伊特里的「歷史中心的燈光之夜」,兩萬支的小蠟燭照亮整個夜空!照亮小巷、拱門、房屋和中世紀村莊最隱蔽的每個角落~
#Itri, #Italy #伊特里 #義大利
IG搜尋:d57travel 🔍
IG看更多:https://www.instagram.com/d57travel/
📷:@stefnewlife
https://www.instagram.com/p/BsWFgsNl-NB/
#d57travel #帶我去旅行 #travel #旅行 #旅遊 #攝影 #photography #景點 #viewpoint #街道 #漫步 #浪漫 #悠閒 #閒晃 #Street #Stroll #Romance #LaidBack #小巷 #拱門 #燈光之夜 #Alley #arch #NightOfLights #一年一度義大利的伊特里 #無與倫比的美麗
同時也有9部Youtube影片,追蹤數超過6萬的網紅堯Life,也在其Youtube影片中提到,有興趣大家可以去買來自己泡看看, 看你是年輕人還是老人(X http://www.momoshop.com.tw/goods/GoodsDetail.jsp?i_code=4112902&Area=search&mdiv=403&cid=itri&oid=1_1&kw=Basilur 訂閱舞秋風:...
itri 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
ใครคือผู้ก่อตั้ง TSMC ผู้ผลิตชิป ให้คนครึ่งโลก /โดย ลงทุนแมน
แม้ว่าระบบปฏิบัติการ iOS ของแอปเปิลและ Android ของกูเกิล จะเรียกได้ว่าเป็นคู่ปรับตลอดกาล
แต่รู้หรือไม่ว่า ชิปเซต หรือ สมองของสมาร์ตโฟนที่อยู่บนสมาร์ตโฟน เช่น ชิป A-Series ของแอปเปิล หรือชิป Snapdragon หลายรุ่นบน Android กลับถูกผลิตขึ้นโดยบริษัทเดียวกันที่ชื่อว่า Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC
ซึ่งนอกจากชิปบนสมาร์ตโฟนแล้ว TSMC ยังมีส่วนแบ่งการตลาดชิปเซตทั้งหมดบนโลกมากถึง 55.6% หรือเรียกได้ว่าชิปเกินกว่าครึ่งโลก ถูกผลิตขึ้นจากบริษัทแห่งนี้
ปัจจุบัน TSMC มีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านล้านบาท เป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกและมีมูลค่าเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชีย เป็นรองเพียง Saudi Aramco บริษัทน้ำมันแห่งชาติซาอุดีอาระเบีย
แล้ว TSMC มีที่มาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สำหรับผู้ก่อตั้งบริษัท TSMC ก็คือ “Morris Chang”
Morris Chang หรือ มอร์ริส จาง เกิดที่เมือง Ningbo
ซึ่งเป็นเมืองทางตะวันออกของประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1931
แม้จางจะเรียกได้ว่าเติบโตมาในครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง แต่ชีวิตในวัยเด็กของเขากลับไม่ได้สุขสบายมากนัก นั่นก็เพราะว่าเขาต้องเจอกับสงครามถึง 3 ครั้งด้วยกัน ได้แก่
- สงครามกลางเมืองในจีน ช่วงปี ค.ศ. 1927 ถึง 1949
- สงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่สอง ช่วงปี ค.ศ. 1937 ถึง 1945
- สงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงปี ค.ศ. 1939 ถึง 1945
ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ครอบครัวของเขาต้องทำการย้ายไปมาอยู่บ่อยครั้ง
จนในปี ค.ศ. 1948 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามกลางเมืองในจีน กำลังร้อนระอุ
จางในวัย 17 ปี พร้อมกับครอบครัว จึงได้ตัดสินใจย้ายไปอยู่ ฮ่องกง
แม้ในช่วง 17 ปีแรกของชีวิต จางจะได้รับผลกระทบจากสงครามเป็นอย่างมาก
แต่สิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากสงคราม ก็คือ เขาต้องขยันและทำงานหนัก โดยสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อของเขาคอยสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่ ก็คือ “เรื่องการเรียน” ด้วยเหตุนี้ จางจึงสามารถเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Harvard ได้สำเร็จ
หลังจากเข้าเรียนได้เพียง 1 ปี เขาก็ได้ย้ายไปเรียนที่ Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT และเขาก็ได้จบการศึกษาในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
งานแรกของ มอร์ริส จาง เริ่มต้นขึ้นที่ Sylvania Semiconductor เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้กับบริษัทแม่ Sylvania Electric Products อีกทีหนึ่ง
แต่หลังจากทำงานได้ 3 ปี เขารู้สึกว่าแนวทางของบริษัทในอนาคต ไม่ได้เป็นแบบที่เขาคิด
แนวทางของบริษัทคือ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ชนิด
ซึ่งต่างจากเป้าหมายของจางที่ต้องการโฟกัสไปที่ การพัฒนาตัวเซมิคอนดักเตอร์เป็นหลัก
เรื่องดังกล่าว จึงทำให้จางตัดสินใจออกจากบริษัท Sylvania Semiconductor เพื่อมาเริ่มงานใหม่ที่ Texas Instruments ในปี ค.ศ. 1958 และด้วยความสามารถของเขาทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมของบริษัท ภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี
หลังจากนั้น เขาได้ไต่เต้าขึ้นมาเรื่อย ๆ จนได้รับตำแหน่ง รองประธานในการดูแลฝ่ายเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมด แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ในช่วงปี ค.ศ. 1980
บริษัท Texas Instruments ต้องการที่จะขยายธุรกิจเข้าไปสู่ลูกค้ารายย่อยมากขึ้น
โดยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะรุ่น TI-99/4
ซึ่งเดิมทีโมเดลธุรกิจหลักของ Texas Instruments คือเป็นซัปพลายเออร์ให้กับบริษัทอื่น
ไม่ได้ทำการค้าขายกับลูกค้ารายย่อยโดยตรง ซึ่งทางบริษัทก็ได้มอบหมายหน้าที่การขายสู่ลูกค้ารายย่อยให้กับจาง
หลังจากใช้เวลาไป 2 ปีครึ่ง ผลงานภายใต้การบริหารของจางกลับไม่ได้เป็นไปตามที่บริษัทคาดหวังเนื่องจากในช่วงนั้นมีผลิตภัณฑ์จากคู่แข่งที่แข็งแกร่งมากมาย เช่น คอมพิวเตอร์ Apple 2 ในยุคของ สตีฟ จอบส์
แม้ตำแหน่งในบริษัทของเขายังคงเป็นรองประธานก็ตาม
แต่จากผลงานที่ค่อนข้างแย่ เขาจึงถูกทางบริษัทลดตำแหน่งลง
เหตุการณ์นี้เอง ก็ได้สร้างความผิดหวังให้กับจางเป็นอย่างมาก
เพราะที่ผ่านมา เขาได้สร้างผลงานมากมายให้บริษัทเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี
ในปี ค.ศ. 1983 จางในวัย 52 ปี จึงตัดสินใจลาออกจาก Texas Instruments
ซึ่งทันทีหลังจากที่เขาลาออก ก็ได้มีหลายบริษัทติดต่อเขาให้เข้าไปทำงานมากมาย
หนึ่งในนั้นคือ General Instrument Corporation หรือ GIC
บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านเซมิคอนดักเตอร์และเคเบิลทีวี
ซึ่งเขาได้เลือกทำงานในบริษัทนี้ ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ
ด้วยเหตุผลที่ว่า GIC ก็ถือเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ แม้จะไม่เท่า Texas Instruments
แต่ก็ตรงกับเป้าหมายของเขา ที่อยากเป็น CEO ของบริษัทระดับโลก
แต่หลังจากเข้าทำงานที่ GIC ได้ไม่ถึง 1 ปี เขาพบว่า
GIC เป็นบริษัทที่มีแนวทางการเติบโต จากการควบรวมกิจการอื่น ๆ
ต่างจากแนวทางการเติบโตแบบ Organic Growth ที่เขาตั้งใจไว้
ทำให้ระยะเวลาไม่นาน จางจึงได้ตัดสินใจลาออกอีกครั้ง
และแล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1985
ในช่วงนั้น รัฐบาลไต้หวันต้องการเสริมสร้างความสามารถในการผลิตสินค้าของประเทศ
ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะสินค้าไอที
และหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ถูกผลักดัน ก็คือ “อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์”
สิ่งที่รัฐบาลไต้หวันทำในตอนนั้นคือ
มีการจัดสรรเงินทุนเพื่อก่อตั้ง “สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม”
หรือ Industrial Technology Research Institute (ITRI)
สิ่งที่ยังขาดไปสำหรับ ITRI ของไต้หวัน คือ “ผู้นำ” ที่จะพาให้โครงการนี้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง
และด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของจาง เขาจึงได้รับข้อเสนอจากทางรัฐบาลไต้หวัน ให้เข้ารับตำแหน่งประธานของ ITRI ด้วยเหตุผลที่ว่า ต้องการความสามารถของเขาในการพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ
หลังจากที่เขาตกลงรับข้อเสนอในครั้งนี้ ทางรัฐบาลไต้หวันได้ให้โจทย์กับเขาว่า
ต้องการยกระดับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน ผ่านการตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา
จางจึงได้เริ่มวิเคราะห์ โมเดลธุรกิจที่จะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ
ซึ่งเขาพบว่าไต้หวันในตอนนั้นมีจุดอ่อนเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยและพัฒนา
การออกแบบ และการตลาด ไต้หวันไม่มีความสามารถมากพอ
ที่จะสู้กับทาง Intel หรือ Texas Instruments ซึ่งเป็นเจ้าตลาดอยู่ได้เลย
จุดแข็งเดียวที่พอมี คือ “การผลิต” และจากการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง
ทำให้คำตอบของโจทย์นี้ออกมาเป็น “จัดตั้งบริษัทรับจ้างผลิตให้กับบริษัทอื่น”
แม้ความคิดนี้จะโดนคัดค้านในตอนแรก เนื่องจากในตอนนั้นยังไม่มีบริษัทที่มีโมเดลแบบ Fabless หรือ ไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง เช่น Apple หรือ Nvidia ในปัจจุบัน จึงทำให้ไม่มีตลาดรองรับ
แต่จากประสบการณ์ทำงานในวงการมาอย่างยาวนานเกือบ 30 ปี เขาสังเกตเห็นว่า
ทุก ๆ ปี จะมีพนักงานหลายคนของ Texas Instruments หรือ Intel ที่มีความคิด อยากออกมาสร้างธุรกิจเกี่ยวกับ ชิปเซตเป็นของตัวเอง
แต่ทุกครั้งความคิดนี้ต้องล้มเลิกไป เพราะการที่จะสามารถดำเนินธุรกิจ ชิปเซต ได้นั้น จำเป็นต้องมีโรงงานการผลิตเป็นของตัวเอง
ทำให้ยุคนั้นยังไม่มีบริษัทไหนที่ทำโมเดลธุรกิจรับจ้างผลิตเลย เพราะการสร้างโรงงานจำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาล ซึ่งต้นทุนในการสร้างโรงงานใหม่ถ้าคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่หลักแสนล้านบาทเลยทีเดียว
ในปี ค.ศ. 1987 Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นมา
ซึ่งมีโมเดลการดำเนินธุรกิจ รับจ้างผลิตชิปเซตให้กับบริษัทอื่นโดยไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง ซึ่งนับเป็นบริษัทแรกของโลกที่มีโมเดลแบบนี้เกิดขึ้น
โดยในช่วง 3 ปีแรก บริษัทมีลูกค้าเพียงไม่กี่ราย ส่วนใหญ่มาจากภายในประเทศ
แต่หลังจากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา สิ่งที่จางคิดไว้ในตอนแรกก็เริ่มเป็นจริง
เพราะเริ่มมีบริษัทที่ต้องการชิปเซตเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีทุนสร้างโรงงานผลิต
บริษัทเหล่านี้จึงได้กลายมาเป็นลูกค้าของ TSMC และได้ทำให้บริษัทเติบโตขึ้น
เหตุผลที่ทำให้หลายบริษัทเข้ามาเป็นลูกค้าของ TSMC เพราะบริษัทมีเทคโนโลยีในการผลิตที่มีความซับซ้อนสูง สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งเป็นผลจากนโยบายการลงทุนในเรื่องการวิจัยและพัฒนา ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ในปี ค.ศ. 2020 TSMC มีมูลค่าในการวิจัยและพัฒนาสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท คิดเป็น 8.5% เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งบริษัท ซึ่งมากกว่า Apple หนึ่งในเจ้าแห่งนวัตกรรมที่มีสัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 6.8% เสียอีก
โดย TSMC มีลูกค้ารายใหญ่คือ Apple, Nvidia และ Qualcomm และมีส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ มากถึง 55.6% เลยทีเดียว
ปัจจุบัน TSMC มีมูลค่าบริษัท สูงถึง 20 ล้านล้านบาท มากกว่า Intel ที่มีมูลค่า 7 ล้านล้านบาท และ AMD ที่มีมูลค่า 4 ล้านล้านบาท ซึ่งนับเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมดทั่วโลกอีกด้วย
จากเรื่องทั้งหมดนี้จึงทำให้ตัวเจ้าของบริษัทอย่าง มอร์ริส จาง มีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 93,000 ล้านบาท ขึ้นแท่นเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 15 ของไต้หวัน
ถ้าถามว่าแนวคิดอะไร ที่ทำให้จางประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้
เราน่าจะสรุปได้เป็น 2 ข้อ
1. มีเป้าหมายที่ชัดเจน
จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า มอร์ริส จาง เป็นคนที่มีเป้าหมายชัดเจนมาก
หากเขารู้สึกว่างานที่เขาทำอยู่ไม่ได้อยู่ในเส้นทางที่เขาต้องการ
เขาก็พร้อมออกมาเพื่อตามหาสิ่งที่ตรงกับเป้าหมายของเขาเสมอ อย่างเช่น ตอนที่เขาออกจาก Sylvania Semiconductor และ GIC เพราะเขาต้องการงานที่โฟกัสไปที่การพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์เป็นหลัก
2. ความไม่ยอมแพ้
แม้หลายคนจะไม่เห็นด้วยกับการก่อตั้ง TSMC ให้เป็นบริษัทรับจ้างผลิตชิป แต่เขาก็ไม่ยอมแพ้และเชื่อมั่นในแนวคิดของตนเอง ก่อนที่จะก่อตั้งบริษัทจนสำเร็จ
จากการมีเป้าหมายที่ชัดเจนบวกกับการไม่ยอมแพ้ของจาง จึงไม่แปลกใจเลยที่ในวันนี้เขาสามารถพา TSMC ให้ประสบความสำเร็จจนมีมูลค่าบริษัท 20 ล้านล้านบาท ขึ้นแท่นเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกไปแล้ว นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://en.wikipedia.org/wiki/TSMC
-https://en.wikipedia.org/wiki/Morris_Chang
-https://www.longtunman.com/27349
-https://www.longtunman.com/27702
-https://sahilbloom.substack.com/p/the-amazing-story-of-morris-chang
-https://www.yourtechstory.com/2018/08/16/morris-chang-chip-industry-tsmc/
-https://www.semi.org/en/Oral-History-Interview-Morris-Chang
-https://www.forbes.com/profile/morris-chang/?sh=7eb878d45fc4
-https://en.wikipedia.org/wiki/Sylvania_Electric_Products
-https://www.investopedia.com/articles/markets/012716/how-taiwan-semiconductor-manufacturing-makes-money-tsm.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Semiconductor_fabrication_plant
-https://en.wikipedia.org/wiki/Texas_Instruments
-https://www.counterpointresearch.com/global-smartphone-share/
itri 在 Rachwin Journey Facebook 八卦
เจ้าสาวเยอะขนาดนี้ ดูซิว่าพี่ตูนจะเลือกถูกมั้ย🤣🤣🤣🤣 ขอบคุณพี่ๆแก๊งค์อิไตร ที่จัด Bachelor Night เบาๆให้พี่ตูนค่ะ วันจริงเดือดแน่นอนนน ... ITRI ITRI I LOVE YOU ♥️ #itriitri #TogetherforeverKT
itri 在 堯Life Youtube 的評價
有興趣大家可以去買來自己泡看看,
看你是年輕人還是老人(X
http://www.momoshop.com.tw/goods/GoodsDetail.jsp?i_code=4112902&Area=search&mdiv=403&cid=itri&oid=1_1&kw=Basilur
訂閱舞秋風:https://www.youtube.com/user/MrChesterccj
【堯Live 粉絲團】:http://www.facebook.com/WeAreSBY
【Twitch實況臺】:http://www.twitch.tv/fisherman75931
(直播一切以粉絲團發佈網址為主)
itri 在 UJ class Youtube 的評價
#IoT #NodeMCU #DHT11 #ThingSpeak #ESP8266 #L298N #DCmotor #WiFi #energyhouse
【2020全國科學探究競賽-這樣教我就懂】教師組第一名
開發板管理員網址↓
http://arduino.esp8266.com/stable/package_esp8266com_index.json
itri 在 數位時代Official Youtube 的評價
▲影片於 8:31 後正式播放▲
#臺美產業布局 #深化臺美夥伴關係 #全球供應鏈重組新商機
【臺美防疫x新經濟數位論壇】Part2
◆嘉賓引言 / 酈英傑 美國在台協會處長
◆臺美夥伴關係及供應鏈重組
1.楊志清/經濟部工業局副局長
2.邵藹帝/美國在台協會經濟組副組長
3.仝漢霖博士/3M台灣董事總經理
4.蘇孟宗/工研院產業科技國際策略發展所所長
【U.S.-Taiwan Forum on Pandemic Prevention and Supply Chain Restructuring - Part2】
◆Opening remarks for panel discussion:
William Brent Christensen, Director, American Institute in Taiwan
◆Panel discussion:
Together we succeed: US-Taiwan partnership and the restructuring of global supply chains
Panelists:
1. Chih-Ching Yang, Deputy Director General, Industrial Development Bureau, MOEA
2. Arati Shroff, Deputy Chief, Economic Section, American Institute in Taiwan
3. Dr. Jeffrey Tung, Managing Director, 3M Taiwan
4. Stephen Su, Vice President and General Director, Industry, Science and Technology International Strategy Center, ITRI
The economic impact brought by the US-China trade war and the pandemic that followed has resulted in the industrial restructure and cross-disciplinary integration. This sparks more cross-disciplinary cooperation and more business opportunities.
【Part 1】從臺灣防疫成功到全球產業關鍵地位 / 王美花 經濟部部長
線上觀看 : https://youtu.be/phvbwgr1IA8?t=572
【Part 3】◆核酸分子檢測系統–快篩技術 / 林啟萬博士 工研院生醫與醫材研究所所長
◆Personal Protective Equipment(PPE)在地化與全球策略佈局 / 古思明博士 敏成股份有限公司董事長
線上觀看 : https://youtu.be/IFsg774_snY
itri 在 Itri - Ney Taksim - YouTube 的八卦
Itri - Ney Taksim · 1 saat Ney Dinletisi (Ruhu ve Zihni Dinlendiren Ezgiler) · 528 Hz Positive ... ... <看更多>
itri 在 ITRI Channel - YouTube 的八卦
工研院(ITRI)成立於1973年,以「創新、誠信、分享」的核心價值,持續深耕前瞻性、關鍵性的技術,為了人類更美好的未來而努力,關懷日漸老化的人口,預見未來環境的趨勢 ... ... <看更多>