สรุปประเด็น แผนฟื้นฟู ขสมก. ทั้งหมด / โดย ลงทุนแมน
ทุกคนรู้ว่า ขสมก.ขาดทุนมหาศาล
ปี 2561 ขาดทุน 6,175 ล้านบาท
มีหนี้ทั้งหมด 120,000 ล้านบาท
และไม่มีวี่แววที่จะได้กำไร
สาเหตุขาดทุนหลัก ก็คือ การบริหารต้นทุนเดินรถ และปริมาณหนี้ที่สะสมพอกพูนมาเรื่อยๆ..
ขสมก.ต้องจ่ายดอกเบี้ยของหนี้ที่ก่อไว้ สูงถึง 2,877 ล้านบาทในแต่ละปี คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของการขาดทุน
และที่น่าสนใจก็คือ ต้นทุนการเดินรถของ ขสมก.อันดับ 1 คือ เงินเดือนและผลประโยชน์พนักงาน 4,402 ล้านบาท ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ ขสมก.ต้องการจะแก้ไข
ขสมก.จึงจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งมีมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีชุดที่แล้ว
โดยมีประเด็นหลักคือ
1. จัดหารถใหม่ 3,000 คัน พร้อมติดตั้งระบบ E-Ticket และ GPS ซึ่งตอนนี้ ขสมก.มีรถที่เก่าแก่อายุเกือบ 30 ปี มากถึง 1,520 คัน แต่การซื้อรถใหม่ทั้งหมดนี้ต้องใช้เงินอีกมากถึง 21,210 ล้านบาท และการที่จะซื้อได้ ขสมก.ก็ต้องกู้เงินมาเพิ่มอีก ทั้งที่มีหนี้อยู่แล้ว 120,000 ล้านบาท
2. การให้พนักงานเก็บค่าโดยสารทั้งหมดเกษียณอายุก่อนกำหนด (Early Retirement) ซึ่งจะทำให้จำนวนพนักงานลดลงครึ่งหนึ่งจาก 13,599 คน เป็น 7,959 คน อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ ระบบ E-Ticket ในข้อแรกต้องใช้งานได้จริงและทันเวลาก่อนที่ ขสมก.จะให้พนักงานเกษียณก่อนกำหนด
3. การขอให้รัฐบาลรับภาระหนี้ของ ขสมก.ทั้งหมด เนื่องจากหนี้สินที่มีอยู่ 120,000 ล้านบาท ทำให้เกิดภาระดอกเบี้ย 2,877 ล้านบาทต่อปี ซึ่ง ขสมก.ให้เหตุผลว่าสภาพคล่องของ ขสมก.จะไม่มีวันเป็นบวก ถ้ารัฐไม่ยกหนี้ก้อนนี้ให้
4. นำที่ดินของ ขสมก.มาพัฒนาเชิงธุรกิจ โดยพัฒนาพื้นที่อู่บางเขนให้เป็นโครงการ Mixed-Use ระหว่างศูนย์การค้า และโรงแรมระดับบน สำหรับพื้นที่อู่มีนบุรีจะจัดทำเป็นโครงการตลาด
ถ้าทำ 4 ข้อนี้ได้ ขสมก.มีความมั่นใจว่าจะไม่ขาดทุน และสิ่งที่ขสมก.จะทำเพื่อให้สอดคล้องกับการซื้อรถเข้ามาใหม่ก็คือ การเพิ่มราคาค่าโดยสาร..
ที่น่าสนใจคือ ค่าโดยสารไป-กลับ เฉลี่ยของคนที่ใช้รถเมล์ (ปรับอากาศ) จากปัจจุบัน 30 บาท จะเพิ่มเป็น 40 บาท ซึ่งหมายความว่าค่าโดยสารจะเพิ่มขึ้นประมาณ 30%
ดูแล้วแผนฟื้นฟูอาจทำให้ ขสมก.รอด แต่ไม่สามารถทำให้ผู้โดยสารได้ประโยชน์
เรื่องนี้จึงทำให้ นายศักดิ์สยาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนปัจจุบัน ได้หยิบแผนฟื้นฟูขสมก.ขึ้นมาแก้ใหม่ เพราะเห็นว่าค่าโดยสารราคานี้ อย่างไรก็ไม่เหมาะสมกับประชาชนที่ใช้รถเมล์ในกรุงเทพมหานคร
แล้วจะทำอย่างไรให้ค่าโดยสารไม่แพง ในขณะที่ ขสมก.ก็อยู่รอดได้?
ทุกวันนี้ ขสมก.ขายตั๋วได้ประมาณ 1 ล้านใบ และรถร่วมอีก 1 ล้านใบ
ถ้าคิดว่าโดยเฉลี่ยผู้โดยสารนั่ง 2 เที่ยวต่อวัน แสดงว่าจะมีคนใช้บริการเฉพาะ ขสมก.มากถึง 5 แสนคนต่อวัน
แสดงให้เห็นว่าขสมก.มีผู้โดยสารที่ต้องใช้บริการเป็นจำนวนมาก และถ้าค่าโดยสารเพิ่มเป็นมากถึง 30% ก็ไม่น่าจะตอบโจทย์เรื่องค่าครองชีพของประชาชน
โมเดลใหม่ที่ดูเหมือนจะเป็นอีกทางออกหนึ่งก็คือ
การให้ขสมก.ผันตัวมาเป็นผู้กำกับดูแล (Regulator) โดยควบคุมอัตราค่าโดยสารแทน และจ้างให้เอกชนมาบริหารการเดินรถ ซึ่งเรื่องนี้เป็นโมเดลที่ใช้กันในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, อังกฤษ
ที่สำคัญ การผันตัวมาเป็นผู้กำกับดูแลน่าจะทำให้การควบคุมการเดินรถของเอกชนได้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งต่างจากการใช้รถร่วมมาให้บริการแบบเดิม ซึ่งเห็นตัวอย่างได้จากกรณีรถเมล์สาย 8 ที่เป็นรถร่วมที่มีปัญหาอยู่บ่อยครั้ง เพราะขาดการกำกับดูแล
และถ้าเอกชนสามารถจัดการบริหารต้นทุนได้ดีกว่า ขสมก.
การใช้โมเดลจ้างบริหารการเดินรถ ขสมก.จะไม่ต้องซื้อรถใหม่ 3,000 คัน วงเงิน 21,210 ล้านบาท
เอกชนจะเป็นคนลงทุนค่าซื้อรถ จ่ายค่าซ่อมบำรุงเองทั้งหมด
ส่วน ขสมก.จะมีค่าใช้จ่ายที่ควบคุมได้แน่นอน ส่วนรายได้ก็จะมาจากเงินที่ได้จากการประมูล เมื่อทุกอย่างคาดการณ์ได้ผลออกมา กำไรจะเป็นบวกได้
สิ่งที่น่าสนใจต่อไปคือ กระทรวงคมนาคมเสนอให้ลดค่าโดยสารสำหรับคนที่นั่งรถเมล์หลายเที่ยวให้เป็นแบบเหมาจ่าย 30 บาท ขึ้นรถเมล์กี่รอบกี่ครั้งก็ได้ใน 1 วัน
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร?
การขึ้นรถได้ไม่จำกัดจำนวนรอบต่อวัน จะสามารถแก้ปัญหาเส้นทางซ้ำซ้อนของ ขสมก.ได้
ซึ่งทุกคนต่างรู้ดีว่าปัญหาของ ขสมก.ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การมีเส้นทางเดินรถที่ทับซ้อนกัน และทำให้ไม่คุ้มทุนที่จะเดินรถ แต่ปัญหาคือ เส้นทางเดินรถที่ไม่ทับซ้อน ผู้โดยสารจะต้องนั่งหลายต่อ ซึ่งทำให้เสียค่าโดยสารหลายครั้ง
ดังนั้น ค่าโดยสารแบบเหมาจ่าย จะทำให้ผู้โดยสารจะเต็มใจที่จะต่อรถมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าโดยสารที่จะต้องเสียหลายครั้งในการเดินทางไปถึงจุดหมาย
ในอดีตการเสียค่าโดยสารต่อเที่ยว ทำให้เส้นทางรถของ ขสมก.ถูกออกแบบมาให้ไปจุดหมายต่างๆ ที่ทับเส้นกัน
การออกแบบเส้นทางรถเมล์ที่มีประสิทธิภาพ ควรมีรถเมล์แค่สายเดียววิ่งบนถนนเดียว หลังจากนั้นจึงไปต่อรถอีกสายเพื่อเข้าอีกบริเวณหนึ่ง และควรเป็นระบบฟีดเดอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้า ซึ่งการออกแบบเส้นทางรถใหม่ที่ถูกต้องจะช่วยลดต้นทุนการเดินรถได้มาก
ข้อดีทางอ้อมอีกข้อก็คือ จะลดจำนวนรถเมล์บนท้องถนนลง
ขสมก.มีรถเมล์อยู่ 3,000 คัน
ถ้าสามารถลดรถเมล์ที่วิ่งทับซ้อนกันไปได้ 30% หรือประมาณ 1,000 คัน
จะเป็นการลดจำนวนรถเมล์บนท้องถนนได้อย่างที่เราคาดไม่ถึง
รถเมล์ 1 คัน ยาว 12 เมตร ถ้าให้รถเมล์ 1,000 คันมาวางต่อกัน จะมีความยาว 12 กิโลเมตร..
อย่างไรก็ตาม มีคนได้ประโยชน์ ก็มีคนที่เสียประโยชน์
ข่าวล่าสุด วันที่ 7 ต.ค. 62 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ขสมก.ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อคัดค้านการปรับปรุงแผนฟื้นฟู ขสมก. ของกระทรวงคมนาคม
- คัดค้านการยกเลิกแผนจัดซื้อรถ 3,000 คัน
- คัดค้านการปรับลดพนักงาน
- คัดค้านระบบ E-Ticket เพราะบอกว่าองค์การยังไม่พร้อม
- คัดค้านการลดค่าโดยสาร เพราะถ้าลด รายได้ ขสมก.จะหายไป
ก็ไม่รู้ว่าเรื่องนี้จะจบลงอย่างไร และคำตอบที่ได้จะเป็นโมเดลไหน
ขสมก.ควรจ่ายเงินอีก 2 หมื่นล้านบาทเพื่อซื้อรถเอง 3,000 คัน หรือควรเปิดประมูลว่าจ้างให้เอกชนมาลงทุนซื้อรถบริหารเอง แล้ว ขสมก.ผันตัวมาเป็นผู้กำกับดูแล
ถ้าสุดท้ายเรื่องนี้เราแก้ไขได้จริง
ไม่แน่ว่าเราก็อาจจะเห็น คุณภาพรถเมล์บ้านเรา ไม่แพ้รถเมล์ในต่างประเทศ
ซึ่งเราทุกคนก็น่าจะอยากเห็นสักครั้งหนึ่ง ในชีวิตนี้..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-http://www.bmta.co.th/th/strategy
-https://www.thebangkokinsight.com/205716/
-https://mgronline.com/business/detail/9620000093021
-https://mgronline.com/business/detail/9620000086820
-https://www.posttoday.com/economy/news/602855
同時也有6部Youtube影片,追蹤數超過97萬的網紅ESANPLAZA,也在其Youtube影片中提到,แม่น้ำแอมะซอน (อังกฤษ: Amazon River; โปรตุเกส: Rio Amazonas; สเปน: Río Amazonas) เป็นแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเปรู และไหลออกมหาส...
กิโลเมตร อังกฤษ 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
ทำไม สเปน จึงเป็นประเทศแห่ง การท่องเที่ยว? /โดย ลงทุนแมน
ทุกหนแห่งในดินแดนนี้ถูกทาบทาด้วยความมีชีวิตชีวา และแสงสว่าง..
หากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในยุโรปแล้ว สเปนมีแสงแดดสาดส่องยาวนานเป็นอันดับต้นๆ
มากถึงปีละ 2,500 ชั่วโมง หรือเฉลี่ยวันละ 7 ชั่วโมง และจะยาวนานกว่านี้มากในช่วงฤดูร้อน
นอกจากแสงสว่าง ประเทศในยุโรปใต้แห่งนี้ยังเจิดจ้าไปด้วยมรดกทางวัฒนธรรมทุกยุคทุกสมัย
นับตั้งแต่จักรวรรดิโรมัน อาณาจักรมุสลิมของชาวมัวร์ ไปจนถึงความรุ่งเรืองของยุคแห่งการสำรวจ
สเปนมีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกา
ทั้งที่มีพื้นที่เล็กกว่าสหรัฐอเมริกาถึง 18 เท่า
ประเทศที่เราเคยคิดว่าอยากไปท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี หรือแม้แต่ประเทศไทยเอง ก็มีรายได้จากการท่องเที่ยวไม่เท่า สเปน
ซึ่งในโลกนี้ สเปนเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศ ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือน
มากกว่าจำนวนประชากรในประเทศที่ 47 ล้านคนเกือบ 2 เท่า
World Economic Forum จัดอันดับให้สเปนเป็นที่ 1 ของโลก ในการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว
สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจนสร้างรายได้มหาศาลของประเทศนี้
อาจไม่ได้มีแค่ความสว่างไสวทางกายภาพ และวัฒนธรรม
แต่มันเป็นเพราะอะไร มาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สเปน จึงเป็นประเทศแห่ง การท่องเที่ยว?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในยุคแห่งการสำรวจ ราวศตวรรษที่ 15
สเปน คือมหาอำนาจผู้นำโลกตะวันตกมาค้นพบกับโลกใหม่
เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือผู้ทำงานให้ราชสำนักสเปน
เดินทางรอนแรมข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจนค้นพบทวีปใหม่ในปี ค.ศ. 1492
ไม่นาน กองทัพสเปนก็เข้าบุกยึดอาณาจักรโบราณของชาวพื้นเมือง และครอบครองพื้นที่ทวีปใหม่อันกว้างใหญ่ที่ต่อมาถูกเรียกว่า “อเมริกา” และนำสิ่งของใหม่ๆ มาสู่ยุโรป
มันฝรั่ง ยาสูบ โกโก้ ทองคำ และแร่ธาตุต่างๆ ล้วนหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย จนสเปนกลายเป็นประเทศที่มั่งคั่ง และเต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างตระการตา
แต่สงครามหลายต่อหลายครั้งกับมหาอำนาจอื่นๆ ในยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษ และฝรั่งเศส
ก็นำมาสู่หนี้สินอันมหาศาล และพาสเปนเข้าสู่ยุคตกต่ำเป็นเวลาหลายร้อยปี
แล้วความรุ่งเรืองก็จบลงด้วยสงครามกลางเมืองที่นำพาสเปนเข้าสู่ยุคเผด็จการยาวนาน 40 ปี
ของจอมพลฟรานซิสโก ฟรังโก ซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1936
สเปนผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยการดำรงความเป็นกลาง และไม่ให้ความช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อสงครามจบลงเรื่องนี้ก็ได้สร้างความไม่พอใจแก่ฝรั่งเศส และอังกฤษผู้ชนะสงคราม
สเปนจึงถูกขัดขวางไม่ให้เข้าร่วมองค์การสหประชาชาติ องค์การนาโต และไม่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อฟื้นฟูยุโรปจากสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า แผนการมาร์แชล
ท่ามกลางเศรษฐกิจยุโรปที่เฟื่องฟู สเปนถูกทิ้งให้โดดเดี่ยว และจมอยู่กับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่
แต่ก็ผ่านมาได้ด้วยความช่วยเหลือจากประธานาธิบดีเปรอนแห่งอาร์เจนตินาที่ส่งอาหาร และเนื้อสัตว์มาให้
อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับสเปน และคนในประเทศอาร์เจนตินาก็พูดภาษาสเปนกัน
จนเมื่อเข้าสู่ยุคสงครามเย็น ฝ่ายสหรัฐอเมริกา และพันธมิตรเกรงกลัวการขยายอำนาจของฝ่ายคอมมิวนิสต์ จึงลงนามในสนธิสัญญามอบเงินช่วยเหลือให้สเปนแลกกับการตั้งฐานทัพ และยอมรับสเปนเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1955
สเปนจึงเปิดประเทศอีกครั้ง แต่ในเวลานั้น สเปนไม่ได้มีภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่แข็งแกร่งเหมือนประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันตก หนทางเดียวที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ให้กระเตื้องขึ้นมา
ก็คือ “การท่องเที่ยว”
ด้วยชายหาดริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่อบอุ่นและเต็มไปด้วยแสงแดด ล้วนดึงดูดชาวยุโรปเหนือผู้อยู่กับความหนาวเย็น และท้องฟ้าขมุกขมัวให้มาเยือน
แคมเปญการท่องเที่ยวแรกของสเปนก็คือ “Spain is Different”
ด้วยทำเลที่ไม่ไกล ไม่นานชายหาดสเปนก็เนืองแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยวจากทั่วยุโรป
การท่องเที่ยวสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ จนรัฐบาลของจอมพลฟรังโกสามารถนำเงินมาพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ สร้างระบบชลประทาน โรงไฟฟ้าพลังน้ำ และพัฒนาประกันสังคมให้ครอบคลุม เศรษฐกิจของสเปนดีขึ้นเรื่อยๆ แต่สิ่งที่ชาวสเปนยังขาดแคลนก็คือ “เสรีภาพ”
แล้วการถึงแก่อสัญกรรมของจอมพลฟรังโก ในปี ค.ศ. 1975 ก็ทำให้เกิดการปฏิรูปสังคม และการเมืองครั้งสำคัญ ชาวสเปนได้เสรีภาพกลับมาอีกครั้ง การเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1976 เปิดทางให้ระบอบประชาธิปไตยหยั่งรากในสเปน
ภาษาท้องถิ่นที่เคยถูกห้ามใช้ในยุคเผด็จการ เช่น ภาษากาตาลันในแคว้นกาตาลุญญาทางตะวันออก และภาษาบาสก์ในแคว้นบาสก์ทางตอนเหนือ ก็ได้รับอนุญาตอีกครั้ง
วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่นก็เบ่งบานพร้อมกับเสรีภาพในการพูด และการแสดงออก มีงานแสดงศิลปะ คอนเสิร์ต มากมายในกรุงมาดริด ทำให้นอกจากชายหาดแล้ว การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่รัฐบาลสเปนพยายามผลักดัน ทั้งสถานที่ท่องเที่ยว ประเพณี และอาหารท้องถิ่นที่หลากหลาย
การเติบโตของการท่องเที่ยวทำให้มีการสร้างโรงแรมเกิดขึ้น
เชนโรงแรมระดับโลกสัญชาติสเปนถือกำเนิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1950s-1970s หลายแห่ง
เช่น Iberostar Group, Eurostars Hotels, NH Hotel Group และ Meliá Hotels International
รัฐบาลสเปนได้จัดตั้ง El Instituto de Turismo de España หรือ TURESPAÑA ในปี ค.ศ. 1990 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวางแผนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
สิ่งที่สเปนให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว
ไม่ว่าจะเป็นถนน เครือข่ายระบบราง สนามบิน เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางจากเมืองหลักๆ และเมืองชายหาด สู่ภูมิภาคอื่นๆ ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันไป
เครือข่ายรถไฟความเร็วสูง AVE (Alta Velocidad Española) เป็นสิ่งที่รัฐบาลสเปนเร่งพัฒนาในช่วงปลายทศวรรษ 1980s เพื่อให้ทันกับงานมหกรรมระดับโลกที่สเปนได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในปี 1992 โดยให้กรุงมาดริดที่ตั้งอยู่ใจกลางประเทศเป็นจุดเริ่มต้นของเครือข่าย
งานแรกคืองาน World Expo ที่เซบิยา เมืองใหญ่ทางตอนใต้ ไม่ไกลจากท่าเรือที่โคลัมบัสเริ่มออกเดินทางไปพบโลกใหม่ ด้วยปี 1992 เป็นวาระครบรอบ 500 ปี การเดินทางของโคลัมบัสพอดี งานจึงถูกจัดในธีม “ยุคสมัยแห่งการค้นพบ”
โดยกำหนดปิดงานคือวันที่ 12 ตุลาคม ก็เป็นวันที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ เพราะเป็นวันที่โคลัมบัสเดินทางถึงทวีปอเมริกา
แล้วรถไฟความเร็วสูงสายแรกของสเปนที่เชื่อมระหว่างกรุงมาดริด กับเมืองเซบิยาก็เสร็จทันการจัดงาน World Expo สร้างความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยวผู้เข้าร่วมงานจากทั่วโลก
นอกจากงาน World Expo แล้ว อีกงานหนึ่งคือ
มหกรรมโอลิมปิกฤดูร้อน 1992 ที่เมืองบาร์เซโลนา ซึ่งได้มีการขยายสนามบิน สร้างถนนวงแหวนเพื่อรองรับการจราจร ปรับปรุงท่าเรือ และสร้างสนามกีฬาเพื่อรองรับผู้ชมจากทั่วโลก
ปี 1992 จึงเป็นเหมือนปีทองของการแจ้งเกิดของสเปนในเวทีการท่องเที่ยวระดับโลก
ความสำเร็จของทั้ง 2 งาน ทำให้นักท่องเที่ยวมาเยือนสเปนอย่างล้นหลาม
นับตั้งแต่นั้นมา เครือข่ายรถไฟความเร็วสูงของสเปนก็ค่อยๆ ขยายขึ้นเรื่อยๆ
จนปัจจุบัน เครือข่ายนี้ครอบคลุมทั่วประเทศ มีระยะทางกว่า 3,100 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศจีน เชื่อมระหว่างเมืองสำคัญในทุกภูมิภาค
จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้รัฐบาลสเปนหันมาให้ความสำคัญกับ
“การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยเฉพาะความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม
มีกฎหมายควบคุมการบุกรุกพื้นที่ป่าจากกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างเข้มงวด
จัดการน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
ควบคุมการปล่อยมลภาวะในเขตเมืองใหญ่ และให้ความสำคัญกับการกำจัดขยะ
สเปนยังวางแผนระยะยาวด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อลดมลภาวะและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งการเพิ่มสัดส่วนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ที่สเปนมีอย่างเหลือเฟือ
สเปนได้วางแผนไว้ว่า ภายในปี 2030 การผลิตพลังงานไฟฟ้าจะต้องมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน มากกว่า ร้อยละ 70 ของพลังงานทั้งหมด..
สเปนเปิดรับนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950s และผ่านการพัฒนาในหลายๆ ด้านจนกลายเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวอันดับ 1 ของโลกจาก World Economic Forum
ชาวสเปนเข้าใจเป็นอย่างดีว่าชายหาดที่สวยงาม สถานที่และวัฒนธรรมที่ตื่นตาตื่นใจ จะดึงดูดผู้คนให้มาเยือนเป็นครั้งแรก
แต่การเดินทางที่สะดวกสบาย สาธารณูปโภคที่ครบครัน การบริการที่ดี และสภาพแวดล้อมที่ยังคงสมบูรณ์ จะทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจและเลือกที่จะกลับมาเยือนอีกครั้ง
และถึงแม้ว่าโลกเรา จะมีสงคราม การก่อการร้าย หรือโรคระบาด อีกกี่ครั้ง แต่หากจะหาสักประเทศที่เตรียมพร้อมทุกอย่างเพื่อรองรับการท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวทั่วโลกเองก็อยากกลับไปอีกครั้ง
ประเทศนั้นก็คงเป็น “สเปน”..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References:
-https://www.researchgate.net/profile/Tatiana_Iniguez-Berrozpe2/publication/261145071_Sustainability_and_tourist_promotion_The_case_of_SPAIN/links/56a2028908ae27f7de289ee3/Sustainability-and-tourist-promotion-The-case-of-SPAIN.pdf?origin=publication_detail
-https://riuma.uma.es/xmlui/bitstream/handle/10630/7488/Art%EDculo%20Preprint%20Tourism%20Management.pdf;jsessionid=E342478E672A137AE0920AFAB4A922A8?sequence=1
-https://www.oecd-ilibrary.org/sites/8ed5145b-en/index.html?itemId=/content/component/8ed5145b-en
-https://www.econstor.eu/bitstream/10419/138734/1/v07-i11-a14-BF02929667.pdf
-https://fsr.eui.eu/electric-vehicles-and-sustainable-development-in-spain/
-สเปน หน้าต่างสู่โลกกว้าง
กิโลเมตร อังกฤษ 在 ลงทุนแมน Facebook 八卦
ฟอล์กแลนด์ หมู่เกาะในอเมริกาใต้ แต่ถือสัญชาติอังกฤษ /โดย ลงทุนแมน
482 กิโลเมตร คือระยะห่างของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์กับอาร์เจนตินา
ประเทศที่ตั้งอยู่ใกล้กับหมู่เกาะแห่งนี้มากที่สุด
แต่ผู้คนบนหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ล้วนมีสถานะเป็นพลเมืองของสหราชอาณาจักร
ประเทศที่อยู่ห่างไกลกว่า 12,000 กิโลเมตร
ประชากร 3,000 คน บนเกาะอันเวิ้งว้างที่มีเนื้อที่กว่า 12,173 ตารางกิโลเมตร
ล้วนถือพาสปอร์ตอังกฤษ และมีสิทธิ์เช่นเดียวกับชาวอังกฤษเกือบทุกประการ
ทำไมประชากรบนหมู่เกาะห่างไกลในทวีปอเมริกาใต้ ถึงมีสัญชาติอังกฤษ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ในปัจจุบัน สถานะของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ถือเป็น
“ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร”
ซึ่งเรื่องนี้ได้สร้างความขัดแย้งให้กับประเทศใกล้เคียงอย่างอาร์เจนตินาเสมอมา
หากถามว่ามีจุดเริ่มต้นอย่างไร
ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้บอกเล่า..
ในมุมของอาร์เจนตินา
ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงได้อ้างสิทธิ์ว่า หมู่เกาะแห่งนี้เคยเป็นดินแดนของตนมาก่อน เพราะเคยมีชาวอาร์เจนตินาอาศัยอยู่ที่เกาะแห่งนี้ ก่อนที่จะถูกทหารตะวันตกมาขับไล่
รัฐบาลอาร์เจนตินายังปฏิเสธการเรียกหมู่เกาะแห่งนี้ว่าฟอล์กแลนด์
แต่ใช้ชื่อว่า “หมู่เกาะมัลบีนัส (Malvinas)” แทน
แต่ในมุมของอังกฤษ
ประเทศเจ้าอาณานิคมได้ชี้แจงว่า หมู่เกาะแห่งนี้ไม่เคยมีคนอยู่อาศัยมาก่อน
และอังกฤษได้เริ่มอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะแห่งนี้ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1765
โดยอ้างว่า อังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปน ได้ส่งทหารมาประจำการอยู่ที่เกาะแห่งนี้
ถึงแม้ในปี ค.ศ. 1811 อังกฤษได้ถอนทหารออกจากหมู่เกาะนี้
แต่ก็ยังส่งกองกำลังแวะเวียนมาตรวจสอบหมู่เกาะแห่งนี้อยู่บ่อยๆ
ดูเหมือนว่า การอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะฟอล์กแลนด์จะไม่สามารถตกลงกันได้ง่ายๆ..
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1832 หลังจากอาร์เจนตินาประกาศเอกราชจากสเปนมาได้ 16 ปี
อาร์เจนตินาได้ส่งกองกำลังเข้าไปบุกหมู่เกาะฟอล์กแลนด์
ทำให้อังกฤษส่งทหารเรือมา และขับไล่ทหารอาร์เจนตินาได้สำเร็จ โดยไม่มีใครเสียชีวิต
ความพยายามของอาร์เจนตินากลับมาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1982
ภายใต้การนำของรัฐบาลเผด็จการทหาร ที่ต้องการเบี่ยงเบนความสนใจของประชาชนจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และปัญหาเงินเฟ้ออย่างหนักเกือบ 200%
เพื่อปลุกกระแสชาตินิยม รัฐบาลอาร์เจนตินาได้ส่งทหารเข้ายึดฟอล์กแลนด์อีกครั้ง
และเหตุการณ์ครั้งนี้ดูจะเลวร้ายกว่าครั้งไหนๆ
อังกฤษได้ส่งกองกำลังเข้าฟอล์กแลนด์
การปะทะกันครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,000 คน
และจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของอาร์เจนตินา..
แม้ว่าอังกฤษจะเป็นฝ่ายชนะ แต่การถกเถียงเรื่องสิทธิ์เหนือหมู่เกาะยังคงไม่สิ้นสุด
ในปี ค.ศ. 2013 ได้มีการจัดทำประชามติ
เพื่อให้คนในฟอล์กแลนด์เลือกว่าต้องการจะอยู่กับประเทศไหนมากกว่า
ซึ่งผลก็ออกมาว่า 99.8% อยากอยู่กับอังกฤษมากกว่า
และมีเพียง 3 คนเท่านั้นที่เลือกจะอยู่กับอาร์เจนตินา
เหตุผลก็เป็นเพราะคนส่วนใหญ่ในฟอล์กแลนด์สืบเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ
พูดภาษาอังกฤษ จึงไม่ได้มีความผูกพันกับชาวอาร์เจนตินาที่พูดภาษาสเปนสักเท่าไร
แล้วหมู่เกาะแห่งนี้มีอะไรดี ทำไมถึงต้องแย่งกันอ้างสิทธิ์?
อุตสาหกรรมหลักของฟอล์กแลนด์ก็คือ
การผลิตขนสัตว์ และการทำประมง
ขนาดเศรษฐกิจของฟอล์กแลนด์อยู่ที่ราว 6,250 ล้านบาท
แต่เนื่องจากมีประชากรน้อย
ทำให้ GDP ต่อหัวของชาวเกาะแห่งนี้สูงถึง 2,000,000 บาทต่อคนต่อปี
อย่างไรก็ตาม นอกจากทุ่งหญ้าเลี้ยงแกะ
ฟอล์กแลนด์ในช่วงเวลานั้น
ก็ไม่ได้มีทรัพยากรอะไรที่ล้ำค่าถึงขนาดที่ 2 ประเทศจะต้องมาแย่งชิงกัน
แต่สาเหตุที่ทำให้ต้องมาแย่งชิงกัน ก็เป็นเพราะเรื่องของศักดิ์ศรี
ในขณะนั้น ผู้นำของอาร์เจนตินาต้องการปลุกกระแสชาตินิยม
เพื่อต่อต้านชาวตะวันตก และจักรวรรดินิยม
ดังนั้นการยึดฟอล์กแลนด์กลับคืน จึงเปรียบเสมือนการเอาชนะจักรวรรดินิยม
และยังช่วยให้คะแนนนิยมของตนสูงขึ้นภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจ
ส่วนทางด้านผู้นำของอังกฤษในขณะนั้น ก็คือมาร์กาเรต แทตเชอร์
ซึ่งกำลังถูกประชนชนเกลียดชังจากสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่
และนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐ ให้กลายเป็นของเอกชน
แต่หลังจากชัยชนะในปี ค.ศ. 1982 แทตเชอร์กลับได้รับคะแนนนิยมสูงขึ้น
และฟอล์กแลนด์กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของอังกฤษ
จริงๆ แล้ว อังกฤษเองก็แทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไรนักจากหมู่เกาะแห่งนี้
เพราะการดูแลฟอล์กแลนด์ ซึ่งอยู่ห่างไกลจากอังกฤษมากๆ
ทำให้อังกฤษต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการดูแลอาณานิคมที่สูงมากตามไปด้วย..
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีการค้นพบน้ำมันในบริเวณทะเลรอบๆ หมู่เกาะฟอล์กแลนด์
และมีการสร้างแท่นสำรวจและขุดเจาะน้ำมันจากบริษัทอังกฤษ ฝรั่งเศส และสเปน
แน่นอนว่าเรื่องนี้อาจนำไปสู่ปัญหากระทบกระทั่งกับอาร์เจนตินาอีกครั้ง
แต่อาร์เจนตินาในเวลานี้ กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก ทั้งจากภาวะเงินเฟ้อ
สกุลเงินเปโซที่อ่อนค่า และยังถูกซ้ำร้ายจากการระบาดของ COVID-19
ในส่วนของอังกฤษ
วิกฤติ COVID-19 ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
และทำร้ายเศรษฐกิจของอังกฤษอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 300 ปี
หากดูเผินๆ จากสภาพเศรษฐกิจของทั้ง 2 คู่กรณี
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ จึงน่าจะยังอยู่ในฐานะ
“ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร” อย่างสงบสุข ไปอีกสักพักใหญ่ๆ
แต่สงครามแย่งเกาะฟอล์กแลนด์ ในปี 1982
สาเหตุหนึ่งก็เกิดจากรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ
ต้องการเบี่ยงเบนคะแนนนิยมของประชาชนจากสภาพเศรษฐกิจที่ล้มเหลว
ก็ไม่แน่ว่า
เมล็ดพันธุ์แห่งสงครามกำลังถูกหว่านขึ้นอีกครั้ง
บนเกาะอันห่างไกลในทวีปอเมริกาใต้..
╔═══════════╗
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
- https://www.falklands.gov.fk/our-people/our-community/
- https://www.falklands.gov.fk/our-home/
- https://www.falklands.gov.fk/self-sufficiency/the-economy/
-https://tradingeconomics.com/argentina/inflation-cpi
- https://www.falklands.gov.fk/our-people/our-history/
- https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/fields/209.html
- http://www.legislation.gov.uk/ukpga/1983/6/section/5
- https://www.independent.co.uk/news/world/americas/
- https://www.gov.uk/types-of-british-nationality/british-overseas-territories-citizen
กิโลเมตร อังกฤษ 在 ESANPLAZA Youtube 的評價
แม่น้ำแอมะซอน (อังกฤษ: Amazon River; โปรตุเกส: Rio Amazonas; สเปน: Río Amazonas) เป็นแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเปรู และไหลออกมหาสมุทรที่ประเทศบราซิล มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 6,250 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากแม่น้ำไนล์
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/AkA8qEsFFQA/hqdefault.jpg)
กิโลเมตร อังกฤษ 在 MrHotsia Youtube 的評價
http://www.hotsia.com/Laos/LuangNamtha-t/index-th.shtml
luang namtha night life(เที่ยวกลางคืนหลวงน้ำทา)
แขวงหลวงน้ำทา (ลาว: ຫລວງນໍ້າທາ, อังกฤษ: Luoang Namtha Province) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาวที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดของประเทศ ทิศเหนือติดกับประเทศจีน ทิศใต้ติดกับแขวงบ่อแก้ว ทิศตะวันออกติดกับแขวงอุดมไซ และทิศตะวันตกติดกับประเทศพม่า แขวงนี้แต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ แขวงหัวของ เป็นพื้นที่ของแขวงหลวงน้ำทาและบ่อแก้วในปัจจุบันรวมกัน ต่อมาจึงได้ยุบแขวงหัวของลงและแยกออกเป็น 2 แขวง ที่ตั้งแขวงหัวของเดิมได้ถูกยุบลงและตั้งเป็นแขวงใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นแขวงบ่อแก้ว และแยกเมืองทางเหนือของแขวงหัวของเดิมไปตั้งแขวงใหม่ คือแขวงหลวงน้ำทาในปัจจุบัน
การเดินทางมายังหลวงน้ำทา มีรถประจำทางไว้บริการจากหลวงพระบางและห้วยทรายทุกวัน และจากหลวงน้ำทาก็มีรถประจำทางมายังเมืองสิงห์เช่นกัน ระยะทางประมาณ 59 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 ชั่วโมง
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/EJ-y689JPUc/hqdefault.jpg)
กิโลเมตร อังกฤษ 在 Channel RL Youtube 的評價
สนามบิน นครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช[3] หรือ สนามบินนครศรีธรรมราช (อังกฤษ: Nakhon Si Thammarat Airport) (IATA: NST, ICAO: VTSF) ท่าอากาศยานตั้งอยู่ที่ เลขที่ 598 หมู่ที่ 10 ตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชไปทางทิศเหนือ ประมาณ 14 กิโลเมตร
ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม ความจุอาคารผู้โดยสาร ขาเข้า 188 คนต่อชั่วโมง และขาออก 125 คนต่อชั่วโมง มีลานจอด โบอิ้ง(Boeing)737 2 ลาน เอทีอาร์ (ATR) 72 2 ลาน และลานจอดเฮลิคอปเตอร์ 2 ลาน มีเนื้อที่ประมาณ 1,814 ไร่ และเนื่องจากปริมาณผู้โดยสารที่ปรับตัวสูงขึ้น การย้ายฐานการบินของเชฟรอน และรายได้ของท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชก็ปรับตัวสูงขึ้นเป็นลำดับ ในขณะนี้จึงมีความพยายามที่จะผลักดันให้ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราชเป็นท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช (อังกฤษ: Nakhon Si Thammarat International Airport)
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/kMdVaC5_CI0/hqdefault.jpg)