ความหมายลักษณะและประเภทของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศตามสภาพความเป็นจริงในโลกปัจจุบัน นั้นมีปกครองในระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ส่วนหนึ่ง ระบอบเผด็จการ (Dictatorship) ส่วนหนึ่ง และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute monarchy) ส่วนหนึ่ง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วประเทศต่างๆในโลกนี้จะใช้หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในการปกครองประเทศ ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ถือว่าเป็นระบอบการปกครองที่คุ้มครองสิทธเสรีภาพของประชาชนมากที่สุดและเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุดและมีการยอมรับกันในทางวิชาการ อนึ่งควรสังเกต ชื่อวิชาที่ใช้เรียนและเรียกกันอยู่ทั่วไป คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ใช่รัฐธรรมนูญ ถ้าเรียนรัฐธรรมนูญแล้ว หากมีการปฏิวัติ (Revolution) หรือรัฐประหาร (Coup d’ Etate) ล้มเลิกรัฐธรรมนูญ ก็จะไม่มีอะไรให้ศึกษากัน แต่ถ้าเรียนกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้วแม้จะยกเลิกรัฐธรรมนูญเสียก็มีกฎหมายอื่นว่าด้วยสถาบันการเมืองที่เหลืออยู่ให้ศึกษากัน
1. รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญ
ในส่วนนี้ผู้เขียนมุ่งที่สนใจและให้ความสำคัญในการศึกษา คือ รัฐธรรมนูญที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เป็นระบอบการปกครองที่ประเทศทั่วโลกใช้ในการปกครองประเทศเป็นส่วนใหญ่และถือว่าเป็นระบอบการปกครองที่ดีที่สุดและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากที่สุด ดังนี้
1.1 ความหมายของรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย
พจนานุกรมกฎหมายอเมริกัน ได้ให้ความหมาย คำว่า “รัฐธรรมนูญ” (Constitution) ว่าหมายถึง กฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์และเป็นพื้นฐานของรัฐ ซึ่งอาจเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ โดยกำหนดลักษณะและแนวทางเกี่ยวกับรัฐบาล วางหลักการพื้นฐานสำหรับให้รัฐบาลดำเนินการ จัดรูปแบบของรัฐบาลและกำหนดกฎเกณฑ์กระจายและจำกัดบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานและวางหลักในการใช้อำนาจอธิปไตยว่ามีขอบเขตมากน้อยแค่ไหนเพียงไร
สำหรับในประเทศไทยมีนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงได้อธิบายความหมายของรัฐธรรมนูญไว้ เช่น
1.หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) อธิบายว่า “กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดินเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในแผ่นดินทั้งหลาย และวิธีการดำเนินการทั่วไปแห่งอำนาจเหล่านี้หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่ากฎหมายธรรมนูญการปกครองวางหลักทั่วไปแห่งอำนาจสูงสุดในประเทศ"
2. ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย อธิบายว่า รัฐธรรมนูญ “หมายถึงกฎหมายที่กำหนดระเบียบแห่งการใช้อำนาจสูงสุดในรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเหล่านี้ต่อกันและกัน”
3.ศาสตราจารย์ ดร.สมภพ โหตระกิตย์ อธิบายว่า “ในปัจจุบันคำว่า “Constitution” หรือ “รัฐธรรมนูญ” มีความหมายสองนัย คือ ความหมายอย่างกว้างและอย่างแคบ
ตามความหมายอย่างกว้าง รัฐธรรมนูญได้แก่ ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Customs) และธรรมเนียมปฏิบัติ (Conventions) ซึ่งกล่าวถึง
1) บรรดาองคาพยพ (Organ) หรือสถาบันการเมืองของรัฐ...ฯลฯ...
2) หน้าที่ขององคาพยพ หรือสถาบันการเมืองของรัฐ...ฯลฯ...
3) ความสัมพันธ์ระหว่างองคาพยพหรือสถาบันทางการเมืองของเอกชน...ฯลฯ...
ความหมายอย่างกว้างนี้ใช้ อยู่ในประเทศอังกฤษและหมายถึงรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษ”
“ส่วนความหมายอย่างแคบ หมายถึง กฎหมายฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับ ซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้ เช่น การดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ การทำหน้าที่นิติบัญญัติ หน้าที่บริหาร หน้าที่ตุลาการ ฯลฯ และกฎหมายนี้ได้จัดทำตามวิธีการที่กำหนดเป็นพิเศษ แตกต่างจากกฎหมายธรรมดาและได้รับการยกย่องให้เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ความหมายนี้ได้แก่รัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประะเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทย ฯลฯ”
4. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้อธิบายความหมายของรัฐธรรมนูญ หมายถึง เอกสารเกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง อันมีลักษณะเป็นสัญญาประชาคม คือ เป็นกฎหมายสูงสุดผูกมัดให้ผู้มีอำนาจปกครองบ้านเมืองใช้อำนาจภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น
จากความหมายเหล่านี้เราอาจสรุปได้ว่า “รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย” (Constitutional democracy) หมายถึง กฎหมายสูงสุดที่ใช้เป็นแนวทางในการปกครองประเทศ วางระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับรัฐ กล่าวคือ ว่าด้วยดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตยและรัฐบาล ตลอดจนความสัมพันธ์ขององค์กรต่างๆ ที่กำหนดเพื่อทำหน้าที่แตกต่างกันออกไปตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers)
1.2 ความหมายของกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับรัฐธรรมนูญ
ความหมายของกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับรัฐธรรมนูญในทางวิชาการ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1.2.1 ความหมายของกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ในทางวิชาการมีคำอีกคำหนึ่งซึ่งมักใช้สับสนกับคำว่า “รัฐธรรมนูญ” เสมอ คือ คำว่า “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” (Constitution Law หรือ the Law of the Constitution) ซึ่งหมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองต่างๆ ในรัฐ ซึ่งรวมทั้งรัฐธรรมนูญ กฎมณเฑียรบาล จารีตประเพณีทางการเมืองและกฎหมายอื่นๆด้วย ด้วยเหตุนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญอาจไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญของอังกฤษ หรือแม้แต่จารีตประเพณีทางการเมืองของไทย เป็นต้น โดยนัยแห่งความหมายนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญจึงเป็นคำที่กว้างกว่ารัฐธรรมนูญ เพราะคลุมถึงรัฐธรรมนูญด้วย คลุมถึงหลักเกณฑ์การปกครองประเทศทีไม่เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย คลุมถึงกฎหมายทั้งหลายที่วางระเบียบเกี่ยวกับสถาบันการเมืองใดสถาบันการเมืองหนึ่งด้วย คลุมถึงกฎหมายที่ขยายเนื้อหารายละเอียดที่รัฐธรรมนูญได้วางหลักการไว้นั่นก็ คือ "กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ" (Organic Law)
1.2.2 ความหมายของกฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐธรรมนูญ
กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (Organic Law) เป็นกฎหมายที่ผูกอิงอยู่กับรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นแตกต่างจากกฎหมายชนิดอื่นๆ เพราะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น เป็นกฎหมายที่สำคัญรองจากรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับรัฐธรรมนูญอย่างใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญ โดยทั่วไปรัฐธรรมนูญจะกล่าวถึงเฉพาะหลักการสำคัญ ส่วนรายละเอียดก็ให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อขยายเนื้อหาในรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” (Organic Act) มีอยู่ 9 ฉบับด้วยกัน ดังนี้
(1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
(3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา
(4) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
(5) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
(6) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
(7) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(8) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(9) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
1.2.3 ความหมายของกฎหมายที่ออกตามเนื้อความของรัฐธรรมนูญ
กฎหมายที่ออกตามเนื้อความของรัฐธรรมนูญ หมายถึง พระราชบัญญัติธรรมดาหรือกฎหมายที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติที่ออกมาโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญหรือรับรองโดยรัฐธรรมนูญซึ่งมีมากมายหลายฉบับด้วยกัน เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญกำหนดเงื่อนไขความสมบูรณ์ของกฎหมายที่จะตราขึ้นใช้บังคับ ซึ่งกฎหมายนั้นย่อมเป็นกฎหมายที่สมบูรณ์ในตัวมันเองมิได้ผูกอิงความสมบูรณ์ของมันอยู่กับรัฐธรรมนูญ
1.3 ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญ
เมื่อได้ทราบถึงความหมายของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญ ผู้เขียนเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องศึกษาเปรียบเทียบใน 2 ประเด็น คือ ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ กับความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างกฎหมายที่มาขยายเนื้อหาตามรัฐธรรมนูญกับกฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1.3.1 ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญกับกฎหมายรัฐธรรมนูญจะมีความคล้ายคลึงกันอย่างมากจนมีคนกล่าวถึงว่าเป็นกฎหมายเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามในทางวิชาการจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้
1.3.1.1 ความคล้ายคลึงระหว่างรัฐธรรมนูญกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ความคล้ายคลึงระหว่างรัฐธรรมนูญ (ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะของกฎหมาย) กับกฎหมายรัฐธรรมนูญ (ซึ่งเป็นชื่อรวมใช้เรียกกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับสถาบันการเมือง) อยู่ที่ว่ากฎหมายทั้งสองประเภทเป็นกฎหมายมหาชนและวางระเบียบเกี่ยวกับการเมืองการปกครองคล้ายกันเพียงแต่รัฐธรรมนูญจะกำหนดรายละเอียดมากกว่า
1.3.1.2 ความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1.รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กำหนดความสูงสุดของกฎหมายไว้ คือเป็นกฎหมายที่มีฐานะสูงสุด กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ แต่กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่รวมกฎหมายหลายๆเรื่องหลายๆกฎหมายจึงไม่มีสถานะทางกฎหมาย
2.รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นเอกสารฉบับเดียว แต่กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นการรวมกฎหมายต่างๆที่เป็นลายลักษณ์อักษร (รวมไปถึงรัฐธรรมนูญ) และไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3.รัฐธรรมนูญเป็นชื่อเฉพาะ แต่กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นชื่อใช้ชื่อเรียกรวมกฎหมายต่างๆเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของรัฐ
โดยสรุป เราอาจกล่าวได้ว่าประเทศใดมีรัฐธรรมนูญ ประเทศนั้นย่อมมีกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นหนึ่งในกฎหมายหลายประการของกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ประเทศใดมีกฎหมายรัฐธรรมนูญประเทศนั้นอาจไม่มีรัฐธรรมนูญ เช่น ประเทศอังกฤษมีกฎเกณฑ์การปกครองประเทศในรูปแบบต่างๆกัน แต่ไม่มีตัวบทกฎหมายที่เป็นรัฐธรรมนูญเหมือนกับรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น
ตารางเปรียบเทียบระหว่างรัฐธรรมนูญและกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ประเด็นเปรียบเทียบ
รัฐธรรมนูญ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
1.ความหมาย
เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้เป็นแนวทางในการปกครองประเทศ วางระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับรัฐ กล่าวคือ ว่าด้วยดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตยและรัฐบาล ตลอดจนความสัมพันธ์ขององค์กรต่างๆ ที่กำหนดเพื่อทำหน้าที่แตกต่างกันออกไปตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers)
เป็นกฎหมายที่วางระเบียบเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองต่างๆ ในรัฐ ซึ่งรวมทั้งรัฐธรรมนูญ กฎมณเฑียรบาล จารีตประเพณีทางการเมืองและกฎหมายอื่นๆด้วย ด้วยเหตุนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญอาจไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
2.ความคล้ายคลึง
เป็นกฎหมายมหาชนและวางระเบียบเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของรัฐ
เป็นกฎหมายมหาชนและวางระเบียบเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของรัฐ
3.ความแตกต่าง
1.เป็นกฎหมายที่กำหนดความสูงสุดของกฎหมายไว้ คือเป็นกฎหมายที่มีฐานะสูงสุด กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้
2.เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นเอกสารฉบับเดียว
3. เป็นชื่อเรียกกฎหมายเฉพาะ
1.เป็นกฎหมายที่รวมกฎหมายหลายๆเรื่องหลายๆกฎหมายจึงไม่มีสถานะทางกฎหมาย
2.เป็นการรวมกฎหมายต่างๆที่เป็นลายลักษณ์อักษร (รวมไปถึงรัฐธรรมนูญ) และไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
3.เป็นชื่อใช้ชื่อเรียกรวมกฎหมายต่างๆเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของรัฐ
1.3.2 ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างกฎหมายที่มาขยายเนื้อหาตามรัฐธรรมนูญกับกฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ
ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างกฎหมายที่มาขยายเนื้อหาตามรัฐธรรมนูญกับกฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ สามารถแยกอธิบายสรุป ดังนี้
1.3.2.1 ความคล้ายคลึงระหว่างกฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐธรรมนูญกับกฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ
กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญกับกฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ คือ พระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติ มีความคล้ายคลึง ดังนี้
1.กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญกับกฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ ต่างก็เป็นกฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติ
2.กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญกับกฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญด้วยกัน
1.3.2.2 ความแตกต่างระหว่างกฎหมายที่มาขยายเนื้อหาตามรัฐธรรมนูญกับกฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ
กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญกับกฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ คือ พระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติ มีความแตกต่างกัน ดังนี้
1.กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญนั้นจะมีความสำคัญกว่ากฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญเพราะมีความใกล้ชิดผูกอิงอยู่กับรัฐธรรมนูญและมีความจำเป็นต้องตราใช้บังคับตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
2.กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญนั้นได้กำหนดไว้เฉพาะเรื่องไว้ในรัฐธรรมนูญว่าเรื่องใดบ้างจำนวนกี่เรื่องที่ต้องตรา แต่กฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้จำกัดว่าจำนวนกี่เรื่องแล้วสถานการณ์ของบ้านเมือง
3.การตรากฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญนั้นมีขั้นตอนกระบวนการตรากฎหมายพิเศษกว่ากฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ เช่น จำนวนผู้เสนอร่างกฎหมาย เป็นต้น
4.การสิ้นผลของรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญก็จะสิ้นผลตามไปด้วยเพราะมีความใกล้ชิดผูกอิงกับรัฐธรรมนูญ แต่กฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญเมื่อรัฐธรรมนูญสิ้นผลไปแล้วกฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญก็ยังคงอยู่จนกว่าจะมีการตรากฎหมายมายกเลิก
ตารางการเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายที่มาขยายเนื้อหาตามรัฐธรรมนูญ
กับกฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ
ประเด็นเปรียบเทียบ
กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญ
กฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ
ความหมาย
กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (Organic Law) เป็นกฎหมายที่ผูกอิงอยู่กับรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นแตกต่างจากกฎหมายชนิดอื่นๆ เพราะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับองค์กรตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับรัฐธรรมนูญอย่างใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญ
กฎหมายที่ออกตามเนื้อความของรัฐธรรมนูญ หมายถึง พระราชบัญญัติธรรมดาหรือกฎหมายที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติที่ออกมาโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญหรือรับรองโดยรัฐธรรมนูญซึ่งมีมากมายหลายฉบับด้วยกัน
ความคล้ายคลึง
1.ระดับชั้นของกฎหมาย
2. อาศัยอำนาจในการตรากฎหมาย
-กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ
-กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ
-กฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ
-กฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญออกโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญ
ความแตกต่าง
1.ความจำเป็นที่ตราเป็นกฎหมาย
2.จำนวนเรื่องที่ตราเป็นกฎหมาย
3.กระบวนการตรา (การเสนอร่างกฎหมาย)
4.สิ้นผลของรัฐธรรมนูญ
-กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องตราใช้บังคับตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
-กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญนั้นได้กำหนดไว้เฉพาะเรื่องไว้ในรัฐธรรมนูญว่าเรื่องใดบ้างจำนวนกี่เรื่องที่ต้องตรา
-ผู้เสนอร่างกฎหมาย
(1)คณะรัฐมนตรี
(2) ส.ส. 1ใน 10 หรือ ส.ส.กับ ส.ว. 1ใน 10
(3)ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
-เมื่อรัฐสภาพิจารณาลงมติเสร็จก่อนทูลเกล้าฯ ต้องส่งร่างร่างกฎหมายนั้นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
-รัฐธรรมนูญสิ้นผล กฎหมายที่ออกมาขยายเนื้อหารายรายละเอียดของรัฐธรรมนูญก็สิ้นผลไปกับรัฐธรรมนูญ
-กฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ นั้นรัฐธรรมนูญไม่ได้บังคับ
-กฎหมายที่ออกตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้จะกัดว่าจำนวนกี่เรื่องแล้วสถานการณ์ของบ้านเมือง
-ผู้เสนอร่างกฎหมาย
(1)คณะรัฐมนตรี
(2) ส.ส.ไม่น้อยกว่า 20 คน
(3)ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรม
(4) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 10,000 คนขึ้นไป
-เมื่อรัฐสภาพิจารณาลงมติเสร็จก่อนทูลเกล้าฯ ต้องมีผู้ยื่นคำร้องว่าร่างกฎหมายนั้นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
- รัฐธรรมนูญสิ้นผลกฎหมายที่ออกตามเนื้อความรัฐธรรมนูญไม่สิ้นผลไปกับรัฐธรรมนูญ
2.ลักษณะของรัฐธรรมนูญ
เมื่อทราบถึงความหมายของ คำว่า “รัฐธรรมนูญ” “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” ทราบถึงกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่ขยายเนื้อหารายละเอียดของรัฐธรรมนูญ (กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ) กฎหมายที่ออกมาตามเนื้อความตามรัฐธรรมนูญ (พระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับเท่าพระราชบัญญัติ) ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเฉพาะลักษณะของรัฐธรรมนูญเท่านั้น ดังนี้
2.1 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ รัฐธรรมนูญจึงมีในฐานะเป็นที่มาสูงสุดของความชอบด้วยกฎหมาย คือ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ องค์กรของรัฐทุกองค์กรในรัฐต้องเคารพรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งหลักการนี้ได้รับรองอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หลายมาตรา เช่น ในมาตรา 3 มาตรา 6 และ มาตรา 27 เป็นต้น ดังนั้น รูปแบบการตรากฎหมายและเนื้อหาของกฎหมายต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ คือ ต้องไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
2.2 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญมีลักษณะเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรมีชื่อหรือศัพท์ใช้เรียกเฉพาะเพื่อชี้ให้เห็นว่าพิเศษและต่างจากกฎหมายอื่นๆ ดังนี้
2.2.1 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่เกิดใหม่มีพลวัตร
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่เกิดใหม่มีพลวัตร มีการเคลื่อนไหวพัฒนาอยู่ตลอดเวลา คำวินิจฉัยของศาลหรือการตีความของศาลจึงมีความสำคัญมาก เพราะจะสร้างสิ่งที่เรียกว่า "กฎเกณฑ์ใหม่ทำให้รัฐธรรมนูญมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ” ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องให้ความสนใจกับคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยของศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามนอกจากคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยของศาลแล้ว ยังมีธรรมเนียมปฏิบัติหรือจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญขององค์กรทั้งหลายตามรัฐธรรมนูญที่ปฏิบัติเชื่อกันว่าต้องทำตามก็ทำให้เกิดบรรทัดฐานหรือกฎเกณฑ์ใหม่ขึ้นได้เช่นกัน
2.2.2 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ทางการเมือง
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองอย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุดมการณ์ทางการเมือง การใช้อำนาจทางการเมือง รวมไปถึงการกระจายอำนาจการปครอง ดังนี้
2.2.2.1 รัฐธรรมนูญมีความสัมพันธ์ทางด้านอุดมการณ์
รัฐธรรมนูญมีความสัมพันธ์ทางด้านอุดมการณ์ ซึ่งรัฐธรรมนูญจะประกาศอุดมการณ์ว่าสังคมนั้นๆ เลือกที่จะเป็นสังคมแบบใด เช่น ประเทศไทยเป็นสังคมที่ประกาศอุดมการณ์ในการปกครองแบบรัฐเดี่ยว มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นต้น มีการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ ประกาศอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกทางตลาด และให้รัฐมีอำนาจเข้าแทรกแซงได้เพื่อประโยชน์สาธารณะ เป็นต้น
2.2.2.2 รัฐธรรมนูญมีความสัมพันธ์กับองค์กรในการใช้อำนาจทางการเมือง
การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือสถาบันต่างๆที่จัดตั้งขึ้น ว่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะใด เช่น การกำหนดว่ารัฐสภากับคณะรัฐมนตรีมีความสัมพันธ์ในลักษณะของการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ทั้งนี้โดยให้สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งรัฐสภามีสิทธิเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ ซึ่งการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลก็ดีหรือทั้งคณะก็ดี ในทางกฎหมายก็คือการให้ถอดถอนรัฐมนตรีคนนั้นหรือทั้งคณะออกจากตำแหน่ง และในด้านกลับกันก็ให้นายกรัฐมนตรีมีสิทธิถวายคำแนะนำและยินยอมให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขของรัฐยุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งการยุบสภาผู้แทนราษฎร ก็คือการถอดถอนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนออกจากตำแหน่งครบวาระนั่นเอง เพราะฉะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภากับฝ่ายบริหาร หรือคณะรัฐมนตรีจึงมีความสัมพันธ์ที่ถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันหรือคานอำนาจกัน (Check and Balance) ในแง่ที่ว่าต่างฝ่ายต่างก็มีอำนาจถอดถอนอีกฝ่ายหนึ่งออกจากตำแหน่งได้ รัฐสภาถอดถอนฝ่ายบริหารออกจากตำแหน่งได้ ฝ่ายบริหารก็ถอดถอนรัฐสภาออกจากตำแหน่งได้ เป็นลักษณะของความสัมพันธ์อันหนึ่งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติก็อาจจะกำหนดให้ศาลมีอิสระในการทำหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญมอบหมายให้แก่ตนอย่างเป็นอิสระไม่ต้องฟังคำสั่ง หรือคำบังคับบัญชาของรัฐสภาและทั้งคณะรัฐมนตรี ศาลมีหน้าที่ผูกพันแต่เฉพาะกฎหมายเท่านั้นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่ต้องเคารพและผูกพันปฏิบัติตามคำสั่งคำบังคับบัญชาของรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรี และที่สำคัญมีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรให้มีองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเข้ามาตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร ตรวจสอบการใช้อำนาจของสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นต้น
ข้อสังเกต ความเป็นอิสระของศาลไม่ผูกพันกับองค์กรใดและไม่ต้องรับผิดชอบกับองค์กรใด แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น ทุกระบบไม่ว่าจะเป็นระบบประธานาธิบดี ระบบรัฐสภาและระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา ก็จะมีลักษณะเหมือนกันกับความเป็นอิสระของศาลในการพิพากษาอรรถคดี
2.2.2.3 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กระจายอำนาจ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กระจายอำนาจ การใช้และการตีความรัฐธรรมนูญเป็นการใช้และการตีความที่มีการกระจายอำนาจสูง ไม่มีองค์กรใดในรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจสูงสุดเด็ดขาดสามารถตีความรัฐธรรมนูญได้ทุกเรื่องแต่เพียงผู้เดียว ขึ้นอยู่ตามความสำคัญแต่ละเรื่องไป ซึ่งบางเรื่องก็ให้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติใช้และตีความรัฐธรรมนูญในส่วนกระบวนการตรากฎหมาย บางเรื่องก็ให้อำนาจฝ่ายบริหารใช้และตีความตามรัฐธรรมนูญในการบริหารราชการแผ่นดิน บางเรื่องก็ให้อำนาจฝ่ายตุลาการใช้และตีความรัฐธรรมนูญในส่วนการตัดสินคดีตามกฎหมาย เป็นต้น
2.3 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ
กฎหมายที่มีแนวคิดพื้นฐานเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนในรัฐ ย่อมส่งผลให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ควบคุมการใช้อำนาจของรัฐไม่ให้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่รับรองไว้โดยกฎหมายกฎหมายสูงสุด คือ รัฐธรรมนูญ แต่อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญก็จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้โดยกฎหมาย ซึ่งเป็นไปตามหลักการปกครองแบบนิติรัฐ (Legal State) ที่ยึดหลักนิติธรรม (The Rule of Law) คือ เป็นการใช้หลักการปกครองที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐจะกระทำการใดได้ต้องมีกฎหมายให้อำนาจและต้องกระทำภายในขอบเขตของกฎหมาย (หลักนิติรัฐ) โดยบังคับใช้กฎหมายเสมอภาคเท่าเทียมกัน (หลักนิติธรรม)
3. ประเภทของรัฐธรรมนูญ
ประเภทของรัฐธรรมนูญนี้จะกล่าวถึงหลักการแบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญที่สำคัญว่ามีกี่รูปแบบและการแบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญรูปแบบใดที่มีความสำคัญทางวิชาการ
3.1 หลักการแบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญ
ในทางวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ เราอาจแยกประเภท หรือ ชนิดของรัฐธรรมนูญออกได้หลายรูปแบบหรือหลายวิธีด้วยกัน ดังนี้
3.1.1 การแบ่งแยกตามรูปแบบของรัฐ
การแบ่งแยกตามรูปแบบของรัฐตามหลักเกณฑ์นี้รัฐธรรมนูญจะแบ่งออกเป็น 2
ประเภท คือ รัฐธรรมนูญของรัฐเดี่ยวกับรัฐธรรมนูญของรัฐรวม ดังนี้
3.1.1.1 รัฐธรรมนูญของรัฐเดี่ยว
รัฐธรรมนูญของรัฐเดี่ยว คือ เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นเอกสารฉบับเดียวหรือหลายฉบับใช้บังคับทั่วอาณาจักร โดยรวมฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการอยู่ศูนย์กลางเพียงองค์กรเดียวเรียกว่า “รัฐ” รัฐธรรมนูญของรัฐเดี่ยวเช่น ประเทศไทย ประเทศฝรั่งเศส นอร์เว ประเทศสวีเดน ประเทศอียิปต์ ประเทศเวียดนาม ประเทศสิงคโปร์ ประเทศกัมพูชา ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
3.1.1.2 รัฐธรรมนูญของรัฐรวม
รัฐธรรมนูญของรัฐรวมในลักษณะรัฐรวมแบบสหพันธรัฐ เป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่แต่ละมลรัฐต่างก็มีรัฐธรรมนูญของมลรัฐตนเอง และมีรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐที่กำหนดหลักเกณฑ์การปกครองร่วมกันของมลรัฐอีกฉบับหนึ่ง รัฐธรรมนูญของรัฐรวมแบบสหพันธรัฐ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเยอรมนี ประเทศรัสเซีย ประเทศบราซิล ประเทศออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศอัฟริกาใต้ ประเทศไนจีเรีย เป็นต้น
3.1.2 การแบ่งแยกตามวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
การแบ่งแยกตามวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามเกณฑ์นี้รัฐธรรมนูญจะแบ่ง
ออกเป็น 2 ประเภท คือ รัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่ายกับรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก ดังนี้
3.2.1.1 รัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมง่าย
รัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่าย ซึ่งเป็นเพียงกฎหมายธรรมดา (พระราชบัญญัติ) รัฐสภาจะแก้ไขเมื่อใดก็ได้ ซึ่งหมายความว่ารัฐธรรมนูญจารีตประเพณีจะต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่ายเสมอ เพราะไม่ได้มีความเป็นกฎหมายสูงสุด รัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่ายเช่น ประเทศอังกฤษ, ประเทศนิวซีแลนด์, ประเทศอิสราเอล เป็นต้น
3.2.1.2 รัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมยาก
รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากโดยหลักรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรส่วนใหญ่แก้ไขยาก ซึ่งย่อมมีความเป็นสูงสุดของกฎหมายไว้ ดังนั้นจึงแสดงออกมาในการตราและการแก้ไขเพิ่มเติมยากกว่ากฎหมายธรรมดา (พระราชบัญญัติ) รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา, ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศไทย เป็นต้น
3.1.3 การแบ่งแยกตามกำหนดเวลาในการใช้รัฐธรรมนูญ
การแบ่งแยกตามกำหนดเวลาในการใช้ ตามวิธีนี้รัฐธรรมนูญจะแบ่งออกเป็น 2
ประเภท คือ รัฐธรรมนูญชั่วคราวกับรัฐธรรมนูญถาวร ดังนี้
3.1.3.1 รัฐธรรมนูญชั่วคราว
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว หมายถึง รัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นมาเพื่อประกาศใช้ชั่วคราว คือ รอให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นมาใช้บังคับต่อไป รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2549 (ฉบับชั่วคราว) เป็นต้น
3.1.3.2 รัฐธรรมนูญถาวร
รัฐธรรมนูญฉบับถาวร หมายถึง รัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นมาใช้บังคับอย่างถาวร คือ ใช้บังคับได้ตลอดเวลาจนกว่าจะมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับนั้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รัฐธรรมนูญฉบับถาวร เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1789 รัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส ค.ศ.1958 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เป็นต้น
3.1.4 การแบ่งแยกตามวิธีการบัญญัติรัฐธรรมนูญ
การแบ่งแยกตามวิธีการบัญญัติตามเกณฑ์นี้รัฐธรรมนูญแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรกับรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้รวบรวมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนี้
3.1.4.1 รัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (Written Constitutional Law) คือ เอกสารฉบับเดียวที่กำหนดกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้และได้จัดทำด้วยวิธีการแตกต่างจากการจัดทำกฎหมายธรรมดา เช่น การกำหนดบุคคลที่เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กระบวนการพิจารณาย่อมมีความแตกต่างไปจากและพิเศษกว่ากฎหมายธรรมดา เป็นต้น
3.1.4.2 รัฐธรรมนูญที่ไม่ได้รวบรวมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญที่ไม่ได้รวบรวมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Constitutional Law) คือ รัฐธรรมนูญจารีตประเพณีที่ไม่ได้มีผู้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่เกิดขึ้นโดยธรรมเนียมปฏิบัติกันมา จึงมีการเรียกกันว่า “กฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี” ใช้ปกครองประเทศเป็นหลัก แต่ก็มีกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรช่วยเสริมให้การปกครองปกครองมีความมั่นคงมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลักการแบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการแบ่งแยกตามทฤษฎีเท่านั้นซึ่งแม้แต่ในทางทฤษฎีเองก็ยังมีความเห็นแย้งกัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้แบ่งจะถืออะไรเป็นเกณฑ์ แต่การแบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญที่มีความสำคัญในทางวิชาการ คือการแบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญตามวิธีการบัญญัติรัฐธรรมนูญ คือ รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร กับรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้รวบรวมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
3.2 การแบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญที่มีความสำคัญในทางวิชาการ
การแบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญที่มีความสำคัญอย่างมากในทางวิชาการ คือ การแบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญตามวิธีการบัญญัติรัฐธรรมนูญ คือ รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written Constitutional Law) กับรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้รวบรวมเป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Constitutional Law) เรียกว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณ"ี (Customary Constitutional Law)
ปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้บัญญัติรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วเกือบทั้งสิ้น ยกเว้นประเทศอังกฤษที่ยังคงใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี
3.2.1 รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร (Written Constitutional Law) คือ เอกสารฉบับเดียวที่กำหนดกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้และได้จัดทำด้วยวิธีการแตกต่างจากการจัดทำกฎหมายธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความแน่นอนในการให้หลักประกันสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน สำหรับประเทศที่บัญญัติไว้ในเอกสารฉบับเดียว เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 รัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1789 รัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส ค.ศ. 1958 เป็นต้น
การที่กล่าวว่าเป็นเอกสารที่มีวิธีการจัดทำเป็นพิเศษแตกต่างจากการจัดทำกฎหมายธรรมดา เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษกว่ากฎหมายอื่นๆ ตรงที่มีศักดิ์และฐานะสูงกว่ากฎหมายอื่นๆทั้งหมด ซึ่งจะส่งผล 2 ประการ ดังนี้
3.2.1.1 กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมิได้
กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมิได้ โดยต้องมีองค์กรขึ้นมาคุ้มครองสถานะความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ มิให้กฎหมายออกมาขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะเป็นองค์กรทางการเมือง องค์กรกึ่งทางการเมือง หรือองค์กรตุลาการก็ได้แล้วแต่ละประเทศที่นำมาปรับใช้ให้เหมาะในการปกครองประเทศ
3.2.1.2 การจัดทำและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกระทำได้ยาก
การจัดทำและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกระทำได้ยากไม่ว่าจะเป็นการจัดทำแก้ไขเพิ่มเติมโดยองค์กรหรือวิธีการพิเศษยิ่งกว่าการแก้ไขกฎหมายอื่นๆ เราเรียกสภาพนี้ว่า “ความเป็นกฎหมายสูงสุดที่มั่นคงของรัฐธรรมนูญ”
ข้อสังเกต รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นมีข้อดีและข้อเสียดังนี้
1.ข้อดีของรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ ปรากฏเป็นบทบัญญัติที่มีข้อความแน่นอนทำให้นักการเมืองและผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทราบและเข้าใจกฎเกณฑ์ทางการเมืองได้อย่างชัดเจนเป็นการสร้างหลักประกันเพื่อมิให้มีการใช้อำนาจตามอำเภอใจ
ข้อเสียของรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ มีลักษณะตายตัวและมีกระบวนการแก้ไขยากอาจไม่ยืดหยุ่นตามสถานการณ์บ้านเมือง
3.2.2 รัฐธรรมนูญที่ไม่ได้รวบรวมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญที่ไม่ได้รวบรวมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Constitutional Law) คือ รัฐธรรมนูญจารีตประเพณีที่ไม่ได้มีผู้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่เกิดขึ้นโดยธรรมเนียมปฏิบัติกันมา ซึ่งเรียกว่า “กฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี” ในปัจจุบันมีใช้อยู่น้อยมาก ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็มีประเทศอังกฤษ กฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี นี้จะไม่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร แต่จะยึดถือแนวทางที่เคยปฏิบัติมาเป็นเวลายาวนานในเรื่องอำนาจต่างๆ กับการบริหารประเทศ ถึงแม้จะไม่ได้บัญญัติรัฐธรรมนูญไว้เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม แต่ก็จะมีบทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนประกอบของรัฐธรรมนูญ ทำให้กฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสมบูรณ์ขึ้นและรวมไปถึงคำพิพากษาของศาลยุติธรรมดังนี้
3.2.2.1 กฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษที่ปรากฏในรูปของกฎหมายลายลักษณ์อักษร
กฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษ ที่ปรากฏในรูปของกฎหมายลายลักษณ์อักษรซึ่งเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภา เช่น
1. ฉบับที่ 1 Petition of Right ค.ศ.1628 เป็นเอกสารซึ่งพระมหากษัตริย์ยอมมอบสิทธิและเสรีภาพบางประการให้แก่ราษฎร
2. ฉบับที่ 2 Bill of Right ค.ศ.1689 เป็นเอกสารที่พระมหากษัตริย์ประทานสิทธิและเสรีภาพของราษฎรให้แก่ราษฎรเพิ่มเติมจากที่ปรากฏในเอกสารฉบับที่ 1 ซึ่งเอกสารฉบับนี้ได้วางหลักสำคัญไว้ว่า “ไม่มีภาษีโดยไม่มีผู้แทน” หมายความว่าพระมหากษัตริย์จะเรียกเก็บภาษีอากรจากราษฎรได้แต่โดยความยินยอมของรัฐสภา ซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนเท่านั้น
3. ฉบับที่ 3 Parliament ค.ศ.1911 เป็นเอกสารที่ตราโดยรัฐสภา ซึ่งบัญญัติว่ารัฐสภาประกอบด้วย 2 สภา คือสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาสามัญ (House of Commons) และ สภาสูงหรือสภาขุนนาง (House of Lords) และกำหนดอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภาตลอดจนกระบวนการที่แต่ละสภาจะต้องปฏิบัติ
4. ฉบับที่ 4 Regency Bill ค.ศ.1937 เป็นเอกสารที่ตราเป็นกฎหมายว่าด้วยการรักษาราชการแทนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเรียกว่า “ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ในกรณีพระมหากษัตริย์ยังทรงพระเยาว์และยังไม่บรรลุนิติภาวะปกครองบ้านเมืองได้ เป็นต้น
3.2.2.2 กฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษในรูปแบบกฎหมายประเพณี
กฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษ ในรูปแบบกฎหมายประเพณี เช่น
1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ต้องตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ และพระมหากษัตริย์ต้องทรงพระปรมาภิไธยประกาศใช้กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายประเพณีที่ผ่านความเห็นชอบของสภาสูงและสภาสามัญและพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ จะนำไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาทันที โดยไม่มีพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ไม่ได้
2. การแยกรัฐสภาออกเป็น 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรหรือสภาสามัญและสภาสูง หรือสภาขุนนาง กล่าวคือ ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับใดบัญญัติว่ารัฐสภาของประเทศอังกฤษประกอบไปด้วย 2 สภา แต่เป็นกฎหมายประเพณี
3.หลักความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรี ความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรีทั้งคณะและรายบุคคลต่อสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น คณะรัฐมนตรีทั้งคณะหรือรายบุคคลไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบทางการเมืองต่อสภาสูง (สภาขุนนาง) ซึ่งหมายความว่า เฉพาะแต่สภาผู้แทนราษฎร (สภาสามัญ) เท่านั้นที่จะเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีทั้งคณะหรือรายบุคคล ซึ่งข้อกำหนดนี้ไม่มีในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร เป็นต้น
3.2.2.3 คำพิพากษาของศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง
คำพิพากษาของศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองของรัฐโดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งคำพิพากษามีที่มาได้ 2 ทางคือ
1.กฎข้อบังคับต่างๆที่มีคำพิพากษา
2.การตีความกฎหมายอันยึดถือเป็นกฎหมายที่ศาลสร้างขึ้นใหม่
ข้อสังเกต รัฐธรรมนูญที่ไม่ได้รวบรวมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีข้อดี ข้อเสียดังนี้
1. ข้อดีของรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้รวบรวมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คือ มีลักษณะยืดหยุ่น ไม่แข็งกระด้างตายตัว สามารถปรับให้เข้าสถานการณ์บ้านเมืองได้
2.ข้อเสียรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้รวบรวมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คือ ไม่ได้บัญญัติเอาไว้อย่างชัดเจนแน่นอน ทำให้เกิดมีปัญหากันได้เสมอว่ารัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติอย่างไรและอาจนำไปสู่การโต้เถียงกันได้ว่า จารีตประเพณีในเรื่องหนึ่งเรื่องใดยังคงมีอยู่หรือได้ยกเลิกไปโดยปริยายแล้ว
สรุปได้ว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษ ประกอบด้วยทั้งส่วนที่เป็นกฎหมายประเพณี และส่วนที่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร นอกจากนั้นแล้วยังมีสิ่งที่เราเรียกว่า “จารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญ” เหตุผลที่เรายังคงเรียกรัฐธรรมนูญอังกฤษว่าเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญประเพณีก็เพราะว่าบรรดากฎเกณฑ์ทางรัฐธรรมนูญ คือ กฎเกณฑ์ที่จัดระบบรูปแบบของรัฐก็ดี ที่จัดระเบียบแห่งการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐในมุมใดมุมหนึ่งก็ดี จะกระจัดกระจายไม่อยู่รวมเป็นเอกสารฉบับเดียวกัน โดยกระจัดกระจายไปในกฎหมายที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหลายๆฉบับ ในส่วนที่เป็นกฎหมายประเพณีก็กระจัดกระจายไม่ได้มีการรวบรวมมาให้เป็นหมวดหมู่เป็นระบบระเบียบในเอกสาร ไม่เหมือนกับประเทศอื่นๆเช่น รัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส หรือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นต้น
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過71萬的網紅Licktga,也在其Youtube影片中提到,กดตรงนี้เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม ↴ ✎ Sponsored By All About You คลิปนี้แบรนด์สปอนเซอร์จ้า ผลลัพธ์ของผิว ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละคนด้วยน้าา Tested ...
ครีม juv 在 Licktga Youtube 的評價
กดตรงนี้เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม ↴
✎ Sponsored By All About You คลิปนี้แบรนด์สปอนเซอร์จ้า
ผลลัพธ์ของผิว ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละคนด้วยน้าา
Tested #42 https://youtu.be/rBt5kUi3FOI
สกินแคร์ที่ใช้ทุกชิ้นมาจากร้าน All About You ทั้งหมดจ้า
https://allaboutyou.co.th/
1.AINTEROL | Himalayan Micellar Cleansing Water
(ไอยน์เตโรล หิมาลายัน ไมเซลล่า คลีนซิ่ง วอเทอร์)
ขนาด 500 ml ราคา 465 บาท
2.Alteya Pure Facial Cleanser & Wash – Pure Lavender
(อัลเทย่า เพียว เฟเชียล คลีนเซอร์ แอนด์ วอช เพียว ลาเวนเดอร์)
ขนาด 150 ml ราคา 680 บาท
3.Thayers Cucumber Witch Hazel Toner
(เทเยอรส์ คิว คัมเบอร์ วิช ฮาเซล โทนเนอร์)
ขนาด 355 ml ราคา 890 บาท
4.Mad Hippie | Hydrating Nutrient Mist
(แมด ฮิปปี้ ไฮเดรทติ้ง นูเทรี้ยน มิสต์)
ขนาด 118 ml ราคา 1,080 บาท
5MAD HIPPIE | VITAMIN C SERUM
(แมด ฮิปปี้ วิตามิน ซี เซรั่ม)
ขนาด 30 ml ราคา 1,980 บาท
6.The 28 | Bio Active Water Seal
(เดอะ ทเวนตี้ เอท ไบโอ แอคทีฟ วอเทอร์ ซีล)
ขนาด 50 ml ราคา 1,180 บาท
7.Alteya Eye Contour Cream Bio Damascena
(อัลเทย่า อาย คอนทัวร์ ครีม ไบโอ แดแมสซีนา)
ขขนาด 15 ml ราคา 2,480 บาท
8.Oliv Radiance Face Mask
(โอลีฟ เรเดียนซ์ เฟซ มาส์ก)
ขขนาด 100 ml ราคา 1,344 บาท
9.JUV Matte-Fluid UV Protection SPF 50 PA+++
(จุ๊ฟ แมท ฟลูอิด ยูวี โพรเทคชั่น เอสพีเอส 50 พีเอ +++)
ขนาด 30 ml. ราคา 890 บาท (สีส้ม)
10.JUV Water Gel UV Protection SPF50 PA+++
(จุ๊ฟ วอเทอร์ เจล ยูวี โพรเทคชั่น เอสพีเอส 50 พีเอ +++)
ขนาด 30 ml. ราคา 890 บาท (สีฟ้า)
11.Alteya Organics Rose Water
(อัลเทย่า ออร์แกนิค โรส วอเทอร์)
ขนาด 100 ml ราคา 680 บาท
-----------------------------------------------------------
ช่องรอง licktwithtoy ↴
https://goo.gl/mMJUq5
ติดตามกันได้ที่ ↴
Instagram - http://instagram.com/licktga
Facebook - http://www.facebook.com/Licktga
Blog - http://licktga.com/
ติดต่องาน (work & collabs) ↴
Email - licktgabusiness@gmail.com
Line - licktga (ติดต่องานเท่านั้น)
------------------------------------------------------------
กล้อง - Canon 80D + G7x mark ll
โปรแกรมตัดต่อ - Premiere pro
Edit Clip - Licktga
sound Blackground - intalian afternoon
คอนแทคเลนส์ -1 day acuvue define สี Radiant Chic
------------------------------------------------------------
#Sponsored #สกินแคร์ออร์แกนิค #AllAboutYou
ครีม juv 在 มหากาพย์รีวิว 23 ครีมกันแดดที่ถูกโหวตมาว่า ทา 2 ข้อนิ้วแล้วไม่วอก ... 的八卦
จากโพสขอให้คนดูโหวต ครีม กันแดดที่ทา 2 ข้อนิ้วได้โดยไม่วอก ไม่ลอย ไม่เทา มาดามเม้าท์รวมรวมมาได้ 23 แบรนด์ในทุกช่วงราคา เจอที่ถูกใจก็หลายตัว ... ... <看更多>