QGEN - HR Practice Provider
เป้าหมายของการบริหารคนขององค์กรคือการดึงศักยภาพที่ดีที่สุดของพนักงานออก เพื่อสร้างประโยชน์ให้เกิดกับองค์กร และให้ผลตอบแทนคุณค่าที่พนักงานเหล่านั้นมีให้กับองค์กร ทั้งที่เป็นตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงิน
จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้า Social Movement ในบริบทต่าง ๆ ของสังคม เป็นส่วนหนึ่งของการ "สร้างและทำลาย" แรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่จะขับเคลื่อนศักยภาพ ประสิทธิภาพของการทำงานของพนักงานในองค์กร และถ้า Keyword ที่สำคัญคือ องค์กรเปิดกว้างแค่ไหนให้พนักงานแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับ Social Movement ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน พนักงานเองมองอย่างไรบ้างกับการ 3P คือ Policy (นโยบาย) Practice (แนวปฏิบัติ) และ Precedent (การเป็นแบบอย่าง) ขององค์กร Leader และผู้ร่วมงาน ที่มีต่อบริบทของสังคมที่อาจจะกำลังต้องการการเปลี่ยนแปลง
ในสภาวะที่งานก็ยังต้องทำ และยังอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปพร้อม ๆ กัน Social Movement จึงเป็นสิ่งที่สังคมการทำงานเองก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่จะบริหารจัดการอย่างไรให้ Win-Win ยิ่งในยุคที่การติดต่อสื่อสารมีเทคโนโลยี แพลตฟอร์มที่เอื้อต่อการแสดงความคิดเห็นได้มากยิ่งขึ้น พร้อม ๆ กับข้อสังสัยที่เกิดขึ้นกับสังคมในบริบท
Social Movement หรือความเคลื่อนไหวทางสังคม คือการที่กลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง มีแนวความคิด ความเชื่อ หรือลักษณะต่าง ๆ ที่เหมือนกัน ออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้อง และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นภายในสังคม โดยมีจุดประสงค์ที่จะเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียม และความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
ตัวอย่างของ Social Movement ที่ทุกคนรู้จักกันดีมีมากมาย เช่น การเรียกร้องสิทธิพลเมืองของคนผิวสีในสหรัฐอเมริกา ช่วง ค.ศ. 1955 -1968 เหตุการณ์อาหรับสปริงส์ในตะวันออกกลาง การลดการใช้หลอดและถุงพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อม แม้กระทั่งเหตุการณ์ Black Lives Matter หรือ Pride Month ของกลุ่ม LGBTQ+ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ส่วน Social Movement สำคัญของไทยที่ทุกคนจดจำกันได้ คือ การเคลื่อนไหวนักศึกษาไทยในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน Social Movement ยังคงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และในอนาคตก็จะต้องเกิด Social Movement ใหม่ ๆ ขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ เมื่อมองกลับมาถึงการเคลื่อนไหวของนักศึกษาและประชาชนไทยในปัจจุบัน ถือเป็นอีกหนึ่ง Social Movement ที่มีผลกระทบต่อสังคมในช่วง 2-3 ปีที่ผ่าน
นี่คือที่มาที่ทำให้ QGEN มองเห็นแนวโน้ม ความเชื่อมโยง และตั้งข้อสงสัยว่า Social Movement ในประเด็นที่เกี่ยวเรื่องการสถานการณ์ทางการเมืองนั้น การแสดงออกของพนักงานมีผลในแง่ใดบ้างกับชีวิตการทำงาน
ทำงานร่วมกันได้หรือไม่ถ้าเราคิดไม่ตรงกัน องค์กรเปิดกว้างแค่ไหนถ้าหากเราแสดงความคิดเห็นในพื้นที่แจ้ง จะส่งผลหรือไม่กับความเป็นอยู่และความมั่นคงในองค์กร
และยิ่งในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน Generation พนักงานซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ใน Gen Z ได้เข้ามาสู้ตลาดแรงงานและร่วมงานเป็นจำนวนที่มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะองค์กรที่มีขนาดใหญ่ จะมีพนักงานหลากหลาย Generation ไม่ว่าจะเป็น Baby Boom, Gen X, Gen Y และ Gen Z ทำงานร่วมกันแต่ละ Generation มีแนวคิดและความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่ทุกคนจำเป็นที่จะต้องอยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน รวมถึงสังคมการทำงานด้วยเช่นกัน
QGEN Consultant จึงได้ทำการสำรวจการแสดงทัศนคติทางการเมืองภายในสถานที่ทำงาน เพื่อที่จะศึกษาถึงมุมมอง ความคิดเห็น และประสบการณ์ของการแสดงออกทางการเมืองภายในสถานที่ทำงาน เพื่อหวังว่าจะเป็นแนวทางในการสร้างความเข้าใจในความแตกต่างที่อาจจะมีมากขึ้น และใช้ความแตกต่างเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์กับทั้งองค์กร และคนทำงาน
ติดตามผลการสำรวจนี้ได้ในวันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม 2564 ครับ
#QGroup
#QGEN
boom 1968 在 Trần Phương Store Facebook 八卦
Chán lắm rồi. Tối nay 20h30 khui boom chị em ủn mông em cái nhé
Tặng hết
boom 1968 在 Culture Trip Facebook 八卦
This Danish lighthouse, half buried in a sand dune after a rough storm hit its shore in 1968, has recently been re-opened, and equipped with a massive kaleidoscope at its top by a Bessards’ Studio + JaJa Architects. Needless to say, it's quite magical:
📷 h/t Design Boom