#คัดค้านนำเข้าเศษพลาสติก !!!
แบบสั้นๆ
-จีนเลิกนำเข้าขยะ เลยตกมาถึงไทย ซึ่งนำเข้าจำนวนมากติดกันมา 2 ปีแล้ว หลักๆคือเพื่อเอาไปป้อนโรง Recycle และเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรม
- กระบวนการ Recycle ขยะในประเทศ เลยไม่กระเตื้อง เพราะ ขยะimport ราคาถูก และคุณภาพดีกว่า (เพราะเราไม่มีกระบวนการคัดแยกขยะที่ดี) มีผลต่อตลาดขายขยะในประเทศ
-11 ก.ย. จะมีการพิจารณา ให้มีการต่อให้นำเข้าเป็นปีที่ 3 เลยชวนมาค้านดีกว่า เพราะนั่นคือกระบวนการ recycle ขยะในประเทศจะไม่ได้รับการพัฒนาเลย แล้วเราก็ไปกลายเป็นจัดการขยะให้ประเทศอื่นแทน และการจัดการขยะในประเทศควรพัฒนาดีกว่านี้ได้แล้ว
ส่วนแบบยาว ข้อเสนอคืออะไร หน่วยงานไหนรับผิดชอบ เชิญอ่านแบบยาวววววว ข้างล่างเลยจ้า
----------------------
แบบยาวววววววววววว
แถลงการณ์
ข้อเสนอต่อมาตรการห้าม/ควบคุมการนำเข้าเศษพลาสติกและการพัฒนาระบบคัดแยกขยะในประเทศให้ได้คุณภาพดีขึ้น
.
สืบเนื่องจากที่สาธารณรัฐประชาชนจีนประสบปัญหาการลักลอบนำเข้าสารอันตรายที่ปะปนมากับขยะพลาสติกและขยะอื่นหลายชนิดที่นำมาเป็นวัตถุดิบเพื่อรีไซเคิลและผลิตสิ่งของในประเทศ จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐบาลจีนจึงออกประกาศห้ามนำเข้าขยะจากต่างประเทศเป็นการเร่งด่วน 24 รายการ (ต่อมาประกาศเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 32 รายการ) มาตรการนี้ส่งผลให้ขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลไหลทะลักไปสู่ประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย (Interpol, 2020 ) จากข้อมูลการนำเข้าเศษพลาสติกของประเทศไทย พบว่า ในปี 2561 มีการนำเข้าเศษพลาสติกสูงถึง 552,912 ตัน เทียบกับปี 2559 ก่อนประเทศจีนประกาศห้าม มีการนำเข้ามาเพียง 69,500 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า นอกจากนี้ ยังพบกรณีการลักลอบนำเข้าขยะพลาสติกปนเปื้อนและขยะอิเล็กทรอนิกส์สูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย ดังจะเห็นได้จากข่าวการตรวจจับการนำเข้าอย่างผิดกฎหมายที่ท่าเรือและโรงงานรีไซเคิลหลายแห่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดกระแสการต่อต้านจากประชาชน และนำมาสู่การเร่งผลักดันให้มีมาตรการควบคุมการนำเข้าขยะอย่างจริงจังในเวลาต่อมา
.
คณะอนุกรรมการเพื่อบูรณาการการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างเป็นระบบ ซึ่งรัฐบาลแต่งตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561 และได้มีมติให้ยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกภายใน 2 ปี โดยช่วงผ่อนผันนี้ มีการกำหนดโควตาการนำเข้าคือ ปีที่ 1 นำเข้าได้ไม่เกิน 70,000 ตัน แบ่งเป็นพลาสติก PET 50,000 ตัน และพลาสติกชนิดอื่นรวม 20,000 ตัน และมีเงื่อนไขให้ใช้เศษพลาสติกภายในประเทศร่วมด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ในปีที่ 2 ให้นำเข้าได้ไม่เกิน 40,000 ตัน และให้นำเศษพลาสติกภายในประเทศมาใช้ร่วมด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และปีที่ 3 ห้ามนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ โดยใบอนุญาตนำเข้าตามโควตาดังกล่าวจะสิ้นสุดทั้งหมดในวันที่ 30 กันยายน 2563
.
แต่ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้พยายามขอนำเข้าเศษพลาสติกต่อไปโดยให้เหตุผลว่า วัตถุดิบที่มีภายในประเทศไม่เพียงพอ คุณภาพต่ำ และมีการปนเปื้อนสูง ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ก็สนับสนุนข้อนี้โดยแสดงเจตจำนงในที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 ว่า ผู้นำเข้าต้องการโควตานำเข้าพลาสติกอีก 6.5 แสนตันในปี 2564 อย่างไรก็ดี ที่ประชุมได้ให้ กรอ. ไปสำรวจความต้องการของโรงงานและนำเสนอข้อมูลว่าผู้ประกอบการต้องการใช้จริงเท่าไหร่ ประเภทใดบ้าง และจำเป็นต้องนำเข้าเท่าไหร่ เพื่อประกอบการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 11 กันยายนนี้
.
เครือข่ายภาคประชาสังคมมีความห่วงใยต่อประเด็นดังกล่าวที่อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการแก้ปัญหาขยะภายในประเทศ จึงได้ออกแถลงการณ์เพื่อนำเสนอข้อคิดเห็นและข้อเรียกร้องต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ให้ “ยืนยันมติเดิม” ของคณะอนุกรรมการฯ เมื่อปี 2561 ที่ “กำหนดให้ประเทศไทยยกเลิกการนำเข้าขยะหรือเศษพลาสติกและซากอิเล็กทรอนิกส์ 100% ภายในปี 2563” ด้วยเหตุผลและข้อเสนอต่อไปนี้
.
1. รัฐบาลให้ระยะเวลาผู้ประกอบการนำเข้าเศษพลาสติกมาแล้ว 2 ปี และได้แจ้งเป้าหมายที่จะยกเลิกการนำเข้าในปีที่ 3 ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้น ผู้นำเข้าควรมีการปรับตัวหรือปรับแผนธุรกิจเพื่อลดการนำเข้าและเพิ่มสัดส่วนการใช้เศษพลาสติกในประเทศให้มากขึ้น หากรัฐบาลเปลี่ยนเป้าหมายที่เคยประกาศไว้จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและจะกระทบกับเป้าหมายตาม Roadmap การจัดการขยะพลาสติกที่ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะและนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ 100% ภายในปี 2570
.
2. คณะอนุกรรมการฯ ไม่ควรให้มีการสำรวจโดยอ้างอิงความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมและความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าพลาสติกชนิดใดก็ตาม เพราะผู้ประกอบการสามารถแจ้งความต้องการในปริมาณสูงไว้ก่อนเพื่อจะนำเข้าได้มากและเพื่อลดต้นทุนของตัวเอง การสำรวจควรจะอิงปริมาณที่เคยนำเข้าในอดีต เช่น ข้อมูลสถิติการนำเข้าเศษพลาสติกรวมก่อนปี 2561 ย้อนหลัง 5 ปี คือระหว่าง 2556-2560 อยู่ที่ 74,421 ตันเท่านั้น และควรให้กรมศุลกากรกำหนดรหัสโดยเฉพาะสำหรับเศษพลาสติก PET ในกลุ่มพิกัด 391590 เพื่อการควบคุมอย่างเข้มงวดในการห้ามนำเข้าโดยเด็ดขาดเพราะวัตถุในประเทศไทยมีจำนวนมากจนล้นตลาด
.
3. แม้ในช่วงปีพ.ศ. 2561-2562 จะเป็นช่วงผ่อนผันที่กำหนดโควตาการนำเข้าไม่เกิน 70,000 ตันในปีที่ 1 (2561/2562) และให้นำเข้าได้ไม่เกิน 40,000 ตันในปีที่ 2 (2562/2563) แต่ข้อมูลสถิติการนำเข้าเศษพลาสติก พิกัด 3915 พบว่า ในปี 2562 มีการนำเข้าถึง 323,167 ตัน และในปี 2563 (มกราคม-กรกฎาคม) นำเข้า 96,724 ตัน แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนของมาตรการกำกับการนำเข้าเศษพลาสติกด้วยการกำหนดโควตาของภาครัฐ
.
4. หากมีการอนุญาตนำเข้า ให้อนุญาตเฉพาะการนำเข้า “เม็ดพลาสติกใหม่หรือเม็ดพลาสติกรีไซเคิล” เท่านั้น ซึ่งสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตได้เลย โดยห้ามการนำเข้าเศษพลาสติกชนิดอัดก้อนโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตนำเข้าจะต้องมีใบรับรองคุณภาพมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และจะต้องใช้พลาสติกคัดแยกภายในประเทศเป็นวัตถุดิบร่วมในกระบวนการรีไซเคิลด้วย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของกำลังการผลิตที่แท้จริง โดยผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตนำเข้าจะต้องมีหลักฐานในการแสดงเพื่อพิสูจน์ว่าข้อมูลเหล่านี้มีความสอดคล้องกันตามความเป็นจริง ดังนี้ (1) แสดงงบดุลการซื้อ, งบดุลการขาย, งบดุลการเสียภาษีสรรพากร ย้อนหลัง 3 ปีจากปี 2562 และ (2) แสดงตัวเลขการส่งออกและตัวเลขกำลังการผลิตที่แท้จริง ย้อนหลัง 3 ปีจากปี 2562
.
5. กรอ. และผู้นำเข้าไม่ควรอ้างว่า พลาสติกรีไซเคิลในประเทศมีราคาแพงกว่า เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่การจัดการขยะให้ได้มาตรฐานมากขึ้น การรวบรวมขยะพลาสติกในประเทศจึงยังขาดระบบที่ดี ทำให้มีต้นทุนการรวบรวมสูง นอกจากนี้ ก็ไม่ควรนำคุณภาพของขยะคัดแยกไทยไปเปรียบเทียบกับเศษพลาสติกจากต่างประเทศ ซึ่งประเทศเหล่านั้นมีกฎหมายที่ใช้หลักการ Extended Producer Responsibility หรือ EPR ที่กำหนดให้ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบจัดระบบเรียกคืนขยะบรรจุภัณฑ์ร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งมีการดำเนินการมานานกว่า 20 ปีแล้ว ยิ่งกว่านั้นประเทศผู้ส่งออกไม่ยอมลงทุนการรีไซเคิลพลาสติกในประเทศตัวเองเพราะค่าแรงงานและต้นทุนการดูแลสิ่งแวดล้อมสูง ปัจจุบันเมื่อจีนห้ามนำเข้าขยะพลาสติก ประเทศผู้ส่งออกจึงต้องหาแหล่งรองรับขยะแห่งใหม่ จึงมีการลดราคาขยะพลาสติกหรือแม้แต่ลักลอบนำเข้าไปกำจัดยังประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ราคานำเข้าถูกกว่าราคาขยะในประเทศอย่างมาก ดังนั้น ข้ออ้างที่ว่าพลาสติกรีไซเคิลในประเทศมีราคาแพงกว่า จึงเป็นข้ออ้างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศผู้ส่งและผู้นำเข้าไม่กี่ราย โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย
.
6. เนื่องจากขยะพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาถูกมากจนส่งผลกระทบต่อราคาพลาสติกรีไซเคิลในประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีราคาที่ต่ำอย่างมากแล้ว (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2563 ราคารับซื้อ PET แบบไม่แกะฉลากอัดก้อน อยู่ที่ 8.48 บาทต่อกิโลกรัม เทียบกับเดือนเดียวกัน ปี 2561 อยู่ที่ 13.05 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้น) ปัญหาดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและกำลังใจในการทำงานของกลุ่ม “ซาเล้ง” ประมาณ 1.5 ล้านคน และร้านรับซื้อของเก่าทั้งประเทศที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทยอีก 30,000 ร้านค้า ทั้งนี้ ปัญหาราคารับซื้อขยะคัดแยกในประเทศที่ตกต่ำอย่างมาก ทำให้ผู้ประกอบกิจการซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าจำนวนมากต้องเลิกประกอบอาชีพนี้ ดังนั้นการเปิดให้นำเข้าเศษพลาสติกอีกหลายแสนตันในปีหน้าจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก
.
7. จากข้อมูลของสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า พบว่า ปริมาณพลาสติกเพื่อรีไซเคิลที่เก็บรวบรวมได้ในประเทศ รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.6 ล้านตันต่อปี ปริมาณนี้จึงเพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ในส่วนข้ออ้างเรื่องการปนเปื้อนหรือความไม่สะอาดนั้น ภาครัฐและภาคเอกชนควรร่วมกันเร่งหามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวมากกว่าการเลี่ยงปัญหาโดยการนำเข้าจากต่างประเทศ การแก้ปัญหาด้วยการนำเข้ายังสวนทางกับนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนของประเทศไทยเอง
.
8. ที่ประชุมภาคีสมาชิกอนุสัญญาบาเซลฯ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2562 ได้มีมติกำหนดให้ขยะพลาสติกเป็นของเสียอันตรายที่ต้องมีการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนตามอนุสัญญาฉบับนี้ ดังนั้น รัฐบาลไทยควรเร่งเตรียมความพร้อมในการเพิ่มเติมรายการที่ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดของอนุสัญญาบาเซลฯ และควรเร่งการให้สัตยาบันข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลฯ (Ban Amendment) เพื่อเพิ่มมาตรการป้องกันการนำเข้าส่งออกของเสียอันตราย ซึ่งรวมถึงขยะพลาสติกอย่างเข้มงวดมากขึ้น
.
9. รัฐบาลควรมีมาตรการตรวจสอบ กำกับ ติดตาม และดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น (1) เมื่อวัตถุดิบเข้ามาในประเทศไทย จะต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบทำการตรวจสอบทุกครั้งโดยทันทีที่วัตถุดิบมาถึงโรงงาน คือ อุตสาหกรรมจังหวัด, สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด, สาธารณสุขจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในการอนุมัติรับทราบ, (2) กรณีวัตถุดิบนำเข้าสำแดงเท็จ และถูกจับได้ชิพปิ้งและผู้นำเข้า ถูกเพิกถอนใบอนุญาตทันที, (3) กรณีวัตถุดิบนำเข้าสำแดงเท็จและถูกจับได้ และสินค้าอยู่ภายในโรงงาน โรงงานอุตสาหกรรมนั้น ต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นเวลา 10 ปี, (4) กรณีประชาชนเกิดผลกระทบและเข้าร้องเรียนความเดือดร้อนกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถสั่งระงับการดำเนินการหรือระงับการต่อใบอนุญาตโรงงานได้
.
ข้อเสนอต่อการเพิ่มอัตราการเก็บรวบรวมพลาสติกรีไซเคิลในประเทศ
1. กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร และ อปท.ในเมืองใหญ่ที่มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่นและเป็นแหล่งกำเนิดขยะขนาดใหญ่ต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดระบบเก็บขยะแบบแยกประเภท โดยเริ่มจากพื้นที่ที่มีแหล่งกำเนิดเริ่มแยกขยะอยู่แล้ว จัดระบบทั้ง drop-off และ pick-up หรือ curbside collection รวมทั้งการจัดกิจกรรมตลาดนัดขยะรีไซเคิลอย่างสม่ำเสมอ
.
2. กำหนดให้ อปท. ร่วมกับภาคเอกชนสนับสนุนให้ร้านรับซื้อของเก่ามีการจัดการสภาพร้านหรือแหล่งรับซื้อที่ดี ส่งเสริมให้เข้าระบบ application ที่เชื่อมต่อระหว่างแหล่งกำเนิดกับร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่ (pick-up service) อปท. มีมาตรการส่งเสริมให้ร้านรับซื้อของเก่าให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมจัดกิจกรรมตลาดนัดขยะรีไซเคิลและธนาคารขยะในพื้นที่ร่วมกับ อปท. โดยมีการจัดสรรรายได้ที่เหมาะสม
.
3. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมออกกฎหมายพื้นฐานเพื่อสร้างสังคมรีไซเคิลและระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน กำหนดบทบาทหน้าที่ของกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น และนำหลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR) มาใช้เพื่อกำหนดความรับผิดชอบของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย อปท. และผู้บริโภคต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบเก็บรวบรวมขยะบรรจุภัณฑ์ กำหนดเป้าหมายการเก็บรวบรวมที่ชัดเจนในแต่ละปี เพื่อลดความจำเป็นที่ต้องนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
.
รายชื่อเครือข่ายภาคประชาสังคมที่สนับสนุนความเห็นและข้อเรียกร้องในแถลงการณ์
1. มูลนิธิบูรณะนิเวศ
2. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
3. กรีนพีซ ประเทศไทย
4. สมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า
5. แผนงานขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน สสส.
6. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. ดร.เพชร มโนปวิตร เจ้าของเพจ “Rereef”
8. เจ้าของเพจ “ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป”
9. กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch)
10. กลุ่มคนรักษ์ต้นน้ำจังหวัดราชบุรี ต.น้ำพุ อ.เมือง จ.ราชบุรี
11. กลุ่มคนคลองบางป่า ต.บางป่า อ.เมือง จ.ราชบุรี
12. กลุ่มเรารักษ์ท่าถ่าน-บ้านซ่อง ต.ท่าถ่าน และ ต.บ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
13. กลุ่มเรารักษ์พนม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
14. กลุ่มเรารักพุม่วง ตำบลหนองชุมพล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
15. เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก
16. เครือข่ายปกป้องผืนป่าตะวันออก
17. เครือข่ายประชาชนศึกษาและติดตามปัญหาขยะ
18. เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จังหวัดฉะเชิงเทรา /ชลบุรี / ระยอง / ปราจีนบุรี / สระแก้ว / นครนายก / ราชบุรี / เพชรบุรี
19. สมัชชาแปดริ้วเมืองยั่งยืน
20. องค์กรชุมชนตําบลหนองชุมพลเหนือ ต.หนองชุมพลเหนือ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี
21. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ (Foundation for AIDS Right)
22. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
23. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน
24. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
25. มูลนิธิเครือข่ายอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก
26. มูลนิธิสถาบันปฏิปัน
27. มูลนิธิสืบศักดิ์สิน แผ่นดินสี่แคว
28. สมาคมพัฒนาชุมชนยั่งยืน นครสวรรค์
29. ศ. (เกียรติคุณ) สุริชัย หวันแก้ว
30. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์)
31. มูลนิธิสุขภาพไทย
32. คณะทำงานติดตามความรับผิดชอบข้ามการลงทุนข้ามพรมแดน (ETOs Watch Coalition)
33. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
34. มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
35. มูลนิธิโลกสีเขียว
36. มูลนิธิชีววิถี
37. แนวร่วมปฏิวัติขยะสุพรรณบุรี
38. Less Plastic Thailand
39. มูลนิธิเพื่อนหญิง
40. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
41. มูลนิธิสระแก้วสีเขียว
42. สำนักข่าวธรรมรัฐจังหวัดสระแก้ว
43. บงกช ภูษาธร ประชาชนกรุงเทพมหานคร
44. วริศรา เมฆานนท์ชัย ประชาชนกรุงเทพมหานคร
45. กลุ่มรวมพลังคนรักบ้านเกิดบางโทรัด
46. Bye Bye Plastic Bags (Thailand)
47. เถื่อน channel
48. เครือข่ายวงษ์พาณิชย์
49. บริษัท ธาอีส อีโคเลทเธอร์ จำกัด
50. กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
51. สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพัน์แห่งประเทศไทย
52. เครือข่ายอากาศสะอาด
53. วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ social activist artist จาก เพจ WISHULADA
54. กลุ่มรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต.คลองกระแชง อ.เมือง จ.เพชรบุรี
55. กลุ่มคนรักบ้านเกิด ต.ท่าเสน อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
56. กลุ่มสิ่งแวดล้อมภาคประชาชน ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
57. กลุ่มคนสองแคว ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
58. กลุ่มเพื่อนรักจักรยานบ้านพี่โสเพ็ชร์บุรี ต.บ้านหม้อ อ.เมือง จ.เพชรบุรี
59. ภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหาร (องค์กรเพื่อผู้บริโภค)
60. SOS Earth
61. Refill Station
62. Little Big Green
63. ศูนย์เรียนรู้เฝ้าระวังและปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อ.เมือง จ.ระยอง
64. ดร. อาภา หวังเกียรติ มหาวิทยาลัยรังสิต
65. Greenery
.
#คัดค้านนำเข้าเศษพลาสติก
同時也有13部Youtube影片,追蹤數超過6萬的網紅網上學習平台Beginneros,也在其Youtube影片中提到,#反送中 #香港 #HongKong #Antielab 反對《逃犯條例》修訂草案運動已經持續了幾個月,這幾個月形勢和情況不斷變化。Beginneros整理了六、七月的反送中的影片和部份新聞片段,回憶一下這兩個月發生的事。 Hong Kong Anti-Extradition Law Amendm...
「25 amendment」的推薦目錄:
- 關於25 amendment 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook
- 關於25 amendment 在 文茜的世界周報 Sisy's World News Facebook
- 關於25 amendment 在 印度神尤遊印度 Facebook
- 關於25 amendment 在 網上學習平台Beginneros Youtube
- 關於25 amendment 在 memehongkong Youtube
- 關於25 amendment 在 Campus TV, HKUSU 香港大學學生會校園電視 Youtube
- 關於25 amendment 在 Grey Reads The 25th Amendment - YouTube 的評價
25 amendment 在 文茜的世界周報 Sisy's World News Facebook 八卦
0109紐約時報
*【裴洛西稱,如果川普不立即辭職,眾議院將彈劾他】
#在與民主黨同僚進行3.5小時的通話後,裴洛西指示法規委員會進行,提出彈劾動議或由馬里蘭州民主黨代表Jamie Raskin發起的立法,以建立一個隸屬於民主黨的機制,宣布啟用憲法第25條修正案
#Twitter週五表示,”由於可能進一步煽動暴力,已將川普總統的服務永久性中止“,有效地使川普脫離了他最喜歡與公眾溝通的方式,
#阿拉斯加共和黨參議員麗莎·默科夫斯基是首位要求川普總統下台的共和黨員,甚至暗示如果共和黨繼續與川普保持一致,她可能會離開共和黨。
#拜登宣布,川普決定不參加1月20日的就職典禮是“一件好事”,並表示總統“甚至超越了我對他的最糟糕的想法。”但關於是否彈劾川普,拜登交由國會決定。
#眾議院於2019年12月對川普進行彈劾,指控他濫用職權和妨礙國會,與他試圖向烏克蘭施壓拜登。至今沒有美國總統兩次被彈劾過。但是《憲法》似乎沒有任何內容可以阻止國會再次對一系列新指控進行彈劾,時間緊迫,不過並非不可能。
#白宮陷入更深的危機,川普表示他不會參加拜登的就職典禮。
#司法部拒絕指控川普有煽動暴動的情形。
#聯邦執法官員對暴力事件進行徹底調查,一名闖入裴洛西議長辦公室大搖大擺坐在她辦公桌前的男子因此被捕。
#一位熟悉初步檢查的官員說,週三下午曾在民主黨和共和黨總部大樓附近發現裝有粗製的機械計時裝置,這表明他們本打算引爆炸彈。
#川普支持者抨擊南卡羅來納州參議員Lindsey Graham是叛徒,他原本是川普在參院最親密的盟友,但卻因不支持持暴力示威與總統決裂。
#國會大廈降半旗,以紀念在暴民襲擊後死亡的警察。
#為了保護州議會大廈,華盛頓州啟動了國民警衛隊。
#一支由互聯網偵探組成的業餘隊伍,正在追蹤參與國會暴動的群眾。
#美國外交官敦促國務院官員,針對暴力事件,“明確譴責川普總統的行為”。
https://www.nytimes.com/live/2021/01/08/us/trump-biden
*【對美國民主燈塔形象的一記重擊】
法國總統馬克洪用英語宣佈“我們相信民主制度的力量,我們相信美國民主制度的力量”。但就在川普的總統任期即將結束時,這位法國領導人被迫宣佈,他相信美國民主的韌性,這個舉動非同一般,馬克洪想表達更廣義的觀點:那些試圖在華盛頓破壞美國權力和平過渡、忠於川普的暴民,也對所有的民主國家構成威脅。
https://cn.nytimes.com/world/20210108/macron-merkel-trump-capitol-democracy/
*【一文讀懂能罷免總統的憲法第25修正案】
週三一群暴民入侵國會大廈之後,根據憲法第25修正案的喪失能力條款剝奪特朗普總統職權的呼聲在國會中日漸高漲。該修正案為從現任總統手中奪取權力提供了複雜而艱難的程式。憲法第25修正案的主要目的是闡明總統的繼承順序。前三節涉及總統辭職、死亡、患病或暫時喪失能力的情況。第四節則是一個多步驟程式,讓副總統和領導行政機構的多數官員宣佈總統“不能履行其職務的權力與責任”。這一程式最終需要得到國會兩院三分之二投票的支援。
https://cn.nytimes.com/usa/20210108/what-is-the-25th-amendment-and-how-does-it-work/
*【紐約將開始允許基本工人和75歲以上的人接種疫苗】
為了減輕未使用冠狀病毒疫苗積壓的壓力,紐約州長古莫宣布,擴大施打資格的群眾,使其人數增加300萬,其中包括75歲以上的人。
https://www.nytimes.com/2021/01/08/nyregion/nyc-coronavirus-vaccine-delays.html
*【Covid-19實時更新】
#官員說有關新的美國病毒變種的報導不正確。錯誤的報告起源於最近的一次會議,白宮冠狀病毒特別工作組成員伯克斯博士展示了該國不斷上升的病例圖。她向工作隊的其他成員建議,起源於美國的新的,更易於傳播的變體可以解釋這一激增,就像英國的另一個變體一樣。疾病控制和預防中心的研究人員正在監測冠狀病毒的所有新出現的變種,包括在11月和12月收集的5700個樣品中,”該機構發言人Jason McDonald說。他說:“迄今為止,美國疾病預防控制中心的研究人員和分析人員都沒有看到過一種特定變體的出現。”
#拜登計劃釋放幾乎所有可用的疫苗劑量,以加快交貨速度。拜登過渡政府說,這一決定是一項積極努力的一部分,以“確保最需要它的美國人盡快得到它”。而疫苗接種計劃將在下周正式公佈,其中還將包括聯邦政府在高中體育館和運動場等地方的疫苗接種地點。
#我們相信,隨著一月份的到來,情況會變得更糟。美國首席傳染病專家佛奇博士在元旦後接受採訪時才說。結果很快就證明了他是對的:情況立即變得更糟。美國連續第二天創下每日報告死亡人數記錄:至少4,111例。
#輝瑞公司說,它的疫苗可抵抗在英國和南非發現的變異體中的關鍵突變之一。
#美國三名高級衛生官員決定反對川普的暴動辭職。
#科學家研究,英國去年三月首次大流行封鎖之時,已有1000多人攜帶冠狀病毒進入該國,並感染了其他人。作者寫道,其他國際旅行率很高的國家,例如美國,在大流行的頭幾個月中可能也有類似數量的病毒傳入。設在牛津大學和愛丁堡大學的研究人員分析了Covid-19 Genomics UK聯盟,彙編的50,000多套基因組。在該國早期開始感染鏈條的被感染旅行者中,約有75%來自西班牙,法國或義大利。不到1%來自中國。
#英國批准了由Moderna開發的Covid-19疫苗的緊急批准,這是該疫苗被批准在該國使用的第三支疫苗。
#澳洲第三大城市布里斯班報告了首例高度可傳播的冠狀病毒變種,宣布為期三天的封鎖。
#發現兩種關節炎藥物可減少重症Covid患者的死亡。英國政府週五發布了新的指導方針,鼓勵醫療保健提供者使用兩種關節炎藥物來治療重症Covid-19病患者,此前尚未發表在科學雜誌上的臨床試驗發表了有希望的數據。該論文報告說,包括藥物tocilizumab或sarilumab在內的治療方案將重症監護病房的Covid患者的死亡率降低至約27%,而未服用藥物的患者的死亡率為36%。根據這些結果,每12名接受該藥物早期治療的ICU患者可避免約1例死亡。
#歐盟還獲得了3億劑輝瑞BioNTech疫苗。
#紐約市警察局局長Dermot F. Shea的冠狀病毒檢測結果呈陽性。
#美國在12月失業人口達14萬,這是自4月以來的首次下降。失業率6.7%,較4月份的近15%大幅下降,但仍接近去年同期3.5%的兩倍。
https://www.nytimes.com/live/2021/01/08/world/covid-19-coronavirus
25 amendment 在 印度神尤遊印度 Facebook 八卦
新德里24號爆發大規模的流血騷亂
25號的那天晚上
我的剪接師Khalid非常不安
因為新德里騷亂蔓延到他住的地區
身為穆斯林,他走在路上都不安全
莫迪執政的這個年頭
印度教民族主義抬頭,印度教極端勢力崛起
身為穆斯林是一種罪,一種不許安全的罪
那時候,我感受最深
因為我和Khalid一起工作七年多了
我很害怕,太近了,又覺得無能為力
我和我的製作人Sapna勸Khalid住在辦公室
但他堅持要回家,因為他的姊姊和妹妹不安全
還有一名女性友人要到辦公室跟他會合
一起回家才不會落單被攻擊
在Khalid回家之前
Sapna請他的朋友把穆斯林的黑色蒙面罩袍給取下
「我覺得很抱歉,但是為了她的安全,我還是說了。」
今天,我去了一趟當地的醫院
新德里騷亂現在死亡人數已經有34人
但是還有很多的屍體
都還在水溝裡、被燒掉的房子裡,還有不知何處
還有不少人的親朋好友不見了,現在都聯絡不上
死亡人數絕對比34人更多...
看著悲痛又憤怒的死者家屬
我不知道該怎麼形容這個感受
只覺得很重,很沉,無法呼吸
寫字對我來說,或許是一種緩解的辦法
又或是自我安慰,自己在無能為力的情況之下
似乎有在做一點什麼事
這篇刊載在 報導者 The Reporter的文章
希望大家可以點開來看看
這起新德里騷亂比你想得來得更可怕
後面的風險、算計與政治遊戲令人膽戰心驚
新德里30年來最大流血衝突:燃燒的印度教民族主義,莫迪政權加速撕裂社會
https://www.twreporter.org/a/india-new-delhi-citizenship-amendment-act-riot
這是印度首都在1984年之後
最嚴重的一起連續流血騷亂
去醫院的時候,Sapna派著她老公Samir跟著我
因為她怕我為了新聞亂跑有危險
Samir在車上告訴我
1984年新德里爆發錫克教徒被印度教徒屠殺的騷亂時
他們家救過很多錫克教徒
鄰居也救,火車上看到的也救,能救的都救
他們家是印度教徒
但真正的宗教自由跟宗教平等
不就是所以人都相愛而非相殺嗎?
這次新德里騷亂,看見了很多極端而血腥的屠殺
但於此同時,也有很多人相救互相扶持
只希望後者能夠多點,前者能夠少點
讓這個世界多一點暖,少一點血。
25 amendment 在 網上學習平台Beginneros Youtube 的評價
#反送中 #香港 #HongKong #Antielab
反對《逃犯條例》修訂草案運動已經持續了幾個月,這幾個月形勢和情況不斷變化。Beginneros整理了六、七月的反送中的影片和部份新聞片段,回憶一下這兩個月發生的事。
Hong Kong Anti-Extradition Law Amendment Bill (ELAB) Movement has been continuing for several months. Over the past month, the trends and the situations are constantly changing. Beginneros has collated some antielab video clips and related news footages in June and July. Let’s refresh our memory on what happened in these two months.
► Facebook:https://facebook.com/936844256688482
► 連登: https://lih.kg/1645796
---
Video Production: Beginneros
Translation: Yoyo Chan | 方雨言 | PW
Sources: AFP news agency | BBC | SCMP | The New York Times | Hong Kong Free Press | 蘋果攝記 | 蘋果日報 | 有線新聞 i-Cable News | Now新聞 經緯線 | Now新聞 | 香港電台 鏗鏘集 | Stand News 立場新聞 | TVB 無線新聞 | 香港大紀元新唐人聯合新聞頻道 | MPWeekly明周 | 政府新聞網 | 香港電台 RTHK | Stormtrooper白兵 | 香港開電視Hong Kong Open TV | ANTIELAB HKISG (Youtube) | Billy Lai (Youtube) | Etan Liam(Youtube) | Hong Kong Kai(Vimeo) | nganhp(Youtube)
25 amendment 在 memehongkong Youtube 的評價
Public Hearing on transgender people's right to marry
Bills Committee on Marriage (Amendment) Bill 2014
Hong Kong Legislative Council
23 April 2014
即時聊天室:http://goo.gl/ToDqof
謎米香港 www.memehk.com
Facebook:www.facebook.com/memehkdotcom
25 amendment 在 Campus TV, HKUSU 香港大學學生會校園電視 Youtube 的評價
更正:教務處今午透過電郵指同學需在8月21日1000準時按下 “Proceed to Step 2 of 3”,並非先前宣佈的於1000時前按下,意味同學需於1000時按下”Proceed to Step 2 to 3” 及 “Finish Enrolling” 。
Amendment:
The Registry issued a notice regarding course enrollment to all freshmen through email, clarifying that students should click "Proceed to Step 2 of 3 " at 10:00 sharp on August 21 instead of clicking it before 10:00 as stated in their previous email.
今年所有嘢都變晒online,放榜、reg day都遲咗好多,但又就嚟要reg科!Freshmen根本就準備唔切,但reg錯科足以後悔成年。
作為freshman嘅你,就快啲睇吓呢條片,指點一下迷津啦!
Due to the pandemic, everything has been postponed and moved online. There isn’t enough time for freshmen to prepare for course registration. However, choosing the wrong classes can lead to regrets. So check the tutorial out and avoid being too slow in choosing your desired classes!
有個網站俾你睇邊個cc仲有位! There’s a site to check different common core courses’ vacancies!
Common Core enrollment statistics link:
https://sweb.hku.hk/ccacad/ccc_appl/enrol_stat.html
Follow Us for Lastest Update
--------------------------------
Facebook: https://www.facebook.com/hkucampustv
Instagram: https://www.instagram.com/campustv_hkusu
Twitter: https://twitter.com/campustv_hkusu
Our Website
--------------------------------
https://campustv.hkusu.hku.hk
25 amendment 在 Grey Reads The 25th Amendment - YouTube 的八卦
... <看更多>