายฝั่ง ที่มีการจัดตั้งช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อดูแลอุตสาหกรรมประมงโดยเฉพาะ
ฟาร์มปลาทุกแห่งจะต้องทำตามข้อกำหนดของกระทรวง ไม่ว่าจะเป็นในกระชังแต่ละหลังจะต้องมีพื้นที่เพียงพอให้ปลาสามารถเจริญเติบโตได้ สภาพแวดล้อมในกระชังจะต้องสะอาด
ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาจะต้องไม่อยู่ใกล้กับเส้นทางเดินเรือ และควบคุมการใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงดูปลาอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้พันธุ์ปลาที่มีคุณภาพที่สุด
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของการทำประมงในนอร์เวย์ คือความร่วมมืออย่างเหนียวแน่นระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน
รัฐบาลนอร์เวย์ให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนามาก
โดยเป็นผู้ให้งบประมาณแก่สถาบันวิจัยของรัฐ สำหรับนำมาปรับใช้กับภาคเอกชนทุกระดับ
ตั้งแต่ชาวประมงอิสระ เจ้าของฟาร์มเลี้ยงปลา ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่
หนึ่งในสถาบันสำคัญที่เป็นแรงผลักดันในกระบวนการวิจัยและพัฒนา คือ
สถาบันวิจัยทางทะเลแห่งชาตินอร์เวย์ หรือ Norwegian Institute of Marine Research
ตั้งอยู่ในเมืองเบอร์เกน ศูนย์กลางด้านประมงของประเทศ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการผลักดันงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลมาสู่ภาคเอกชน
ตัวอย่างหน่วยงานวิจัยที่สำคัญ เช่น
CRISP หน่วยงานวิจัยด้านการพัฒนาการทำประมงด้วยคลื่นโซนาร์และเสียงเอคโค เพื่อให้เรือประมงนอกชายฝั่งสามารถประยุกต์ใช้คลื่นสะท้อนนี้ในการวัดขนาด และชนิดของฝูงปลา ทำให้การทำประมงมีทิศทางที่แม่นยำ และประหยัดทั้งต้นทุนด้านพลังงาน และเวลา
EcoNorSe หน่วยงานวิจัยด้านการศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลานอกชายฝั่งทะเล และนำเสนอเป็นข้อมูล ทั้งการกระจายตัวของปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ และปริมาณการบริโภคแพลงก์ตอนทะเลของปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ
นอกเหนือจากสถาบันของรัฐ ยังมีสถาบันการศึกษาอย่าง University of Bergen ที่เป็นสถาบันที่เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่มีงานวิจัยร่วมกันกับทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะการทำฟาร์มเลี้ยงปลา และพัฒนากระบวนการขนส่งอาหารทะเลที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
นอกเหนือจากการสนับสนุนจากภาครัฐบาลแล้ว
ทางฝั่งของภาคเอกชนก็ได้มีการลงทุนเป็นเงินมากกว่า 500 ล้านบาทในแต่ละปี
เพื่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งบริษัท Lerøy Seafood Group
บริษัท Marine Harvest และบริษัท SalMar ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นผู้นำในการทำฟาร์มปลาแซลมอนในระดับโลก
นอกจากด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ซึ่งเป็นศาสตร์พื้นฐาน ที่ทำให้ได้ผลผลิตอาหารทะเลที่มีคุณภาพ รัฐบาลนอร์เวย์ยังเป็นผู้นำในการสนับสนุนการทำการตลาด เพื่อให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ถึงมือลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
โดยด้านการตลาด เป็นหน้าที่ของสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์
หรือ Norwegian Seafood Council (NSC) ซึ่งมีหน้าที่ในการทำการตลาดในทุกรูปแบบ
ทั้งการหาตลาดใหม่ การวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดของประเทศลูกค้าที่สำคัญ การวางแผนการขนส่งทางอากาศเพื่อให้อาหารทะเลสดใหม่ถึงมือผู้รับอย่างเร็วที่สุด
และเป็นผู้กำหนดตราสัญลักษณ์ “Seafood from Norway” เพื่อการันตีคุณภาพอาหารทะเลจากนอร์เวย์ ว่ามีความสด ความสะอาด และความปลอดภัย
NSC มีสำนักงานตั้งอยู่ใน 12 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เพื่อทำการตลาดอาหารทะเลให้เฉพาะกับลูกค้าในแต่ละประเทศที่มีความต้องการแตกต่างกันไป
การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบของภาครัฐและเอกชน ทั้งภาควิจัยและพัฒนา
ที่เป็นเหมือนผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ กับภาคการตลาด ที่เป็นเหมือนบริการปลายน้ำ
กลายเป็นส่วนผสมที่ลงตัว ทำให้อาหารทะเลจากนอร์เวย์มีคุณภาพสูง
สามารถเจาะตลาดไปสู่ลูกค้าทั่วทุกมุมโลก
นอร์เวย์เป็นประเทศที่โชคดี มีทั้งทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์
และมีทรัพยากรอย่างน้ำมันที่สร้างรายได้มหาศาล
แต่ความโชคดีก็เป็นสิ่งไม่จีรังยั่งยืน ในเมื่อทรัพยากรที่มีล้วนเป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป
หลายประเทศบนโลกที่ร่ำรวยจากการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติ แต่ท้ายที่สุดกลับประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเพราะขาดการบริหารจัดการที่ดี
เป้าหมายหลักของรัฐบาลนอร์เวย์ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา จึงเป็นการค่อยๆ ลดสัดส่วนของการส่งออกน้ำมัน และนำรายได้จากการส่งออกน้ำมัน มาพัฒนาและวางรากฐานการทำประมงให้มีประสิทธิภาพ ทุ่มเทสร้างงานวิจัย นำมาประยุกต์ใช้กับภาคเอกชนอย่างแข็งขัน ทำการตลาดอย่างจริงจัง และวางแผนเพื่อสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
ในปี 2050 การส่งออกอาหารทะเลจากนอร์เวย์ คาดว่าจะสร้างมูลค่าสูงถึง 2 ล้านล้านบาท
ซึ่งเป็นมูลค่าที่มากกว่าการส่งออกอาหารทะเลในปี 2018 เกือบ 6 เท่า
ความโชคดีอาจเป็นสิ่งที่หลายประเทศใฝ่หา
แต่สำหรับประเทศนอร์เวย์ซึ่งเป็นเจ้าแห่งอาหารทะเลแล้ว
สิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า ก็คือ “ความยั่งยืน”..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=5082&year=2018&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://ditp.go.th/contents_attach/138521/138521.pdf
-http://crisp.imr.no/en/projects/crisp/innovations
-https://seafoodfromnorway.us/Stories-from-Norway/a-perfect-environment/extreme-conditions/
-https://www.norskpetroleum.no/en/framework/norways-petroleum-history/
-https://www.uib.no/en/marine
-https://www.leroyseafood.com/en/about-us/value-chain/
-https://en.seafood.no/about-norwegian-seafood-council/about-us/
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過734的網紅Rebecca Saw,也在其Youtube影片中提到,The Norwegian Seafood Gala Dinner - a majestic annual affair where 1 tonne of seafood was flown- in from Norway to feed over 700 guests. Kudos to Che...
norway seafood council 在 Facebook 八卦
🐟 Ikan Salmon jenis Spesis Atlantik dari Norway ni merupakan gred paling tinggi dan sangat berkhasiat.Sebab tu selalu kalau beli di Pasaraya harganya mahal. Special Salmon Norway @serinassimplydelicioushq harga berbaloi murah!! 🤩 RM30- 500gram (ada dlm 3/4 pcs ikan)
🐟 Norway merupakan negara pengeluar ikan Salmon terbesar dan paling berkualiti. Menurut Norwegian Seafood Council kelebihan Salmon Norway ialah memiliki tekstur padat dan juicy tanpa bau hanyir sehingga sesuai untuk buat sushi dan sashimi. 😍😍
Salmon Norway bermanfaat bagi kesihatan kerana mengandung nutrisi dan mineral seperti asam lemak omega , vitamin A, D, dan B12. Nutrisi tersebut baik bagi perkembangan otak, mata, dan jantung. 🥳💪
Sekarang menu salmon ni di melayu kan.. Ada yg masak lomak cili api, asam pedas, kari, masak tempoyak, makan dgn nasi dagang pun sedap. Sedap juga masukkan dalam bubur nasi, dan ada yg buat laksa pakai salmon. Tengok menu customer i masak ni western style meleleh air liur kan nampak sedap!! Real testimonial from our customer
😍👍 JOM ORDER: 0166919156.
norway seafood council 在 Facebook 八卦
🐟 Ikan Salmon jenis Spesis Atlantik dari Norway ni merupakan gred paling tinggi dan sangat berkhasiat.Sebab tu selalu kalau beli di Pasaraya harganya mahal. Special Salmon Norway harga berbaloi murah!! 🤩 RM35- 500gram (ada dlm 3/4 pcs ikan)
🐟 Norway merupakan negara pengeluar ikan Salmon terbesar dan paling berkualiti. Menurut Norwegian Seafood Council kelebihan Salmon Norway ialah memiliki tekstur padat dan juicy tanpa bau hanyir sehingga sesuai untuk buat sushi dan sashimi. 😍😍
Salmon Norway bermanfaat bagi kesihatan kerana mengandung nutrisi dan mineral seperti asam lemak omega , vitamin A, D, dan B12. Nutrisi tersebut baik bagi perkembangan otak, mata, dan jantung. 🥳💪
Sekarang menu salmon ni di melayu kan.. Ada yg masak lomak cili api, asam pedas, kari, masak tempoyak, Sambal Lado pun best tau! 👍🤤 Delivery sekitar KL & Selangor Only By Rider, no postage sbb Frozen food.
📲JOM ORDER: 0166919156.
norway seafood council 在 Rebecca Saw Youtube 的評價
The Norwegian Seafood Gala Dinner - a majestic annual affair where 1 tonne of seafood was flown- in from Norway to feed over 700 guests.
Kudos to Chef Frank Naesheim and his team again, for they pulled it off year after year with perfection, delighting all guests with this spectacular oceanic feast from the Norwegian seas.
Kudos to the team! :D
PS: This year's dinner was RM700/ pax.
2013: https://www.rebeccasaw.com/norwegian-seafood-gala-dinner-2013-the-best-of-norwegian-food-hospitality-and-the-malaysian-norwegian-business-council-mnbc-innovation-award/
2014: https://www.rebeccasaw.com/norwegian-seafood-gala-dinner-2014-mandarin-oriental/
2015: https://www.rebeccasaw.com/norwegian-seafood-gala-dinner-2015-it-gets-better-every-year/
2016: https://www.rebeccasaw.com/norwegian-seafood-gala-dinner-2016-cooking-with-norwegian-salmon-recipes/
2017: https://www.rebeccasaw.com/norwegian-seafood-gala-dinner-2017-feast-on-norways-best-bounty-from-the-sea/
2018: NA
2019: coming up!