ภาษา เป็นตัวกำหนดความคิด ของคนประเทศนั้น /โดย ลงทุนแมน
หลายศตวรรษที่ผ่านมา หลายคนมักคิดว่าภาษาเป็นเพียงแค่การใช้คำศัพท์
หรือการเรียงประโยคที่ไม่เหมือนกันเท่านั้น
แต่รู้หรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว กรอบความคิดและทักษะส่วนหนึ่งของเราเอง
อาจจะถูกครอบงำจากภาษา โดยที่เราก็ไม่ทันรู้ตัว
ทำไม คนจีนถึงมีความชำนาญด้านตัวเลข
ทำไม คนอังกฤษกับสเปนอาจมีมุมมองต่อเรื่องเดียวกัน ไม่เหมือนกัน
รวมถึงว่าทำไม ประเทศไทยถึงมีการปลูกฝังเรื่องความอาวุโสตั้งแต่ยังเล็ก
ทุกอย่างนี้สามารถอธิบายได้ โดยสิ่งที่เรียกว่า “ภาษา”
แล้วภาษา มีอิทธิพลต่อเราขนาดไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
บนโลกนี้มีภาษาที่ใช้สื่อสารถึงกว่า 7,000 ภาษาด้วยกัน
ซึ่งแต่ละภาษามีความแตกต่างในหลายแง่มุม
ทั้งจากการออกเสียง คำศัพท์ และโครงสร้างที่ไม่เหมือนกัน
นอกจากนี้ สังเกตได้ว่าคนในแต่ละประเทศ
มีทั้งวัฒนธรรมและความคิดแตกต่างกันไป
นั่นจึงเป็นที่มาให้บรรดานักภาษาศาสตร์ศึกษาว่า
ภาษานั้นส่งผลต่อความคิดและการกระทำหรือไม่
เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์
จึงได้ทำการวิจัยและทดลองคนแต่ละประเทศ
แล้วพบว่าภาษาไม่ได้เพียงแค่ส่งผลต่อความคิดและทักษะเท่านั้น
แต่มันอาจจะเป็น “ตัวกำหนดความคิดของเรา” เลยด้วยซ้ำ
จึงเกิดเป็นทฤษฎี Linguistic Relativity หรือ ทฤษฎีสัมพันธภาพทางภาษา
ถูกคิดโดยเอ็ดเวิร์ด ซาเพียร์ และเบนจามิน วอร์ฟ
ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 2 แนวคิดคือ
1. Linguistic Determinism ภาษาเป็นตัวกำหนดความคิดของเรา
2. Linguistic Relativity คนที่ใช้ภาษาต่างกัน จะมีมุมมองและวิธีคิดที่ไม่เหมือนกัน
แล้วทฤษฎีนี้ มีเหตุผลสนับสนุนอะไรบ้าง ?
เรามาดูตัวอย่างงานวิจัยและทดลองที่ผ่านมา
เบนจามิน วอร์ฟ ได้ยกตัวอย่างโดยการเทียบ
ระหว่างภาษายุโรปกับภาษาอเมริกันอินเดียนหรือ Hopi
ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นภาพว่า ภาษาที่มีไวยากรณ์ที่แตกต่างกันนั้นส่งผลต่อความคิดของเรา
โดยภาษายุโรป จะมองว่าเวลานั้นมีตัวตนเหมือนสิ่งของทั่วไป
สามารถนับเป็นหน่วยได้ เช่นเดียวกับสิ่งของที่นับเป็นชิ้น
แต่เวลาจะนับเป็นหน่วยวินาทีหรือชั่วโมงแทน
ซึ่งการมองว่าเวลาเป็นสิ่งที่มีตัวตนนี้เอง ส่งผลให้เกิดสิ่งที่ตามมา
เช่น การให้ความสำคัญกับเวลา ซึ่งนำมาสู่สิ่งประดิษฐ์อย่าง ปฏิทินและนาฬิกา
หรือกระทั่งความสนใจในอดีต อย่างการบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
หรือแม้กระทั่งหลักไวยากรณ์ในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษก็จะมีรูปประโยคที่แสดงถึง อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ในขณะที่ Hopi เองนั้นมองเวลาเป็นเพียงแค่สิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นเพียงแค่สิ่งที่วนเวียนเหมือนเดิม
จึงไม่แปลกที่จะไม่มีการจดบันทึกเหตุการณ์ด้วยภาษา Hopi และก็สะท้อนมายังสังคมของชาว Hopi ที่ให้ความสำคัญกับการกระทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
ตรงนี้แสดงให้เห็นว่า แม้จะพูดถึงสิ่งเดียวกัน
แต่ความคิดและมุมมองจะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาษา
นอกจากความคิดแล้ว
ภาษายังส่งผลต่อทักษะอีกด้วย
สะท้อนมาจากงานวิจัยของเลรา โบโรดิตสกี
ศาสตราจารย์ด้านภาษาศาสตร์
ที่ได้ไปเจอกับชุมชนชาวอะบอริจินในออสเตรเลีย
ซึ่งผู้คนในชุมชนนี้ไม่รู้จักคำว่าซ้ายหรือขวาเลย
แต่จะบอกทิศทางโดยการใช้ศัพท์ตามเข็มทิศ
ตัวอย่างรูปประโยคแปลเป็นภาษาไทย
เช่น “มีมดเกาะอยู่บนขาข้างตะวันตกเฉียงใต้”
นอกจากนี้ พวกเขามักจะทักทายด้วยคำว่าสวัสดี
แล้วต่อด้วยการถามเส้นทางของคู่สนทนา
เช่น “สวัสดี คุณกำลังไปทางไหน”
ซึ่งจากการใช้ภาษาแบบนี้ ทำให้ชาวอะบอริจินมีความเชี่ยวชาญในการระบุทิศทางได้ดี
นี่ถือเป็นตัวอย่างแรกที่ชี้ให้เห็นว่าภาษาส่งผลต่อทักษะเช่นกัน
ตัวอย่างถัดไปก็คือ การแยกเฉดสีของชาวรัสเซีย
ปกติแล้ว ผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษมักจะเรียกสีฟ้าเข้มและอ่อนว่า Blue ทั้งหมด
แต่ชาวรัสเซียกลับต้องจำแนกเฉดสี
ระหว่างสีฟ้าอ่อน ที่เรียกว่า “โกลูบอย” กับสีฟ้าเข้ม ที่เรียกว่า “ซีนีย์”
นั่นจึงทำให้พวกเขามีความสามารถในการแยกแยะสีได้เร็วกว่าชาติอื่น
และตัวอย่างสุดท้ายคือ ทักษะด้านตัวเลขของชาวจีน
ชาวจีนเก่งการนับเลขมากกว่าผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ
นั่นก็เพราะว่าตัวเลขมีการสื่อสารที่เรียบง่าย
ในขณะที่เลข 11 ภาษาอังกฤษ คือ Eleven
หรือ 12 คือ Twelve ซึ่งจะเป็นการสร้างคำพูดใหม่ขึ้นมา
แต่สำหรับเลขจีน กลับเป็นคำพูดที่เรียบง่าย เช่น เลข 11 หรือ 十一
อ่านว่า สืออี ซึ่งเป็นการนำคำศัพท์เลข 10 กับเลข 1 มาผสมกัน เท่านั้น
ทีนี้ เรามาดูอีกผลวิจัยที่พิสูจน์ว่าแต่ละภาษาส่งผลต่อการเล่าเรื่องที่แตกต่างกันด้วย
ซึ่งเป็นการทดลองโดยการฉายภาพเหตุการณ์หนึ่งขึ้นมา
ในรูปแบบคลิปวิดีโอเกี่ยวกับแจกันแตก
เพราะมีคนบังเอิญเดินมาชนอย่างไม่ตั้งใจ
และมีผู้เข้าร่วมทดสอบ 2 ประเภท คือผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษ และผู้ที่ใช้ภาษาสเปน
ผลทดลองพบว่า สิ่งที่คนอังกฤษสรุปออกมาได้ก็คือ แจกันแตกเพราะมีคนชนมันตกลง
ในขณะที่คนสเปนจะจดจำได้เพียงแค่ว่า มีแจกันแตกเท่านั้น
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมคนสเปนถึงจำได้แค่นั้น
นั่นก็เพราะว่าภาษาสเปนจะคำนึงถึงเจตนาด้วย
หากเป็นอุบัติเหตุ ชาวสเปนจะตัดเรื่องราวส่วนผู้กระทำออกไป
โดยไม่ให้ความสำคัญกับส่วนนั้นและมองว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องจดจำ
ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะมันสะท้อนให้เห็นว่า
แม้เราจะเผชิญเหตุการณ์เดียวกัน แต่เรากลับมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป
ซึ่งมันก็จะนำไปสู่วิธีคิดและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ต่างกัน
เรื่องดังกล่าวยังส่งผลกระทบไปถึงการพิพากษาคดี หรือแม้แต่การตัดสินใจร่วมกันของคนต่างชาติ ต่างภาษา อีกด้วย
นอกจากนี้ ภาษาก็ส่งผลต่อความเชื่อและค่านิยมอีกเช่นกัน
เช่น ประเทศไทย เป็นหนึ่งประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องลำดับขั้นหรือความอาวุโส
ซึ่งก็สะท้อนมาจากการใช้คำว่า ครับ หรือ ค่ะ ท้ายประโยคแทนความเคารพ
แตกต่างจากประเทศฝั่งตะวันตก
ในขณะเดียวกัน เราก็มีคำสรรพนามที่ใช้เรียกผู้อื่นหรือตัวเองที่มีอยู่มากมาย
ตั้งแต่ เรา ผม หนู ฉัน ดิฉัน กระผม ข้า ข้าพเจ้า หม่อมฉัน
ซึ่งแต่ละสรรพนามก็ใช้แตกต่างกันตามสถานะของอีกฝ่าย
เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเอง ก็เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับความอาวุโสเช่นกัน
จึงเห็นได้ว่าทั้ง 2 ประเทศมีคำที่ใช้สื่อสารต่อผู้คนที่แตกต่างกัน
เช่น เกาหลีใต้ คำว่า 요 หรือ -습니다
จะถูกใช้ท้ายประโยคเหมือนคำว่า ครับ หรือ ค่ะ ของคนไทย
และเหล่าคำกริยาก็สามารถผันเป็นรูปอื่น
เพื่อแสดงความเคารพต่อคนที่อาวุโสกว่า
ภาษาญี่ปุ่น はい แปลว่า ครับ หรือ ค่ะ เป็นการตอบแบบสุภาพ ใช้ได้กับทุกสถานการณ์
ในขณะที่ ええ แปลว่า ครับ หรือ ค่ะ เช่นกัน แต่ใช้ได้แค่คนระดับเดียวกันหรือรองลงมา
ในทางกลับกัน ชาวเกาหลีใต้และญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเวลาอย่างมาก
แต่ประเทศไทยกลับไม่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าคำศัพท์ของไทยไม่มีการผันตามเวลา
ซึ่งต่างจาก 2 ประเทศข้างต้น ที่มีการผันคำศัพท์ที่แตกต่างตามช่วงเวลา
จากตัวอย่างทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าภาษาคือสิ่งที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและความคิดของผู้คนแต่ละพื้นที่ จึงไม่แปลกใจที่คนพูดได้หลายภาษาจะสามารถมองโลกได้กว้างกว่า
และนี่จึงอาจจะเป็นเหตุผลที่ว่า
ทำไมบางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในประเทศหนึ่ง
อาจจะไม่ได้เป็นที่นิยมมากนักในบางประเทศ
จากเรื่องนี้ก็ทำให้เห็นความสำคัญว่า ทำไมเราจึงควรเรียนรู้ภาษาของประเทศอื่น
เพราะสิ่งที่เราได้รับ นอกจากจะได้ภาษาใหม่แล้ว ยังเป็นการสร้างมุมมองใหม่อีกด้วย
ซึ่งการมีมุมมองที่รอบด้าน ก็จะกลายเป็นโอกาสทางธุรกิจที่มากขึ้นตามไปด้วย
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-biolinguistic-turn/201702/how-the-language-we-speak-affects-the-way-we-think
-https://www.ted.com/talks/lera_boroditsky_how_language_shapes_the_way_we_think?language=th
-https://so04.tci-thaijo.org/index.php/abc/article/view/60825/50088
-https://itdev.win/14215/13.pdf
hopi language 在 Hopi language - Encyclopedia Britannica 的相關結果
Hopi language, a North American Indian language of the Uto-Aztecan family, spoken by the Hopi people of northeastern Arizona. Hopi is of particular interest ... ... <看更多>
hopi language 在 Hopi language (Hopilàvayi) - Omniglot 的相關結果
Hopi is an Uto-Aztecan language spoken in northeastern Arizona in the USA. According to the 2010 census there are 6,780 Hopi speakers. ... <看更多>
hopi language 在 Hopi language - Wikipedia 的相關結果
Hopi (Hopi: Hopílavayi) is a Uto-Aztecan language spoken by the Hopi people (a Puebloan group) of northeastern Arizona, United States. The use of Hopi has ... ... <看更多>