เส้นทางธุรกิจ BGC จากผู้ผลิตขวดแก้วสู่ Total Packaging Solutions
BGC x ลงทุนแมน
ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้วเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มี High Barrier to Entry หรือมีข้อจำกัดในการเข้าแข่งขันสูงสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ
เพราะต้องใช้ทั้งประสบการณ์และเงินลงทุนเริ่มต้นจำนวนมาก
เลยทำให้มีผู้เล่นรายใหญ่เพียงไม่กี่รายที่ครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่ในปัจจุบัน
และถ้าพูดถึงธุรกิจนี้ หนึ่งในบริษัทแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึง
คงจะเป็น บมจ.บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส หรือ BGC ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์แก้วรายใหญ่ในไทยและภูมิภาคอาเซียน
เส้นทางธุรกิจของ BGC นั้น เริ่มจากการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วป้อนให้กับบริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่อย่างเครือบุญรอดบริวเวอรี่
ก่อนจะขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จนครอบคลุมทั้งบรรจุภัณฑ์แก้วสำหรับเบียร์, เครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ (Soft Drink), อาหาร, ยาฆ่าแมลงและยา รวมถึงขวดประเภทอื่น ๆ อย่างสุรา ไวน์ และเครื่องดื่มให้พลังงาน
จนกระทั่งสามารถนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา
และยังได้รับการจัดอันดับเครดิตองค์กรที่ A- ด้วยแนวโน้มคงที่หรือ Stable จากทริสเรทติ้ง
แต่เพราะการทำธุรกิจไม่อาจหยุดนิ่งอยู่กับที่
หลังบริษัทฯ เข้าลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนเมื่อปีที่ผ่านมา
ในปีนี้ BGC เตรียมเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจหลักอย่างบรรจุภัณฑ์แก้ว
ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ ‘Bringing Good Value to Everyone Everyday’ หรือการเป็นผู้นำที่ส่งคุณค่าสู่ทุกคน ในทุกวัน ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ภายใต้พันธกิจที่จะส่งมอบคุณค่าสู่ทุกฝ่าย ทั้งผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน รวมถึงสังคมและโลกของเรา
อีกทั้งด้วยโมเดลธุรกิจที่มุ่งสู่การเป็น Total Packaging Solutions หรือผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร
ด้วยกลยุทธ์การควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition: M&A) ซึ่งจะสามารถสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็ว (Inorganic Growth)
โดยเน้นการควบรวมแนวตั้ง (Vertical Integration) หรือลงทุนในบริษัทที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เดียวกับบรรจุภัณฑ์แก้ว เพื่อให้ธุรกิจมีความครอบคลุมและครบวงจรมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจผลิตฟิล์มพลาสติก ฝาพลาสติก ขวด PET หลอดพรีฟอร์ม ไปจนถึงกล่องกระดาษลูกฟูก
โดย BGC มีแผนเข้าลงทุนล็อตแรกใน 2 บริษัท รวมเป็นเงินลงทุนประมาณ 1,650 ล้านบาท
- บจ.บีจี แพคเกจจิ้ง (BGP) ผู้ผลิตฟิล์มพลาสติก ฝาพลาสติก ขวด PET และหลอดพรีฟอร์ม (เข้าซื้อ 100%)
- บจ.บางกอกบรรจุภัณฑ์ (BVP) ผู้ผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก มีกำลังการผลิตประมาณ 5 หมื่นตันต่อปี (เข้าซื้อ 100%)
ที่น่าสนใจคือจากเดิมที่ BGC มีขายเฉพาะขวดแก้ว
ต่อไปจะมีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องจากบริษัทลูกไปนำเสนอบริการแบบครบวงจร (One stop service) ทำให้มีโอกาสสร้างยอดขายและรายได้เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้การ M&A ยังทำให้ธุรกิจของ BGC มีการกระจายความเสี่ยงที่ดีขึ้นด้วย
เพราะจากเดิมที่โครงสร้างรายได้กว่า 95% มาจากธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้ว
แต่ภายใน 5 ปีนับจากนี้ บริษัทฯ วางแผนปรับโครงสร้างรายได้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้วให้อยู่ที่ 55%
ธุรกิจบรรจุภัณฑ์อื่นๆ 40% และธุรกิจพลังงาน 5%
ถือเป็นการกระจายความเสี่ยง ไม่ให้บริษัทพึ่งพาธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมากเกินไป
สำหรับผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา BGC มีกำไรสุทธิ 516 ล้านบาท
ใกล้เคียงกับปี 2562 ที่ทำได้ 512 ล้านบาท
แม้ว่ารายได้จากการขายจะอยู่ที่ 10,968 ล้านบาท
ลดลงเล็กน้อยจากปี 2562 ที่มีรายได้จากการขาย 11,252 ล้านบาท
โดยในปีนี้ BGC คาดว่าจะเติบโตแบบ Double-digit ประมาณ 35%
สอดคล้องกับภาพรวมตลาดบรรจุภัณฑ์แก้วที่น่าจะกลับมาเติบโตตามระดับการอุปโภคบริโภคที่เริ่มฟื้นตัว
โดยเฉพาะจากอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าอุปโภคบริโภค
เรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาที่ทำให้เราได้เห็น ไม่ว่าบริษัทจะมีแหล่งรายได้ที่แน่นอน
หรือครองส่วนแบ่งการตลาดมากแค่ไหน แต่การขยายธุรกิจยังเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
เช่นเดียวกับเส้นทางของ BGC ที่เริ่มต้นจากการผลิตขวดแก้วป้อนเข้าสู่ Supply Chain ของเครือบุญรอด
จนกลายเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ของอุตสาหกรรมนี้
จากนั้นก็พร้อมยกระดับธุรกิจสู่การเป็น Total Packaging Solutions ในปัจจุบัน
inorganic growth 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
สรุปเรื่อง M&A การควบรวมกิจการ คืออะไร? ครบจบในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน
ยุคสมัยนี้ การแข่งขันในโลกธุรกิจ ทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าอดีตอย่างมาก
หลายบริษัทเจอความท้าทายต่าง ๆ
ทั้งเศรษฐกิจที่ผันผวน และการเพิ่มขึ้นของคู่แข่งในอุตสาหกรรม
บริษัทจำนวนไม่น้อย จึงเลือกที่จะใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า Mergers and Acquisitions หรือ “M&A” เพื่อความอยู่รอด หรือแม้แต่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจตนเอง
M&A คืออะไร และมีความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจปัจจุบัน มากแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
M&A ย่อมาจาก 2 คำ คือ “Mergers and Acquisitions”
โดย Mergers นั้นหมายถึง การที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป ทำการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน
เป็นผลให้ทั้งบริษัทเหล่านั้น ถูกยุบรวมและเหลือเพียงแค่บริษัทใหม่เกิดขึ้น และบริษัทเดิมทั้งสอง (หรือมากกว่า 2) ก็จะเป็นเจ้าของบริษัทใหม่ร่วมกัน
ซึ่งตัวอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาก็คือ การควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาต จนกลายมาเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB
ส่วนคำว่า Acquisitions นั้นหมายถึง การที่บริษัทหนึ่งเข้าไปซื้อกิจการของอีกบริษัทหนึ่ง
กรณีแรกคือ Share Acquisition คือผู้ที่เข้ามาซื้อ
จะได้หุ้นของบริษัทที่ถูกซื้ออาจจะบางส่วนหรือทั้งหมด
ซึ่งผู้ซื้อจะได้มาซึ่งสิทธิ์ในการออกเสียงในการประชุม หรือพูดง่าย ๆ ว่ามีสิทธิ์ควบคุมการตัดสินใจของกิจการที่ถูกซื้อ อย่างเช่น การเข้าซื้อหุ้น INTUCH ของ GULF
อีกกรณีคือ ผู้ซื้อจะได้มาซึ่งทรัพย์สิน, หน่วยธุรกิจบางส่วนหรือทั้งหมด ของกิจการที่ถูกซื้อ ซึ่งกรณีนี้เราเรียกว่า Asset Acquisition หรือ Business Acquisition
ซึ่งตัวอย่างที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ก็เช่น กรณีที่ MAKRO รับโอนกิจการทั้งหมดของ LOTUS แล้วออกหุ้นเพิ่มทุนให้กับเจ้าของเดิมที่เป็นบริษัทในเครือซีพี เพื่อชำระเป็นค่าโอนกิจการ
ทีนี้ลองมาดูกันว่ามีเหตุผลสำคัญอะไรบ้าง ที่ทำให้บริษัทส่วนใหญ่นิยมหยิบกลยุทธ์ M&A มาใช้
- เสริมการเติบโตให้กับบริษัท
เมื่อธุรกิจของบริษัทเติบโตมาถึงจุดหนึ่ง การที่จะผลักดันให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้นถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก เช่น หากธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่ขนาดตลาดเริ่มไม่เติบโตแล้ว การจะขยายส่วนแบ่งตลาดอาจทำได้ลำบาก
กรณีนี้บริษัท ก็จะต้องพึ่งการเข้าไปควบรวมกิจการคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันนั้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้ทันที โดยไม่ต้องไปเสียเวลาลงทุนพัฒนาสินค้า ทดลองตลาด หรือจ้างพนักงานเพิ่ม
หรือแม้แต่ถ้าธุรกิจเดิมของบริษัทนั้นเริ่มอิ่มตัว การเข้าไปควบรวมกิจการกับบริษัทอื่นที่อยู่ในธุรกิจใหม่ ก็สามารถสร้างการเติบโตจากภายนอกกิจการ หรือ Inorganic Growth ได้เช่นกัน
- เพิ่มอำนาจ และผลประโยชน์ร่วมทางธุรกิจ ให้กับบริษัท
เมื่อบริษัทมีการควบรวมกิจการกันเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้เพิ่มอำนาจและผลประโยชน์ทางธุรกิจได้ เพราะบริษัทที่ควบรวมสามารถใช้ทรัพยากร รวมไปถึงจุดแข็งของแต่ละบริษัทร่วมกัน ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมให้ลดลงอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น การควบรวมกันของธุรกิจค้าปลีก
ที่สามารถเพิ่มอำนาจซื้อและต่อรองกับซัปพลายเออร์ จนอาจได้รับส่วนลด และช่วยให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานลดลง
- เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป มีหลายบริษัทที่ปรับตัวไม่ทัน ต้องประสบปัญหา บางบริษัทขาดสภาพคล่อง เข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็ก หรือบริษัทที่กำลังประสบปัญหา
ดังนั้น เราจึงเห็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนสูงพยายามเข้าไปควบรวมกิจการกับบริษัทขนาดเล็กหลายแห่งที่ยังมีโอกาสเติบโตในอนาคต แต่กำลังประสบปัญหาอยู่
ซึ่งการควบรวมกับธุรกิจขนาดใหญ่ จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่กำลังประสบปัญหานั้นมีโอกาสอยู่รอดสูงขึ้น
และหากมองในมุมของ รูปแบบการควบรวม เราก็สามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ
1. การควบรวมกิจการแบบแนวนอน (Horizontal Integration)
เป็นการควบรวมกิจการที่ทำธุรกิจเหมือนกัน หรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งผลประโยชน์จากการควบรวมแบบนี้คือ เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale)
จากการที่สามารถเพิ่มกำลังการผลิต เพิ่มส่วนแบ่งตลาด ลดคู่แข่ง รวมไปถึงการเกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจเพิ่มขึ้น และเพื่อให้เกิดจากการแชร์เทคโนโลยี ทรัพยากร และบุคลากรร่วมกัน
ตัวอย่างดีลแบบนี้ ก็เช่น The Walt Disney ที่มีส่วนธุรกิจผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์รายใหญ่ ได้เข้าซื้อกิจการของ 21st Century Fox สตูดิโอผลิตภาพยนตร์ชื่อดัง ด้วยมูลค่ากว่า 2.3 ล้านล้านบาท ในปี 2019
2. การควบรวมกิจการแบบแนวตั้ง (Vertical Integration)
เป็นการควบรวมของธุรกิจที่มีห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เดียวกัน เพื่อลดต้นทุนการผลิต และจัดการกระบวนการผลิตได้ง่ายขึ้น
เช่น ในปี 2012 Google ได้เข้าซื้อกิจการของ Motorola Mobility ที่แยกตัวออกมาจาก Motorola และเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาสมาร์ตโฟน Android ด้วยมูลค่ากว่า 406,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามดีลนี้ของ Google ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก เพราะตลาดโทรศัพท์มือถือมีการแข่งขันกันที่รุนแรง
3. การควบรวมกิจการที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน (Conglomerate Integration)
เป็นการควบรวมของธุรกิจที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง
ทั้งนี้เพื่อ สร้างการเติบโตจากธุรกิจใหม่ รวมไปถึงความต้องการที่จะกระจายความเสี่ยงเพื่อไม่ให้กิจการมีรายได้หลักมาจากธุรกิจเดิมเท่านั้น
ตัวอย่างของบริษัทที่เกิดจาก Conglomerate Integration เช่น กลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ TCC Group ของคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี
ที่มีการควบรวมกิจการต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องมาอยู่ในเครือมากมาย เช่น ธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ ประกัน การเงิน และธุรกิจการเกษตร
ทั้งหมดนี้ก็คือ สรุปกลยุทธ์ M&A
ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญในทางธุรกิจ ที่ทำให้เราเข้าใจว่า
เรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกธุรกิจที่ผ่านมา มันจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง M&A ในหลายเรื่อง
และในอนาคต เราก็จะได้เห็นการ M&A ของธุรกิจต่าง ๆ อยู่เป็นระยะ ตราบใดที่บนโลกนี้ยังมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย แนวคิดทุนนิยม..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.investopedia.com/ask/answers/why-do-companies-merge-or-acquire-other-companies/
-https://www.set.or.th/th/market/files/mna/Final_MnA.pdf
-https://www.investopedia.com/ask/answers/051315/what-difference-between-horizontal-integration-and-vertical-integration.asp
-https://www.npr.org/2019/03/20/705009029/disney-officially-owns-21st-century-fox
-https://en.wikipedia.org/wiki/Motorola_Mobility
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_largest_mergers_and_acquisitions
inorganic growth 在 ABOVE THE MARS Facebook 八卦
Life līf/ (noun) the condition that distinguishes animals and plants from inorganic matter, including the capacity for growth, reproduction, functional activity, and continual change preceding death. What's life mean? "Are you want to survive or you want to live" Don't be wasting your time and just let the life passes you by. When your heart gets bigger now and life calling you to step out. [ 148 more words ]
http://abovethemars.com/2016/08/15/life-2
inorganic growth 在 Organic and Inorganic Growth - YouTube 的八卦
Companies are often said to grow revenues and profits in two ways, organically and inorganically. Organic growth is driven by internal ... ... <看更多>