รองเท้า Onitsuka Tiger กับ ASICS เป็นอะไรกัน? / โดย ลงทุนแมน
Onitsuka Tiger เป็นรองเท้าแนวแฟชั่น ส่วน ASICS เป็นรองเท้ากีฬา
ถึงแม้ทั้งสองแบรนด์ต่างมีชื่อเรียก และภาพลักษณ์ต่างกัน
แต่สิ่งหนึ่งที่ทั้งสองมีเหมือนกัน คือ ลายเส้นอันโดดเด่นบนตัวรองเท้า..
เพราะอีกแบรนด์ เลียนแบบสัญลักษณ์ของอีกแบรนด์?
คำตอบคือ เพราะทั้งสองต่างมีเจ้าของเดียวกัน คือ บริษัท ASICS Corporation
แล้วแบรนด์ไหนเกิดก่อนกัน? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
จุดเริ่มต้นของเรื่องทั้งหมด เกิดจากชายที่ชื่อ คิฮาชิโร โอนิซึกะ นายทหารผ่านศึก
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ด้วยความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น
ความบอบช้ำและสิ้นหวัง ได้ฝังรากลึกในใจชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศ
คุณโอนิซึกะ จึงต้องการทำบางสิ่ง เพื่อช่วยฟื้นฟูจิตใจ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่
ซึ่งเขาเลือกที่จะผลิตรองเท้ากีฬา
เพราะเชื่อว่า กีฬา นอกจากมีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังส่งผลต่อจิตใจของคนด้วย
ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น สุดท้ายก็จะส่งผลต่อวัฒนธรรมและสังคมโดยรวม..
เขาจึงตั้งบริษัท Onitsuka ขึ้นมาเพื่อผลิตรองเท้ากีฬาโดยเฉพาะ
ในตอนนั้น รองเท้ากีฬาที่ผลิตยากที่สุดคือ รองเท้าบาสเกตบอล
แต่คุณโอนิซึกะ ตัดสินใจว่า สินค้าชิ้นแรกของเขาต้องเป็นสิ่งนี้เท่านั้น
เพราะเชื่อว่า หากเริ่มต้น ด้วยการทำอะไรยากๆ แล้ว ต่อไปเวลาเจออุปสรรคอะไร ก็จะไม่ใช่เรื่องใหญ่
หลังจากทดลองทำรองเท้าอยู่หลายวัน ในห้องทำงานของเขา
ปี 1950 ก็ได้เปิดตัวรองเท้าบาสเกตบอลรุ่นแรก ซึ่งมีโลโก้รูปเสือเด่นชัด
และตั้งชื่อแบรนด์ว่า Onitsuka Tiger ตามชื่อของเขา กับ เสือ ซึ่งเป็นสัตว์ที่เขาชื่นชอบ
แต่รองเท้ารุ่นแรกนี้ ก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า บรรดานักบาสเกตบอลต่างไม่คิดจะสวม
เนื่องจากรูปร่างที่ประหลาด และไม่มีคุณภาพพอ
แต่เขาไม่คิดยอมแพ้ มุ่งพัฒนารองเท้ารุ่นใหม่ๆ อยู่เรื่อยมา
ทั้งฟังคำแนะนำของโค้ชและนักกีฬา เพื่อให้ได้รองเท้าที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
จนสุดท้าย รองเท้าบาสเกตบอลของเขา ก็เป็นที่ยอมรับ และมีชื่อเสียงมากขึ้นเรื่อยๆ
และเรื่องที่น่าสนใจ ในช่วงพัฒนารองเท้า
มีครั้งหนึ่งที่ คุณโอนิซึกะ กำลังทานสลัดปลาหมึกอยู่ที่บ้าน
เวลาเขาใช้ตะเกียบคีบหมึกขึ้นมา พบว่าหนวดปลาหมึกมักติดแน่นอยู่ที่ก้นชาม
เขาจึงเกิดไอเดีย ที่จะนำตัวดูดของปลาหมึก มาออกแบบพื้นรองเท้า
ซึ่งผลลัพธ์สุดท้าย ก็ล้มเหลวอีกเช่นเคย เพราะรองเท้ารุ่นนี้เบรกดีเกินไปจนคนสวมทรงตัวไม่ได้
อย่างไรก็ตาม จากที่เล่าๆ กันมา ไอเดียนี้ก็ไม่เชิงหายไปกับอากาศ
เพราะมันเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบลวดลาย 4 เส้น ที่เป็นรูปตะเกียบคีบหนวดปลาหมึก
บริเวณด้านข้างรองเท้า Onitsuka Tiger กับ ASICS ที่ใช้กันมาจนมาถึงปัจจุบันนี้
เมื่อรองเท้าบาสเกตบอล ประสบความสำเร็จแล้ว
บริษัทก็มีการผลิตรองเท้ากีฬาประเภทอื่นๆ เรื่อยมา ทั้งรองเท้าฟุตบอล วิ่ง คริกเก็ต กอล์ฟ มวยปล้ำ วอลเลย์บอล และอีกหลายประเภท
จนกระทั่งปี 1977 บริษัท Onitsuka ก็ได้ควบกิจการกับบริษัท GTO และ JELENK
ก่อตั้งเป็นบริษัท ASICS ขึ้นมา
ASICS ย่อมาจาก Anima Sana In Corpore Sano เป็นภาษาละติน
ซึ่งมีความหมายว่า "จิตใจที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์”
และปรับภาพลักษณ์ของแบรนด์ใหม่ โดยให้ Onitsuka Tiger เน้นไปทางรองเท้าแฟชั่น
อีกทั้งสร้างแบรนด์ ASICS ที่เน้นผลิตรองเท้ากีฬาเฉพาะ เพื่อเจาะกลุ่มคนละตลาดกัน
ผลประกอบการของบริษัท ASICS
ปี 2016 มีรายได้ 111,399 ล้านบาท กำไร 4,345 ล้านบาท
ปี 2017 มีรายได้ 111,692 ล้านบาท กำไร 3,620 ล้านบาท
ปี 2018 มีรายได้ 107,925 ล้านบาท ขาดทุน 5,674 ล้านบาท
สาเหตุที่ขาดทุนในปี 2018 นอกจากรายได้ที่ลดลงแล้ว บริษัทยังมีค่าใช้จ่ายรายการพิเศษอย่าง การปรับโครงสร้างธุรกิจและการด้อยค่าของสินทรัพย์
รองเท้าคิดเป็นสัดส่วนรายได้ ประมาณ 83% ของรายได้ทั้งหมด
และแบรนด์ Onitsuka Tiger คิดเป็น 43% ของรายได้ทั้งหมด
โดยรุ่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดตลอดมาคือ Mexico 66
ปัจจุบัน ASICS เป็นหนึ่งในแบรนด์กีฬาและไลฟ์สไตล์ชั้นนำของโลก บริษัทดำเนินงานใน 33 ประเทศ
และผลิตรองเท้าหลักๆ 3 แบรนด์ ได้แก่ Onitsuka Tiger, ASICS และ ASICSTIGER
ในอดีต จุดเปลี่ยนที่ทำให้ Onitsuka Tiger และ ASICS โด่งดัง เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
ก็คือ การที่บรรดานักกีฬาชาวญี่ปุ่นและต่างชาติ สวมรองเท้าแบรนด์นี้เข้าแข่งขันโอลิมปิกที่ประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น, เม็กซิโก, กรีซ, อิตาลี
และมีนักกีฬาบางคน สามารถคว้าเหรียญทองไปครองได้
ส่วนปัจจุบัน ที่คนรุ่นใหม่รู้จักกัน เพราะว่าบรรดาคนดังในวงการบันเทิงและแฟชั่น
สวมรองเท้า Onitsuka Tiger อัปโหลดรูปขึ้นบนโซเชียล
และรองเท้า ASICS แต่ละรุ่นจะมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า ASICS Gel ซึ่งช่วยเพิ่มสมรรถภาพแก่ผู้สวมใส่
ให้เล่นกีฬาได้หนักขึ้น และดูดซับแรงกระแทกได้ดี จึงเป็นที่บอกกันปากต่อปากในบรรดานักกีฬา
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของบริษัทอยู่ที่ แบรนด์ Onitsuka Tiger โดยเฉพาะรุ่น Mexico 66
ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัท
เนื่องจากเป็นรองเท้าที่พื้นบาง ผู้สวมใส่จึงมักบ่นว่า ใส่แล้วไม่สบายเท้า เดินแล้วปวดขา
รวมถึง มีแบรนด์คู่แข่งอื่นๆ ที่มาพร้อมกับรูปทรงที่สวยงาม และสวมใส่สบาย เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ผลลัพธ์สังเกตได้จากยอดรายได้และกำไรของบริษัทที่เริ่มชะลอตัวลง
ต่อไป บริษัทจะแก้เกมนี้อย่างไร ก็เป็นเรื่องที่น่าติดตาม
ซึ่งหากบริษัท สามารถฟันฝ่าไปได้ เหมือนที่เคยพบเจออุปสรรคอย่างในอดีต
ตอนนั้น บริษัทก็อาจกลับมา ในแบบที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม..
รู้หรือไม่
มีชายชาวอเมริกันคนหนึ่งชื่อ ฟิล ไนต์ ประทับใจในรองเท้า Onitsuka Tiger มาก
เพราะมันมีคุณภาพดีและราคาถูก เมื่อเทียบกับแบรนด์จากประเทศอื่น
เขาจึงเดินทางไปยังบริษัท Onitsuka ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อขอสิทธิ์การขายรองเท้า Onitsuka Tiger ในสหรัฐอเมริกา
ถึงแม้ธุรกิจของเขากำลังรุ่งเรือง แต่เนื่องจากมีปัญหาเรื่องสัญญาธุรกิจกับทาง Onitsuka
และ Onitsuka ไม่ยอมส่งรองเท้ามาให้เขาขายอีกต่อไป
เขาจึงตัดสินใจร่วมมือกับ บิล บาวเวอร์แมน หุ้นส่วนของเขา เริ่มต้นผลิตรองเท้าเป็นของตัวเองขึ้นมา ซึ่งต่อมาแบรนด์นั้นก็คือ Nike..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
ใครอยากรู้เรื่อง NIKE ของ ฟิล ไนต์ เชิญชมวิดีโอนี้ได้เลยครับ https://www.facebook.com/longtunman/videos/780337772348061
ในวิดีโอนี้มีบอกถึงต้นกำเนิดของ NIKE โลโก้ของ NIKE มาจากไหน
ไมเคิล จอร์แดน เกี่ยวอะไรกับ NIKE ตอนนี้ NIKE ขายดีขนาดไหน ครบในวิดีโอเดียว
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/Onitsuka_Tiger
-https://en.wikipedia.org/wiki/Asics
-https://corp.asics.com/en/about_asics/history
-https://www.barkersonline.co.nz/…/the-weird-and-wonderful-…/
-https://daman.co.id/history-of-the-onitsuka-tiger/
-Annual Report_2018
「in corpore sano」的推薦目錄:
- 關於in corpore sano 在 ลงทุนแมน Facebook
- 關於in corpore sano 在 韋佳德 Skanda Facebook
- 關於in corpore sano 在 蝦叔跑步 Uncle Shrimp Running Facebook
- 關於in corpore sano 在 In Corpore Sano - LIVE - Serbia - Grand Final - Eurovision 2022 的評價
- 關於in corpore sano 在 Konstrakta - In Corpore Sano - Serbia - Eurovision 2022 的評價
in corpore sano 在 韋佳德 Skanda Facebook 八卦
今天佳德挑戰自己,來南寮參加活動,騎腳踏車騎了⋯⋯⋯34公里!
新竹不愧是風城,媽呀!騎得跟牛拖車一樣累!
哇金嘛整個鐵腿⋯🙀😪🙀
不過,無論如何,不常運動的我,算是圓滿成功!而且風景很值得!
以自己為傲!請大家拍拍手掌聲鼓勵👏
謝謝❤️
不過,運動之餘,還得長一下知識唄
對不對😊
所以我來教大家一句古代羅馬拉丁文的諺語:「Mens sana in corpore sano」,意思為「健全的精神寓於健全的身體」
我覺得這句話非常有價值
你們認同嗎
古代中國有沒有類似的概念❓
據我所知,在遠古的中國,哲學和醫學可說是一體兩面。在古時,醫療與哲學共用著相同的身心醫學,即身心合一系統,以及以實踐之養生法作為彼此之背景。於適當結合之際,這一體之兩面構成一個健康人類的和諧統一體,此即為「健全的精神寓於健全的身體」。
歡迎大家補充!
我只是拋磚引玉🙏🙏🙏
P.S. 明天週日,我會發文章囉
大家期待嗎❤️
in corpore sano 在 蝦叔跑步 Uncle Shrimp Running Facebook 八卦
看見「愛燃燒」談論跑鞋取名話題,我自行補充了一點,謹公諸同好,亦歡迎有識之士賜正及補充。
----------------------------
#Nike(品牌名稱來自希臘神話的勝利女神)
----------------------------
N.354:紀念七十年代傳奇中距離跑手,也是Nike首任代言人普雷方丹(Steve Prefontaine, 1951-1975)一英里3分54秒的成績
Pegasus:希臘神話中著名的奇幻生物,是一匹長有雙翼的馬,通常為白色。
Vaporfly:由Vapor(蒸汽)與fly(飛)合成,意義不言而喻
Alphafly:由Alpha與fly合成,Alpha是希臘字母α,常用作形容詞,以顯示某件事物中最重要或最初的。
#Adidas(品牌名稱來自創辦人Adolf Adi Dassler)
----------------------------
Adios:西班牙語,指正式場面如葬禮中的「再見」,可理解為「永別」。
#Asics(品牌名稱來自古羅馬詩人Juvenal朱味那爾的一句話: ”Anima Sana In Corpore Sano”,取其每字首字母合併而成。此話意思為:「若要向神靈祈禱,便應祈求健全的精神,寓於健康的體魄。」)
----------------------------
Kayano:跑鞋設計師榧野俊一(Kayano Toshikazu)之名。
Nimbus:指雨之將來時的大片烏雲,《龍珠》中的筋斗雲就是flying nimbus。
#Mizuno(品牌名稱來自創辦人水野利八 Rihachi Mizuno)
----------------------------
Wave Rider:外形如波浪,也使用家如踏於浪上翻湧向前。
#Brooks(品牌名稱來自創始人Morris Goldenberg紀念妻子Bruchs而起)#真夠浪漫
----------------------------
Adrenaline:腎上腺素
#Saucony(品牌名稱來自其誕生地賓夕法尼亞州庫茨敦聖康尼溪畔 Kutztown Saucony Creek)
----------------------------
Endorphin:安多酚
#Hoka(品牌名稱來自毛利語「大地」)
----------------------------
One One:源自於毛利語發音HO-ka O-ney O-ney,涵義是「It's time to fly」,展翅乘風飛翔之意。所以有人認為one one不應唸英語發音。
#李寧(品牌名稱來源相信大家不會不知了吧?)
----------------------------
赤兔:《三國演義》中的一匹良馬
䨻:😅
----------------------
作者IG:http://www.instagram.com/hasuk42195
作者網頁:http://hasuk42195.com/
in corpore sano 在 Konstrakta - In Corpore Sano - Serbia - Eurovision 2022 的八卦
Konstrakta will represent Serbia at the Eurovision Song Contest in Turin with the song ' In Corpore Sano ' after winning 'Pesma za Evroviziju. ... <看更多>
in corpore sano 在 In Corpore Sano - LIVE - Serbia - Grand Final - Eurovision 2022 的八卦
Konstrakta performed In Corpore Sano, representing Serbia at the Eurovision Song Contest 2022 in Turin, Italy. ... <看更多>