กรณีศึกษา Robinhood แอปซื้อขายหุ้นที่มา DISRUPT โบรกเกอร์ /โดย ลงทุนแมน
ถ้าเราเคยซื้อขายหุ้น
เราย่อมรู้จักค่าธรรมเนียมในการซื้อขายที่เรียกว่า “ค่าคอมมิชชัน” ที่เราต้องจ่ายให้โบรกเกอร์
นี่คือต้นทุนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะซื้อ หรือขาย ได้กำไร หรือขาดทุน
แต่รู้หรือไม่ว่าที่ต่างประเทศ
มีสตาร์ตอัปชื่อ “Robinhood” กำลังเข้ามา DISRUPT ธุรกิจโบรกเกอร์ซื้อขายหุ้น
ด้วยการไม่เก็บค่าคอมมิชชัน จนผู้เล่นรายอื่นต้องทำตามเช่นเดียวกัน
เรื่องราวนี้น่าสนใจอย่างไร แล้วบริษัทหารายได้มาจากไหน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
Robinhood เป็นสตาร์ตอัปด้านอุตสาหกรรมการเงิน (FinTech)
จากประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2013
บริษัทนี้เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มสำหรับซื้อขายหลักทรัพย์ กองทุน ตราสารอนุพันธ์ และเงินดิจิทัล
แต่ด้วยจุดมุ่งหมายที่ต้องการเปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยเข้าถึงโลกแห่งการเงินง่ายขึ้น
จึงได้เสนอบริการที่แตกต่างจากธุรกิจโบรกเกอร์แบบเดิม
นั่นคือ การไม่เก็บค่าคอมมิชชัน..
โดยปกติ บริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ในสหรัฐฯ จะคิดค่าธรรมเนียมเฉลี่ย 200 บาทต่อการซื้อขาย
ซึ่ง Robinhood มองว่า ในเมื่อขั้นตอนทุกอย่างทำด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ มันก็ไม่น่าจะต้องมีค่าบริการ
ทำให้บริษัทตัดสินใจไม่คิดค่าคอมมิชชันกับนักลงทุน
กลยุทธ์ดังกล่าว ได้ส่งผลต่ออุตสาหกรรมโบรกเกอร์ออนไลน์เป็นอย่างมาก
ในเดือนตุลาคม 2019 ที่ผ่านมา เหล่าผู้นำในตลาด เช่น E-Trade, Charles Schwab, TD Ameritrade ต่างพากันประกาศเลิกเก็บค่าคอมมิชชัน เพื่อป้องกันการสูญเสียลูกค้าไปให้กับ Robinhood
รวมทั้งยังส่งผลให้เกิดการควบรวมกิจการระหว่าง Charles Schwab และ TD Ameritrade เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันอีกด้วย
ต่อมา เมื่อคู่แข่งยอมลดค่าบริการตาม
Robinhood จึงได้หาบริการตัวใหม่ที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดลูกค้าเพิ่มเติม
บริษัทมีความเห็นว่า การลงทุนไม่ควรถูกจำกัดด้วยว่า เรามีเงินต้นอยู่เท่าไหร่
ในปี 2020 จึงจะเปิดให้ลูกค้าซื้อขายได้ตามสัดส่วนเงินลงทุน แทนที่จะเป็นจำนวนหุ้น (Fraction Trade)
ยกตัวอย่าง ถ้าอยากซื้อหุ้นราคาแพงสุดในโลกอย่าง Berkshire Hathaway
เพียง 1 หุ้น เราต้องใช้เงินสูงถึง 10.3 ล้านบาท
แต่บริการนี้ จะทำให้สามารถใช้เงิน 100 บาท เพื่อครอบครอง 0.0000097 หุ้นของบริษัทได้
นอกจากนี้ ยังมีบริการอื่นๆ เช่น การนำเงินปันผลไปลงทุนในหุ้นต่อโดยอัตโนมัติ
หรือการตั้งคำสั่งแบ่งซื้อหุ้นตามช่วงเวลาที่กำหนด
มาถึงตรงนี้ คำถามสำคัญที่ทุกคนน่าจะอยากรู้คือ
แล้ว Robinhood หารายได้มาจากไหน?
คำตอบก็คือ บริษัทต้องสร้างรายได้จากช่องทางอื่นแทน ซึ่งได้แก่
1. ดอกเบี้ยจากเงินที่นักลงทุนฝากไว้
โดยนักลงทุนส่วนใหญ่จะมีการนำเงินที่โอนเข้ามาที่บริษัท แต่ยังไม่ได้ใช้ซื้อขายจริง ระหว่างนั้นบริษัทจึงนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ เช่น ตลาดการเงิน หรือพันธบัตร
แล้วบริษัทจะเก็บผลตอบแทนดอกเบี้ยเอาไว้ เพื่อแลกกับการที่ให้ลูกค้าซื้อขายได้ฟรี
2. ค่าสมัครสมาชิกแบบ Subscription เพื่อใช้บริการพิเศษ
เช่น ลูกค้าที่จ่ายเงิน 200 บาทต่อเดือน จะสามารถกู้ยืมเงินมาลงทุน (Margin Trade) ได้สูงสุด 30,000 บาท หรือเข้าถึงบทวิเคราะห์ตลาดเชิงลึกได้
3. การขายคำสั่งซื้อขาย ไปให้โบรกเกอร์รายอื่นดำเนินการต่อ
โบรกเกอร์เจ้าอื่นบางรายจะมีการรับคำสั่งซื้อขาย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการทำกำไรส่วนต่างราคา และได้ข้อมูลไปวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ซึ่งถ้าลูกค้ายิ่งเทรดกับ Robinhood มาก Robinhood ก็จะยิ่งมีรายได้จากการขายคำสั่งเหล่านั้นไปให้โบรกเกอร์อื่น
ทั้งนี้มีการประเมินว่า Robinhood มีรายได้จากการขายคำสั่งซื้อขาย คิดเป็นสัดส่วน 55% ของทั้งหมด
ในปัจจุบันแพลตฟอร์มของ Robinhood มีลูกค้าอยู่ 10 ล้านบัญชี
และจากการระดมทุนครั้งล่าสุด บริษัทถูกประเมินมูลค่าธุรกิจไว้มากถึง 230,000 ล้านบาท
ซึ่งเทียบได้กับมูลค่าตลาดของธนาคารกรุงไทย ธนาคารใหญ่อันดับ 4 ของประเทศไทย
ทั้งๆ ที่เพิ่งตั้งกิจการมาได้เพียง 6 ปีเท่านั้น..
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเปิดเผยว่าที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรหรือไม่
แต่เราก็อาจจะได้รู้ในอีกไม่นาน เพราะมีการคาดการณ์ว่า Robinhood เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเสนอขายหุ้นต่อมหาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ในปี 2020
จากกรณีศึกษานี้ จะเห็นได้ว่า ไม่มีอะไรที่ยั่งยืนตลอดไปในโลกธุรกิจ
สิ่งที่เคยคิดว่าแน่นอน อย่างค่าคอมมิชชันของโบรกเกอร์
หรือแม้กระทั่งค่าธรรมเนียมธุรกรรมทางการเงินของธนาคาร
มาถึงวันนี้ กำลังถูก DISRUPT ทำให้หายไป
ซึ่งเมื่อมีคนหนึ่งเริ่มการเปลี่ยนแปลงแล้ว
สุดท้ายทุกคนก็ต้องทำตาม จนกลายเป็นมาตรฐานใหม่
เรื่องทั้งหมดนี้ทำให้ผู้ประกอบการในยุคปัจจุบัน
ต้องรีบปรับตัวให้ทัน และตอบสนองต่อคนที่เข้ามาแข่งให้เร็ว
บางคนเลือกที่จะรอวันที่ให้คู่แข่งอ่อนแรงแล้วหายไปเอง
แต่ถ้าเวลาผ่านไป คู่แข่งไม่หายไป
ก็อาจเป็นเรานี่แหละ ที่จะหายไปแทน..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-https://edition.cnn.com/…/robinhood-free-trading…/index.html
-https://fortune.com/2019/12/04/red-flags-for-robinhood/
-https://www.fool.com/…/19/how-does-robinhood-make-money.aspx
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Robinhood_(company)
-https://www.money-zine.com/…/invest…/payment-for-order-flow/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過62萬的網紅Bryan Wee,也在其Youtube影片中提到,...
「charles schwab trading」的推薦目錄:
- 關於charles schwab trading 在 ลงทุนแมน Facebook
- 關於charles schwab trading 在 ลงทุนแมน Facebook
- 關於charles schwab trading 在 JC 財經觀點 Facebook
- 關於charles schwab trading 在 Bryan Wee Youtube
- 關於charles schwab trading 在 Travel Thirsty Youtube
- 關於charles schwab trading 在 スキマスイッチ - 「全力少年」Music Video : SUKIMASWITCH / ZENRYOKU SHOUNEN Music Video Youtube
charles schwab trading 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
กรณีศึกษา Robinhood แอปซื้อขายหุ้นที่มา DISRUPT โบรกเกอร์ /โดย ลงทุนแมน
ถ้าเราเคยซื้อขายหุ้น
เราย่อมรู้จักค่าธรรมเนียมในการซื้อขายที่เรียกว่า “ค่าคอมมิชชัน” ที่เราต้องจ่ายให้โบรกเกอร์
นี่คือต้นทุนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะซื้อ หรือขาย ได้กำไร หรือขาดทุน
แต่รู้หรือไม่ว่าที่ต่างประเทศ
มีสตาร์ตอัปชื่อ “Robinhood” กำลังเข้ามา DISRUPT ธุรกิจโบรกเกอร์ซื้อขายหุ้น
ด้วยการไม่เก็บค่าคอมมิชชัน จนผู้เล่นรายอื่นต้องทำตามเช่นเดียวกัน
เรื่องราวนี้น่าสนใจอย่างไร แล้วบริษัทหารายได้มาจากไหน
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
Robinhood เป็นสตาร์ตอัปด้านอุตสาหกรรมการเงิน (FinTech)
จากประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2013
บริษัทนี้เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มสำหรับซื้อขายหลักทรัพย์ กองทุน ตราสารอนุพันธ์ และเงินดิจิทัล
แต่ด้วยจุดมุ่งหมายที่ต้องการเปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยเข้าถึงโลกแห่งการเงินง่ายขึ้น
จึงได้เสนอบริการที่แตกต่างจากธุรกิจโบรกเกอร์แบบเดิม
นั่นคือ การไม่เก็บค่าคอมมิชชัน..
โดยปกติ บริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ในสหรัฐฯ จะคิดค่าธรรมเนียมเฉลี่ย 200 บาทต่อการซื้อขาย
ซึ่ง Robinhood มองว่า ในเมื่อขั้นตอนทุกอย่างทำด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ มันก็ไม่น่าจะต้องมีค่าบริการ
ทำให้บริษัทตัดสินใจไม่คิดค่าคอมมิชชันกับนักลงทุน
กลยุทธ์ดังกล่าว ได้ส่งผลต่ออุตสาหกรรมโบรกเกอร์ออนไลน์เป็นอย่างมาก
ในเดือนตุลาคม 2019 ที่ผ่านมา เหล่าผู้นำในตลาด เช่น E-Trade, Charles Schwab, TD Ameritrade ต่างพากันประกาศเลิกเก็บค่าคอมมิชชัน เพื่อป้องกันการสูญเสียลูกค้าไปให้กับ Robinhood
รวมทั้งยังส่งผลให้เกิดการควบรวมกิจการระหว่าง Charles Schwab และ TD Ameritrade เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันอีกด้วย
ต่อมา เมื่อคู่แข่งยอมลดค่าบริการตาม
Robinhood จึงได้หาบริการตัวใหม่ที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดลูกค้าเพิ่มเติม
บริษัทมีความเห็นว่า การลงทุนไม่ควรถูกจำกัดด้วยว่า เรามีเงินต้นอยู่เท่าไหร่
ในปี 2020 จึงจะเปิดให้ลูกค้าซื้อขายได้ตามสัดส่วนเงินลงทุน แทนที่จะเป็นจำนวนหุ้น (Fraction Trade)
ยกตัวอย่าง ถ้าอยากซื้อหุ้นราคาแพงสุดในโลกอย่าง Berkshire Hathaway
เพียง 1 หุ้น เราต้องใช้เงินสูงถึง 10.3 ล้านบาท
แต่บริการนี้ จะทำให้สามารถใช้เงิน 100 บาท เพื่อครอบครอง 0.0000097 หุ้นของบริษัทได้
นอกจากนี้ ยังมีบริการอื่นๆ เช่น การนำเงินปันผลไปลงทุนในหุ้นต่อโดยอัตโนมัติ
หรือการตั้งคำสั่งแบ่งซื้อหุ้นตามช่วงเวลาที่กำหนด
มาถึงตรงนี้ คำถามสำคัญที่ทุกคนน่าจะอยากรู้คือ
แล้ว Robinhood หารายได้มาจากไหน?
คำตอบก็คือ บริษัทต้องสร้างรายได้จากช่องทางอื่นแทน ซึ่งได้แก่
1. ดอกเบี้ยจากเงินที่นักลงทุนฝากไว้
โดยนักลงทุนส่วนใหญ่จะมีการนำเงินที่โอนเข้ามาที่บริษัท แต่ยังไม่ได้ใช้ซื้อขายจริง ระหว่างนั้นบริษัทจึงนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ เช่น ตลาดการเงิน หรือพันธบัตร
แล้วบริษัทจะเก็บผลตอบแทนดอกเบี้ยเอาไว้ เพื่อแลกกับการที่ให้ลูกค้าซื้อขายได้ฟรี
2. ค่าสมัครสมาชิกแบบ Subscription เพื่อใช้บริการพิเศษ
เช่น ลูกค้าที่จ่ายเงิน 200 บาทต่อเดือน จะสามารถกู้ยืมเงินมาลงทุน (Margin Trade) ได้สูงสุด 30,000 บาท หรือเข้าถึงบทวิเคราะห์ตลาดเชิงลึกได้
3. การขายคำสั่งซื้อขาย ไปให้โบรกเกอร์รายอื่นดำเนินการต่อ
โบรกเกอร์เจ้าอื่นบางรายจะมีการรับคำสั่งซื้อขาย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการทำกำไรส่วนต่างราคา และได้ข้อมูลไปวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ซึ่งถ้าลูกค้ายิ่งเทรดกับ Robinhood มาก Robinhood ก็จะยิ่งมีรายได้จากการขายคำสั่งเหล่านั้นไปให้โบรกเกอร์อื่น
ทั้งนี้มีการประเมินว่า Robinhood มีรายได้จากการขายคำสั่งซื้อขาย คิดเป็นสัดส่วน 55% ของทั้งหมด
ในปัจจุบันแพลตฟอร์มของ Robinhood มีลูกค้าอยู่ 10 ล้านบัญชี
และจากการระดมทุนครั้งล่าสุด บริษัทถูกประเมินมูลค่าธุรกิจไว้มากถึง 230,000 ล้านบาท
ซึ่งเทียบได้กับมูลค่าตลาดของธนาคารกรุงไทย ธนาคารใหญ่อันดับ 4 ของประเทศไทย
ทั้งๆ ที่เพิ่งตั้งกิจการมาได้เพียง 6 ปีเท่านั้น..
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเปิดเผยว่าที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรหรือไม่
แต่เราก็อาจจะได้รู้ในอีกไม่นาน เพราะมีการคาดการณ์ว่า Robinhood เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเสนอขายหุ้นต่อมหาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ในปี 2020
จากกรณีศึกษานี้ จะเห็นได้ว่า ไม่มีอะไรที่ยั่งยืนตลอดไปในโลกธุรกิจ
สิ่งที่เคยคิดว่าแน่นอน อย่างค่าคอมมิชชันของโบรกเกอร์
หรือแม้กระทั่งค่าธรรมเนียมธุรกรรมทางการเงินของธนาคาร
มาถึงวันนี้ กำลังถูก DISRUPT ทำให้หายไป
ซึ่งเมื่อมีคนหนึ่งเริ่มการเปลี่ยนแปลงแล้ว
สุดท้ายทุกคนก็ต้องทำตาม จนกลายเป็นมาตรฐานใหม่
เรื่องทั้งหมดนี้ทำให้ผู้ประกอบการในยุคปัจจุบัน
ต้องรีบปรับตัวให้ทัน และตอบสนองต่อคนที่เข้ามาแข่งให้เร็ว
บางคนเลือกที่จะรอวันที่ให้คู่แข่งอ่อนแรงแล้วหายไปเอง
แต่ถ้าเวลาผ่านไป คู่แข่งไม่หายไป
ก็อาจเป็นเรานี่แหละ ที่จะหายไปแทน..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-https://edition.cnn.com/2019/12/13/investing/robinhood-free-trading-fractional-shares/index.html
-https://fortune.com/2019/12/04/red-flags-for-robinhood/
-https://www.fool.com/investing/2018/03/19/how-does-robinhood-make-money.aspx
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Robinhood_(company)
-https://www.money-zine.com/definitions/investing-dictionary/payment-for-order-flow/
charles schwab trading 在 JC 財經觀點 Facebook 八卦
今天美國券商股雪崩摟~
嘉信理財預計要取消線上股票交易佣金-零手續費
E*Trade (NASDAQ:ETFC) sinks 14%, TD Ameritrade (NASDAQ:AMTD) slides 14%, Interactive Brokers (IEX:IBKR) falls 4.6%, and Charles Schwab (NYSE:SCHW) falls 6.1% after Schwab announces that it will reduce U.S. stock, ETF, and options online trade commissions from $4.95 to zero, starting Oct. 7, 2019.
https://www.investors.com/news/schwab-stock-dives-unveils-zero-fee-stock-trades-tdameritrade-etrade-ibkr-plunge/