เอกวาดอร์ ประเทศที่เคราะห์ซ้ำกรรมซัด /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงประเทศที่เศรษฐกิจแย่ในทวีปอเมริกาใต้ หนึ่งในนั้นจะมีเวเนซุเอลา
แต่เรื่องที่น่าสนใจคือ ประเทศที่แย่รองลงมา ก็คือ เอกวาดอร์
หลายคนคงรู้ถึงสาเหตุของการล่มสลายของเศรษฐกิจเวเนซุเอลา
ว่าหนึ่งในสาเหตุที่สำคัญ มาจากการพึ่งพาทรัพยากรเพียงอย่างเดียว คือ “น้ำมัน”
สิ่งที่เอกวาดอร์ แตกต่างไปจากเวเนซุเอลา
คือ หากเทียบกันแล้ว เอกวาดอร์มีภาคส่วนเศรษฐกิจที่หลากหลายกว่าพอสมควร
แต่เอกวาดอร์ก็มีปัญหาบางอย่างที่เป็นเหมือน “เคราะห์ร้าย” ที่ไม่จางหายไป
แล้วในปี 2020 ก็มี “เคราะห์ร้ายกว่า” ที่เข้ามาซ้ำ
ซึ่งก็คือ การระบาดของโควิด-19
วิกฤติเศรษฐกิจในปี 2020 ของประเทศนี้เป็นอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักประเทศเอกวาดอร์กันสักนิด
เอกวาดอร์ ตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้
ชื่อประเทศมีที่มาจากชื่อเส้นศูนย์สูตร (Equator) เนื่องจากมีเส้นศูนย์สูตรลากผ่านประเทศ
ในขณะที่จากเหนือลงใต้ ก็มีแนวของเทือกเขาแอนดีสพาดผ่าน แบ่งประเทศออกเป็นสองด้าน
ด้านซ้ายของเทือกเขาเป็นที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
มีการเพาะปลูกพืชผลเขตร้อน โดยเฉพาะกล้วยและอ้อย
เอกวาดอร์ส่งออกพืชผลเหล่านี้ คิดเป็นสัดส่วนราว 16% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
ในขณะที่มหาสมุทรแปซิฟิกก็เป็นเขตที่มีปลาและสัตว์ทะเลชุกชุม
ทำให้การประมงเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของเอกวาดอร์
อาหารทะเล มีสัดส่วน 19% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
ส่วนด้านขวาของเทือกเขาเป็นป่าดงดิบ
การที่ประเทศตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตรจึงทำให้มีฝนตกชุก
ฝนจะไหลลงจากเทือกเขาแอนดีสกลายเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแอมะซอน
บริเวณแถบนี้จึงมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง
ชาวเอกวาดอร์ 17 ล้านคน ถ้าไม่อาศัยอยู่ตามที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
ก็จะอาศัยอยู่ในเขตเทือกเขาแอนดีส
กรุงกีโต เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่สุดของประเทศ
ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอนดีส สูงกว่าระดับน้ำทะเล 2,850 เมตร
ด้วยความที่ตั้งอยู่บนที่สูง และอยู่แถบเส้นศูนย์สูตรพอดี
ทำให้กรุงกีโตเป็นเมืองที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ราว 15 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งปี
ความที่มีอุณหภูมิเหมาะสม
เขตเทือกเขาแอนดีสของเอกวาดอร์ จึงกลายเป็นเขตปลูกดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของอเมริกาใต้ โดยเฉพาะดอกกุหลาบ ลิลลี่ และเบญจมาศ
เอกวาดอร์ส่งออกดอกไม้เหล่านี้คิดเป็น 4% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
โดยมีจุดหมายปลายทางการส่งออกอยู่ที่สหรัฐอเมริกา
แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งผลไม้ อาหารทะเล และดอกไม้
ก็ยังไม่ใช่สินค้าส่งออกที่สำคัญที่สุดของเอกวาดอร์
เพราะสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของประเทศนี้ ที่ครองสัดส่วนกว่า 29% ก็คือ “น้ำมัน”
เอกวาดอร์มีแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่บริเวณที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
และน้ำมันเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศมานานเกือบ 60 ปี
จากข้อมูลคร่าวๆ ดูเหมือนเอกวาดอร์จะมีทรัพยากรที่หลากหลาย
และมีการกระจายภาคส่วนเศรษฐกิจที่ดี
แต่เอกวาดอร์ก็มีเคราะห์ร้ายของตัวเองที่ซ่อนอยู่
ซึ่งก็คือ การเป็นประเทศที่ไม่มีสกุลเงินเป็นของตัวเอง
เพราะใช้เงิน “ดอลลาร์สหรัฐ” เป็นสกุลเงินหลักตั้งแต่ปี 2000
เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปราวทศวรรษที่ 1990
รัฐบาลในช่วงนั้นมีการใช้จ่ายเกินตัวจากนโยบายประชานิยมจนถึงขั้นเกือบล้มละลาย
ต้องไปขอกู้เงินจาก IMF
การกู้เงินจาก IMF ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องปรับนโยบายทางเศรษฐกิจ
เช่น ลอยตัวค่าเงิน และลดการตรึงราคาสินค้า
แต่ผลจากการปรับนโยบาย นำมาสู่ “ภาวะเงินเฟ้ออย่างหนัก”
สุดท้ายประชาชนหมดความเชื่อมั่นในสกุลเงิน Sucre ของเอกวาดอร์
รัฐบาลต้องหันไปใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแทน
วิกฤติเงินเฟ้อครั้งนี้ ยังทำให้ชาวเอกวาดอร์กว่า 1 ล้านคน
อพยพไปทำงานยังต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป
เนื่องจากชาวเอกวาดอร์พูดภาษาสเปนเป็นหลัก
สเปนจึงเป็นจุดหมายปลายทางของแรงงานชาวเอกวาดอร์กว่า 400,000 คน
ตามมาด้วยอิตาลี ราว 100,000 คน
คนที่ทำงานต่างประเทศเหล่านี้ต่างส่งเงินกลับมาให้ครอบครัวถึงปีละ 100,000 ล้านบาท
ซึ่งดูเหมือนจะไม่ได้เป็นปัญหาอะไร
จนกระทั่ง..
“ปี 2020 โควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก”
และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติที่ถาโถมมาสู่เศรษฐกิจของเอกวาดอร์..
เริ่มจากวิกฤติที่ 1 ราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างหนัก
ความต้องการน้ำมันลดลง ทำให้ราคาน้ำมันต่ำสุดลดลงจากปลายปี 2019 กว่า 80%
ราคาน้ำมันที่ตกต่ำ ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจของเอกวาดอร์
ที่พึ่งพาการส่งออกน้ำมันถึง 29%
วิกฤติที่ 2 ความต้องการดอกไม้ที่ลดลงอย่างมาก
เมื่อประเทศจุดหมายของการส่งออกดอกไม้ คือ สหรัฐอเมริกา
ซึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางการระบาดของโควิด-19
หลายเมืองถูก Lockdown ไม่มีการจัดงานเฉลิมฉลอง ความต้องการดอกไม้ลดลงอย่างหนัก
ดอกไม้จำนวนมหาศาลที่มีอายุจำกัด จึงจำเป็นต้องถูกทิ้ง..
วิกฤติที่ 3 การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
ด้วยความที่เอกวาดอร์ใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
ธนาคารกลางจึงไม่มีอำนาจในการจัดการค่าเงินของตัวเอง
เมื่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า
สินค้าส่งออกจากเอกวาดอร์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชผล และอาหารทะเล
จึงมีราคาสูงขึ้นในตลาดโลก ทำให้สินค้าเหล่านี้ไม่สามารถแข่งขันสู้กับประเทศอื่นได้
และวิกฤติที่ 4 การระบาดของโควิด-19 ในยุโรป
เมื่อสเปนและอิตาลี มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงเป็นอันดับต้นๆ ของยุโรป
แรงงานชาวเอกวาดอร์ที่อพยพไปทำงานในประเทศเหล่านี้จึงเดินทางกลับประเทศ
แต่แรงงานเหล่านี้ไม่ได้กลับมาตัวเปล่า เพราะสิ่งที่นำมาด้วย คือเชื้อโควิด-19..
ผลสุดท้าย เอกวาดอร์กลายเป็นประเทศที่มีผู้ติดโควิด-19 มากเป็นอันดับ 3 ของอเมริกาใต้
ด้วยจำนวนกว่า 33,000 ราย
และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้สูงเป็นอันดับ 2 รองจากบราซิล
รัฐบาลจึงจำเป็นต้องดำเนินมาตรการ Lockdown เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคร้าย
ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคธุรกิจ คนหลายล้านคนต้องตกงานอย่างกะทันหัน
รัฐบาลเองก็ประสบภาวะขาดดุลงบประมาณอย่างหนัก
จากรายได้การส่งออกที่ลดลง ทั้งน้ำมัน พืชผล และอาหารทะเล
รัฐบาลอาจจำเป็นที่จะต้องปรับนโยบายเศรษฐกิจ เช่น การขึ้นภาษี
แต่ในภาวะวิกฤติเช่นนี้
การขึ้นภาษี ก็ไม่ต่างอะไรกับการซ้ำเติมเคราะห์ร้ายให้เสียหายยิ่งกว่าเดิม
ก็เป็นเรื่องที่น่าติดตามต่อไป ว่าอนาคตประเทศแห่งนี้จะเป็นเช่นไร
วิกฤติของเอกวาดอร์ในครั้งนี้ทำให้เราได้รู้ว่า
ต่อให้ประเทศจะมีทรัพยากรมากมาย มีภาคส่วนเศรษฐกิจที่หลากหลาย
แต่เรื่องที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นได้เสมอ
เอกวาดอร์เจอทั้งเรื่อง ราคาน้ำมัน การส่งออกสินค้า และการระบาดของโรค
ภายในเวลาไม่กี่เดือน
ขนาดเอกวาดอร์ที่มีการกระจายความเสี่ยงที่ดียังเจอหนักขนาดนี้
ไม่ว่าเราจะคิดว่าตัวเองดีพอขนาดไหน
ให้เตรียมใจเอาไว้
ทุกอย่าง มันไม่แน่นอน เรื่องร้ายๆ อาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้ ในคราวเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://advisor.visualcapitalist.com/covid-19-recovery-economic-forecast/
-http://www.worldstopexports.com/ecuadors-top-10-exports/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Quito
-https://www.bloomberg.com/opinion/articles/2020-04-08/coronavirus-traps-ecuador-between-death-and-debt
-https://www.worldometers.info/coronavirus/
-https://www.ceicdata.com/en/indicator/ecuador/government-debt--of-nominal-gdp
imf gdp forecast 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
รู้จัก เซาเปาลู เมืองเจริญสุดของบราซิล ที่กำลังเจอศึกหนัก /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึง ศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศบราซิล
หลายคนอาจนึกถึงเมือง รีโอเดจาเนโร
เมืองใหญ่ที่มีรูปปั้นพระเยซูคริสต์บนยอดเขา มีชายหาดที่มีชื่อเสียง
และเคยเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมโอลิมปิก 2016
แต่ความจริงแล้ว บราซิลมีศูนย์กลางเศรษฐกิจและการเงินอยู่ที่เมือง “เซาเปาลู” (São Paulo)
ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากรีโอเดจาเนโร ลงมาทางใต้ราว 400 กิโลเมตร
ด้วยขนาดเศรษฐกิจถึง 1 ใน 4 ของประเทศ
เมืองนี้เป็นที่ตั้งของตลาดหุ้น และสถาบันการเงินหลายแห่ง
เซาเปาลูจึงเป็นเหมือนหัวรถจักรที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาใต้
แต่ในวันนี้ บราซิลซึ่งมีปัญหาเศรษฐกิจอยู่แล้ว กลับถูกซ้ำเติมด้วยโรคระบาด
โดยเซาเปาลูเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด
เรื่องนี้มีที่มาอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จุดเริ่มต้นของเซาเปาลู ถูกก่อตั้งโดยคณะนักบวชชาวโปรตุเกสในช่วงศตวรรษที่ 16
ชื่อเซาเปาลู เป็นภาษาโปรตุเกส มาจากคำว่า เซนต์พอล ซึ่งเป็นนักบุญในคริสต์ศาสนา
ในช่วงแรกเซาเปาลู มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง เมื่อเทียบกับเมืองหลวงเก่าของบราซิล
อย่างรีโอเดจาเนโร
แต่จุดเปลี่ยนที่ทำให้เศรษฐกิจของเซาเปาลูเติบโตอย่างรวดเร็วก็คือ “กาแฟ”
ต้นกาแฟถูกนำเข้ามาปลูกที่บราซิลครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 18
เมื่อกาแฟเริ่มเป็นที่นิยมในยุโรป จึงมีความสำคัญมากขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1830
และเกิดการขยายตัวของการปลูกกาแฟในบราซิลเพื่อส่งออกไปยังยุโรป
การปลูกกาแฟต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่ ระดับความสูง 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป
มีอุณหภูมิอยู่ที่ 15-25 องศาเซลเซียส และมีปริมาณฝนที่พอเหมาะ
รัฐเซาเปาลูตั้งอยู่ทางตอนใต้ของบราซิล มีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น
และมีคุณสมบัติทุกอย่างที่กาแฟต้องการ
พื้นที่รอบเมืองเซาเปาลูจึงกลายเป็นเขตปลูกกาแฟที่ใหญ่ที่สุดของบราซิล
เซาเปาลูขึ้นแท่นเป็นศูนย์กลางการส่งออกกาแฟ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของบราซิล
โดยมีท่าเรือซานโตส (Santos) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเซาเปาลู 55 กิโลเมตร
เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ส่งออกกาแฟจากบราซิลไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ในช่วงแรก แรงงานในไร่กาแฟใช้แรงงานทาสจากทวีปแอฟริกา
แต่เมื่อการค้าทาสสิ้นสุดลงในช่วงศตวรรษที่ 18
แรงงานส่วนใหญ่ของไร่กาแฟจึงกลายเป็นผู้อพยพจากยุโรป
โดยเฉพาะจากอิตาลีตอนใต้ ซึ่งอพยพหนีความแร้นแค้นมาในช่วงปี ค.ศ. 1890 - ค.ศ. 1910
เรื่องนี้จึงทำให้เซาเปาลูเป็นชุมชนชาวอิตาลีที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาใต้
ต่อมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
ความต้องการกาแฟในยุโรปลดลง กระทบต่อการส่งออกกาแฟของบราซิลอย่างหนัก
แรงงานชาวอิตาลีในไร่กาแฟต่างอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองเซาเปาลูเพื่อหางานทำ
ในเวลานั้น บราซิลประสบปัญหาขาดแคลนสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งต้องนำเข้าจากยุโรป
จึงเริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้า เช่น อุตสาหกรรมอาหารและสิ่งทอ
ด้วยความที่เซาเปาลูมีแรงงานอพยพเข้ามามาก มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี
เมืองแห่งนี้จึงกลายเป็นเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของบราซิล
ดึงดูดผู้คนจากทั่วประเทศให้เข้ามาทำมาหากิน
จนมีประชากรแซงหน้าเมืองหลวงเก่าอย่างรีโอเดจาเนโรในช่วงทศวรรษที่ 1970
ในปัจจุบัน ด้วยประชากร 21.5 ล้านคน
เซาเปาลูและปริมณฑลคือเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศบราซิล
และยังพ่วงตำแหน่งเมืองใหญ่ที่สุดของทวีปอเมริกาใต้ และใหญ่ที่สุดของซีกโลกใต้อีกด้วย
เซาเปาลูเป็นศูนย์กลางการเงินที่สำคัญที่สุดของประเทศ
เป็นที่ตั้งของ Brasil Bolsa Balcão ตลาดหุ้นเพียงแห่งเดียวของบราซิล
ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในบราซิลและทวีปอเมริกาใต้ Banco Itaú Unibanco
มีสินทรัพย์กว่า 13 ล้านล้านบาท ก็มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เซาเปาลู
รวมไปถึงบริษัทเหล็กกล้าที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาใต้ Companhia Siderúrgica Nacional
ขนาดเศรษฐกิจของเซาเปาลูและปริมณฑลอยู่ที่ 15.0 ล้านล้านบาท
หากหารด้วยจำนวนประชากร 21.5 ล้านคน
จะทำให้มี GDP ต่อหัว 700,000 บาทต่อปี
ซึ่งสูงกว่า GDP ต่อหัวของชาวบราซิลถึง 2.5 เท่า
เซาเปาลูจึงเป็นเหมือนหัวรถจักรทางเศรษฐกิจของบราซิลมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ
เป็นศูนย์กลางการส่งออกเหล็กกล้า ผลผลิตการเกษตร เช่น ถั่วเหลือง และกาแฟ
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังทศวรรษที่ 2010
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเซาเปาลูก็ค่อยๆ หดตัวลง
เนื่องจากสินค้าทางการเกษตร เช่น ถั่วเหลือง มีราคาตกต่ำ
ในขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างเหล็กกล้าก็มีแนวโน้มลดลง
หนี้สาธารณะของบราซิลเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีเกือบ 76% ของ GDP
ทำให้รัฐบาลต้องตัดงบประมาณด้านต่างๆ ที่ส่งมาให้รัฐเซาเปาลู
จนเกิดการประท้วงของประชาชนหลายต่อหลายครั้ง
และก็เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เมื่อการระบาดของโควิด-19 เดินทางมาถึงบราซิล
ผ่านผู้อพยพและนักท่องเที่ยวที่เดินทางกลับมาจากประเทศในยุโรป โดยเฉพาะอิตาลี
บราซิลกลายเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยโควิดมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา
ด้วยจำนวนผู้ป่วยทะลุ 5 แสนราย
โดยศูนย์กลางการระบาดอยู่ที่เซาเปาลู มีจำนวนผู้ป่วยเกือบ 1 แสนรายแล้ว
ผู้ว่าการรัฐเซาเปาลูได้สั่งให้มีมาตรการ Lockdown
ธุรกิจและร้านค้าต่างๆ ในเมืองเซาเปาลูและปริมณฑลได้รับผลกระทบอย่างหนัก
เมื่อหัวรถจักรของบราซิลประสบปัญหา
IMF คาดการณ์ว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลในปีนี้จะ “ติดลบ” 5.3%
ในขณะที่ประธานาธิบดีบราซิล กลับไม่เห็นด้วยกับมาตรการ Lockdown ของผู้ว่าการรัฐต่างๆ
และออกมาแสดงท่าทีสนับสนุนประชาชนที่ออกมาต่อต้านการ Lockdown อย่างชัดเจน
ความขัดแย้งกันของผู้นำ ยิ่งซ้ำเติมให้สถานการณ์โรคระบาดในบราซิลรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
จำนวนผู้ติดเชื้อในเซาเปาลูยังคงเพิ่มสูง ในขณะที่ผู้เสียชีวิตมีเกือบ 7,000 รายแล้ว
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มสถานการณ์ของโรคระบาดอาจเลวร้ายกว่านี้
หากคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า
เซาเปาลู และเมืองใหญ่ๆ ของบราซิล ส่วนใหญ่แล้วตั้งอยู่ในซีกโลกใต้
ซึ่งฤดูหนาวกำลังเข้ามาเยือน ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://agenciadenoticias.ibge.gov.br/en/agencia-news/2184-news-agency/news/26407-pib-da-cidade-de-sao-paulo-equivale-ao-da-soma-de-4-3-mil-municipios-brasileiros-2
-https://www.thoughtco.com/the-history-of-sao-paulo-2136590
-https://www.bbc.com/news/world-latin-america-52701524
-https://www.macrotrends.net/cities/20287/sao-paulo/population
-https://tradingeconomics.com/brazil/government-debt-to-gdp
-https://advisor.visualcapitalist.com/covid-19-recovery-economic-forecast/
-https://www.worldometers.info/coronavirus/
imf gdp forecast 在 Mohd Asri Facebook 八卦
[BURSA REVERSED AND CLOSED OCTOBER STRONG, WALL STREET CLIMBED TO 1% OF RECORD HIGH, UPBEAT ECONOMIC AND CORPORATE DATA TO INSTILL MORE POSITIVE TONE]
Despite being overbought, we expect FBMKLCI to continue trending higher following a fresh wave of bullishness in the global equity markets (both MSCI All-World and FTSE All-World rose 1.8% and 1.7% w-o-w) as investors put aside recent uncertainties over the pace of global growth and the Federal Reserve’s intentions to end its asset purchase program. We note that global equity markets including Bursa closed October strong, after recovering from nine-week-poor-performance (with FBMKLCI finding support near 1760 level after dropping 130 points or 6.8%). Going forward, we expect local stocks to continue the solid rebound following USA economic optimism, bullish global economic (USA 3Q GDP growth/labour market/consumer confidence figures), China state enterprise reforms and Japanese liquidity pump priming which offset worries that the Federal Reserve could raise interest rate sooner than expected. End of year rotation and window dressing are also likely to push equities higher as mutual funds start selling losers and buying winners ahead of the traditionally bullish November-December-January festive seasons. Over the past week, we have seen the local stock market dip lower on profit-taking dragged by the cautious release of the latest US Federal Reserve hawkish meeting minutes and the IMF slower global growth forecast. Contrary to the earlier session sell -off, investors subsequently appeared to take a strong relief after the bullish Fed statement on USA economic strength. Positive tones can be seen in Asian region following China economic reforms despite talks of tough tightening to curb the flow of credit and burst the nation’s property bubble during the weekend’s meeting of China’s Communist party hierarchy. Meanwhile, stronger Japanese Nikkei supported by weaker yen and an optimistic tone from the Bank of Japan as well as talk that a major pension fund is looking to boost exposure into riskier assets should inspire a re-pricing of risk in the regional market and was seen as near term positive for Asian equity markets. There is a bullish report that Japan’s Government Pension Investment Fund, the second largest global pension fund, considered a bellwether for Asian institutional investors, will reduce holdings of bonds and add foreign equities. The S&P 500 rose 2.5% taking the equity benchmark to within 1% of September’s record closing high. The Dow Jones Industrial Average put in a stronger performance, rising 2.3%, as Nasdaq rose 3% sharply on the back of a strong earnings report. Bursa has rebounded 4.5% from 17th October low after correcting 6.8% since July all time high of 1896.23. Across the Atlantic, the FTSE Eurofirst 300 rose 2.1%, leaving it some 9% above a 13-month low struck two weeks ago with stocks in Milan rallying 2.3% as concerns about Italy’s banking system appeared to ease. In Asia, Hong Kong and Shanghai rallied 1.6% and 2.1% respectively amid talk of further reforms at Chinese state-owned enterprises. Finally, Brazilian stocks captured 50,000 psycho level and rebounded 3.1% in response to Dilma Rousseff’s presidential election victory. On the domestic front, Bursa and construction stocks are the strongest sector driven by Budget 2015, improved prospects for fiscal consolidation, public finance reform as well as continued order book. Although technology and construction stocks showed slow market leadership early this year, they remain the major driver of the latest reversal and have been outperforming after National Budget Day on the 10th October. Further, small cap stocks continue to show upside leadership (FBMSmallCap, FBMFledgling and FBMAce outperform FBMKLCI and remain within 2% of their record high), a sign that Chinese New Year rally is about to start and should prop risk-taking sentiment in December- January despite several snags spotted in the blue chips counters. Five major news that may catalyse Bursa includes the following (1) AirAsia Bhd to propose RM1 bil sukuk mudharabah programme to support its business expansion, administrative and operating expenses (2) Berjaya to mull IPO of Singapore unit to spur growth in its foreign business (3) TM Bhd to expand its broadband infrastructure network as part of its aggressive Johor expansion programme (4) Faber Group Bhd to become one of the largest asset development and management players in the Asean region after completing RM1.5b merger with Opus Group Bhd and Projek Penyelenggaraan Lebuhraya Bhd and finally (5) LPI Capital Bhd to sell 4 mil of its Public Bank shares. On the technical front, the latest gain for the FBMKLCI took it back above its 50-day moving average for the first time in nearly a month, and left it just 2% below a record closing high reached in the middle of September. Meanwhile, major oscillators are overbought with daily stochastics turning lower from upper line levels while MACD close to flash negative crossover reinforcing a downside break ahead especially if FBMKLCI find near term resistance at 1850 which is also the 200 day moving average. The market however could take on a defensive posture if FBMKLCI reverse down and violate 1830 support level. While there is a potential for a short term dip in the market to rebalance overbought technical conditions, the prevailing trend points up with immediate target at 1850 and 1880 level. One way to look for signs of market stress is to look at breadth figures which so far remain positive suggesting more stocks participating in the rally. Hence, we believe any weakness is just temporary and should not be construed as the start of a new crisis downleg. Given the improved market breadth (average daily trade increase to 1.8bn shares worth RM1.9bn), we expect the local market to sustain gains going forward with immediate resistance spotted at psycho resistance of 1,850, August high of 1,880 and all-time-high of 1,896 while immediate support is pegged at September low near 1,830 level followed by 1,800 and 1,770 levels to immediately cushion any deeper profit taking. Finally, for the weekly strategy, we are inclined towards buying Chinese New Year linked small cap stocks such as MyEG, Timecom, GHLSys, Hapseng, KSL, SMRT, Tekseng, IFCA, Carepls, Bornoil, Nihsin, Perstim, SHL, Luxchem. As for blue chips, traders should accumulate holiday-season-beneficiaries-stocks which do well near the festive year end such as Tenaga, TM, Digi, Axiata, Aeon, Gamuda, IJM, Bursa and KLCC.
Dato' Dr Nazri Khan
First Vice President/Head of Retail Strategy,
Affin Hwang Investment Bank
President, Malaysian Association of Technical Analyst (MATA)
imf gdp forecast 在 World Economic Outlook Update, July 2021 - YouTube 的八卦
... <看更多>