รู้จักกับ Intel และ AMD ผู้ผลิตสมอง ของคอมพิวเตอร์ /โดย ลงทุนแมน
ไม่ว่าเราจะซื้อคอมพิวเตอร์รุ่นไหน แบรนด์อะไร
หนึ่งในสิ่งที่คอมพิวเตอร์เหล่านี้ขาดไม่ได้เลยก็คือ ชิ้นส่วนสำหรับการประมวลผล
หรือพูดง่ายๆ ก็คือ สมองของคอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักกันในชื่อของ CPU
ปัจจุบัน ผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจผลิต CPU ก็คือบริษัท Intel และ AMD
อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือผู้ก่อตั้งของทั้ง 2 บริษัทนี้ เคยเป็นอดีตพนักงานบริษัทเดียวกัน
ที่ Fairchild Semiconductor บริษัทผู้บุกเบิก เทคโนโลยีวงจรรวม และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
แล้วเส้นทางของทั้ง 2 บริษัท เป็นอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Intel ก่อตั้งในช่วงกลางปี 1968 หรือ 52 ปีก่อน
โดย Gordon Moore และ Robert Noyce
สำหรับผลิตภัณฑ์ตัวแรกของ Intel ก็คือ 3101 Schottky Bipolar Random Access Memory (RAM)
โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้ก็เป็นหนึ่งในส่วนประกอบหลักของคอมพิวเตอร์ เราเรียกว่า “แรม” ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำชั่วคราวของคอมพิวเตอร์ นั่นเอง
หลังจากคิดค้นผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกสำเร็จ Intel ก็ได้ต่อยอดไปเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์อื่นๆ อีกมากมาย และก็ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว
เร็วถึงขนาดที่ว่าในปี 1971 หรือเพียง 3 ปีหลังก่อตั้งธุรกิจ Intel ก็สามารถจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ โดยสามารถระดมทุนได้มากถึง 6.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 207 ล้านบาท และได้คิดค้นนวัตกรรม Microprocessor ตัวแรกของโลก หรือที่เราเรียกกันว่า CPU นั่นเอง..
โดย CPU ของ Intel ก็ได้กลายมาเป็นชิ้นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ยุคใหม่
จนในปี 1992 Intel ได้กลายมาเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน Semiconductor รายใหญ่ที่สุดในโลก
ในส่วนของ AMD นั้น บริษัทแห่งนี้ได้ก่อตั้งหลังจาก Intel ในปี 1969
โดยอดีตพนักงาน 8 คนที่มาจาก Fairchild Semiconductor เช่นเดียวกัน
ในช่วงแรก AMD ก็ได้เริ่มทำธุรกิจจากการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า และก็ได้เริ่มเข้าสู่การเป็นผู้ผลิต CPU เหมือนรุ่นพี่อย่าง Intel
อย่างไรก็ตาม AMD ก็เหมือนเป็นพระรองมาโดยตลอดเพราะว่า นวัตกรรมของ Intel สูงกว่ามาก และก็มีส่วนแบ่งการตลาดที่สูงกว่า AMD มาก
สิ่งที่ AMD ตัดสินใจทำก็คือ การหันมาโฟกัสที่ตลาดรองลงมา นั่นก็คือ การผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์รุ่นปานกลาง และขายในราคาที่ต่ำลงมา
นั่นจึงกลายมาเป็นเหตุผลที่ว่าในปี 1997 AMD ได้ทำให้ราคาคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง และคนทั่วไปสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้มีราคาที่แพงมาก
โดยการแข่งขันของทั้ง 2 บริษัทนี้ก็ยังดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน
แต่ Intel ก็ยังเป็นผู้นำในตลาด CPU มาโดยตลอด
สะท้อนมาจากส่วนแบ่งการตลาด CPU ในปี 2016
Intel ครองส่วนแบ่ง 70%
AMD ครองส่วนแบ่ง 25%
อื่นๆ อีก 5%
แต่ก็ดูเหมือนว่าไม่กี่ปีที่ผ่านมา AMD กำลังเริ่มท้าทาย Intel อีกครั้ง เพราะในปี 2017 บริษัท AMD ก็ได้เปิดตัว CPU รุ่นเรือธงซีรีส์ Ryzen ที่ทางบริษัทเคลมว่ามีคุณภาพเทียบเท่ากับ CPU ที่ดีที่สุดของทาง Intel
ซึ่งก็ดูเหมือนว่า Ryzen จะกลายเป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญของ AMD
เพราะหลังการเปิดตัวเมื่อ 3 ปีก่อน ส่วนแบ่งการตลาด CPU ของ AMD ก็ได้เพิ่มสูงขึ้น
จนสามารถขึ้นมาครองส่วนแบ่งได้กว่า 30% ในไตรมาสที่ 3 ในปีที่ผ่านมา
ซึ่งนอกจาก AMD จะแข่งขันในตลาด CPU กับ Intel
อีกธุรกิจที่ AMD เข้าไปร่วมแข่งขันก็คือตลาด GPU
หรือที่เราเรียกกันว่าการ์ดจอ กับบริษัท Nvidia อีกด้วย
แล้วตอนนี้แต่ละบริษัทมีมูลค่ามากแค่ไหน?
Nvidia มูลค่าบริษัท 10.0 ล้านล้านบาท
Intel มูลค่าบริษัท 5.7 ล้านล้านบาท
AMD มูลค่าบริษัท 3.0 ล้านล้านบาท
ที่น่าสนใจก็คือบริษัทเหล่านี้แม้จะเป็นเพียงผู้ผลิตชิ้นส่วน
แต่เมื่อเป็นชิ้นส่วนสำคัญที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องขาดไม่ได้
บริษัทเหล่านี้ก็สามารถมีมูลค่าเป็นล้านล้านบาทได้ เช่นกัน
และยิ่งบริษัทเหล่านี้แข่งขันกันดุเดือดมากเท่าไร
คนที่ได้ประโยชน์มากสุดก็ไม่ใช่ใครที่ไหน
แต่เป็นผู้บริโภคอย่าง “เรา” ที่จะได้สมองของคอมพิวเตอร์ที่เร็วขึ้น ในราคาที่ถูกลง นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.investopedia.com/insights/why-amd-intels-only-competitor-intc-amd/
-https://www.intel.com/content/www/us/en/history/historic-timeline.html
-https://www.intc.com/news-events/press-releases/detail/1424/intel-reports-third-quarter-2020-financial-results
-https://www.amd.com/en/corporate/innovations#event-amd-is-only-integrated-circuit-company-formed-within-previous-ten-years-to-receive-military-and-space-grade-certifications
-https://ir.amd.com/financial-information
-https://nvidianews.nvidia.com/news/nvidia-announces-financial-results-for-fourth-quarter-and-fiscal-2020
-https://finance.yahoo.com/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過62萬的網紅Bryan Wee,也在其Youtube影片中提到,...
「fairchild semiconductor」的推薦目錄:
- 關於fairchild semiconductor 在 ลงทุนแมน Facebook
- 關於fairchild semiconductor 在 ลงทุนแมน Facebook
- 關於fairchild semiconductor 在 ลงทุนแมน Facebook
- 關於fairchild semiconductor 在 Bryan Wee Youtube
- 關於fairchild semiconductor 在 Travel Thirsty Youtube
- 關於fairchild semiconductor 在 スキマスイッチ - 「全力少年」Music Video : SUKIMASWITCH / ZENRYOKU SHOUNEN Music Video Youtube
fairchild semiconductor 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมไอที ? ตอนที่ 1 /โดย ลงทุนแมน
เราก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนโลกของการสื่อสารไปตลอดกาล
การเกิดขึ้นของคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน อินเทอร์เน็ต ไปจนถึงโซเชียลมีเดีย
ล้วนค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราไปทีละน้อย
ท้ายที่สุด แทบทุกแง่มุมในชีวิตของเรากับโลกไอที ก็ล้วนข้องเกี่ยวจนราวกับเป็นโลกใบเดียวกัน
ซึ่งประเทศที่มีบทบาทในการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้มากที่สุด จะเป็นที่ไหนไม่ได้
นอกจาก “สหรัฐอเมริกา”
สหรัฐอเมริกาส่งออกบริการด้านไอทีคิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 4 ของโลก
บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับ Top 5 ของโลก เป็นบริษัทไอทีสัญชาติอเมริกันถึง 4 แห่ง
และศูนย์รวมอุตสาหกรรมไอทีอย่าง “ซิลิคอนแวลลีย์”
คือยอดเขาแห่งเทคโนโลยี ที่คนทั้งโลกจับตามอง..
เส้นทางอุตสาหกรรมไอทีของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมไอที ?
“การเน้นการศึกษา” คือคุณสมบัติสำคัญที่สุดที่ผู้ตั้งรกรากในยุคอาณานิคมหล่อหลอมให้กับชาวอเมริกัน
นับตั้งแต่เข้ามาตั้งรกรากในศตวรรษที่ 17
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่สหรัฐอเมริกาจะมีมหาวิทยาลัยหลายแห่ง
ที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาก่อนการตั้งประเทศด้วยซ้ำ
ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยเยล หรือมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
นอกจากการศึกษา ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ถูกสั่งสมมาควบคู่กันก็คือ “การทำงานหนัก”
การมุ่งเน้นด้านการศึกษา ทำให้มีองค์ความรู้ที่พร้อมสำหรับการต่อยอด
ส่วนการทำงานหนัก เป็นการปลูกฝังว่า ใคร ๆ ก็สามารถประสบความสำเร็จ
และสั่งสมความมั่งคั่ง จนเปลี่ยนฐานะเป็นคนร่ำรวยได้ ถ้ามีความพยายามมากพอ..
คุณสมบัติทั้งหมดล้วนหล่อหลอมให้ผู้อพยพที่เข้ามายังดินแดนแห่งเสรีภาพนี้
มีความเชื่อมั่นในความพยายาม มองโลกในแง่ดี และมั่นใจในอนาคต
ซึ่งเป็นคุณสมบัติของชาวอเมริกันที่โดดเด่นเหนือใคร และยังคงมีอยู่มาจนถึงยุคปัจจุบัน
แม้สหรัฐอเมริกาจะตามหลังประเทศในยุโรปในการปฏิวัติอุตสาหกรรม
แต่ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำอุตสาหกรรมของโลกได้ภายในระยะเวลาไม่ถึง 100 ปี
การเป็นศูนย์รวมของผู้อพยพที่มีความคิดก้าวหน้า กล้าเสี่ยง
เปี่ยมไปด้วยความพยายามและความรู้ มีรัฐบาลที่สนับสนุนในเรื่องสิทธิบัตร
ทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์มากมายที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต
และก้าวข้ามทุกขีดจำกัดของความเป็นมนุษย์
โดยเฉพาะโลกของการสื่อสาร..
นับตั้งแต่วันที่ Alexander Graham Bell เป็นผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์
สิ่งที่เปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และเดินทางไปไกลตามสายไฟฟ้า
จนนำมาสู่การก่อตั้งบริษัท AT&T ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
ด้วยความที่สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศกว้างใหญ่ การจะส่งเสียงจากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก
ข้ามทวีปไปยังฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก จำเป็นจะต้องมีสิ่งที่ช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้า
นำมาสู่การประดิษฐ์ “หลอดสุญญากาศ” หรือ หลอดอิเล็กตรอน
ซึ่งมีหลักการคือการให้กระแสไฟฟ้า ผ่านไส้หลอดที่เป็นโลหะ จนไส้หลอดร้อน และเกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ความสามารถในการควบคุมการไหลของอิเล็กตรอนนี้เอง
ทำให้สามารถขยายสัญญาณอ่อน ๆ ให้แรงขึ้น และส่งสัญญาณไปได้ไกลกว่าเดิม
การสื่อสารผ่านโทรศัพท์ทางไกลครั้งแรก เกิดขึ้นในปี 1915 ระหว่างนครนิวยอร์ก เมืองใหญ่ทางตะวันออก กับซานฟรานซิสโก เมืองท่าที่กำลังเติบโตทางฝั่งตะวันตก
หลอดสุญญากาศนี้เองที่เป็นรากฐานและจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรม “อิเล็กทรอนิกส์”
ที่ปฏิวัติโลกของอุปกรณ์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีการสื่อสาร
องค์ความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์จุดประกายให้เกิดการวิจัยและพัฒนา
ในมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา หนึ่งในนั้นคือมหาวิทยาลัยในเมืองพาโล อัลโต
บริเวณหุบเขาทางตอนใต้ของอ่าวซานฟรานซิสโก ที่ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด”
มหาวิทยาลัยที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1891 แห่งนี้ จะเป็นผู้พลิกโฉมบริเวณรอบอ่าวซานฟรานซิสโก
หรือเรียกว่า “เบย์แอเรีย” จากย่านที่เต็มไปด้วยสวนผักและสวนผลไม้
ให้กลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
โดยบุคลากรคนสำคัญที่มีส่วนผลักดันก็คือ ศาสตราจารย์ Frederick Terman
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ได้ชักชวนเพื่อนนักวิจัยด้านอิเล็กทรอนิกส์
ให้มาร่วมงานที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ และบุกเบิกการเรียนการสอนอย่างเข้มข้น
พร้อม ๆ กับการพัฒนากระบวนการผลิตนักศึกษาให้เป็นนักธุรกิจ ด้วยการจัดตั้ง
Business Incubator for SMEs ที่ช่วยบ่มเพาะให้ลูกศิษย์ก่อตั้งบริษัทอิเล็กทรอนิกส์
เป็นของตัวเอง โดยใช้บ้านพักของอาจารย์ที่ยังว่างอยู่เป็นที่จัดตั้งบริษัท
แล้วความพยายามก็ประสบผลสำเร็จในปี 1939
เมื่อศิษย์เก่าวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด 2 คน
คือ Bill Hewlett และ David Packard ได้นำหลอดสุญญากาศมาพัฒนาเป็น
Electronics Oscillator จนประสบความสำเร็จ และได้ก่อตั้งบริษัท Hewlett Packard หรือ HP ขึ้นที่โรงรถในเมืองพาโล อัลโต โดยลูกค้าคนสำคัญที่ซื้ออุปกรณ์นี้ไปทำภาพยนตร์ก็คือ Walt Disney Production
Hewlett Packard นับเป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์แห่งแรก ๆ ที่ลงหลักปักฐานในย่านเบย์แอเรีย
หลังจากบริษัทได้ทำสัญญากับกองทัพสหรัฐฯ ดึงดูดเม็ดเงินจากการลงทุนให้สะพัดไปทั่วย่านแห่งนี้
หลอดสุญญากาศยังถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย รวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ แต่หลอดสุญญากาศก็มีข้อเสีย
การต้องให้ความร้อนแก่โลหะจึงจะมีการปล่อยอิเล็กตรอน
ทำให้หลอดต้องใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมหาศาล และมีราคาแพง
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จึงมีการประดิษฐ์สิ่งที่จะมาทดแทนหลอดสุญญากาศ
เรียกว่า “ทรานซิสเตอร์”
ทรานซิสเตอร์ถูกประดิษฐ์ขึ้นในห้องทดลองของบริษัท AT&T ที่รัฐเวอร์จิเนีย ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา มีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ หรือ Semiconductor ทำให้ปล่อยสัญญาณไฟฟ้าที่อ่อนกว่า และควบคุมสัญญาณได้ดีกว่าหลอดสุญญากาศ
หนึ่งในผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลก็คือ William Shockley ได้ออกมาตั้งบริษัทของตัวเองเพื่อพัฒนาทรานซิสเตอร์ให้ดียิ่งขึ้น ใช้ชื่อว่า Shockley Semiconductor
และก็เป็น ศาสตราจารย์ Frederick Terman แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่ได้ชักชวนให้ Shockley มาเลือกทำเลที่ตั้งของบริษัทอยู่ในย่านเบย์แอเรีย ซึ่งก็คือเมืองเมาน์เทนวิว
ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างภาคเอกชนกับนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย
Shockley ได้ตัดสินใจจ้างวิศวกรปริญญาเอก 8 คน จากมหาวิทยาลัยชื่อดังฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ทั้งฮาร์วาร์ดและ MIT ให้มารวมตัวกันในบริษัทที่เมาน์เทนวิว
นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เบย์แอเรียเริ่มมีนวัตกรรมที่ก้าวล้ำนำหน้าภูมิภาคอื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา
ในช่วงแรกสารกึ่งตัวนำที่นิยมใช้ก็คือธาตุเจอร์เมเนียม (Ge) ซึ่งหายาก และมีราคาสูง
แต่ต่อมาพบว่ายังมีธาตุอีกชนิดหนึ่งซึ่งสามารถนำมาทำสารกึ่งตัวนำได้ดี และพบได้ง่ายกว่าเจอร์เมเนียมมาก ธาตุนั้นก็คือ ซิลิคอน (Si)
การใช้ซิลิคอนมาทำสารกึ่งตัวนำนี้เอง เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้หุบเขาย่านเบย์แอเรีย
ถูกเรียกว่า “ซิลิคอนแวลลีย์” ในเวลาต่อมา..
หลังจากรวมตัวได้ไม่นาน วิศวกรทั้ง 8 คน ก็ตัดสินใจลาออกมาตั้งบริษัททรานซิสเตอร์ของตัวเองในปี 1957 ซึ่งต่อมาก็ได้บริษัทผลิตกล้องถ่ายรูป Sherman Fairchild เป็นผู้สนับสนุนทางการเงิน จึงใช้ชื่อบริษัทว่า Fairchild Semiconductor
การเข้ามาร่วมลงทุนของ Fairchild เป็นการปูทางให้นักลงทุนผู้มั่งคั่ง
เข้ามามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดเป็นธุรกิจเงินร่วมลงทุน
หรือ Venture Capital (VC) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนเหล่านี้
ก็มักจะนั่งในตำแหน่งคณะกรรมการบริหาร และคอยให้คำปรึกษาด้านต่าง ๆ แก่บริษัท
ถึงแม้จะดีกว่าหลอดสุญญากาศ แต่ทรานซิสเตอร์ยังจำเป็นต้องต่อกับส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น
ตัวต้านทาน และตัวเก็บประจุ
เหล่าวิศวกรใน Fairchild Semiconductor จึงเกิดความคิดที่จะวางทรานซิสเตอร์จำนวนมาก ๆ และส่วนประกอบอื่น ๆ ไว้ในแผ่นซิลิคอนเพียงตัวเดียว
ความคิดนี้บรรลุผลสำเร็จในปี 1959
และสิ่งนั้นถูกเรียกว่า “แผงวงจรรวม” (Integrated Circuit) หรือ “ชิป”
ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในอุปกรณ์
ให้สามารถติดต่อและรับส่งข้อมูลถึงกัน และทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว
ต่อมาวิศวกรที่เคยทำงานที่นี่ทั้ง 8 คนก็ได้ออกมาตั้งบริษัทของตัวเอง
ซึ่งความสามารถทางเทคโนโลยีจะทำให้เกิดธุรกิจย่อยขึ้นมาอีกกว่า 120 ธุรกิจ
2 ใน 8 คนก็คือ Robert Noyce และ Gordon Moore
ที่ได้ออกมาก่อตั้งบริษัทผลิตชิป ในปี 1968
โดยใช้ชื่อบริษัทว่า “Intel” โดยมีสำนักงานแห่งแรกในเมืองเมาน์เทนวิว
จำนวนแผงวงจรที่สามารถวางลงในชิปหนึ่งตัว เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในทุก ๆ 1 ปีครึ่ง
ทำให้ประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลของชิปทุก ๆ 1 ปีครึ่ง ถูกพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด
ซึ่งมีมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเป็นผู้ผลักดันงานวิจัยร่วมกับบริษัทเอกชน
ในที่สุดก็เกิดชิปที่มีขนาดเล็ก และมีแผงวงจรรวมมหาศาลที่เรียกว่า “ไมโครโพรเซสเซอร์”
การพัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์จะเปิดทางให้การผลิตคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงจนคนทั่วไปสามารถมีไว้ครอบครอง และถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
หรือ PC (Personal Computer)
หนึ่งในผู้พัฒนาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรก ๆ
คือผู้ช่วย 2 คน ที่เคยทำงานให้กับบริษัท Hewlett Packard
ผู้ช่วย 2 คนนั้นมีชื่อว่า “Steve Wozniak” และ “Steve Jobs”..
ติดตามซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมไอที ? ตอนที่ 2 และอ่านบทความในซีรีส์นี้ย้อนหลังได้ที่ Blockdit - blockdit.com/download
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=403&year=2018&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://www.forbes.com/sites/gilpress/2013/04/08/a-very-short-history-of-information-technology-it/?sh=82924872440b
-https://www.stanford.edu/about/history/
-https://www.capterra.com/history-of-software/
-https://www.internetsociety.org/wp-content/uploads/2017/09/ISOC-History-of-the-Internet_1997.pdf
-https://www.businessinsider.com/silicon-valley-history-technology-industry-animated-timeline-video-2017-5
-https://historycooperative.org/history-of-silicon-valley/
-https://endeavor.org.tr/wp-content/uploads/2016/01/How-SV-became-SV.pdf
fairchild semiconductor 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
รู้จัก Sequoia เจ้าพ่อ VC ที่สตาร์ตอัปทุกราย อยากเข้าหา /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงบริษัทจัดการลงทุนที่ประสบความสำเร็จระดับโลก หลายคนคงนึกถึง Berkshire Hathaway ของนักลงทุนระดับตำนานอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์
หรือ Bridgewater Associates ของผู้จัดการกองทุน Hedge Fund อย่าง เรย์ ดาลิโอ
แต่รู้หรือไม่ว่า มีอีกบริษัทที่ประสบความสำเร็จในโลกการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี หรือสตาร์ตอัป คือบริษัทที่ชื่อว่า “Sequoia Capital”
Sequoia Capital เป็นหนึ่งในผู้ให้เงินทุนสนับสนุนแก่บริษัทระดับโลกมากมาย เช่น Google, YouTube, Instagram, Cisco, PayPal และ Airbnb ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของบริษัท จนมีส่วนสำคัญให้บริษัทเหล่านี้ สามารถเติบโตจนยิ่งใหญ่ได้ในแบบทุกวันนี้
และผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จครั้งนี้ คือชายที่ชื่อว่า “Donald Thomas Valentine”
เขาคือผู้ก่อตั้ง Sequoia Capital ซึ่งช่วยผลักดันเหล่าบริษัทเทคโนโลยี ให้กลายเป็นยักษ์ตัวใหญ่ จนเขาได้รับฉายาว่าเป็น “หนึ่งในผู้สร้าง Silicon Valley” เลยทีเดียว..
เส้นทางของ Donald Valentine ในโลกการลงทุน เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วการลงทุนที่ประสบความสำเร็จของ Sequoia Capital มีอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Donald Thomas Valentine หรือ Don Valentine เกิดที่รัฐนิวยอร์ก เมื่อปี ค.ศ. 1932
เขาเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัย Fordham ในสาขาวิชาเคมี
ก่อนที่จะย้ายไปแคลิฟอร์เนีย ในช่วงปี ค.ศ. 1950 เพื่อเข้าทำงานที่ Raytheon Company หนึ่งในบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ซึ่งกำลังเติบโตได้ดีในช่วงนั้น
ในช่วงเริ่มต้นของการทำงาน คุณ Don เริ่มทำงานจากการเป็นวิศวกรฝ่ายขาย
จากนั้นช่วงปี ค.ศ. 1960 เขาได้ย้ายไปทำงานที่ Fairchild Semiconductor ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นบริษัทที่เป็นต้นกำเนิดของบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ ระดับโลกทั้งหลายในปัจจุบัน เช่น Intel, AMD จากการที่ผู้บริหารของบริษัท แยกตัวออกมาก่อตั้งบริษัทเองในภายหลัง
คุณ Don เขาได้สร้างผลงานที่โดดเด่น อย่างตอนที่ทำงานอยู่ที่ Fairchild Semiconductor ก็ได้สร้างทีมขายที่แข็งแกร่งขึ้นมา
ด้วยความที่บริษัท Fairchild Semiconductor มีบุคลากรที่มีความสามารถอยู่แล้ว เช่น Gordon Moore ผู้ก่อตั้งบริษัท Intel บวกกับความสามารถในการขายของคุณ Don ทำให้บริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในทุก ๆ ปี
จนในปี ค.ศ. 1966 บริษัทมียอดขายในส่วนของเซมิคอนดักเตอร์เป็นอันดับสองในสหรัฐอเมริกา เป็นรองเพียง Texas Instruments เท่านั้น
หลังจากทำงานที่ Fairchild Semiconductor ได้ 7 ปี เขาก็ย้ายงานออกมาทำงานที่ National Semiconductor ในตำแหน่งรองประธานฝ่ายขายและการตลาด
แม้จะเชี่ยวชาญในเรื่องการขายและการทำการตลาด
แต่ด้วยความที่ทำงานกับบริษัทเทคโนโลยี ได้คลุกคลีกับวงการธุรกิจนี้มานาน ทำให้เขาเริ่มเข้าใจว่า บริษัทเทคโนโลยีแบบไหนที่คาดว่าจะเติบโตได้ดี และดูมีอนาคต
นั่นทำให้อีกสิ่งหนึ่งที่คุณ Don ชอบและทำควบคู่กันมาตลอด คือการลงทุนในบริษัทต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัทที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
ซึ่งในระหว่างทำงานที่ National Semiconductor เขามีหน้าที่ ในการอธิบายการบริหารธุรกิจในส่วนของเซมิคอนดักเตอร์ให้กับผู้ลงทุนและบริษัทจัดการการลงทุนต่าง ๆ
นั่นทำให้ความสามารถของเขาในการวิเคราะห์ ความเข้าใจในธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ และความเข้าใจในธุรกิจเทคโนโลยี เป็นที่รู้จักของบริษัทและผู้จัดการกองทุนมากมาย
จนวันหนึ่งความสามารถในการขาย วิเคราะห์ และการลงทุนของเขาก็ไปสะดุดตาของ Capital Group หนึ่งในบริษัทด้านการเงิน การลงทุน ที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก ซึ่งถือเป็นผู้เบิกทางให้กับคุณ Don เลยก็ว่าได้
Capital Group ได้ยื่นข้อเสนอให้คุณ Don มาร่วมบริหารจัดการเงินลงทุน โดยทาง Capital Group จะเป็นผู้ช่วยจัดการในการก่อตั้ง และระดมทุนให้ในช่วงแรก
นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้คุณ Don สามารถก่อตั้ง Sequoia Capital ขึ้นมาได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1972
โดยมี Capital Group เป็นผู้ให้เงินทุนก้อนแรกกับคุณ Don เป็นมูลค่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 1974
คุณ Don เคยบอกไว้ว่า เขาเลือกใช้ชื่อ Sequoia Capital
ตามชื่อของต้น “Sequoia” ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ สามารถมีความสูงได้มากถึง 85 เมตร
โดยเขาต้องการให้กองทุนของเขายิ่งใหญ่เปรียบเสมือนต้น Sequoia
การลงทุนครั้งแรกของ Sequoia Capital เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1975 เป็นการลงทุนในบริษัท Atari ซึ่ง Atari เป็นบริษัทแรก ๆ ที่บุกเบิกวิดีโอเกม เครื่องเล่มเกม และเกมคอมพิวเตอร์ ในสหรัฐอเมริกา
ในปี ค.ศ. 1976 Atari ถูกขายให้กับ Warner Communications ดีลนี้มีมูลค่า 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าทำกำไรให้ Sequoia Capital ได้มาก
และนับว่าเป็นการลงทุนครั้งแรก ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จเลยทีเดียว สำหรับ Sequoia Capital
การลงทุนในครั้งนั้น ยังทำให้เขาได้พบกับ สตีฟ จอบส์ ซึ่งในเวลานั้นทำงานอยู่ที่ Atari เป็นเหตุให้คุณ Don ได้เข้าลงทุนกับ Apple ในปี ค.ศ. 1978 ด้วยเงินจำนวน 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งในตอนนั้น การลงทุนในบริษัท Apple ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เนื่องจาก Apple เพิ่งก่อตั้งมาได้เพียง 2 ปี และยังไม่ได้มีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จมากอย่างทุกวันนี้
แต่การลงทุนใน Apple ดูจะเป็นการลงทุนที่ไม่ค่อยน่าประทับใจเท่าไรนัก เนื่องจาก Sequoia Capital ได้ถอนการลงทุนจาก Apple ในปี ค.ศ. 1979
แต่หลังจาก Sequoia Capital ถอนเงินลงทุนได้เพียงปีเดียว สตีฟ จอบส์ ก็สามารถพา Apple เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ได้สำเร็จ..
แม้คุณ Don จะพลาดโอกาสสร้างผลตอบแทนมหาศาลจาก Apple
แต่หลังจากนั้น เขาก็ยังคงมองหาบริษัทที่มีไอเดียที่ดี เพื่อเข้าลงทุนต่ออย่างต่อเนื่อง
จน Sequoia Capital มีผลงานที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีการลงทุนครั้งสำคัญ เช่น
Cisco Systems เป็นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกัน ที่เน้นการขายซอฟต์แวร์ อย่างเช่น โปรแกรมดูแลความปลอดภัยด้านไซเบอร์ และระบบคลาวด์
โดย Sequoia Capital เข้าลงทุนใน Cisco Systems เป็นเงินมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 1987 หลังจากที่ Cisco ก่อตั้งได้เพียง 3 ปี หลังจากนั้นอีก 3 ปีต่อมา Cisco ก็สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ได้
จุดเปลี่ยนสำคัญของ Sequoia Capital ส่วนหนึ่งมาจากการเข้ามาของ Michael Moritz ในปี ค.ศ. 1986 และ Douglas Leone ในปี ค.ศ. 1988
ทั้งคู่เข้ามามีบทบาทในการช่วยเลือกบริษัทที่ Sequoia Capital จะเข้าไปลงทุน
ตัวอย่างผลงานที่ทั้งสองคนมีส่วนในการตัดสินใจ เช่น
YouTube ซึ่งนับเป็นการลงทุนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากครั้งหนึ่งของ Sequoia Capital
ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2005 Sequoia Capital เข้าลงทุนใน YouTube เป็นเงินประมาณ 462 ล้านบาท โดยแลกกับหุ้น 30%
และต่อมาในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2006 YouTube ก็ถูกซื้อกิจการทั้งหมดโดย Google ซึ่งดีลนี้มีมูลค่าราว ๆ 54,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าคูณตามสัดส่วน มูลค่าหุ้นที่ Sequoia Capital ขาย ก็น่าจะอยู่ในหลักหมื่นล้านบาท
ทั้ง Michael Moritz และ Douglas Leone ที่สามารถสร้างผลงานได้อย่างโดดเด่น
ทำให้ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1990 คุณ Don จึงได้ส่งไม้ต่อให้ทั้งคู่เข้ามามีบทบาทในการควบคุมและบริหารบริษัทต่อจากเขา
นอกจาก YouTube แล้ว Sequoia Capital ยังเป็นผู้ลงทุนในบริษัทที่เรารู้จักกันดีอีกหลายแห่งตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Instagram, PayPal, Electronic Arts และ LinkedIn
ด้วยความสำเร็จมากมายจากการลงทุนในบริษัทสตาร์ตอัปทั้งหลาย
ปัจจุบัน Sequoia Capital ถือเป็นหนึ่งใน Venture Capital
ที่บรรดาสตาร์ตอัปต่างเข้าหา และต้องการเงินทุนสนับสนุนจากพวกเขามากที่สุด
พูดได้ว่า หากเปิดดูข้อมูลการระดมทุนของบริษัทไหน แล้วเจอชื่อของ Sequoia Capital เข้าไปลงทุน
ก็จะเสมือนเป็นเครื่องหมายการันตีว่า สตาร์ตอัปนั้นมีอนาคตแน่นอน
และสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนรายอื่น ๆ ที่จะเข้ามาให้เงินสนับสนุนกับบริษัท ในระยะถัดไป
ตัวอย่างสตาร์ตอัป ที่ Sequoia Capital เข้าลงทุนตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ เช่น
- Airbnb แพลตฟอร์มจองและแชร์ที่พักที่มีเครือข่ายทั่วโลก
- DoorDash แพลตฟอร์มฟูดดิลิเวอรี เจ้าใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
- Snowflake บริษัทให้บริการเกี่ยวกับคลังข้อมูล และบริการ Cloud Computing
- Unity บริษัทเจ้าของเกมเอนจิน หรือเรียกง่าย ๆ ว่าแพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือสำเร็จรูปสำหรับสร้างเกม โดยมีตัวอย่างเกมที่สร้างโดยตัวแพลตฟอร์มนี้ เช่น Among Us, RoV
นอกจากการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกาแล้ว
ปัจจุบัน Sequoia Capital ยังมีกองทุนที่เปิดให้บริการนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกาด้วย ได้แก่
- Sequoia Capital China เน้นการลงทุนในประเทศจีน
- Sequoia Capital India เน้นการลงทุนในประเทศอินเดีย และโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- Sequoia Capital Israel เน้นการลงทุนในประเทศอิสราเอล
ซึ่งปัจจุบัน หากนับรวมมูลค่าบริษัทที่ Sequoia Capital เข้าไปร่วมลงทุนทั้งหมด จะมีมูลค่าบริษัทรวมกันคิดเป็นทั้งหมด 107 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว
ถึงแม้คุณ Don Valentine จะเสียชีวิตไปแล้วเมื่อปี ค.ศ. 2019
แต่ในวันนี้ต้น Sequoia ที่เขาปลูกไว้เมื่อ 49 ปีก่อน
ก็ได้เติบโตเป็นต้น Sequoia ที่ยิ่งใหญ่ ตามที่เขาตั้งใจไว้
และต้นไม้ต้นนี้ ก็ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ
ที่มีส่วนให้บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ได้แจ้งเกิดและยิ่งใหญ่ขึ้นมา อย่างนับไม่ถ้วน นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.sequoiacap.com/article/remembering-don-valentine/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Sequoia_Capital
-https://www.blockdit.com/posts/60218f26a95fa30bb4f78b89
-https://en.wikipedia.org/wiki/Don_Valentine
-https://www.sequoiacap.com/company-story/cisco-story/
-https://www.longtunman.com/30858 -https://www.investopedia.com/articles/markets/113015/if-you-had-invested-right-after-ciscos-ipo.asp
-https://www.nytimes.com/2006/10/10/technology/10payday.html
-https://www.blockdit.com/posts/5eaa58139939070cacce1f93
-https://en.wikipedia.org/wiki/Fairchild_Semiconductor
-https://en.wikipedia.org/wiki/Sequoia_Capital
-https://www.quora.com/How-much-venture-capital-did-Apple-Computer-initially-raise
-https://golden.com/wiki/Sequoia_Capital_India-VWKKEBE
-https://golden.com/wiki/Sequoia_Capital_China-4NAE99X
-https://www.crunchbase.com/organization/sequoia-capital-israel
-https://www.sequoiacap.com/companies/
-https://pitchbook.com/news/articles/don-valentine-longtime-lion-of-silicon-valley-dies-at-87
-https://digitalassets.lib.berkeley.edu/roho/ucb/text/valentine_donald.pdf
fairchild semiconductor 在 スキマスイッチ - 「全力少年」Music Video : SUKIMASWITCH / ZENRYOKU SHOUNEN Music Video Youtube 的評價
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/IvDTkTKi5pA/hqdefault.jpg)
fairchild semiconductor 在 onsemi: Intelligent Power and Sensing Technologies 的相關結果
The leader in intelligent power and image sensing technologies that build a better future for the automotive, industrial, cloud, medical, and IoT markets. ... <看更多>
fairchild semiconductor 在 Fairchild Semiconductor Corporation | American company 的相關結果
Fairchild Semiconductor Corporation, American electronics company that shares credit with Texas Instruments Incorporated for the invention of the integrated ... ... <看更多>
fairchild semiconductor 在 快捷半導體- 維基百科,自由的百科全書 的相關結果
快捷半導體公司(英語:Fairchild Semiconductor),俗稱「仙童半導體」,是美國的一家半導體設計與製造公司,目前總部設在桑尼維爾。曾經開發了世界上第一款商用集成 ... ... <看更多>