กุ้งก้ามกราม หรือ กุ้งก้ามคราม (อังกฤษ: Giant malaysian prawn; ชื่อวิทยาศาสตร์: Macrobrachium rosenbergii) กุ้งน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Palaemonidae
มีเปลือกสีเขียวอมฟ้าหรือม่วง ก้ามยาวมีสีครามหรือม่วงเข้ม ตลอดทั้งก้ามมีปุ่มตะปุ่มตะป่ำ โดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำลำคลอง แทบทุกจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ในทุกประเทศของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลียและฟิลิปปินส์[2] โดยพบทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย วางไข่ในน้ำกร่อยที่เค็มจัด อาหารได้แก่ ไส้เดือน ตัวอ่อนของลูกน้ำ ลูกไร ลูกปลาขนาดเล็ก ซากของสัตว์ต่าง ๆ และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง พบชุกชุมทำให้จับง่าย โดยเฉพาะในฤดูหนาว ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่าง ๆ แถบภาคกลางของไทย เช่น สุพรรณบุรี, นครปฐม, ฉะเชิงเทรา และต่างประเทศด้วย เช่น ที่สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
โดยที่กุ้งก้ามกรามชนิดที่พบในประเทศไทย ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า M. dacqueti ส่วนชนิดที่ใช้ชื่อว่า M. rosenbergii เป็นชนิดที่พบในภูมิภาคปาปัวนิวกินี แต่ปัจจุบันถือว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือเป็นชื่อพ้อง [3]
กุ้งก้ามกรามมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 ฟุต น้ำหนักราว 1 กิโลกรัม[2] เป็นกุ้งที่ถูกใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ, เผา หรือทอด เป็นต้น เพราะเนื้อมีมาก เนื้อแน่น มัน อร่อย ทำให้มีราคาที่ขายสูง ปัจจุบันยังนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงามด้วย
กุ้งก้ามกรามมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปมากมาย เช่น "กุ้งแม่น้ำ", "กุ้งหลวง" ขณะที่กุ้งตัวเมียที่มีขนาดลำตัวเล็กกว่า เรียก "กุ้งนาง" เป็นต้น
ฉะเชิงเทรา อังกฤษ 在 SunitJo Travel Youtube 的評價
แมงดาจาน จานบินทะเล หลงยุค ตัวใหญ่มากๆ..
แมงดาจาน (อังกฤษ: Giant king crab, Coastal horseshoe crab; ชื่อวิทยาศาสตร์: Tachypleus gigas) เป็นแมงดาทะเลเพียงหนึ่งในสองชนิดที่พบได้ในประเทศไทย (อีกหนึ่งชนิดนั้นคือ แมงดาถ้วย (Carcinoscorpius rotundicauda) และจัดเป็นหนึ่งในชนิดที่อยู่ในสกุล Tachypleus (อีกหนึ่งชนิดนั้นคือ แมงดาญี่ปุ่น (T. tridentatus))
มีลักษณะกระดองแบนราบและกว้างกว่าแมงดาถ้วย หางมีลักษณะเป็นสันนูนขึ้นมาเป็นสามเหลี่ยม มีสันซึ่งมีหนามเล็ก ๆ เรียงเป็นแถวตามความยาวอยู่ตรงกลางด้านบนของหาง ตัวผู้มีขอจับพองออกเป็นกระเปาะ 2 คู่ ตัวเมียมีหนามบริเวณขอบด้านข้างของส่วนท้องขนาดยาว 3 คู่แรก และสั้น 3 คู่หลังในตัวผู้มีขนาดความยาวใกล้เคียงกัน ด้านท้องมีสีน้ำตาลอ่อนและมีสีเข้มตอนขอบหน้า ขนาดใหญ่สุดมีความกว้างของกระดอง ไม่เกิน 25 เซนติเมตร หรือประมาณเท่าจานข้าวใบใหญ่ อันเป็นที่มาของชื่อ สีของกระดองอ่อนกว่าแมงดาถ้วย ความยาวของกระดองประมาณ 35-40 เซนติเมตร พบกระจายทั่วไปในเขตชายฝั่งของมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย, ทางตะวันออกของอ่าวเบงกอล, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, ซาราวัก, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไทย ไปจนถึงจีน สำหรับในประเทศไทยซึ่งพบแพร่กระจายชุกชุมทั้ง 2 ฟาก ในฝั่งทะเลอันดามันพบได้ตั้งแต่บริเวณ จังหวัดสมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, เพชรบุรีถึงชุมพร ในฝั่งอ่าวไทยพบได้ที่ จังหวัดสมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรีจนถึงจันทบุรี
ฉะเชิงเทรา อังกฤษ 在 รีวิวทาวน์โฮมและบ้านแฝด สไตล์อังกฤษ ในทำเลฉะเชิงเทรา I ... 的八卦
... คลิปนี้ ตามแอนดี้ ไปดูบ้านสวยๆ ในทำเล ฉะเชิงเทรา กับโครงการ ทรอฟี่ บ้านโพธิ์ ทาวน์โฮมและบ้านแฝด ที่ออกแบบสวยงามใน สไตล์ อังกฤษ กับฟั... ... <看更多>