#คัดค้านนำเข้าเศษพลาสติก !!!
แบบสั้นๆ
-จีนเลิกนำเข้าขยะ เลยตกมาถึงไทย ซึ่งนำเข้าจำนวนมากติดกันมา 2 ปีแล้ว หลักๆคือเพื่อเอาไปป้อนโรง Recycle และเป็นวัตถุดิบอุตสาหกรรม
- กระบวนการ Recycle ขยะในประเทศ เลยไม่กระเตื้อง เพราะ ขยะimport ราคาถูก และคุณภาพดีกว่า (เพราะเราไม่มีกระบวนการคัดแยกขยะที่ดี) มีผลต่อตลาดขายขยะในประเทศ
-11 ก.ย. จะมีการพิจารณา ให้มีการต่อให้นำเข้าเป็นปีที่ 3 เลยชวนมาค้านดีกว่า เพราะนั่นคือกระบวนการ recycle ขยะในประเทศจะไม่ได้รับการพัฒนาเลย แล้วเราก็ไปกลายเป็นจัดการขยะให้ประเทศอื่นแทน และการจัดการขยะในประเทศควรพัฒนาดีกว่านี้ได้แล้ว
ส่วนแบบยาว ข้อเสนอคืออะไร หน่วยงานไหนรับผิดชอบ เชิญอ่านแบบยาวววววว ข้างล่างเลยจ้า
----------------------
แบบยาวววววววววววว
แถลงการณ์
ข้อเสนอต่อมาตรการห้าม/ควบคุมการนำเข้าเศษพลาสติกและการพัฒนาระบบคัดแยกขยะในประเทศให้ได้คุณภาพดีขึ้น
.
สืบเนื่องจากที่สาธารณรัฐประชาชนจีนประสบปัญหาการลักลอบนำเข้าสารอันตรายที่ปะปนมากับขยะพลาสติกและขยะอื่นหลายชนิดที่นำมาเป็นวัตถุดิบเพื่อรีไซเคิลและผลิตสิ่งของในประเทศ จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐบาลจีนจึงออกประกาศห้ามนำเข้าขยะจากต่างประเทศเป็นการเร่งด่วน 24 รายการ (ต่อมาประกาศเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 32 รายการ) มาตรการนี้ส่งผลให้ขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลไหลทะลักไปสู่ประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย (Interpol, 2020 ) จากข้อมูลการนำเข้าเศษพลาสติกของประเทศไทย พบว่า ในปี 2561 มีการนำเข้าเศษพลาสติกสูงถึง 552,912 ตัน เทียบกับปี 2559 ก่อนประเทศจีนประกาศห้าม มีการนำเข้ามาเพียง 69,500 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า นอกจากนี้ ยังพบกรณีการลักลอบนำเข้าขยะพลาสติกปนเปื้อนและขยะอิเล็กทรอนิกส์สูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย ดังจะเห็นได้จากข่าวการตรวจจับการนำเข้าอย่างผิดกฎหมายที่ท่าเรือและโรงงานรีไซเคิลหลายแห่ง ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดกระแสการต่อต้านจากประชาชน และนำมาสู่การเร่งผลักดันให้มีมาตรการควบคุมการนำเข้าขยะอย่างจริงจังในเวลาต่อมา
.
คณะอนุกรรมการเพื่อบูรณาการการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างเป็นระบบ ซึ่งรัฐบาลแต่งตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561 และได้มีมติให้ยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกภายใน 2 ปี โดยช่วงผ่อนผันนี้ มีการกำหนดโควตาการนำเข้าคือ ปีที่ 1 นำเข้าได้ไม่เกิน 70,000 ตัน แบ่งเป็นพลาสติก PET 50,000 ตัน และพลาสติกชนิดอื่นรวม 20,000 ตัน และมีเงื่อนไขให้ใช้เศษพลาสติกภายในประเทศร่วมด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ในปีที่ 2 ให้นำเข้าได้ไม่เกิน 40,000 ตัน และให้นำเศษพลาสติกภายในประเทศมาใช้ร่วมด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และปีที่ 3 ห้ามนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ โดยใบอนุญาตนำเข้าตามโควตาดังกล่าวจะสิ้นสุดทั้งหมดในวันที่ 30 กันยายน 2563
.
แต่ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้พยายามขอนำเข้าเศษพลาสติกต่อไปโดยให้เหตุผลว่า วัตถุดิบที่มีภายในประเทศไม่เพียงพอ คุณภาพต่ำ และมีการปนเปื้อนสูง ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ก็สนับสนุนข้อนี้โดยแสดงเจตจำนงในที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 ว่า ผู้นำเข้าต้องการโควตานำเข้าพลาสติกอีก 6.5 แสนตันในปี 2564 อย่างไรก็ดี ที่ประชุมได้ให้ กรอ. ไปสำรวจความต้องการของโรงงานและนำเสนอข้อมูลว่าผู้ประกอบการต้องการใช้จริงเท่าไหร่ ประเภทใดบ้าง และจำเป็นต้องนำเข้าเท่าไหร่ เพื่อประกอบการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 11 กันยายนนี้
.
เครือข่ายภาคประชาสังคมมีความห่วงใยต่อประเด็นดังกล่าวที่อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการแก้ปัญหาขยะภายในประเทศ จึงได้ออกแถลงการณ์เพื่อนำเสนอข้อคิดเห็นและข้อเรียกร้องต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ให้ “ยืนยันมติเดิม” ของคณะอนุกรรมการฯ เมื่อปี 2561 ที่ “กำหนดให้ประเทศไทยยกเลิกการนำเข้าขยะหรือเศษพลาสติกและซากอิเล็กทรอนิกส์ 100% ภายในปี 2563” ด้วยเหตุผลและข้อเสนอต่อไปนี้
.
1. รัฐบาลให้ระยะเวลาผู้ประกอบการนำเข้าเศษพลาสติกมาแล้ว 2 ปี และได้แจ้งเป้าหมายที่จะยกเลิกการนำเข้าในปีที่ 3 ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้น ผู้นำเข้าควรมีการปรับตัวหรือปรับแผนธุรกิจเพื่อลดการนำเข้าและเพิ่มสัดส่วนการใช้เศษพลาสติกในประเทศให้มากขึ้น หากรัฐบาลเปลี่ยนเป้าหมายที่เคยประกาศไว้จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและจะกระทบกับเป้าหมายตาม Roadmap การจัดการขยะพลาสติกที่ต้องการส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะและนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ 100% ภายในปี 2570
.
2. คณะอนุกรรมการฯ ไม่ควรให้มีการสำรวจโดยอ้างอิงความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมและความจำเป็นที่จะต้องนำเข้าพลาสติกชนิดใดก็ตาม เพราะผู้ประกอบการสามารถแจ้งความต้องการในปริมาณสูงไว้ก่อนเพื่อจะนำเข้าได้มากและเพื่อลดต้นทุนของตัวเอง การสำรวจควรจะอิงปริมาณที่เคยนำเข้าในอดีต เช่น ข้อมูลสถิติการนำเข้าเศษพลาสติกรวมก่อนปี 2561 ย้อนหลัง 5 ปี คือระหว่าง 2556-2560 อยู่ที่ 74,421 ตันเท่านั้น และควรให้กรมศุลกากรกำหนดรหัสโดยเฉพาะสำหรับเศษพลาสติก PET ในกลุ่มพิกัด 391590 เพื่อการควบคุมอย่างเข้มงวดในการห้ามนำเข้าโดยเด็ดขาดเพราะวัตถุในประเทศไทยมีจำนวนมากจนล้นตลาด
.
3. แม้ในช่วงปีพ.ศ. 2561-2562 จะเป็นช่วงผ่อนผันที่กำหนดโควตาการนำเข้าไม่เกิน 70,000 ตันในปีที่ 1 (2561/2562) และให้นำเข้าได้ไม่เกิน 40,000 ตันในปีที่ 2 (2562/2563) แต่ข้อมูลสถิติการนำเข้าเศษพลาสติก พิกัด 3915 พบว่า ในปี 2562 มีการนำเข้าถึง 323,167 ตัน และในปี 2563 (มกราคม-กรกฎาคม) นำเข้า 96,724 ตัน แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนของมาตรการกำกับการนำเข้าเศษพลาสติกด้วยการกำหนดโควตาของภาครัฐ
.
4. หากมีการอนุญาตนำเข้า ให้อนุญาตเฉพาะการนำเข้า “เม็ดพลาสติกใหม่หรือเม็ดพลาสติกรีไซเคิล” เท่านั้น ซึ่งสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตได้เลย โดยห้ามการนำเข้าเศษพลาสติกชนิดอัดก้อนโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตนำเข้าจะต้องมีใบรับรองคุณภาพมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และจะต้องใช้พลาสติกคัดแยกภายในประเทศเป็นวัตถุดิบร่วมในกระบวนการรีไซเคิลด้วย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของกำลังการผลิตที่แท้จริง โดยผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตนำเข้าจะต้องมีหลักฐานในการแสดงเพื่อพิสูจน์ว่าข้อมูลเหล่านี้มีความสอดคล้องกันตามความเป็นจริง ดังนี้ (1) แสดงงบดุลการซื้อ, งบดุลการขาย, งบดุลการเสียภาษีสรรพากร ย้อนหลัง 3 ปีจากปี 2562 และ (2) แสดงตัวเลขการส่งออกและตัวเลขกำลังการผลิตที่แท้จริง ย้อนหลัง 3 ปีจากปี 2562
.
5. กรอ. และผู้นำเข้าไม่ควรอ้างว่า พลาสติกรีไซเคิลในประเทศมีราคาแพงกว่า เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่การจัดการขยะให้ได้มาตรฐานมากขึ้น การรวบรวมขยะพลาสติกในประเทศจึงยังขาดระบบที่ดี ทำให้มีต้นทุนการรวบรวมสูง นอกจากนี้ ก็ไม่ควรนำคุณภาพของขยะคัดแยกไทยไปเปรียบเทียบกับเศษพลาสติกจากต่างประเทศ ซึ่งประเทศเหล่านั้นมีกฎหมายที่ใช้หลักการ Extended Producer Responsibility หรือ EPR ที่กำหนดให้ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบจัดระบบเรียกคืนขยะบรรจุภัณฑ์ร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งมีการดำเนินการมานานกว่า 20 ปีแล้ว ยิ่งกว่านั้นประเทศผู้ส่งออกไม่ยอมลงทุนการรีไซเคิลพลาสติกในประเทศตัวเองเพราะค่าแรงงานและต้นทุนการดูแลสิ่งแวดล้อมสูง ปัจจุบันเมื่อจีนห้ามนำเข้าขยะพลาสติก ประเทศผู้ส่งออกจึงต้องหาแหล่งรองรับขยะแห่งใหม่ จึงมีการลดราคาขยะพลาสติกหรือแม้แต่ลักลอบนำเข้าไปกำจัดยังประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ราคานำเข้าถูกกว่าราคาขยะในประเทศอย่างมาก ดังนั้น ข้ออ้างที่ว่าพลาสติกรีไซเคิลในประเทศมีราคาแพงกว่า จึงเป็นข้ออ้างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศผู้ส่งและผู้นำเข้าไม่กี่ราย โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย
.
6. เนื่องจากขยะพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาถูกมากจนส่งผลกระทบต่อราคาพลาสติกรีไซเคิลในประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีราคาที่ต่ำอย่างมากแล้ว (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2563 ราคารับซื้อ PET แบบไม่แกะฉลากอัดก้อน อยู่ที่ 8.48 บาทต่อกิโลกรัม เทียบกับเดือนเดียวกัน ปี 2561 อยู่ที่ 13.05 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้น) ปัญหาดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและกำลังใจในการทำงานของกลุ่ม “ซาเล้ง” ประมาณ 1.5 ล้านคน และร้านรับซื้อของเก่าทั้งประเทศที่จดทะเบียนกับกระทรวงมหาดไทยอีก 30,000 ร้านค้า ทั้งนี้ ปัญหาราคารับซื้อขยะคัดแยกในประเทศที่ตกต่ำอย่างมาก ทำให้ผู้ประกอบกิจการซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าจำนวนมากต้องเลิกประกอบอาชีพนี้ ดังนั้นการเปิดให้นำเข้าเศษพลาสติกอีกหลายแสนตันในปีหน้าจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก
.
7. จากข้อมูลของสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า พบว่า ปริมาณพลาสติกเพื่อรีไซเคิลที่เก็บรวบรวมได้ในประเทศ รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.6 ล้านตันต่อปี ปริมาณนี้จึงเพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ในส่วนข้ออ้างเรื่องการปนเปื้อนหรือความไม่สะอาดนั้น ภาครัฐและภาคเอกชนควรร่วมกันเร่งหามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวมากกว่าการเลี่ยงปัญหาโดยการนำเข้าจากต่างประเทศ การแก้ปัญหาด้วยการนำเข้ายังสวนทางกับนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนของประเทศไทยเอง
.
8. ที่ประชุมภาคีสมาชิกอนุสัญญาบาเซลฯ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2562 ได้มีมติกำหนดให้ขยะพลาสติกเป็นของเสียอันตรายที่ต้องมีการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนตามอนุสัญญาฉบับนี้ ดังนั้น รัฐบาลไทยควรเร่งเตรียมความพร้อมในการเพิ่มเติมรายการที่ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดของอนุสัญญาบาเซลฯ และควรเร่งการให้สัตยาบันข้อแก้ไขอนุสัญญาบาเซลฯ (Ban Amendment) เพื่อเพิ่มมาตรการป้องกันการนำเข้าส่งออกของเสียอันตราย ซึ่งรวมถึงขยะพลาสติกอย่างเข้มงวดมากขึ้น
.
9. รัฐบาลควรมีมาตรการตรวจสอบ กำกับ ติดตาม และดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น (1) เมื่อวัตถุดิบเข้ามาในประเทศไทย จะต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบทำการตรวจสอบทุกครั้งโดยทันทีที่วัตถุดิบมาถึงโรงงาน คือ อุตสาหกรรมจังหวัด, สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด, สาธารณสุขจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในการอนุมัติรับทราบ, (2) กรณีวัตถุดิบนำเข้าสำแดงเท็จ และถูกจับได้ชิพปิ้งและผู้นำเข้า ถูกเพิกถอนใบอนุญาตทันที, (3) กรณีวัตถุดิบนำเข้าสำแดงเท็จและถูกจับได้ และสินค้าอยู่ภายในโรงงาน โรงงานอุตสาหกรรมนั้น ต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นเวลา 10 ปี, (4) กรณีประชาชนเกิดผลกระทบและเข้าร้องเรียนความเดือดร้อนกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถสั่งระงับการดำเนินการหรือระงับการต่อใบอนุญาตโรงงานได้
.
ข้อเสนอต่อการเพิ่มอัตราการเก็บรวบรวมพลาสติกรีไซเคิลในประเทศ
1. กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร และ อปท.ในเมืองใหญ่ที่มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่นและเป็นแหล่งกำเนิดขยะขนาดใหญ่ต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการจัดระบบเก็บขยะแบบแยกประเภท โดยเริ่มจากพื้นที่ที่มีแหล่งกำเนิดเริ่มแยกขยะอยู่แล้ว จัดระบบทั้ง drop-off และ pick-up หรือ curbside collection รวมทั้งการจัดกิจกรรมตลาดนัดขยะรีไซเคิลอย่างสม่ำเสมอ
.
2. กำหนดให้ อปท. ร่วมกับภาคเอกชนสนับสนุนให้ร้านรับซื้อของเก่ามีการจัดการสภาพร้านหรือแหล่งรับซื้อที่ดี ส่งเสริมให้เข้าระบบ application ที่เชื่อมต่อระหว่างแหล่งกำเนิดกับร้านรับซื้อของเก่าในพื้นที่ (pick-up service) อปท. มีมาตรการส่งเสริมให้ร้านรับซื้อของเก่าให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมจัดกิจกรรมตลาดนัดขยะรีไซเคิลและธนาคารขยะในพื้นที่ร่วมกับ อปท. โดยมีการจัดสรรรายได้ที่เหมาะสม
.
3. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมออกกฎหมายพื้นฐานเพื่อสร้างสังคมรีไซเคิลและระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน กำหนดบทบาทหน้าที่ของกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น และนำหลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR) มาใช้เพื่อกำหนดความรับผิดชอบของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย อปท. และผู้บริโภคต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบเก็บรวบรวมขยะบรรจุภัณฑ์ กำหนดเป้าหมายการเก็บรวบรวมที่ชัดเจนในแต่ละปี เพื่อลดความจำเป็นที่ต้องนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
.
รายชื่อเครือข่ายภาคประชาสังคมที่สนับสนุนความเห็นและข้อเรียกร้องในแถลงการณ์
1. มูลนิธิบูรณะนิเวศ
2. มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
3. กรีนพีซ ประเทศไทย
4. สมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า
5. แผนงานขับเคลื่อนการปฏิรูประบบการจัดการขยะเพื่อสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน สสส.
6. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. ดร.เพชร มโนปวิตร เจ้าของเพจ “Rereef”
8. เจ้าของเพจ “ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป”
9. กลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Watch)
10. กลุ่มคนรักษ์ต้นน้ำจังหวัดราชบุรี ต.น้ำพุ อ.เมือง จ.ราชบุรี
11. กลุ่มคนคลองบางป่า ต.บางป่า อ.เมือง จ.ราชบุรี
12. กลุ่มเรารักษ์ท่าถ่าน-บ้านซ่อง ต.ท่าถ่าน และ ต.บ้านซ่อง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
13. กลุ่มเรารักษ์พนม อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
14. กลุ่มเรารักพุม่วง ตำบลหนองชุมพล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
15. เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก
16. เครือข่ายปกป้องผืนป่าตะวันออก
17. เครือข่ายประชาชนศึกษาและติดตามปัญหาขยะ
18. เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) จังหวัดฉะเชิงเทรา /ชลบุรี / ระยอง / ปราจีนบุรี / สระแก้ว / นครนายก / ราชบุรี / เพชรบุรี
19. สมัชชาแปดริ้วเมืองยั่งยืน
20. องค์กรชุมชนตําบลหนองชุมพลเหนือ ต.หนองชุมพลเหนือ อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี
21. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ (Foundation for AIDS Right)
22. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก
23. มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน
24. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
25. มูลนิธิเครือข่ายอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก
26. มูลนิธิสถาบันปฏิปัน
27. มูลนิธิสืบศักดิ์สิน แผ่นดินสี่แคว
28. สมาคมพัฒนาชุมชนยั่งยืน นครสวรรค์
29. ศ. (เกียรติคุณ) สุริชัย หวันแก้ว
30. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์)
31. มูลนิธิสุขภาพไทย
32. คณะทำงานติดตามความรับผิดชอบข้ามการลงทุนข้ามพรมแดน (ETOs Watch Coalition)
33. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
34. มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
35. มูลนิธิโลกสีเขียว
36. มูลนิธิชีววิถี
37. แนวร่วมปฏิวัติขยะสุพรรณบุรี
38. Less Plastic Thailand
39. มูลนิธิเพื่อนหญิง
40. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
41. มูลนิธิสระแก้วสีเขียว
42. สำนักข่าวธรรมรัฐจังหวัดสระแก้ว
43. บงกช ภูษาธร ประชาชนกรุงเทพมหานคร
44. วริศรา เมฆานนท์ชัย ประชาชนกรุงเทพมหานคร
45. กลุ่มรวมพลังคนรักบ้านเกิดบางโทรัด
46. Bye Bye Plastic Bags (Thailand)
47. เถื่อน channel
48. เครือข่ายวงษ์พาณิชย์
49. บริษัท ธาอีส อีโคเลทเธอร์ จำกัด
50. กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก
51. สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพัน์แห่งประเทศไทย
52. เครือข่ายอากาศสะอาด
53. วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ social activist artist จาก เพจ WISHULADA
54. กลุ่มรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต.คลองกระแชง อ.เมือง จ.เพชรบุรี
55. กลุ่มคนรักบ้านเกิด ต.ท่าเสน อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
56. กลุ่มสิ่งแวดล้อมภาคประชาชน ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
57. กลุ่มคนสองแคว ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
58. กลุ่มเพื่อนรักจักรยานบ้านพี่โสเพ็ชร์บุรี ต.บ้านหม้อ อ.เมือง จ.เพชรบุรี
59. ภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาทเขาพระวิหาร (องค์กรเพื่อผู้บริโภค)
60. SOS Earth
61. Refill Station
62. Little Big Green
63. ศูนย์เรียนรู้เฝ้าระวังและปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อ.เมือง จ.ระยอง
64. ดร. อาภา หวังเกียรติ มหาวิทยาลัยรังสิต
65. Greenery
.
#คัดค้านนำเข้าเศษพลาสติก
同時也有43部Youtube影片,追蹤數超過496萬的網紅MonDEV,也在其Youtube影片中提到,ลิ้งโหลด https://goo.gl/Db5S11 ดูแล้วอย่าลืมกด subscribe ใน Channel ด้วยนะครับ https://goo.gl/tKeqpg ติดตามการเคลื่อนไหวได้ที่เฟสส่วนตัวผม https://ww...
เถื่อน100 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook 八卦
Serenity...
ตกลงมีใครทายถูกไหมอยู่ตรงไหนบนโลก
งานหนังสือเดือนหน้า เจอกันแน่นอน #เถื่อน100 ไปเซ็นวันไหนเดี๋ยวมาบอกนะครับ
แล้วอย่าลืมลงรูปแข่ง #เถื่อน100contest กันเยอะๆนะ ชิง SonyRX100M7 กับได้แสดงภาพร่วมกับวันนะซิงด้วย
ส่วน#เถื่อนTravel นั้น..
รอไปก่อนนะ เชฟกำลังปรุง 555
เถื่อน100 在 Drama-addict Facebook 八卦
ตามนั้น แต่ถ้าพ่อแม่ให้ลูกๆดูช่องแบบตาเอก
จะไม่ได้คำหยาบ แต่จะได้วลีเช่น แจกความฝรดใฝล๋
กล้าาาาาาาช่วยพี่ด้วยกล้าาาาาาาาาาา
ทางที่ไวที่สุดคือทางตรงงงงงงงง
กล้าาาาาาาาาาาาาาาา
อะไรทำนองนี้มาแทนนะครับ แหม่
2-3 วันมานี้เห็นมีข่าวเด็กอายุ 14 ที่มีพื้นเพเป็นเด็กติดเกม เล่นเกมออนไลน์เกมหนึ่ง (คิดว่าน่าจะชื่อเกม WarZ) เกิดอาการคุ้มคลั่งหยิบมีดทำครัวออกมาวิ่งไล่ฟันหัวแม่และอาม่าตัวเองจนกระเจิดกระเจิง เพราะควบคุมอารมณ์ไม่ได้หลังติดเกมอย่างหนัก จนกลายเป็นข่าวดังไปทั่ว
หลังจากที่ได้ตามร่องรอยของเหตุการณ์มาอยู่พักหนึ่ง ผมเห็นปรากฏการณ์นี้มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่อย่างหนึ่ง คือ เรื่องอิทธิพลของ กลุ่ม Youtuber ที่มีต่อเยาวชน ปัจจุบันถ้าใครมีลูกมีหลานอายุประมาณ 8-15 ปี แล้วใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับเกมคอมพิวเตอร์ หรือเกมออนไลน์ ก็คงจะพอทราบกันมาบ้างว่า นอกจากเล่นเกมแล้ว เด็กๆเหล่านี้มักมีกิจกรรมอีกอย่างที่นิยมทำกัน คือ ติดตามรายการเกมจาก Youtube
** เรียกว่า รายการของนักแคสเกม ที่จะมีคนมาเล่นเกมให้ดู แล้วอธิบาย เล่า พูดคุยเกี่ยวกับเกมนั้นๆ รวมถึงพูดคุยกับคนดูอย่างออกรสออกชาติ เป็นประจำ (ซึ่งในปัจจุบันเป็นอาชีพที่นิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่นไทยและต่างประเทศ)
ช่องที่ดังๆก็เช่น ช่องของ Heart Rocker, BasGamer, TaeExzenfire, Roger Films Studio เป็นต้น บางช่องก็มีเนื้อหา และการบริหารจัดการการนำเสนอที่ค่อนข้างดี และเป็นมิตรกับการพัฒนาเจริญเติบโตของเยาวชน แต่บางช่องก็ค่อนข้างเป็นภัยเลวร้าย (ถึงขั้น Toxic) ต่อตัวเด็กและเยาวชน หากไม่ได้อยู่ในความดูแลและสายตาของผู้ใหญ่
เพราะในปัจจุบันมีหลายช่อง Youtube ของเหล่าวัยรุ่นมากๆที่ถูกตั้งขึ้นมา แล้วผลิตแต่วิดีโอที่มีเนื้อหาเสื่อมทราม ทั้งคำหยาบ คำสบถ คำดูถูก ตะแบง บางช่องก็บ้าๆบอๆพูดจาแทะโลมผู้หญิง คุกคามทางเพศ ในระดับที่ถ้าปล่อยให้ลูกหลานของท่านๆเติบโตมากับช่อง Youtube พวกนี้ เด็กๆคงต้องเติบโตมากลายเป็นเด็กที่มีปัญหา ขาดซึ่งมารยาทภายในสังคมกันแน่ๆ
อย่างล่าสุดผมตามไปเจอช่อง Youtube ของวัยรุ่นท่านหนึ่ง มีคนติดตามเป็นล้าน คนที่ติดตามจำนวนมากก็เป็นเด็กๆวัยเรียน ประถม มัธยมต้นๆนี่แหละครับ รายการที่เขาจัดก็เป็นการเล่นเกมให้ดู แล้วก็พากษ์เสียงเปิดหน้าตัวเองไปด้วย แต่ที่ทำให้เด็กๆชอบดูกันน่าจะเพราะความดิบ เถื่อน โหวกเหวก โวยวาย กวนประสาท พูดคำด่าคำแบบสวนสัตว์หลุดมาทั้งสวนของเจ้าของช่อง
ซึ่งคงจะโดนใจเด็กๆวัยรุ่น วัยกำลังโตที่เริ่มอยากรู้อยากเห็น อยากลองทำอะไรที่นอกกรอบ ขนบเดิมๆที่ทางบ้าน และครอบครัวสั่งสอนกันมา การมาเจอช่องที่มีรายการเน้นพูดคำหยาบ สบถถ่อยๆ และการโวยวายตามประสาวัยรุ่น คงจะเหมือนกับการเปิดโลกใบน้อยๆของพวกเขา จึงมีความชอบอกชอบใจกันเป็นพิเศษ
ทำให้ช่องลักษณะนี้มีอัตราขยายตัวเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆจากการมีฐานอยู่บนกลุ่มเด็กนักเรียน เด็กวัยกำลังโตแบบนี้ กรณีที่ผมคิดว่ามันเกินไปมากๆ คือ Youtuber หรือนักแคสเกมบางท่านนอกจากจะใช้ภาษาที่หยาบคายออกสื่อให้เด็กๆดูกันแล้ว ยังมีการนำพฤติกรรมการคุกคามทางเพศ ล่วงละเมิดทางเพศมาใช้ในรายการที่เด็กๆกำลังดูกันอีก
บางท่านถึงกับลามปามไปถึงแม่ของเด็กๆที่เล่นเกมด้วยกัน จะไปเย็ดแม่เขา จะไปให้แม่เขามาอาบน้ำให้ที่บ้าน ผมดูแล้วผะอืดผะอม ไม่รู้ว่าเด็กๆชอบดูกันไปได้อย่างไร ไม่ใช่เพราะผมรับไม่ได้กับภาษาและความหยาบคายที่เขาใช้ แต่ผมรู้สึกท้อใจกับเยาวชนที่จะต้องมาดูและติดตามคนแบบนี้ใน Youtube โดยที่พ่อแม่เขาอาจจะไม่มีเวลามาให้คำแนะนำ หรือตักเตือน
ว่าช่อง Youtube แบบนี้มันไม่มีอะไรดีเลย มีแต่ความเสื่อมทราม ยิ่งถ้าเด็กอายุน้อยๆอยู่ชั้นประถมมาดูบ่อยๆยิ่งมีโอกาสเกิดพฤติกรรมเลียนแบบมากขึ้น ผมไม่ปฏิเสธนะว่าเด็กสมัยนี้อาจจะมีภูมิคุ้มกันกับโลกออนไลน์มากขึ้นกว่าสมัย 10-15 ปีก่อน ในยุคที่ Gen Y เพิ่งเคยจับอินเตอร์เน็ตและโลกออนไลน์กันครั้งแรก แต่มันก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เด็กทุกคนจะดูแล้วสามารถคิดตาม หรือ มีสติมากพอที่จะยับยั้งชั่งใจ เตือนตัวเองกับการเสพสื่อ และช่อง Youtube ลักษณะดังกล่าวได้
ผมรู้จักเด็กๆหลายคนเวลาไปลงพื้นที่ในชุมชนตามกิ่งอำเภอ มีเด็กๆวัย 7-8 ขวบ หลายคนมากที่ชอบพูดคำหยาบเวลาอยู่กับเพื่อน หรือ อยู่คนเดียวแล้วสบถขึ้นมา ผมเลยลองไปไล่ถามน้องๆเรียงคนเลย มี 23 คน คำตอบนั้นน่าแปลกใจมาก ผมแอบตั้งสมมติฐานไว้ในใจก่อนว่า ที่เด็กๆชอบตะโกนให้ “ควย” “ไอ้สัตว์เอ๊ย” ฯลฯ กันอาจจะมาจากพ่อแม่และครอบครัวขี้เหล้า
แต่ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ใน 23 คนที่ผมไปไล่ถามมา มีเพียง 4 คนเท่านั้นที่เอาคำด่ามาจากพ่อแม่ นอกนั้นเอามาจาก ‘Youtuber’ ถึง 13 คน และจากเพื่อนที่โรงเรียนอีก 6 คน สัดส่วน ของพฤติกรรม Youtuber ที่มีอิทธิพลต่อเด็กกลุ่มนี้ มีเกือบ 60% ในขณะที่ปัจจัยด้านครอบครัวที่เคยเป็นปัญหาในชุมชนในสมัยก่อน ปัจจุบันกลับมีลดลงเหลือเพียง ไม่ถึง 20%
อันนี้แค่ชุมชนเล็กๆระดับหมู่บ้านนะครับ ผมคงไม่สามารถยึดสถิตินี้แทนภาพใหญ่ของทั้งประเทศได้ และสถิติระดับประเทศนั้นอาจจะมากหรือน้อยกว่าในเชิงเปรียบเทียบกับหมู่บ้านแห่งนี้ก็เป็นได้ แต่สิ่งหนึ่งที่มันสะท้อนคือ Youtube และ Youtuber มันมีอิทธิพลกับเด็กมากกว่าที่หลายๆคนคิด
** มันเป็นตลกร้ายมากนะครับ เวลาถามเด็กๆว่าเอามาจากไหน แล้วเด็กๆตอบว่า "เอามาจากพี่.....(ชื่อนักแคสเกม หรือ Youtuber คนดัง)"
ใครจะมาพูดว่าโอ๊ยเด็กสมัยนี้มันคิดเองได้ มีวิจารณญาณ ไม่เหมือนที่พ่อแม่ หรือคนรุ่นก่อนๆเขากังวลกันหรอก พวกคนแก่ก็พูดไปเรื่อย อันนี้ไม่ถูก 100% นะครับ คนที่พูดแบบนี้แสดงว่าไม่เคยมีลูก หรือไม่เคยเจอกับปัญหาในลักษณะนี้มาก่อน เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าใคร หรือเด็กคนไหนมีวิจารณญาณและสติในเสพสื่อ และข่าวสารที่เพียงพอโดยจะไม่นำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบ
แน่นอนพฤติกรรมหรือสิ่งเลวร้ายที่มันหนักหนาสาหัส เช่น การฆ่าคน การโดดตึกแล้วบินได้แบบ Superman มันอาจไม่เกิดขึ้น เพราะมันเป็นสิ่งที่เวอร์เกินไป เด็กๆหลายๆคนสามารถเข้าใจข้อเท็จจริงในส่วนนี้ดีว่ามันเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ แต่ในทางกลับกัน ถ้าเกิดมันเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่มองว่าเป็นเรื่องเล็กๆหรือเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องสนใจ ปล่อยๆบ้างก็ได้
เช่นเรื่องการใช้ภาษา การใช้คำ การสบถ ในหมู่วัยรุ่น เรื่องแบบนี้อันตรายกว่าที่คิดนะครับ สมัยนี้คนมันอ่อนไหว มีความเปราะบางมากขึ้นกว่ายุคก่อน การใช้คำแค่ผิดไปจากจุดประสงค์นิดเดียวก็ถึงขั้นฟ้องร้อง หรือ นำไปสู่การชกต่อย ทะเลาะวิวาท หรือแม้แต่การฆ่ากันได้
โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นที่การชกต่อยกันนั้นแทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย การที่ Youtuber หลายๆคนชอบหลุดคำว่า “เย็ดแม่” พูดลามปามไปถึงแม่คนอื่น “กูจะเย็ดแม่มึงได้ไหมเนี่ย?” ไม่ว่าจะอยู่ในบริบทไหน จะเตี๊ยมกันมาก่อน หรือ โดยกมลสันดานของผู้จัดรายการ ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์
ผู้ใหญ่หรือใครๆที่มีลูกหลานก็ระวังๆกัน ตักเตือน ให้ลูกหลานอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด อย่าได้ปล่อยให้ลูกหลานวัยที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือวัยที่ยังอายุต่ำกว่า 15 เติบโตมากับ Youtube โดยที่ไม่อยู่ในสายตาของเราๆท่านๆ ไม่งั้นผลเสียมันจะส่งออกมาในระยะยาวกว่าที่คิด
เถื่อน100 在 MonDEV Youtube 的評價
ลิ้งโหลด https://goo.gl/Db5S11
ดูแล้วอย่าลืมกด subscribe ใน Channel ด้วยนะครับ
https://goo.gl/tKeqpg
ติดตามการเคลื่อนไหวได้ที่เฟสส่วนตัวผม
https://www.fb.com/m0ndev
แฟนเพจ EPICPB.Th
Facebook : https://www.facebook.com/epicpbThaiteam
สนใจสั่งซื้อ PB ออฟไลน์ สามารถดูรายละเอียดได้ที่
https://goo.gl/ZTX3nf
ช่องทาง DONATE
เบอร์ wallet - 099-936-8076 / พร้อมชื่อในข้อความ
บัตร True money
https://goo.gl/cxahbn
เถื่อน100 在 ZadistiX Youtube 的評價
ติดตามข่าวสาร พูดคุยหรือขอแบบบ้านได้ที่แฟนเพจลิงคืนี้เลย
https://www.facebook.com/zadistix/
#Zadistix #ClashOfClansไทย #แคลชออฟแคลน
เราเคยถูกปล้นมากสุด เท่าไหร่? แล้ว 1.2 ล้านละเคยมั้ย?
ต่อให้เราจัดฐานดีแค่ไหน ถ้าคนมันตีเป็นยังไงก็ 100% ได้
ชุดปล้นที่ยังคนดีและใช้ง่ายคือ Elector Dragon กับ Miner
แนะนำให้สลับเปลี่ยนแบบฐานไปเรื่อยๆ 3 แบบที่เซฟไว้
ถ้าเราไปเจอฐานที่ป้องกันดี ลองแอบเข้าไปดู Profile เค้า
และ Copy ฐานมาลองใช้ดูก็ได้ เผื่อเก็บเควส Unbreakable ไปด้วย
60% ขึ้นอยู่กับเซ็ตทหารที่ใช้และการตี
20% ขึ้นอยู่กับตัวทหารที่เผ้าแคลน
20% ขึ้นอยู่กับการวางกับดักของฐาน
แล้วทุกคนละ? คิดว่าการตี 100% ขึ้นอยู่กับอะไรกันบ้าง?
-----------------------------------------------------------------------------------------
สนับสนุนและเป็นกำลังใจให้ช่องผมด้วยนะครับ
Paypal : https://twitch.streamlabs.com/zadistix
True Money : https://www.tmtopup.com/topup/?uid=194415
True Wallet : 085-381-4740
ธนาคาร : ธ.กสิกร 748-2-61589-3
ถ้าชอบก็อย่าลืม Like. Share และ Subscribe ด้วยนะครับขอบคุณมาก
ZadistiX
เถื่อน100 在 MonDEV Youtube 的評價
ดูแล้วอย่าลืมกด subscribe ใน Channel ด้วยนะครับ
กดสมัครรับข้อมูลไว้ได้นะครับ ตามลิ้งค์ด้านล่างเลยครับ
https://goo.gl/tKeqpg
ติดตามการเคลื่อนไหวได้ที่เฟสส่วนตัวผม
https://www.fb.com/m0ndev
แฟนเพจ EPICPB.Th
Facebook : https://www.facebook.com/epicpbThaiteam
สนใจสั่งซื้อ PB ออฟไลน์ สามารถดูรายละเอียดได้ที่
https://goo.gl/ZTX3nf
ช่องทาง DONATE
เบอร์ wallet - 099-936-8076 / พร้อมชื่อในข้อความ
บัตร True money
https://goo.gl/cxahbn
สนใจสนับสนุน หรือ ติดต่อโฆษณา
สามารถติดต่อได้ที่ช่องทางด้านล่าง
Facebook Inbox : https://goo.gl/3hORsb
E-Mail : [email protected]